เปิดมหาวิทยาลัยอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 : ตัวอย่างจากมหาวิทยาลัย Duke ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศวาระแห่งกระทรวง อย่างชัดเจนว่า ในเทอมปลายนี้ จะเปิดให้เด็กๆกลับไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนให้ได้ .. โดยพยายามออกมาตรการแนวทางปฏิบัติตัวอย่างเพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้น โดยเฉพาะที่เด่นที่สุด คือ การระดมฉีดวัคซีนให้กับเด็กนักเรียนในชั้นมัธยมฯ และปวช. รวมถึงมาตรการอื่นๆ เช่น คัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK
แต่ในฝั่งของกระทรวง อว. ซึ่งกำกับดูแลมหาวิทยาลัยต่างๆ กลับค่อนข้างเงียบมาก ไม่สร้างความชัดเจน เรื่องการกลับไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยในเทอมปลาย เหมือนกระทรวงศึกษาฯ เลย มีแต่ซุ่มฉีดวัคซีนให้กับนิสิตนักศึกษาไปจำนวนหนึ่ง และออกแทนการเปิดมหาวิทยาลัย ทีละ 25% 50% ให้บุคลากรเข้าไปทำงานได้ โดยที่ไม่ได้เน้นว่า จะกลับมาเรียนหนังสือกันอีกเมื่อไหร่
จริงๆแล้ว มีสารพัดอย่างที่สามารถทำได้ และควรจะต้องวางแผนการทำตั้งแต่วันนี้แล้ว ... อยู่แค่ว่ามีใจกล้าพอ จะเผชิญความจริงของการที่ต้องสอนหนังสือ เรียนหนังสือ แล้วเจอผู้ติดเชื้อบ้าง ..หรือจะเอาแต่ "วิ่งหนีเชื้อโรคเข้าถ้ำ" เหมือนตลอดปีกว่าๆ ที่ผ่านมา
ไปเจอโพสต์ของ Karn Imwattana มิตรสหาย facebook ท่านหนึ่ง ที่เรียนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัย Duke ในประเทศสหรัฐอเมริกา พูดถึงมาตรการของเขา จึงอยากจะเอามาให้เป็นตัวอย่างแนวทาง เพื่อรัฐมนตรีกระทรวง อว. จะพอมีไอเดียในการสั่งการบ้างนะครับ
สรุปความได้ดังนี้
- เกือบทุกคนในมหาวิทยาลัย ได้ฉีดวัคซีน (ความเห็นผม : ของไทยเรา โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล ก็ฉีดกันไปเยอะมากเลยนะครับ คนภายนอกอาจจะไม่ทราบข่าวกัน)
- เปิดการเรียนการสอนเต็มที่แล้ว โดยทุกคนต้องใส่หน้ากากเมื่ออยู่ในอาคาร-ในห้องเรียน ยกเว้นแค่ตอนช่วงกินข้าว (ความเห็นผม : เรื่องใหญ่อีกเรื่องคือ ventilation การเปิดประตูหน้าต่าง ซึ่งในต่างประเทศเขาทำเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่ไทยเรา ยังติดนิสัยเรียนในห้องแอร์ และจำเป็นจะต้องมาทบทวนกันใหม่)
- มีการสุ่มตรวจโรคโควิดถี่มาก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือบางช่วง อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง (ความเห็นผม : ของไทยเรา ควรตรวจทุกคนก่อนเปิดเทอม 1 ครั้ง และสุ่มตรวจดูเรื่อยๆ ทุกสัปดาห์)
- เทคนิคที่ใช้ตรวจคือ PCR ด้วย ไม่ใช่ ATK (ความเห็นผม : สำหรับประเทศไทยเรา ได้ตรวจ ATK ก็ดีถมแล้ว)
- ที่ตรวจถี่ เพราะจะได้แยกตัวคนที่ติดเชื้อออกมาได้เร็ว ไม่ปล่อยให้ไปแพร่ต่อ (ความเห็นผม : การตรวจหาผู้ติดเชื้อ มีประโยชน์ไม่แพ้ หรืออาจจะจำเป็น ยิ่งกว่าการฉีดวัคซีนด้วยซ้ำ)
- นอกจากใช้แยกผู้ติดเชื้อแล้ว มหาวิทยาลัยยังเอาตัวอย่างที่เป็นบวก ไปทำ whole genome sequencing (การหาลำดับพันธุกรรมทั้งหมดของจีโนมไวรัส) เพื่อใช้ติดตามการระบาดว่าจากคนไหนสู่คนไหน และศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อโรค (ความเห็นผม : เราไม่จำเป็นขนาดนั้นต้องทำหรอก แต่น่าจะมีหลายมหาวิทยาลัยเลย ที่อาจจะอยากทำ เพื่อการศึกษาวิจัยได้นะครับ)
