เศรษฐีรวยสุดในเอเชีย มีน้องชาย เป็นบุคคลล้มละลาย ได้อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Mukesh Ambani เจ้าของ Reliance Industries กลุ่มธุรกิจที่ใหญ่สุดในอินเดียและเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในเอเชีย มีน้องชายชื่อ Anil Ambani
สำหรับน้องชายของมหาเศรษฐีคนนี้ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจที่แยกตัวออกมาจาก Reliance Industries ของพี่ชาย มีชื่อบริษัทว่า Reliance ADA Group
ในปี 2008 Mukesh Ambani มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก
ในขณะที่ Anil Ambani ตามมาติด ๆ ด้วยทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท และรวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
โดยในปีนั้น เศรษฐี 4 อันดับแรกของโลก ได้แก่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (อเมริกัน), คาร์ลอส สลิม (เม็กซิโก),
บิลล์ เกตส์ (อเมริกัน) และลักษมี นิวาส มิตตัล (อินเดีย)
หลังจากผ่านไป 13 ปี Mukesh Ambani มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านล้านบาท
กลายมาเป็นมหาเศรษฐีรวยสุดในอินเดียและเอเชีย และรวยเป็นอันดับ 10 ของโลก
แต่ในปี 2019 Ambani คนน้องกลับมีทรัพย์สิน เพียง 5.6 หมื่นล้านบาท
จนล่าสุด มีหลายคนกล่าวว่าความมั่งคั่งตอนนี้ของ Ambani คนน้อง ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับน้องชาย ของคนที่รวยสุดในเอเชีย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1948 หรือเมื่อ 73 ปีก่อน ชายชาวอินเดียวัย 16 ปี
ที่ชื่อ Dhirubhai Ambani ได้ตัดสินใจเดินทางออกจากบ้านเกิดไปทำงานที่ประเทศเยเมน
ผ่านไป 10 ปี Dhirubhai กลับมาที่อินเดียพร้อมกับเงินเก็บ เพื่อมาเริ่มสร้างธุรกิจเอง
Dhirubhai เริ่มจากการนำเข้าเส้นใยสังเคราะห์และส่งออกเครื่องเทศ ก่อนจะเริ่มทำธุรกิจสิ่งทอ ซึ่งก็เติบโตอย่างรวดเร็ว จน Dhirubhai ได้ขยายกิจการไปในอุตสาหกรรมอื่น และเปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทว่า “Reliance Industries” ในปี 1973
Reliance Industries สามารถ IPO ได้ในปี 1977 ซึ่งหุ้นของบริษัทก็มีชาวอินเดียสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก ถึงขนาดเคยจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่สเตเดียม
ตั้งแต่ที่กิจการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว Dhirubhai ก็เริ่มให้ลูกชายทั้ง 2 คนของเขา เข้ามาช่วยบริหารงานที่บริษัท
Mukesh Ambani ลูกชายคนโต เป็นประธาน
Anil Ambani ลูกชายคนรอง เป็นกรรมการผู้จัดการ
แต่แล้วในปี 2002 Dhirubhai ได้เสียชีวิตลงและได้ทิ้งกิจการ Reliance Industries ไว้กับลูกชายทั้ง 2 คน
Dhirubhai ที่จากโลกนี้ไปไม่ได้ทำพินัยกรรมและข้อตกลงแบ่งกิจการให้กับลูกแต่ละคนไว้ ซึ่งเขาก็คงไม่คิดว่า จะเกิดปัญหาตามมา
โดยปัญหาที่ว่านั้นเริ่มเกิดขึ้นเพราะลูกชายทั้ง 2 คน ที่เริ่มเข้าทำงานและมีบทบาทในบริษัทมาพร้อม ๆ กัน
กลับตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของและใครจะดูแลและรับผิดชอบบริษัทไหนบ้าง
สุดท้ายแล้ว ในช่วงปี 2004 ถึง 2005 ผู้เป็นแม่ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
โดยการจ้างบุคคลที่ 3 ให้เข้ามาจัดการเรื่องการแยกบริษัทออกจากกันไปเลย
Mukesh Ambani คนพี่ได้ธุรกิจหลักคือปิโตรเลียม ซึ่งเขามีบทบาทสำคัญในการขยายกิจการในส่วนนี้มาตั้งแต่แรก และยังได้ธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจยุคเก่า โดยกลุ่มบริษัทของ Mukesh ใช้ชื่อว่า Reliance Industries
Anil Ambani คนน้องได้ธุรกิจหลักคือ Reliance Communications ธุรกิจโทรคมนาคมที่เพิ่งเริ่มกิจการได้ไม่นาน แต่ก็กลายเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอินเดีย ซึ่งแม้ว่า Mukesh จะมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ต้น แต่ Anil ก็อยากได้ธุรกิจนี้เช่นกัน
นอกจากธุรกิจเทเลคอมแล้ว กิจการอื่นที่ Anil Ambani ได้รับไปดูแลอีกก็อย่างเช่น ธุรกิจพลังงาน และบริการทางการเงิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นธุรกิจยุคใหม่ โดยกลุ่มธุรกิจของ Anil Ambani ใช้ชื่อว่า “Reliance ADA Group”
หลังจากจบเรื่องการแบ่งธุรกิจแล้ว แต่ละคนก็เริ่มต่อยอดธุรกิจตามเส้นทางของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น
Mukesh Ambani เริ่มทำธุรกิจค้าปลีกในปี 2006 จน Reliance Retail กลายมาเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่สุดในอินเดีย
