*** ความหมายเก่าของสงกรานต์ การสาดน้ำอาจมาจากความต้องการกบฏ! ***
ขณะศึกษาประวัติศาสตร์ ผมค่อยๆ พบว่าสิ่งที่เราเคยเชื่อว่าเป็นของโบราณดั้งเดิม หรือเป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่มีมาแต่อดีต แท้จริงมักจะการตีความหมายใหม่ซึ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน และความของหมายสรรพสิ่งทั้งหลาย ก็เปลี่ยนไปมาหลายครั้ง หาอะไรมายึดเหนี่ยวให้โรแมนติกได้ยาก
เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ จะขอถอดความหมายเก่าๆ ของประเพณีนี้ออกมา ซึ่งมันเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะสงกรานต์เป็นวัฒนธรรมร่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดจากการยำรวมวัฒนธรรมจากดินแดนต่างๆ มามากมาย ผสมกลมกลืน แล้วตำขยี้ในครกจนออกมาเป็นของใหม่เวอร์ชันหนึ่ง ซึ่งยังก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ อีก
จะขอเรียงบทความเป็นข้อๆ ไปดังนี้นะครับ
::: ::: :::
(1) "สงกรานต์ไม่ใช่ปีใหม่ไทย แต่เป็นการเปลี่ยนศักราชของอินเดีย"
คำว่าสงกรานต์แปลว่า "การเปลี่ยนผ่าน" หมายถึงการที่พระอาทิตย์เปลี่ยนจากราศีหนึ่งไปอีกราศีหนึ่ง ดังนั้นหนึ่งปีจะมีสงกรานต์สิบสองครั้ง แต่อินเดียถือสงกรานต์ใหญ่คือวันที่พระอาทิตย์เปลี่ยนจากราศีมีน เป็นราศีเมษ เพราะเป็นช่วงเข้าสู่หน้าฝน ซึ่งเป็นเหตุให้ร่าเริงยินดี
การนับเอาสงกรานต์ใหญ่เป็นปีใหม่นั้น เป็นร่องรอยของศักราชแบบหนึ่งที่คนไทยเคยฮิตใช้ แต่เลิกใช้ไปนานแล้วเรียกว่า "จุลศักราช" โดยจุลศักราชจะนับการเปลี่ยนปีในช่วงสงกรานต์
จุลศักราชนี้ไทยรับเอามาจากพม่า พม่ารับเอามาจากชาวปยูแห่งอาณาจักรศรีเกษตร ซึ่งล่มสลายไปประมาณ ค.ศ. 1050 ก่อนที่อาณาจักรพุกามของพม่าจะรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่
::: ::: :::
(2) "สงกรานต์ในอดีตไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนปีนักษัตร"
บางตำราในไทยนั้นเลือกเปลี่ยนปีนักษัตร ชวด ฉลู ขาล เถาะ ในช่วงสงกรานต์ แต่นักษัตรเป็นสิ่งที่คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมาจากจีน มันไม่เกี่ยวอะไรกับสงกรานต์ของอินเดีย และคนจีนก็ไม่ได้เปลี่ยนปีในช่วงนี้
ดังนั้นการเปลี่ยนนักษัตรจีนในช่วงสงกรานต์ จึงเป็นการผสมต้มยำอย่างแท้จริง
::: ::: :::
(3) "คนอินเดียทำอะไรในวันสงกรานต์"
คนอินเดียจะไปที่ริมน้ำ เป่าสังข์ และร้องสรรเสริญพระอาทิตย์ (เพราะสงกรานต์เป็นช่วงที่พระอาทิตย์มีกำลังมากที่สุด) จากนั้นก็จะบูชาพระวรุณซึ่งเป็นเทพแห่งน้ำ เพื่อให้มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์
::: ::: :::
(4) "แล้วคนไทยทำอะไร?"
คนไทย และชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประเพณีเลี้ยงผีในช่วงสงกรานต์มานานก่อนที่จะรู้จักวัฒนธรรมอินเดีย เพราะช่วงสงกรานต์ในแถบนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากหน้าแล้งไปสู่หน้าฝน ทุกคนจึงต้องบูชาผีฟ้า ผีบรรพบุรุษให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์
การเลี้ยงผีมักใช้การรดน้ำ ซึ่งมีทั้งความหมายในการบูชา และการขอขมาลาโทษ
ราชสำนักไทยได้ "บวช" ประเพณีผีพื้นเมืองให้เป็นประเพณีพุทธและพราหมณ์ โดยจัดให้มีการสรงน้ำพระ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การสรงน้ำจึงกลายเป็นประเพณีพุทธและพราหมณ์ และกลายเป็นต้มยำหม้อที่ใหญ่ขึ้นอีก
...อย่างไรก็ตาม ที่พูดมาทั้งหมดนี้มันแค่รดน้ำ ยังไม่มีเรื่องการสาดน้ำใส่กันเลย...
::: ::: :::
(5) "การสาดน้ำในสงกรานต์มาจากไหน?"
ประเพณีสาดน้ำสงกรานต์เป็นเรื่องใหม่มาก อาจจะเพิ่งมีแพร่หลายในไทยเมื่อไม่ถึง 50 ปีมานี้
...แท้จริงไม่มีใครรู้ว่ามันมาจากไหน...
