กฎหมายของชาวบาบิโลน (Babylonian Law )
ชาวบาบิโลนเป็นชนชาติหนึ่งซึ่งเข้าไปตั้งรกรากอยู่ในดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายในเอเชียตะวันตก คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) ซึ่งเรียกว่า เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) และปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก ดินแดนแถบนี้เป็นที่ทุ่งราบกว้างขวางและมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีชนชาติต่างๆเข้ามาทำสงครามเพื่อช่วงชิงความเป็นเจ้าของกันมาก เช่นพวก สุเมเรีย (Sumaria) อัคคาเดีย (Akkadia) บาบิโลเนีย (Babylonia) อัสสิเรีย (Assyria) และเปอร์เซีย (Persia) เป็นต้น ซึ่งชนชาติดังกล่าวนี้ต่างก็ได้สร้างอารยธรรมขึ้นไว้ และเป็นอารยธรรมดั้งเดิมที่ได้สืบเนื่องมาเป็นอารยธรรมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรัฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศาสนา และวรรณคดี รวมทั้งนิติศาสตร์ด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายนั้น ในขณะที่ชาวบาบิโลนได้ครอบครองดินแดนนี้ กษัตริย์ของชาวบาบิโลนองค์หนึ่งได้แก่พระเจ้าฮัมมูราบี (King Hammurabi) ได้จัดทำประมวลกฏหมายขึ้นฉบับหนึ่งเรียกว่า “ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี" (The Coad of Hammurabi) ในราวปี 1902 ก่อนคริสต์ศักราช ประมวลกฎหมายฉบับนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นประมวลกกหมายเก่าแก่ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในยุคนั้น และได้เป็นแบบอย่างของกฎหมายในยุคต่อๆมาด้วย
กฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hannurabi) แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะมีความสมบูรณ์ในขณะนั้น และเรียกว่า “ ประมวล (Code) “ ก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ประมวลกฎหมายตามความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีได้จัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร และมีลักษณะสำคัญที่ควรนำมากล่าวบางประการ คือ
1.การแบ่งวรรณะของประชาชน ได้มีการแบ่งประชาชนออกเป็น 3 ชั้นหรือ 3 วรรณะได้แก่พวก Awelu คือพวกชนชั้นสูง พวก Muskinu ได้แก่ประชาชนธรรมดา พวก Ardu ได้แก่ ชนชั้นต่ำหรือทาสการแบ่งชั้นของประชาชนเช่นนี้ทำให้การบัญญัติกฎหมายต้องสอดคล้องตามไปด้วย เช่นการทำความผิดต่อชนชั้นสูงหรืออภิสิทธิ์ชน จะได้รับโทษหรือถูกปรับสูงกว่าอัตราปกติเป็นต้น
2.เรื่องทรัพย์สิน ประมวลกฎหมายฉบับนี้ได้ยอมรับนับถือว่าเอกชนสามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ แม้ว่าการขายที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่บางประการที่กำหนดไว้ เช่นการจัดหาชายฉกรรณ์เข้าเป็นทหารกองทัพ เป็นต้น นอกจากนั้นยังอนุญาตให้มีการจำหน่ายทรัพย์สินไปโดยวิธีต่างๆ เช่น ขาย ให้เช่า ให้โดยเสน่หา ให้กู้ยืม จำนำ ได้ด้วย ซึ่งวิธีการต่างๆ ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการทำสัญญาทั้งสิ้น
ข้อสังเกต บางประการได้แก่การลงโทษแก่ผู้ซื้อทรัพย์สิน หรือรับฝากทรัพย์สินจากผู้เยาว์ หรือทาส โดยปราศจากอำนาจ จะถูกลงโทษในฐานลักทรัพย์ และถ้าผู้ใดรับทรัพย์สินที่ถูกลักมาจะมีความผิดและถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต ยกเว้นในกรณีที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้รับทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริต แต่ต้องคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่เจ้าของ ส่วนตนเองอาจไล่เบี้ยเอาจากผู้ขายได้