ในขณะที่ Anil Ambani ก็ได้ต่อยอดทำธุรกิจบันเทิง อย่างเช่นในปี 2005 ได้ซื้อบริษัท Adlabs Films ที่เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ซึ่งกลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีสาขามากสุดในอินเดียในอีก 3 ปีถัดมา
ในปี 2008 Reliance Entertainment ของ Anil Ambani ก็ได้เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตภาพยนตร์ DreamWorks ของผู้กำกับ Steven Spielberg ซึ่งได้ร่วมผลิตภาพยนตร์ที่ได้รางวัลมากมาย อย่างเช่น The Help และ Lincoln
และปีเดียวกันนี้ Anil Ambani ก็ได้นำบริษัทพลังงานอย่าง Reliance Power จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าการระดมทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น
ผ่านไป 6 ปีหลังจากการเสียชีวิตของ Dhirubhai
ดูเหมือนว่าลูกชายของเขาทั้งคู่ก็ต่อยอดกิจการไปได้อย่างสวยงาม
จนทำให้ในปี 2008 Mukesh มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก และ Anil มีทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
แต่หลังจากนั้น เส้นทางความมั่งคั่งของพี่น้องคู่นี้ กลับเริ่มมีทิศทางที่สวนทางกัน
คนพี่รวยขึ้น ส่วนคนน้องความมั่งคั่งหายไปเกือบหมด
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
เรื่องทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากเงินที่บริษัท Reliance Power ของ Anil Ambani ได้มาจากการ IPO มีแผนจะใช้สร้างโรงไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่จะผลิตจากก๊าซ
โดยก๊าซที่ Reliance Power ใช้ ก็มาจากบริษัทก๊าซธรรมชาติในเครือ Reliance Industries ของ Mukesh นั่นเอง
ซึ่งในตอนที่แยกบริษัทกัน สองพี่น้องก็ได้เซ็นสัญญาว่าบริษัทก๊าซของ Mukesh Ambani จะขายก๊าซให้โรงไฟฟ้าของน้องชายที่ราคาหนึ่ง
แต่ในวันที่โรงไฟฟ้าสร้างใกล้จะเสร็จและถึงเวลาที่พี่ชายจะขายก๊าซให้กับน้อง ราคาก๊าซในตลาดโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นไปเกือบเท่าตัว
Anil Ambani จึงต้องการซื้อก๊าซในราคาที่ตกลงกัน เพื่อที่จะไม่ต้องเผชิญต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
แต่ทาง Mukesh Ambani ไม่สามารถขายก๊าซตามราคาที่ตกลงกันไว้ได้เพราะบริษัทของเขาจะขาดทุน
แต่แทนที่จะเจรจาตกลงกัน Anil Ambani กลับเลือกที่จะยื่นฟ้องบริษัทพี่ชายในปี 2010 เพื่อให้ซื้อก๊าซได้ในราคาเดิมที่เคยตกลงกัน
แต่ศาลก็ได้มีคำสั่งให้ Anil Ambani ซื้อก๊าซในราคาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายราคาก๊าซของประเทศ
สุดท้ายแล้ว Anil Ambani ที่ต้องแบกรับต้นทุนก๊าซเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จึงไม่สามารถจัดหาก๊าซเพื่อไปใช้ผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าที่สร้างรอไว้แล้วได้
Reliance Power จึงกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้มหาศาล จนต้องขายทรัพย์สินและกิจการบางส่วนออกไป เพื่อเอามาใช้หนี้ ซึ่งรวมถึงกิจการโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ที่ซื้อมาเมื่อปี 2008 ด้วย
แต่ความผิดพลาดทางธุรกิจของ Anil Ambani ยังไม่ได้จบลงแค่นี้ เพราะเรื่องราวที่ร้ายแรงกว่านั้น เกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมอย่าง Reliance Communications (RCom)
ในปี 2002 ซึ่งเป็นช่วงที่ RCom เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ RCom เลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่เรียกว่า CDMA ซึ่งใช้เงินลงทุนน้อยกว่า ขณะที่บริษัทคู่แข่งอย่างเช่น Airtel เลือกใช้เทคโนโลยีที่ชื่อ GSM
แม้เทคโนโลยีทั้ง 2 แบบจะใช้ได้ดีกับ 2G และ 3G เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือ CDMA ที่ RCom เลือกใช้ ไม่สามารถรองรับ 4G และ 5G ได้แบบ GSM ที่เหล่าคู่แข่งเลือกใช้
นั่นจึงทำให้ช่วงเวลาที่ทั่วโลกเปลี่ยนผ่านจาก 3G มาเป็น 4G อย่างรวดเร็ว RCom เลยตามคนอื่นไม่ทัน จน RCom กลายเป็นบริษัทที่เริ่มมีหนี้มากขึ้น
และจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของ RCom รวมไปถึงทั้งอุตสาหกรรมเทเลคอมของอินเดีย ก็เกิดขึ้นในปี 2016
เมื่อ Mukesh Ambani ได้ก่อตั้งบริษัทย่อยของ Reliance Industries ในชื่อ “Jio” ซึ่งเป็นบริษัท
ที่เน้นบริการด้านเทคโนโลยี รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคมแบบเดียวกับ RCom ด้วย
