💟 #ต้องอ่านด่วน ☪️ #พื้นดวงชะตาการหาเงินแต่ละวัน ‼️
🔹วันจันทร์🔹 พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน เจ้าชู้ มีเสน่ห์ รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ฉลาดหาเงิน เอาตัวรอดได้ในทุกสถานการณ์ ความคิดอาจดูเชื่องช้าในบางครั้ง สติปัญญา มีพร้อม ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใคร โลกส่วนตัวไม่สูงมาก เพราะก็ชอบเอาตัวเองออกสังคมในบางครั้ง แต่ใครอย่ามาจู้จี้จุกจิก เวลาทำงานหาเงินก็จะทำตามอารมณ์ อย่ามาบังคับ ต้องบิ้วก่อน ใครรีบไปก่อนเลยประมาณนั้น....🤣 คนวันจันทร์เป็นคนค่อยคิดค่อยทำ มีความกล้าๆกลัวๆขาดความมั่นใจ ทั้งๆที่ดวงของคนวันจันทร์ปากเป็นเอก เสน่ห์เมตตามหานิยม ปากพารวยจะได้ดีจากการเจรจา วันจันทร์คือวันเสน่ห์ ให้ขายหน้าตา ขายเสียงของตัวเองแล้วจะรุ่ง หรือทำอะไรที่เกี่ยวกับของสวยของงาม เครื่องประดับ เสื้อผ้า จิลเวอรี่ น้ำหอม เครื่องสำอางสามารถทำได้เลย มุ่งเน้นมาทางผู้หญิง
🔹 วันอังคาร 🔹 มีพระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง ดุดัน ใครที่เกิดวันอังคาร มีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา จะมีอารมณ์ที่มุทะลุ จริงจัง ชอบใช้กำลัง ขยัน อดทน ไม่ยอมคน ใจร้อน แต่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่ค่อยเล่นกับอะไร จริงจังแม้กระทั่งการทำมาหากิน หาเงิน ถ้าไม่มีรายได้เข้าบ้าน ไม่มีเงินเข้าบัญชีจะเครียดมากกว่าวันอื่น คิดแล้วคิดอีก ปล่อยวางยาก แต่คนวันอังคาร ถ้าจับลู่ทางถูกคือรวยแล้ว รวยเลย ตกลงมายาก เพราะไม่ชอบให้ใครมาดูถูก หาเงินเก่ง ได้เงินก้อน แต่กว่าจะได้มาแต่ละบาทนั้น ต้องโดดเอาเปรียบมาก่อนเพราะความตรง ไม่ยอมงอ ไม่ยอมคนเลยมักโดนคนรังแกได้ง่าย จนกลายเป็นคนโง่ แนะนำให้ธุรกิจส่วนตัว จัดการคนเดียว จะรุ่งเรืองในหน้าที่การงานไม่รู้ตัว
🔹 วันพุธ 🔹 พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ น้ำเสียง เจรจา นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับลัคนา มักชอบพูดชอบเจรจา มีวาทศิลป์ ฉลาดในการพูด สุขุมรอบคอบ มีมาดดี พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู มักทำงานกลางคืน หรืองานที่ผิดกฎหมายไม่รุ่ง ถ้าทำก็ทำได้ไม่นาน แต่หาเงินเก่ง เป็นคนมีบุคคลิกดี มีความคิดสร้างสรรค์ ถ้ามีบริวารลูกน้องเยอะ หรือหุ้นกับใครให้ตัดคนวันพุธกลางคืนออกเลย ห้ามร่วมงานธุรกิจด้วย จะเดือดร้อนผิดใจ คบไม่ได้นาน มีปัญหาแน่นอนทางใดทางหนึ่ง คนวันพุธหาเงินเก่ง เก็บเงินอยู่ อย่าปล่อยให้ดวงชะตาหยุดนิ่ง ต้องเดินทาง ชีพจรลงเท้า หรือคิดงานตลอดเวลา หาอะไรทำได้ไม่เกิน3ธุรกิจ จะเสริมดวงหนุนดวง ถ้าเกินกว่านี้เงินล้นมือออกหมด ไม่เหลือ
🔹วันพฤหัสบดี 🔹 พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤๅษี หมายถึง บุคคลใดที่เกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ฉลาด สุขุม เมตตาปรานีต่อผู้อื่น พระพฤหัสบดีเป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ สามารถทำงานที่ช่วยเหลือผู้คน ครูสอนให้ความรู้ ศาสตร์หมอดู สปา เสริมสวย ฟิตเนท หรือเน้นธุรกิจทางด้านที่ทำให้คนมีความรู้ การดูแลเอาใจใส่ ให้คำแนะนำแบบนี้จะเสริมดวงทางด้านธุรกิจมาก คนวันพฤหัสบดีพื้นดวงคือเป็นคนตั้งใจ ถ้าได้ลงมือทำคือไม่แพ้ใคร หาเงินเก่งแต่มักออกไปกับสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ลงทุนผิดที่ผิดทางคือเจ๊งเลย และมักกังวล กลัวกับสิ่งรอบข้าง ให้หมั่นทำบุญสร้างพระ ถวายพระ จะหนุนดวงการเงินไม่ตกต่ำ จะเก็บเงินอยู่ มีฐานะมั่นคงมากขึ้นจากเดิม
🔹 วันศุกร์ 🔹พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน มีเสน่ห์ มีโชคลาภ มักมากในกาม ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ ผิดศีลบางครั้ง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ผู้ใดที่เกิดวันศุกร์แล้วพระอังคารโคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะมีมิตรสหายเกื้อหนุน ได้ลาภยศทรัพย์สินเงินทอง ได้ยศศักดิ์แลเชื่อเสียง มีชัยชนะศัตรู รอดพ้นภัยพาล หากพระเสาร์โคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะเกิดมีเกณฑ์พลัดพรากจากที่อยู่อาศัย มีเหตุให้เสียทรัพย์สินเงินทอง เจ็บป่วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดวงคนวันศุกร์ หาเงินเก่ง หาเงินจนตายเลยว่าได้ ถ้าไม่ตายไม่หยุดหาเงิน หิวเงินเป็นที่หนึ่ง หาเงินแบบบ้าคลั่ง เพราะดวงนี้ถ้าหยุดหาเงิน หรือปล่อยตัวเองจิตรกไม่ทำงาน จะไม่มีเงินเข้าและลำบากเลย หมั่นเติมน้ำมันตะเกียง ถวายน้ำดื่มเมื่อมีโอกาศ
🔹วันเสาร์ 🔹 พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ และเป็นบาปเคราะห์ที่รุนแรงที่สุดในบรรดานพเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง มีทิฐิมานะ กล้าได้กล้าเสีย รักสันโดษ ใจนักเลง โกรธง่าย บุคลิกเคร่งขรึม แต่อดทน ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ ตามตำรานี้คนวันเสาร์มักหาเงินเก่ง มีพรสวรรค์ทางด้านลี้ลับ มักเชื่อมจิตกับสิ่งที่มองไม่เห็น ดวงชะตาวัยกลางคนจะร่ำรวยมาก แต่ตอนเด็กจะลำบาก ถ้ายิ่งอายุเยอะบารมีจะยิ่งแกร่ง ถ้าทำงานด้านมืด รวยคือรวยเลย ถ้าร่วงคือติดพื้นไปที่ศูนย์ ถ้าทำงานธุรกิจที่สุจริตจะเหนื่อยมากแต่ถ้าเข้าที่เข้าทาง ถึงช่วงจังหวะจะกลับมารวยมากขึ้น ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมแพ้กับอะไรง่ายๆ ชะตาการหาเงินยิ่งกว่ารถไฟเหาะ หาเงินเก่ง ไปทุกทิศทางที่มีเงิน เติมน้ำมันตะเกียงบ่อยๆจะมีแสงสว่างนำทาง
