สรุป วอร์แรนท์ คืออะไร เข้าใจในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ถ้าใครเคยจองซื้อคอนโดฯ เจ้าของโครงการจะออกเอกสารที่แสดงถึงการจองสิทธิเพื่อซื้อคอนโดฯ ไว้เบื้องต้น โดยเรามีหน้าที่วางเงินเป็นหลักประกัน และชำระเงินตามเงื่อนไขภายในวันเวลาที่กำหนด
แต่ถ้าเราไม่ทำตามเงื่อนไขภายในระยะเวลาที่กำหนด คอนโดฯ ที่เราจองไว้ก็จะถูกนำไปขายให้คนอื่น ซึ่งแนวคิดนี้ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับ การถือสิ่งที่เรียกว่า “วอร์แรนท์”
หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกับการซื้อขายหุ้น แต่ก็มีหลายคน อาจจะยังไม่รู้จักวอร์แรนท์ ทั้งที่ก็เคยได้ยินคำนี้มาบ่อยครั้ง
แล้ว วอร์แรนท์ คืออะไร ?
และทำไมบางบริษัทชอบออกตราสารประเภทนี้ให้กับผู้ถือหุ้น
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
วอร์แรนท์ คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่วอร์แรนท์นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ซึ่งมีตั้งแต่หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน โดยจะกำหนดราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) เอาไว้
ที่เราคุ้นเคยกัน หลักทรัพย์ที่มีวอร์แรนท์อ้างอิงมักเป็น หุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ
โดยทั่วไป บริษัทจดทะเบียนมักจะแจกวอร์แรนท์ฟรีให้ผู้ถือหุ้นเดิม
ทั้งนี้ก็เพื่อดึงดูดใจให้มาใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มในอนาคต
โดยเงื่อนไข รายละเอียด หรือจุดสำคัญ ที่ผู้ถือวอร์แรนท์ต้องทำความเข้าใจให้ดี ๆ จะประกอบไปด้วย ราคาใช้สิทธิ, รายละเอียดการใช้สิทธิ, ระยะเวลาที่ใช้สิทธิได้ และอายุคงเหลือของวอร์แรนท์
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็เช่น
สมมติว่า เราเป็นเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟและจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น ต่อมาคิดว่าอีก 3 ปีข้างหน้า เราต้องการใช้เงินทุนเพื่อขยายสาขาไปต่างประเทศ
ดังนั้น เราจึงต้องการออกวอร์แรนท์ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
โดยกำหนดให้ อัตราส่วนหุ้นต่อวอร์แรนท์ที่จะได้รับ คือ 4:1, อัตราส่วนการแปลงสภาพ คือ 1:1, ราคาใช้สิทธิ 20 บาท ใช้สิทธิได้ปีละครั้ง และเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 30 ธ.ค. 2564 ไปจนถึง 30 ธ.ค. 2568
ซึ่งในกรณีนี้สรุปได้ว่า
- ผู้ที่ถือหุ้นในธุรกิจร้านกาแฟของเรา ถ้าถือหุ้นอยู่ 4 หุ้นจะได้ 1 วอร์แรนท์
- ผู้ถือหุ้นสามารถใช้ 1 วอร์แรนท์ แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น โดยจ่ายเงินให้บริษัทเรา 20 บาท
- วอร์แรนท์มีอายุ 4 ปี โดยใช้สิทธิแปลงสภาพได้ปีละครั้ง โดยผู้ถือหุ้นจะเริ่มใช้สิทธิได้ครั้งแรก ในวันที่ 30 ธ.ค. 2564 และครั้งสุดท้ายในวันที่ 30 ธ.ค. 2568
ทั้งนี้ เมื่อผู้ถือวอร์แรนท์มาใช้สิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ บริษัทจดทะเบียนที่ออกวอร์แรนท์ ก็จะได้เงินทุนเพิ่ม เพื่อมาใช้ในกิจการ ส่วนคนที่มาใช้สิทธิแปลงวอร์แรนท์เป็นหุ้นสามัญก็จะได้หุ้นเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม มันยังมีอีกกรณีหนึ่ง
คือคนที่ถือวอร์แรนท์อยู่ อาจไม่เก็บวอร์แรนท์ไว้ใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญด้วยตัวเองก็ได้
เนื่องจากวอร์แรนท์นั้นสามารถนำไปขายเปลี่ยนมือในตลาดหุ้นได้ และราคาของวอร์แรนท์ในตลาด ในแต่ละช่วง ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามหลาย ๆ ปัจจัย เช่น
1. ราคาสินค้าสินทรัพย์อ้างอิง
วอร์แรนท์จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามราคาสินทรัพย์อ้างอิงที่สูงขึ้น และลดลงหากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นลดลง
2. ราคาใช้สิทธิ เทียบกับราคา สินทรัพย์อ้างอิง
หากราคาใช้สิทธิ สูงกว่าราคาสินทรัพย์อ้างอิงมาก ๆ ก็จะทำให้ราคาของวอร์แรนท์นั้นต่ำ