ด้วยชื่อเสียงของ Reliance Industries ก็ทำให้ Jio มีจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กำไรของบริษัทที่เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอย่าง Airtel ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้อีก 2 บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาอย่าง Vodafone และ Idea ต้องควบรวมกิจการกัน
ในเวลาต่อมาบริษัท Jio ของ Mukesh Ambani ก็กลายมาเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่สุดในอินเดีย ส่วน RCom ของ Anil ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ก็หายไปจากการแข่งขันในตลาดเทเลคอม จนทำให้บริษัทขาดทุนและกลายเป็นหนี้มหาศาล
RCom ต้องยอมขายสินทรัพย์ของกิจการบางส่วนให้กับ Jio เพื่อลดหนี้
แต่นั่นก็ยังไม่ช่วยให้สถานการณ์ของ RCom ดีขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 RCom ได้ทำข้อตกลงกับ Ericsson โดยจ้างให้ Ericsson มาเป็นผู้บริหารเครือข่ายในบริเวณทางเหนือและตะวันตกของอินเดีย แต่ผลจากการขาดทุนต่อเนื่องก็ทำให้ RCom ไม่มีเงินจ่ายให้ Ericsson ตั้งแต่ปี 2016
RCom ติดหนี้ Ericsson 2.46 พันล้านบาท ซึ่ง RCom ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด และขอเลื่อนเวลาการจ่ายหนี้ออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายแล้ว RCom จ่ายหนี้ได้เพียง 528 ล้านบาท นำไปสู่การถูกฟ้องร้องในเวลาต่อมา
ศาลสูงสุดจึงมีคำตัดสินว่า ถ้าภายใน 1 เดือน RCom ยังจ่ายหนี้ให้ Ericsson ไม่ได้ Anil จะต้องถูกจำคุก 3 เดือน
สุดท้ายแล้วพี่ชายของ Anil Ambani อย่าง Mukesh ก็เข้ามาช่วย
โดยการจ่ายหนี้ที่เหลือ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทให้
ในขณะที่ บริษัท RCom ก็ต้องยื่นล้มละลาย
แต่เรื่องราวยังไม่จบแค่นั้น เพราะ RCom ยังมีหนี้ก้อนใหญ่อีกก้อน ที่กู้ยืมมาจาก 3 ธนาคารขนาดใหญ่ของจีน ทั้ง ICBC, China Development Bank และ EXIM Bank of China เป็นมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท
ทั้ง 3 ธนาคารจึงยื่นฟ้อง RCom และ Anil Ambani..
ช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่ง Anil ได้พูดระหว่างพิจารณาคดีออนไลน์กับศาลของประเทศอังกฤษว่า เขาไม่มีเงินใช้หนี้ เพราะความมั่งคั่งของเขาตอนนี้ใกล้จะเป็นศูนย์แล้ว.. ซึ่งจนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเขาจะหาเงินจากไหนมาใช้หนี้
จากความขัดแย้งเพื่อแย่งกิจการกันเองในครอบครัว บวกกับการบริหารธุรกิจที่ผิดพลาด การทุ่มเงินลงทุนขนาดใหญ่แต่ได้ผลลัพธ์แย่กว่าที่คาด ทำให้บริษัทก่อหนี้ก้อนโต
ทั้งหมดนี้ก็ได้ส่งผลไปยังทรัพย์สินของผู้ที่เคยรวยติดอันดับ 6 ของโลกอย่าง Anil Ambani ได้หายไปเกือบหมด ในขณะที่พี่ชายที่เติบโตมาพร้อมกัน กลับเดินสวนทางกัน เพราะประสบความสำเร็จในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเศรษฐี ที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย นั่นเอง
ถ้าใครเชื่อว่าชีวิตของเราถูกกำหนดมาแล้วตั้งแต่เกิด
เกิดมาในครอบครัวที่รวย ก็ย่อมมีแรงส่งให้พวกเขารวยขึ้น
ซึ่งมันก็เป็นจริงในหลายกรณี
แต่ในบางกรณี มันก็อาจเป็นตรงกันข้าม
ซึ่งอย่างน้อย มันก็เกิดขึ้นแล้วกับ Anil Ambani น้องชายของ มหาเศรษฐี ที่รวยสุดในเอเชีย นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.in/thelife/personalities/news/anil-ambanis-journey-from-42-billion-net-worth-to-claiming-poverty/articleshow/74028627.cms
-https://www.scmp.com/magazines/style/celebrity/article/3093874/mukesh-vs-anil-why-did-one-ambani-brother-go-bankrupt
-https://economictimes.indiatimes.com/industry/telecom/telecom-news/from-glory-to-dust-an-ambani-brands-journey-to-bankruptcy/articleshow/67837769.cms?from=mdr
-https://www.businesstoday.in/latest/economy-politics/story/anil-ambani-road-to-bankruptcy-how-the-brother-of-indias-richest-man-lost-his-way-271119-2020-08-25
-https://www.moneycontrol.com/news/business/a-timeline-of-reliance-communications-versus-ericsson-case-3661261.html
-https://youtu.be/dBH0E20kc30
-https://www.forbes.com/forbes/2008/0324/080.html?sh=3e185f910f2e
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Industries
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Group
同時也有18部Youtube影片,追蹤數超過5,140的網紅Ghost Island Media 鬼島之音,也在其Youtube影片中提到,Taiwan’s next referendum will soon vote on activating the nation’s fourth nuclear plant, as well as constructing a natural gas plant on an algal reef ...