🔹วันอาทิตย์🔹 พระอาทิตย์เป็นหนึ่งในสามเทพสูงสุด อันได้แก่ พระอัคนี เทพแห่งไฟ พระอินทร์ เทพแห่งสายฟ้า #และพระอาทิตย์ เทพแห่งแสงสว่าง พระอาทิตย์เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย มักหาเงินได้เป็นกอบเป็นกำ มีความยิ่งใหญ่ ยโส ไม่ยอมแพ้กับปัญหา ทำธุรกิจใหญ่จะดวงขึ้น ดวงชะตาไม่ตกต่ำเพราะมีกำลังวันหนุนดวงอยู่ ให้เชื่อมั่น มั่นใจในตนเอง ใครที่ดวงตกต่ำจะกลับมาดีแน่นอนในบั้นปลายชีวิต เป็นดวงที่ไม่ยอมแพ้กับอะไรง่ายๆ มักมีปาฎิหาร์ยเกิดขึ้นในชีวิตเสมอ ชีวิตโลดโผน มักเจอเรื่องราวในชีวิตมากกว่าคนอื่น แต่ดวงนี้อย่าได้กลัวคำว่าลำบาก วางแผนการเงิน วางแผนชีวิตให้ดี ทำบุญถวายหลอดไฟ เทียน จะหนุนนำชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า 🌿
#WATHANYANAKAREE #คุณเบลล์ญาณบารมี 🙏🏻
#หมอดูคุณเบลล์ญาณบารมี #ทำนายดวงชะตา
「อดทน หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於อดทน หมายถึง 在 Wathanya : คุณเบลล์ญาณบารมี Facebook 的最佳貼文
- 關於อดทน หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於อดทน หมายถึง 在 HealthyChill เฮลตี้สายชิล Facebook 的精選貼文
- 關於อดทน หมายถึง 在 ความอดทน คือ อะไร ? ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึงการ ... 的評價
- 關於อดทน หมายถึง 在 รายการสถานีธรรม : ความอดทน // ตอนที่ 269 - YouTube 的評價
- 關於อดทน หมายถึง 在 ๒. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงาม เพื่อส่วนรวม หมาย ... 的評價
อดทน หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
วิเคราะห์ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของคณะกรรมหารสรรหาอธิการที่ได้รับการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย
นับว่าเป็นเรื่องที่ดีในการที่มีความเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของกรรมการสรรหาที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นการท้วงติงเพื่อประโยชน์มหาวิทยาลัย เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นของคนคนเดียวแต่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่บุคลากรอยู่ใต้มหาวิทยาลัยย่อมห่วงในสถาบันที่เขาปฏิบัติหน้าที่อยู่
ผมในฐานะกรรมการสรรหาคนหนึ่งที่มาจากเลือกจากคณาจารย์มหาวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ ขออนุญาติชี้แจงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของคณะกรรมหารสรรหาอธิการที่ได้รับการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย
ในประเด็นนี้มีแนวคิดและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ คือ พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2562
แนวคิดว่าด้วยหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี
หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี เป็นหลักในการนำมาปกครองประเทศให้เกิดความสงบสุขโดยยึดหลักพื้นฐาน 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย การกำหนดกฎ กติกา และมีการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัย
3. หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกองค์กรให้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
4. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยวิธีการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ การทำประชาพิจารณ์ การร่วมลงประชามติ หรืออื่นๆที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยการรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และมีการรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547
ได้กล่าวถึงคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยเลือกเพื่อให้มีการโปรดเกล้าแต่งตั้งอธิการบดี มาตรา 18 มาตรา 28 มาตรา 29 ดังนี้
มาตรา 18 สภามหาวิทยาลัยมีอํานาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัยและโดยเฉพาะให้มีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้
(1) กําหนดนโยบายและอนุมัติแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการศึกษา การวิจัย การ ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม การผลิตและส่งเสริมวิทยฐานะครู การทะนุบํารุงศิลปะและ วัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
(2) ออกกฎ ระเบียบ ประกาศและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และอาจมอบให้ส่วนราชการใด ในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกกฎ ระเบียบ ประกาศและข้อบังคับสําหรับส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นเป็นเรื่องๆ ก็ได้
(3) กํากับมาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การเปิดสอนของมหาวิทยาลัย และติดตามประเมินผลการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย
(4) อนุมัติให้ปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร
(5) พิจารณาการจัดตั้ง การรวมและการยุบเลิกสํานักงานวิทยาเขต บัณฑิตวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย สถาบัน สํานัก ศูนย์ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ รวมทั้งการแบ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานของส่วนราชการดังกล่าว
(6) อนุมัติการรับสถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันอื่นเข้าสมทบในมหาวิทยาลัยหรือ ยกเลิกการสมทบ
(7) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่คณะกรรมการ การอุดมศึกษากําหนด
(8) พิจารณาเสนอเรื่องเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พิเศษ
(9) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี คณบดี ผู้อํานวยการสถาบัน ผู้อํานวยการสํานัก และ ผู้อํานวยการศูนย์ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า คณะ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ
(10) แต่งตั้งและถอดถอนประธานกรรมการและกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
(11) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
(12) ออกระเบียบและข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารการเงิน การจัดหารายได้และ ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายหรือมติ คณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
(13) พิจารณาดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษามอบหมาย
(14) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อพิจารณาและ เสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจ และหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย
(15) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยตามที่ อธิการบดีหรือสภาวิชาการเสนอ และอาจมอบหมายให้อธิการบดีหรือสภาวิชาการปฏิบัติการอย่าง หนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยได้
(16) ส่งเสริม สนับสนุนและแสวงหาวิธีการเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย ตลอดจนการปฏิบัติภารกิจร่วมกันกับสถาบันอื่น
(17) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใด โดยเฉพาะ
มาตรา 28 อธิการบดีนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยคําแนะนําของสภา มหาวิทยาลัยจากผู้มีคุณสมบัติตาม มาตรา 29 หลักเกณฑ์วิธีการได้มา และคุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยกระบวนการสรรหาซึ่งต้องคํานึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีความรู้ ความชํานาญ และคุณสมบัติเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และภาระหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย และเป็นที่ยอมรับนับถือของบุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลในท้องถิ่นที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของมหาวิทยาลัย
(2) กระบวนการสรรหาจะต้องเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของบุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลใน ท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของมหาวิทยาลัย
มาตรา 29 อธิการบดีต้องสําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และได้ทําการสอนหรือมีประสบการณ์ด้าน การบริหารมา แล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัย รับรอง หรือเคยดํารงตําแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยหรือสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภา มหาวิทยาลัยรับรอง หรือดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ รวมทั้งมีคุณสมบัติอื่น และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดใน ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
มาตรา 5
“การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
“คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบ ให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม
คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ยื่นคําขอหรือผู้คัดค้านคําขอผู้อยู้ในบังคับหรือในบังคับของคําส่ังทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจาก
สิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผลของคําส่ังทางปกครอง
มาตรา 13 เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
(1) เป็นคู่กรณีเอง
(2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายใน 3 ชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียง 2 ชั้น
(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
(5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 15 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่ากรรมการในคณะกรรมการ ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีลักษณะดังกล่าว ให้ประธานกรรมการเรียกประชุม คณะกรรมการเพื่อพิจารณาเหตุคัดค้านนั้น ในการประชุมดังกล่าวกรรมการผู้ถูกคัดค้านเมื่อได้ชี้แจง ข้อเท็จจริงและตอบข้อซักถามแล้วต้องออกจากที่ประชุม ถ้าคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีผู้ถูกคัดค้านในระหว่าง ที่กรรมการผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากที่ประชุม ให้ถือว่าคณะกรรมการคณะนั้นประกอบด้วยกรรมการ ทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ มติดังกล่าว ให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับและให้เป็นที่สุด การยื่นคำคัดค้านและการพิจารณาคำคัดค้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง
