"ทำไม คนบางคนถึงป่วยจากโรคโควิด รุนแรงกว่าคนอื่น ? คำตอบอาจจะอยู่ที่ #ระดับน้ำตาลในเลือด ครับ"
หนึ่งในปริศนาเกี่ยวกับโรคโควิด 19 มาอย่างยาวนานตั้งแต่เริ่มการระบาด คือ ทำไมคนบางคนติดเชื้อไวรัส แล้วไม่มีอาการอะไรหรือมีเพียงเล็กน้อย ขณะที่บางคนติดเชื้อแล้วกลับป่วยรุนแรงมาก ?
งานวิจัยล่าสุด จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อาจจะทำให้เราได้คำตอบนั้น ผ่านการใช้เทคโนโลยี machine learning
ดร. Emmanuelle Logette, และคณะวิจัยในโครงการ the Blue Brain Project ที่สถาบัน École Polytechnique Fédérale de Lausanne (หรือ EPFL) ในกรุงเจนีวา ได้อาศัยฐานข้อมูล CORD-19 มาวิเคราะห์ และพบว่า "ระดับน้ำตาลในเลือด" (blood glucose level) จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 !
งานวิจัยนี้ ชื่อว่า "A Machine-Generated View of the Role of Blood Glucose Levels in the Severity of COVID-19" ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Public Health ฉบับวันที่ 28 July 2021 (ดู https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpubh.2021.695139/full?utm_source=fweb&utm_medium=nblog&utm_campaign=ba-sci-fpubh-covid-19-elevated-blood-glucose-blue-brain) ซึ่งพวกเขาได้ใช้เทคโนโลยี machine learning มาวิเคราะห์ข้อมูลที่ดึงมาจากบทความวิจัยในฐานข้อมูลเปิด (open access) แล้วทำให้ค้นพบบทบาทสำคัญของ "ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น" ในเส้นเลือด ที่มีต่อความรุนแรงของโรค Covid-19
1. ปกติ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ผู้สูงอายุ นั้นจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการป่วยหนักจากโรคโควิด .. แต่คนที่อายุน้อย หลายคนก็พบว่า ต้องเข้าโรงพยาบาลจากโรคนี้เช่นกัน
- มีโรคประจำตัวหลายอย่าง ที่ทราบกันว่า มีผลต่อระดับความรุนแรงของโรคโควิด ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง
- แต่ผลการวิจัยใหม่นี้ ทำให้เห็นว่า ระดับกลูโคสที่สูงขึ้นในเลือด ก็มีผลต่อคนที่ "ไม่ได้เป็น" โรคเบาหวานด้วย
2. คณะนักวิจัยของโครงการ the Blue Brain Project และพัฒนาแบบสำรอง machine learning ที่ขุดข้อมูลจากบทความวิจัยกว่า 240,000 ฉบับ ในฐานข้อมูล CORD-19 (เป็นฐานข้อมูลที่สนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา , มูลนิธิ Chan Zuckerberg Initiative, Microsoft Research และกลุ่มอื่นๆ เพื่อเป็นฮับ hub งานวิจัยเกี่ยวกับโควิด-19)
- ผลการวิเคราะห์ของคณะผู้วิจัย ทำให้พบว่า แนวโน้มที่ปรากฏขึ้นซ้ำๆ ในบทความวิชาการที่ผ่านมาเกี่ยวกับอาการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด ก็คือ ระดับน้ำตาลในเส้นเลือดที่สูงขึ้น
- โดยจากข้อมูลกว่า 400,000 ค่า ที่วิเคราะห์ คำว่า "glucose น้ำตาลกลูโคส" ปรากฏขึ้นถึง 6,326 ครั้ง ทำให้คณะผู้วิจัยค้นหาต่อไป ถึงบทบาทหน้าที่ของกลูโคส ที่มีต่ออาการป่วยของโรค ไปจนถึงกลไกทางชีวเคมีในระดับที่ลึกที่สุด
3. เรื่องหลักๆ ที่พวกเขาค้นพบ ได้แก่
- ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ไปทำให้การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันแรกๆ ของปอดเราแย่ลง ทำให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโรคโควิด
- ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะ cytokine storm (การเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็วของสารไซโตไคน์) และภาวะ acute respiratory distress syndrome (อาการอักเสบเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ หรือ ARDS )
- อาการป่วยต่างๆ ที่ตามมาของโรคโควิด-19 ได้แก่ hyperinflammation (การอักเสบขั้นรุนแรง) และ pro-coagulation (การแข็งตัวของเลือด) ก็เกิดขึ้นตามมาจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเช่นกัน
- ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น นั้น ทำงานร่วมกันกับกลไกของการหยุดการทำงานของ ACE 2 receptor ด้วยเชื้อไวรัสโควิช ไปเพิ่มระดับความรุนแรงของโรค ให้อวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลว และเกิดลิ่มเลือดอุดตัน (thrombotic)
4. การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแล้วไปทำให้กลไกแรกๆ ในการต่อสู้กับไวรัสของปอด แย่ลงนั้น เป็นการค้นพบที่สำคัญมาก และได้รับความสนใจน้อยกว่าที่ควร ในฐานข้อมูล CORD-19
- คณะผู้วิจัยระบุว่า การมีระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นในเลือดแล้วไปช่วยให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อเชื้อไวรัส ในการเคลือบโปรตีนหนามของมันแล้วผ่านทะลุเข้าระบบภูมิคุ้มกันของปอดได้นั้น เป็นเรื่องที่ไม่เคยทราบชัดกันมาก่อน
- ก่อนหน้านี้ การรักษาโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย แต่ถ้าสมมติฐานจากงานวิจัยนี้เป็นเรื่องถูกต้อง ต่อไป การจัดการระดับน้ำตาลก็จะกลายเป็นกลยุทธ์หลักอีกอย่าง ในการควบคุมระดับอาการของโรค
- จากรายงานที่ว่า ผู้ป่วยโรค covid-19 ที่อยู่ในห้องไอซียูกว่า 80% นั้น มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้เพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วย เพื่อให้มีอาการที่ดีขึ้นด้วย
5. ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งในการช่วยรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูง ก็คือใช้ยา metformin เมทฟอร์มิน ที่ได้รับการรับรองจาก FDA แล้วให้ใช้ควบคุมระดับน้ำตาลได้
- นอกจากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยา metformin ยังมีสรรพคุณต้านการอักเสบด้วย จากการที่ไปลดระดับของโปรตีน C-reactive protein ลง
- ยา metformin ยังช่วยในเรื่องการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการตัวของหลอดเลือด และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
ทิ้งท้ายว่า นอกจากกันใช้วิธีวิเคราะห์ด้วย AI แบบ machine learning อันนี้ จากฐานข้อมูลงานวิจัยขนาดใหญ่แล้ว ก็ยังต้องมีการศึกษาวิจัยในคลินิกอีก เพื่อพิสูจน์ยืนยันว่า ระดับน้ำตาลกลูโคสที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นปัจจัยพื้นฐาน ทำให้เกิดความรุนแรงของโรค covid-19 ขึ้นจริง
ภาพและข้อมูลจาก https://blog.frontiersin.org/2021/07/28/severe-covid-19-elevated-blood-glucose-blue-brain/
同時也有45部Youtube影片,追蹤數超過18萬的網紅The Story เรื่องเล่า เล่าเรื่อง,也在其Youtube影片中提到,ถ้าคุณชอบคลิปนี้ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์และกดติดตามแล้วกดกระดิ่งแจ้งเตือน ? กันด้วยนะครับ ติดตาม Facebook คลิก ► https://www.facebook.com/TheStory9 ดูค...