3.เรื่องครอบครัว การสมรสระหว่างชายหญิงเป็นไปในลักษณะซื้อขาย โดยบิดามารดาของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้จัดการโดยตลอด ในการนี้ฝ่ายชายจะต้องมอบเงินจำนวนหนึ่ง (Birde-Price) ให้แก่ฝ่ายหญิง ส่วนฝ่ายหญิงจะมอบ”เงินทุน.” (dowry) ซึ่งได้แก่ทรัพย์สินหรือเครื่องประดับ หรือเงินทองให้แก่หญิง และเงินทุนนี้จะตกเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของหญิงนั้นจนตลอดชีวิต ถ้าหญิงนั้นถึงแก่ความตาย เงินทุนจะตกเป็นของบุตรของหญิงนั้น แต่ถ้าไม่มีบุตร เงินทุนจะถูกส่งกลับคืนไปครอบครัวเดิม หลักกฎหมายฮัมมูราบียังบัญญัติไว้ว่า สามีภริยาเป็นบุคคลเดียวกัน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้สินแล้ว สามีภริยาจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน เช่นสามีจะต้องรับผิดในหนี้สินที่ภริยาของตนก่อขึ้น แม้ว่าหนี้นั้นจะได้ก่อขึ้นก่อนการสมรสก็ตามอย่างไรก็ตาม บทบัญญัติแห่งกำหมายฉบับนี้อนุญาตให้คู่สมรสทำสัญญาจำกัดความรับผิดชอบในเรื่องหนี้สินขึ้นได้ กล่าวคืออาจทำสัญญาซึ่งมีบทบัญญัติไม่ให้ภริยาจำต้องรับผิดชอบในหนี้ที่สามีก่อขึ้นก่อนสมรส และในทำนองเดียวกัน เจ้าหนี้ของภริยาจะฟ้องร้องให้สามีต้องรับผิดในหนี้สินที่ภริยาก่อขึ้นก่อนสมรสก็ทำไม่ได้เช่นกัน การขาดจากการสมรสโดยเฉพาะการหย่า สามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะสามีจะหย่ากับภริยาของตนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะต้องมอบเงินทุนคืนให้แก่ภริยา และให้ภริยาเป็นผู้ดูแลบุตร โดยสามีเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่ในกรณีที่ภริยาประพฤติชั่ว นอกจากสามีมีสิทธิ์ที่จะหย่าได้แล้วยังมีสิทธิ์ที่จะปกครองบุตรและไม่ต้องคืน.” เงินทุน” ให้ภริยาด้วยหรือไม่เช่นนั้นอาจเลี้ยงดูภริยาไว้ในบ้านในฐานะทาสในเรือนเบี้ยก็ได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าสามีโหดร้ายทารุณ ภริยาอาจร้องขอให้ศาลสั่งให้ตนแยกกันอยู่กับสามี และให้สามีคืนเงินทุนให้ก็ได้หรือถาภริยาตกเป็นหญิงหม้าย เช่นในกรณีที่สามีตาย และภริยาต้องการจะทำการสมรสใหม่ก็ต้องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อนเช่นกัน และศาลจะวางข้อบังคับอย่างเข้มงวดกวดขันในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของสามีคนก่อน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของบุตรที่เกิดจากเจ้ามรดกนั้นบทบัญญัติที่น่าสนใจของประมวลกำหมายนี้อีกเรื่องหนึ่ง ได้แก่กรณีภริยาซึ่งไม่สามารถเกิดบุตรได้ อาจยกสาวใช้ให้แกสามีเพื่อให้มีบุตรได้ และในกรณีนี้สามีจะมีภริยาน้อย (concubine ) ไม่ได้ แต่ถ้าภริยาไม่ทำเช่นว่านี้ สามีอาจหาหญิงอื่นมาเป็นภริยาน้อยได้ และถึงแม้ว่าสถานะภริยาน้อยจะด้อยกว่าภริยาหลวง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา รวมทั้งการขาดจากการสมรสมีลักษณะคล้ายคลึงกับวิธีการที่ใช้กับภริยาหลวง4.กฎหมายอาญาของประมวลกฎหมายฮัมมูราบียึดถือหลักการแก้แค้นทดแทนอย่างรุนแรง ในลักษณะเดียวกัน ตามวลีที่ว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” (an eye for ‘ a tooth for tooth) ซึ่ง หลักการดังกล่าวนี้เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมซึ่งมีชื่อว่า “lex talionis”
