เมื่อขั้วโลกเหนือ กำลังท้าทาย คลองสุเอซ /โดย ลงทุนแมน
เหตุการณ์เรือขนส่งสินค้า Ever Given เกยตื้นขวางคลองสุเอซ
ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลก เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ได้จุดประเด็นให้หลายฝ่ายต้องตระหนักว่า การค้นหาเส้นทางเดินเรือใหม่ ๆ น่าจะช่วยป้องกันความสูญเสียมูลค่ามหาศาลที่อาจเกิดขึ้นเช่นนี้ได้
ไม่กี่วันหลังจากเหตุการณ์นั้น มหาอำนาจโลกตะวันออกอย่างประเทศจีน
ก็เริ่มมีการพูดถึง เส้นทางเดินเรือใหม่
เส้นทางที่ว่านี้ คือการเดินเรือผ่าน “ขั้วโลกเหนือ”
เส้นทางนี้เป็นอย่างไร แล้วจีนเข้าไปเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
ทั้งที่ไม่มีพื้นที่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนือหรือภูมิภาคอาร์กติกเลย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องนี้ เราต้องมารู้จักภูมิภาคอาร์กติก ที่เป็นพื้นที่สำคัญของเรื่องนี้กันก่อน
อาร์กติก เป็นภูมิภาคที่อยู่ตรงขั้วโลกเหนือ
โดยถ้าเรามองแผนที่โลกโดยให้ขั้วโลกเหนือเป็นศูนย์กลางนั้น ภูมิภาคอาร์กติก จะมีพื้นที่คล้ายวงกลม โดยมีจุดศูนย์กลางตรงขั้วโลกเหนือ และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 14.1 ล้านตารางกิโลเมตร
โดยดินแดนของอาร์กติกนั้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วย รัสเซีย, ฟินแลนด์, สวีเดน, นอร์เวย์, ไอซ์แลนด์, เดนมาร์ก, แคนาดา และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีความยาวชายฝั่งในอาร์กติกมากที่สุด คือ “รัสเซีย” ที่มีความยาวตามแนวชายฝั่ง 24,140 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 44% ของความยาวชายฝั่งทั้งหมดในอาร์กติก
พื้นที่บริเวณอาร์กติกนี้ ยังถือเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของรัสเซีย โดยนํ้ามันดิบกว่า 60% และก๊าซธรรมชาติกว่า 95% ของรัสเซีย ได้มาจากพื้นที่ในเขตนี้
ส่วนมหาอำนาจแห่งโลกตะวันตกอย่าง สหรัฐอเมริกา
มีความยาวตามแนวชายฝั่งในภูมิภาคอาร์กติกเพียงแค่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐอะแลสกา มีประชาชนที่อาศัยในเขตขั้วโลกนี้ประมาณ 7 หมื่นคน ซึ่งน้อยกว่ารัสเซียที่มีมากถึง 2 ล้านคน
พูดได้ว่า รัสเซีย ถือเป็นประเทศที่มีอิทธิพลค่อนข้างมากในแถบอาร์กติก
และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสนใจของพื้นที่ในภูมิภาคนี้ ก็คือ “เส้นทางเดินเรือ”
โดยจุดสำคัญของเส้นทางการเดินเรืออาร์กติกนี้ คือช่องแคบเบริง (Bering)
ซึ่งถ้าหากเรากางแผนที่โลกออกมา ช่องแคบเบริงนี้ ก็คือบริเวณที่คั่นตรงกลางระหว่างพื้นที่ ที่ใกล้กันที่สุดของทวีปอเมริกาและเอเชีย
ช่องแคบนี้จะมีเกาะ Diomede ใหญ่ (Big Diomede) ที่อยู่ในเขตประเทศรัสเซีย และ Diomede น้อย (Little Diomede) ที่อยู่ในเขตของสหรัฐอเมริกาบริเวณรัฐอะแลสกา ซึ่งทั้งสองเกาะมีความห่างกันแค่ 3.8 กิโลเมตรเท่านั้น
โดยเส้นทางเดินเรือขั้วโลกนี้จะขึ้นเหนือผ่านทะเลแบเร็นตส์ตอนเหนือของรัสเซีย แล้วมาโผล่ที่ทะเลนอร์เวย์ทางตอนเหนือของนอร์เวย์ แล้วลงใต้ไปยังเมืองท่าสำคัญของยุโรป
ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากเรือขนส่งที่ใช้เส้นทางนี้ว่าสามารถย่นระยะการเดินเรือ ได้เกือบ 40%
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเรือออกจากท่าเรือในโยโกฮามะจากประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปยังท่าเรือในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
- ถ้าใช้เส้นทางผ่านทะเลจีนใต้ ผ่านช่องแคบมะละกา ทะเลอาหรับ คลองสุเอซ ช่องแคบยิบรอลตาร์ และช่องแคบอังกฤษ
