พัฒนาการกฎหมายมหาชนของต่างประเทศ
ที่มา สิทธิกร ศักดิ์ “หลักกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม 2554
พัฒนาการกฎหมายมหาชนของต่างประเทศนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 กลุ่ม ตามระบบของกฎหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) หรือกลุ่มสกุลโรมาโน-เยอรมานิค (Romano Germanic) กับ กลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) หรือ กลุ่มแองโกแซกซอน (Anglo Saxon)
1.1 กลุ่มระบบกฎหมายซิวิลลอว์
กลุ่มระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) หรือกลุ่มสกุลโรมาโน-เยอรมานิค (Romano Germanic) เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้นในการศึกษา จะได้แบ่งออกเป็น 4 สมัยด้วยกัน คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงปัจจุบัน
1.1.1 สมัยโบราณ
พัฒนาการสมัยโบราณแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคอารยธรรมกรีก กับยุคอารยธรรมโรมัน
1. ยุคอารยธรรมกรีก มีการปกครองรูปแบบที่เรียกกันว่า “นครรัฐ” (City State) ซึ่งหมายถึงการที่คนเผ่าต่างๆที่มีศาสนาร่วมกัน มีจำนวนไม่มากนักมาอยู่รวมกันบนพื้นดินที่แน่นอน ผู้ปกครอง คือ หัวหน้าเผ่า ในสมัยกรีกโบราณนั้นมี “นครรัฐ” เกิดขึ้นมากมาย ใหญ่บ้างเล็กบ้างต่างกันแต่ละนครรัฐ ปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับใคร เช่น นครรัฐกรีก พลเมืองอาจมีส่วนร่วมในการปกครองได้โดยผ่านจารีตประเพณีของเผ่า ซึ่งต่อมาการปกครองแบบนครรัฐได้สิ้นสุดลงประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล เกิดมีกษัตริย์ขึ้นมาเป็นประมุข มีสภาที่ปรึกษาซึ่งประกอบไปด้วยหัวหน้าครอบครัวใหญ่ นอกนั้นยังมีจักรวรรดิ (Empire) ซึ่งเป็นที่รวมของหลายเผ่า การปกครองสมัยกรีกเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยสมบูรณ์ หมายถึง อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่จักรพรรดิแต่ผู้เดียว มีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นในยุคนั้นมีหลายคน เช่น โสเกรติส (Socratis) เพลโต(Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) โดยเฉพาะอริสโตเติลได้เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ เป็นผู้มีอิทธิพลต่อการพัฒนากฎหมายมหาชนเป็นอย่างมาก เป็นผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐไว้หลายอย่าง เช่นความหมายของคำว่า รัฐ การกำเนิดรัฐและรูปแบบของรัฐ อริสโตเติล ได้อธิบายรูปแบบการปกครองไว้ 3 รูปแบบ คือ
1) การปกครองโดยบุคคลคนเดียวมีอำนาจสูงสุด และใช้ไปในทางเป็นประโยชน์ของประชาชนเรียกว่า ระบบกษัตริย์ (Monarchy) แต่ถ้าใช้ไปในทางตรงกันข้าม คือ เพื่อประโยชน์ของตนเรียกว่า ระบบทรราชย์ (Tyranny)
2) การปกครองโดยกลุ่มบุคคลแต่ไม่มากนัก ถ้ากลุ่มนี้ใช้ไปในทางประโยชน์ต่อประชาชน เรียกว่า อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) แต่ถ้าใช้ไปในทางตรงกันข้าม คือ เพื่อให้กลุ่มได้ประโยชน์ เรียกว่า ระบบคณาธิปไตย (Oligarchy)
3) การปกครองโดยกลุ่มคนจำนวนมาก การปกครองแบบนี้ อริสโตเติล แยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ Democracy กับ Polity
(1) Democracy หมายความว่า การปกครองโดยบุคคลจำนวนมาก ซึ่งอริสโตเติลเห็นว่าในจำนวนมากนั้นบางคนไม่อาจรู้จักคิดหรือตัดสินใจ การตัดสินใจก็อาจเป็นไปโดยที่บุคคลไม่รู้จักรับผิดชอบต่อการแสดงออก เช่น การตัดสินใจตามผู้อื่นอย่างที่เรียกว่า มอ๊บ (Mob) อาจทำให้เกิดความระส่ำระส่ายได้ง่าย
(2) Polity หมายถึง การปกครองโดยคนส่วนมากเช่นกัน แต่คนที่มาจากกลุ่มเดียวกัน เช่น มีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน มีการศึกษาเท่าเทียมกัน สามารถตรวจตราป้องกันการที่ผู้ปกครองจะใช้อำนาจไม่เป็นธรรมได้ แต่คนเหล่านั้นก็จะเข้ามาทำประโยชน์ให้แก่กลุ่มของตนได้ อริสโตเติล เห็นว่าการปกครองลักษณะที่เป็นสายกลางที่ดีที่สุด คือ การปกครองแบบ Polity แต่ต้องมีการตรวจสอบ
2.ยุคอารยธรรมโรมัน เมื่อกรีกล่มสลาย อาณาจักรโรมันมีความเจริญขึ้นซึ่งได้รับการปกครองต่อมาจากกรีกและเริ่มมีความคิดที่จะแบ่งแยกกฎหมายออก เป็นกฎหมายเอกชน กับกฎหมายมหาชน โดยในระยะแรกถือว่ากฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวพันกับราษฎรทุกคนในชีวิตประจำวัน แต่กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องเฉพาะบุคคลบางประเภท เช่น สมาชิกสภาหรือศาล เป็นต้น กฎหมายมหาชนในยุคนี้ส่วนมากได้แก่ ระเบียบวิธีปฏิบัติทางการเมือง ทางสภา ทางศาล อัลเปียน (Ulpial) นักกฎหมายคนสำคัญในยุคนี้ กล่าวว่า กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐ กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชน ต่อมาในสมัยพระเจ้าจัสติเนียน (Justinien) ได้จัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นหลายฉบับรวมกันเป็น คอปุส จูริส ซิวิลลิสต์ (Corpus Juris Civilis) จะเห็นได้ว่า Civilis หมายถึง พลเมือง กฎหมายนี้จึงเป็นกฎหมายเอกชนเป็นส่วนมาก เช่น หลักกฎหมายเกี่ยวกับบุคคล หลักกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์ หลักกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ และได้มีการพยายามให้ทุกแค้วนใช้ระบบกฎหมายเดียวกัน คือ ระบบกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน
ข้อสังเกต นักนิติศาสตร์ สมัยโรมันแยกประเภทของกฎหมาย เพื่อจะศึกษาและสอนเฉพาะกฎหมายเอกชน ส่วนกฎหมายมหาชนไม่มีการศึกษาและสอนกัน เพราะเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่และอันตรายที่จะพูดถึงกฎหมายที่จำกัดอำนาจรัฐ (อำนาจของผู้ปกครอง) ในยุคที่ผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดเหนือกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ กฎหมายโรมันจึงไม่มีส่วนที่เป็นกฎหมายมหาชนแท้อยู่เลย มีแต่กฎหมายเอกชนและกฎหมายอาญาบางส่วน เหตุนี้เราจึงเรียกระบบกฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายซึ่งมีรากฐานมาจากโรมันว่า “Civil Law System” (ระบบกฎหมายซิวิลลอว์)
1.1.2 สมัยกลาง