มาตรา 16 ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้ การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครอง ในเรื่องนั้นไม่ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจ้งให้ ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(2) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทำการพิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง หรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(3) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ซึ่งผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่มีคำสั่งหรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอำนาจในการพิจารณา ทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสอง และมาตรา 15 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 17 การกระทำใด ๆ ของเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจ พิจารณาทางปกครองที่ได้กระทำไปก่อนหยุดการพิจารณาตามมาตรา 14 และมาตรา 16 ย่อมไม่เสียไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ถูกคัดค้านหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจ พิจารณาทางปกครอง แล้วแต่กรณีจะเห็นสมควรดำเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดเสียใหม่ก็ได้
มาตรา 19 ถ้าปรากฏภายหลังว่าเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจ พิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใด ที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตาม มาตรา 28 มาตรา 29 พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547
ข้อ 7 ใหสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย
(1) กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน เป็นประธาน
(2) กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน เป็นรองประธาน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตพื้นที่บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัย 1 คน ซึ่งสภามหาวิทยาลัย เลือก เป็นกรรมการ
(4) นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี เป็นกรรมการ
(5) ผู้แทนบุคลากร สายวิชาการ 1 คน เป็นกรรมการ
(6) ผู้แทนบุคลากร สายสนับสนุน 1 คน เป็นกรรมการ
(7) ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ เป็นกรรมการ
(8) ผู้อํานวยการสํานักงานสภามหาวิทยาลัย เป็นเลขานุการ ใหเจ้าหน้าที่สํานักงานสภามหาวิทยาลัย 1 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ การเลือกกรรมการตามขอ 7 (3) ให้เป็นไปตามมติของสภามหาวิทยาลัย การเลือกกรรมการตามข้อ 7 (5) และ (6) ให้ออกเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่กรรมการสรรหาคนใดคนหนึ่งสมัคร หรือตอบรับการทาบทามเป็นผู้สมควรดํารงตําแหน่ง อธิการบดี ให้กรรมการผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งกรรมการสรรหา และให้คณะกรรมการสรรหาที่เหลืออยู่เป็นองค์ประชุมเพื่อดําเนินการสรรหาต่อไป
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดี ซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา 28 (1) และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และต้องมีคุณลักษณะพึงประสงค์ ดังต่อไปนี้
(1) มีภาวะผู้นําที่กล้าเปลี่ยนแปลง สามารถระดมทรัพยากรและบุคคลเพื่อรวมกันพัฒนา มหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
(2) มีวิสัยทัศน์กวางไกล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทันสมัยทันเหตุการณ์ในการบริหาร มหาวิทยาลัย
(3) เป็นผู้ที่สามารถแสวงหารายได้และทรัพยากรอื่นเข้าสู่มหาวิทยาลัย
(4) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการ
(5) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมความสามัคคี มีศักยภาพในการจัดหาความร่วมมือในทางวิชาการ และการวิจัย สามารถติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ
คุณลักษณะต้องห้ามของผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดี ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(2) เป็นผู้มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับกิจการของมหาวิทยาลัยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
(3) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทํากับมหาวิทยาลัย เว้นแต่เป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับ การดําเนินกิจการทางวิชาการ
(4) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในหางหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เขาเป็นคู่สัญญากับมหาวิทยาลัย เว้นแต่ เป็นผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์แห่งการลงทุนตามปกติ
ข้อ 9 ให้คณะกรรมการสรรหามีอํานาจและหน้าที่ในการออกประกาศ และประชาสัมพันธ์การกําหนด วิธีการและขั้นตอนในการสรรหาบุคคลดํารงตําแหน่งอธิการบดี ดังนี้
