กรมการแพทย์ การจัดการรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น น่าสนใจหลายประเด็นเลยครับ
* หากใช้ชุดตรวจATK แล้ว ผลเป็นบวก หากมีไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย ให้กักตัวดูแลตัวเองที่บ้าน ไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ
* คนที่อยู่ที่บ้านไม่ได้ ต้องดูแลรักษาที่ชุมชน หรือกรณีต้องเข้ารักษาใน รพ. จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ
*ปัญหาเรื่องหาจุดตรวจ RT-PCR ไม่ค่อยได้ : อยากให้เอาศูนย์พักคอย ของกทม.มาทำ แต่ยังไม่ค่อยพร้อม เพราะทำโดยชุมชน
*ภาพผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้าน : คนกลุ่มนี้ยังไม่ได้มีการเข้าสู่ระบบการดูแลตัวเองที่บ้าน และไม่พบว่ามีการเข้าสู่ระบบอย่างไรบ้าง วันนี้จากการติดตามระบบการประสานงานของสายด่วน 1668 สามารถเคลียร์ผู้ป่วยได้วันต่อวันแล้ว จึงยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีการประสานไปจุดใดอย่างไร
*เตียงไอซียูไม่พอ ผู้ป่วยใหม่มีความต้องการใช้เตียงไอซียูประมาณ 3% และ 1 คน นอนไอซียูใช้เวลาประมาณ 20 วัน จากตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน รอบหนึ่งเราต้องการเตียงไอซียู 1.8 พันเตียง แต่ตอนนี้มีเตียงไอซียูที่เบ่งเต็มที่แล้ว 700-800 เตียง แล้วที่เหลือจะไปหาที่ไหน การที่มีผู้ป่วยเกินพันจึงเป็นเรื่องยากมาก
*การทำ home isolation ปัจจุบัน ตัวเลขของกรมการแพทย์ทำไปแล้ว 1.5 พันราย และยังมีโรงเรียนแพทย์ และกทม.อีก น่าจะเป็นหลายพันราย ตอนนี้กำลังชวน รพ.เอกชน และคลินิกชุมชนอบอุ่นมาทำ Home Isolation เพิ่ม ยืนยันว่ามีระบบติดตาม ยังไม่มีรายใดมีปัญหา
*กำลังจะเพิ่ม “ฮอสพิเทลรับผู้ป่วยสีเหลือง” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีการชี้แจงกับรพ.เอกชนหมดแล้วว่า อยากจะแปลงเตียงในฮอสพิเทลสีเขียวให้เป็นสีเหลือง ตอนนี้มีอยู่ 2 หมื่นเตียง ถ้าแปลง 10% จะได้ 2 พันเตียง ถ้า 20% ก็จะมี 4 พันเตียง มาดูคนไข้สีเหลือง มีเครื่องผลิตออกซิเจน เอาคนไข้สีเหลืองไปอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นจะเหลือปัญหาเรื่องเตียงสำหรับผู้ป่วยสีแดงอีก
*แต่ได้ข่าวว่าทหารจะมาเปิด รพ.สนาม หากตรงนี้นำมาช่วยรับผู้ป่วยสีแดงได้ก็จะดีมาก
จะทำอะไรก็ต้องรีบๆ ทำครับ ตัวเลขเพิ่มทุกวัน 🙏