เมื่ออาณาจักรสมัยโรมันเสื่อมสลายลงในราว ค.ศ. ที่ 540 ชนเผ่าต่างๆฝรั่งเศส เยอรมัน ก็เข้ายึดครองโรมัน ความเจริญรุ่งเรืองทางกฎหมายก็หยุดลง แต่ละเผ่าปกครองกันเอง (เช่นเดียวกับสมัยกรีกโบราณ คือ อำนาจตกอยู่ในมือของจักรพรรดิ์ที่เป็นหัวหน้าเผ่า) ต่างคนต่างมีกองทัพ มีปราสาท มีประชาชนเป็นของตนไม่ขึ้นต่อกันและกัน เรียกผู้ปกครองชนเผ่าต่างๆที่แบ่งเป็นแค้วนว่าเป็น เจ้าศักดินา เจ้าศักดินาที่แข็งแรงที่สุด เรียกว่า กษัตริย์ แต่กษัตริย์ในสมัยนั้นไม่อยู่ในฐานะประมุขของรัฐ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีรัฐมีแต่แคว้นต่างๆ ซึ่งยอมอยู่ใต้อำนาจ เราเรียกยุคนี้ว่า “ยุคฟิวดัลลิสซึม” (Feudalism) หรือ “ศักดินาสวามิภักดิ์” ฉะนั้นการปกครองจึงมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่แต่ละแคว้น ซึ่งมีการปกครองตนเองและมีศาลเป็นของตนเอง (ไม่เหมือนกับยุคโรมัน ที่ทุกแคว้นต้องอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกัน คือ ระบบกฎหมายจัสติเนียน)
เมื่อทุกแคว้นต่างมีอิสระก็มีการรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ก็เกิดสงครามขึ้น สงครามที่สำคัญในระยะนั้นได้แก่ สงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ที่เรียกว่าสงครามร้อยปี (เกิดขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1337 - ค.ศ.1453) ทำให้บทบาทของกษัตริย์เปลี่ยนไป เช่น บทบาทขุนนางฝรั่งเศสยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ กษัตริย์ทรงอ้างตนว่าเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพราะตนเป็นตัวแทนชองชาติ โดยศตวรรษที่ 11 ได้เกิดมหาวิทยาลัยแห่งแรกในยุโรป คือ มหาวิทยาลัยโบโลญา (Bologna) ได้มีการฟื้นฟูศิลปการต่างๆของยุคกรีกและยุคโรมัน โดยเฉพาะระบบกฎหมายมีการหันไปศึกษาประมวลกฎหมายจัสติเนียน ซึ่งในสมัยกลางนี้เป็นช่วงสมัยที่ศาสนจักรได้ครอบงำอาณาจักร
1.1.3 สมัยใหม่
สมัยใหม่ (Modern Time) อยู่ในระหว่าง ค.ศ.1453-1789 ภายหลังสงครามร้อยปี ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส อำนาจกษัตริย์ในฝรั่งเศสเข้มแข็งขึ้นมีกองทัพและมีความชำนาญในการรบ ทำให้ราษฎรยอมรับอำนาจกษัตริย์ คือ ยอมเสียภาษีอากร ซึ่งในสมัยก่อนหน้านั้นราษฎรไม่ยอมเสียภาษี จะยอมเสียให้ก็แต่เฉพาะในช่วงสงคราม
นอกจากนี้ราษฎรยังยอมรับอำนาจในการออกกฎหมายของกษัตริย์ นักปราชญ์คนสำคัญ คือ ฌอง โบแดง (Jean Baudin) ได้เขียนหนังสือยอมรับความคิดนี้และอธิบายว่าคนที่มีอำนาจสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นอธิบายว่า อำนาจอธิปไตยแบ่งได้เป็นหลายอำนาจ แต่มิได้กล่าวว่าได้แก่อำนาจอะไร ประเทศฝรั่งเศส มีลักษณะของการเป็นชนชาติก่อนชนเผ่าอื่นๆเมื่อถึงสมัยราชวงศ์บรูดอง (Bourbon) อำนาจของกษัตริย์ได้พัฒนาขึ้นจนถึงระบบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 (Louise xiii) ได้มีเสนาบดีคนสำคัญ คือ ริเชอ ริเออ (Rishe lieu) เป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปการปกครองเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์ ส่งข้าหลวงไปตามหัวเมืองไปทำการปกครองแทนขุนนางและยังส่งข้าหลวงไปตรวจราชการ จนกระทั่งสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louise xiv) ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้รุ่งเรืองขึ้นมา ถึงกับกล่าวว่า “พระองค์ คือ รัฐ” (I am the State) ทรงแผ่อำนาจไปทั่วยุโรป นับว่าเป็นการเลี่ยนแปลงการปกครองที่สำคัญ มีการลิดรอนอำนาจขุนนาง โดยมอบอำนาจให้กษัตริย์เป็นผู้เลือกส่งไปขุนนางไปปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดูแลกิจการ สาธารณูปโภค การคลัง การบริหารรัฐกิจ ซึ่งแต่ละคนที่กษัตริย์ส่งไปปกครองมีอำนาจสมบูรณ์
1.1.4 สมัยการปฏิวัติในปี ค.ศ.1789 ถึงปัจจุบัน
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มเสื่อมลงประกอบทั้งบ้านเมืองประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ กษัตริย์ทรงอ่อนแอ ราษฎรอดอยาก มีนักโทษการเมืองมากขึ้น และประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายการปกครองระบอบนี้ และที่สำคัญอเมริกาก็เกิดการประกาศอิสระภาพจากอังกฤษซึ่งฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลจากแนวคิดในเรื่องของความเป็นอิสรเสรีภาพจากอเมริกา มีนักคิดที่สำคัญในสมัยนั้น คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเป็นที่ยอมรับมาจนทุกวันนี้ ชื่อ เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย (The Spirit of Law) โดยกล่าวว่า การปกครองของประเทศอังกฤษดีที่สุดเป็นกลางที่สุดราษฎรมีสิทธิเสรีภาพ พร้อมทั้งเขียนเรื่องการหลักแบ่งแยกอำนาจไว้ การปฏิวัติของฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 ได้ยกเลิกการปกครองเดิม แบ่งการปกครองเป็นรูปแบบการปกครอง District,Canton,Commune,และ City ในสมัยพระเจ้านโปเลียน (Napolean) เข้ายึดอำนาจได้จัดระบบการปกครองใหม่ โดยถือหลักว่า บรรดาท้องถิ่นที่มีการปกครองตนเองได้นั้นก็เพราะส่วนกลางมอบให้
ฉะนั้น รัฐต้องเป็นผู้สั่งการและได้มีการสร้างกฎหมายขึ้นมาให้เป็นหมวดหมู่ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส หรือประมวลกฎหมายแพ่งนโปเลียนในปี ค.ศ.1804 และประมวลกฎหมายฉบับนี้เองได้มีอิทธิพลต่อการจัดทำประมวลกฎหมายของประเทศอื่น นอกจากนี้พระเจ้านโปเลียน เห็นว่าการบริหารประเทศ หัวใจสำคัญ คือ กฎหมาย จึงตั้งสภาแห่งรัฐเรียกว่า คองเซย์ เดตาร์ (Conseil d Etat) ทำหน้าที่ร่างกฎหมาย เป็นที่ปรึกษากฎหมายและให้เป็นผู้พิจารณาคดีปกครองเรียกว่า “ศาลปกครอง” ส่วนระดับจังหวัดก็มีการตั้งสภาที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด จึงสามารถสรุปได้ว่า หลักการปกครองที่ฝรั่งเศสสร้างมี 2 รูปแบบ คือ
1.หลักการรวมอำนาจ คือ อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ส่วนกลาง ได้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ นโยบายต่างๆต้องมาจากส่วนกลาง ผู้ดำเนินการต่างๆก็เป็นคนจากส่วนกลางเช่นกัน
2.หลักการกระจายอำนาจ คือ หลักการยอมให้ชุมชนปกครองกันเอง การจัดดูแลสาธารณูปโภค อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐโดยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นคนจากส่วนกลาง ซึ่งชุมชนเหล่านั้นจะมีทหาร การคลังเองไม่ได้
ข้อสังเกต พัฒนาการกฎหมายมหาชนในระบบซิวิลลอว์นั้นมีมาตั้งแต่ในอดีต แต่ก็ไม่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบอย่างเช่นในกฎหมายเอกชน เหตุผลเป็นเพราะชนชั้นผู้ปกครอง คือ กษัตริย์ไม่อยากให้ประชาชนรับรู้ในเรื่องการบริหาร กิจการบ้านเมือง เพราะถ้าหากรู้อาจจะปกครองได้ยาก จึงต้องปิดหูปิดตาประชาชนและที่สำคัญประชาชนยังไม่เข้าถึงหลักการปกครอง ทำให้พัฒนาการกฎหมายมหาชนที่เป็นรูปเป็นร่างนั้นประมาณ 200-300 กว่าปีมานี่เอง