(1) การรับสมัคร การเสนอชื่อ และการเสาะหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ก. วิธีการสมัคร ให้ผู้สนใจสมัครเข้ารับการสรรหาในตําแหน่งอธิการบดี ตามแบบที่คณะกรรมการสรรหากําหนด
ข. วิธีการเสนอชื่อ ให้คณะกรรมการสรรหากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอชื่อผู้ที่มีความ เหมาะสม
ค. วิธีการเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสม ให้คณะกรรมการสรรหาเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสมเข้าสู่กระบวนการสรรหาอธิการบดี
(2) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ได้รับการเสนอชื่อ และหรือผู้ได้รับการเสาะหาว่ามี คุณสมบัติตามมาตรา 28 (1) และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
(3) ทาบทามผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะดํารงตําแหน่งอธิการบดีตาม
(2) โดยให้ผู้ที่ได้รับการทาบทามมีหนังสือตอบรับหรือปฏิเสธการทาบทาม กรณีที่ตอบรับการทาบทามให้ผู้ที่ตอบรับเสนอเอกสาร แนวทางการ พัฒนาและการแก้ป้ญหาของมหาวิทยาลัยใน 4 ปีข้างหน้า โดยจัดทํารายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ตอบรับ การทาบทามในแบบประมวลประวัติและผลงานตามที่คณะกรรมการสรรหากําหนด
(4) พิจารณาขอมูลประวัติ ผลงาน แนวทางพัฒนาและแก้ปัญหามหาวิทยาลัย โดยให้มีการแสดง วิสัยทัศน และยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยของผู้ที่ตอบรับการทาบทามตาม 9 (3) ต่อที่ประชุมบุคลากร ของมหาวิทยาลัยและบุคลากรในท้องถิ่น และกลั่นกรองให้เหลือจํานวนไม่น้อยกว่า 2 ชื่อแต่ไม่เกิน 3 ชื่อ เพื่อพิจารณาเป็นผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดีเรียงตามลําดับตัวอักษรเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณา
ข้อ 10 การประชุมสภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาเลือกผู้ดํารงตําแหนงอธิการบดีจากรายชื่อที่คณะ กรรมการสรรหาเสนอตามข้อ 9 (4) ต้องมีกรรมการสภามหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมจํานวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่ และการลงมติเลือกผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีให้ลงคะแนนโดยวิธีลับ กรรมการสภามหาวิทยาลัยหนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียง หากมีคะแนนเสียงเท่ากันใหประธานที่ ประชุมสภามหาวิทยาลัย ลงคะแนนเสียงเพิ่มได้อีกหนึ่งเสียง มติเลือกเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีตองมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่
กรณีที่การลงคะแนนเสียงในครั้งแรกหากไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเท่าที่มีอยู่ ให้ลงคะแนนเสียงครั้งที่ 2 ด้วยวิธีลับ หากการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 2 ยังไม่มีผู้ที่ได้ คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่อีก ให้ลงคะแนนเสียงครั้งที่ 3 โดยวิธีลับ โดยการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 3 นี้ให้ตัดผู้ที่ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุดจากการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 2 ออกจากการเป็นผู้ที่ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี หากตัดไปแล้วทําให้เหลือผู้ที่จะได้รับการ พิจารณารับเลือกเพียงคนเดียวให้ที่ประชุมลงคะแนนเสียง “รับ” หรือ “ไม่รับ” และคะแนนเสียงที่จะเสนอชื่อเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้นั้นให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีต้องมีคะแนนเสียง..“รับ”..เกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่ ถ้าคะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเท่าที่มีอยู่ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรดํารงตําแหนงอธิการบดีใหม่
กรณีที่การลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 3 มีผู้ที่จะได้รับการพิจารณารับเลือกหลายคน แต่ผลการลงคะแนนเสียงยังไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่ ให้ดําเนินการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 4 โดยวิธีการเดียวกับการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 3 หากยังไม่มีผู้ใด ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเท่าที่มีอยู่อีกให้ดําเนินการลงคะแนนเสียง โดยให้ตัดผู้ที่ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุดจากการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ผานมาออกจากการเป็นผู้ได้รับการ พิจารณาแตงตั้งให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี
ทั้งนี้ ให้การดําเนินการพิจารณาเลือกผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี จะต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในการประชุมคราวนั้นจนกว่าจะได้ผู้ที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง หรือให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดีใหม่แล้วแต่กรณี
จากการพิจารณากฎหมายและข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยนี้สามารถวิเคราะห์ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของคณะกรรมหารสรรหาอธิการที่ได้รับการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย ว่าเป็นมีส่วนได้เสียหรือไม่
