Invited Webinar of IEEE EDS NCTU Student Branch Chapter
▶Title:
Beyond CMOS: Novel Materials, Emerging Memory and Applications
▶Speaker:
Prof. Ying-Chen “Daphne” Chen, Northern Arizona University
▶Date:
7/30, 2021 (Fri.)
10:00 - 11:30 AM
Microsoft Teams 會議網址: https://reurl.cc/bXqxAd
▶Abstract:
Towards the end of the Moore’s law scaling approaching, there is a need for new device technologies that break the limits of computing performance at the nanoscale while enabling better energy efficiency. We also need to consider a new approach with the new materials and new devices for exploring new paradigms of computing. Among the emerging technologies, emerging memory become the candidates for enabling the highly efficient computing while with nonvolatile effect for information storage applications. This talk aims to introduce the current develop of novel materials and emerging electronics, such as the memristor with mimicking the neural system, 2D materials for flexible electronics, and helix-structured active matters.
▶Short Bio:
Dr. Daphne Chen is the assistant professor in School of Informatics, Computing and Cyber Systems at Northern Arizona University. She received the Ph.D. degree in Electrical and Computer Engineering (ECE) at The University of Texas at Austin in 2019, B.S. and M.S. degree from National Chiao Tung University (Taiwan). Prior to joining NAU, she was the R&D Pathfinding Emerging Memory Engineer at Micron Technology working on emerging memory and future applications. Her primary research focuses on emerging electronics and memory devices for high storage class, new computing, and energy-efficient integrated systems. She was also the recipient of Sandia National Laboratory Research Award 2019, and Rising Stars 2017 in EECS (among 60 recipients worldwide).
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅channelvtc,也在其Youtube影片中提到,[VPET International Conference 2020 ] Reflection Session: Who's Driving VPET 2020 & Beyond? Dr Carrie Yau, GBS, JP, Executive Director, Vocational T...
r&d engineer 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
กรณีศึกษา Lenovo ทำอย่างไร ให้เป็นผู้นำตลาด PC ของไทย และของโลก
Lenovo Thailand x ลงทุนแมน
ผู้ที่ครองส่วนแบ่งตลาด จำนวนการส่งมอบ PC อันดับ 1 ของโลก ในปี 2020 ที่ผ่านมา
คือ Lenovo ที่ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 23.8%
และสำหรับในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา
Lenovo ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาด PC อันดับ 1 ได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ลงทุนแมนมีโอกาสได้พูดคุยกับ6
คุณวรพจน์ ถาวรวรรณ ผู้จัดการทั่วไป Lenovo ประจำพม่า ลาว กัมพูชา และผู้อำนวยการส่วนธุรกิจคอนซูเมอร์ของ Lenovo ในไทย ถึงเคล็ดลับและกลยุทธ์การทำธุรกิจของ Lenovo
Lenovo ทำอย่างไร ให้เป็น ผู้นำตลาด PC ของไทยและของโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ถ้าลองไปเปิดดูผลประกอบการปีที่ผ่านมาของ Lenovo
จะเห็นว่าบริษัททำรายได้รวมเติบโต 20% กำไรสุทธิเติบโต 77%
และถ้าหากมาโฟกัสที่ไตรมาสล่าสุด
Lenovo ทำรายได้เติบโต 48% และกำไรสุทธิเติบโตถึง 512%
ลงทุนแมนถามคุณวรพจน์ด้วยคำถามแรกว่า
การเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กส่วนบุคคลในไทย รวมไปถึงในพม่า ลาว กัมพูชา ที่คุณวรพจน์ เป็นผู้ดูแล เติบโตดีแค่ไหน เมื่อเทียบกับผลประกอบการภาพรวมของ Lenovo ?