1.2 กลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
กลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ นั้นจะพิจารณาศึกษาประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศต้นรากเง้าในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จะแบ่งออกได้ 4 สมัย ดังนี้ สมัยแองโกล แซกซอน สมัยก่อตั้งคอมมอนลอว์ สมัยคอมมอนลอว์กับเอ๊กคิวตี้ และสมัยใหม่
1.2.1 สมัยแองโกล แซกซอน (Anglo-Saxon)
สมัยแองโกล แซกซอน นับว่าเป็นสมัยแรก ขณะนั้นประเทศอังกฤษถูกปกครองด้วยชนเผ่าต่างๆเช่นเดียวกับยุโรป เผ่าที่สำคัญ คือ เผ่าแองโกลและเผ่าแซกซอน กฎหมายที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะประเพณีและความเชื่อของแต่ละแคว้น ต่อมาโรมันเข้ามามีบทบาทในศตวรรษที่ 5 เป็นเวลา 400 ปี เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ได้รับอิทธิพลของโรมันเลย
1.2.2 สมัยก่อตั้งคอมมอนลอว์ (Common Law)
สมัยก่อตั้งคอมมอนลอว์ คือต่อมาประมาณศตวรรษที่ 10-15 พระเจ้าวิลเลี่ยม (William) ซึ่งเป็น ดุ๊ก (Duke) แห่งแคว้น นอร์มังดี (Normandie) ของฝรั่งเศสนำกองทัพมายึดเกาะอังกฤษจึงได้รวบรวมชนเผ่าต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ภายใต้ปกครองของพระองค์ แต่พระองค์มิได้ยกเลิกอำนาจของหัวหน้าชนเผ่า โดยถือว่าพระองค์เป็นเจ้าราชอาณาจักรแต่แบ่งแผ่นดินให้ขุนนางต่างๆที่ร่วมรบจากแคว้นนอร์มังดี และหัวหน้าแคว้นต่างๆที่สวามิภักดิ์ยึดครอง จึงมีระบบศักดินาเกิดขึ้น ต่อมาได้พยายามให้มีกฎหมายที่เหมือนกันใช้ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองจึงได้ทรงจัดตั้งศาลขึ้นมา เรียกว่าศาลหลวง มีอำนาจเกี่ยวกับประโยชน์ของประเทศชาติ เช่น เรื่องการเงิน ที่ดิน แล้วส่งผู้พิพากษาจากศาลหลวงไปพิจารณาคดีในแคว้นต่างๆในกรณีที่แคว้นใดไม่มีศาลหลวง ถ้าราษฎรไม่พอใจการตัดสินของศาลประจำแคว้นก็ย่อมเดินทางมายังศาลหลวงได้ เมื่อศาลหลวงได้ตัดสินอย่างใดก็เกิดการสร้างหลักกฎหมาย โดยศาลพระมหากษัตริย์ โดยให้ใช้หลักอันเดียวกันทั่วประเทศ จึงเกิดระบบคอมมอนลอว์ขึ้น ประชาชนยอมรับเพราะถือว่าศาลหลวงมีความรู้ความสามารถ แต่ปรากฏว่าว่าศาลตามแคว้นต่างๆยังต่อต้าน อ้างว่าเมื่อจะถือเป็นกฎหมายจะต้องส่งไปลงทะเบียนไว้ในศาลของตน เพื่อให้รับรู้จึงทำให้การบริหารด้านกฎหมายไม่ราบรื่นเท่าที่ควรและในช่วงนี้เองเกิดต้นเค้ารัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษที่เรียกว่า แม๊กนา คาร์ตา (Magna Carta) เพราะเมื่อกษัตริย์จะไปทำสงคราม จะเกณฑ์ประชาชน และจะเก็บภาษีจากประชานชน แต่ประชาชนไม่ยอม กฏบัตรแม๊กนา คาตาร์ ฉบับนี้จึงกำหนดให้มีการเก็บภาษี การเกณฑ์ประชาชนได้แต่ต้องผ่านการเห็นชอบจากสภาที่ปรึกษาก่อน ซึ่งต่อมามีการยอมรับให้สภาที่ปรึกษาและสามัญชนเข้าร่วมด้วยจึงเกิดมี 2 สภา คือ สภาขุนนาง (House of Lord) กับสภาผู้แทนราษฎร (House of Common) และได้เป็นที่ยอมรับมาถึงปัจจุบัน
1.2.3 สมัยคอมมอนลอว์ (Common Law) กับเอ๊กคิวตี้ (Equty)
คอมมอนลอว์ถึงจุดอิ่มตัว เพราะมีระบบต่างๆเกิดขึ้น เช่น ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม คอมอนลอว์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ที่ดิน ไม่ครอบคลุมถึงบางเรื่อง ทำให้มีการถวายฎีกาต่อกษัตริย์ พระองค์จึงได้มอบหมายให้ข้าราชการในราชสำนัก (Lord Chancellor) ทำหน้าที่แทนพระองค์ โดยยึดหลักเอ๊กคิวตี้ (หลักยุติธรรม) คือ การใช้สามัญสำนึกให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี แต่แรกก็เกิดขัดแย้งกับระบบคอมมอนลอว์ แต่ต่อมาก็เข้ากันได้โดยใช้วิธีการแบ่งศาล เรื่องเกี่ยวกับเอ๊กคิวตี้ ก็จะต้องฟ้องศาลเอกคิวตี้ (ศาลซานเซอรี่) เพราะระบบเอ๊กคิวตี้เข้าไปแก้ไข เสริมช่องว่างของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
1.2.4 สมัยใหม่ตั้งแต่ ค.ศ.1832 ถึงปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากเกี่ยวกับศาลระบบศาล ได้รวมศาลคอมมอนลอว์กับศาลเอ๊กคิวตี้ให้อยู่ศาลเดียวกัน มีการปฏิรูปกฎหมาย ชำระกฎหมาย จัดให้เป็นระเบียบ แต่ไม่ได้หมายความว่าจัดเป็นหมวดหมู่แบบยุโรป (แบบซีวิลลอว์) ซึ่งระบบกฎหมายอังกฤษไม่เคยได้รับอิทธิพลของพวกโรมัน ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว อังกฤษถือว่าทุกคนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันที่ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมาย ถือว่าเป็นองค์กรสูงสุด จึงทำให้ไม่มีกฎหมายมหาชนเพราะได้รับแนวคิดของ นักปราชญ์ของอังกฤษ คือ ไดซีย์ (Dicey) เห็นว่าระบบกฎหมายอังกฤษดีแล้ว ต่อมาในระยะหลังอังกฤษจึงหันมาสนใจกับกฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชนของอังกฤษได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดถึงเรื่องการปกครอง แต่หลักกฎหมายมหาชนจริงๆจะไปอยู่ในระบบคอมมอนลอว์เป็นส่วนใหญ่
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「aristotle democracy」的推薦目錄:
- 關於aristotle democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於aristotle democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於aristotle democracy 在 On8 Channel - 岸仔 頻道 Facebook 的最讚貼文
- 關於aristotle democracy 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於aristotle democracy 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於aristotle democracy 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於aristotle democracy 在 Why Aristotle Wasn't a Fan of Direct Democracy - YouTube 的評價
aristotle democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
แนวคิดและทฤษฎีในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
แนวคิดและทฤษฎีในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตยนี้จะกล่าวถึง ความหมายและลักษณะอำนาจอธิปไตย แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยและ แนวคิดการแบ่งแยกและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย ว่าเป็นอย่างไรและของประเทศไทยใช้หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยรูปแบบใดในการปกครองประเทศ ดังนี้
1. ความหมายและลักษณะของอำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตยในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นมีความหมายอย่างไรและลักษณะของอำนาจอธิปไตยเป็นอย่างไรเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตย ดังนี้
1.1 ความหมายอำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ในทางกฎหมายมหาชน หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐหรืออำนาจที่แสดงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่ อำนาจอธิปไตยย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นต้น
แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ในกฎหมายระหว่างประเทศ ระบุไว้ว่าอำนาจอธิปไตยประการนี้หมายความถึง การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งทางนิตินัยและทางพฤตินัย “อำนาจอธิปไตยโดยนิตินัย” หมายความถึง มีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ส่วน “อำนาจอธิปไตยโดยพฤตินัย” หมายถึง เป็นอำนาจตามความสามารถในความจริงที่จะกระทำการเช่นนั้น อำนาจตามความที่กล่าวถึงข้างต้น หมายความไปถึงอำนาจในลักษณะการที่สามารถเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นอำนาจสูงสุดทางการปกครองของประเทศหนึ่งประเทศใด หรือรัฐหนึ่งรัฐใด ในฐานะหนึ่งที่อำนาจอธิปไตย เป็นองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นและขาดเสียมิได้ของรัฐสมัยใหม่ (Modern State) หรือรัฐประชาชาติ (Nation-State) มิเช่นนั้น รัฐหรือรัฐประชาชาตินั้น ย่อมขาดความเป็นเอกราชในทางการเมืองการปกครอง
1.2 ลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตย
ลักษณะความสำคัญของอำนาจอธิปไตย มีนักวิชาการได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด อำนาจอธิปไตยเป็นการทั่วไป อำนาจอธิปไตยมีความถาวรและอำนาจอธิปไตยแบ่งมิได้ ดังนี้
1.2.1 อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด
อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด (Absoluteness) กล่าวคือ ไม่มีอำนาจอื่นใดภายในรัฐที่เหนือกว่า และจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจในการออกกฎหมายของรัฐได้ กล่าวคือ มีอำนาจอธิปไตยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เช่น ประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยเด็ดขาดไม่มีอำนาจรัฐอื่นใด (อำนาจของประเทศใด) มาจำกัดอำนาจในการตรารัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้ เป็นต้น
1.2.2 อำนาจอธิปไตยเป็นการทั่วไป
อำนาจอธิปไตยเป็นการทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐ มีอยู่เหนือทุกคนและทุกองค์กรที่อยู่ในรัฐ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ว่า เมื่อมีผู้แทนของต่างรัฐมาประจำในประเทศ ผู้แทนต่างรัฐจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศหรือจารีตประเพณีระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ
1.2.3 อำนาจอธิปไตยมีความถาวร
อำนาจอธิปไตยมีความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงดำรงอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของรัฐอาจจะเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการปฏิรูปการปกครองเปลี่ยนระบบของรัฐบาลได้ แต่อำนาจอธิปไตยมิได้สูญหายไปจากรัฐ
1.2.4 อำนาจอธิปไตยแบ่งอำนาจมิได้
อำนาจอธิปไตยแบ่งอำนาจมิได้ (Indivisibility) หมายความว่า ในรัฐๆหนึ่งจะต้องมีอำนาจอธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็ย่อมเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย แต่สามารถจำแนกการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นการแบ่งหน้าที่ให้องค์กรต่างๆเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยได้ตามแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย (Separation of Powers) ของ มองเตสกิเออ (Montesquieu) เช่น การแบ่งแยกอำนาจออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ เป็นต้น
2.แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตย
แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยนั้นได้มีแนวทฤษฎีอำนาจอธิปไตยที่สำคัญ 5 ทฤษฎีด้วยกัน คือ ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า (Supremacy of God) ทฤษฎีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา (Supremacy of the Pope) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์ (Supremacy of the King) อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Supremacy of the People) อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของใครนั้นได้มีแนวคิดที่ยอมรับกันทั่วไป อยู่ 2 ทฤษฎี คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (เป็นของปวงชน) (Supremacy of the People) กับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) ดังนี้
2.1 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Supremacy of the People) นั้นได้มีนักปราชญ์ ชื่อ ฌอง ชาค รุสโซ (Jean Jaque Rousseau) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ชื่อ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) ดังนี้
2.1.1 หลักการและแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
แนวคิดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และแนวคิดเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม โดยรุสโซ (Rousseau) กล่าวว่า “เราแต่ละคนมอบร่างกายและพลังทั้งหมดที่ตนมี เข้าอยู่ภายใต้คำบัญชาสูงสุดของเจตนารมณ์ส่วนรวม และในอำนาจร่วมกันของเรา เราขอรับสมาชิกแต่ละคนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งจะแบ่งแยกมิได้ของสังคม” และยังกล่าวต่อไปอีกว่า “สมมุติว่ารัฐประกอบด้วยคน10,000คน สมาชิกแต่ละคนของรัฐย่อมมีส่วน 1 ใน 10,000 ของอำนาจอธิปไตย เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยนี้ ต้องนับทุกส่วนรวมกันเข้ามาทั้งหมด” ดังนั้นรัฐจึงเป็นการรวมตัวกันของทุกๆคนในประชาคมนั้น เจตนารมณ์ร่วมกันของทุกคนก็คือ อำนาจอธิปไตยที่เป็นของทุกๆคน ตามทัศนะของ รุสโซ (Rousseau) อำนาจอธิปไตยไม่สามารถจะจำหน่ายจ่ายโอนไปให้ผู้ใดได้และไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้และจำกัดไม่ได้ เพราะอำนาจดังกล่าวเป็นของคนทุกคนในประชาคมนั้น ตรงจุดนี้นี่เองที่มองว่ารุสโซ (Rousseau) เป็นผู้ก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ที่เรียกว่า “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยทางตรง” (Direct Democracy) แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดของรุสโซ (Rousseau) ประเทศต่างๆได้นำแนวคิดมาปรับใช้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งทางตรงหรือที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”
ในทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น ปัจเจกชนแต่ละคนได้รวมตัวกันเป็นสังคมและถือว่าแต่ละคนนั้นต่างเป็นผู้ทรงสิทธิส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย การแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของส่วนรวมดังกล่าวอยู่ที่ปัจเจกชนแต่ละคนได้รับการปรึกษา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตัดสินใจทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแล้วจะต้องมีการปรึกษาหารือและสอบถามพลเมืองของรัฐมีผลตามมาดังนี้
1. ประชาชนแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครอง ทั้งนี้เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งส่วนแห่งอำนาจอธิปไตยของตนอันนำมาซึ่งหลักที่เราทราบกันดี คือ การเลือกตั้งอย่างทั่วถึงเพราะถือว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิของทุกคน มิใช่เป็นหน้าที่จึงไม่อาจจำกัดสิทธิได้
2. การมอบอำนาจของประชาชนให้ผู้แทนนั้นเป็นการมอบอำนาจในลักษณะเป็นผู้แทนของปวงชน ประชาชนสามารถควบคุมผู้แทนราษฎรได้เมื่อประชาชนไม่พอใจผู้แทนราษฎรก็ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ (Recall) นอกจากนี้การที่ประชาชนมอบอำนาจให้อำนาจผู้แทน เป็นการมอบในลักษณะที่ผู้แทนต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนผู้เลือกตั้งผู้แทนแต่ละคน ไม่ถือว่าเป็นผู้แทนของราษฎรทั้งหมด แต่เป็นผู้แทนของราษฎรในเขตเลือกตั้งของตัวเอง ผู้แทนต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและการควบคุมจากผู้เลือกตั้ง ทฤษฎีนี้จึงสนับสนุนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
3. ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ประชาชนใช้อำนาจได้ตลอดเวลา
2.1.2 ผลของอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
จากแนวคิดข้างต้นในความเห็นของรุสโซ (Rousseau) ประชาชนเป็นผู้บัญญัติกฎหมายและรัฐสภาเป็นแค่เพียงเครื่องอุปกรณ์ของประชาชนเท่านั้น แนวความคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนได้รับการยอมรับและอยู่ในโครงสร้างกฎหมายของรัฐ ปัจเจกชนแต่ละคนเป็นเจ้าของสิทธิในการเลือกตั้ง และรวมถึงการกำหนดแนวทางของกิจกรรมสาธารณะอีกด้วย การออกเสียงทางการเมืองถือว่าเป็นสิทธิอันหนึ่งที่ใช้โดยพลเมืองแต่ละคนสำหรับการลงคะแนนในการตัดสินใจทุกๆเรื่องที่รู้จักกันดีภายใต้นิยามของคำว่า “กฎหมาย” (Law) แนวคิดนี้ก่อให้เกิดหลักการแบ่งแยกทางการเมืองในสังคมที่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ที่มีอำนาจอยู่เหนือเสียงส่วนน้อย และยิ่งไปกว่านั้นการจำกัดขอบเขตของการใช้สิทธิในการเลือกตั้งต่อการออกกฎหมายนั้นไม่ตอบสนองต่อความเป็นตรรกะของทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ความเป็นตรรกะดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าพลเมืองทุกๆคนและพลเมืองแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของการตัดสินใจ ในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการใช้สิทธิ รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองได้
2.2 อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) ทฤษฎีนี้เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ของนักปรัชญาเมธีของประเทศฝรั่งเศสหลายท่านตั้งแต่ในยุคเรอแนสซอง (Renaissance) และมาปรากฏเด่นชัดในยุคปฏิวัติใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1789 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแยกให้เห็นถึงที่มาที่แตกต่างของรัฐ พวกอภิสิทธิ์ชนและอำนาจอธิปไตย กับ ฝ่ายปกครองบ้านเมืองและองค์กรของรัฐ
2.2.1 หลักการและแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
นักปรัชญาที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ ซีเอเย่ส์ (Sieyes) ซึ่งได้กล่าวว่าอำนาจอธิปไตยแบ่งไม่ได้ (indivisible) ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนแต่ละคนไม่ได้เป็นเจ้าของในหนึ่งส่วน ของอำนาจอธิปไตยแต่กลับมองว่าการรวมตัวของประชาชนทั้งหมดในนามของชาติ ดังนั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยคือ "ชาติ " ในแนวความคิดของซีเอเย่ส์ (Sieyes) มองว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ” ไม่ได้เป็นของประชาชน ประชาชนแต่ละคนไม่มีสิทธิใดๆเลยที่เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ไม่มีสิทธิในการออกกฎหมาย ด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้เอง การลงประชามติ (Referendum) จึงไม่ได้รับการยอมรับในสายตาของซีเอเย่ส์ (Sieyes) ยิ่งไปกว่านั้นกลับมองว่า ประชาชนแต่ละคนนั้นมีสิทธิแต่เพียงในการเลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยในนามของชาติเท่านั้น
2.2.2 ผลของแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของชาติ
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาตินั้นคัดค้านกับแนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ดังนี้
1.ชาติเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่เป็นของปวงชนหรือประชาชนในฐานะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่เลือกผู้แทนของชาติ ดังนั้นการเลือกตั้งของประชาชนจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิใช่การใช้สิทธิ ชาติจึงมีสิทธิที่จะมอบอำนาจเลือกตั้งให้แก่ประชาชนที่เห็นว่าเหมาะสมได้ การเลือกตั้งจึงไม่จำเป็นต้องเป็นแบบที่ทั่วถึง มีการจำกัดสิทธิเลือกตั้งได้
