กรณีศึกษา ทำไมคนญี่ปุ่น ชอบถือเงินสด มากกว่าลงทุนในหุ้น /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1878 หรือเมื่อ 143 ปีที่แล้ว และมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากกว่า 2,000 บริษัท ในปัจจุบัน
และรู้หรือไม่ว่า ต้นปี 2021 มูลค่าของตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นสูงกว่า 190 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
หลายคนอาจคิดว่า คนญี่ปุ่นคงชอบลงทุนในหุ้น มากกว่าสินทรัพย์อื่น
แต่ความจริงแล้ว กลับไม่เป็นเช่นนั้น..
แล้วคนญี่ปุ่นเมื่อมีเงินแล้ว พวกเขาเอาไปเก็บไว้ที่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เราลองมาเทียบกันดูก่อนว่า ส่วนใหญ่แล้วคนญี่ปุ่นชอบถือครองสินทรัพย์อะไร และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ในปี 2018 ครัวเรือนญี่ปุ่น ถือครองสินทรัพย์มูลค่ารวมกันกว่า 558 ล้านล้านบาท
โดยจำนวนนี้ ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะเป็น
- เงินสดและบัญชีเงินฝาก 52%
- ประกันและบำนาญ 28%
- หุ้นและกองทุนรวม 15%
- อื่น ๆ 5%
ที่น่าสนใจคือ เมื่อเทียบกับคนยุโรปและคนอเมริกัน ที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ต่อมูลค่าสินทรัพย์ถือครอง เท่ากับ 28% และ 31% ตามลำดับ
จึงแสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยสนใจการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมมากนัก และยังชอบถือครองเงินสด ด้วยการฝากเงินไว้ในธนาคารจำนวนมากอีกด้วย
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในญี่ปุ่นนั้น อยู่ในระดับที่ต่ำมาต่อเนื่องหลายปี แม้กระทั่งในปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 0%
คำถามสำคัญก็คือ ทำไมคนญี่ปุ่น ยังเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคารจำนวนมาก แทนที่จะนำเงินไปลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ?
เหตุผลที่อธิบายเรื่องนี้ สามารถสรุปออกมาได้ 3 ประเด็น คือ
1. ประสบการณ์ที่เลวร้ายจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น
หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ระยะของการฟื้นฟูประเทศ ช่วงหลังจากนั้นเป็นต้นมา เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เติบโตแบบก้าวกระโดด
ในช่วงปี 1961-1971 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยกว่า 9% ต่อปี และเติบโตมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงในช่วงทศวรรษ 1980
ในตอนนั้น ผลกำไรของบริษัทในญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และธนาคารหลายแห่งมีการปล่อยกู้ให้แก่บริษัทจำนวนมาก
การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งบริษัทและผู้คนในญี่ปุ่นต่างร่ำรวย จนเกิดการเข้าไปเก็งกำไรราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์
ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ดัชนี Nikkei ที่สะท้อนตลาดหุ้นญี่ปุ่น พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง จนเกือบแตะ 40,000 จุด ในปี 1989 จากระดับประมาณ 8,000 จุดในปี 1982
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.5% ในปี 1989 มาอยู่ที่ 6% ในปี 1990 เพื่อเพิ่มต้นทุนการกู้ยืม ไม่ให้เกิดการกู้ไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ
จนสุดท้าย เมื่อแรงเก็งกำไรเริ่มอ่อนลง ก็ถึงคราวฟองสบู่ลูกใหญ่ระเบิดออก
ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ และราคาอสังหาริมทรัพย์ ก็เริ่มปรับตัวลดลง และลดลงเรื่อย ๆ จนหลายคนเจ็บตัวอย่างหนักจากการลงทุน
วิกฤติฟองสบู่ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังจากนั้นมาหลายสิบปีแทบจะหยุดอยู่กับที่ และเป็นแบบนี้มาแล้วราว 3 ทศวรรษ
ซึ่งนี่เองเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก รู้สึกขยาดกับการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น รวมทั้งยังปลูกฝังความคิดนี้มายังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อ ๆ มา จนถึงตอนนี้
2. ภาวะเงินเฟ้อฝืด
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลโดยตรงต่อภาคครัวเรือน
รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนญี่ปุ่นนั้นลดลง จากการที่หลายคนต้องตกงาน ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า ในช่วงปี 1990-2020