「politics podcast」的推薦目錄:
- 關於politics podcast 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於politics podcast 在 利世民 Facebook 的精選貼文
- 關於politics podcast 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於politics podcast 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的精選貼文
- 關於politics podcast 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的精選貼文
- 關於politics podcast 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的最佳貼文
politics podcast 在 利世民 Facebook 的精選貼文
unsubject
unsubject 呢個 branding 究竟點來?
唔怕話畀大家知,有日,我 setup 試下新嘅 newsletter ,好似係 substack ;佢係都要我打 subject 係乜:「乜都未寫,我又點知 subject 係乜喎。」
嬲嬲地之際,unsubject 呢個字,忽然浮現腦海:「呢個 branding 幾好喎。」下一步,就係去 domain search⋯⋯
unsubject 嘛,就係諗到乜就寫乜。我知有啲朋友,例如 君子馬蘭頭 - Ivan Li 李聲揚 嘅作風,就係先有題目,然後再寫文。但我自己,就好多時就算心目中有個題目,好多時寫寫吓,又變咗另一件事;有時亦會寫寫吓覺得無癮,篇文亦都唔再存在。
好似上個月 Bretton Woods System 壽終正寢半世紀,我開始咗一篇《消失的布電頓森林》。結果,寫咗大概五千字,都未去到六零年代,自己覺得時間過去,都係等一百周年先寫喇。其實篇文想講嘅係,固定匯率制度其實背後有啲乜嘢假設,點解六十年代嘅美國,守唔到呢啲條件,最終制度點崩潰,之後嘅世界又點。五千字,都只係講到啲前設。
學愛恩斯坦話齋,如果真係好熟一件事,應該可以好簡單咁解釋得到。又唔怕話畀大家知,最初我 facebook 寫咁長嘅 narrative,本來只係鬥氣;個個都話啲人無心機睇咁多字,一定要拍片先有人睇。「係咩?我就係唔信邪。」結果我發現,facebook 嘅運算法,似乎都會睇一個 post 大家睇幾耐。以廣東話寫嘅純文字 post ,如果大家用嘅時間比同類 post 長,似乎 facebook 係會更積極去派送。
如是者,就開始咗我呢種諗到乜寫乜而且又有少少長嘅 narrative。
又有一段日子,覺得寫埋寫埋,最終都好似改變唔到啲乜,索性將一切都摺埋。好似我有個老友,佢就摺得好埋。佢段數比我高,所以亦摺得好埋。而我呢,就忍唔到幾個月。
其實封筆摺埋嘅幾日裡面,我都有繼續工作,有去吓 webinar ,有 social 嘅,不過唔係香港。自我介紹嘅時候,忽然間,又發覺自己都係話自己係一個 writer 。
但係我寫畀邊個睇?寫畀自己睇?舊年夏天,我得返自己一個讀者;但我話過,就算得返一個讀者,都會繼續寫。
「反正都寫咗,點解唔發表?」寫作其實有時只係為咗整理資訊,幫助思考。
發表言論,其實有好大責任。所以有一段日子,我都只係 Patreon 裡面發表;但人就係咁,當你開始咗做一件事,呢件事漸漸就有自己嘅存在理性:「開得 Patreon ,就要吸引更多人 sign up;咁就要做下宣傳⋯⋯ 」如是者,我又重返 facebook 嘅世界,又做 podcast。 彌敦道政交所- Nathan Road Politics Exchange #湛國揚 自立門戶,我又去撐場⋯⋯
呢啲係唔係叫做人在江湖呢?其實都唔可以話身不由己;畢竟每件事都係自己揀。
講返條路自己揀,其實 Patreon 又好 unsubject.me 又好,大家都可以揀,其實內容都係一樣,只不過 UI / UX 有少少唔同。不過,更重要嘅係,點解我繼續寫,同埋點解我希望大家會支持我嘅寫作。
話說早排寫 Niall Ferguson 本 The Great Degeneration 嘅導讀,當中有一章講到 civil society ,公民社會 ;呢個詞語,大家可能讀書聽過,又或者有時會聽到啲社會棟樑講。但係何謂公民社會?我見呢個概念,從來都無人用一句說話可以講得清楚。
不如,我又試吓好簡單咁解釋一次:「當每個人都問自己,可以做啲乜嘢令呢個世界,呢個社會變得更美好,呢個就係公民社會。」
香港人,對公民社會呢個概念,又點會陌生?過去兩年幾,我都唔知幾多次收到 message 問:「究竟仲有啲乜嘢我哋可以做?」
其實,有好多事我哋可以做,未必可以令社會變得更好,但至少可以令自己更進步。但掉返轉頭講,如果自己唔係每日都更進步,更強大,我哋又憑乜嘢可以令社會變得更好?