2.ผู้แทนแต่ละคนไม่ได้เป็นผู้แทนของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งที่เลือกตนเท่านั้น แต่ผู้แทนทั้งหมดถือเป็นผู้แทนของชาติ และไม่อยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนผู้เลือกตั้ง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติไม่ได้ปฏิเสธระบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างไรก็ตามหากชาติมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนการปกครองไปเป็นรูปแบบอื่นก็ได้
ดังนั้นผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้าไปนั้นจึงเป็นผู้แทนของชาติเท่านั้นไม่ใช่ผู้แทนของประชาชนและผู้แทนดังกล่าวเป็นอิสระจากอำนาจของประชาชน และมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะกระทำการใดๆในนามของรัฐ ความอิสระดังกล่าวนี้ก็คือ อำนาจของผู้แทน ด้วยแนวความคิดดังกล่าวจึงก่อให้เกิดทฤษฎีของการเป็นผู้แทนเป็นของชาติ เป็นการสนับสนุนการปกครองประชาธิปไตยโดยทางอ้อม
2.3 ความแตกต่างระหว่างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติผู้เขียนเห็นว่ามีความแตกต่างกันแต่สามารถที่ประสานหรือนำมาใช้ร่วมกันในการปกครองได้ดังนี้
2.3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นสิทธิ แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติมองว่าประชาชนไม่มีสิทธิออกเสียงในนามของชาติ ชาติมาจากการรวมตัวของประชาชน ชาติจะต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องกระทำเพื่อชาติๆจะเป็นผู้กำหนดคัดเลือกว่าประชาชนคนใดมีความสามารถเพียงพอที่จะมีหน้าที่ดังกล่าว สิทธิในการเลือกตั้งดังกล่าวตามแนวคิดนี้เรียกว่า “สิทธิในการลงคะแนนเสียงที่สงวนไว้สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ”
2.3.2 เจตนารมณ์ของทฤษฎี
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป เพราะว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิ (Right) ของประชาชนทุกคนโดยให้เหตุผลว่า ทุกๆคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การตัดสิทธิผู้หนึ่งผู้ใดไม่ให้ใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพราะเหตุเนื่องจากพื้นเพแหล่งกำเนิด ความยากดีมีจน หรือ การศึกษาอบรมนั้นทำไม่ได้ แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ (Duty) ของประชาชน เจตนารมณ์ของชาติแสดงผ่านโดยทางผู้แทนรัฐสภาที่กระทำการในนามของชาติและชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
2.2.3 การเป็นผู้แทน
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชน เพราะเป็นผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกเข้ามาโดยประชาชน ในขณะที่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ กลับมองว่าสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชนนั้นเป็นอิสระจากประชาชนเพราะว่าสมาชิกเหล่านั้นได้ผันตัวเองมาเป็นผู้แทนของชาติ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสมาชิกรัฐสภามีอิสระและมีอำนาจของตัวเอง
ตารางความแตกต่างระหว่างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับเป็นชองชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาติ
1.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นสิทธิ
2.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งทุกๆคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชน
1.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นหน้าที่
2.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ถือว่าชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชนแต่อยู่ภายใต้บังคับของชาติ
เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างข้างต้นของแนวคิดฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติและอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ยังคงถกเถียงว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติหรือเป็นของประชาชนนั้น ว่าชาติหรือประชาชนจะเป็นผู้ทรงสิทธิในอำนาจอธิปไตยโดยแบ่งออกเป็นสองค่ายความคิดดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายที่สนับสนุนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติได้ให้เหตุผล สรุปได้ 3 ประการ คือ
ประการแรก เป็นจารีตประเพณีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเพราะมีการกล่าวอ้างกันในรัฐธรรมนูญเป็นส่วนใหญ่ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นได้บัญญัติรับรองว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ อาทิ มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ปีค.ศ.1791 มาตรา 17 และ18 ของคำประกาศรับรองสิทธิมนุษยชนและพลเมืองที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1795 มาตรา 2 เป็นต้น
ประการที่สอง ความเป็นชาตินั้นได้แสดงออกโดยความเป็นส่วนรวม ความสมัครสมานและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยแสดงออกผ่านทางการเลือกตั้ง
ประการสุดท้าย การยอมรับหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของชาตินั้นเป็นการยอมรับหลักความเป็นอิสระของผู้แทน กล่าวคือ เป็นผู้แทนของชาติและจะกระทำการใดนั้นต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
2. ฝ่ายที่สนับสนุนอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นได้ให้เหตุผลว่าหลักการดังกล่าวไปได้ด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบใหม่ โดยเห็นว่าชาตินั้นหาใช่อื่นใดไปไม่นอกจากประชาชนนั่นเอง ผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้ามานั้นก็เป็นผู้แทนของประชาชนและจะต้องกระทำการตามคำสั่งของประชาชน
ดังนั้น ความแตกต่างทางประเพณีที่ขัดแย้งระหว่างสองแนวความคิด อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ตามแนวคิดของซีเอเย่ส์ (Sieyes) และอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (เป็นของปวงชน) ตามแนวความคิดของรุสโซ (Rousseau) แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการประสานและรอมชอมของทั้งสองแนวความคิด แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างก็ยังมีอยู่บ้างในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิหรือมีหน้าที่เลือกตั้ง ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป เพราะว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน เจตนารมณ์ของชาติแสดงผ่านโดยทางผู้แทนรัฐสภาที่กระทำการในนามของชาติและชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