เส้นทางนี้ จะมีระยะทางประมาณ 20,618 กิโลเมตร
- แต่ถ้าใช้เส้นทางเดินเรือที่ขึ้นเหนือ ไปพาดผ่านภูมิภาคอาร์กติก ผ่านช่องแคบเบริง ทะเลแบเร็นตส์ และผ่านทะเลนอร์เวย์
เส้นทางนี้ จะมีระยะทางเพียงแค่ประมาณ 12,982 กิโลเมตร เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เส้นทางการเดินเรือจากโลกตะวันออกไปสู่โลกตะวันตก ผ่านภูมิภาคอาร์กติก ช่วยลดระยะทางลงได้มากเลยทีเดียว
หลายปีที่ผ่านมา เส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าผ่านทะเลอาร์กติกมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 2016 มีเรือขนส่งใช้เส้นทางนี้ 297 ลำ
และปี 2020 มีเรือขนส่งใช้เส้นทางนี้ประมาณ 400 ลำ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 35%
โดยมีการขนส่งสินค้ากว่า 32 ล้านตัน ซึ่งกว่า 18 ล้านตันเป็นการขนส่งก๊าซธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม จำนวนเรือที่ใช้เส้นทางนี้ก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับเส้นทางจากตะวันออกไปตะวันตกผ่านคลองสุเอซ ที่มีเรือขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางประมาณ 19,000 ลำ ตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ เพราะเส้นทางบริเวณอาร์กติก ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่ทำให้การเดินเรือทำได้ยากลำบาก ต้องอาศัยเรือทลายน้ำแข็ง (Icebreaker Ships) ในการนำหรือสร้างเส้นทางให้เรือขนส่งสินค้า
ทีนี้ หลายคนคงกำลังสงสัย แล้วจีนมาเกี่ยวอะไรกับพื้นที่นี้
ทำไมช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นจีน ที่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเส้นทางการเดินเรือผ่านขั้วโลกเหนือ ?
ต้องบอกว่าแม้จีนจะไม่ได้มีพื้นที่ประเทศในเขตอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ
แต่จีนก็เป็นหนึ่งในประเทศ ที่ใช้บริการเส้นทางแถบอาร์กติกเป็นประจำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
จีนอาศัยความใกล้ชิดกับพันธมิตรอย่างรัสเซีย และใช้เส้นทางดังกล่าวในการขนส่งสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ไปยังทวีปยุโรป สอดคล้องกับนโยบาย One Belt One Road ของจีน
ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ นโยบายและแผนงานของรัฐบาลจีนในช่วง 4-5 ปีหลัง จีนมีแผนลงทุนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งมีพื้นที่อยู่ในอาร์กติก
เช่นปี 2018 มีแผนเช่าซื้อสนามบินใน Kemijärvi ในประเทศฟินแลนด์
นอกจากนั้นจีนยังมีแผนการลงทุนทำเหมืองแร่ที่เกาะกรีนแลนด์ ที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติก
และในปีเดียวกันนั้น รัฐบาลจีนได้จัดทำ “นโยบายพัฒนาขั้วโลกเหนือ” เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านทรัพยากร และเป็นเส้นทางการขนส่งสำคัญ
สรุปคือ จีนก็พยายามเข้ามามีบทบาทและสร้างอิทธิพลในแถบอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ ผ่านการเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และการลงทุนในหลายประเทศแถบอาร์กติก ด้วยเช่นกัน
ส่วนทางฝั่งยักษ์ใหญ่แห่งซีกโลกตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่แม้จะมีรัฐอะแลสกาอยู่ในภูมิภาคอาร์กติก แต่ก็เป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับทางรัสเซีย
ในปี 2019 รัฐบาลของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ก็พยายามขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ โดยเสนอแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 370 ล้านบาท แต่สุดท้ายถูกปฏิเสธจากเจ้าของพื้นที่อย่างรัฐบาลเดนมาร์ก