- จำนวนเคสติดเชื้อในมหาวิทยาลัยไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ต้องต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศให้มากที่สุด และไม่ให้การแพร่ระบาดต่อๆ กันในมหาวิทยาลัย ต้องหยุดได้ก่อนที่จะบานปลาย (ความเห็นผม : จะเห็นว่าต่างกันมากกับของไทย ที่ผู้บริหารกลัวว่าจะมีชื่อเป็นหน่วยงานที่มีผู้ติดเชื้อปรากฏอยู่ จึงไม่ยอมเปิดการเรียนการสอน เพราะกลัวว่าจะมีข่าวไม่ดีออกไป)
- การที่ ม. Duke เคยมีจำนวนเคสสูงกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ก็เพราะทำการตรวจเยอะกว่ามหาลัยอื่นมากๆ
--------
(จาก https://www.facebook.com/100001435461282/posts/4656558651068604/)
วันนี้ได้ไปฟังอาจารย์ที่ภาคพูดสัมมนาเรื่องมาตราการรับมือโควิดของมหาลัย ก่อนหน้านี้เคยได้ยินมาว่า Duke นี่เป็นมหาลัยที่ควบคุมสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุดในสหรัฐฯ มหาลัยหนึ่งเลย ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจว่า มหาลัยได้ทำอะไรไปบ้าง
จากประสบการณ์ที่พบเองกับตัว มหาลัยนั้นทำการสุ่มตรวจถี่มาก ในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดนบังคับไปตรวจอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง บางอาทิตย์ (ช่วงใกล้ ๆ เปิดเทอม) โดนตรวจสองหรือสามครั้ง (เทคนิคที่ใช้ตรวจคือ PCR ด้วย ไม่ใช่ ATK) เท่าที่ได้ยินมา แทบไม่มีมหาลัยไหนเลย ที่ตรวจถี่ขนาดนี้
ตอนแรกก็คิดว่าที่ตรวจถี่ เพราะจะได้แยกตัวคนที่ติดเชื้อออกมาเร็ว ๆ ไม่ปล่อยให้ไปแพร่ต่อ แต่จากที่ฟังสัมมนาในวันนี้ ก็ได้รู้ว่า ในทุก positive case นั้น มหาลัยได้เอาตัวอย่างไปทำ whole genome sequencing ด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้ ก็มีทั้งก็เอามาใช้ประโยชน์ในระยะสั้น และระยะยาว
ประโยชน์ระยะสั้น ก็เช่น เอามาไล่ตามว่าการระบาด เกิดจากที่ไหน สมมติว่ามีนักเรียนสองคน เรียนในห้องเดียวกัน แล้วติดโควิด ถ้าข้อมูลดีเอ็นเอในไวรัสของนักเรียนทั้งสองคนนั้นใกล้ชิดกันมาก ก็มีโอกาสสูงที่จะมาจากการแพร่เชื้อในห้องเรียน (นั่นหมายความว่านักเรียนคนอื่นในห้อง ก็จะเป็นกลุ่มเสี่ยงไปด้วย) แต่ถ้าข้อมูลดีเอ็นเอนั้นต่างกันพอสมควร ก็เป็นไปได้ที่ว่านักเรียนทั้งสองคน ไปติดเชื้อมาจากที่อื่น แล้วค่อยมาอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน ถึงแม้จะไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่ก็สามารถบอกถึงแนวโน้ม และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้
เคยมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งเมื่อหลายเดือนที่แล้ว ที่จู่ ๆ ก็มีเคสจำนวนมาก ที่ข้อมูลจีโนมไวรัสของแต่ละคนนั้น เกือบจะเหมือนกันเลย ซึ่งก็สามารถตามสืบเรื่องไปได้ว่า เกิดจากการจัดปาร์ตี้แล้วไม่มีการใส่หน้ากาก จำได้ว่าตอนนั้นเป็นแค่ครั้งเดียวที่มหาลัยสั่งยกเลิกการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวไปอาทิตย์นึง เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย
ประโยชน์ระยะยาว ก็เช่น การเก็บข้อมูลพื้นฐานของการวิวัฒนาการไวรัส การมีข้อมูลจากทั้งจีโนม ทำให้เราสามารถไล่ตามได้ว่า มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นในตัวไวรัสได้บ้าง ทั้งส่วนของ spike protein ที่เราเอามาทำวัคซีน และส่วนอื่น ๆ ของตัวไวรัส ที่อาจจะมีหน้าที่สำคัญอย่างอื่นที่เราไม่รู้ และในอนาคต จะกลายพันธุ์เป็นอะไรก็ไม่รู้ ซึ่งข้อมูลที่มหาลัยได้มา ก็สามารถเอาไปรวมกับของสถาบันวิจัยอื่น ๆ และใช้ในการวางแผนป้องกันไวรัสชนิดใหม่ในระยะยาวได้
และถึงแม้ในปัจจุบัน เกือบทุกคนในมหาลัยจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังมีการสุ่มตรวจอย่างเข้มข้นต่อไปเรื่อย ๆ (Duke อาจจะเป็นเพียงมหาลัยเดียวในประเทศ ที่ยังทำแบบนี้อยู่) ซึ่งการทำแบบนี้ สามารถช่วยให้ข้อมูลได้ว่า ไวรัสสายพันธุ์เดลตา มีการแพร่ระบาดอย่างไร ในคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว และการแพร่ระบาด เกิดจากในห้องเรียน (ที่ทุกคนต้องใส่หน้ากาก) หรือเกิดตอนที่คนมานั่งกินข้าวด้วยกัน (ซึ่งก็ต้องถอดหน้ากาก) หรือในสถาการณ์อื่น ๆ การที่มีข้อมูลเหล่านี้พร้อมอยู่ในมือ ทำให้มหาลัยสามารถปรับเปลี่ยนมาตราการได้ตลอดเวลา ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า ทุกคนจะปลอดภัย
และ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถใช้ชีวิตได้ปกติมากที่สุด
ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ทำให้มหาลัยสามารถบอกได้ว่า ถึงแม้จำนวนเคสในประเทศจะยังค่อนข้างสูง แต่ด้วยมาตราการของมหาวิทยาลัย จำนวนผู้ติดเชื้อในหมู่นักเรียนและบุคลากรนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศมาก และถึงแม้ปัจจุบันจะเปิดการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวเต็มที่ แต่การที่ทุกคนฉีดวัคซีน และสวมใส่หน้ากากในห้องเรียน ทำให้ไม่มีเหตุการณ์แพร่ระบาดในมหาวิทยาลัยเลย หรือต่อให้มีการแพร่ระบาดเริ่มเกิดขึ้นในอนาคต ก็มีโอกาสสูงที่จะตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ และสามารถหยุดได้ ก่อนที่จะบานปลาย
มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ Duke โดนเพ่งเล็งว่า มีจำนวนเคสสูงกว่ามหาลัยอื่น แต่เมื่อมาดูตัวเลขจริง ๆ แล้ว พบว่าที่มีเคสเยอะนั้น เพราะ Duke ทำการตรวจเยอะกว่ามหาลัยอื่นมาก ๆ ก็จริงที่ตรวจเยอะ ก็เจอเคสเยอะ และอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดี แต่ก็แลกกับการที่มีข้อมูลอันแม่นยำ และสามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม
เป็นการวางนโยบายโดยอิงจากข้อมูล ไม่ได้ขี้กลัวเกินเหตุและห้ามกิจกรรมทุกอย่าง แต่ก็ไม่ปล่อยปะละเลย จนเกิดการแพร่ระบาด
ชีวิตใน Duke ทุกวันนี้ นอกเหนือจากการโดนสุ่มตรวจ และต้องใส่หน้ากากในอาคาร ทุกอย่างเกือบจะเป็นปกติเลย ซึ่งก็ถือว่าโอเคมาก ๆ แล้ว เมื่อเทียบกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน
หลายคนอาจจะบอกว่า ใช่สิ ที่อเมริกา มีวัคซีนเหลือเฟือ และ Duke ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่รวยมาก ๆ ซึ่งผมไม่เถียงเลย 5555 แต่นอกเหนือจากปัจจัยสองอย่างนี้ ประเด็นเรื่องการวางแผน การใช้ข้อมูลจริง มาช่วยกำหนดนโยบาย เป็นอะไรที่มหาวิทยาลัย หรือประเทศอื่น ๆ สามารถทำได้ไม่ยาก