ญี่ปุ่นประสบกับภาวะเงินฝืด (เงินเฟ้อติดลบ) ทั้งหมด 14 ปี
ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืด นั่นหมายความว่า ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะลดลง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ชาวญี่ปุ่นจึงเกิดแรงจูงใจในการถือเงินสด มากกว่าที่จะนำเงินออกไปใช้จ่าย หรือชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน เพราะพวกเขาเชื่อว่า ในอนาคตเงินจำนวนเท่าเดิมนั้นจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากกว่าในปัจจุบัน และนำเอาเงินไปฝากกับธนาคารไว้ก่อนนั่นเอง
3. ความรู้ ความเข้าใจด้านการเงิน ของคนญี่ปุ่น
หลายคนคงแปลกใจถ้าบอกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ด้านการเงิน
ซึ่งเรื่องนี้ มีผลการสำรวจของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ประชาชนชาวญี่ปุ่นนั้นมีความรู้ด้านการเงินน้อยกว่าประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
การขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงิน ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก กลัวการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง และชอบในการเก็บเงินออมด้วยการฝากธนาคารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
นอกจากนี้ โรงเรียนในญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการลงทุนเท่าที่ควร โดยศาสตราจารย์ Nobuyoshi Yamori ที่สอนสาขาวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยโกเบ ระบุว่า
“โรงเรียนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น ใช้เวลาสอนเรื่องการเงินการลงทุนให้นักเรียนน้อยมาก ขณะที่ครูที่มาสอนวิชาดังกล่าวก็ไม่ได้รับการฝึกอบรม หรือมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการเงินการลงทุนที่ดีมากนัก”
จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นจำนวนมากขาดความรู้ด้านการเงิน ซึ่งส่งผลให้เมื่อทำงานมีรายได้แล้ว พวกเขาเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคาร มากกว่านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ โดยเฉพาะหุ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะเข้าใจว่าทำไมที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นจำนวนมากตัดสินใจถือเงินสด หรือฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างมากและไม่ค่อยชอบการลงทุนในหุ้นมากนัก ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่มีตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่าปัจจุบัน เงินเยนของญี่ปุ่น เป็นสกุลเงินที่ถูกใช้ซื้อขายบิตคอยน์มากที่สุดอันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองเพียงแค่เงินดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเราอาจบอกได้ว่า แม้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก จะไม่ชอบสินทรัพย์เสี่ยงสูง และนิยมฝากเงินไว้ในธนาคาร
แต่ในทางกลับกันก็มีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย ที่หันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง อย่างบิตคอยน์
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.stat.go.jp/english/data/handbook/pdf/2020all.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tokyo_Stock_Exchange
-https://www.statista.com/statistics/710680/global-stock-markets-by-country/
-https://tradingeconomics.com/japan/deposit-interest-rate
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-https://data.worldbank.org/country/JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decades
-https://www.statista.com/statistics/270095/inflation-rate-in-japan/
-https://www.fsa.go.jp/frtc/kenkyu/event/20150305/s3_2.pdf
-https://www.investopedia.com/tech/top-fiat-currencies-used-trade-bitcoin/
-https://globalriskinsights.com/2021/06/japans-cryptocurrency-market-set-to-bloom-or-wither/
同時也有1147部Youtube影片,追蹤數超過3萬的網紅The Thirsty Sisters,也在其Youtube影片中提到,This week, The Thirsty Sisters are back with their thoughts on the recent Population Census 2020 survey, where it was reported for women to be more ed...
