ความท้าทายและ Platform การเรียนออนไลน์ของสถาบันการศึกษา
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค จึงมีประกาศปิดสถานที่ต่างๆ รวมถึงสถาบันการศึกษา ทำให้หลายคนต้องปรับตัวมา Work From Home รวมไปถึงอาจารย์ นักศึกษา ที่การเรียนการสอนทั้งหมดจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเป็นแบบออนไลน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการใช้เทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิพร อุษณวศิน อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร SIIT กล่าวว่าความท้าทายของการเรียนออนไลน์ คือความพร้อมด้านกระบวนการเรียนและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายแพลทฟอร์มที่จะสามารถนำมาใช้ในการเรียนออนไลน์ได้ แต่การเลือกใช้แพลทฟอร์มใดนั้นต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์การใช้งานและความเหมาะสมกับพฤติกรรมของกลุ่มผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ละเทคโนโลยีมีข้อดี ข้อจำกัดที่ต่างกันและเหมาะกับการใช้สนับสนุนรูปแบบการเรียนที่ต่างกัน
จากการสำรวจข้อมูลคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กว่า 600 คนพบว่ากว่าร้อยละ 50 ประสบปัญหาเสถียรภาพของการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความท้าทายที่อาจเอาชนะได้ไม่ยากนัก ส่วนที่ท้าทายมากกว่าคือ
1. การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่น่าสนใจดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดและเข้าถึงบทเรียนอย่างกระตือรือล้น เพราะการเรียนที่บ้านนั้นนักศึกษามักมีปัจจัยต่างๆ มาดึงความสนใจและเสียสมาธิอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นอาจารย์จึงควรจัดการเรียนการสอนให้มีความสนุกสนานและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถที่ส่วนร่วมกับชั้นเรียนให้ได้มากที่สุด
2. การสื่อสารสองทางเพื่อทวนความเข้าใจของผู้เรียน เนื่องจากการเรียนในห้องเรียนผู้สอนสามารถดูสีหน้าและแววตาของผู้เรียนเพื่อประเมินความเข้าใจได้ระดับหนึ่ง แต่การเรียนแบบออนไลน์บางครั้งไม่สามารถทำได้ ผู้สอนจึงต้องหากลยุทธ์ในการประเมินความเข้าใจของผู้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
3. การออกแบบสื่อการเรียนการสอน การเรียนในห้องเรียนนั้นอาจารย์สามารถดำเนินกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาได้อย่างเต็มที่ การออกแบบการเรียนสามารถทำได้หลากหลายและผู้เรียนมักมีสมาธิกับการเรียนค่อนข้างดี ต่างกับการเรียนออนไลน์ ดังนั้นสำหรับการสอนออนไลน์แล้วผู้สอนจึงควรทำสื่อการสอนที่เหมาะสมและชัดเจนพอที่ผู้เรียนจะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้พอสมควร มิฉะนั้นแล้วจะทำให้ผู้เรียนเกิดความท้อแท้และทิ้งการเรียนได้
การเรียนออนไลน์ของ SIIT ยังต้องคงองค์ประกอบสำคัญ ทั้งในเรื่องเนื้อหาการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ และการสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตพึงประสงค์ของสถาบันฯ รวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน คณาจารย์ต้องพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนออนไลน์ที่เป็น active learning เช่นการแบ่งกลุ่มระดมความคิด การทำงานกลุ่ม การใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย การสอนแบบ flip classroom และ blended learning ระหว่าง self-learning กับ interactive-learning เป็นต้น สำหรับวิชาปฏิบัติการควร explore ช่องทางการเรียนการสอนที่สามารถสร้างความเข้าใจเชิงปฏิบัติให้แก่ผู้เรียนที่เรียนแบบทางไกล เช่น การใช้ software จำลองการทำงานของระบบ (system simulation) การเรียนโดยการสาธิตการปฏิบัติ (demonstration) การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาจากของจริง (problem-based) เพื่อทดแทนการเรียนวิชาที่ต้องลงมือปฏิบัติจริง
การเรียนออนไลน์โดยมากจะประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญคือ 1. ช่องทางการสื่อสารกับผู้เรียน (Communication Channel) เช่น Line Facebook Zoom 2. ระบบจัดการการเรียนรู้ (LMS: Learning Management System) เช่น Google classroom, Microsoft team, Canvas, Schoology เป็นต้น การเลือกใช้เครื่องมือที่หลากหลายของอาจารย์แต่ละท่าน ทำให้นักศึกษาต้องเรียนรู้เครื่องมือที่หลากหลาย ก่อเป็นประสบการณ์ และได้เรียนรู้เครื่องมือที่แตกต่างกันนั้นๆ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันฯ ที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการ หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี – ปริญญาเอก ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2535 มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.siit.tu.ac.th หรือ www.facebook.com/siittu
Search
canvas lms 在 Canvas LMS - 首頁 的美食出口停車場
Canvas LMS 的直播影片。 20 小時 ·. Join Trenton Goble, Vice President of K-12 Product Strategy at Instructure, as he discusses with customer success ... ... <看更多>