‘SASOM’ สตาร์ตอัพไทยกับความสำเร็จของดีลระดมทุนในเกาหลี
SASOM x ลงทุนแมน
ใครที่ทำธุรกิจ หรือดูซีรีส์เกาหลีที่เคยเป็น Talk of the Town อย่าง Start-Up
คงพอเห็นภาพว่า การจะเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะขั้นตอนการระดมทุนหรือ Funding
ซึ่งแผนธุรกิจจะต้องสามารถดึงดูด และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
เพื่อให้ได้ผู้สนับสนุน พร้อมเม็ดเงินลงทุน ที่จะทำให้โครงการในแผน กลายเป็นธุรกิจในโลกความจริง
รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้มี Startup ไทยที่ไปไกลถึงขั้นระดมทุนในระดับ Pre-Series A จากบริษัทในเครือ Naver ที่เป็นบริษัทแม่ของ LINE Corporation แล้ว
Startup รายนี้เป็นใคร แล้วระดับ Pre-Series A คืออะไร ?
‘SASOM’ (สะสม) เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายของสะสมแบรนด์เนมและของหายาก
เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 โดยทีมผู้ก่อตั้งเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาแพลตฟอร์ม หลังกลับจากเรียนต่อในต่างประเทศ แล้วพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีแพลตฟอร์มการซื้อขายของสะสม ทำให้คนไทยที่อยากซื้อหรืออยากขาย ของสะสมแบรนด์เนมหรือของหายาก ก็ต้องใช้บริการเว็บไซต์ต่างประเทศ
ซึ่งแน่นอนว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายด้านภาษีหรือการนำเข้า แถมยังใช้เวลานาน
ที่สำคัญ ถ้าซื้อใน Social Media ก็เสี่ยงที่จะเจอสินค้าลอกเลียนแบบอีกด้วย
สิ่งเหล่านี้ เป็น Pain Point ที่ SASOM เล็งเห็น และตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มให้ออกมาตอบโจทย์ โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือ Community ในการซื้อขาย
ภายใต้คอนเซปต์ “Next Generation Platform for Authentic Luxurious Transactions”
หรือการเป็นแพลตฟอร์มยุคใหม่ สำหรับซื้อขายของสะสมแบรนด์เนมหรือของหายาก
ปัจจุบัน SASOM ให้บริการในรูปแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยเป็นแหล่งรวบรวมสินค้ามือใหม่และมือสองกว่าหมื่นรายการ ทั้งในรุ่นยอดนิยม และรุ่น Limited Edition ที่มีเพียงไม่กี่ชิ้นบนโลก ตั้งแต่ราคาหลักพัน ถึงหลักล้าน
มีสินค้าหลายประเภท ทั้งรองเท้านักกอล์ฟ Sneaker Nike, Jordan, Adidas, Yeezy จนถึงของสะสมหายาก อย่างงานศิลปะ อัลบั้มเพลง และโมเดลของเล่น BE@RBRICK ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่ม Millennial เเละ Gen Z
ซึ่งสินค้าเหล่านี้ โดยเฉพาะรุ่นที่มีจำนวนจำกัดหรือเป็น Limited Edition นั้น
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ ไม่แพ้การลงทุนอื่น ๆ
และอีกส่วนที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ หมัดเด็ดที่ทำให้ SASOM ประสบความสำเร็จ
นั่นคือการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อว่า สินค้าทุกชิ้นเป็นของแท้ 100%
โดยจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจสอบสินค้าที่ลงประกาศอย่างละเอียด แล้วติดป้ายสัญลักษณ์เพื่อเป็นการรับประกัน และมีบริการก่อนและหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมตสินค้า บริการลูกค้าสัมพันธ์ การให้ข้อมูลที่เป็นราคากลาง
นอกจากนี้ SASOM ยังพัฒนา Price Chart ฟีเชอร์ใหม่ล่าสุด ที่รวบรวมข้อมูลราคาซื้อ-ขาย ทำให้สามารถประเมินราคาและมูลค่าของสินค้า เพื่อประกอบการตัดสินใจ
และในอนาคต ก็มีแผนจะนำระบบ AR (Augmented Reality) เข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าอีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับคนไทยได้เสนอขายหรือซื้อสินค้าที่เป็นของสะสมกับชาวต่างชาติ บนจุดนัดพบแห่งใหม่
ปัจจุบัน SASOM มียอดขายสินค้าเฉลี่ยเดือนละกว่า 10 ล้านบาท และมีเป้าหมายเพิ่มยอดขายเป็นเดือนละ 30 ล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้