หมายความว่า สหรัฐอเมริกา ก็มีความพยายามที่จะขยายอิทธิพลในแถบนี้ให้มากขึ้น จากที่ตอนนี้มีดินแดนที่คาบเกี่ยวอยู่ในเขตอาร์กติกเพียงแค่รัฐอะแลสกาเท่านั้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ “เรือตัดนํ้าแข็ง”
ที่เป็นพาหนะสำคัญในเรื่องการเดินเรือในเส้นทางสายขั้วโลกเหนือ
ซึ่งปัจจุบันประเทศที่เชี่ยวชาญและครอบครองเรือแบบนี้มากที่สุด ก็คือ รัสเซีย
รัสเซีย มีเรือตัดนํ้าแข็งมากถึงเกือบ 60% ของจำนวนทั้งหมดในโลก และยังมีแผนต่อเรือรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีใหม่ขึ้นทุกปี อย่างเช่น เรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
มากไปกว่านั้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเรื่อย ๆ แบบนี้
ก็คาดกันว่า น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายเร็วและมากขึ้น
ทำให้การเดินเรือผ่านเส้นทางนี้สะดวกและเร็วขึ้นด้วย
เท่ากับว่า ในอนาคตถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นจนน้ำแข็งขั้วโลกละลายไปมาก
รวมถึงเทคโนโลยีเรือตัดน้ำแข็งพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ
เส้นทางเดินเรือผ่านขั้วโลกเหนือ ก็น่าจะก้าวขึ้นมามีบทบาทกับการเดินเรือจากโลกตะวันออกไปตะวันตกได้มากขึ้น และก็น่าจะสร้างความท้าทายที่มากขึ้นให้กับเส้นทางเดินเรือที่เป็นที่นิยมในตอนนี้อย่าง คลองสุเอซ
อีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือเราจะเห็นว่าหลายประเทศพยายามเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในพื้นที่อาร์กติกกันมากขึ้น
ทั้งรัสเซีย ที่ถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลจากการมีดินแดนส่วนมากในอาร์กติก
จีน ที่อาศัยความใกล้ชิดกับรัสเซีย และการเข้าไปลงทุนในแถบอาร์กติกเพื่อหวังจะได้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาคอันหนาวเหน็บแห่งนี้
และสหรัฐอเมริกา ที่แม้จะมีดินแดนส่วนน้อยในอาร์กติก แต่ก็น่าจะอาศัยการเป็นพันธมิตรที่สนิทสนมกับแคนาดาและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ในการเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่เช่นกัน
ก็ต้องบอกว่า แม้ภูมิภาคอาร์กติก จะปกคลุมด้วยน้ำแข็งและความหนาวเหน็บ
แต่ดูแล้ว การแข่งขันกันมีอิทธิพลในพื้นที่นี้ กำลังร้อนระอุขึ้นเรื่อย ๆ เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://thehill.com/changing-america/sustainability/infrastructure/547041-alaska-gov-warns-china-and-russia-are-taking
-https://www.statista.com/chart/24511/vessels-and-net-tonnage-transiting-the-suez-canal/
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81
-https://www.thenewslens.com/article/131668
-https://www.thenewslens.com/article/125068
-https://insideclimatenews.org/news/03122018/national-security-arctic-icebreaker-funding-emergency-climate-change-coast-guard-military-readiness/
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210405000097-260301?chdtv
-https://newtalk.tw/news/view/2021-04-08/560400
-http://www.thousandreason.com/post12272361026323
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過4萬的網紅Battle Field Ver1,也在其Youtube影片中提到,チャンネル登録お願いします。 → http://u0u1.net/QWo0 ★Twitter MotorSports Battlefield ver1 (MBFv1) @BattlefieldVer1 ★ニコニコ動画 https://www.nicovideo.jp/my/top ...