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2564 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงแนวทางการใช้ชุดตรวจ แอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) โดยระบุว่า หากใช้ชุดตรวจATK แล้ว ผลเป็นบวก หากมีไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย ให้กักตัวดูแลตัวเองที่บ้าน ไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ
แต่คนที่อยู่ที่บ้านไม่ได้ ต้องดูแลรักษาที่ชุมชน หรือกรณีต้องเข้ารักษาใน รพ. จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ เพราะชุดตรวจ ATK มีผลบวกลวงได้ จึงต้องตรวจซ้ำเพื่อป้องกันไม่ให้นำคนที่อาจจะไม่ได้ติดเชื้อจริงๆ มาอยู่รวมกับคนที่ติดเชื้อ
ส่วนปัญหาหาที่ตรวจไม่ได้ “ตอนนี้เราทำอยู่ที่อาคารนิมิบุตร ในการสวอบทำ RT-PCR แรกรับและส่งต่อ เราอยากให้เปิดแบบนี้มากขึ้น อยากเปิดเพิ่มที่บางขุนเทียน ซึ่งเรื่องนี้มีมติตั้งแต่ พ.ค.แล้ว แต่ กทม.บอกว่าไม่พร้อม ถ้า กทม.พร้อมทำตรงนี้ เราจะมีจุดเพิ่มและรับคนไข้ได้มากขึ้น ผอ.สำนักการแพทย์เสนอว่าให้เอาศูนย์พักคอยมาทำสวอบได้หรือไม่ แต่ก็ยังไม่ค่อยพร้อม เพราะทำโดยชุมชน ถ้ามีการเปิดที่บางขุนเทียนสักที่ก่อน แล้วหลังจากนี้ ค่อยยกระดับศูนย์พักคอย”
เมื่อถามว่าขณะนี้มีภาพผู้ป่วยเสียชีวิตตามบ้าน จึงมีผู้กังวลการให้รักษาที่บ้าน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่เสียชีวิต แต่ต้องเรียนตรงๆ ว่า คนกลุ่มนี้ยังไม่ได้มีการเข้าสู่ระบบการดูแลตัวเองที่บ้าน และไม่พบว่ามีการเข้าสู่ระบบอย่างไรบ้าง วันนี้จากการติดตามระบบการประสานงานของสายด่วน 1668 สามารถเคลียร์ผู้ป่วยได้วันต่อวันแล้ว จึงยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีการประสานไปจุดใดอย่างไร ดังนั้น หากผู้ป่วยที่มีปัญหา ขอให้โทรมาที่ 1330, 1668, หรือกรอกข้อมูลได้ที่ไลน์ @1668.reg แล้วกรอกข้อมูลไว้ ตอนนี้เท่าที่รายงานมา เราตั้ง รพ.เสมือนจริง (Virtual Hospital) ไว้ที่กรมการแพทย์ มีทีมงานของกรมร่วมกับภาคประชาสังคม เพื่อรองรับเคสที่มีปัญหาเรื่องเตียงรองรับ
“เตียงไอซียูไม่เพียงพอ ผู้ป่วยใหม่มีความต้องการใช้เตียงไอซียูประมาณ 3% และ 1 คน นอนไอซียูใช้เวลาประมาณ 20 วัน จากตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน รอบหนึ่งเราต้องการเตียงไอซียู 1.8 พันเตียง แต่ตอนนี้มีเตียงไอซียูที่เบ่งเต็มที่แล้ว 700-800 เตียง แล้วที่เหลือจะไปหาที่ไหน การที่มีผู้ป่วยเกินพันจึงเป็นเรื่องยากมาก”