「instagram statistics」的推薦目錄:
- 關於instagram statistics 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於instagram statistics 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於instagram statistics 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於instagram statistics 在 The Thirsty Sisters Youtube 的精選貼文
- 關於instagram statistics 在 LIVIGRACE. CO Youtube 的最佳解答
- 關於instagram statistics 在 Herman Yeung Youtube 的最讚貼文
- 關於instagram statistics 在 About Instagram Insights | Meta Business Help Center 的評價
- 關於instagram statistics 在 Instagram Stats-How to Check Instagram Analytics-Fast and ... 的評價
- 關於instagram statistics 在 29 Statistics Posts: Examples of Instagram Posts ideas 的評價
instagram statistics 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Vine แพลตฟอร์มวิดีโอวนลูป ที่เคยมีผู้ใช้งาน 200 ล้านราย /โดย ลงทุนแมน
ในปัจจุบัน หากพูดถึงแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น คนส่วนใหญ่คงนึกถึงชื่อของ TikTok หรือ Instagram
แต่ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน มีแพลตฟอร์มชื่อว่า “Vine” ที่เคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทำให้เกิดการแชร์คลิปไวรัลบนโลกโซเชียลมากมาย
รู้ไหมว่า Vine เคยดึงดูดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้สูงถึง 200 ล้านราย แต่สุดท้าย กลับต้องปิดตัวลงในแบบที่ไม่มีใครคาดคิด
มันเกิดอะไรขึ้นกับ Vine ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Vine เป็นแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น จากประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 2013 หรือ 8 ปีที่แล้ว
ผู้ก่อตั้งธุรกิจนี้ คือ คุณ Dom Hofmann, คุณ Rus Yusupov และ คุณ Colin Kroll ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่สตาร์ตอัปอีคอมเมิร์ซแห่งหนึ่งด้วยกัน
โดยคุณ Hofmann มีไอเดียที่จะสร้างโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และรับชมคลิปวิดีโอ จึงชักชวนเพื่อนทั้งสองคน ออกมาตั้งบริษัทใหม่ร่วมกัน
ต่อมา พวกเขาก็เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม Vine และตัดสินใจเลือกใช้คอนเทนต์หลักเป็น “คลิปวิดีโอสั้น 6 วินาที แบบวนลูป”
โดย Vine จะมีฟีเชอร์ให้ผู้ใช้งาน ถ่ายวิดีโอระยะเวลา 6 วินาที และตกแต่งลูกเล่นเพิ่มเติมได้ ซึ่งบนแพลตฟอร์มจะมีการแบ่งหมวดหมู่คลิป ตามประเภทคอนเทนต์และความนิยมในแต่ละช่วงเวลา
ในระหว่างที่พวกเขากำลังพัฒนาแพลตฟอร์มอยู่นั้น
ปรากฏว่า แนวคิดของ Vine ก็ไปเข้าตา “Twitter” ซึ่งมองว่าการเสพคลิปแบบกระชับฉับไว สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจของตน จึงตัดสินใจขอเข้าซื้อกิจการทันที ด้วยมูลค่าประมาณ 980 ล้านบาท
เมื่อมีบริษัทชื่อดังหนุนหลัง Vine จึงเปิดตัวสู่ตลาดด้วยความมั่นใจ และกลายเป็นแหล่งรวมคลิปสั้นที่คนนำไปแชร์กันมากมาย บนสังคมออนไลน์ต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้งานประจำ (Active Users) ของ Vine จึงเติบโตเป็นเท่าตัว
ปี 2013 อยู่ที่ 40 ล้านบัญชี
ปี 2014 อยู่ที่ 100 ล้านบัญชี
ปี 2015 อยู่ที่ 200 ล้านบัญชี
ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมากสำหรับแพลตฟอร์มน้องใหม่ และยังใกล้เคียงกับบริษัทแม่อย่าง Twitter ที่ขณะนั้น มีผู้ใช้งานประมาณ 305 ล้านบัญชี อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความคาดหวังถึงอนาคตอันสวยหรู
Vine กลับมีอายุแค่ราว 4 ปีเท่านั้น เพราะจู่ ๆ Twitter ได้ประกาศหยุดให้บริการแพลตฟอร์ม Vine อย่างกะทันหัน ในช่วงปลายปี 2016
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Vine ต้องปิดตัวลง ?