我唔敢話自己一定可以每日都有進步,但至少有呢個目標,亦都提醒自己。呢個小小嘅群體,我相信都係一班有呢個共同價值觀嘅朋友。真係老套啲咁講,《論語.學而》都係咁講喇。
每個我揀嘅題材,無論係政治抑或經濟,時事又或者歷史,無非都係想從中得到一啲新嘅睇法,帶我哋由固有嘅框架,走去一個更廣闊嘅空間。unsubject 嘛,除咗思想自由,有更多一重積極主動嘅意義。
抑都係呢個目的,我歡迎大家提出一啲你想睇但又未開始睇嘅書;等我又試吓去讀完然後寫一篇導讀。假如話我平時寫嘅隨筆係思想嘅 omakase , TL;DR 系列我嘅身份就好似 sommelier ,去為大家講解同配對知識。
講到尾,經營自媒體,卑微嘅願望就係同大家一齊增進鑑賞力同趣味。畢竟,話「獨立思考」,又太沉重。
請容許我最後好似九唔搭八咁分享一個小故事。話說,我最欣賞嘅電影同角度,係 Dark Knight 裡面由 Heath Ledger 飾演嘅 Joker,係 superlative ,沒有之一。戲裡面,Joker 對面上嘅刀疤,有好多個解釋。故事嘛,如果你去認真探究邊一個講法先至係「真」,就唔明白 why so serious 嘅道理。
#是日隨筆 #廣告時間
Unsubject https://bit.ly/3CEU3iX
Patreon https://bit.ly/3zgXNF6
politics podcast 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
J.W. Marriott ผู้ก่อตั้งเชนโรงแรมใหญ่สุดในโลก ที่เริ่มจากร้านขายรูตเบียร์ /โดย ลงทุนแมน
“Marriott” เป็นเชนโรงแรมที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกและมีโรงแรมในเครือกว่า 30 แบรนด์
แต่รู้หรือไม่ว่าอาณาจักร Marriott ที่ก่อตั้งโดยคุณ J.W. Marriott ไม่ได้เริ่มต้นจากธุรกิจโรงแรม แต่เขากลับมีจุดเริ่มต้นมาจากร้านขายรูตเบียร์ A&W
จากร้านขายรูตเบียร์มาเป็นเชนโรงแรมที่ใหญ่สุดในโลก
Marriott ผ่านอะไรมาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เชนโรงแรมขนาดใหญ่ ที่มีโรงแรมอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก จะมีชื่อที่เราคุ้นเคย เช่น Marriott, Hilton, InterContinental และ Hyatt
ซึ่ง Marriott ถือได้ว่าเป็นเชนโรงแรมที่ใหญ่สุดในโลก ทั้งในด้านมูลค่าตลาดที่มากที่สุดราว 1.46 ล้านล้านบาท รวมถึงในด้านจำนวนห้องพัก ที่ Marriott มีให้บริการราว 1.4 ล้านห้องพัก ในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก
Marriott มีโรงแรมในเครือกว่า 30 แบรนด์ ซึ่งก็เป็นแบรนด์ดังที่คนส่วนใหญ่คุ้นหู อย่างเช่น JW Marriott, St. Regis, The Ritz-Carlton, Sheraton และ Renaissance
โดยผู้ก่อตั้งอาณาจักร Marriott คือคุณ John Willard Marriott หรือ “J.W. Marriott”
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ธุรกิจดั้งเดิมที่เขาเริ่มต้นขึ้นไม่ใช่ธุรกิจโรงแรม
คุณ John เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1900 ที่รัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวที่ทำฟาร์มแกะเล็ก ๆ ซึ่งมีฐานะค่อนข้างยากจน
เขาเริ่มค้าขายตั้งแต่อายุ 13 ปี จากการปลูกผักกาดในแปลงที่ดินที่ว่างอยู่ และเขานำเงินรายได้ที่ได้ไปให้พ่อ
จากความสำเร็จในการขายผัก พ่อของ John เลยไว้ใจให้ลูกชายพาแกะ 3,000 ตัว ขึ้นรถไฟไปขายที่เมืองซานฟรานซิสโกด้วยตัวคนเดียวในวัยเพียง 14 ปี ก่อนที่จะถูกขอให้เลิกเรียนเพื่อมาช่วยงานที่บ้านในเวลาต่อมา
เมื่อ John อายุ 19 ปี เขาก็ต้องเดินทางไปเป็นมิชชันนารีที่โบสถ์แห่งหนึ่งในนิวอิงแลนด์เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นก็เดินทางกลับมาบ้านที่เมืองยูทาห์
ระหว่างทางกลับ เขาได้แวะที่เมืองวอร์ชิงตัน ดี.ซี. และเดินผ่านร้านค้าแห่งหนึ่งซึ่งคนต่อคิวยาวมาก นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ John ได้รับรู้ถึงความนิยมของเครื่องดื่มที่เรียกว่า “รูตเบียร์”
แต่พอกลับมาถึงบ้าน John ก็ต้องเผชิญกับข่าวร้ายเพราะว่าธุรกิจฟาร์มแกะของพ่อเขาล้มละลาย
โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากราคาแกะที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจตกต่ำ
ตั้งแต่นั้นมา John จึงตั้งเป้าว่าเขาจะต้องมีชีวิตที่ดีขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจนนี้ให้ได้
เขาเลยตัดสินใจกลับไปเรียนต่อให้ได้วุฒิมัธยมศึกษา โดยได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์ที่เคยสอนเขา
ซึ่งอาจารย์ท่านนี้ ยังช่วยให้ John รับหน้าที่สอนวิชาที่เกี่ยวกับศาสนา เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเทอม
หลังจากนั้น John ก็ได้เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ยูทาห์ ซึ่งเขาต้องหาเงินมาจ่ายค่าเทอมจากทุกวิถีทาง ตั้งแต่ขายกางเกงชั้นใน ขนสัตว์ ไปจนถึงการเป็นช่างตัดไม้
จนกระทั่งในช่วงที่เรียนปีสุดท้าย แถวมหาวิทยาลัยของเขาก็มีร้านรูตเบียร์ A&W มาเปิด
ซึ่งคิวยังคงยาว เหมือนกับตอนที่เขาเห็นครั้งแรกที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี.