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่มีการใช้ระบบดูแลตัวเองที่บ้าน เฉพาะรายงานที่ รพ.ราชวิถีทำร่วมกับกรมการแพทย์ พบว่าไม่ถึง 10% ที่มีอาการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ารับการรักษาใน รพ. เนื่องจากตอนที่เริ่มทำจะมีการตรวจสอบคัดกรองอาการเบื้องต้นว่ารักษาตัวที่บ้านได้หรือไม่ ปัจจุบันตัวเลขของกรมการแพทย์ทำไปแล้ว 1.5 พันราย และยังมีโรงเรียนแพทย์ และกทม.อีก น่าจะเป็นหลายพันราย ตอนนี้กำลังชวน รพ.เอกชน และคลินิกชุมชนอบอุ่นมาทำ Home Isolation เพิ่ม ยืนยันว่ามีระบบติดตาม ยังไม่มีรายใดมีปัญหา
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กำลังจะเพิ่มฮอสพิเทลเพื่อรับผู้ป่วยสีเหลือง เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีการชี้แจงกับรพ.เอกชนหมดแล้วว่า อยากจะแปลงเตียงในฮอสพิเทลสีเขียวให้เป็นสีเหลือง ตอนนี้มีอยู่ 2 หมื่นเตียง ถ้าแปลง 10% จะได้ 2 พันเตียง ถ้า 20% ก็จะมี 4 พันเตียงมาดูคนไข้สีเหลือง มีเครื่องผลิตออกซิเจน เอาคนไข้สีเหลืองไปอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นจะเหลือปัญหาเรื่องเตียงสำหรับผู้ป่วยสีแดงอีก แต่ได้ข่าวว่าทหารจะมาเปิด รพ.สนาม หากตรงนี้นำมาช่วยรับผู้ป่วยสีแดงได้ก็จะดีมาก
「แอนติเจน」的推薦目錄:
- 關於แอนติเจน 在 Facebook 的最佳貼文
- 關於แอนติเจน 在 Facebook 的精選貼文
- 關於แอนติเจน 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於แอนติเจน 在 ชุดตรวจแอนติเจนหาเชื้อ COVID-19Antigen Test Kitใช้อย่างไรให้ ... 的評價
- 關於แอนติเจน 在 ฉลาดได้ใน 1 นาที | สรุปเรื่องแอนติบอดี และแอนติเจน ในแต่ละหมู่เลือด 的評價
- 關於แอนติเจน 在 ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen... - กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 的評價
แอนติเจน 在 Facebook 的精選貼文
ตอบ คุณหมอ นงนลินี ครับ nongnalinee jaisin
ผมไม่เคยประสานผู้บริหาร สปสช. กรมการแพทย์ เพื่ออยากเอายา (ฟาวิพิราเวีย) มาแจกคนไข้หนักเสียเอง นะครับ
คุณหมอเป็นอะไรครับ ถึงได้กล่าวหาคนอื่นง่ายๆ แบบนั้น
คุณหมอบอกว่า
“คุณเห็นแค่ปลายทางที่คนไข้หนัก
คุณร้องไห้ คุณประสานผู้บริหาร สปสช.กรมการแพทย์ที่อยากเอายามาแจกคนไข้หนักเสียเอง
โชคดีบังเอิญที่ดิฉันได้รับรู้ควาพยายามอันนี้ จึง
พยายามโพสต์ พยายามโทรเข้ากรมการแพทย์ เพื่อมิให้พวกคุณนำยานำออกซิเจนมาแจกเสียเอง เพราะอะไร?
เพราะคนเหนื่อยไม่ต้องการแค่ยา ไม่ต้องการออกซิเจน ต้องการการประเมินดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องการยาลดการอักเสบที่ใช้ฉีดเอา มิได้กินเอา
