ทบทวนความทรงจำอีกครั้ง : "เส้นทางชีวิตการเป็นนักวิชาการของผม"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เส้นทางในชีวิตการเป็นนักวิชาการของผม เริ่มจากการเป็นนักมวยและต่อยมวยหารายได้เรียนหนังสือด้วยตัวเองจนจบการศึกษาระดับปริญญาโทและได้ทำงานเข้าสู่การเป็นนักวิชาการ ดังนี้
1.เส้นทางชีวิตพื้นฐานที่ช่วยเสริมทำให้ผมเกิดเป็นนักวิชาการ
จากชีวิตเด็กบ้านนอกตัวเล็กๆ ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ปี 2529 เรียนจบชั้นประถมที่โรงเรียนวัดสมุหเขตตาราม และ
สอบเข้าเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 (ม.1)โรงเรียนสวนศรีวิทยา โรงเรียนประจำอำเภอ ในขณะเดียวกันก็ชกมวยไทยและชกมวยสากลสมัครเล่นให้โรงเรียนควบคู่กับการเรียนไปด้วย จนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และ ปี 2536 ได้ทุนการศึกษาทุนนักกีฬามวยสากลสมัครที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะนิติศาสตร์
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต ปี 2540 ก็สอบเข้าศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยเดียวกัน ซึ่งรับอิทธิพลทางความคิดจาก ศ.(พิเศษ) ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ในการเลือกเรียนสาขากฎหมายมหาชน และได้รับทุนการศึกษาทุนกีฬามวยสากลสมัครเล่น
หมายเหตุในช่วงเป็นนักมวยไทยและนักมวยสากลสมัครเล่น
มวยไทย (ชื่อมวยไทย รุ่งศักดิ์ ส.วรพิน) ผมเริ่มชกมวย ปี 2527 และเลิกชกมวยไทย ปี 2538 ในปี 2535 -2537 ติดยอดไอ้แอ๊ดระดับประเทศ ต่อยคู่เอกราชดำเนนินและลุมพินีหลายครั้ง
มวยสากลสมัครเล่น เริ่มชกปี 2532 แชมป์โรงเรียน แชมป์จังหวัด เหรียญทองแดงเยาวชนแห่งชาติ แชมป์กีฬามหาวิยาลัยแห่งประเทศไทย 5 สมัย แชมป์กีฬาแห่งชาติและเหรียญทองแดงชิงแชมป์ประเทศไทย
2.เส้นทางชีวตินักวิชาการ
เมื่อผมได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท) สาขากฎหมายมหาชน ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (ปี 2543) และได้เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยณิวัฒนา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเวสเทริ์น) ซึ่งในช่วงสมัยผมเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยณิวัฒนา ผมก็มักจะเข้าไปหาอาจารย์ ดร.พีระพันธุ์ พาลุสข คณบดีบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในขณะนั้น (ปัจจุบันท่านอาจารย์ได้เสียชีวิต ด้วยเส้นโลหิตตีบ ในขณะที่ท่านรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์) อาจารย์สั่งสอนและส่งเสริมผมให้เขียนผลงานทางวิชาการ เริ่มต้นจากการเขียนเอกสารประกอบการสอน โดยอาจารย์ได้แปลคู่มือการเขียนตำรา ที่เป็นคู่มือภาษาฝรั่งเศส มาเป็นภาษาไทย โดยให้ผมจับจดขึ้นมาในเรื่องวิธีการเรียบเรียงและวิธีการเขียน ให้เป็นเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือและงานวิจัย ขึ้นมา
และที่สำคัญผมโชคดีที่ได้ทำวิทยานิพนธ์ กับ ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพทูรย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ท่านสอนวิธีการเขียนวิทยานิพนธ์ วิธีคิดค้นคว้าด้วยตนเอง ทำให้ผมพื้นฐานในการเขียนและเรียบเรียงผลงานทางวิชาการ จนเกิดผลงานทางวิชาการและได้เป็นเคล็ดลับในการเขียนผลงานทางวิชาการที่ผมเขียนผลงานทางวิชาการให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งผมได้รับโอกาสเข้าอบรมประกันคุณภาพการศึกษามาตลอด จนทำให้ผมได้มีรายชื่อที่สามารถเป็นประธานผู้ประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ในสถาบันการศึกษา ของ สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) และผมก็ได้เขียนผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดตามประกันคุณภาพการศึกษามาตลอด จึงเกิดประโยชน์ของตัวผมเองและตัวสถาบันที่ทำงาน และที่สำคัญจงมีความสุขกับการทำงานต้องคิดว่า "การทำงานเยอะยิ่งได้ความรู้เยอะ" สามรถพัฒนาตนเองได้เร็วกว่าคนอื่น อย่าคิดว่าตัวเองทำงานแล้วคนอื่นไม่ทำงานและคิดน้อยใจแล้วไปว่าคนอื่นโวยวายไป นั่นคือ "สิ่งที่บั่นทอนจิตใจเราทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาไปข้างหน้าได้เลย"
ผมเริ่มทำงาน เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาครั้งแรก วันที่ 16 ตุลาคม 2544 ผมเสียเวลา 3 ปีกับการรับงานบริหาร คือ เป็นหัวหน้าแผนกวินัยและพัฒนานักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยณิวัฒนา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเวสเทริ์น) จังหวัดสุพรรณบุรี (ปี 2544-2546) และได้ลาออกไปช่วยเพื่อนทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นเลขานุการ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี (ปี 2546-2548) อยู่ดูแลหลักสูตรจนได้รับรองมาตรฐาน แล้วก็เริ่มเขียนผลงานทางวิชาการ คือ การเขียนตำรากฎหมายเบื้องต้น เอกสารประกอบการสอนวิชา นิติปรัชญา บทความ
ปลายปี 2548 เริ่มมีปัญหากับผู้บริหารสถาบัน (ปัญหาที่ผมออกรายโทรทัศน์ท้องถิ่น วิพากษณ์การทำงานของตำรวจ การทำงานของรัฐบาลทักษิณ ในเชิงหลักวิชาการ แต่ได้การถูกเรียกให้ไปพบผู้บริหารวิทยาลัย ให้ผมทำหนังสือขอโทษต่อรัฐบาลผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ผมยืนยันที่จะไม่ทำหนังสือขอโทษ โดยระบุว่าถ้าผมพูดอะไรล่วงละเมิดหรือหมิ่นประมาท ดำเนินทางกฎหมายต่อผมได้เลย จึงเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผมกับผู้บริหาร) ประจวบกับคิดอยากกลับบ้าน อยากอยู่ใกล้แม่ จึงลาออกมาอยู่ วิทยาลัยตาปี (ปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยตาปี) จังหวัดสุราษฎ์ธานี (ปี 2548) ผมมาอยู่มหาวิทยาลัยตาปี ก็เขียนผลงานทางวิชาการโดยการสนับสนุนจาก ท่านอาจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร.โกเมศขวัญเมือง คณบดี ในการเขียนผลงานทางวิชาการ เอกสารประกอบการสอน ตำรา และบทความทางวิชาการ และ