คุณวรพจน์ ถาวรวรรณ ตอบด้วยตัวเลขที่บอกเราว่า “เติบโตได้ดีมาก ๆ สอดคล้องกับภาพรวม”
ในส่วน พม่า ลาว กัมพูชา ในส่วน Personal Computer และ Smart Devices (PCSD) ที่คุณวรพจน์ ดูแลนั้น รายได้เติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก
ส่วนการเติบโตในประเทศไทยในส่วนของคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานส่วนบุคคลในปีที่ผ่านมานั้นก็สอดคล้องกับการเติบโตของ Lenovo ทั่วโลก
กล่าวสรุปคือ เป็นปีที่ Lenovo มีการเติบโตทั่วโลกรวมถึงในไทย
จากสถิติของ IDC สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2021 Lenovo ยังครองส่วนแบ่งตลาด จำนวนส่งมอบ PC อันดับ 1 ของโลกที่ 24.3%
คำถามต่อมาคือ กลยุทธ์อะไรที่ทำให้สินค้าของ Lenovo เหนือกว่าแบรนด์อื่น ?
คุณวรพจน์อธิบายว่า Lenovo ใช้กลยุทธ์ที่เข้าใจได้ง่ายแต่ลึกซึ้งนั่นคือ เรารับฟังความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา และเรานำความต้องการของลูกค้ามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ซึ่งหากจะพูดในภาษาของการตลาดก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นแบบ “Inclusive Marketing” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดยุคใหม่ล่าสุด หรือ Marketing 5.0
คำว่า Inclusive คือต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงแล้ว ต้องเน้นให้ลูกค้ามีส่วนร่วม อย่างเช่น ลูกค้าฟีดแบ็กมาว่าอยากให้มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาในสินค้า เราก็นำโจทย์ตรงนั้น มาพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ใช้งานได้จริง เพื่อให้มาตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้น
และคำว่า Inclusive ที่ว่านี้ ไม่ได้เจาะจงแค่สนใจใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
แต่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ตามวิสัยทัศน์ที่ Lenovo ตั้งไว้ว่า “Smarter Technology for All”
เรามีทีมที่ดูแลในแต่ละประเทศ ที่คอยรับฟังฟีดแบ็ก และทำความเข้าใจตลาดของแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้ง
อีกทั้งยังเน้นการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ในแต่ละประเทศอย่างเข้มแข็ง ซึ่งทำให้ Lenovo สามารถนำเสนอสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ กลุยุทธ์อีกอย่างที่สำคัญคือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง คือ Lenovo ทุ่มเทและให้ความสำคัญอย่างมาก กับเรื่องการวิจัยพัฒนา (R&D)
ในปีงบประมาณ 2019/2020 Lenovo ลงงบประมาณในส่วน R&D สูงถึง 42,000 ล้านบาท โดยทางบริษัทมี 15 ศูนย์วิจัยพัฒนาทั่วโลก และมีพนักงานกว่า 3,200 คน ดูแลในส่วนนี้โดยเฉพาะ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลยุทธ์ในภาพรวม ที่ทำให้ Lenovo ยืนหนึ่งในตลาดนี้ได้
ลงทุนแมนถามต่อว่า ผู้บริโภคยุคนี้มีความต้องการหลากหลายมาก
บางคนต้องการ PC ไปทำงาน บางคนต้องการไปดูหนัง ฟังเพลง บางคนเอาไปเล่นเกม ตรงนี้ Lenovo มีกลยุทธ์ไปจับความต้องการที่แตกต่างเหล่านั้นอย่างไรบ้าง ?