โดยจะเน้นการขยายฐานผู้ซื้อ ผู้ขาย และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มนักลงทุนของสะสมในไทยและต่างประเทศ
จากความโดดเด่นของแพลตฟอร์ม ทำให้ Startup อย่าง SASOM สามารถสร้างความเชื่อมั่น และประสบความสำเร็จในการระดมทุนระดับ Pre-Series A
ซึ่งเป็นการระดมทุนในระดับที่ 2 จาก 5 ระดับ ของธุรกิจ Startup โดยในขั้นนี้ ธุรกิจจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน และมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
จากจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ Startup ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันการระดมทุนที่ประสบความสำเร็จในระดับนี้ ถือว่ามีจำนวนไม่มากนัก โดยผู้มาลงทุนกับ SASOM ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับเอเชีย
อย่าง Kream Corporation ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ในเครือ Naver หรือที่หลายคนรู้จักว่า เป็นบริษัทแม่ของ LINE Corporation
ถือเป็น Startup ไทยรายแรก ๆ ที่สามารถระดมทุนจากบริษัทแนวหน้าในเกาหลีใต้ ทำให้มีมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านบาท และมีเงินทุนไปพัฒนาแพลตฟอร์ม ให้เข้าถึงและรองรับจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายได้มากขึ้น
โดย SASOM จะจับมือเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) กับ Kream Corporation
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยี Machine Learning ที่นำมาใช้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน ระบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่ใช้ในการตรวจสอบสินค้า
ไม่เพียงเท่านี้ ในปีหน้า SASOM ยังมีแผนระดมทุนต่อเนื่องกับทาง Kream Corporation ในระดับ Series A ที่เป็นระดับสูงขึ้น
เพื่อยกระดับจากธุรกิจ Startup เป็นบริษัทชั้นนำ และก้าวสู่การเป็น The Collectors Paradise of Asia หรือสวรรค์ของนักสะสมแห่งเอเชีย ที่สามารถเทียบชั้นกับแพลตฟอร์มซื้อขายของสะสมและของหายากในระดับโลก
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://sasom.co.th
Reference
- Press Release Sasom
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「naver corporation」的推薦目錄:
- 關於naver corporation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於naver corporation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於naver corporation 在 小金魚的人生實驗室 Facebook 的精選貼文
- 關於naver corporation 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於naver corporation 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於naver corporation 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於naver corporation 在 NAVER Corporation - Home | Facebook 的評價
naver corporation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
KakaoTalk แอปแช็ตอันดับ 1 ของคนเกาหลีใต้ /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงแอปพลิเคชันที่ใช้ติดต่อสื่อสาร
คนไทยส่วนใหญ่คงนึกถึง LINE
ซึ่งหลายคนน่าจะเคยได้ยินว่า บริษัทแม่ของ LINE คือ Naver Corporation ที่เป็นบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้
แต่รู้ไหมว่า จริง ๆ แล้วคนเกาหลีกลับไม่ได้ใช้ LINE คุยกัน
เพราะแอปแช็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเกาหลีใต้
คือ “KakaoTalk”
แล้ว KakaoTalk ทำอย่างไร ถึงครองใจคนเกาหลีได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ลงทะเบียนที่ https://bit.ly/3rgUud0 โทร. 091-7372165 หรือ www.sis.edu/bangkok
╚═══════════╝
เจ้าของแอปพลิเคชัน KakaoTalk คือ Kakao Corp.