ถ้าถามว่า สิ่งสำคัญที่ส่งผลให้คลิปสั้นของ Vine น่าสนใจ คืออะไร
คำตอบ คงหนีไม่พ้น “ผู้ผลิตคอนเทนต์”
แต่ที่ผ่านมา Vine กลับไม่ได้สร้างแรงจูงใจกับกลุ่ม Influencers ให้ผลิตคอนเทนต์สนุก ๆ บนแพลตฟอร์มของพวกเขาต่อไปสักเท่าไร
โดย Vine ไม่มีการแบ่งสัดส่วนรายได้ เช่น ค่าโฆษณา ให้กับเจ้าของคลิป เหมือนกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพราะตัวบริษัทเองยังไม่ได้คิดหาวิธีสร้างรายได้
นอกจากนั้น เวลา 6 วินาทีต่อคลิป กลายเป็นจุดอ่อน ที่ทำให้ผู้ใช้งานถูกจำกัดลูกเล่นในการสร้างสรรค์คลิปไปพอสมควร ซึ่งถึงแม้มีข้อเรียกร้องให้ขยายบริการรองรับวิดีโอที่ยาวขึ้น แต่ก็ต้องรอจนถึงปี 2016 กว่าที่ Vine จะปรับเพิ่มให้เป็นไม่เกิน 140 วินาทีต่อคลิป ซึ่งค่อนข้างช้าเกินไป
เมื่อทุ่มเทเวลาผลิตคลิปมากมาย แต่ไม่มีผลตอบแทน และฟีเชอร์เริ่มไม่ตอบโจทย์
จึงทำให้ Influencers เปลี่ยนไปลองใช้งานแพลตฟอร์มอื่นแทน ซึ่งส่งผลให้กลุ่มผู้ติดตาม ย้ายตามไปด้วย
ในขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มคู่แข่งในตลาด พอเห็น Vine ได้รับความนิยม ก็มีการพัฒนาฟีเชอร์คลิปวิดีโอสั้นขึ้นมาบ้าง
ยกตัวอย่างเช่น Instagram ซึ่งเดิมเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลเน้นแชร์รูปภาพ แต่ต่อมา ได้เพิ่มคอนเทนต์วิดีโอความยาวตั้งแต่ 15 วินาที จนถึง 10 นาที ทำให้สามารถออกแบบคลิปได้หลากหลายรูปแบบ
ซึ่งในภายหลัง Vine ก็ยอมรับว่า การที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Instagram ก้าวเข้าสู่ตลาดวิดีโอ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ส่งผลกระทบให้จำนวนผู้ใช้งาน Vine ลดลงอย่างรวดเร็ว
รวมถึงการเปิดตัวของ TikTok ในปี 2016 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้น เช่นเดียวกับ Vine แต่รองรับความยาวเริ่มต้นที่ 15 วินาที และมีลูกเล่นแต่งคลิปที่น่าสนใจกว่า รวมทั้งมีอัลกอริทึมประสิทธิภาพสูง คอยแนะนำคลิปให้รับชมอีกด้วย
ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ มีช่องทางสร้างรายได้จากค่าโฆษณา หรือค่าสปอนเซอร์สินค้า ได้มากกว่าบนแพลตฟอร์ม Vine
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การขายกิจการให้กับ Twitter เร็วเกินไป
เพราะการมีสถานะเป็นบริษัทในเครือ ทำให้บางครั้ง ทีมงานขาดอำนาจและความรวดเร็วในการตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นมากสำหรับสตาร์ตอัปในช่วงแรก ที่ต้องปรับปรุงธุรกิจอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างการเติบโต
นอกจากนั้น หลังดีลขายกิจการ แม้ผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 3 คน จะยังอยู่พัฒนาแอปพลิเคชันต่อ แต่ต่อมาไม่นาน พวกเขาก็ลาออก รวมทั้งในขณะนั้น Twitter กำลังประสบปัญหาขาดทุน จึงไม่ได้มุ่งเน้นพัฒนาบริการอื่น ๆ ในเครือมากนัก ซึ่งทำให้การดำเนินงานของ Vine ขาดความต่อเนื่อง
เมื่อคนหันไปใช้แพลตฟอร์มอื่น ประกอบกับทิศทางธุรกิจในอนาคต ไม่ชัดเจน
จึงเป็นสาเหตุให้ Twitter ตัดสินใจไม่ไปต่อกับ Vine นั่นเอง
เรื่องนี้น่าจะเป็นแง่คิดที่ดี สำหรับการทำธุรกิจแพลตฟอร์มตัวกลาง
สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นอันดับต้น ๆ คงเป็นการปรับปรุงบริการ ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าปราศจากคอนเทนต์ของกลุ่มคนเหล่านั้น ตัวแพลตฟอร์มเอง อาจจะไม่เหลือมูลค่าใด ๆ
เหมือนดังกรณีของ Vine ที่เคยสร้างฐานผู้ใช้งานได้แข็งแกร่งกว่า 200 ล้านราย
แต่สุดท้าย กลับต้องปิดตัวลงไป อย่างน่าเสียดาย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Vine_(service)
-https://productmint.com/what-happened-to-vine/
-https://www.failory.com/cemetery/vine
-https://www.statista.com/statistics/282087/number-of-monthly-active-twitter-users/
instagram statistics 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุป Risk Premium คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนควรรู้จัก /โดย ลงทุนแมน
“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน”
คนที่เป็นนักลงทุนคงคุ้นเคยกับประโยคเตือนนี้ดี