ในขณะเดียวกันท่านอาจารย์ โกเมศ ขวัญเมือง ท่านได้เสนอให้ผมเป็นผู้ช่วย ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดชุมพร) ให้ผมเข้าเรียนรู้งานในฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะอนุกรรมาธิการป้องกันและปรามปรามการทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ผมได้พบนักกฎหมาย ที่เป็นนักการเมือง นักวิชาการที่เข้ามาเป็นกรรมาธิการที่มีความรู้ทางกฎหมายโดยเฉพาะทางด้านกฎหมายมหาชน ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มมากขึ้นในการเขียนตำรา/บทความความ และทางกรรมาธิการมีการจัดอบรมเสวนาให้ความรู้กฎหมายแก่ประชาชน ผมได้รับแต่งตั้งเป็นวิทยากรของคณะกรรมาธิการเพื่อบรรยายกฎหมายทำให้ผมต้องค้นคว้าเอกสารเพิ่มมากขึ้นและสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นทำให้ผมสามารถเขียนผลงานวิชาการได้อีก
ในเดือนตุลา 2550 ผมก็เสนอขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) และซึ่งในขณะนั้นผมได้รับมอบหมายให้ทำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชนด้วย (หลักสูตร ปโท) และจัดทำหลักสูตรสำเร็จ เปิดดำเนินการผมทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตรฯ หน้าที่ของผมต้องทำงานดูแลหลักสูตรเกือบทั้งหมด ไม่ว่าเป็นด้านการจัดเอกสาร การจัดทำงบประมาณ และประสานงานต่างๆ รวมไปถึงการจัดตารางเรียนตารางสอน ประสานงานอาจารย์ผู้สอน ปโท ในช่วงเวลานี้เองผมได้เขียนผลงานทางวิชาการเสนอต่ออาจารย์ที่มาสอนพิเศษในหลักสูตร ป.โท ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มมากขึ้นและมีงานเพิ่มมากขึ้น เข่น ความรู้ในการเขียนบทความ เขียนตำรา เขียนงานวิจัย
และในขณะเดียวกัน (ปี 2551-2553) ผมได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการไกล่ข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งอนุกรรมาธิการคณะเดียวกัน ในคณะกรรมาธิการการยุติธรรมการตำรวจ วุฒิสภา อีกตำแหน่งหนึ่ง
ในคณะอนุกรรมาธิการทำหน้าท่ียกร่างกฎหมายไกล่ข้อพิพาทในชั้นสอบสวน และได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ด้วยกันในเวลานั้น ผมจึงรู้เรียนงานจากประสบการณ์ประชุม การสัมมนา ต่างๆ
และสิ่งที่สำคัญในช่วงเวลานั้น ผมทำงาน 7 วัน คือ 3 วัน จันทร์ อังคาร พุธ อยู่กรุงเทพฯ (วันหยุดผมจันทร์ อังคาร ส่วนวันพุธ ขออนุญาติโดยมีหนังสือขอตัวจากวุฒิสภา) 4 วัน พฤหัส ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ทำงานที่มหาลัยตาปี ผมใช้ชีวิตแบบนี้ 3 ปี (2551-2553) เต็มในการทำงานแบบไม่มีวันหยุด อยู่ในแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ห้องสมุดรัฐสภา ทำให้มีโอกาสค้นคว้าเอกสารและเขียนงานวิจัย เขียตำรา เขียนบทความวิชาการ และหนังสือเพิ่มมากขึ้น เกิดตำราและหนังสือที่ได้ตีพิมพ์หลายเล่ม รวมไปถึงบทความที่ได้รับตีพิมพ์มากกว่า 30 เรื่อง
เดือนตุลา ปี 2554 (ผมใช้เวลาอีก 4 ปี หลังจากได้รับตำแหน่ง ผศ. ซึ่งผมขอ ผศ.ปี กย.2550) ผมก็ยื่นเสนอขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (รศ.) และได้ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยตาปี ในปี 56 มีผลย้อนหลัง ปี 2554 และขณะเดียวกันผมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยควบคู่กับผู้อำนวยการบริการวิชาการ
อีกงานหนึ่งเป็นการบริการวิชาการให้กับท้องถิ่น ซึ่งทางมหาลัยได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎ์ธานี โดยมอบหมายให้ผมเป็นผู้ประสานงาน ผมได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายและแผนนโยบายให้กับ องค์การบริหารส่วนตำบล (ปี2552-2556) ไปด้วย ได้วางแผนพัฒนา จนองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งนี้ได้รับรางวัลชมเชยพระปกเกล้า ในการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ซึ่งในช่วงที่เป็นที่ปรึกษาให้กับ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีการร้องขอให้คณะนิติศาสตร์ ให้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตะเคียนทอง ก็ได้ทำโครงการวิจัยดังกล่าว โดย มี รองศาสตราจารย์ ดร.โกเมศ ขวัญเมือง เป็นหัวหน้าโครงการ ผมเป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัยนี้ด้วย
ต่อมาผมได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยตาปี เมื่อมีนาคม 2556 ผมได้มาทำงานที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (เริ่มงาน ตุลา 2556)
ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ของรศ.ผมต้องให้ เกิดปัญหา คือ
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ของสถาบันเอกชนต้องให้ สกอ.รับรอง ซึ่งสถาบันได้ส่งเอกสารชี้แจงให้กับ สกอ.รับรอง ช้า ทำให้ สกอ.พิจารณารับรองโดยใช้เกณฑ์ ประกาศ กพอ. เผยแพร่ผลงานวิชาการ 2556 มาพิจารณาเผยแพร่ผลงานผม ทั้งที่ผมเผยแพร่ผลงาน ปี 2552 แต่เอาเกณฑ์ปี 56 มาพิจารณา และสภามหาวิทยาลัยแห่งนั้นไม่นำเสนอเอกสารพิจารณายืนยันให้กับผม ทำให้ ทำให้สกอ.ไม่รับรอง ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ในส่วนของการเผยแพร่ผลงาน แต่รับรองผลงานวิชาการทั้งหมด
ทำให้ต้องยื่นเสนอ รศ.ใหม่ คือ ด้วยการ การเขียนผลงานเผยแพร่ คือ บทความวิจัย 2 เรื่อง (ส่วนงานวิจัย หนังสือ ตำรา รับรองใช้ได้ )
ผมจะยื่นใหม่ในปี 2557 ในสถาบันใหม่ก็ยื่นไม่ได้ เพราะไม่มีระเบียบการขอและการเทียบตำแหน่งทางวิชาการของมหาลัยรอวรับ และต้องรอให้ระเบียบออกมารองรับ
และผมได้ยื่น รศ. เสนอใหม่ ในปี 2558 แต่คณะได้พิจารณาว่าผมเผยแพร่ผลงานซ้ำผิดจรรยาบรรณ เสนอให้มหาวิทยาลัยพิจารณา มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอหารือ ไปที่ สกอ. ซึ่ง ใช้เวลาพิจารณาตอบข้อ หารือ มาถึง มหาลัย ปลายปี 2559 ว่าไม่ได้มีการซ้ำซ้อน เพราะการเผยแพร่ใหม่ คือ บทความวิจัย ไม่ใช่บทความรายงานวิจัย ถ้าบทความรายงานวิจัยเผยแพร่ได้ครั้งเดียว แต่บทความวิจัย คือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของการงานวิจัย และทำให้ผมเสียเวลาไป ปี กว่า
และสุดท้าย มหาวิทยาลัย รับการยื่น รศ. เป็นทางการในเดือนธันวาคม 2559 ส่งให้ผู้ทรงอ่าน บทความวิจัย 2 เรื่อง ผลงานการอ่านส่งมาครบ ในต้นปี 2562
ปัญหาต้องเกิดอีกครั้ง คือ มีคนร้องเรียนถึงรักษาการอธิการบดีว่าผลงานผมเผยแพร่ซ้ำและเผยแพร่ผลงาน นั้นมีชื่อผม คนเดียว แต่งานวิจัย ทำกันหลายคน ให้ผมทำหนังสือชี้แจง และผมได้ทำหนังสือชี้แจงต่อมหาลัย
คือ ผมได้เผยแพร่ ผลงานบทความวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งงานวิจัย และเผยแพร่ในส่วนงานวิจัยในบทหรือส่วนที่ผมรับผิดชอบ ไม่ได้เขียนในส่วนที่ไม่ได้รับผิดชอบ ส่วนบทความรายงานวิจัยที่ผมเขียนไปครั้งแรกที่เผยแพร่ใน ปี 2552 นั้นเสนอชื่อไปทุกคนที่ทำวิจัย