หลังจากเรียนจบในปี ค.ศ. 1926 John แต่งงานกับ Alice Sheets สาวที่เขาตกหลุมรักและคบหากันมาตั้งแต่สมัยเรียน ทั้งคู่วางแผนที่จะเริ่มทำธุรกิจด้วยกัน และสิ่งแรกที่ John นึกถึงก็คือเครื่องดื่มสุดฮิตอย่างรูตเบียร์
John ใช้เงินเก็บ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ บวกกันเงินที่กู้ยืมมาอีก 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นมูลค่าราว 83,000 บาท เพื่อขอซื้อแฟรนไชส์รูตเบียร์ของ A&W
ผ่านไป 1 ปี เขาก็ได้เปิดร้านขายรูตเบียร์เล็ก ๆ ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งแน่นอนว่าขายดีแบบที่เขาคิดไว้
แต่สิ่งที่เขาลืมคิดถึงไปก็คือ รูตเบียร์ไม่ได้ขายดีทุกฤดู เพราะพอเข้าช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนตกบ่อย และอากาศเริ่มเย็นลง เครื่องดื่มเย็นสดชื่นอย่างรูตเบียร์กลับไม่เป็นที่ต้องการ ยอดขายของทางร้านจึงลดลงเรื่อย ๆ
Alice ภรรยาของเขาเลยเสนอไอเดียว่าควรขายอาหารด้วย เพื่อให้ยอดขายที่ร้านไม่ผันผวนตามฤดูกาลเกินไป
John เห็นด้วยทันที เขาจึงขออนุญาตทาง A&W เพื่อขอเสิร์ฟอาหารที่ร้านด้วย ส่วน Alice ก็ไปขอความช่วยเหลือจากเชฟที่สถานทูตเม็กซิโก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับร้าน จนได้สูตรและวิธีทำอาหารเม็กซิกันมา
ทั้งคู่จึงตั้งชื่อร้านของพวกเขาใหม่ว่า “Hot Shoppes” ซึ่งเป็นร้านขายอาหารเม็กซิกัน แฮมเบอร์เกอร์ และฮอตดอก รวมถึงรูตเบียร์ของ A&W
ผ่านไปปีเดียว Hot Shoppes เปิดเพิ่มได้อีก 2 สาขา ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นร้านแบบ Drive-in หรือการขับรถไปจอดที่ลานจอดรถของร้าน แล้วสั่งอาหารมาทานบนรถ ที่กำลังได้รับความนิยมสุด ๆ ในสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศสหรัฐอเมริกากลับเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ John และ Alice ก็ยังพา Hot Shoppes รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้มาได้ แถมยังขยายสาขาเพิ่มมาเป็น 7 สาขาในปี ค.ศ. 1933
แต่ในปีเดียวกันนี้ John ก็ต้องเจอกับข่าวร้าย เพราะเขาตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งหมอบอกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกิน 2 ปี
John จึงหยุดทำงาน และใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว แต่แล้วเรื่องไม่น่าเชื่อที่แม้แต่หมอก็ยังแปลกใจ เพราะอาการของเขาดีขึ้นมาก จนกลับมาใช้ชีวิตปกติได้
หลังจากรักษาตัวจนหายดีและกลับมาทำงานได้แล้ว ในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นช่วงที่การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยม John สังเกตว่าลูกค้ามักซื้ออาหารแบบนำกลับบ้านที่ร้าน Hot Shoppes สาขาใกล้สนามบิน เพื่อนำไปทานบนเครื่องบิน
John เลยเกิดไอเดียว่า ให้ Hot Shoppes ทำอาหารกล่องให้กับสายการบินใช้เสิร์ฟบนเครื่องบิน ซึ่งถือเป็นเจ้าแรก ๆ ในขณะนั้น
เมื่อเขานำไอเดียนี้ไปเสนอกับทางสายการบินต่าง ๆ ก็มีสายการบิน Eastern Airlines และ American Airlines ที่ตอบตกลง
มาถึงช่วงต้นทศวรรษ 1940s ร้าน Hot Shoppes ขยายมาเป็น 24 สาขา ซึ่งช่วงนี้เองสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มต้นขึ้น แต่ Hot Shoppes ก็ยังรอดพ้นจากวิกฤติได้อีกครั้งจากการปรับตัวไปให้บริการอาหารในฐานทัพทหารและสำนักงานรัฐบาล
จนกระทั่งช่วงทศวรรษ 1950s การเดินทางท่องเที่ยวกำลังได้รับความนิยมสูง John เลยสนใจซื้อที่ดินเปล่าที่อยู่ตรงข้ามสนามบินวอชิงตัน เพื่อสร้างโมเทลที่ชื่อว่า “Twin Bridges” ซึ่งเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1957 ก่อนที่ 2 ปีให้หลัง ได้สร้างโรงแรมแห่งที่ 2 ที่ชื่อ Key Bridge Motor
และในที่สุด กิจการโรงแรมของ John Willard Marriott ก็ได้เริ่มต้นขึ้น หลังจากเปิดร้านรูตเบียร์มาได้ 30 ปี
ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 John ตั้งชื่อบริษัทของเขาใหม่ว่า “Marriott” ซึ่งใช้เรียกรวมทุกกิจการในเครือ ทั้งโรงแรมและร้านอาหาร
ในช่วงเริ่มต้นของกิจการโรงแรม ก็ได้ลูกชายคนโตของ John กับ Alice ที่ชื่อว่า “J.W. Bill Marriott Jr.” เข้ามาช่วยบริหาร
Bill เรียนด้านการเงินจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยภายใต้การบริหารของเขา บริษัทสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอย่างชัดเจน จน Bill กลายมาเป็นบุคคลสำคัญที่ได้วางรากฐานธุรกิจและขยายอาณาจักร Marriott