ข้อสังเกต ในประมวลกฎหมายฮัมมูราบีไม่มีการลงโทษจำคุกแก่ผู้กระทำความผิด เพระโทษที่ลงแก่ผู้กระทำความผิดร้ายแรง เช่นในความผิดฐานลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หรือชิงทรัพย์ ได้แก่โทษประหารชีวิตสถานเดียว ได้แก่โทษปรับ
นอกจากนี้ผู้กระทำความผิดบางประเภทอาจได้รับโทษซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในกฎหมายปัจจุบัน เช่นลูกทำร้ายร่างกายพ่อ จะถูกลงโทษให้ตัดมือทิ้งเสีย เป็นต้น กฎหมายแบบ lex talionis ที่น่าสนใจมากอีกประการหนึ่งได้แก่การลงโทษบุคคลซึ่งเป็นบุตรของผู้กระทำความผิดถึงขั้นประหารชีวิต ได้แก่กรณีที่เจ้าหนี้ทำให้บุตรของลุกหนี้ซึ่งมาอยู่กับตนในฐานะเป็น ” ผู้ขัดหนี้”(mancipium) ถึงแก่ความตาย บุตรของเจ้าหนี้จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย หรือช่างก่อสร้างบ้านที่ทำให้บุตรของเจ้าบ้านถึงแก่ความตายโดยประมาท บุตรของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายเช่นกัน นอกจากนั้นบุคคลใดทำให้บุตรสาวของผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรสาวของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย ซึ่งการลงโทษวิธีนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องน่าสนใจแต่ก็ขัดกับหลักการลงโทษในกฎหมายปัจจุบัน เพราะในกฎหมายปัจจุบันผู้ที่จะได้รับโทษทางอาญาจะต้องเป็นผู้ที่กระทำความผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะในฐานะตัวการหรือผู้สนับสนุน เท่านั้น จะไปลงโทษแก่บุตรธิดาของผู้กระทำความผิด ทั้งๆที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทำความผิดไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีได้วางหลักไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับโทษทางอาญาอย่างรุนแรงจะต้องเป็นผู้กระทำความผิดโดยเจตนา เช่นการฆ่าคนตายโดยเจตนา จะถูกลงโทษประหารชีวิต แต่ถ้าจำเลยสาบานว่าได้ค่าคนตายจริง แต่เป็นเรื่องฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาโทษที่จำเลยได้รับจะได้แก่โทษปรับเท่านั้น โดยคำนึงถึงชั้น วรรณะ ของผู้ที่ถึงแก่ความตายเป็นสำคัญ
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
the code of hammurabi 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
the code of hammurabi 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
the code of hammurabi 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
the code of hammurabi 在 Code of Hammurabi - The Avalon Project 的相關結果
1. If any one ensnare another, putting a ban upon him, but he can not prove it, then he that ensnared him shall be put to death. 2. If any one bring an ... ... <看更多>
the code of hammurabi 在 Code of Hammurabi | Summary & History | Britannica 的相關結果
Code of Hammurabi, the most complete and perfect extant collection of Babylonian laws, developed during the reign of Hammurabi (1792–1750 bce) of the 1st ... ... <看更多>
the code of hammurabi 在 Code of Hammurabi: Laws & Facts - HISTORY 的相關結果
The Code of Hammurabi was one of the earliest and most complete written legal codes and was proclaimed by the Babylonian king Hammurabi, ... ... <看更多>