บริษัทเทคโนโลยี สัญชาติเกาหลีใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2010 โดยคุณ Kim Beom-soo
แต่ก่อนหน้านี้ เขาเคยเป็น CEO ของบริษัท NHN ผู้พัฒนาแอปแช็ต LINE
ซึ่งในภายหลัง มีการแยกบริษัทออกเป็น Naver Corp. โดยนำเอา LINE ไปอยู่ภายใต้การบริหารด้วย
ซึ่งต่อมา คุณ Kim Beom-soo ได้ลาออกมาตั้งบริษัท Kakao
เพื่อพัฒนาแอปแช็ตของตัวเองขึ้นมา นั่นคือ “KakaoTalk”
และในปัจจุบัน KakaoTalk ก็กลายเป็นแอปแช็ตที่คนเกาหลีใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง
มีผู้ใช้งานภายในประเทศ 46 ล้านบัญชีต่อเดือน จากประชากรทั้งหมด 51 ล้านราย
โดยคนเกาหลี มักเรียกชื่อย่อแอป แทนการนัดหมายเพื่อคุยกันทางออนไลน์ว่า “เดี๋ยว KaTalk ไปหา”
คล้าย ๆ กับกรณีของคนไทย ที่พูดกันติดปากว่า “เดี๋ยว LINE ไปหา”
ซึ่งความนิยมดังกล่าว ส่งผลให้บริษัท Kakao สร้างรายได้ค่าโฆษณาสูงถึง 30,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดโฆษณาออนไลน์ในเกาหลีใต้ ประมาณ 15%
แล้วทำไมคนเกาหลีถึงใช้แอป KakaoTalk เยอะขนาดนี้ ?
กลยุทธ์ที่ทำให้ Kakao ประสบความสำเร็จในการขยายฐานลูกค้า
คือการเชื่อมต่อบัญชีแอปแช็ต ไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ อีกมากมายของบริษัท
โดยเจ้าของบัญชี KakaoTalk จะสามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการออนไลน์ต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้อย่างสะดวกสบาย รวมทั้งอาจมีสิทธิพิเศษเพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย
เรามาลองดูตัวอย่างธุรกิจอื่นของ Kakao นอกเหนือจากบริการแช็ต
- Kakao Commerce แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่ผู้ซื้อผู้ขายติดต่อกันผ่าน KakaoTalk ได้ โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานอยู่ 10.2 ล้านบัญชีต่อเดือน
- Daum เว็บไซต์ Portal ที่รวบรวมและให้บริการค้นหาข้อมูล ซึ่งควบรวมกิจการกับ Kakao เมื่อปี 2014
- Kakao T แพลตฟอร์มเรียกรถ ที่มีรถแท็กซี่ให้บริการในเครือกว่า 16,000 คัน และมีผู้ใช้บริการแอป 27 ล้านบัญชี
- KakaoPay ระบบชำระเงินออนไลน์ ที่มีผู้ใช้งาน 20 ล้านบัญชีต่อเดือน และมีการทำรายการมูลค่ารวมกว่า 1,800,000 ล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว
- KakaoBank แพลตฟอร์มธนาคารออนไลน์ ที่มีฐานลูกค้า 13 ล้านบัญชี โดยล่าสุดมียอดเงินฝากมูลค่า 630,000 ล้านบาท และยอดปล่อยเงินกู้กว่า 550,000 ล้านบาท
- Kakao Games ผู้ให้บริการเกมออนไลน์มากกว่า 1,100 เกม โดยหนึ่งในเกมชื่อดังที่บริษัทได้รับสิทธิ์ให้ทำตลาดและจัดจำหน่ายในเกาหลีใต้ คือ PlayerUnknown's Battlegrounds หรือ PUBG รวมทั้งบางเกมก็เปิดให้เล่นเฉพาะผู้ที่มีบัญชี KakaoTalk อีกด้วย
- Melon แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลงยอดนิยมของเกาหลีใต้ ที่มีสมาชิกแบบจ่ายเงินอยู่ 5.1 ล้านบัญชี
- Kakao M ธุรกิจสื่อบันเทิง เช่น KakaoTV แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง ที่ผลิตออริจินัลคอนเทนต์กว่า 240 รายการ, 1theK ช่อง YouTube เกี่ยวกับวงการ K-POP ที่มีผู้ติดตาม 26 ล้านบัญชี รวมไปถึงธุรกิจค่ายศิลปิน ที่มีนักร้องนักแสดงในสังกัดกว่า 240 ราย
- KakaoPage แพลตฟอร์มรวมคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน นิยาย หรือบทความ ซึ่งบางเรื่องได้รับความนิยมสูงมาก จนถูกนำไปสร้างเป็นซีรีส์ เช่น Itaewon Class
จะเห็นได้ว่า ผู้ใช้งานแอป KakaoTalk จะได้รับประโยชน์มากมาย จากการใช้บริการด้านอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันไปพร้อมกับการแช็ต
นอกจากนั้น บริษัท Kakao ยังได้ข้อมูลของลูกค้าจากทุกแพลตฟอร์ม มาพัฒนาคุณภาพบริการให้ดียิ่งขึ้น
รวมทั้งเมื่อคิดค้นอะไรใหม่ ๆ ก็จะสามารถเสนอให้ลูกค้าหลายสิบล้านบัญชีได้ทันที โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์เหมือนรายอื่น ซึ่งก็คล้ายกับวิธีที่ Facebook ใช้อยู่บ่อย ๆ
ด้วยเหตุนี้ ฐานผู้ใช้งาน KakaoTalk และแพลตฟอร์มอื่น ๆ จึงเติบโตขึ้นต่อเนื่อง
จนทำให้ Kakao กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ และเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Naver บริษัทแม่ของแอป LINE อดีตบริษัทที่คุณ Kim Beom-soo เคยบริหาร
ผลประกอบการของ Kakao Corp.