ด้วยผลงานที่โดดเด่นของ Bill จึงทำให้เขาได้รับเลือกเป็นประธานบริษัทในปี ค.ศ. 1964 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น CEO ในอีก 8 ปีต่อมา
Bill เน้นขยายโรงแรมใกล้สนามบิน และโรงแรมเพื่อการประชุมหรือ Convention โดยสร้างจุดเด่นให้กับโรงแรมของ Marriott ที่มีทั้งห้องจัดประชุมสัมมนา ภัตตาคาร ไปจนถึงลานสเกตน้ำแข็ง
นอกจากนี้ Bill ยังเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ จากการเป็นเจ้าของโรงแรมเอง สู่การรับบริหารโรงแรม และระบบแฟรนไชส์
นั่นจึงทำให้ในปี ค.ศ. 1993 บริษัท Marriott แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 2 บริษัท
บริษัทแรกชื่อ Marriott International ที่จัดการในส่วนของธุรกิจรับบริหารโรงแรมและระบบแฟรนไชส์ ซึ่งดูแลโดยลูกชายคนโต นั่นก็คือ Bill
บริษัทที่สองชื่อ Host Hotels and Resorts ที่จัดการในส่วนของธุรกิจโรงแรมที่ Marriott เป็นเจ้าของเอง ซึ่งดูแลโดยน้องชายของ Bill ที่ชื่อ Richard
อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่ช่วยเร่งขยายฐานลูกค้าให้ Marriott ก็คือการเป็นบริษัทโรงแรมแรกของโลก ที่ให้บริการระบบจองที่พักแบบออนไลน์ ในปี ค.ศ. 1995
และกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ Marriott ขยายอาณาจักรโรงแรมได้อย่างรวดเร็วก็คือ “การควบรวมกิจการ”
ปี ค.ศ. 1995 Marriott เริ่มซื้อกิจการครั้งแรก ด้วยการเข้าไปถือหุ้น 49% ในโรงแรม Ritz-Carlton ก่อนที่อีกไม่กี่ปีต่อมาจะเข้าซื้อทั้งกิจการ
แต่การซื้อกิจการที่สำคัญที่สุด เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2016 ภายใต้การนำของ CEO ที่เป็นคนนอกตระกูลคนแรกอย่าง Arne Sorenson
Marriott ได้เข้าซื้อกิจการ Starwood Hotels and Resorts ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์โรงแรมดังมากมาย อย่างเช่น Sheraton, W Hotels และ St. Regis
และในตอนนี้เองที่ Marriott ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเชนโรงแรมที่ใหญ่สุดในโลก
น่าเสียดายที่ John เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 เขาจึงไม่มีโอกาสได้เห็นความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร Marriott ในปัจจุบัน ที่เขาเป็นผู้ริเริ่ม
แต่สิ่งสำคัญที่ตกทอดมาจาก John จนกลายเป็นหนึ่งในดีเอ็นเอของ Marriott ก็คือวัฒนธรรมองค์กร
เพราะ John ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนและดูแลพนักงานเหมือนคนในครอบครัว มาตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มทำธุรกิจ
เหมือนกับหนึ่งในคำพูดอมตะของเขาที่ว่า
“Take care of associates, and they’ll take care of your customers”
หรือ ดูแลพนักงานของคุณให้ดี แล้วพนักงานเหล่านั้นจะดูแลลูกค้าของคุณต่อเอง
นั่นจึงทำให้ Marriott ไม่ได้เป็นเพียงหนึ่งในโรงแรมที่น่าเข้าพักมากที่สุดเท่านั้น
แต่ในมุมของสถานที่ทำงาน Marriott ยังติดอันดับโลกในด้านบริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดเช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cnbc.com/2021/08/10/how-marriott-became-the-worlds-biggest-hotel-chain.html
-https://www.washingtonpost.com/archive/politics/1985/08/14/hotel-magnate-jw-marriott-dies-at-age-84/d8cfeda2-6a83-40fc-8126-310233d114f0/
-https://www.entrepreneur.com/article/197668
-https://edition.cnn.com/2012/04/12/business/marriott-hotel-industry/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Marriott_International
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_chained-brand_hotels
-https://companiesmarketcap.com/hotels/largest-hotel-companies-by-market-cap/
-https://careers.marriott.com/20-years-fortune-100-list/
-https://www.marriott.com/culture-and-values/j-willard-marriott.mi
politics podcast 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的精選貼文
Taiwan’s next referendum will soon vote on activating the nation’s fourth nuclear plant, as well as constructing a natural gas plant on an algal reef that's critical for Taiwan’s biodiversity. These decisions come as governments around the world are scrambling to meet the demands of the Paris Agreement, and as environmental activists fight for a more sustainable planet.