alaska wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก Alaska รัฐที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา /โดย ลงทุนแมน
รัฐ California คือ รัฐที่มีมูลค่าเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
โดยมีมูลค่า GDP ประมาณ 98.7 ล้านล้านบาท
แต่ถ้าถามว่า แล้วรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา คือ รัฐไหน หลายคนอาจนึกไม่ออก
แต่คำตอบก็คือ รัฐ Alaska
รู้ไหมว่า รัฐ Alaska อดีตนั้นเคยเป็นดินแดนของรัสเซีย ก่อนที่จะถูกขายต่อให้สหรัฐอเมริกาด้วยเงินเพียง 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสมัยนั้น
ในตอนนั้นไม่มีใครคิดว่า รัฐที่มีอากาศหนาวเย็นและปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งจำนวนมากอย่าง Alaska กลับซ่อนทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ไว้มากมาย
และถือว่าเป็นดีลที่สุดคุ้มสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Alaska เป็น 1 ใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ที่น่าสนใจคือ แม้จะเป็นรัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา แต่ที่นี่กลับไม่มีดินแดนที่ติดกับสหรัฐอเมริกาเลย โดยไปมีพรมแดนติดกับแคนาดาแทน
ปัจจุบัน Alaska มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 710,000 คน และมีมูลค่า GDP เท่ากับ 1.73 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 48 ของสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำนวนประชากรที่น้อย ทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรที่รัฐ Alaska สูงถึง 2.35 ล้านบาทต่อคน สูงเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ
และที่สำคัญก็คือ ในบรรดา 50 รัฐของสหรัฐอเมริกานั้น Alaska เป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด โดยมีพื้นที่ถึง 1.72 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่ารัฐ Texas ซึ่งเป็นรัฐที่มีพื้นที่เป็นอันดับที่ 2 กว่า 2 เท่า และใหญ่กว่าประเทศไทยกว่า 3 เท่า
ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ไพศาล ที่นี่จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซ ทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่นี่สร้างรายได้กว่า 80% แก่รัฐ Alaska
นอกจากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัฐ Alaska อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของที่นี่ยังรวมไปถึง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากที่นี่มีธรรมชาติที่สวยงามทั้ง ธารน้ำแข็ง ภูเขา สัตว์ป่า ต้นไม้ และชายทะเล โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายนที่อุณหภูมิเริ่มอุ่น ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวมาที่นี่จำนวนมาก
ปี 2010 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มา Alaska 1.5 ล้านคน
ปี 2019 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มา Alaska 2.3 ล้านคน
ขณะที่ประมาณ 10% ของแรงงานทั้งหมดที่นี่จะทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของ Alaska สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 139,000 ล้านบาท
บางคนอาจยังไม่รู้ว่า
ในอดีตนั้นรัฐ Alaska เคยเป็นของรัสเซียมาก่อน
เนื่องจากในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้น รัสเซียเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัฐ Alaska ซึ่งกิจกรรมหลักของรัสเซียในช่วงแรกนั้นก็คือ การค้าขนสัตว์ และสอนศาสนา
ต่อมาในช่วงระหว่างปี 1853-1856 ได้เกิดสงครามไครเมีย ซึ่งเป็นการสู้รบกันระหว่างจักรวรรดิรัสเซียกับพันธมิตรซึ่งประกอบไปด้วยจักรวรรดิฝรั่งเศส จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคือ ตุรกี) และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย (ปัจจุบันคือ อิตาลี)
ซึ่งสุดท้ายแล้วจักรวรรดิรัสเซียพ่ายแพ้สงคราม
หลังสงคราม สถานะทางการเงินของรัสเซียย่ำแย่ และมีความเสี่ยงสูงที่ดินแดน Alaska จะถูกอังกฤษซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัสเซียยึดดินแดนในเวลานั้น
ดังนั้นการขายดินแดน Alaska ให้สหรัฐอเมริกาก็เหมือนได้ทั้งเงิน และให้ Alaska เป็นรัฐกันชนให้กับรัสเซีย
ซึ่งตอนนั้นมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการซื้อ Alaska ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น
โดยฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่า การซื้อรัฐ Alaska จะช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชียมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยขยายอำนาจของสหรัฐอเมริกามายังทวีปเอเชียด้วย
ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยกลับโจมตีรัฐบาลว่า ใช้เงินไปโดยเปล่าประโยชน์กับดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ซึ่งรัฐ Alaska ถูกมองว่าเป็นดินแดนที่แทบไม่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเลย
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในปี 2018 ปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่รัฐ Alaska ซึ่งประเมินโดยหน่วยงานด้านพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวนถึง 2,421 ล้านบาร์เรล ซึ่งถ้า Alaska เป็นประเทศ ที่นี่จะมีปริมาณน้ำมันดิบสำรองเป็นอันดับที่ 33 ของโลก ใกล้เคียงกับสหราชอาณาจักรที่มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองเท่ากับ 2,500 ล้านบาร์เรล
ซึ่งด้วยราคาน้ำมันดิบ ณ ปัจจุบัน ทำให้มูลค่าปริมาณน้ำมันดิบสำรองของ Alaska จะสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท มากกว่ามูลค่า GDP ของที่นี่เกือบเท่าตัว..