คุณวรพจน์บอกว่า Lenovo นำเทคโนโลยีที่พัฒนา มานำเสนอเป็นสินค้าและบริการที่หลากหลายออกสู่ตลาด ซึ่งก็เพื่อมาจับความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายในยุคปัจจุบัน
ยกตัวอย่างเช่น
- ซีรีส์ “IdeaPad” ที่นำเสนอออกมาเพื่อเจาะตลาดกลุ่มเริ่มต้น ที่ทั้งใช้ทำงานและใช้งานทั่วไป อย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุด
- ซีรีส์ “Yoga” ที่ถูกนำเสนอเป็นโน้ตบุ๊กกลุ่มพรีเมียม มีนวัตกรรมล้ำ ๆ เช่น จอที่พับได้องศากว้าง ตอบโจทย์กลุ่มทำงานและกลุ่มใช้งานทั่วไประดับสูง ที่ต้องการความยืดหยุ่น รูปลักษณ์ดีไซน์ที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล มีลูกเล่นเยอะ และมีเทคโนโลยีล้ำ ๆ
- โน้ตบุ๊กเกมมิง อย่างซีรีส์ “Legion” ที่เน้นให้ประสบการณ์ในการเล่นเกมสูงสุด มีสเปกการใช้งานที่คุ้มราคา และมีเทคโนโลยีที่ซัปพอร์ตการเล่นเกมให้ลื่นไหลอย่างเต็มที่
- Desktop ตั้งโต๊ะ IdeaCentre สำหรับผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สามารถใช้งานได้ร่วมกันทั้งครอบครัว มีดีไซน์ที่สวยงาม ไม่เทอะทะ
โดยนอกจากไลน์ผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมความต้องการที่แตกต่างแล้ว Lenovo ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใส่ไว้ในผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้บริโภค
ยกตัวอย่างเช่น
- เทคโนโลยี Presence Detection with Zero touch Login หรือการสแกนใบหน้าผ่าน Web Camera เพื่อปลดล็อกเครื่อง และล็อกเครื่องอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้เดินออกไปจากบริเวณหน้าจอ
- เทคโนโลยี Lenovo Q-Control ซึ่งใช้ AI มาช่วยเรื่องการจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- เทคโนโลยี Privacy Shutter ที่เป็นฝาครอบเพื่อเปิดปิด Web Camera ป้องกันการถูกแอบถ่าย ให้ความเป็นส่วนตัว
และยังมีเทคโนโลยีที่เน้นเรื่องสุขภาพของผู้ใช้ อาทิ
เทคโนโลยี Lenovo Aware ที่ช่วยมอนิเตอร์ท่านั่งให้ถูกตามหลักสรีระ และแจ้งเตือนถ้าเรานั่งผิดท่า หรือนั่งใกล้หน้าจอเกินไป
นอกจากนี้ยังมอนิเตอร์เวลาใช้เครื่อง มอนิเตอร์ความสนใจ
มีเทคโนโลยี Eye Care ที่ช่วยลดแสงสีฟ้าจากหน้าจอ, Noise Cancellation ช่วยลดเสียงรบกวน ซึ่งชัดเจนว่าเทคโนโลยีนี้ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้ในปัจจุบัน ตอบโจทย์คุณพ่อคุณแม่ที่ลูก ๆ ต้องเรียนออนไลน์
คำถามต่อมาคือ ตลาด PC ในอนาคตต่อจากนี้ จะยังเติบโตได้ดีอีกไหม ?
คุณวรพจน์มองว่า Lenovo จะยังคงเติบโตได้ดีต่อไปเนื่องจาก PC ได้กลายเป็น Commodity product ซึ่งทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวันไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นทางศูนย์วิจัยของ Lenovo มีการวิเคราะห์และคาดการณ์พฤติกรรมของผู้คนในอีก 3-5 ปีข้างหน้าแล้ว ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วนำผลที่ได้ มาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่จะนำเสนอในอนาคต
อย่างเช่น เทรนด์การใช้งาน 5G และ Wi-Fi 6 ที่จะมาพร้อมกันกับพฤติกรรมคนที่จะยิ่งใจร้อนขึ้น ต้องการการบริการที่ปัจจุบันทันด่วนมากขึ้นกว่าเดิม
เพราะฉะนั้นวิธีการนำเสนอสินค้าก็ต้องตอบโจทย์กลุ่มนี้ในอนาคต และต้องมีการพัฒนาบริการหลังการขายให้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น ไม่ให้ผู้บริโภคต้องรอนานหากเกิดปัญหา
คุณวรพจน์เชื่อว่า Lenovo เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการอะไรอยู่ตลอดเวลา และพัฒนาสินค้า บริการใหม่ ๆ มานำเสนอให้ตรงจุด ซึ่งก็จะทำให้ Lenovo สามารถเติบโตได้ดีต่อไปเรื่อย ๆ ในอนาคต
คำถามต่อมาคือ Lenovo มีการออกแบบและจัดการบริการหลังการขาย รวมถึงเรื่องรับประกันคุณภาพสินค้าอย่างไรให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ?