ถ้ารักษาคนไข้หนักกันเอาเอง เราก็จะเหมือนอังกฤษ ที่ช่วงนึงคนตายเยอะมากเพราะแจกยาต้านไวรัสและสเตียรอยด์
ผลที่ตามมาคือได้พันธุ์ไวรัสเป็นของตัวเอง”
ย้ำนะครับ ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดว่า จะเอายามาแจกผู้ป่วยเสียเอง เพราะผมไม่ใช่หมอ
ที่เคยพูดคุย (อย่างเปิดเผยผ่าน live) กับเลขาธิการ สปสช. ก็คือการถามถึงนโยบาย home isolation เพื่อผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวกักตัวเองอยู่บ้าน โดยจะมีระบบดูแล และส่งของจำเป็นไปให้อย่างไร ผมก็เพียงถามว่าถ้าผู้ติดเชื้ออยากได้ยาต้านไวรัส “ฟาวิพิราเวีย” จะมีหลักเกณฑ์อย่างไร คำตอบก็เป็นนโยบายของ สปสช. ว่าสามารถให้ได้อย่างไร
ส่วนตัวผม ตั้งแต่วันที่คุยกับ เลขาฯ สปสช.ในวันนั้น (ซึ่งไม่ใช่การกลับลำ อย่างที่คุณหมอมาขอบคุณผมในเวลาต่อมา) คือ ผู้ป่วยสีเขียวให้อยู่ home หรือ community isolation เพื่อจะสงวนเตียงใน รพ. และหมอพยาบาล ไว้ช่วย ผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ไม่อย่างนั้น เราจะสูญเสียกันอีกมาก ถ้าผู้ป่วย 2 กลุ่มนี้ตกค้างตามบ้าน ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หลักฐานก็เป็นบันทึกที่อยู่ในเพจนี้ครับ
ส่วนกรมการแพทย์ ผมไม่เคยพูดคุย แม้กระทั่งวันที่พบอธิบดีกรมการแพทย์ ในวันพบสื่อ ผมก็ไม่เคยพูดเรื่องนี้
ส่วนที่ผมเคยโพสต์และพูดเรื่อง “ยาฟาวิพิราเวีย” ไปรายการคือ
“คิดเองว่า ถ้าตรวจ แอนติเจน เทสต์ แล้ว ผลเป็นบวก
ควรได้ “ยาฟาวิพิราเวียร์” ง่ายกว่านี้? ในภาวะ “ฉุกเฉิน” แล้ว
กว่าจะต้องรอเข้าตรวจ RT-PCR กว่าจะได้ตรวจ กว่าจะยืนยันผล กว่าจะเข้าระบบ
แล้วถึงจะได้รับการพิจารณาให้ยาฟาวิฯ
มันจะช้าไป จากสีเขียว จนกลายเป็นสีเหลือง เป็นสีแดง ไปก่อนหรือเปล่า
สายพันธ์เดลต้า อาการรุนแรงใน 3-5 วัน เร็วกว่า สายพันธุ์อัลฟา ที่ 7-10 วัน
อยากขอความรู้จากแพทย์จริงๆ ครับ 🙏”
หลักฐานก็อยู่ในเพจ และในคลิปรายการ
ผมขอเอายา “ฟาวิพิราเวียร์” มาแจกเองตรงไหนครับ
ผมเพียงตั้งข้อสังเกตถึงระบบเมื่อให้ตรวจ ATK แล้วยังไงต่อ กว่าจะเข้าระบบได้ต้องผ่านอะไร และกว่าจะเข้าถึงยา “ฟาวิพิราเวียร์” มันจะช้าไปหรือไม่ กับความฉุกเฉินที่เป็นอยู่ ผมแค่ขอความรู้
ไม่เคยกดดันให้แจก และไม่เคยไปขอมาแจกเอง
คุณหมอบอกด้วยว่า
“แต่ถึงอย่างไรขอบคุณคุณสรยุทธคุณได๋ ที่กลับลำ ไม่สร้างความลำบากใจให้แพทย์ที่อยู่ด่านหน้า ด้วยการดื้อดึงที่จะหายาfaviและสเตียรอยด์มาแจกเอง เห็นตัวอย่างประเทศที่ทอดทิ้งคนไข้แจกยากินเองแม้ในคนไข้หนักไหมคะ?