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_U.S._states_and_territories_by_area
-https://en.wikipedia.org/wiki/United_States
- https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_states_and_territories_of_the_United_States_by_GDP
-https://www.eia.gov/dnav/pet/PET_CRD_PRES_DCU_SAK_A.htm
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_proven_oil_reserves
-https://en.wikipedia.org/wiki/Climate_of_Alaska
-https://guides.loc.gov/alaska-treaty
-https://en.wikipedia.org/wiki/Alaska_Purchase
-https://en.wikipedia.org/wiki/Crimean_War
alaska wiki 在 Battle Field Ver1 Youtube 的精選貼文
チャンネル登録お願いします。
→ http://u0u1.net/QWo0
★Twitter
MotorSports Battlefield ver1 (MBFv1)
@BattlefieldVer1
★ニコニコ動画
https://www.nicovideo.jp/my/top
過去にアップロードした動画を順次公開しております。
自主削除した動画が順次投稿されています。
こちらのフォローも宜しくお願いします。
#RZV500 #RD500 #YAMAHAV42ストエンジン
動画タイトル: RZV500,RD500,YPVS V4エンジン YAMAHA パワー2ストマシン【最強の咆哮】痺れる最高の2ストエキゾーストサウンド video clip compilation
動画クレジットVideo credit
Group Louit
Démarrage de la 500 YZR Grand Prix 1990 😍
https://www.youtube.com/watch?v=p0F1lQFkcDE&t=1s
lvnewportbeach
Yamaha RZV500 blipping
https://www.youtube.com/watch?v=wV4FWbHJvRE
BIKE BOOBOO
RZV500R ふる加速 ステンレスチャンバー
https://www.youtube.com/watch?v=nqI2xdP2xM8
Yamaha TwoStroke
Yamaha RZ500 Dyno Run, Streetfighter3
https://www.youtube.com/watch?v=gA2aAVnkS6Y&t=55s
Wolfgang Hromada
YAMAHA RD500 Rainey Replica - dyno run
https://www.youtube.com/watch?v=jE8Fnf9sn3w
sharp2k10
RD 500
https://www.youtube.com/watch?v=7kOn6Vrp2OM
con mamep
RD500 Dynojet
https://www.youtube.com/watch?v=aDW5Emn77ZI&t=5s
Enduro North Nz
Yamaha Rzv 500r V4 2stroke Trackday Manfeild New Zealand Raw sound
https://www.youtube.com/watch?v=Qhhf6x_LG5c
Kurt Harris
Yamaha RZV500/YZR500 Rep
https://www.youtube.com/watch?v=HaWAa340sJU
TOP HAT Thomas K Dennis Jr.