ความเสี่ยง ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือ โอกาสที่เราจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังไว้ รวมไปถึงโอกาสในการสูญเสียเงินต้นจากการลงทุนนั้น ๆ
แต่ถ้าในเชิงวิชาการเงิน ความเสี่ยงก็อาจวัดได้จากความผันผวนของผลตอบแทน ยิ่งผันผวนมาก ในวิชาการเงินจะถือว่ามีความเสี่ยงสูง
แน่นอนว่า เมื่อเราไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยง เราก็มีโอกาสที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนที่คาดไว้ รวมถึงโอกาสในการสูญเสียเงินต้น
ดังนั้น เมื่อตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงแล้ว นักลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนเพิ่มเติม ที่เรียกว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง” หรือ “Risk Premium”
แล้ว Risk Premium คืออะไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ลองนึกภาพเล่น ๆ กันก่อนว่า ถ้าเรานำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น
- เงินฝากธนาคาร เสี่ยงต่ำมาก ต้องการผลตอบแทน 1%
- หุ้นกู้บริษัทเอกชน เสี่ยงปานกลาง ต้องการผลตอบแทน 5%
- หุ้นสามัญ เสี่ยงสูง ต้องการผลตอบแทน 10%
เราจะพบว่า แต่ละสินทรัพย์นั้นมีความคาดหวังของอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป
สินทรัพย์ยิ่งเสี่ยงมาก เราก็ยิ่งคาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากตามไปด้วย
ซึ่งก็เข้ากับประโยคคลาสสิกในโลกของการลงทุนที่ว่า “High Risk High Return” นั่นเอง
ตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยให้หลายคนเห็นภาพมากขึ้น
คือ ความแตกต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ก็สามารถใช้คำว่า Risk Premium มาอธิบายความแตกต่างนี้ได้เช่นกัน
คำถามที่หลายคนมักคาใจกันมานานคือ ทำไมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากถึงต่ำมาก เช่น อยู่ในช่วงระหว่าง 0.5% - 1.5% แต่ทำไมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นจึงสูงมาก เช่น 5.0% - 8.0%
เรื่องนี้อธิบายตามหลัก Risk Premium ก็คือ
เมื่อธนาคารรับเงินฝากจากเราไป ธนาคารก็จะมีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับเราหรือคนที่เอาเงินไปฝากตามตกลงกัน
แต่ประเด็นคือ ธนาคารไม่ได้เอาเงินฝากของเรากองไว้เฉย ๆ แต่ธนาคารเอาเงินไปปล่อยสินเชื่อต่อ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระดอกเบี้ย หรือไม่ได้เงินต้นคืนจากผู้ขอสินเชื่อ
เช่น ถ้าผู้กู้เป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงด้านการเงิน มีหนี้สูง หรือแม้แต่คนธรรมดาที่ไปขอกู้และมีเครดิตไม่ดีในการผ่อนชำระเงิน มีรายได้ไม่แน่นอน หรือไม่มีหลักประกัน
ความเสี่ยงตรงนี้ เป็นส่วนที่ธนาคารต้องแบกรับ ทำให้ธนาคารต้องคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับสูงขึ้น มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ซึ่งความแตกต่างนั้น ส่วนหนึ่งก็สะท้อนคำว่า Risk Premium หรือ ส่วนชดเชยความเสี่ยง นั่นเอง
อีกกรณีหนึ่งที่อธิบายเรื่องนี้ได้คือ การจัดอันดับเครดิตเรตติงของ หุ้นกู้
โดยบริษัทที่ทำการจัดอันดับเครดิตเรตติง จะประเมินระดับเรตติงจาก ลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผลประกอบการ หลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่าบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น มีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้มากแค่ไหน
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงมีการจัดอันดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ ซึ่งแบ่งออกมาเป็น Investment Grade หรือกลุ่มที่มีเครดิตดีน่าลงทุน ที่มีเรตติงตั้งแต่ BBB ขึ้นไปถึง AAA
และ Non-Investment Grade หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะผิดนัดชำระหนี้สูง มีเรตติงต่ำกว่า BBB ลงมา
โดยในกลุ่ม Non-Investment Grade บริษัทที่ออกหุ้นกู้ ก็จะต้องเสนอดอกเบี้ยสูง ๆ เพื่อจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนบนความเสี่ยงที่สูงนั้น