「โรคเบาหวาน」的推薦目錄:
- 關於โรคเบาหวาน 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
- 關於โรคเบาหวาน 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於โรคเบาหวาน 在 Facebook 的最佳解答
- 關於โรคเบาหวาน 在 The Story เรื่องเล่า เล่าเรื่อง Youtube 的最讚貼文
- 關於โรคเบาหวาน 在 Pai91.5 Resort Youtube 的精選貼文
- 關於โรคเบาหวาน 在 Indysong Kids & Dark เรื่องผี การ์ตูนตลก อนิเมชั่น เพลงสนุกๆ Youtube 的最佳解答
- 關於โรคเบาหวาน 在 5 ความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวาน | คลิป MU [by Mahidol] - YouTube 的評價
- 關於โรคเบาหวาน 在 สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ - Home - Facebook 的評價
โรคเบาหวาน 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
วันก่อน ถูกสัมภาษณ์ออนไลน์เกี่ยวกับเรื่อง #โรคไข้หูดับ จากการบริโภคเนื้อหมู ซึ่งมีชาวบ้านที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เสียชีวิตไปนับสิบราย !
โรคไข้หูดับ ยังเป็นโรคที่พบบ่อยครั้งในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็มาจากการบริโภคเนื้อหมูที่ไม่ได้ปรุงสุก ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคนี้ยังมีชีวิต และทำอันตรายกับผู้บริโภคได้ โดยมีอันตรายสูงมาก ถึงแก่ชีวิตครับ
เลยเอาคลิปให้สัมภาษณ์มาแชร์ให้ฟังกันนะ รวมทั้งขอแชร์ข้อความข่าวจากไทยรัฐและไทยพีบีเอส ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคไข้หูดับนี้ เพื่อเตือนให้ระมัดระวังกันด้วยนะครับ
--------
(รายงานข่าว ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2194158)
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ นายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุข้อความว่า
#นอกจากโควิด19 ยังมีโรคไข้หูดับอีก #ขอให้หยุดกินหมูดิบในเขตอำเภอเสิงสางด่วนที่สุดครับ-วันนี้ได้รับรายงานว่าขณะนี้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่อำเภอเสิงสางแล้ว 14 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย-ขอให้งดกินหมูดิบและสัมผัสหมูดิบ ซึ่งอาจจะติดเชื้อ โดยเฉพาะเขียงหมูที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ (ลักลอบเชือด) -บ่ายนี้นายอำเภอเสิงสางจะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องด่วนที่สุดครับ เพื่อกำหนดมาตรการบางอย่าง และอาจจะกระทบกับพี่น้องชาวเสิงสาง-จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
โดยมีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นและแชร์ข้อความดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
ต่อมา ผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปที่ว่าการอำเภอเสิงสาง จ.นครราชสีมา เพื่อสอบถามถึงข้อเท็จจริง และลงพื้นที่ตรวจสอบถึงกรณีดังกล่าว โดยนายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง เปิดเผยว่า
ตนได้รับรายงานว่า ในพื้นที่อำเภอเสิงสางมีประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคหูดับ เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค.-9 ก.ย. จำนวนทั้งสิ้น 15 ราย และเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวจำนวน 3 ราย โดยผู้เสียชีวิตทั้ง 3 รายได้เสียชีวิตก่อนที่ผลตรวจจะออกมาว่าเป็นโรคหูดับ ทราบว่า 2 ใน 3 อยู่ในพื้นที่บ้านโคกสูง ม.3 ต.สระตะเคียน และบ้านซับ ม.4 ต.สิงสาง ทั้ง 2 รายได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา
นายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง กล่าวถึงมาตรการแก้ไขสถานการณ์ว่า จะเร่งให้มีการประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ทราบถึงโทษของการรับประทานอาหารที่เป็นหมูดิบ รวมถึงการสัมผัสหมูที่อาจจะติดเชื้อของโรคหูดับ โดยหากบุคลดังกล่าวมีบาดแผลแล้วไปสัมผัสหมูที่ติดเชื้อเชื้อโรค อาจจะเข้าทางกระแสเลือดได้