ประเด็นแรก
กรรมการสรรหาอธิการบดีที่มาจากตัวแทนสภามหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานีว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2562 ข้อ 7 ใหสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหานั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมาย คือ ตามพระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 28 ว่าแต่งตั้งกรรมการสรรหาชอบด้วยกฎหมาย ตามอำนาจมาตรา 18 (14) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อพิจารณาและ เสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจ และหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย ดังนั้นการแต่งตั้งกรรมการสภา 3 ท่านมาเป็นกรรมการสรรหาเพื่อพิจารณาสรรหาอธิการบดีให้สภาพิจารณาทางปกครองในการออกคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ชอบด้วยกฎหมาย
ประเด็นที่ 2
กรรมการสรรหา 3 ท่านที่มาจากกรรมการสภานั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ ในกรณีที่ทำหน้าเป็นกรรมสรรหาและทำหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกอธิการบดีเพื่อให้ดำเนินการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
เมื่อพิจารณาตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี เป็นหลักในการนำมาปกครองประเทศให้เกิดความสงบสุขโดยยึดหลักพื้นฐาน 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย การกำหนดกฎ กติกา และมีการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัย
3. หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกองค์กรให้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
4. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยวิธีการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ การทำประชาพิจารณ์ การร่วมลงประชามติ หรืออื่นๆที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยการรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และมีการรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หลักธรรมาภิบาล ในประเด็นเรื่องหลักนิติธรรมในเรื่องส่วนได้เสีย นั้นจะปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13 กรรมการสรรหาผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดี 3 ท่าน คือ เป็นคู่กรณีเอง เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในประเด็นนี้จะเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยจะเป็นคู่กรณีกับผู้ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดี 3 ท่าน ซึ่งมี กรรมการสภามหาวิทยาลัย 3 ท่าน เป็นกรรมการสรรหาอยู่ด้วยนั้น เห็นว่าไม่น่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้จึงไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลแต่อย่างใด เพราะ
1.กรรมการสรรหา 3 ท่านนั้นที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งมาจากกรรมการสภาเพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการสรรหาให้สำเร็จลุ่ล่วง ภายใต้พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 18 (14) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อพิจารณาและ เสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจ และหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย คือ แต่งตั้งเพื่อไปทำหน้าที่สรรหาผู้ที่ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดีตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยฯ ข้อ 9 (4) พิจารณาขอมูลประวัติ ผลงาน แนวทางพัฒนาและแก้ปัญหามหาวิทยาลัย โดยใหมีการแสดง วิสัยทัศน และยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยของผู้ที่ตอบรับการทาบทามตาม 9 (3) ต่อที่ประชุมบุคลากร ของมหาวิทยาลัยและบุคลากรในท้องถิ่น และกลั่นกรองให้เหลือจํานวนไม่น้อยกว่า 2 ชื่อแต่ไม่เกิน 3 ชื่อ เพื่อพิจารณาเป็นผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดีเรียงตามลําดับตัวอักษรเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณา
2. กรรมการสรรหาที่มาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยไม่ได้ดำเนินการในข้อ 9 ค. วิธีการเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสม ให้คณะกรรมการสรรหาเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสมเข้า สู่กระบวนการสรรหาอธิการบดี เพราะอาจการกระทำในข้อนี้จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณาทางปกครองได้
3. การสรรหาผู้ที่ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดี จำนวน 3 ชื่อถือเป็นขั้นตอนหรือกระบวนการหนึ่งของการพิจารณาทางปกครอง เพื่อให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาทางปกครอง ออกคำสั่งทางปกครองคือ เลือกผู้ได้รับการสรรหาให้มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นอธิการบดี