3. แนวคิดการแบ่งแยกและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่สำคัญ คือต้องมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย ดังนี้
3.1 แนวคิดการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
แนวคิดการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยได้มีนักปรัชญาพูดถึงการแบ่งแยกอำนาจมานานแล้ว ไม่ ว่าจะเป็นอริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาการเมืองสมัยกรีกโบราณ และต่อมามีนักปรัชญาการเมืองอีกหลายท่าน เช่น เจมส์ แฮริงตัน (Jame Harington), จอห์น ลอค (John Locke), ฌอง โบแดง (Jean Bodin), แซมมวล ฟูเฟนดอร์ฟ (Samuel Purfendorf), ฮิวโก โกรเชียส (Hugo Grotius) เป็นต้น ต่างได้พูดถึงการแยกอำนาจไว้เช่นกัน แต่มีนักปรัชญาการเมืองที่สำคัญที่สุด คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ซึ่งเป็นนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้เดินทางไปศึกษาการเมืองไปทั่วยุโรป โดยใช้เวลาศึกษาการเมืองที่อังกฤษนานถึงปีครึ่ง เกิดแรงบันดาลใจให้เรียบเรียงวรรณกรรมสำคัญเล่มหนึ่ง คือ “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” ในบทที่ 6 ของหมวด 11 ซึ่งมองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้อธิบายว่าในทุกรัฐจะมีอำนาจอยู่ 3 อย่าง ดังนี้
1.อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจเกี่ยวกับการวางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ กล่าวคือ "อำนาจในตรากฎหมาย"
2.อำนาจปฏิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน คือ อำนาจในการใช้หรือบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "อำนาจบริหาร"
3.อำนาจปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง คือ อำนาจในการวินิจฉัยอรรถคดี ซึ่งเรียกกันต่อมาว่าเป็น "อำนาจตุลาการ"
งานวรรณกรรมของมองเตสกิเออ (Montesquieu) ข้างต้นนั้นเป็นงานเสนอหลักและวิธีการที่แยกอำนาจอธิปไตยเพื่อก่อให้เกิดและส่งเสริมอิสรภาพของประชาชน ไว้ ดังนี้
3.1.1 ต้องมีการแยกองค์กรที่ใช้อำนาจปกครอง
ต้องมีการแยกองค์กรที่ใช้อำนาจปกครองทั้งสาม คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ การแยกนี้หมายความว่าให้แต่ละองค์กรใช้อำนาจแต่เพียงอย่างเดียวหรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนหนึ่งหรือองค์กรหนึ่งใช้อำนาจได้เพียงอย่างเดียว ผู้ที่มีหน้าที่ออกกฎหมายก็จะต้องทำหน้าที่เฉพาะการออกกฎหมายเท่านั้น จะมาทำหน้าที่บริหารหรือตุลาการอีกไม่ได้ การให้แต่ละองค์กรใช้อำนาจเฉพาะเรียกว่า “การแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) เหตุผลที่มองเตสกิเออ (Montesquieu) เสนอให้แยกองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยก็เพราะว่า
“เมื่อใดอำนาจนิติบัญญัติและบริหารรวมอยู่ที่คนๆเดียวกันหรือองค์กรเจ้าหน้าที่เดียวกันอิสรภาพย่อมไม่อาจมีได้ เพราะเกิดความหวาดกลัวเนื่องจากกษัตริย์หรือสภาเดียวกันอาจบัญญัติกฎหมายแบบทรราชย์ เช่นเดียวกันอิสรภาพจะไม่มีอยู่ ถ้าอำนาจตุลาการไม่แยกออกจากอำนาจนิติบัญญัติและบริหาร ถ้าหากรวมอยู่กับอำนาจนิติบัญญัติ ชีวิตอิสรภาพของคนในบังคับจะอยู่ภายใต้การควบคุมแบบพลการ เพราะตุลาการอาจประพฤติด้วยวิธีการรุนแรงและกดขี่ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถึงซึ่งอวสานถ้าหากคนหรือองค์กรเดียวกันไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูงหรือประชาชนจะใช้อำนาจทั้งสามเหล่านี้ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารนโยบายสาธารณะและอำนาจพิจารณาคดีของบุคคล” ดังนั้นกล่าวโดยสรุปเพื่อให้เกิดอิสรภาพแก่ประชาชนจึงมีความจำเป็นตองให้มีการแยกองค์กรที่ใช้อำนาจทั้งสามออกจากกันเพื่อถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
3.1.2 ต้องมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกันได้
การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกัน (Check and Balance) หมายถึง อำนาจที่จะแยกให้แต่ละองค์กรเป็นผู้ใช้อำนาจนั้น ไม่ใช่แยกจากกันโดยเด็ดขาดหรือมีอิสระไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน การสร้างระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มองเตสกิเออกล่าวถึง เป็นระบบที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจทั้งสาม
คำว่า “ดุลแห่งอำนาจ” (Balance of Power) หมายถึง การให้แต่ละอำนาจที่แยกให้แต่ละองค์กรใช้นั้นต่างก็มีฐานะเท่ากัน แต่ละอำนาจมีฐานะเท่ากันเช่นนี้ทำให้อำนาจต้านด้วยอำนาจซึ่งจะก่อให้เกิดดุลยภาพระหว่างอำนาจได้ สำหรับ “การตรวจสอบแห่งอำนาจ” (Check of Power) หมายถึงให้แต่ละอำนาจสามารถตรวจสอบการทำงานของกันและกันได้ เป็นต้นว่าถ้าฝ่ายบริหารไม่ดำเนินการหรือละเว้นหน้าที่จะดำเนินการตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมา ฝ่ายนิติบัญญัติย่อมสามารถตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารได้ นอกจากนี้ระบบการตรวจสอบที่ มองเตสกิเออ (Montesquieu) กล่าวถึง ยังครอบคลุมถึงการตรวจสอบภายในของหน่วยงานที่ใช้อำนาจเดียวกันด้วย เช่น การที่ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสองสภา ถ้าสภาหนึ่งออกกฎหมายที่เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนของฝ่ายหนึ่งสภาที่สองย่อมมีอำนาจตรวจสอบกลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านสภาหนึ่งมาแล้วได้
จากแนวคิดที่มองเตสกิเออ (Montesquieu) เสนอ คือ ต้องการให้มีระบบการแยกหรือจำแนกอำนาจให้องค์กรแต่ละองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) เมื่อแยกหรือจำแนกให้แต่ละองค์กรใช้เพียงอำนาจเดียว คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแล้ว ก็ควรจะให้แต่ละอำนาจสามารถตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันได้เช่นกัน
3.2 รูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย
การให้องค์กรใช้อำนาจอธิปไตยโดยผ่านทางฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ ตามทฤษฎีการใช้อำนาจอธิปไตย มีรูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
3.2.1 กรณีองค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