แตกต่างกับกลุ่ม Investment Grade ที่เครดิตดีอยู่แล้ว ผู้ลงทุนจึงรู้สึกปลอดภัยในการมาลงทุน และไม่ต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงเยอะ ผู้ออกจึงไม่จำเป็นต้องเสนอดอกเบี้ยสูง ๆ นั่นเอง
ส่วนคนที่ลงทุนในตลาดหุ้น ก็จะมีผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง ที่เรียกว่า “Equity Risk Premium”
ซึ่ง Equity Risk Premium ถ้าอธิบายตามหลักการ ก็เกิดมาจาก อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้น หักลบด้วย ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง
ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว สินทรัพย์ที่มักถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ก็คือ พันธบัตรรัฐบาล
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น
ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้นเท่ากับ 10% อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเท่ากับ 2% ในกรณีนี้ Equity Risk Premium จะเท่ากับ 8%
และด้วยความที่ตัวแปรทั้ง 2 ตัวนั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพราะฉะนั้น Equity Risk Premium จะมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
โดยปกติแล้วเมื่อตลาดอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
เช่น การตกต่ำของภาวะเศรษฐกิจ การเกิดสงคราม ก็จะทำให้ Equity Risk Premium มีการปรับตัวสูงขึ้น เพราะนักลงทุนคาดหวังผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงใน Equity Risk Premium ยังสามารถบอกการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนระหว่างตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรได้อีกด้วย
โดยปกติแล้วถ้ามีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรเข้าตลาดหุ้น Equity Risk Premium จะลดลง และกลับกัน เมื่อมีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเข้าสู่ตลาดพันธบัตร Equity Risk Premium จะเพิ่มขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้เราน่าจะพอได้ไอเดียเกี่ยวกับ Risk Premium หรือ ผลตอบแทนที่ชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ มาพอสมควร
ซึ่งการที่เรารู้และเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนที่จะลงทุน
ก็น่าจะช่วยให้เรา เข้าใจกลไก ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโลกการลงทุน ได้ดีมากขึ้น
ดังนั้น ต่อไปนี้ ก่อนที่ใครจะชวนลงทุนอะไร ที่มันดูเสี่ยง
เราอาจต้องถามตัวเองว่า เราต้องการ Risk Premium ที่เท่าไร..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/Risk_premium
-https://en.wikipedia.org/wiki/Credit_rating
-https://www.investopedia.com/terms/e/equityriskpremium.asp
instagram statistics 在 The Thirsty Sisters Youtube 的精選貼文
This week, The Thirsty Sisters are back with their thoughts on the recent Population Census 2020 survey, where it was reported for women to be more educated than their male counterparts! Why are people on Facebook angry about this increase? Are women really smarter than men? ? We got Sylvia and Nina to react to all these—tune in to hear all about it!
Link to The Straits Times article: https://str.sg/34Sk
Link to the Facebook post: https://www.facebook.com/129011692114/posts/10157967528802115/?d=n
00:00 Intro
01:39 Topic of the day
03:18 Key statistics from the article
04:23 'Its a women problem'
06:27 Why we are having less children
11:00 How women balance work and family
13:30 Coping with your own and your child's issues
15:19 Are we ready to have children?
18:32 The new vs old mindset on single parenthood
21:34 Supporting women regardless of their decisions
22:50 Women are getting harder to get along with?!
26:42 Men have to pay on dates?
29:58 Not taking these comments at face value
32:46 Conclusion
Sylvia and Nina are not your typical influencers; they give it to you raw and real! Join them as they quench their never-ending thirst for wisdom, trends, success and men.