ปี 2018 รายได้ 65,000 ล้านบาท กำไร 400 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 83,000 ล้านบาท ขาดทุน 9,200 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 112,000 ล้านบาท กำไร 4,500 ล้านบาท
โดยรายได้ของบริษัทนั้นมาจาก
- ธุรกิจแพลตฟอร์มติดต่อสื่อสาร 27%
- ธุรกิจเพลง 15%
- ธุรกิจแพลตฟอร์มอื่น เช่น เรียกรถและระบบชำระเงิน 13%
- ธุรกิจคอนเทนต์ 13%
- ธุรกิจเกม 12%
- ธุรกิจเว็บไซต์ข้อมูล 11%
- ธุรกิจอื่น ๆ 9%
ทั้งนี้ Kakao จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้
ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1,100,000 ล้านบาท
เรื่องราวของ Kakao ถือเป็นตัวอย่างที่ดีว่า
การมี Ecosystem หรือระบบนิเวศทางธุรกิจ ที่แต่ละด้านคอยส่งเสริมซึ่งกันและกัน
จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริษัทเติบโตแบบยั่งยืนในระยะยาว
เพราะเมื่อผู้บริโภคเข้ามาอยู่ในระบบนิเวศของเรา และใช้บริการต่าง ๆ เป็นประจำแล้ว
มันก็คงเป็นเรื่องยาก ที่จะก้าวออกไปจากความคุ้นชินเหล่านั้นได้
เหมือนกับที่คนเกาหลี กำลังวนเวียนอยู่กับแพลตฟอร์มของ Kakao ในขณะนี้…
╔═══════════╗
ลงทะเบียนที่ https://bit.ly/3rgUud0 โทร. 091-7372165 หรือ www.sis.edu/bangkok
╚═══════════╝
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Kakao
-https://t1.kakaocdn.net/kakaocorp/admin/ir/results-announcement/4998.pdf
-https://www.wired.kr/news/articleView.html?idxno=1094
naver corporation 在 小金魚的人生實驗室 Facebook 的精選貼文
#一群人一起做華爾街日報的主題研究到底有什麼樂趣 #或許不能凡事只看樂趣
上週六結束了第三次的 #雙週華爾街日報導讀,我覺得我有幾個非常感動的點,我想要寫出來跟大家分享。我想要分成三個部分:
一、我的before and after
二、我對華爾街日報導讀讀書會的觀察