4. เมื่อพิจารณาข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยว่าด้วยการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎต่างๆแล้ว จะให้กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการสภาที่เป็นประธานสภาคณาจารย์เป็นกรรมการสรรหาอธิการบดีเกือบทั้งหมด ตัวอย่างเช่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตว่าด้วยคุณสมบัติและวิธีการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2560
ข้อ 7 คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีประกอบด้วย
1.กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิเลือกกันเอง 1 คน เป็นประธาน
2.กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิเลือกกันเอง 2 คน เป็นกรรมการ
3. ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
4.ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ เป็นกรรมการ
5. กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้ดำรงตำแหน่งบริหารเลือกกันเอง 1 คน เป็นกรรมการ
6.กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคราจารย์เลือกกันเอง 1 คน
7.ผู้อำนายการสำนักอธิการบดีเป็นเลขา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีว่าด้วยคุณสมบัติและวิธีการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2554
ข้อ 9 ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ประกอบด้วย
1.กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยให้ให้สภามมหาวิทยาลัยเป้นผู้เลือกเป็นประธาน
2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเลือกกันเองและมิใช่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานตามข้อ 1 จำนวน 2 คน
3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ สถาบัน ผู้อำนาวนการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ากองที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ซึ่งเลือกกันเองจำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำซึ่งเลือกกันเอง จำนวน 2 คน
5. ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ เป็นกรรมการ
6. ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
ให้กรรมการสรรหาเลือกกันเอง 1 คนเป็นเลขานุการกรรมการสรรหาและให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ เป็นต้น
จากตัวอย่างข้างต้นกรรมการสรรหานั้นมาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมดและไม่มีประเด็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียตามหลักธรรมาภิบาลแต่อย่างใดและที่สำคัญกรรมการสรรหาอธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีนั้นกรรมการสรรหามาจากทุกส่วนเป็นไปตามเจตนารมณ์มาตรา 28 แห่งราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547
แต่อย่างไรก็ตามภายใต้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เมื่อพิจารณาถึง คู่กรณี” หมายความว่า
1.ผู้ยื่นคําขอหรือ
2.ผู้คัดค้านคําขอผู้อยู้ในบังคับหรือ
3.ในบังคับของคําส่ังทางปกครอง และ
4.ผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจากสิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผลของคําส่ังทางปกครอง
อาจจะดำเนินการมาตรา 15 มาตรา 16 คือ
มาตรา 15 คู่กรณี คือ ผู้ได้รับการสรรหาเสนอชื่อเป็นอธิการบดี 3 ท่าน เห็นว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้พิจารณาทางปกครองเป็นกรรมการสรรหาเป็นผู้มีส่วนได้เสียอาจจะทำให้การพิจารณาไม่เป็นกลาง เพราะเป็นผู้อยู่ในกระบวนการสรรหาและอยู่ในกระบวนการพิจารณานั้นอาจมีปัญหาในส่วนได้เสียตามมาตรา 13 เสนอให้ประธานสภามหาวิทยาลัยหยุดดำเนินการพิจารณา และให้มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ถ้ามติเสียงที่ประชุมกรรมการสภา 2 ใน 3 เห็นว่าไม่มีส่วนได้เสียเพราะกรรมการสรรหาเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการดำเนินการสรรหาอธิการอันอยู่ในอํานาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยให้พิจารณาต่อไปได้
มาตรา 16 กรรมการสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจในการพิจารณาทางปกครอง เห็นว่า กรรมการสรรหา 3 ท่านที่มาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยอาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้ อาจจะทำให้การพิจารณาไม่เป็นกลาง เพราะเป็นผู้อยู่ในกระบวนการสรรหาและอยู่ในกระบวนการพิจารณานั้นอาจมีปัญหาในส่วนได้เสียตามมาตรา 13 เสนอให้ประธานสภามหาวิทยาลัยหยุดดำเนินการพิจารณา และให้มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ถ้ามติเสียงที่ประชุมกรรมการสภา 2 ใน 3 เห็นว่าไม่มีส่วนได้เสียเพราะกรรมการสรรหาเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการดำเนินการสรรหาอธิการอันอยู่ในอํานาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยให้พิจารณาต่อไปได้ แต่ถ้าเห็นว่ากรรมการสรรหาที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ก็ให้งดหรือออกจากที่ประชุมพิจารณาและพิจารณาต่อไปได้ และไม่ได้ทำให้กระบวนการสรรหานั้นเสียไปแต่อย่างใด ตามมาตรา 19
อดทน หมายถึง 在 HealthyChill เฮลตี้สายชิล Facebook 的精選貼文
Buy "Yourself" First ❤️🌈
เราต้องรู้จัก "ซื้อตัวเองก่อน"
#เคยท้อแท้รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้องการไม่ดีพอไหมคะ? เช่น สัมภาษณ์ไม่ได้งาน ออกกำลังกายแล้วแต่หุ่นไม่ดีเหมือนใครๆ หรือถูกคนที่เรารักปฏิเสธเอาดื้อๆ
.