และต่อมาผ่านมาอีก 3 เดือน มีหนังสือให้ผมทำหนังสือชี้แจงและให้ผู้วิจัยร่วม ทำหนังสือยินยอมว่าไม่มีส่วนร่วมในการเขียนบทความวิจัย รับทราบและยินยอมการเขียนบทความวิจัยนี้ ผมต้องใช้ความพยายามประสานงานกับผู้ร่วมวิจัย โดยให้ภรรยาไปรับเอกสารจากผู้ร่วมวิจัย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่เป็นภาระอย่างมาก แต่ภรรยาก็สามารถเอาเอกสารนั้นมาได้ทั้งหมด เสนอต่อมหาวิทยาลัย
และได้ผ่านการประชุมพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ อีกครั้ง ผ่านคณะกรรมพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านสภาวิชาการ และวันนี้ 17 กันยายน 2562 ผ่านสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแต่งตั้งให้ผม ดำรงตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์” อีกครั้ง มีผลย้อนหลังปี เดือนธันวาคม 2559
สรุป นับได้ว่าตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ของผมได้รับการอนุมัติ จากสภามหาวิทยาลัย 2 ครั้ง และภายใต้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติสถาบันเอกชน พ.ศ .2546 กับพระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยปัญหาทึ่เกิดจากเทคนิคที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาคุณภาพของผลงานเลยสักนิดเดียว แต่เป็นปัญหาในเรื่องทางเทคนิครูปแบบขั้นตอน (เงื่อนไข)
「16 ตุลาคม 2546」的推薦目錄:
- 關於16 ตุลาคม 2546 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於16 ตุลาคม 2546 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於16 ตุลาคม 2546 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於16 ตุลาคม 2546 在 จ้อจี้ Classic ออกอากาศ 16 ตุลาคม 2546 - YouTube 的評價
- 關於16 ตุลาคม 2546 在 21 มิถุนายน 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวง ... 的評價
- 關於16 ตุลาคม 2546 在 การวิเคราะห์ถิ่นอาศัยของเลียงผา 的評價
16 ตุลาคม 2546 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“สถานะทางกฎหมายของ “มติคณะรัฐมนตรี”
คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด ในปัจจุบันภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
เมื่อพิจาณาถึงการกระทำของคณะรัฐมนตรี สามารถแยกการกระทำออกได้ เป็น 2 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 เป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ถือว่า กระทำการในฐานะที่เป็น “รัฐบาล” หรือ เรียกว่า “การทำทางการเมือง”
ลักษณะที่ 2 เป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ ถือว่ากระทำการในฐานะที่เป็น “องค์กรฝ่ายปกครอง” หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง” ซึ่งเฉพาะแต่การกระทำที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ (พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ) เท่านั้นที่ถือว่าเป็น “การกระทำทางปกครอง”
การกระทำของคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 ส่วนนี้ยากที่แยกออกจากันได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีความเกี่ยวพันกันอยู่เสมอ จึงมีปัญหาสถานะและผลทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีว่ามีเพียงใด
ข้อพิจารณาสถานะทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรี
ในอดีตมีความเข้าใจว่า “มติคณะรัฐมนตรีมิใช่กฎหมาย” เนื่องจากเข้าใจกันว่า “กฎหมาย” หมายถึง กฎที่มีศักดิ์ระดับสูง เช่น กฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ กฎหมายลำดับรอง หรือ กฎ แต่ในปัจจุบันนักกฎหมายได้ยอมรับแล้วว่า หากมติคณะรัฐมนตรีใดมีลักษณะเป็นการสร้างกฎเกณฑ์และระบบกฎหมายยอมรับบังคับใช้กฎเกณฑ์ตามนั้น มติคณะรัฐมนตรีก็ย่อมเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” หรือ บางกรณีคณะรัฐมนตรีใดใช้อำนาจกระทำผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงระงับสิทธิของประชาชน ย่อมเป็น “คำสั่งทางปกครอง”
ดังนั้น ในการพิจารณาสถานะทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรี จึงต้องพิจารณาเนื้อหาและผลบังคับใช้ของมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งสามารถจำแนกมติคณะรัฐมนตรีออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1.มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็นการกระทำทางนโยบาย
มติคณะรัฐมนตรีในลักษณะนี้เป็นการกำหนดแนวทางการบริหารงานแผ่นดินอย่างใดอย่างหยึ่ง นอกเหนือจากที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เช่น ในความสัมพันธ์กับต่างประเทศหรือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรือในการกำหนดแนวทางปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น การใช้ศัพท์ภาษต่างๆ เป็นต้น จึงไม่ใช่กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย นอกจากนี้มติคณะรัฐมนตรีในบางกรณีก็เป็นเพียงการดำเนินงานภายในของฝ่ายปกครองที่ยังไม่ผลกระสิทธิของบุคคลใด ๆ ไม่มีผลทางกฎหมายโดยตรงสู่บุคคลภายนอกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่เป็นกฎ และคำสั่งทางปกครอง เป็นเพียงแต่มาตรการภายในของฝ่ายปกครองเท่านั้น
ตัวอย่างตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “การกระทำทางนโยบาย”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.14/2546
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2533 เรื่อง ห้ามส่งงูมีชีวิตและหนังงูที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร ไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีผลบังคับกับหน่วยงานหรือบุคคลภายในองค์กรบริหาร ไม่มีสภาพเป็นกฎตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ เป็นแต่เพียง “นโยบายของฝ่ายบริหาร” เกี่ยวกับการส่งออกงูมีชีวิตทุกชนิดทั้งหนังงูทุกชนิดที่ยังไม่แปรรูปออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งยังไม่มีผลทางกฎหมายโดยตรงไปสู่ภายนอก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จะต้องรับไปดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เช่นออกกฎกระทรวงหรือประกาศ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตในเรื่องดังกล่าว มติคณะรัฐมนตรีจึงไม่มีสภาพเป็นกฎ