They explore hot and pressing issues you never thought you needed to know in this extremely in-depth podcast. Sisters, brothers and everyone in between or beyond; jump in and be thirsty!
*Disclaimers*
The legal age for sex in Singapore is 18. While being comfortable with your bodies is a must, please protect yourselves by using protection ?
https://singaporelegaladvice.com/law-articles/legal-age-for-sex-in-singapore/
Our views in this podcast include only our own experiences as heterosexual women in Singapore, we respect everyone’s views regardless of genders, gender identities and sexual orientations.
Follow The Thirsty Sisters on Apple Podcasts, Spotify and Instagram!
https://podcasts.apple.com/sg/podcast/the-thirsty-sisters/id1509379792
https://www.instagram.com/thethirstysisterstts
https://open.spotify.com/show/5yx8txjfb7dMkosumEv6lQ?si=5Ew1dv6wRlCayZ0TQfo-Ug
Featuring:
Sylvia - https://www.instagram.com/sylsylnoc
Nina - https://www.instagram.com/ninatsf
Brand collaborations/features:
sales@noc.com.sg
The Thirsty Sisters TEAM
Co-Founders: Sylvia Chan | Nina Tan
Executive Producer: Sylvia Chan
Crew/Editors: Jade Liew | Winston Tay
Motion Graphics Designers: Bryan Seah | Kher Chyn
Sound Engineers: Nah Yu En | Mabel Leong
Digital Strategist: Winston Tay
instagram statistics 在 LIVIGRACE. CO Youtube 的最佳解答
新聞來源:
https://www.theverge.com/2021/5/30/22460946/instagram-making-changes-algorithm-censoring-pro-palestinian-content
https://www.bbc.com/news/technology-57306800
數據來源:
https://www.businessofapps.com/data/instagram-statistics/
? 免費資源
//【 !!必看!! 60分鐘限時免費教學: IG快速增粉→6位數字收入】 https://masterclass.livigrace.online/
//【免費下載:INSTAGRAM創業-新手必讀手冊】 https://livigrace.online/free/
// 更多IG漲粉+創業的影片,拉到下面
================================
?跟我做朋友
// Instagram找我: IG創業 @livigrace.co 吃學玩樂@livigrace.online 學院@livigrace.academy
// 面書群組,互相支持 http://bit.ly/thebosssquadhk
// 了解更多 https://livigrace.online/
// 合作聯繫 support@livigrace.co
================================
?重點影片
//5 個步驟:創業新手如何利用Instagram推廣生意, 增加客人,提升收入
https://youtu.be/G0DwSHOC5TA
// 我的創業故事 (朝9晚6小資女必看)
https://youtu.be/s1YYlpeN7iQ
//如何IG天然增粉2倍- (真人粉絲,賺真錢!)
https://youtu.be/84MszvXeY5s
//1天內製作30天高質IG帖文(天天發帖文,不再擔心沒靈感了!)
https://youtu.be/MUkMH39MAjA
// Instagram Tips 增加客流量+暴光 實用5招
https://youtu.be/lKuTTeI43Sw
// Niche 如何設定 "明確"目標客群
https://youtu.be/gIuV_WV5zog
// IG愈多followers =愈多生意?(想用 IG 賺錢的人注意)
https://youtu.be/pT6x2cxr6Es
// IG followers又升又跌點算好?如個破解?
https://youtu.be/CQg3MOFzupQ
================================
?自覺好用,誠心推薦
// 我上過覺得好用的課程 https://livigrace.online/tools/
// Canva - 最愛的造圖工具(Youtube thumbnail, IG帖文限動都可)
用此連結有額外積分喔➡ https://livigrace.online/tools/
// Tubebuddy - 經營YouTube好幫手
https://livigrace.online/tools/
//【 SPARKSINE 精選閱讀APP】- 發帖文沒靈感?別再"參考"別人的IG了!