เนื่องจากนักลงทุนมองว่า โอกาสที่ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวสูงกว่าราคาใช้สิทธินั้นมีน้อย ซึ่งหากเอาวอร์แรนท์นั้นไปใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้นสามัญแล้วเอามาขาย ก็ย่อมขาดทุน
3. อายุคงเหลือของสัญญา
มูลค่าของวอร์แรนท์จะค่อย ๆ ลดลง ตามอายุคงเหลือของวอร์แรนท์ที่ลดลง และถ้าวอร์แรนท์ไม่ได้ถูกใช้สิทธิภายในเวลาที่กำหนด วอร์แรนท์นั้น “จะมีค่าเป็นศูนย์”
4. ความผันผวนของราคาสินทรัพย์อ้างอิง
ความผันผวนของระดับราคาสินทรัพย์อ้างอิง ยิ่งมีมากขึ้น จะส่งผลให้ราคาของวอร์แรนท์มีการเคลื่อนไหวผันผวนสูงตามไปด้วย
สำหรับคนที่มีวอร์แรนท์อยู่ในมือ
กรณีที่ราคาใช้สิทธิรวมกับราคาวอร์แรนท์แล้ว (กรณีที่ซื้อวอร์แรนท์มา) ต่ำกว่าราคาหุ้นที่อ้างอิงในตลาด ก็จะสามารถใช้สิทธิซื้อหุ้น และเอาหุ้นนั้นไปขายในตลาดทำกำไร ซึ่งวอร์แรนท์นั้นจะถือว่ามีมูลค่า หรือเรียกว่า “In-the money”
ในทางกลับกัน ถ้าราคาใช้สิทธิรวมกับราคาวอร์แรนท์ (กรณีที่ซื้อวอร์แรนท์มา) สูงกว่าราคาหุ้นอ้างอิงในตลาด ผู้ถือก็มักไม่ใช้สิทธิ เพราะไปซื้อหุ้นนั้นในตลาดได้ในราคาที่ถูกกว่า
วอร์แรนท์นั้น ก็จะถือว่าไม่มีมูลค่า หรือเรียกว่า “Out-of-the money”
โดยสิ่งที่ทำให้วอร์แรนท์ดึงดูดผู้ลงทุนคือ ความเป็น Leverage หรือที่หมายถึง การลงทุนที่ใช้เงินน้อยแต่มีโอกาสได้กำไรมาก โดยจำกัดความสูญเสียไว้ ซึ่งอย่างมากที่สุดก็คือ ต้นทุนที่ได้วอร์แรนท์มา
ซึ่งบางคนได้มาฟรี ๆ ก็อาจมองว่าไม่เสียหายอะไร
ส่วนผู้ที่ซื้อมาจากในตลาดอีกที แล้วใช้สิทธิไม่ทันหรือเลือกไม่ใช้สิทธิ ก็จะขาดทุนเท่าราคาที่ซื้อมา
ถึงตรงนี้ คำถามที่บางคนอาจสงสัยก็คือ แล้วถ้าบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่ม ทำไมไม่เลือกที่จะขอเพิ่มทุนตรง ๆ จากผู้ถือหุ้น แต่กลับเลือกที่จะออกวอร์แรนท์
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า การเพิ่มทุนจะเกิดผลกระทบจาก Dilution Effect ในทันที ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จำนวนหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาต่อหุ้นปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่สภาพตลาดหุ้นไม่ดี การเพิ่มทุนมักจะทำได้ยาก หรือถ้าบริษัทต้องการเพิ่มทุน บริษัทก็ต้องลดราคาขายหุ้นเพิ่มทุนลงมา
ซึ่งไม่เพียงแต่กระทบกับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท แต่ยังทำให้บริษัทมีโอกาสได้เงินเพิ่มทุนน้อยกว่า ช่วงที่สภาพตลาดหุ้นคึกคัก ที่มีโอกาสขายหุ้นเพิ่มทุนได้ในราคาสูงกว่า
การออกวอร์แรนท์นั้น สามารถชะลอผลกระทบของ Dilution Effect เนื่องจากจำนวนหุ้นเพิ่มทุนจะยังไม่เพิ่มขึ้นทันที จนกว่าผู้ถือวอร์แรนท์จะมาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ และจะเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ การออกวอร์แรนท์ ยังช่วยลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัท หรือ Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) เพราะเมื่อวอร์แรนท์ถูกใช้สิทธิแปลงสภาพ จะถูกบันทึกเข้ามาอยู่ในส่วนทุน ต่างจากกรณีที่บริษัทไปกู้ยืมเงินมา ซึ่งจะถูกบันทึกเป็นหนี้สิน
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็จะสรุปได้ว่า
วอร์แรนท์ เป็นตราสารที่ผู้ถืออาจได้มาฟรีหรือไม่ฟรีก็ได้
ในกรณีที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิม อาจได้รับวอร์แรนท์มาฟรี ๆ หรือพ่วงมากับการขอเพิ่มทุนในรอบก่อน ๆ ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่แจกวอร์แรนท์ ถ้าอยากได้ ก็ต้องไปซื้อเอาจากคนที่เอามาขายต่อในตลาด
ส่วนคนที่มีวอร์แรนท์อยู่ในมือ ก็สามารถเลือกที่จะใช้สิทธิ หรือไม่ใช้สิทธิก็ได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดมา
สำหรับการออกวอร์แรนท์