Yamaha RZV 500 at a bike show in Alaska
https://www.youtube.com/watch?v=HhvNWkCL6Lg
kr750kr500
ゴロワーズRZV500R改アイドリング.AVI
https://www.youtube.com/watch?v=IJDmPr_yPhs
ヤマハ・RZV500R
RZV500R(アールゼットブイごひゃくアール)はヤマハ発動機が1984年4月より販売を開始した、レーサーレプリカに分類されるオートバイである。
排気量クラス 大型自動二輪車
車体型式 前期型:51X 後期型:1GG
エンジン 51X型 499 cm3
水冷2ストロークピストン/クランクケースリードバルブV型4気筒
内径×行程 / 圧縮比 56.4 mm × 50 mm / __
最高出力 64PS/8,500rpm
最大トルク 5.7kgfm/7,500rpm
車両重量 194 kg
当時のロードレース世界選手権GP500クラスに出場していた同社のワークスレーサー、「YZR500(0W61)」のレプリカモデルとして1984年よりヨーロッパ市場へ輸出されていた「RD500LC」の日本国内仕様として登場した。
YZRのフルレプリカという意欲的なコンセプトとメカニズムを持ち、潜在的な性能では4ストローク750ccを上回るとの評価を受けた同車であったが、国内でのメーカー希望小売価格が82万5000円と割高であった上、
販売当初は小売りであるYSP店、1店につき1台ずつの限定販売であった。当時の日本では自動二輪免許の限定解除審査を受け、合格しなければ乗れなかった500ccという排気量のみのラインアップであったため、
販売面では苦戦を強いられることになった不運な1台としても知られている(当時のビッグ2ストローク市場では、ヤマハは中型ライダーにはRZ350RRを用意しており、
一方でライバルメーカーであるホンダは、NS500のレプリカモデルを400cc化したNS400Rとし、スズキはRG500のレプリカモデルをRG400γ/500γの2本立てとしていた)。
搭載されているエンジンは、バンク角50度の499cc水冷2ストロークV型4気筒。
V型4気筒と銘打って車体側面にも「V4」のデカールが誇らしく配されているものの、前バンク2気筒と後バンク2気筒がそれぞれ独立してクランク軸を持つ2軸クランクの構造で、
2つのクランク軸に前後から挟まれる形でバランサーシャフトを内蔵した出力軸が置かれている[2]。 前後の気筒でクランクピンを共有しないばかりか、前後バンクで独立してクランク軸を持つことから、
厳密に解釈すれば前後の気筒が50度の傾斜を持つ特殊なスクエア4エンジンである(これは、モデルとなったYZR500(0W61)も同じ構造であり、その前モデルである0W54及び0W60は、スクエア4エンジンである)。
吸気形式はレイアウトの都合上、前バンク2気筒がクランクケースリードバルブ式、後バンク2気筒がピストンリードバルブ式と違っており、開発に当たっては前後バンクそれぞれを別の並列2気筒エンジンとして
設計・製作した上でキャブレターセッティングを行い、それらを合体して性能評価する手法が使われた[2]。
RZ-Rシリーズと同じく、コンピュータによりエンジン回転数に合わせた排気タイミング制御を行う排気デバイス「YPVS」も採用されている。
輸出仕様であるRD500LCは88psを発生するエンジンをスチール製フレームに搭載していたのに対し、国内仕様であるRZV500Rは自主規制により64psとされた代わりにアルミ製ダブルクレードルとして軽量化が図られた。
なおRD500LCがスチール製フレームを採用したのは欧州市場が剛性感を好んでいたことによるものである。
チャンバータイプのマフラーは、前バンク2気筒はエンジン下部を経由しての左右出しというオーソドックスな形状であったが、後バンク2気筒はシートレール下部に沿うようにシートカウル内を経由して、
テールランプ左右から排気するために容量の確保が難しく、エンジン直後のエキゾーストパイプが左右にクロスしたうえでシートカウル内でも湾曲した形状をもつ特殊なものとなっている[1]。
上述のように後バンク2気筒のマフラーが後方に向かって伸びていることで、リアのリンク式モノショックサスペンションは通常の位置に置けないため、スプリング・アブソーバー一体型のユニットを水平に寝かせて
エンジン下の車体中央部に設置しており、前バンク2気筒のマフラーが左右に避ける様にレイアウトされている。
記事引用:RZV500 wiki
alaska wiki 在 Miền Tây Vlogs Youtube 的最讚貼文
Thảo Dược Giảm Cân Hiệu Quả : http://bit.ly/3321AY7 - hoặc zalo : 0977337131
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Liên Hệ Quảng Cáo : https://www.facebook.com/HuynhMyBT
Fanpage Miền Tây Vlogs:https://www.facebook.com/mientayvlogs/
Kênh Thứ 2 Của Huỳnh Mỹ : https://goo.gl/ztLYfv
#mientayvlogs #lobsteralaska #lautomhum
NOTE - video thuộc sở hữu của Huỳnh Mỹ - Miền Tây Vlogs - Yêu cầu không reup dưới mọi hình thức ! xin cám ơn
nguồn nhạc sử dụng :
Music provided by Vlog No Copyright Music
Song: Dizaro - Wiki Wiki (Vlog No Copyright Music)
Music provided by Vlog No Copyright Music.
Video Link: https://youtu.be/YIpQIZenJ7E
alaska wiki 在 5 Things We Can Learn From Alaska - YouTube 的美食出口停車場
... <看更多>