ประการแรก: Lenovo ในส่วนของกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้งานทั่วไป หรือที่เราเรียกว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์ นั้นมีการรับประกันที่เราเรียกว่า Premium Care
ซึ่ง Premium Care เป็นบริการหลังการขาย เช่น รับประกันสินค้าอย่างต่ำ 3 ปี เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจในคุณภาพของสินค้า และใช้งานสินค้าได้อย่างอุ่นใจเป็นเวลานาน ๆ โดยเราจะมีช่างเทคนิคผู้มีความรู้คอยเป็นผู้ตอบคำถามถ้าลูกค้าต้องการโทรปรึกษาข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง และตลอด 7 วัน
ประการที่สอง: Lenovo มีการรับประกันอุบัติเหตุ หรือ Accidental Damage Protection (ADP) ให้ตั้งแต่เครื่องที่ราคาหมื่นต้น ๆ ขึ้นไป
ประการที่สาม: บางรุ่นจะมีบริการ Next Business Day เช่น โทรเข้ามาแจ้งความผิดปกติของเครื่องในเช้าวันจันทร์ จะมีทีมงานเข้าไปดูแลถึงที่อย่างเร็วที่สุดภายในเย็นวันอังคาร
ประการที่สี่: มีซอฟต์แวร์ “Lenovo Vantage” ที่เอาไว้ช่วยประเมินอาการเสียหายเบื้องต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ตัวนี้ ช่วยยกระดับการบริการหลังการขายให้ดีขึ้น เพราะจะทำให้ทีมบริการหลังการขายหรือผู้ใช้งานเอง ทราบอาการเบื้องต้นได้ทันทีเมื่อเช็กผ่านซอฟต์แวร์
นอกจากนั้น สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิงอย่างซีรีส์ Legion
Lenovo ก็มีบริการหลังการขาย Legion Ultimate Support
ที่มีคอลเซนเตอร์ที่เป็น Gamer Engineer คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สามารถช่วยแก้ปัญหาการใช้งานเบื้องต้นสำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิงได้ทันที ไม่ต้องรับเรื่องไว้แล้วไปประสานงานต่อ
คำถามสุดท้ายคือ Lenovo มีแผนจะทำอะไรใหม่ ๆ ในอนาคตอีกบ้าง ?
ทางคุณวรพจน์และ Lenovo เชื่อว่า อีกไม่เกิน 5 ปี ทุกอย่างจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ ซึ่งจะทำให้ Smart Home กลายเป็นเรื่องพื้นฐานของแต่ละครัวเรือนมากขึ้น และจะเป็นเมกะเทรนด์ในอนาคต
เรากำลังเข้าสู่ยุค Data Driven Society ซึ่งเมื่อรวมกับพฤติกรรมผู้บริโภคแบบปัจจุบันทันด่วนขึ้น เทคโนโลยีก็ต้องรวดเร็วทันใจ
ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ 5G หรือ Wi-Fi 6 ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่บ้าน
หรือคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ก ที่ใช้ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก เพื่อเสริมศักยภาพให้การใช้งานของผู้ใช้ เพราะสังคมทุกวันนี้ข้อมูลมันเยอะกว่าสมัยก่อนมาก และแน่นอนว่าจะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
นั่นจึงเป็นที่มาให้ Lenovo กำลังจะนำเสนอดีไวซ์และโซลูชันเหล่านี้มากขึ้น ในอนาคต
ขณะที่คอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ก ก็จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน
ซึ่งคนจะเลือกจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์ มีเทคโนโลยีที่ครบ และบริการหลังการขายที่ตอบโจทย์
ในอนาคต Lenovo ตั้งใจจะมีพื้นที่รับฟังลูกค้าที่มากขึ้น
เพื่อฟังความเห็น รับฟีดแบ็กและข้อแนะนำให้เต็มที่
เพราะฟีดแบ็ก ข้อแนะนำ และคำติชม คือสิ่งมีค่าที่สุด ที่บริษัทสามารถนำไปพัฒนาแล้วต่อยอดออกมาเป็นสินค้าและบริการที่ตอบความต้องการของผู้ใช้งานต่อไปได้
เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ข้อมูลขับเคลื่อนโลกและสังคม
ยุคที่คนต้องการคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ก ที่มีประสิทธิภาพที่สุดมาใช้
ยุคที่คนต้องการการบริการที่รวดเร็ว ไม่เชื่องช้า
ยุคที่ข้อมูลและทุกสิ่งทุกอย่าง จะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ
ยุคที่ต่อไปเราจะคุ้นชินกับ Smart Home และ Smart Devices
ซึ่งแน่นอนว่า Lenovo ก็มีความพร้อมเต็มที่
ที่จะเดินหน้าพัฒนา และนำเสนอสินค้าและบริการ
ให้มาตอบโจทย์ความต้องการต่าง ๆ เหล่านั้น ในอนาคต..
References
- https://investor.lenovo.com/en/publications/reports.php
- https://www.statista.com/statistics/255283/lenovos-rundd-expenditure/
- https://www.idc.com/getdoc.jsp?containerId=prUS47601721
- บทสัมภาษณ์ คุณวรพจน์ ถาวรวรรณ ผู้จัดการทั่วไป Lenovo ประจำพม่า ลาว กัมพูชา และผู้อำนวยการส่วนธุรกิจคอนซูเมอร์ของ Lenovo ไทย โดยเพจลงทุนแมน
r&d engineer 在 不務正業的超能力 Facebook 的最佳貼文
相信節目的聽眾也有很多人剛畢業或是正準備考慮轉職,希望這次的合作對大家有幫助!
很高興這次台灣應材的徵才活動可以feat不務正業的超能力,最後終於順利完成訪談,看到大家都開開心心的結束,的確心裡有滿滿的成就感。事前所花費的準備和心力,也是平常的3-5倍,要去瞭解這個產業、瞭解相關的工作內容,幾乎陌生的領域也很不生活化,如果想要說的清楚就得要加倍努力,希望大家都還滿意。
❌ 台灣應用材料公司 Applied Materials Taiwan是全球半導體、顯示器設備首屈一指的美商公司,近期台灣應材正在擴大徵才,歡迎社會新鮮人加入應材! 如果你對於半導體製程、設備,或顯示器研發工程師、全球技術培訓中心講師的工作有興趣,或是對美商彈性的辦公室文化感到好奇,歡迎準備踏入職場的新鮮人,或有工作經驗考慮轉職的你,跟著應材一起實現更好未來。http://xn--www-u28ds33dyxi9vj078bcwya.appliedmaterials.com/ 或104求職平台查看最新職缺。
❌快來看看你適合哪一種職缺
。半導體製程工程師 (Process Support Engineer, PSE)
。半導體客戶支援設備工程師 (Customer Engineer, CE)
。顯示器機械研發工程師 (Display mechanical R&D Engineer)
r&d engineer 在 channelvtc Youtube 的最佳解答
[VPET International Conference 2020 ]
Reflection Session: Who's Driving VPET 2020 & Beyond?
Dr Carrie Yau, GBS, JP, Executive Director, Vocational Training Council, Hong Kong
Mr Robo Yeung, R&D Engineer, ASM Pacific Technology Limited, Hong Kong
Ms Pearl So, WorldSkills Champions Trust - Representative for Asia, WorldSkills International
r&d engineer 在 R&D Engineer - YouTube 的美食出口停車場
4 Years of Electrical Engineering in 26 Minutes ... What skills and qualifications are essential to work in R&D ? Anlatsın•25K views. ... <看更多>