แต่ก็นะ ปัญหาสำหรับบางที่อาจจะไม่ใช่ว่าเราไม่รู้ว่าควรจะต้องทำอะไร แต่เป็นเพราะคนมีอำนาจไม่อยากทำในสิ่งที่ควรทำต่างหาก
ภาพประกอบจาก https://today.duke.edu/2020/08/what-dukes-first-day-classes-2020-looks
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「genome sequencing」的推薦目錄:
genome sequencing 在 Focus Taiwan Facebook 的最佳解答
New Taipei is banning all on-site dining from Thursday for a week after genome sequencing for a preschool cluster infection in the northern city determined several of the cases were infected with the Delta variant of #COVID19, New Taipei Mayor Hou Yu-ih (侯友宜) announced Wednesday.
https://focustaiwan.tw/society/202109080013
genome sequencing 在 Facebook 的精選貼文
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ พบสายพันธุ์ย่อยของเดลตา 😓
รอคำอธิบายอีกทีครับ
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
เดลตาสายพันธุ์ย่อยปรากฏขึ้นแล้วในไทย! จะส่งผลกระทบต่อการระบาด การป้องกันด้วยวัคซีน หรือการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือไม่ต้องเฝ้าติดตาม
จากการสุ่มถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม (SARS-CoV-2 whole genome sequencing 30,000 bp) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 จากตัวอย่างที่ส่งมาทั่วประเทศ อันเป็นการประสานงานกันระหว่างศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี และ กลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigations (CONI) พบ
B.1.1.7 (อัลฟา) 11%
B.1.351 (เบตา) 14%
B.1.617.2 (เดลตา) 71%
และ
AY.4 หรือ B.1.617.2.4 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) 3% พบในเขตปทุมธานี
AY.6 หรือ B.1.617.2.6 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในประเทศไทย
AY.10 หรือ B.1.617.2.10 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในเขต กทม.
AY.12 หรือ B.1.617.2.15 (สายพันธุ์ย่อยของเดลตา) <1% พบในเขต กทม.
genome sequencing 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
genome sequencing 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
genome sequencing 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
genome sequencing 在 Whole-Genome Sequencing - Illumina 的相關結果
Whole-genome sequencing (WGS) is a comprehensive method for analyzing entire genomes. Genomic information has been instrumental in identifying inherited ... ... <看更多>
genome sequencing 在 Home - Genome - NCBI 的相關結果
Genome. This resource organizes information on genomes including sequences, maps, chromosomes, assemblies, and annotations. ... <看更多>
genome sequencing 在 Whole genome sequencing - Wikipedia 的相關結果
Whole genome sequencing (WGS), also known as full genome sequencing, complete genome sequencing, or entire genome sequencing, is the process of determining ... ... <看更多>