ทั้งหมดนี้ปุ๋ยเคยเป็นนะคะ
อาการมันก็จะน้อยใจ เสียใจอะไรตามมาว่าไป แต่มันเกิดขึ้นมาเพื่อให้เราเรียนรู้ค่ะ
.
อย่างนึงที่ปุ๋ยคิดได้ในช่วงเวลาท้อๆ ก็คือ
เราต้อง "Buy Yourself First" หรือซื้อตัวเองก่อน!
.
หมายถึง "เราต้องหลงรักตัวเอง ทุ่มเทกับตัวเอง ดูแลตัวเองอย่างสุดกำลังจนซื้อตัวเองให้ได้ก่อน"
เพราะถ้าเราไม่ซื้อตัวเองก่อน แล้วใครจะซื้อนะ?
.
อารมณ์แบบ "ไม่ซื้อไม่ได้แล้วววคนนี้"
"ไม่สุขภาพดีไม่ได้แล้วว เริ่มดูแลตัวเองขนาดนี้"
"ไม่รับเข้าทำงานไม่ได้แล้ว ทุ่มเทพัฒนาตัวเองขนาดนี้ ❤️"
"ไม่รักไม่ได้แล้วววคนนี้ น่ารักน่าหยิกขนาดนี้"
.
ก่อนที่จะให้ใครยอมรับเรา
ไม่ว่าจะเรื่องงาน การตั้งเป้าหมายการออกกำลังกาย หรือความรัก
เราต้องยอมรับและรักตัวเอง
ทำดี อดทน ตั้งใจและ "ซื้อตัวเองลงไปซ้ำๆ"
.
เมื่อนั้นค่ะ
เมื่อไรก็ตามที่เราซื้อตัวเราได้มากพอ
เราเห็นค่าของตัวเองมากพอ
รักและพัฒนาตัวเองมากพอ
จะมีงานชั้นเลิศ มีสุขภาพที่ดีเป็นปลายทาง
จะมีคนรักอีกมากมายที่พร้อมจะเห็นเรา
และหลงรักในแบบที่เป็นเรานะคะ
.
ถ้าวันนี้ท้อแท้
อย่าลืมซื้อตัวเองก่อนนะคะ ; )
Buy "Yourself" First ❤️
#แชร์แบ่งเพื่อนอ่านค่ะ 😊
ด้วยรัก
ปุ๋ย ปาหลุย #healthychillway
Product mention :
Dior Sunglass
Proenza Schouler , Bown (M size)
MANGO jeans
Shirt Union mall
.
🌈 ทักทายกัน/ มีคำถามคอมเม้นท์ใต้โพสนี้เล้ย ตอบตลอดค่ะ จุ๊บๆ
☀️☀️เฟสบุ๊คลดการมองเห็น ฝากกด Like โพสนี้ และ ตั้ง See First เห็นโพสก่อน จะได้ไม่พลาดสุขภาพดีจากปุ๋ยนะคะ 😘 ☀️☀️
————————
♡ connect
Line@ : @healthychill (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือกด https://goo.gl/v2vWr3
IG : palouis_healthychill
หรือกด https://goo.gl/D1Wqn4
YouTube : Palouis HealthyChill
หรือกด https://goo.gl/E19RTE
อดทน หมายถึง 在 รายการสถานีธรรม : ความอดทน // ตอนที่ 269 - YouTube 的美食出口停車場
ความ อดทน มาจากคำว่าขันติ คือ มีความ อดทน อดกลั้นต่อความทุกข์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา และใจ ... ... <看更多>
อดทน หมายถึง 在 ๒. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงาม เพื่อส่วนรวม หมาย ... 的美食出口停車場
๙. มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง การน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประพฤติปฏิบัติตน ... ... <看更多>
อดทน หมายถึง 在 ความอดทน คือ อะไร ? ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึงการ ... 的美食出口停車場
พระนพดล สิริวํโส. ความอดทน คือ อะไร ? ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึงการรักษาปกติภาวะของตนไว ... ... <看更多>