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.5/2546
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2538 และวันที่ 17 กันยายน 2549 เรื่อง การนับอายุบุคคลเพื่อคำนวณวันเกษียณอายุราชการ ที่ให้ถือปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ เป็นเพียงการอธิบายบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อการปฏิบัติตามเท่านั้น มิได้มีสภาพเป็นกฎ
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.9/2549 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548ที่อนุมัติให้บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งแปรรูปมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระดมทุนเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม รวมทั้งเห็นชอบให้มีการจัดสรรกำลังการผลิตให้กับบริษัทดังกล่าว ในปี 2549-2558 เป็นเรื่อง “การกำหนดนโยบาย” เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะในด้านของการผลิตไฟฟ้าจำหน่ายประชาชนของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ มิได้มีลักษณะเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ จึงไม่มีลักษณะเป็นกฎ
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.51/2549
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ที่เห็นชอบให้แปลงสภาพองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)โดนการแปลงทุนขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นทุนเรือนหุ้นและให้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง บมจ. อสทม ไม่มีสภาพเป็นกฎ
2. มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง”
มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการและข้าราชการถือปฏิบัติเป็นการทั่วไป แม้ไม่มีผลเป็นกฎหมายโดยตรง แต่ส่วนราชการต่าง ๆ สามารถนำมติคณะรัฐมนตรีไปใช้บังคับกับข้อเท็จจริงกรณีต่าง ๆ ให้เกิดผลในทางกฎหมายได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น การกำหนดวันหยุดราชการ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม หากส่วนราชการหรือข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องได้รับผลกระทบในทางร้าย โดยถือเป็นความผิดทางวินัยโดยตรงฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีในกรณีนี้จึงมีผลบังคับตามความเป็นจริงและย่อมมีฐานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” เช่น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ที่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ ที่ให้สิทธิพิเศษแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ด้วยการให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ขององค์การโทรศัพท์เป็นลำดับแรก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมติคณะรัฐมนตรีที่วางกฎเกณฑ์ให้ส่วนราชการหรือข้าราชการปฏิบัตินี้ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายของฝ่ายบริหารที่กฎหมายรองรับ จึงต้องถือว่ามติดังกล่าวไม่มีผลบังคับให้ประชาชนหรือบุคคลนอกระบบราชการต้องปฏิบัติตามโดยตรงแต่ถือเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” ได้เช่นกัน เช่น
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง อาจมีกรณีเรื่องใดเรื่องหนึ่งบัญญัติไว้โดยตรงให้คณะรัฐมนตรีออกกฎหมายลำดับรองได้ ซึ่งในกรณีต้องถือว่ามติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีสภาพเป็น “กฎหมายลำดับรอง” หรือเป็น “กฎ” ที่เป็นลูกบท เช่น คณะรัฐมนตรีมีมติให้วางระเบียบ โดยที่มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการ มีข้อแตกต่างจากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายของฝ่ายบริหาร โดยมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ แต่มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายของฝ่ายบริหารเป็นเพียงการใช้อำนาจให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์รูปแบบนั้น ๆ ในฐานะที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด จึงไม่ใช่กฎเกณฑ์ตามรูปแบบ ตัวอย่างมติคณะรัฐมนตรีที่วางระเบียบถือว่าเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” และที่สำคัญคือ กำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าที่ พ.ศ.2539 เป็นต้น
เมื่อพิจารณาตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ให้ความหมายของ กฎ หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ เห็นว่า “กฎ” ตามบทบัญญัตินี้เป็น “กฎหมายลำดับรอง” ที่ออกโดยองค์กรบริหารหรือองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งนอกจากพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ อันเป็นกฎหมายตามแบบพิธีหรือเป็นกฎตามรูปแบบแล้ว ยังรวมถึงมาตรการหรือหลักเกณฑ์ทั่วไปที่มีผลให้ผู้อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตาม ซึ่งมิใช่มีผลทางกฎหมายโดยตรงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร อันเป็นกฎหมายตามเนื้อความหรือเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” โดยสภาพ คำว่า “มีผลบังคับ “เป็นการทั่วไป” ไม่ได้หมายความว่าต้องมีผลบังคับแก่ประชาชนทุกคน อาจมีผลบังคับเฉพาะประเภทของบุคคลก็ได้ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่อยู่ในบังคับนั้นจะมีจำนวนเท่าใดเพียงแต่ไม่ใช่มีผลบังคับเจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น”
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเป็นการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินในการตัดสินใจร่วมกันของคณะรัฐมนตรี อำนาจนี้อาจมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือบทบัญญัติของกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติต่างๆ รวมทั้งระเบียบ หรือธรรมเนียมปฏิบัติ
ดังนั้นคณะรัฐมนตรีมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านนโยบายเท่านั้น แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นองค์กรสูงสุดของฝ่ายปกครองด้วย มติคณะรัฐมนตรีจึงอาจมีลักษณะเป็นงานนโยบายซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางและนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่หน่วยงานที่ควบคุมดูแล หรือรับผิดชอบในเรื่องนั้นจะต้องรับไปดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี หรืออาจมีลักษณะเป็นคำสั่งซึ่งมีผลทางกฎหมายโดยตรงเป็นกรณีเฉพาะราย หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรืออาจมีลักษณะเป็นกฎซึ่งมีผลเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ผู้อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตามมิได้มีผลทางกฎหมายโดยตรงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในกรณีที่เป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” นั้น อาจเป็นกฎที่เป็นลูกบท เช่น กฎหมายบางฉบับกำหนดให้คณะรัฐมนตรีออก “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” หรือ อาจใช้อำนาจออก “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” ได้อิสระ โดยอาศัย “หลักการทั่วไป” ที่คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องมีอำนาจดูแลการใช้บังคับกฎหมายและการจัดการองค์กรให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ทำนองเดียวกับอำนาจของผู้บังคับบัญชาขององค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นอำนาจทั่วไปในการจัดองค์กรและเป็นเรื่องการวางหลักเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในกรณีต่างๆ ให้เกิดผลทางกฎหมายได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น มติคณะรัฐมนตรีที่เป็น “กฎ” นี้มุ่งต่อผลในกฎหมายแก่บุคคลในองค์กรฝ่ายบริหารโดยหน่วยงานและบุคคลในองค์กรฝ่ายบริหารต้องปฏิบัติตาม ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินมีบทบัญญัติหลายมาตราที่บัญญัติรองรับการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่างๆ ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เช่น การไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างหนึ่งและคณะรัฐมนตรีเคยมีมติให้หน่วยราชการกำชับเจ้าหน้าที่ให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด หากฝ่าฝืนให้พิจารณาลงโทษทางวินัยทุกราย นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีอำนาจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรเหล่านั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจควบคุมกำกับดูแลพนักงานของรัฐในองค์กรดังกล่าวด้วย มติคณะรัฐมนตรีในลักษณะนี้จึงมีสภาพบังคับในทางปกครอง หรือมีผลทางกฎหมายให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมตลอดถึงข้าราชการและพนักงานของรัฐในหน่วยงานดังกล่าวต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนย่อมมีความรับผิดตามมา
ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติที่ผู้อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตาม จึงมีสถานะทางกฎหมายเป็นกฎตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แม้จะมิได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา อย่างไรก็ตาม มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบต่อประชาชนได้ด้วยทั้งที่ประชาชนไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งบางกรณีอาจเป็นผลกระทบที่สำคัญที่ต้องให้ความเยียวยาทางกฎหมาย(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ 26/2546)
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “กฎ” หรือ กฎหมายลำดับรอง
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.26/2546
มติคณะรัฐมนตรีที่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติซึ่งบุคคลในองค์กรฝ่ายบริหารต้องปฏิบัติตามโดยมีสภาพบังคับ มีสถานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ดังนั้น มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้สิทธิพิเศษแก่ ทศท. ในการให้บริการเลขหมายโทรศัพท์แก่หน่วยงานของรัฐ อันเป็นการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษตามข้อ 26 (2) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ อันมีสภาพบังคับเป็นการทั่วไปกับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องปฏิบัติตาม จึงมีสถานะเป็นกฎ การให้สิทธิพิเศษแก่ ทศท. ตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีข้างต้น อันมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นคู่สัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนกับ ทศท. ไม่อาจให้บริการแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถือว่าเป็นการออกกฎอันเป็นการลดสิทธิหรือจำกัดสิทธิตามสัญญาฯ ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการให้ความคุ้มครองสิทธิแก่ผู้เข้าทำสัญญาจัดทำบริการสาธารณะหรือสัญญาสัมปทานกับรัฐตามนัยมาตรา 335 (2) ของรัฐธรรมนูญฯ และมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อสิทธิตามสัญญาฯ ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งขัดกับหลักความเสมอภาคตามที่มาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญฯ บัญญัติรับรองไว้ กรณีจึงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีมาจำกัดสิทธิของผู้ฟ้องคดีที่มีอยู่ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.14/2548
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ซึ่งรับทราบมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสมอคณะรัฐมนตรีที่ให้จ่ายเงินเพิ่มพิเศษในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นพนักงานในตำแหน่งสายงานหลักซึ่งหาบุคลากรทดแทนได้ยาก และปฏิบัติงานด้าน Science and Technology ซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มเติมพิเศษอยู่เดิมก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ระงับการจ่าย และมีตำแหน่งต่ำกว่าระดับผู้อำนวยการฝ่ายหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกซึ่งเป็นอย่างอื่นลงมา มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็ฯการเฉพาะ จึงมีลักษณะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 101/2546
มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่มีผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา มีลักษณะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” และมีสภาพบังคับเป็นการทั่วไปให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต้องถือปฏิบัติตาม