พร้อมทั้งจะมีการจัดระบบสำหรับผู้ประกอบการเลี้ยงหมูในพื้นที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายและถูกสุขอนามัย ได้ประสานไปยังปศุสัตว์จังหวัด จากนี้จะมีหนังสือเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการในพื้นที่ที่จะสามารถนำหมูเข้าสู่โรงฆ่าสัตว์ได้อย่างถูกต้อง
โดยในพื้นที่อำเภอเสิงสางมีโรงฆ่าสัตว์ขนาดเล็กเพียงแห่งเดียว จึงทำให้มีกลุ่มลักลอบค้าหมูยังไม่ถูกต้อง จึงเกิดปัญหาหมูติดโรคหลุดรอดเข้ามาในพื้นที่ เชื่อว่ากลุ่มที่ค้าหมูที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะได้เข้ามาอยู่ในระบบที่ถูกต้อง จากนั้นได้มอบหมายให้กับ อปท.ในพื้นที่ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอและสาธารณสุขอำเภอ ลงพื้นที่ตรวจสอบและสำรวจโรงฆ่าสัตว์ หรือโรงชำแหละ เพื่อจัดทำทะเบียนและควบคุมสอบสวนโรค พร้อมทั้งการติดตามได้ง่ายในอนาคตต่อไป
ด้านนายแพทย์มงคล เกิดแปลงทอง นายแพทย์ประจำโรงพยาบาล ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลเสิงสาง ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสิงสาง ซึ่งเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลโรคหูดับในพื้นที่ เปิดเผยว่า
ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมมีผู้ป่วย 1 รายในพื้นที่ได้เดินทางเข้ามาทำการรักษาภายในโรงพยาบาลเสิงสาง โดยมีอาการของโรคปอดติดเชื้อ ก่อนที่ทีมแพทย์จะตรวจพบเชื้อของโรคหูดับในกระแสเลือด
ต่อมาในต้นเดือนกันยายน พบว่า มีผู้ป่วยจำนวน 4-5 รายเดินทางเข้ามาทำการรักษาด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง จนถึงขั้นมีอาการไตวายและระบบการหายใจล้มเหลว ทีมแพทย์ต้องใส่ท่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ต่อมามีผู้ป่วยเดินทางเข้ามารักษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอาการดังกล่าว พร้อมทั้งมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการหูดับตามมาเพิ่ม หลังจากนั้นแพทย์ได้รอผลการเพาะเชื้อในเลือดประมาณ 3-5 วัน ปรากฏพบว่าติดเชื้อ “สเตรปโตคอคคัส ซูอิส” (Streptococcus Suis) โดยเป็นเชื้อที่ต้องเฝ้าระวังเพราะเป็นการติดต่อจากการกินหมูดิบ หรือการสัมผัสเนื้อหมูที่เชื้อโรคสามารถติดต่อได้บาดแผล
ขณะนี้พบผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอเสิงสางเข้าข่ายติดเชื้อทั้งหมด 15 ราย มีการยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว 13 ราย และเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ตับวาย ไตวาย และระบบการหายใจล้มเหลวจำนวน 3 ราย
สำหรับโรคไข้หูดับสามารถติดเชื้อโดยตรงจากการที่ผู้ป่วยรับประทานหมูดิบและสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสหมูโดยตรงหากมีบาดแผลบริเวณร่างกายเข้าสู่กระแสเลือด แม้จะไม่ได้รับประทานหมูก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยบางราย จากการสอบถามไม่มีพฤติกรรมในการรับประทานหมูดิบ แต่ชอบรับประทานหมูกระทะเป็นประจำ จึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะย่างหมูไม่สุกดี และใช้ตะเกียบอันเดียวกันที่ใช้คีบหมูดิบ และตะเกียบที่ใช้ย่างหมูรับประทาน ทำให้เชื้อปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายได้
ส่วนอีกกรณีผู้ที่ทำงานในเขียงหมู อาจจะไม่ได้รับประทานหมูดิบ แต่เป็นผู้ที่สัมผัสหมูโดยตรง หากมีบาดแผลก็สามารถติดเชื้อโรคดังกล่าวผ่านผิวหนังได้
ส่วนอาการของผู้ติดเชื้อโรคหูดับ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 3 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 3 วัน จะพบอาการเบื้องต้นมีไข้ ถ่ายเหลว และปวดหัว หากติดเชื้อแล้วไม่ได้ทำการรักษาโดยเร็ว เมื่อเชื้อขึ้นไปถึงสมองอาจจะทำให้เสียชีวิต หรือหูดับได้
สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหูดับมี 3 ส่วนด้วยกัน โดยต้องเริ่มจากผู้เลี้ยงหมูและผู้ขายหมู ต้องดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยให้ดีสำหรับการเลี้ยงหมู และไม่จำหน่ายหมูป่วยให้กับผู้บริโภค