แต่ทฤษฎีที่พูดกันแพร่หลายคือ มาจากพม่า เพราะมีการพบหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของการสาดน้ำสงกรานต์จากหนังสือพิมพ์ The Graphic ของอังกฤษฉบับวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1888
หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ภาพการฉลองปีใหม่พม่า เป็นภาพคนพม่าตัดไม้ไผ่มาเป็นกระบอกฉีดน้ำ ใช้ฉีดใส่ทหารอังกฤษที่กำลังขี่ม้าด้วยความสนุกสนาน
...ซึ่งทหารอังกฤษก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะเข้าใจว่ามันเป็นวัฒนธรรม
...ปัญหาคือไม่มีบันทึกว่าพม่ามีวัฒนธรรมนี้มาก่อน ...ดังนั้นเชื่อว่าการฉีดน้ำใส่ทหารอังกฤษอาจแฝงความคิดกบฏ
...เพราะชาวบ้านต้องการแก้แค้นการกดขี่ของเจ้าอาณานิคม แต่ทำตรงๆ ไม่ได้ จึงฉีดน้ำใส่แล้วอ้างว่าเป็นประเพณี!
Edit: ข้างบนอาจจะไม่ถูก มีข้อมูลเพิ่มว่าพม่าอาจมีการสาดน้ำมาก่อนนั้น เดี๋ยวผมอัพเดทนะครับ
::: ::: :::
...แต่ไม่ว่าอย่างไรก็สาดน้ำในสงกรานต์ก็แพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงสิบสองปันนา และสาดกันแรงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีแสดงถึงวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
...ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ามันไม่เคยมีอะไรเป็นของเก่าแก่ยอดเยี่ยมที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะแท้จริงแล้ววัฒนธรรมเป็นของที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์
การที่เราเลือกจะเชื่อ หรือเลือกจะปฏิบัติตามประเพณีอะไรจึงควรมองตามหลักเรื่อง ความปลอดภัย และการให้ความหมายที่ดี มากกว่ามองว่ามันจะผิดรีตผิดรอยโบราณหรือไม่
...เพราะมันผิดอยู่แล้ว...
::: ::: :::
อ้างอิง:
thepeople ดอท co/songkran-splashing-water-story
matichonweekly ดอท com/culture/article_97937
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
กรุ๊ปประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/
กรุ๊ปท่องเที่ยว เที่ยวโหดเหมือนโกรธบ้าน https://www.facebook.com/groups/wildchroniclestravel/
Blockdit : https://www.blockdit.com/thewildchronicles
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCa6L_ZIQpFyDwLeRbGZjIyg
Line Square: https://line.me/ti/g2/8pIcVHp3cc6-jyQJdzIFrg
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過11萬的網紅FITWHEY,也在其Youtube影片中提到,จากการที่เริ่มออกกำลังกาย ฟิตหุ่นแค่เพื่อให้หุ่นดี กลายมาเป็นธุรกิจที่เฮลตี้ได้และได้การยอมรับอย่างมากอย่างทุกวันนี้ แต่ก็ผ่านอุปสรรคมาไม่น้อยเลย . อ...
「thepeople」的推薦目錄:
- 關於thepeople 在 The Wild Chronicles - ประวัติศาสตร์ ข่าวต่างประเทศ ท่องเที่ยวที่แปลก Facebook 的最佳貼文
- 關於thepeople 在 The Ghost Radio Facebook 的最讚貼文
- 關於thepeople 在 People Persona Facebook 的精選貼文
- 關於thepeople 在 FITWHEY Youtube 的最讚貼文
- 關於thepeople 在 The People - Home | Facebook 的評價
- 關於thepeople 在 The People - YouTube 的評價
thepeople 在 The Ghost Radio Facebook 的最讚貼文
วันนี้พี่แจ็คมีสัมภาษณ์ เพจ @thepeople
ที่ร้าน The ghost house จ้า
ติดตามได้ในเร็ววันนี้นะคะ ❤️
thepeople 在 People Persona Facebook 的精選貼文
When “The People meets People Persona”
เค้าเจ๋งและมี คน Content+Direction ที่ชัดเจนกว่าเราเยอะ
ยังไงจะรออ่านรวมเล่มทุกหัวข้อ ทุกเรื่องราวเลยครับ 🙂👍🏻
#ThePeople #peoplepersona
thepeople 在 FITWHEY Youtube 的最讚貼文
จากการที่เริ่มออกกำลังกาย ฟิตหุ่นแค่เพื่อให้หุ่นดี
กลายมาเป็นธุรกิจที่เฮลตี้ได้และได้การยอมรับอย่างมากอย่างทุกวันนี้ แต่ก็ผ่านอุปสรรคมาไม่น้อยเลย
.
อะไรคือทัศนคติที่ทำให้เขาสู้และผ่านมันมาได้
รับชมได้จากวิดีโอสัมภาษณ์นี้...
#pantae #thepeople #fitwhey #fitwheygym #weighttraining #stronger #Danuponcilli
FITWHEY เวปขายอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมันอันดับ #1 ของเมืองไทย - https://www.fitwhey.com/product/promo...
#FITWHEY
thepeople 在 The People - YouTube 的美食出口停車場
"The People" is Anton Lyadov travel vblog. Anton visits the most uncommon and dangerous places in the world. ... <看更多>
thepeople 在 The People - Home | Facebook 的美食出口停車場
The People. 282 likes. We create brand identities, commercials, websites, apps, films, books and objects for clients, audiences and ourselves. ... <看更多>