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 501/2548
มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่น และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติ นั้น มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ภายในของฝ่ายบริหารที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองและให้ประโยชน์แก่เอกชนที่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตาม จึงมีสถานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง”
3.มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง
มติคณะรัฐมนตรีที่มีผลทางกฎหมายโดยตรงเป็นกรณีเฉพาะราย ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายต่างๆ เช่น กรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีลักษณะเป็นคำสั่งในทางสาระของเรื่องเฉพาะเรื่อง เช่น การวินิจให้กระทรวง ทบวง กรมใดปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการพลเรือน เป็นต้น หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการในตำแหน่งระดับสูงต่างๆ ถือว่ามีสถานะเป็น “คำสั่งทางปกครอง”
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “คำสั่งทางปกครอง”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 465/2547
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และจำนวนเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคล จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ให้ผู้ใดมีสิทธิและไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยพิเศษฯ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ เป็น “คำสั่งทางปกครอง” ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.240/2553
ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเกิดขึ้นและเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดินและจากการใช้ร่วมกันของราษฎรมานาน โดยไม่ต้องมีประกาศพระราชกฤษฎีกาสงวนไว้ หรือขึ้นทะเบียน หรือทางราชการประกาศกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เช่นนั้น ตามมาตรา 1304 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และต่อมาสภาพบริเวณที่ดินพิพาท เมื่อมีราษฎรเข้าไปเก็บหาของป่า ตัดไม้ปลูกบ้าน ทำฟืน เพื่อการดำรงชีวิต หรือประกอบอาชีพ จนทำให้กลายสภาพเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า และมีราษฎรบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน โดยทางราชการจะได้กำหนดให้ที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านาอินและป่านายาง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 เป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองจากเดิมซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มาเป็นตำบลดงประคำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2507 และพื้นที่จัดสรรห้วยน้ำเลาหรือห้วยคำเลาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2509 ก็หามีผลทำให้ที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นที่ดินที่มิใช่ที่สาธารณสมบัติ ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพราะมติคณะรัฐมนตรีมีฐานะเป็นเพียงคำสั่งของฝ่ายบริหาร (คำสั่งทางแกครอง) จึงไม่อาจนำมาลบล้างผลทางกฎหมายกับกรณีนี้ได้ ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดี (นายอำเภอพรหมพิราม) ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งอาจออกเอกสารสิทธิให้ราษฎรผู้เข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ตามมาตรา 1304 (1) แห่งประมวลกฎหมายเดียวกัน จึงฟังไม่ขึ้น
สรุปได้ว่า มติคณะรัฐมนตรีมีหลากหลายสถานะ บางกรณีถือเป็นการกระทำที่เป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” บางกรณีถือเป็นการกระทำที่เป็น “คำสั่งทางปกครอง” บางกรณีถือเป็น “การกระทำทางนโยบาย” ซึ่งต้องทำการศึกษาพิจารณาศึกษาจำแนกเนื้อหาและผลบังคับใช้ของมติคณะรัฐมนตรีถึงจะทราบถึงสถานะทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีได้
16 ตุลาคม 2546 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"เส้นทางชีวิตการเป็นนักวิชาการของผม"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เส้นทางในชีวิตการเป็นนักวิชาการของผม เริ่มจากการเป็นนักมวยและต่อยมวยหารายได้เรียนหนังสือด้วยตัวเองจนจบการศึกษาระดับปริญญาโทและได้ทำงานเข้าสู่การเป็นนักวิชาการ ดังนี้
1.เส้นทางชีวิตพื้นฐานที่ช่วยเสริมทำให้ผมเกิดเป็นนักวิชาการ
จากชีวิตเด็กบ้านนอกตัวเล็กๆ ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ปี 2529 เรียนจบชั้นประถมที่โรงเรียนวัดสมุหเขตตาราม และ
สอบเข้าเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 (ม.1)โรงเรียนสวนศรีวิทยา โรงเรียนประจำอำเภอ ในขณะเดียวกันก็ชกมวยไทยและชกมวยสากลสมัครเล่นให้โรงเรียนควบคู่กับการเรียนไปด้วย จนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และ ปี 2536 ได้ทุนการศึกษาทุนนักกีฬามวยสากลสมัครที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะนิติศาสตร์
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต ปี 2540 ก็สอบเข้าศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยเดียวกัน ซึ่งรับอิทธิพลทางความคิดจาก ศ.(พิเศษ) ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ในการเลือกเรียนสาขากฎหมายมหาชน และได้รับทุนการศึกษาทุนกีฬามวยสากลสมัครเล่น
หมายเหตุในช่วงเป็นนักมวยไทยและนักมวยสากลสมัครเล่น
มวยไทย (ชื่อมวยไทย รุ่งศักดิ์ ส.วรพิน) ผมเริ่มชกมวย ปี 2527 และเลิกชกมวยไทย ปี 2538 ในปี 2535 -2537 ติดยอดไอ้แอ๊ดระดับประเทศ ต่อยคู่เอกราชดำเนนินและลุมพินีหลายครั้ง
มวยสากลสมัครเล่น เริ่มชกปี 2532 แชมป์โรงเรียน แชมป์จังหวัด เหรียญทองแดงเยาวชนแห่งชาติ แชมป์กีฬามหาวิยาลัยแห่งประเทศไทย 5 สมัย แชมป์กีฬาแห่งชาติและเหรียญทองแดงชิงแชมป์ประเทศไทย
2.เส้นทางชีวตินักวิชาการ