ส่วนที่ 2 คือ ผู้ที่ประกอบอาหารหากมีบาดแผลต้องสวมถุงมือเพื่อป้องกันเชื้อ ส่วนที่ 3 คือ ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานหมูดิบ เช่น เมนูลาบดิบ ก้อยดิบ หากจะรับประทานหมูควรปรุงให้สุก โดยใช้ความร้อนอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อดังกล่าว.
---------
(รายงานข่าว ไทยพีบีเอส https://news.thaipbs.or.th/content/307921)
เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2564 นายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง จ.นครราชสีมา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
อ.เสิงสาง 2 สัปดาห์พบผู้ป่วย 14 คน เสียชีวิต 3 คน และหูหนวกถาวร 2 คน โดยเกิดจากการรับประทานหมูดิบ ทั้งเมนูลาบดิบ ก้อยดิบ ตับลวก ตับหวาน ส้มหมู แหนมหมู หมูกระทะ และเชื้อจากหมูผ่านผิวหนังที่เป็นแผล
#สำหรับอาการที่พบ
ในระยะเวลาหลังรับประทาน 3 ชั่วโมง ไม่เกิน 3 วันจะมีอาการ 1 ใน 3 อย่าง ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อรักษา ได้แก่ 1.ไข้ 2.อาเจียน,ถ่ายเหลว 3.ปวดศีรษะ หากมาช้าเกิน 3 วันอาจเกิดอาการชัก หูหนวกถาวร และเสียชีวิตได้
#วิธีป้องกัน คนเลี้ยงหมูต้องสะอาดทั้งคอกและเขียง คนปรุงต้องสวมถุงมือก่อนจับหมู และคนบริโภคห้ามรับประทานหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ หมูกระทะต้องแยกตะเกียบย่างกับกะเกียบกิน
ในวันเดียวกัน นายอำเภอเสิงสางพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลเสิงสาง สาธารณสุขอำเภอเสิงสาง ปศุสัตว์อำเภอเสิงสาง ตำรวจ ปลัดฝ่ายมั่งคง กำนัน ได้จัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางการป้องกันโรคระบาดสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (โรคไข้หูดับ) เพื่อกำหนดมาตรการงดกินหมูดิบและสัมผัสหมูดิบ
ทั้งนี้ เนื่องจากอาจจะติดเชื้อ โดยเฉพาะเขียงหมูที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ล่าสุด พบผู้ป่วยไข้หูดับ จำนวน 15 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน
#สถิติคนไทยป่วยโรคไข้หูดับ
ก่อนหน้านี้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ของโรคไข้หูดับ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -11 มิ.ย.2564 พบผู้ป่วยแล้ว 243 คน เสียชีวิต 11 คน
ส่วนภาคที่มีอัตราป่วยที่สุดคือ ภาคเหนือ (พบผู้ป่วย 162 คน คิดเป็นร้อยละ 66 ของผู้ป่วยทั้งหมด) จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ นครราชสีมา และสุโขทัย ตามลำดับ ขณะที่ปี 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 342 คน เสียชีวิต 12 คน
#รู้จักอาการโรคไข้หูดับ
สำหรับโรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ
1. เกิดจากการบริโภคเนื้อและเลือดหมู ที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
2. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค จากทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา หรือสัมผัสเลือดของหมูที่กำลังป่วย
หลังจากได้รับเชื้อ 3-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ขอให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการกินหมูดิบและสัมผัสเนื้อหมูให้ทราบเพราะหากมาพบแพทย์และวินิจฉัยได้เร็ว จะช่วยลดอัตราการเกิดหูหนวกและการเสียชีวิตได้
ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น หากติดเชื้อจะมีอาการป่วยรุนแรงเนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ
#2วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ
ทั้งนี้ วิธีการป้องกันโรคไข้หูดับ คือ
1.ควรบริโภคอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน ทำสดใหม่ โดยเฉพาะเนื้อหมู ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดสดหรือห้างสรรพสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ขอให้แยกอุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบออกจากกัน ไม่ใช้เขียงของดิบและของสุกร่วมกัน
