*** แนะนำหนังสือ สูตรอาหาร ตำรับกองเรือญี่ปุ่น ***
อะไรนะ เมนูเรือดำน้ำมันโหดขนาดนั้นเลยเหรอ?
อะไรนะ กองทัพเรือพัฒนาวุ้นถั่วแดงสูตรพิเศษเอง?
อะไรนะ อาหารฮิตคือไข่ห่อเนื้อปลาวาฬ?
อะไรนะ มันมีสูตรแกงกะหรี่ในตำนานจากกองทัพเรือด้วย?
วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือชื่อ “สูตรอาหาร ตำรับกองเรือญี่ปุ่น” ซึ่งหากดูแค่ชื่อแล้วอาจรู้สึกสงสัยว่าแค่อาหารกองทัพเรือมันมีอะไรให้เขียนเป็นเล่มๆ ได้ขนาดนั้นเลยเหรอ ...ไม่ใช่แค่นั้นครับ ชื่อเต็มๆ มันยังยาวมาก คือ “สูตรอาหาร ตำรับกองเรือญี่ปุ่น รวม 46 เมนูแห่งประวัติศาสตร์กองทัพเรือญี่ปุ่นยุคเมจิถึงโชวะ” ตอนที่แรกที่ผมได้หนังสือเล่มนี้มาก็คิดว่ามันเป็นตำราอาหารซึ่งไม่ใช่พื้นที่ๆ ผมถนัดเลย
...แต่พอได้อ่านไปจริงๆ แล้ว ผมกลับรู้สึกเหมือนถูกสะกดให้หลงไปในห้วงแห่งความข้อมูล ...แม้ตอนแรกจะลุกไปตักน้ำดื่มก็ไม่ได้ลุก ลืมหิวน้ำจนอ่านจบทั้งเล่มเอง (ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง)
เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์ เรามักจะมองผ่านแว่นของเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การทูต สงคราม ศาสนา และกิจการหลักอื่นๆ ของรัฐในยุคนั้นๆ
หากเมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ในมุมมองของอาหาร ผมกลับพบว่ามันมีเป็นแง่มุมที่น่าสนใจ และใกล้ตัว เมื่อศึกษาแล้วช่วยให้เราสามารถเข้าใจประวัติศาสตร์ด้านอื่นๆ ได้ง่ายและสมบูรณ์ขึ้นเป็นอันมาก
หนังสือ “สูตรอาหารตำรับกองเรือญี่ปุ่น” นั้น แท้จริงเป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุคปฏิรูปเมจิ (ร่วมสมัยกับ ร.5) ซึ่งญี่ปุ่นต้องปรับตัวเพื่อให้รอดจากการล่าอาณานิคมของฝั่งตะวันตก, มันเล่าเรื่องที่ญี่ปุ่นขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจ และสร้างจักรวรรดิที่ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันออก, ไปจนถึงยุคที่จักรวรรดินั้นพ่ายแพ้ พังพินาศ, และต้องดิ้นรนเพื่อรักษาอัตลักษณ์ที่เหลืออยู่
...ทั้งหมดนี้ ผ่าน “สูตรอาหาร” ...
จะยกตัวอย่างบางเรื่อง เช่นเรื่องของเรือดำน้ำ...