ในแง่ของบริษัทที่ออกวอร์แรนท์ ต้องคาดการณ์มูลค่าเงินทุนที่บริษัทต้องการใช้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับอายุของวอร์แรนท์ รวมไปถึงราคาใช้สิทธิ เพื่อลดผลกระทบด้าน Dilution Effect ให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท รวมทั้งนำเงินทุนที่ได้จากการแปลงสภาพไปสร้างผลตอบแทนให้เหมาะสม
ส่วนในแง่ของผู้ถือวอร์แรนท์ ก็ต้องศึกษารายละเอียดการใช้สิทธิแปลงสภาพ และเงื่อนไขต่าง ๆ ของวอร์แรนท์อย่างละเอียด โดยเฉพาะเรื่องของ อายุคงเหลือของวอร์แรนท์ และเข้าใจความเสี่ยงของการถือหรือลงทุนในวอร์แรนท์ให้ดี
เพราะเราอาจยังสามารถถือหุ้นอยู่ได้ เมื่อบริษัทเกิดปัญหาและราคาหุ้นปรับตัวลดลง ถ้าเชื่อว่าในอนาคตธุรกิจของบริษัทจะฟื้นตัวกลับมาจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น
แต่เราไม่สามารถถือวอร์แรนท์ไปได้ตลอด เพราะวอร์แรนท์มีอายุที่จำกัด
ซึ่งถ้าเราซื้อวอร์แรนท์นั้นมาในราคาสูง มันก็ทำให้เราขาดทุนหนักได้เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sec.or.th/TH/Pages/Investors/EquityProduct-Warrants01.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/Warrant_(finance)
-https://www.drwealth.com/5-factors-affecting-the-price-of-warrants/
-https://sias.org.sg/beginners-guide/key-factors-that-determine-a-warrant-price/
-https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/warrant_issue_p1.html
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過10萬的網紅hketvideo,也在其Youtube影片中提到,恒指全日跌105點,收報28885點,主板成交1,342億元。認可財務策劃師(CFP)梁耀康於「ET講股通」節目表示,A股反彈逾1%,惟港股未見受惠,恒指續收於29000關以下。美國聯儲局決定不再延長SLR(supplementary leverage ratio,補充槓桿率),市場有何解讀?……(...
leverage ratio 在 Apple Daily - English Edition Facebook 的最讚貼文
#Opinion by Mr. Tregunter|"It is not that Japan has managed to achieve inflation, but seeing what the US and Europe are doing, it reckons the wave of rising bond yields will sooner or later sweep across Japan. So it decided to act in advance. Using fiscal policy to save the market is a way to gradually withdraw the policy of using monetary policy to save the market. In the process, asset prices will be adjusted."
Read more: https://bit.ly/3f8Ce2W
"日本並非已將通脹追到手,而係眼見美歐咁搞法,債息急升大浪遲早捲到日本。現下預早做防汛工作,問題即回到早前強調的,財政政策救市出場,係為了掩護貨幣政策救市逐步撤退,中間的轉折點就是資產價格調整期。"
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
leverage ratio 在 財經雷亂想 Facebook 的最佳解答
最近各大央行開始慢慢步入常軌了,聯準會沒有延長SLR, 日本央行放寬殖利率曲線控制區間、昨天加拿大央行宣布將逐漸終止五項流動性項目。此外新興市場巴西、俄羅斯開始升息。所幸與此同時的好消息是油價終於跌了🥲
我們透過這篇文章完整的描述以下幾個問題,包含:
1. 現在短端流動性依舊充裕
2. 美國銀行早有準備對抗SLR到期
3. 隨著就業市場好轉,聯準會最快於下半年討論減少購債
4. 未來財政部發的債誰買?透過美元上漲、殖利率緩升吸引海外資金。
5. 上述影響下的資金配置
leverage ratio 在 hketvideo Youtube 的最讚貼文
恒指全日跌105點,收報28885點,主板成交1,342億元。認可財務策劃師(CFP)梁耀康於「ET講股通」節目表示,A股反彈逾1%,惟港股未見受惠,恒指續收於29000關以下。美國聯儲局決定不再延長SLR(supplementary leverage ratio,補充槓桿率),市場有何解讀?……(更多內容:https://inews.hket.com/article/2913318?r=mcsdyt)
leverage ratio 在 Leverage Ratios - Corporate Finance Institute 的相關結果
A leverage ratio indicates the level of debt incurred by a business entity against several other accounts in its balance sheet, income statement, ... ... <看更多>
leverage ratio 在 Basel III leverage ratio framework – Executive summary 的相關結果
In many cases, banks built up excessive leverage while maintaining seemingly strong risk-based capital ratios. The ensuing deleveraging process at the height of ... ... <看更多>
leverage ratio 在 Tier 1 Leverage Ratio Definition - Investopedia 的相關結果
The Tier 1 leverage ratio measures a bank's core capital relative to its total assets. The ratio looks specifically at Tier 1 capital to judge how leveraged ... ... <看更多>