ทั้งอังกฤษ ทั้งอินเดีย ทั้งอเมริกา เขามีสายพันธุ์เป็นของตัวเอง”
นี่คุณหมอก็เอามาจากไหนอีก หนึ่งผมไม่ได้กลับลำ เพราะไม่ได้ทำมาแต่ต้น และ สอง “สเตียรอยด์” คุณหมอจินตนาการเอาเองจากไหนครับ
ผมทำข่าว ผมรู้เรื่องการใช้สเตียรอยด์ในอินเดียดึว่าเกิดผลอะไร และในรายการ หรือในเพจ ผมก็ไม่เคยพูดถึงและไม่เคยคิด แต่คุณหมอบอกผมดื้อที่จะแจกสเตียรอยด์
น่าผิดหวัง ทำไมเลือกจะกล่าวหาคนอื่นง่ายๆ แบบนี้
แต่ถ้าถามแจกออกซิเจนมั้ย สำหรับผม แจกครับ เพื่อจะประคับประคองอาการ หรืออย่างน้อยก็ไม่ให้ผู้ป่วยโควิดต้องทุกข์ทรมานจนเกินไป ระหว่างรอเวลา รอเตียง รอหมอ
คุณหมอบอกว่า “เพราะคนเหนื่อยไม่ต้องการแค่ยา ไม่ต้องการออกซิเจน ต้องการการประเมินดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องการยาลดการอักเสบที่ใช้ฉีดเอา มิได้กินเอา”
ผมถามคุณหมอว่า เมื่อเราไม่มีหมอมาประเมินดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะหมอไม่พอ (ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปต่อว่าใคร) เราต้องยอมจำนนให้ผู้ป่วยต้องทุกข์ทรมาน รอความตายไปอย่างนั้นใช่มั้ยครับ
ให้ออกซิเจนไม่ได้ หรือช่วยเหลือเฉพาะหน้าอะไรไม่ได้ ให้อะไรก็ไม่ได้ เพราะต้องให้หมอมาประเมินดูแลอย่างใกล้ชิดเท่านั้น
อย่าผูกขาดการช่วยเหลือผู้ป่วยไว้แค่หมอเลยครับ
ผมเชื่อว่า เหล่าจิตอาสา หรือ สื่ออย่างผม ไม่มีใครกล้าล้ำเส้นไปให้อะไรที่ไม่ได้ผ่านการปรึกษาหารือเบื้องต้นกับหมอหรอกครับ เพราะมันคือเรื่องของชีวิต ไม่มีใครเสี่ยงทำอะไรไปเอง เพียงแต่ไม่ใช่ปรึกษาคุณหมอนงนลินีเท่านั้น
คุณหมอบอกว่า “ทำไมคุณเป็นนักข่าวไม่ไปเจาะลึกว่าคนไข้ในรพ.สนามแต่ละวันรับคนไข้กลุ่มไหน
รับมาแล้วต้องอยู่ถึง14วัน”
ขอโทษนะครับ ข่าวนี้ไม่ต้องเจาะลึก ใครก็รู้ว่า รับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว นี่นโยบายกระทรวงสาธารณสุขนะครับ
แต่ที่ผมพยายามทำโดยไม่ต้องเจาะข่าวด้วย คือ ผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ยังอยู่ตามบ้าน นอนทนทุกข์ทรมาน รอความช่วยเหลืออยู่มากมาย ซึ่งดูเหมือนคุณหมอจะพยายามบอกผมว่า อย่ายุ่ง
คุณหมอบอกอีก
“เราควรจะได้นักข่าวที่ช่วยรพ.สนามเต็มที่
เราควรจะได้นักข่าวที่เป็นกระบอกเสียงแทน
และกดดันรพ.สนามให้รับคนไข้หนักมากกว่าคนไข้ครองเตียงเพื่อประกัน”
คุณหมอย้อนไปดูในเพจ หรือคลิปรายการก็ได้ ผมไม่ได้ทำจริงๆ หรือครับ
นี่ก็อีก
“เราควรจะได้ดาราที่ช่วยกันบริจาคเพื่อรพ.หรือเพื่อปชช.ที่ตกงาน หรืออย่างน้อยแรงจิตอาสาก็ยังดี
ในการช่วยดูแลคนไข้สีเขียวแบ่งเบาภาระสาสุข
ดาราเป็นจิตอาสาความเป็นบุคคลสาธารณะทำให้คนฮึกเหิมอยากอาสามากขึ้น”
คุณหมอไปอยู่ไหนมาครับ
คุณหมอพร่ำพรรณา ประมาณว่า ไม่อยากให้เอาการเมืองมาเกี่ยว เป็นต้นว่า “อยากจะบอกว่าเราจะไม่มีวันมาถึงจุดนี้เลย ถ้าเราไม่อคติต่อกัน เอาเรื่องการเมืองนำ”