Green Parties propose an alternative voice in politics to tackle our environmental ruin. All over the world, there are 91 Green Parties that believe in committing our governments to environmental stewardship, through electing green movement leaders into office. In Asia, Taiwan is home to the region’s oldest Green Party, which won a National Assembly seat in 1996 - their very first election campaign.
Our guest today is Professor Dafydd Fell, a political scientist at SOAS University of London, and Director of the Centre of Taiwan Studies. Dafydd Fell is author of the new book: “Taiwan’s Green Parties: Alternative Politics in Taiwan”, published in March 2021 by Routledge.
Today’s episode is hosted by Nate Maynard - Senior Consultant at Reset Carbon, and host of Waste Not Why Not. You can check out his show for more insights on the world’s ocean, energy, and waste issues.
Waste Not Why Not Podcast: https://ghostisland.media/#wnwn
“Taiwan’s Green Parties: Alternative Politics in Taiwan”: https://www.amazon.com/Taiwans-Green-Parties-Alternative-Routledge/dp/0367650312
Routledge: https://www.routledge.com/Taiwans-Green-Parties-Alternative-Politics-in-Taiwan/Fell/p/book/9780367650315
Support us on Patreon:
http://patreon.com/taiwan
Follow us on Twitter:
https://twitter.com/taiwan
A Ghost Island Media production
https://twitter.com/ghostislandme
www.ghostisland.media
MB01WN2YRLRZWYO
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/RD_HxuBikLA/hqdefault.jpg)
politics podcast 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的精選貼文
Today’s show is done in collaboration with The Taiwan Take. Subscribe to that show for more Taiwanese perspectives on global issues.
Taiwan’s next referendum will soon vote on activating the nation’s fourth nuclear plant, as well as constructing a natural gas plant on an algal reef that's critical for Taiwan’s biodiversity. These decisions come as governments around the world are scrambling to meet the demands of the Paris Agreement, and as environmental activists fight for a more sustainable planet.
Green Parties propose an alternative voice in politics to tackle our environmental ruin. All over the world, there are 91 Green Parties that believe in committing our governments to environmental stewardship, through electing green movement leaders into office. In Asia, Taiwan is home to the region’s oldest Green Party, which won a National Assembly seat in 1996 - their very first election campaign.
Our guest today is Professor Dafydd Fell, a political scientist at SOAS University of London, and Director of the Centre of Taiwan Studies. Dafydd Fell is author of the new book: “Taiwan’s Green Parties: Alternative Politics in Taiwan”, published in March 2021 by Routledge.
Taiwan’s Green Parties: Alternative Politics in Taiwan:https://www.amazon.com/Taiwans-Green-Parties-Alternative-Routledge/dp/0367650312
Routledge: https://www.routledge.com/Taiwans-Green-Parties-Alternative-Politics-in-Taiwan/Fell/p/book/9780367650315
Subscribe to The Taiwan Take for more Taiwanese perspectives on global issues:
http://www.ghostisland.media/#ttt
Support “Waste Not Why Not” on Patreon. Follow us on Twitter @wastenotpod. Send questions to ask@wastenotwhynot.com. Subscribe to “Waste Not a Newsletter" on Substack.
Support us on Patreon:
http://patreon.com/wastenotwhynot
Subscribe to our newsletter:
https://wastenotwhynot.substack.com/
Follow us on Twitter:
https://twitter.com/wastenotpod
Send your questions to:
ask@wastenotwhynot.com
SHOW CREDIT
Emily Y. Wu (Executive Producer)
https://twitter.com/emilyywu
Nate Maynard (Producer / Host)
https://twitter.com/N8MAY
Yu-Chen Lai (Producer / Editing)
https://twitter.com/aGuavaEmoji
Ghost Island Media (Production Company)
https://twitter.com/ghostislandme
www.ghostisland.media
MB01LZL94UQ1ZX6
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/rzcuvSQmoYA/hqdefault.jpg)
politics podcast 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的最佳貼文
We’re back at the American Association for the Advancement of Sciences (AAAS) for a second year! This time, Nature N8 chats with Representative Dr. Jasmine Clark of Georgia.
Dr. Clark is a microbiologist who organized the March for Science in Atlanta and was part of the following wave of scientists that ran for office in the United States.
N8 and Dr. Clark discuss Georgia’s challenges in diversifying its energy portfolio, public transportation and infrastructure, and what it actually means to bring scientific expertise into law-making.
Support us on Patreon:
http://patreon.com/wastenotwhynot
Subscribe to our newsletter:
https://wastenotwhynot.substack.com/
Follow us on Twitter:
https://twitter.com/wastenotpod
Send your questions to:
ask@wastenotwhynot.com
SHOW CREDIT
Emily Y. Wu (Executive Producer)
https://twitter.com/emilyywu
Nate Maynard (Producer / Host)
https://twitter.com/N8MAY
Yu-Chen Lai (Producer / Editing)
https://twitter.com/aGuavaEmoji
Ghost Island Media (Production Company)
https://twitter.com/ghostislandme
www.ghostisland.media
MB01EIRCTALRY8W
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/FI7zHqtbJFk/hqdefault.jpg)