ในกรณีที่องค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจทั้งสามอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทั้งสามอำนาจรวมอยู่ด้วยกัน โดยมิได้มีการแยกการใช้อำนาจ ผลที่ได้รับคือประชาชนซึ่งเป็นผู้ถูกปกครองไม่มีหลักประกันแน่นอนเพราะผู้ปกครองอาจกดขี่ข่มเหงเอาได้และจะไม่มีองค์กรอื่นหรือผู้อื่นมาคัดค้านได้ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการปกครองใน "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" (Absolute Monarchy)
3.2.2 กรณีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
ในกรณีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนก็คือประชาชน เพราะว่าฝ่ายบริหารซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามกฎหมายหรือปฏิบัติการตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ออกมาใช้บังคับก็จะมีอำนาจมากขึ้น กล่าวคือ ฝ่ายบริหารก็จะเสนอกฎหมายตามแต่ที่ตนต้องการตามความพอใจ เพราะเมื่อเสนอไปที่ฝ่ายนิติบัญญัติแล้วฝ่ายนิติบัญญัติก็จะต้องปฏิบัติตามที่ฝ่ายบริหารเสนอมาทุกครั้ง เพราะผู้ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ เป็นองค์กรเดียวกันเป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายที่ออกมาลักษณะเช่นนี้เป็นกฎหมายตามความพอใจของฝ่ายบริหารจะกลายเป็น "เผด็จการทางรัฐสภา" ()
3.2.3 กรณีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
ในกรณีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนย่อมต้องเป็นประชาชนอยู่นั่นเอง เพราะไม่ว่าฝ่ายบริหารจะกระทำการสิ่งใด ไม่ว่าจะถูกต้องหรือผิดไปจากตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้ ฝ่ายตุลาการซึ่งมีหน้าที่ตัดสินคดีจะชี้ขาดว่าฝ่ายบริหารทำสิ่งที่ถูกต้องทุกครั้งไป ฝ่ายที่ชี้ขาดความยุติธรรมในรัฐก็จะไม่มีจะกลายเป็น “รัฐตำรวจ” (Police State) ทันที ซึ่งเห็นได้ว่าหากองค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการจะเกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดผลเสียต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ถึงแม้บุคคลใดๆหรือกลุ่มบุคคลใดๆ จะมีคุณสมบัติพิเศษหรือมีความสามารถเพียงใดก็ตาม การให้ใช้อำนาจอธิปไตยสองประการโดยองค์กรเดียวย่อมเกิดผลเสียต่อประชาชนได้ตลอดเวลา
3.2.4 กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยค่อนข้างจะเด็ดขาด
เมื่อกรณีทั้งสามดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ก็ได้มีความพยายามที่จะจัดให้มีการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ออกจากกันเกือบเด็ดขาดหรือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเรียกว่า "การแบ่งแยกอำนาจค่อนข้างที่จะเด็ดขาด" รูปแบบการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันค่อนข้างจะเด็ดขาดนี้มีใช้อยู่ก็คือการปกครองในระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดี เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3.2.5 กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาด
กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาด เป็นการแบ่งแยกอำนาจที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เรียกว่า “การถ่วงดุลอำนาจ” (Check and Balance) กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาดนี้มีใช้อยู่ก็คือการปกครองในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศไทย เป็นต้น
4. อำนาจอธิปไตยและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย
หลักการใช้อำนาจอธิปไตย ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการนำแนวความคิดการใช้อำนาจอธิปไตยและการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนี้
4.1 การนำแนวคิดและหลักการใช้อำนาจอธิปไตย
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 นำแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติและอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมาใช้ด้วยกัน ดังนี้
4.1.1 อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
การใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เช่น บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4.1.2 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เช่น การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงในการใช้อำนาจอธิปไตย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 50,000 ชื่อ เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,000 ชื่อ เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย (ร่างพระราชบัญญัติ) การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,000 ชื่อ เข้าชื่อยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติในเรื่องที่มีผลกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของชาติหรือประชาชน เป็นต้น
4.2 รูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย คือ ใช้หลักการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาด ในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาเป็นการแบ่งแยกอำนาจที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เรียกว่า “การถ่วงดุลอำนาจ” (Check and Balance) เป็นการวางหลักการแบ่งแยกอำนาจไม่ค่อยเด็ดขาด กล่าวคือ แบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาดในลักษณะของการปกครองที่ใช้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ (กรณีของสภาผู้แทนราษฎร) คือ การเสนอให้ประมุข ของรัฐยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น
aristotle democracy 在 On8 Channel - 岸仔 頻道 Facebook 的最讚貼文
岸伯政治哲學課 – 第三集 亞里斯多德(Aristotle)
主持:王岸然、無妄、大衛丸
摘要:「政治學」、對六種政體學說、反「民主」、一生在讀書、亞里斯多德的生評、阿歷山大帝的金錢、馬其頓帝國、萬學之父!!!、政治哲學對後世的影響、人是社會的動物、人是政治的動物、亞里斯多德的主要學說、教育是對話、強調法律的重要、開始中產的觀念、法律是沒有激情的理性、只適合一萬人的政體、批判男人至上及奴隸制度、對公民的要求、人人生而不平等、城邦制度
其他收聽途徑:http://www.myaudiocast.com/on8channel/
參考:
One Person: 專主制(Tyranny) VS 君主制(Monarchy)
The Few: 寡頭制(Oligarchy) VS 貴族制(Aristocracy)
The Many: 民主制(Democracy) VS 共和制(Polity)
插曲第一首: Ode to Athena
插曲第二首: Ode to Orpheus
aristotle democracy 在 Why Aristotle Wasn't a Fan of Direct Democracy - YouTube 的美食出口停車場
... <看更多>