2.ไม่สัมผัสเนื้อหมูและเลือดดิบด้วยมือเปล่า โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
โรคเบาหวาน 在 Facebook 的最佳解答
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กครับ …
ตอนนี้ให้ใช้ได้แค่ mRNA “ไฟเซอร์” เท่านั้น
1.เด็กอายุ 16-18 ปี แนะนำให้ฉีดทุกราย ทั้งเด็กแข็งแรง และมีโรคประจำตัวเสี่ยงอาการรุนแรง
2.เด็กอายุ 12-16 ปี แนะนำให้ฉีดเฉพาะเด็กที่มีโรคเรื้อรังเสี่ยงอาการรุนแรง
3.เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และอายุ 12-16 ปีที่แข็งแรง ให้รอผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อน
“ … แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปี จนถึงน้อยกว่า 18 ปีทุกราย หากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปกติแข็งแรงดีและที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง เพราะเป็นกลุ่มอายุที่กำลังเดิบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับผู้ใหญ่และมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 มากเพียงพอ
สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จนถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ดังต่อไปนี้ …
…สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จนถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติดตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอนาคตต่อไป"
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
7 กย.64 : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกประกาศ คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป (ฉบับที่ 2)
"ข้อมูลของการติดโควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันพบว่า แม้จะพบการติดเชื้อโควิดในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในสัดส่วนสูงขึ้น แต่พบว่าส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก และพบการเสียชีวิตเกือบทั้งหมดในเด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ร่วมกับมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น
ดังนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ดังนี้
*แนะนำให้ฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยองค์การอาหารและยาเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้ (ณ วันที่ 7 กันยายน 2564) มีเพียงชนิดดียวคือ วัคชีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech
*แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปี จนถึงน้อยกว่า 18 ปีทุกราย หากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปกติแข็งแรงดีและที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง เพราะเป็นกลุ่มอายุที่กำลังเดิบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับผู้ใหญ่และมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 มากเพียงพอ
*สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จนถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ดังต่อไปนี้
1.บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไป ในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น)
2.โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
3.โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
4.โรคไตวายเรื้อรัง
5.โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
6.โรคเบาหวาน
7.กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง อาทิ เด็กที่มีพัฒนาการช้า
*แนะนำให้งดออกกำลังกายอย่างหนัก หรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ภายหลังจากการฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ภายหลังการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก
จึงแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งโดสที่ 1 และ 2 ควรงดการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคชีน
และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทำการตรวจค้นเพิ่มเติม
สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จนถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติคตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอนาคตต่อไป"
โรคเบาหวาน 在 The Story เรื่องเล่า เล่าเรื่อง Youtube 的最讚貼文
ถ้าคุณชอบคลิปนี้ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์และกดติดตามแล้วกดกระดิ่งแจ้งเตือน ? กันด้วยนะครับ
ติดตาม Facebook คลิก ► https://www.facebook.com/TheStory9
ดูคลิป The Story ทั้งหมด คลิก ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLFC7PXzO-8rx6zLyjRj2QdM3bD5XtphcX
โรคเบาหวาน 在 Pai91.5 Resort Youtube 的精選貼文
#ชาใบเตย #แก้เบาหวาน #ดื่มเพื่อลดน้ำตาลในเลือด
****คุณสมบัติของใบเตย*****
ต้นและรากใบเตยมีสรรพคุณช่วยขับปัสาวะและรักษาโรคเบาหวาน เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวาน 在 Indysong Kids & Dark เรื่องผี การ์ตูนตลก อนิเมชั่น เพลงสนุกๆ Youtube 的最佳解答
แครอท เป็นพืชในตระกูลผักชีที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีสีสันหลากหลายทั้งส้ม แดง เหลือง ขาว และม่วง
สามารถรับประทานได้ทั้งส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินและใบ แต่ส่วนหัวจะเป็นที่นิยมนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบดิบ คั้นน้ำ ผ่านการปรุงสุก หรือใช้ปรุงเป็นขนม รวมถึงอาจใช้เป็นยาก็ได้เช่นกัน
แครอทเป็นพืชที่ขึ้นชื่อว่าอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เชื่อกันว่าอาจมีส่วนช่วยในการรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคต่างๆ
นอกจากนี้แครอทยังประกอบไปด้วยกากใยอาหาร มีส่วนช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายอีกด้วย
เห็นมั้ยว่าภายใต้สีสวย ๆ ของแครอทนั้นเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่ามากมายหลายอย่างที่เราคาดไม่ถึง เป็นผักที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกับผู้หญิง
ส่วนประโยชน์ของแครอทเรามาดูและฟังกันในวิดีโอต่อได้เลยจ้า
#เพลงเด็กindysong #แครอทบำรุงสายตา #นิทานindysong
ติดตามช่อง Indysong Kids https://www.youtube.com/user/indysong
แฟนเพจ Facebook Fanpage https://www.facebook.com/IndysongKids
Playlist รวมผลงานของเราสำหรับน้องๆหนูๆ
? เพลงและการ์ตูนความรู้สำหรับน้องๆ ?
เพลงเด็กอนุบาลดั้งเดิม ►► http://bit.ly/23Mlj6f
เพลงเด็กน่ารักแต่งใหม่ ►► http://goo.gl/ZrH7Xb
เพลงสอนลูกให้เป็นเด็กดี ►► https://goo.gl/cp2ovT
เพลงเด็กมีเนื้อเพลงคาราโอเกะ ►► https://goo.gl/RmQqoM
เพลงเด็กภาษาอังกฤษ ►► https://goo.gl/C91x14
รวมเพลง ก.ไก่ ►► http://bit.ly/1YpnUlf
รวมเพลงเป็ด ►► https://goo.gl/uWXeQo
รวมเพลงไก่กุ๊กๆ ►► https://goo.gl/TJ3vdB
รวมเพลง ABC คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ►► http://bit.ly/1Ta8ddX
สอนนับเลข คณิตศาตร์อนุบาล ►► https://goo.gl/pmmLNz
►►นิทานสำหรับเด็ก
นิทานสอนใจ https://goo.gl/Ni13Tj
นิทานอีสป นิทานสนุกๆ http://bit.ly/1VVlFrP
นิทานจากเพลงเด็ก https://goo.gl/FTYoCB
รวมนิทานน้องไข่เจียว https://goo.gl/LzChHu
โรคเบาหวาน 在 สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ - Home - Facebook 的美食出口停車場
ภาพกิจกรรม วันเบาหวานโลก walk rally: Access to Diabetes care “Education to protect tomorrow” วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เวลา 6:00- ... ... <看更多>
โรคเบาหวาน 在 5 ความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวาน | คลิป MU [by Mahidol] - YouTube 的美食出口停車場
โรคเบาหวาน ” เป็นโรคพบได้บ่อยในสังคมไทย และมักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หลายครั้งที่คนไข้เบาหวาน ญาติคนไข้ มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน ... ... <看更多>