เมื่อผมได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท) สาขากฎหมายมหาชน ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (ปี 2543) และได้เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยณิวัฒนา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเวสเทริ์น) ซึ่งในช่วงสมัยผมเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยณิวัฒนา ผมก็มักจะเข้าไปหาอาจารย์ ดร.พีระพันธุ์ พาลุสข คณบดีบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในขณะนั้น (ปัจจุบันท่านอาจารย์ได้เสียชีวิต ด้วยเส้นโลหิตตีบ ในขณะที่ท่านรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์) อาจารย์สั่งสอนและส่งเสริมผมให้เขียนผลงานทางวิชาการ เริ่มต้นจากการเขียนเอกสารประกอบการสอน โดยอาจารย์ได้แปลคู่มือการเขียนตำรา ที่เป็นคู่มือภาษาฝรั่งเศส มาเป็นภาษาไทย โดยให้ผมจับจดขึ้นมาในเรื่องวิธีการเรียบเรียงและวิธีการเขียน ให้เป็นเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือและงานวิจัย ขึ้นมา
และที่สำคัญผมโชคดีที่ได้ทำวิทยานิพนธ์ กับ ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพทูรย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ท่านสอนวิธีการเขียนวิทยานิพนธ์ วิธีคิดค้นคว้าด้วยตนเอง ทำให้ผมพื้นฐานในการเขียนและเรียบเรียงผลงานทางวิชาการ จนเกิดผลงานทางวิชาการและได้เป็นเคล็ดลับในการเขียนผลงานทางวิชาการที่ผมเขียนผลงานทางวิชาการให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งผมได้รับโอกาสเข้าอบรมประกันคุณภาพการศึกษามาตลอด จนทำให้ผมได้มีรายชื่อที่สามารถเป็นประธานผู้ประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ในสถาบันการศึกษา ของ สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) และผมก็ได้เขียนผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดตามประกันคุณภาพการศึกษามาตลอด จึงเกิดประโยชน์ของตัวผมเองและตัวสถาบันที่ทำงาน และที่สำคัญจงมีความสุขกับการทำงานต้องคิดว่า "การทำงานเยอะยิ่งได้ความรู้เยอะ" สามรถพัฒนาตนเองได้เร็วกว่าคนอื่น อย่าคิดว่าตัวเองทำงานแล้วคนอื่นไม่ทำงานและคิดน้อยใจแล้วไปว่าคนอื่นโวยวายไป นั่นคือ "สิ่งที่บั่นทอนจิตใจเราทำให้เราไม่สามารถที่จะพัฒนาไปข้างหน้าได้เลย"
ผมเริ่มทำงาน เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาครั้งแรก วันที่ 16 ตุลาคม 2544 ผมเสียเวลา 3 ปีกับการรับงานบริหาร คือ เป็นหัวหน้าแผนกวินัยและพัฒนานักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยณิวัฒนา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเวสเทริ์น) จังหวัดสุพรรณบุรี (ปี 2544-2546) และได้ลาออกไปช่วยเพื่อนทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นเลขานุการ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี (ปี 2546-2548) อยู่ดูแลหลักสูตรจนได้รับรองมาตรฐาน แล้วก็เริ่มเขียนผลงานทางวิชาการ คือ การเขียนตำรากฎหมายเบื้องต้น เอกสารประกอบการสอนวิชา นิติปรัชญา บทความ
ปลายปี 2548 เริ่มมีปัญหากับผู้บริหารสถาบัน (ปัญหาที่ผมออกรายโทรทัศน์ท้องถิ่น วิพากษณ์การทำงานของตำรวจ การทำงานของรัฐบาลทักษิณ ในเชิงหลักวิชาการ แต่ได้การถูกเรียกให้ไปพบผู้บริหารวิทยาลัย ให้ผมทำหนังสือขอโทษต่อรัฐบาลผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ผมยืนยันที่จะไม่ทำหนังสือขอโทษ โดยระบุว่าถ้าผมพูดอะไรล่วงละเมิดหรือหมิ่นประมาท ดำเนินทางกฎหมายต่อผมได้เลย จึงเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผมกับผู้บริหาร) ประจวบกับคิดอยากกลับบ้าน อยากอยู่ใกล้แม่ จึงลาออกมาอยู่ วิทยาลัยตาปี (ปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยตาปี) จังหวัดสุราษฎ์ธานี (ปี 2548) ผมมาอยู่มหาวิทยาลัยตาปี ก็เขียนผลงานทางวิชาการโดยการสนับสนุนจาก ท่านอาจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร.โกเมศขวัญเมือง คณบดี ในการเขียนผลงานทางวิชาการ เอกสารประกอบการสอน ตำรา และบทความทางวิชาการ และ
ในขณะเดียวกันท่านอาจารย์ โกเมศ ขวัญเมือง ท่านได้เสนอให้ผมเป็นผู้ช่วย ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดชุมพร) ให้ผมเข้าเรียนรู้งานในฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะอนุกรรมาธิการป้องกันและปรามปรามการทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ผมได้พบนักกฎหมาย ที่เป็นนักการเมือง นักวิชาการที่เข้ามาเป็นกรรมาธิการที่มีความรู้ทางกฎหมายโดยเฉพาะทางด้านกฎหมายมหาชน ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มมากขึ้นในการเขียนตำรา/บทความความ และทางกรรมาธิการมีการจัดอบรมเสวนาให้ความรู้กฎหมายแก่ประชาชน ผมได้รับแต่งตั้งเป็นวิทยากรของคณะกรรมาธิการเพื่อบรรยายกฎหมายทำให้ผมต้องค้นคว้าเอกสารเพิ่มมากขึ้นและสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นทำให้ผมสามารถเขียนผลงานวิชาการได้อีก
ในเดือนตุลา 2550 ผมก็เสนอขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) และซึ่งในขณะนั้นผมได้รับมอบหมายให้ทำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชนด้วย (หลักสูตร ปโท) และจัดทำหลักสูตรสำเร็จ เปิดดำเนินการผมทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตรฯ หน้าที่ของผมต้องทำงานดูแลหลักสูตรเกือบทั้งหมด ไม่ว่าเป็นด้านการจัดเอกสาร การจัดทำงบประมาณ และประสานงานต่างๆ รวมไปถึงการจัดตารางเรียนตารางสอน ประสานงานอาจารย์ผู้สอน ปโท ในช่วงเวลานี้เองผมได้เขียนผลงานทางวิชาการเสนอต่ออาจารย์ที่มาสอนพิเศษในหลักสูตร ป.โท ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มมากขึ้นและมีงานเพิ่มมากขึ้น เข่น ความรู้ในการเขียนบทความ เขียนตำรา เขียนงานวิจัย
และในขณะเดียวกัน (ปี 2551-2553) ผมได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการไกล่ข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งอนุกรรมาธิการคณะเดียวกัน ในคณะกรรมาธิการการยุติธรรมการตำรวจ วุฒิสภา อีกตำแหน่งหนึ่ง
ในคณะอนุกรรมาธิการทำหน้าท่ียกร่างกฎหมายไกล่ข้อพิพาทในชั้นสอบสวน และได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ด้วยกันในเวลานั้น ผมจึงรู้เรียนงานจากประสบการณ์ประชุม การสัมมนา ต่างๆ
และสิ่งที่สำคัญในช่วงเวลานั้น ผมทำงาน 7 วัน คือ 3 วัน จันทร์ อังคาร พุธ อยู่กรุงเทพฯ (วันหยุดผมจันทร์ อังคาร ส่วนวันพุธ ขออนุญาติโดยมีหนังสือขอตัวจากวุฒิสภา) 4 วัน พฤหัส ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ทำงานที่มหาลัยตาปี ผมใช้ชีวิตแบบนี้ 3 ปี (2551-2553) เต็มในการทำงานแบบไม่มีวันหยุด อยู่ในแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ห้องสมุดรัฐสภา ทำให้มีโอกาสค้นคว้าเอกสารและเขียนงานวิจัย เขียตำรา เขียนบทความวิชาการ และหนังสือเพิ่มมากขึ้น เกิดตำราและหนังสือที่ได้ตีพิมพ์หลายเล่ม รวมไปถึงบทความที่ได้รับตีพิมพ์มากกว่า 30 เรื่อง
