ตอนสัมภาษณ์เอเจนซี่โฆษณา ชูใจ กะ กัลยาณมิตร ผมขอให้พวกเขาช่วยเลือกงานชิ้นเด็ด มาลงประกอบ
.
คนอ่านจะได้นึกภาพงานที่ทำออก
.
ขอไป 5 ได้มา 20
.
เลยจับแยกเนื้อหาออกมาเป็นอีกตอน
.
ผมไม่กล้าบอกว่านี่คือโฆษณาเพื่อสังคมที่ดีสุดในเมืองไทย
.
บอกได้แค่ เป็นงานจริง งานดี มีอิมแพค และแตกต่าง
.
เวลาสอนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ให้นักศึกษา หรือน้องในทีม
.
ผมชอบเปิดงานของชูใจ
.
เวลานั่งระดมความคิดในทีม แล้วได้ไอเดียที่แสนจะธรรมดา
.
ผมมักจะถามทีมว่า ถ้าเป็นชูใจมาคิด เขาจะพางานนี้ไปได้ถึงไหน
.
เอาจริงๆ ผมว่าการที่แยกบทความนี้ออกมา อาจจะเป็นความชอบส่วนตัวของผม
.
วันไหนหมดไอเดีย จะได้คลิกแค่ลิงก์เดียว
.
ทีแรกผมตั้งใจว่าจะเขียนเอง
.
แต่พอฟังเม้ง และทีมชูใจเล่าถึงงานของพวกเขา
.
ผมว่าให้พวกเขาเขียนดีกว่า
.
เขาไม่ได้เขียนแค่วิธีคิดงาน
.
แต่เขียนเรื่อง เบื้องหลัง และความรู้สึกที่มีต่องานนั้น
.
“เรารู้ว่าเราไม่ได้ทำโฆษณา แต่เรากำลังช่วยทำความฝันของใครบางคนให้ใกล้ความจริงที่สุด แม้วันนั้นเขาจะยังไม่เห็นมันก็ตาม”
.
เม้งพูดถึงงานนึงไว้แบบนี้
.
ก็คิดกันแบบนี้ รู้สึกกันแบบนี้ ก็เลยได้งานแบบนี้
.
อ่านแล้วมีพลังเลย
.
#TheCloud #readthecloud #ชูใจกะกัลยาณมิตร #choojaiandfriends
ชูใจ กะ กัลยาณมิตร 在 Facebook 的最佳貼文
หลายวันก่อนมีนักวิจัยโทรมาสัมภาษณ์ผมเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร เขาถามว่า นิยามความคิดสร้างสรรค์คืออะไร
.
แก้ปัญหาด้วยวิธีคิดใหม่ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
.
ถ้าไม่ได้แก้ปัญหา และไม่ได้ทำสิ่งที่ใหม่ ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์
.
การออกแบบลายบนหน้ากากอนามัยที่สวย ทำแล้วขายดีมาก นับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ไหม?
.
ไม่ใช่ และไม่ได้ใกล้เคียงเลย
.
ถ้าใช้เกณฑ์ที่คุณว่าวัดความคิดสร้างสรรค์ของ SME ก็อาจจะผ่านน้อยมาก?
.
ผมไม่แน่ใจ แต่ความคิดที่ไม่ได้แก้ปัญหา ไม่ใหม่ หรือเอาไอเดียที่คนอื่นทำแล้วมาใช้ ไม่นับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ของเรา
.
แล้วความคิดสร้างสรรค์ที่สุดคืออะไร?
.
ยิ่งกว่าแก้ปัญหา สร้างแพลตฟอร์ตใหม่ ที่คนอื่นๆ เอาไปใช้ต่อได้ - ผมตอบตามนิยามรางวัลกรังปรีซ์ ของ Cannes Lions
.
ตามนิยามนี้ ช่วยยกตัวอย่างองค์กรที่คุณคิดว่าสร้างสรรค์?
.
ชูใจ กะ กัลยาณมิตร - ในเมืองไทยผมนึกถึงองค์กรที่สร้างสรรค์กว่านี้ไม่ออกจริงๆ
.
เขาสร้างสรรค์ยังไง?
.
เขาเป็นเอเจนซี่โฆษณาที่ใช้ศาสตร์โฆษณาแก้ปัญหาสังคม รวมงานโฆษณาคอมเมอร์เชียลกับ CRS เป็นหนึ่งเดียว
.
องค์กรอื่นเอารูปแบบนี้ไปใช้ได้ ถ้าคิดงานได้คม และอินกับปัญหาสังคมจริงๆ แบบพวกเขา
.
เขาไม่ได้ทำงานด้วยกรอบความคิดและขั้นตอนแบบครีเอทีฟโฆษณาทั่วไป แต่เขาตั้งใจแก้ปัญหายังกับเป็นคนทำงานเพื่อสังคม
.
หลังจากวางสายไป ผมเพิ่งนึกได้ว่า น่าส่งบทสัมภาษณ์นี้ให้เขาอ่าน
.
คนในวงการโฆษณาหลายคนเคยชื่นชมชูใจฯ ให้ฟังว่า งานและการใช้ชีวิตของพวกเขาน่าอิจฉาสุดๆ
.