三、商業觀察舉例
▌一、我的before and after
這是一個為自己而讀的讀書會,因此我想要從自身出發。
#我的自我成長小觀察
華爾街日報導讀進行了三次了,我發現自己有三個很大的變化。
1. #我變得更好奇而且看新聞很仔細
以前看這些新聞會覺得「這跟我有關係嗎?」,就直接隨便看過了。但其實,只要我們仔細的觀察就會發現:當然跟我有關係阿,只是很近的關係,還是很遠的關係,但是一定是有關係的。因為世界的趨勢總有一天會影響到你,只是你有沒有發現而已。
2. #我不排斥看最原始的資料了
以前,都想看別人整理好的,覺得原始的新聞稿、資料好無聊、好長、不知道重點在哪裡,但是從第一次藉由主題是IPO而第一次看到了IPO公開資料發現根本是寶庫之後,就開始了一系列的驚奇,大家看下面我的舉例就會知道:我竟然從一個日本Yahoo與LINE的合併參透了前公司之前為什麼會受到政府的阻擋。如果你可以懂得更多,你會從「單純直覺」到「理性判斷」,這會幫助你最更多、更複雜的決定。
3. 勇於承認自己真的不會
因為題目太多元化,從IPO到晶圓到電動車到線上支付,我不可能每個都懂,而且最有可能的事情是:我都不懂。但是透過第一點以及第二點,我發現「這其實沒有什麼大不了」,我甚至是會在其他人分享的時候舉手說「這個我不懂,可以多說一點嗎?」,因為你承認你不懂,有人解釋,你就懂了。
我一直相信:真正的強者並非一開始什麼都懂,而是知道自己不懂的地方是什麼,並且加速跟上,在需要的時候懂,那就足夠了。
▌二、我對華爾街日報導讀讀書會的觀察
聚集一群願意努力而且又是各個產業人才的結果是什麼?就是我每一次雙週華爾街日報導讀前壓力都很大(不騙人),為什麼?
1. #所有的人都精心準備
我怎麼知道?因為就11個人阿,大家手上的資料很厚,畫心智圖的人有不同的圖、連結、文字敘述,我可以感受到大家儘管不一定全部都了解,可是是嘗試努力了解(因為每次主題差異非常大),可是就像萬維鋼說的,#通才就是在不同的議題當中都嘗試與這個世界的理解同步。
2. #沒有人遲到早退缺席
週六早上10:00 - 12:30,這時間真的不是在開玩笑的,是真的早阿~~~畢竟是週六,而且,我必須說,我們每次都有一個同學從彰化上來。(因為我們地點義無反顧在北車的小樹屋)你的學習、你的成長是自己掌握的,我們沒有逼迫任何一個人,你需要為你自己而讀。
3. #所有人樂於回饋他人
我非常非常喜歡每次有人分享完,就會有同學舉手說「我想要回饋剛剛的分享者」,真的,我每次都覺得很快樂,說了很多我平常絕對不可能知道的事情、公司、歷史淵源,甚至是暗黑秘辛。每次都忍不住又嚴肅又大笑。
學習是痛苦的嗎?是。
但是,如果你可以找到一群人,#那你會痛苦的快樂著。
#我覺得我找到了。
▌三、商業觀察舉例
如果說華爾街日報導讀還有一個加分的點,就是我們連在自己的小型line群組都可以隨時討論起不同的議題,例如今天的議題就是:
#日本雅虎母公司ZHD與通訊軟體LINE正式合併完成
#成為日本最大的資訊科技公司
我首先注意到的是這段話:
「ZHD的母公司是日本行動電話大廠軟體銀行公司(SB),SB的母公司是軟體銀行集團(SBG),由孫正義擔任董事長兼社長。LINE將成為ZHD的子公司。」(請參閱相關連結①)
這個關係簡直是跟連續劇沒有什麼兩樣,就是一個複雜的關係圖。
這時候有人提出一個疑問:
「這樣台灣LINE會有影響嗎?雖然是隸屬於韓國NAVER。」
欸等等,LINE是韓國的!?