เดือนตุลา ปี 2554 (ผมใช้เวลาอีก 4 ปี หลังจากได้รับตำแหน่ง ผศ. ซึ่งผมขอ ผศ.ปี กย.2550) ผมก็ยื่นเสนอขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (รศ.) และได้ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยตาปี ในปี 56 มีผลย้อนหลัง ปี 2554 และขณะเดียวกันผมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยควบคู่กับผู้อำนวยการบริการวิชาการ
อีกงานหนึ่งเป็นการบริการวิชาการให้กับท้องถิ่น ซึ่งทางมหาลัยได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎ์ธานี โดยมอบหมายให้ผมเป็นผู้ประสานงาน ผมได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายและแผนนโยบายให้กับ องค์การบริหารส่วนตำบล (ปี2552-2556) ไปด้วย ได้วางแผนพัฒนา จนองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งนี้ได้รับรางวัลชมเชยพระปกเกล้า ในการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ซึ่งในช่วงที่เป็นที่ปรึกษาให้กับ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีการร้องขอให้คณะนิติศาสตร์ ให้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตะเคียนทอง ก็ได้ทำโครงการวิจัยดังกล่าว โดย มี รองศาสตราจารย์ ดร.โกเมศ ขวัญเมือง เป็นหัวหน้าโครงการ ผมเป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัยนี้ด้วย
ต่อมาผมได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยตาปี เมื่อมีนาคม 2556 ผมได้มาทำงานที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (เริ่มงาน ตุลา 2556)
ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ของรศ.ผมต้องให้ เกิดปัญหา คือ
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ของสถาบันเอกชนต้องให้ สกอ.รับรอง ซึ่งสถาบันได้ส่งเอกสารชี้แจงให้กับ สกอ.รับรอง ช้า ทำให้ สกอ.พิจารณารับรองโดยใช้เกณฑ์ ประกาศ กพอ. เผยแพร่ผลงานวิชาการ 2556 มาพิจารณาเผยแพร่ผลงานผม ทั้งที่ผมเผยแพร่ผลงาน ปี 2552 แต่เอาเกณฑ์ปี 56 มาพิจารณา และสภามหาวิทยาลัยแห่งนั้นไม่นำเสนอเอกสารพิจารณายืนยันให้กับผม ทำให้ ทำให้สกอ.ไม่รับรอง ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ในส่วนของการเผยแพร่ผลงาน แต่รับรองผลงานวิชาการทั้งหมด
ทำให้ต้องยื่นเสนอ รศ.ใหม่ คือ ด้วยการ การเขียนผลงานเผยแพร่ คือ บทความวิจัย 2 เรื่อง (ส่วนงานวิจัย หนังสือ ตำรา รับรองใช้ได้ )
ผมจะยื่นใหม่ในปี 2557 ในสถาบันใหม่ก็ยื่นไม่ได้ เพราะไม่มีระเบียบการขอและการเทียบตำแหน่งทางวิชาการของมหาลัยรอวรับ และต้องรอให้ระเบียบออกมารองรับ
และผมได้ยื่น รศ. เสนอใหม่ ในปี 2558 แต่คณะได้พิจารณาว่าผมเผยแพร่ผลงานซ้ำผิดจรรยาบรรณ เสนอให้มหาวิทยาลัยพิจารณา มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอหารือ ไปที่ สกอ. ซึ่ง ใช้เวลาพิจารณาตอบข้อ หารือ มาถึง มหาลัย ปลายปี 2559 ว่าไม่ได้มีการซ้ำซ้อน เพราะการเผยแพร่ใหม่ คือ บทความวิจัย ไม่ใช่บทความรายงานวิจัย ถ้าบทความรายงานวิจัยเผยแพร่ได้ครั้งเดียว แต่บทความวิจัย คือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของการงานวิจัย และทำให้ผมเสียเวลาไป ปี กว่า
และสุดท้าย มหาวิทยาลัย รับการยื่น รศ. เป็นทางการในเดือนธันวาคม 2559 ส่งให้ผู้ทรงอ่าน บทความวิจัย 2 เรื่อง ผลงานการอ่านส่งมาครบ ในต้นปี 2562
ปัญหาต้องคนเกิดอีกครั้ง คือ มีคนร้องเรียนถึงรักษาการอธิการบดีว่าผลงานผมเผยแพร่ซ้ำและเผยแพร่ผลงาน นั้นมีชื่อผม คนเดียว แต่งานวิจัย ทำกันหลายคน ให้ผมทำหนังสือชี้แจง และผมได้ทำหนังสือชี้แจงต่อมหาลัย
คือ ผมได้เผยแพร่ ผลงานบทความวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งงานวิจัย และเผยแพร่ในส่วนงานวิจัยในบทหรือส่วนที่ผมรับผิดชอบ ไม่ได้เขียนในส่วนที่ไม่ได้รับผิดชอบ ส่วนบทความรายงานวิจัยที่ผมเขียนไปครั้งแรกที่เผยแพร่ใน ปี 2552 นั้นเสนอชื่อไปทุกคนที่ทำวิจัย
และต่อมาผ่านมาอีก 3 เดือน มีหนังสือให้ผมทำหนังสือชี้แจงและให้ผู้วิจัยร่วม ทำหนังสือยินยอมว่าไม่มีส่วนร่วมในการเขียนบทความวิจัย รับทราบและยินยอมการเขียนบทความวิจัยนี้ ผมต้องใช้ความพยายามประสานงานกับผู้ร่วมวิจัย โดยให้ภรรยาไปรับเอกสารจากผู้ร่วมวิจัย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่เป็นภาระอย่างมาก แต่ภรรยาก็สามารถเอาเอกสารนั้นมาได้ทั้งหมด เสนอต่อมหาวิทยาลัย
และได้ผ่านการประชุมพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ อีกครั้ง ผ่านคณะกรรมพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านสภาวิชาการ และวันนี้ 17 กันยายน 2562 ผ่านสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแต่งตั้งให้ผม ดำรงตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์” อีกครั้ง มีผลย้อนหลังปี เดือนธันวาคม 2559
สรุป นับได้ว่าตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ของผมได้รับการอนุมัติ จากสภามหาวิทยาลัย 2 ครั้ง และภายใต้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติสถาบันเอกชน พ.ศ .2546 กับพระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยปัญหาทึ่เกิดจากเทคนิคที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาคุณภาพของผลงานเลยสักนิดเดียว แต่ปัญหาในเรื่องทางเทคนิค
16 ตุลาคม 2546 在 21 มิถุนายน 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวง ... 的美食出口停車場
... เรื่อง กำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 2. ... <看更多>
16 ตุลาคม 2546 在 การวิเคราะห์ถิ่นอาศัยของเลียงผา 的美食出口停車場
2563 (ตุลาคม 2562 – สิงหาคม 2563) โดยมีการ ... สถิติอุณหภูมิณ สถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์พ.ศ.2546 – ... 90 (11): 16 – 17. ... <看更多>
16 ตุลาคม 2546 在 จ้อจี้ Classic ออกอากาศ 16 ตุลาคม 2546 - YouTube 的美食出口停車場
จ้อจี้ รายการวาไรตี้ นำเสนอเด็กจี้จากทั่วประเทศ และเรื่องราวปฏิหารย์ แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ทั้งเรื่องจริงและเรื่องเหลือเชื่อ ... ... <看更多>