高質有價值的IG帖文好幫手
https://livigrace.online/tools/
➡ 以節扣碼「LIVIGRACE」年費訂閱即減HKD30
---
免責聲明:以上部分工具已參與聯盟營銷計劃。
當閣下購買時LIVIGRACE.CO將會因此賺取佣金。
================================
#instagramtips2021 #ig漲粉 #創業 #投資理財 #副業 #朝9晚6 #增加收入 #businesscoaching #instagram創業 #instagram创业 #instagram涨粉
instagram statistics 在 Herman Yeung Youtube 的最讚貼文
HKDSE Mathematics 數學天書 訂購表格及方法︰https://www.sites.google.com/view/HermanYeung
課程簡介︰ https://youtu.be/KKTtzLkpyO8
(e-Book) DSE Maths 數學 Past Paper Solution︰ https://hermanutube.blogspot.com/2021/05/hkdse-maths-10-past-paper-solution-2021.html
------------------------------------------------------------------------------
DSE 數學 Core 天書 D 第1堂 (共2小時1分鐘) https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8rpwKQvMwGSscFQo9vNiJEs
DSE 數學 Core 天書 D 第2堂 (共2小時14分鐘) https://youtu.be/P5lqM4Bxb14?list=PLzDe9mOi1K8rpwKQvMwGSscFQo9vNiJEs
DSE 數學 Core 天書 D 第3堂 (共2小時8分鐘) https://youtu.be/vVnyHSIHXJM?list=PLzDe9mOi1K8rpwKQvMwGSscFQo9vNiJEs
仿 Past Paper 系列 (DSE Probability 概率) (共1小時43分鐘) https://youtu.be/QOrwlA830pk?list=PLzDe9mOi1K8rpwKQvMwGSscFQo9vNiJEs
仿 Past Paper 系列 (DSE nCr, nPr) (共2小時29分鐘) https://youtu.be/tN6LGFfkcTc?list=PLzDe9mOi1K8rpwKQvMwGSscFQo9vNiJEs
DSE 數學 Core 天書 D 第4堂 (共2小時11分鐘) https://youtu.be/iPQbFbDM988?list=PLzDe9mOi1K8rpwKQvMwGSscFQo9vNiJEs
Past Paper Demo (太多,無法估計) https://youtu.be/41cdF_BqxME?list=PLzDe9mOi1K8rpwKQvMwGSscFQo9vNiJEs
HKDSE Maths (Core) Past Paper Solution (All) https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8qUwsow09TJIjFcaTCdmnSB
------------------------------------------------------------------------------
DSE 數學 Core 天書 D 的內容︰
1 -- More about Probability 進階概率
2 -- Permutation (nPr) & Combination (nCr) 排列與組合
3 -- Statistics & Measures of Dispersion 統計及離差之量度
------------------------------------------------------------------------------
DSE 數學 Core 各天書 的內容︰ https://www.sites.google.com/view/hermanyeung/bookcontent
訂購表格及方法︰https://www.sites.google.com/view/HermanYeung
------------------------------------------------------------------------------
Herman Yeung HKDSE Maths 數學 Core 課程:
超過 100 小時 YouTube 免費課程
共 12 本天書完成整個 HKDSE 數學 Core
(中一至中六) 要考的所有課題,
適合任何考 HKDSE 的同學上課 (中四至中六都合適)
(p.s. Herman Yeung 所有天書,中英對照)
------------------------------------------------------------------------------
Please subscribe 請訂閱︰ https://www.youtube.com/hermanyeung?sub_confirmation=1
------------------------------------------------------------------------------
Blogger︰ https://hermanutube.blogspot.hk/2016/02/herman-yeung-main-menu.html
Facebook︰ https://www.facebook.com/hy.page
YouTube︰ https://www.youtube.com/HermanYeung
Instagram︰ https://www.instagram.com/hermanyeung_hy
------------------------------------------------------------------------------
instagram statistics 在 Instagram Stats-How to Check Instagram Analytics-Fast and ... 的美食出口停車場
Instagram Stats -How to Check Instagram Analytics-Fast and Easy Way-Get More FollowersHow to Check Quick Stats on Instagram-Fast and Easy ... ... <看更多>
instagram statistics 在 29 Statistics Posts: Examples of Instagram Posts ideas 的美食出口停車場
Statistics Posts: Examples of Instagram Posts. This board captures DESIGN INSPIRATION for social posts on Instagram and Facebook (mostly). I started the board ... ... <看更多>
instagram statistics 在 About Instagram Insights | Meta Business Help Center 的美食出口停車場
You can use Instagram Insights to learn more about your followers and decide how to improve your content for your audience. ... <看更多>