<<< เรื่องอาหารในเรือดำน้ำ >>>
เรือดำน้ำยุคนั้นยังมีสภาพไม่ดี ทหารเรือดำน้ำที่ใช้ชีวิตในสภาพอันคับแคบ อึดอัดตลอดเวลาก็ทำให้สุขภาพกายใจเสื่อมโทรม กลายเป็นหมดความอยากอาหาร นอกจากนั้นเรือดำน้ำยังไม่สามารถรักษาของสดได้นาน ไม่ว่าของของสดประเภทไหนก็จะเน่าในสามวัน ทำให้โจทย์อาหารเรือดำน้ำนั้นเป็นโจทย์ที่ยากมาก
เพื่อแก้โจทย์นี้กองทัพเรือญี่ปุ่นได้พัฒนาอาหารที่เก็บได้นาน แบบที่เปิดกระป๋อง หรือแช่น้ำแล้วกินได้เลย ไม่ว่าโชยุ น้ำส้มสายชู หรือเต้าเจี้ยวก็จะทำให้เป็นแบบผงที่มีน้ำหนักน้อย และทำให้มีรสจัดพิเศษ เพื่อหวังว่าจะช่วยกระตุ้นให้ทหารเรือดำน้ำมีความกระชุ่มกระชวยในสถานการณ์อันน่าอึดอัด
อาหารที่พัฒนามาจากเรือดำน้ำก็จะเป็นพวกซูชิแฮมหรือ คอร์นบีฟ ที่ทำได้ง่ายแต่อร่อย เพียงเอาข้าวเปรี้ยวโปะแฮม จิ้มโชยุรสเผ็ด ซึ่งยังหากินได้อยู่ในปัจจุบัน
<<< เรื่องเรือมามิยะ >>>
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือเรื่องของเรือเสบียงชื่อว่ามามิยะ ซึ่งเป็นเรือเสบียงขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบให้สามารถขนอาหารสำหรับคน 18,000 คนในเวลาสามอาทิตย์ บนเรือมีโรงงานแปรรูปอาหารในตัว มีคนงานประจำนับร้อยคน
ตอนแรกเรือมามิยะเน้นทำอาหารคาวเป็นหลัก แต่พอได้รับคำชมเรื่องความอร่อยของขนม จึงมีการเน้นทำขนมบนเรือมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถผลิตขนมได้มากมาย ทั้งขนมเปี๊ยะ ขนมโมนากะ วุ้นถั่วแดง คุกกี้ แยมโรล โดนัท ขนมปังหน้าต่างๆ ไปจนถึงไอศกรีม
พวกเขายังผลิตขนมสูตรของตัวเอง เช่นไอศกรีมสูตรพิเศษที่ทำภายใต้ข้อจำกัดทางวัตถุดิบ (เช่นต้องไม่ใช้ไข่ และต้องใช้นมข้นจืดแทนนมสด) แต่กลับสามารถนำมาผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ พัฒนาเป็นไอศกรีมรสชาติดีหลากหลายแบบ
หรือขนมวุ้นถั่วแดงสูตรมามิยะ ที่ตั้งใจทำให้มีเกล็ดน้ำตาลเคลือบผิวมากเป็นพิเศษ มีรสอร่อยจนกลายเป็นตำนาน และเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ทหารเรือ ในชั้นที่ว่าคำว่า “มามิยะมาแล้ว!” กลายเป็นคำปลุกขวัญ ที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอคอย
<<< เรื่องเนื้อปลาวาฬ >>>
สูตรอาหารของกองทัพเรือสมัยเก่า ทำให้เราเห็นว่าเนื้อปลาวาฬเป็นวัตถุดิบฮิตในยุคนั้น เพราะหาได้ง่าย และเก็บรักษาได้นาน มีการนำเนื้อปลาวาฬไปพัฒนาเป็นสูตรอาหารมากมาย เช่น เมนู “ไข่ห่อเนื้อปลาวาฬ” ซึ่งจริงๆ ควรจะเรียกว่า “เนื้อปลาวาฬห่อไข่” เพราะมันนำเนื้อปลาวาฬมาบด ผสมหัวหอมสับ ไข่ไก่ แป้งสาลี ปรุงด้วยเกลือพริกไทย จากนั้นนำมาห่อไข่ต้ม แล้วทอด จึงราสซอสเดมิกลาส กลายเป็นของกินหรูหรา
<<< เรื่องข้าวแกงกะหรี่ทัพเรือ >>>
ข้าวแกงกะหรี่ทัพเรือเป็นอาหารอันลือชื่อที่เรือแต่ละลำมีสูตรของตนเอง เอาไว้ประชันกันว่าใครทำได้อร่อยกว่า
ในหนังสือเล่มนี้เราจะได้เห็นแกงกะหรี่ไก่สูตรเรือลาดตระเวนหนัก “มายะ,” แกงกะหรี่แฮมและผักสูตรเรือลาดตระเวนหนัก “อาตาโกะ,” แกงกะหรี่เนื้อสูตรเรือพิฆาต “อิโซนามิ,” และ แกงกะหรี่สูตรมาตรฐานทัพเรือ (ทำจากสะโพกไก่ ผสมมันฝรั่ง แครอท และหอมใหญ่)
ชื่อเสียงของแกงกะหรี่ทัพเรือญี่ปุ่นนั้นเลื่องระบือจนมีตำนานว่ากองทัพเรือเป็นผู้คิดผสมแป้งให้แกงกะหรี่เข้มข้นขึ้นคนแรก, เป็นผู้คิดการราดแกงกะหรี่บนข้าวครั้งแรก, หรือหนักเข้าคนก็เข้าใจผิดว่ากองทัพเรือเป็นต้นกำเนิดวัฒนธรรมแกงกะหรี่ญี่ปุ่น ...ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่ไม่จริง สิ่งที่จริงคือกองทัพเรือทำแกงกะหรี่ได้อร่อยมากจนเป็นที่เชิดหน้าชูตามาตั้งแต่ยุคเมจิ และน่าจะมีส่วนทำให้อาหารชนิดนี้เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน ผ่านการแจกจ่ายมันแก่เหล่าทหารหาญ
...อ่านถึงตรงนี้แล้ว คุณอยากลองรับประทานอาหารกองทัพเรือญี่ปุ่นหรือไม่?...