我一查詢才知道,首先LINE真的是韓國NAVER創立的,只是它在日本創立,其因為331大地震,我們又愛又恨的「已讀」功能就是在地震的時候,因為訊號不穩定,已讀至少讓對方知道我看到了。
為什麼叫做「LINE」呢?起因於當時排隊打電話的人潮一直很多,一長條的線「LINE」,於是取名LINE。
LINE在台灣、日本、泰國都是主要的通訊軟體,但在韓國不是XDDD
有了這個基本的概念後,我又看到了一篇報導寫:
「日本雅虎(Yahoo Japan)與 LINE 的聯姻,在台灣也得通過競爭審查這關,公平會於昨(29)日審議這起日韓二大外商集團結合案,考慮兩造現行專精領域差異、未來大數據潛力等因素,判斷不會有害本土市場競爭,全案通過。」(請見相關連結②)
於是我有一個疑問:請問,人家要合併,為什麼我們要審查啊~~~
這時候群組的人找出了一篇說明文章,我看了才知道,原來是因為「公平交易法」。(請參閱相關連結③、詳細資料規則請參閱相關連結⑤)
既然是政府的決定,我找到了一個公開的公平會新聞稿。
我覺得看這類型的分析文,跟我之前看91APP的IPO公開文件一樣有趣,你可以知道人家是怎麼在看這件事情的。(請參相關連結④)
有幾個我看到的重點:
1. 首先參與了這次的結合案總共有三方:SB、NAVER、LINE、日本Yahoo,於是在公平會看的就是當這四方有結合的時候,對台灣的影響為何。(也是整篇新聞稿的重點)
2. 我訝異的是,SBG在台灣是有庶務的,而且還有兩個。分別是Arm Limited之「微處理器及系統之研發與授權」及Brightstar Re, Ltd.之「再保險、智慧型手機回購及換購」,雖然我不是很懂,可是至少知道原來SBG是跟我們有關係的。
3. 因為結合案是LINE與日本Yahoo結合,也就是說,不排除未來日本Yahoo可以藉由LINE銷售,因此,有疑慮可以切入台灣的市場。
在這裡,看到公平會的邏輯是:
(1)若是真的發生,那麼台灣消費者需要負擔較國內網購平臺更高之運費,並忍受更長之運送時間。
(2)台灣的網購平臺多屬綜合性零售商,並非只銷售來自特定區域或特定品類之商品,故即使結合後日本Yahoo以LINE作為入口切入我國電子商務市場,其取代之對象較有可能是日本商品之國內代理商或供應商,而非一般綜合性網購平臺。
(我其實在這一段突然懂了之前淘寶進入台灣的時候,政府查核的思考邏輯是什麼了XDDD 果然商業的世界很複雜,是需要一步一步來理解的。)
除了這個之外,我還自己畫了一張關係圖,結果發現,公平會的新聞稿中早就畫好了一張,而且還標示出股份所有權佔比。(我自己畫的以及公平會提供的我都放在留言)
我想,這是我在商業討論裡覺得有趣的,也是我訓練自己的,未必每一次都可以得到很多的收穫,但是,商業無所不在,每次練習一點點,就是很好的練習。
▌結論
華爾街日報導讀的起源只是我跟 Sandy's Recruitment note去年臨時起意的一個挑戰,起因於Sandy是風傳媒華爾街日報的代言人,而我們又想要讓自己更精進。
於是我們跟自己承諾了雙週六來執行,為了品質,這是一個封閉式討論。
這麼拉哩拉雜的寫出整的過程,是想鼓勵大家,研究商業不是一蹴可幾,但也不是窒礙難行,我們可以從小地方開始,帶著好奇心,歡迎你們也自己組隊來體驗這麼有趣的世界:)
► 相關連結
① 雅虎日本與LINE合併 成日本最大IT企業(新聞來源:中央通訊社):
https://www.cna.com.tw/news/firstnews/202103010231.aspx
② 日本 Yahoo 合併 LINE 一案,台灣公平會也審查過關!(文章來源:INSIDE):
https://www.inside.com.tw/article/20519-yahoo-japan-line-merge
③ 日本雅虎與 LINE 結合案,公平會准了(新聞來源:TechNews):
https://technews.tw/2020/07/29/japan-yahoo-line-ffc/
④ 不禁止有關SoftBank Corporation、Z Holdings Corporation與NAVER Corporation、LINE Corporation結合(新聞來源:公平交易委員會):
https://www.ftc.gov.tw/internet/main/doc/docDetail.aspx?uid=126&docid=16384
⑤ 是否所有的事業結合都要向公平會申報?(資料來源:公平交易委員會):https://www.ftc.gov.tw/internet/main/doc/docDetail.aspx?uid=1206&docid=14284
naver corporation 在 NAVER Corporation - Home | Facebook 的美食出口停車場
NAVER Corporation, 경기도 성남. ... NAVER Corporation, profile picture. Log In ... http://www.navercorp.com/. +82 1588-3830. Company. ·. Corporate Office. ... <看更多>