และสงสัยว่า การทำงานแบบนี้ อยู่รอดกันได้ยังไง
.
ในวาระที่ปีนี้ชูใจฯ เดินทางมาครบ 10 ปี ผมเลยขอคุยกับพวกเขาอีกครั้ง หลังจากที่เคยสัมภาษณ์ตั้งแต่วันแรกที่เขาตั้งชูใจฯ
.
ผมอยากรู้ว่า เขาคิดยังไง ทำยังไง ผ่านช่วงเวลาแห่งความไม่มั่นใจในความเชื่อของตัวเองมาได้ยังไง
.
การที่คนหนุ่มวัยสามสิบ 5 คน เอาเงินมากองรวมกัน แล้วจ่ายเงินเดือนแบบพอใช้ให้ทุกคน
.
เงินก้อนนี้พอจ่ายเงินเดือนได้ 6 เดือน
.
ครึ่งปีนี้ ถ้าสิ่งที่พวกเขาเชื่อ ไม่มีใครเชื่อด้วย ก็แยกย้ายกลับไปทำงานเอเจนซี่เหมือนเดิม
.
ผมชอบเหตุการณ์นี้ ชอบแบบจำได้ไม่ลืม
.
หลังจากวางสายนั้นไป ผมกลับมาอ่านบทสัมภาษณ์นี้อีกรอบ
.
ผมก็ยังเชื่อเหมือนเดิม
.
ผมนึกถึงองค์กรที่สร้างสรรค์กว่าชูใจฯ ไม่ออกจริงๆ
.
#TheCloud #readthecloud #TheEntrepreneur #ชูใจกะกัลยาณมิตร #Choojaiandfriends
ชูใจ กะ กัลยาณมิตร 在 PADIE Facebook 的最佳解答
ช่วงนี้เห็นข่าวบ่อยยย เอามาฝากกันนะคะ
ถ้าคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า หลายครั้งที่เขามาปรึกษาคุณ แต่อาการเขาก็กลับยังไม่ดีขึ้น จนคุณกลายเป็นทุกข์ไปด้วยรึเปล่า?
บางครั้งการพยายามจะช่วยหาทางออกให้คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเขา
นอกเหนือจากการที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่คุณเป็นพื้นที่รับฟังที่ดีให้กับเขา ก็ช่วยเยียวยาเขาได้มากแล้ว
แต่ทุกวันนี้คุณคิดว่าคุณฟังเขาเป็นหรือยัง?
ถ้ายัง หรือว่าไม่ชัวร์...
คลิปนี้จะช่วยคุณเข้าใจเรื่องการฟังใหม่อีกครั้ง
เรียนรู้เพิ่มเติมพร้อมดาวน์โหลดคู่มือ 'การฟังด้วยหัวใจ'
และมาลองฝึกทักษะการฟังด้วยหัวใจกับ workshop 'ฟังสร้างสุข'
คลิก https://www.happinessisthailand.com/deeplistening/
ฟังด้วยหัวใจ จะช่วยดูแลคุณและคนที่คุณต้องดูแล
ขอขอบพระคุณจิตแพทย์ที่ปรึกษา : ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล, นพ.ปัญญ์ชัจน์ พรหมนุรักษ์ เเละนพ.กานต์ จำรูญโรจน์
❤❤❤
สำหรับคุณที่ห่วงใยคนใกล้ชิดที่มีภาวะซึมเศร้า เรายินดีมอบหนังสือ "ฟังสร้างสุข" (ฉบับพิเศษซึ่งไม่มีวางจำหน่าย) ให้คุณได้เรียนรู้และฝึกทักษะการฟังด้วยหัวใจ เพื่อดูแลเขาและตัวของคุณเอง เพียงร่วม กิจกรรมนี้กับเรา
หลังจากคุณได้ชมคลิปและคำแนะนำทั้ง 7 ข้อไปแล้ว ขอชวนคุณเล่าประสบการณ์ของตัวคุณเอง ใต้โพสต์ ตามกติกานี้
1. คำแนะนำข้อใดบ้างที่คุณเคยใช้ พบว่าได้ผล ทั้งเขาและตัวคุณเองเป็นอย่างไร รู้สึกอะไรบ้าง
2. คำแนะนำข้อใดบ้างที่คุณยังไม่เคยทำ หรือยังทำได้ไม่ดี และคุณอยากเรียนรู้เพิ่มเติม
คุณสามารถร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของคุณกับเพจความสุขประเทศไทยได้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ทีมงานจะคัดเลือกและประกาศรายชื่อผู้ได้รับหนังสือในวันที่ 5 ธันวาคม 2562
ขอขอบคุณทุกท่านที่จะแบ่งปันประสบการณ์อันมีค่าให้ทุกคนได้เรียนรู้ ได้ช่วยกันดูแลคนที่เราห่วงใย และดูแลตัวของเราเองไปพร้อมกัน
#ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า #ฟังด้วยหัวใจ #ฟังสร้างสุข #DeepListening #ซึมเศร้า
ความสุขประเทศไทย x ธนาคารจิตอาสา x สสส.
x ชูใจ กะ กัลยาณมิตร x พินปังก์