<<< ความใส่ใจที่ไม่ต้องบอกออกมาตรงๆ >>>
เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้เราจะได้เรียนรู้การต่อสู้ของคนญี่ปุ่นในการพัฒนาอาหารภายใต้ข้อจำกัดมากมาย
อาหารกองทัพเรือนั้นจะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถใช้ต่อสู้กับโรคภัยในทะเลได้, นอกจากนั้นยังต้องทำขึ้นด้วยวัตถุดิบที่สามารถเก็บได้นาน, ทำโดยสิ้นเปลืองวัตถุดิบให้น้อย (แม้ก้างปลาก็ต้องเอามาใช้), และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีรสชาติอร่อย
...ต้องเป็นรสชาติที่ได้รับการยอมรับจากทหารที่รบเสี่ยงตายในแนวหน้า...
...เพราะอาหารนั้นเป็นความบันเทิงไม่กี่อย่าง ที่จะช่วยบำรุงขวัญเหล่าทหารให้มีแรงไปเผชิญสมรภูมิอันทรหด ยิ่งในช่วงปลายสงครามซึ่งทรัพยากรต่างๆ เหลือน้อยนั้น เหล่าพ่อครัวยิ่งมีความกดดันที่จะต้องผลิตเมนูภายใต้ข้อจำกัดอันบีบคั้นมากขึ้นเรื่อยๆ
...ทั้งหมดนี้เมื่ออ่านแล้วก็รู้สึกถึงความใส่ใจของพ่อครัวญี่ปุ่นในยุคต่างๆ ที่ตั้งใจอย่างยิ่งในการรังสรรค์เมนูออกมา ... หลายๆ เมนูยังอ่านแล้วน้ำลายไหล...
หนังสือเรื่อง “สูตรอาหาร ตำรับกองเรือญี่ปุ่น” เล่มนี้พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ DEXpress ในหมวด MOOK เป็นสี่สี มีปกอย่างดี ภายในประกอบด้วยบทความความรู้หลายบทความเขียนสลับกับสูตรอาหาร มีเกร็ดน่ารู้สอดแทรกอยู่เต็มไปหมด ทั้งยังมีรูปการ์ตูนประกอบจำนวนมาก ซึ่งสำหรับท่านที่ไม่ได้อ่านการ์ตูนอาจคิดว่ามันดูเด็ก แต่เนื้อหานั้นไม่เด็กเลย
...อยากบอกว่าผมรู้สึกโชคดีที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ครับ
ป.ล. MOOK เป็นประเภทหนึ่งของหนังสือญี่ปุ่น โดยมาจาก Magazine + Book = MOOK สำนักพิมพ์ DEXpress นำ MOOK เข้ามาหลายเล่ม เช่นมีเรื่องหน่วยปฏิบัติการพิเศษของโลก ภาครัสเซีย ยุโรป เอเซีย ที่ผมได้มาด้วย ถ้ามีโอกาสจะรีวิวต่อไปนะครับ
#สูตรอาหารตำรับกองทัพเรือญี่ปุ่น #MOOK #DEXpress #DEX
แป้งสาลี คือ 在 John Trakoolsopit Facebook 的最佳貼文
หลักในการเลือกขนมปังโฮลวีท
1. ดูว่า มีสารกันเสียมั้ย ถ้ามีก็ไม่ควรทานประจำทุกวัน
2. ดูน้ำตาล ปริมาณ แต่ละยี่ห้อมักจะใกล้เคียงกัน ให้เลือกที่เป็นน้ำตาลไม่ขัดสี จะดีกว่า
3. ทีเด็ดสุดเลย คือ สัดส่วนของ แป้งสาลี และ แป้งโฮลวีท ขนมปังโฮลวีทก็ควรมีแป้งโฮลวีทเยอะๆ
อย่างตัวอย่างนี้ เป็น แป้งสาลี 19% แป้งโฮลวีท 30% ถือว่าโอเค
ในขณะที่บางยี่ห้อ ขนมปังโฮลวีท อาจมีแป้งโฮลวีทนิดเดียว เป็นแป้งสาลีเยอะ ก็ไม่ต่างอะไรจากขนมปังขาวทั่วไป ครับ