อ่านแล้วรู้สึกว่า คุณหมอเองมุ่งมั่นกับการเมืองหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ก็ขออภัย
และดูเหมือนคุณหมอ จะมีปัญหากับน้ำตาของผมมาก ผมขออภัยครับที่น้ำตาของผมจะทำให้คุณหมอไม่สบายใจ
ที่ผ่านมา หลายกรณีที่เกิดขึ้นกับเคสรอตรวจ รอเตียง รอเข้าระบบ จนหลายคนอาการหนัก จนหลายคนเสียชีวิต เพราะถูกปฏิเสธ สังเกตดูได้ว่า ผมไม่เคยต่อว่าหมอและบุคลากรทางการแพทย์แบบเจาะจง เล่าเรื่องราวแล้วก็ผ่านไป เพราะรู้ว่า ทุกคนทำงานหนัก และมันเป็นปัญหาที่ “ระบบ” ไม่ใช่ตัวบุคคลที่แบกภาระมามากเกินจะรับไหวแล้ว
วันนี้ ผมเสียใจที่ต้องเจาะจงถึงคุณหมอ นงนลินี เพื่อตอบคำถามของคุณหมอนงนลินีเองนะครับ
เป็นกำลังใจให้ทำหน้าที่ “หมอ” นะครับ
แอนติเจน 在 Facebook 的最讚貼文
บางคนไปซื้อชุดตรวจโควิดจากออนไลน์มา ไปซื้อมาผิดอีก! เป็นแบบเจาะเลือดจากปลายนิ้ว
.
ซึ่งอันนั้นเค้าเรียกว่าเป็นการตรวจหา “แอนติบอดี” ยังไม่มีการอนุญาตให้ซื้อมาตรวจเอง บนชุดทดสอบจะเขียนว่า IgM, IgG หรือเขียนอักษร M หรือ G เอาไว้
.
ส่วนอันที่เขาอนุญาตให้ซื้อหามาตรวจเองเค้าเรียกว่า การตรวจหา “แอนติเจน”ต้องแยงจมูกเท่านั้น ต่อไปจะมีแบบบ้วนน้ำลายด้วย
.
ชุดทดสอบแอนติบอดีที่ซื้อมาผิดนั้น มันเป็นชุดทดสอบหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัส
ถ้าผลเป็นบวก มันอาจจะบอกเราแค่ว่า เราอาจจะกำลังติดเชื้ออยู่ หรือเราเคยติดเชื้อมาก่อน หรือได้รับวัคซีน ซึ่งเราอาจจะไม่ได้ติดเชื้อก็ได้ เอาไปเข้าระบบกักตัวแบบ home isolation ก็ไม่ได้
.
แต่ถ้าผลเป็นลบ แสดงว่าไม่ติดเชื้อ หรือมาตรวจเร็วเกินไปก่อนที่ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งประโยชน์ของการตรวจแอนติบอดีจะใช้แปลผลร่วมกับการตรวจด้วยวิธี real-time RT-PCR เอาไว้บอกระยะการติดเชื้อและการดำเนินของโรค เพื่อประกอบการวินิจฉัย ติดตาม รักษา ควบคุมโรค
ไม่ได้เหมาะกับการตรวจหาเชื้อในการระบาดแบบนี้นะคร้าบ
แอนติเจน 在 ฉลาดได้ใน 1 นาที | สรุปเรื่องแอนติบอดี และแอนติเจน ในแต่ละหมู่เลือด 的美食出口停車場
แอนติเจน (Antigen) โดยส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลของโปรตีนที่เป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับร่างกาย ... ... <看更多>
แอนติเจน 在 ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen... - กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 的美食出口停車場
ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen Test Kit) และชุดทดสอบแอนติบอดี้ (Antibody Test Kit) ต่างกันอย่างไร? #โควิด19. ... <看更多>
แอนติเจน 在 ชุดตรวจแอนติเจนหาเชื้อ COVID-19Antigen Test Kitใช้อย่างไรให้ ... 的美食出口停車場
ชุดตรวจ แอนติเจน หาเชื้อ COVID-19Antigen Test Kitใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง?ข้อมูลโดย...อ.นพ. ... <看更多>