เพื่อใครจะพิถีพิถันเลือกกินนะครับ แต่ถ้าเอาสะดวก ก็เอาที่หาซื้อกินง่ายๆ ไปก็ได้คร้าบ
แป้งสาลี คือ 在 HealthyChill เฮลตี้สายชิล Facebook 的精選貼文
ทำไมเราถึงควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป หรือ Processed Food ? ลองอ่านกันค่ะ
ปุ๋ยนี่เคยดูสารคดีการทำไส้กรอก เค้าเอาเศษเนื้อ เศษมัน กระดูกอ่อนที่เหลือโยนลงไปปั่นรวมกัน เลิกทานเลย 😭
และมีอาหารใกล้ตัวอีกหลายอย่างที่เป็น Processed Food ซึมลึกในชีวิตเรา
🤔🤔🤔🤔🤔🌿 เลือกดีๆ เนอะ
สืบเนื่องจากที่ผมแชร์เพจเรื่องเด็กเป็นมะเร็งและหมอจีนแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหาร ๙ ชนิด ซึ่งผมเห็นว่าเป็น processed food ทั้งนั้น จึงขอนำเสนอเรื่องที่ผมเขียนเกี่ยวกับอันตรายของ processed food ที่จะเผนแพร่ในนิตยสารครัวฉบับเดือนมิถุนายน
Processed food อันตราย!
อาหารอุตสาหกรรม หรือ processed food (ซึ่งภาษาไทยมักแปลว่า “อาหารแปรรูป” แต่ผู้เขียนเห็นว่าเพื่อความชัดเจนน่าจะแปลว่า “อาหารผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม” เรียกสั้นๆว่า “อาหารผ่านกระบวนการ” หรือ “อาหารอุตสาหกรรม” มากกว่า) กำลังเป็นปัญหาคุกคามสุขภาพของคนมากขึ้นทุกที แม้อาหารอุตสาหกรรมจะกินสะดวก สอดรับกับวิถีชีวิตอันเร่งรีบของผู้คนในสังคมสมัยใหม่ แต่กระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีลดทอนองค์ประกอบอาหารธรรมชาติลง เพื่อผลิตอาหารต่อได้อย่างเสถียร มีอายุนานไม่เสียง่าย สีสันบริสุทธิ์ และได้รสชาติถูกปาก ได้ลดทอนสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ทั้งหลาย ลงไปอย่างมาก แถมสารเคมีที่เติมเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นสารฟอกขาว สารกันบูด ฯลฯ ยังอาจตกค้างเป็นอันตรายกับคนกินอีกทางหนึ่ง แม้อาหารอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น แป้งขนมปัง น้ำมันพืช จะเสริมวิตามินเกลือแร่บางชนิดเข้ามา แต่ก็ไม่อาจชดเชยความสมดุลของสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆในอาหารธรรมชาติได้ ถึงที่สุดแล้วร่างกายอาจไม่สามารถดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ที่เสริมเข้ามา จนอาจตกค้างทำให้เกิดโรคภัยอีกทางหนึ่ง
อ่านถึงตรงนี้ คงต้องยกตัวอย่างอะไรคืออาหารผ่านกระบวนการ เช่น กาแฟ 3 in 1 เป็น processed food แบบสุดๆ ชงกาแฟสำเร็จรูปใส่คอฟฟี่เมตและน้ำตาลทราย เป็น processed food รองลงมา หากบดเมล็ดกาแฟและชงดื่มเอง เรียกว่าใกล้ธรรมชาติมาก และถ้าถึงกับคั่วกาแฟเองละก็ นับเป็น real coffee เลย หรือตัวอย่างการทำแพนเค้ก หากคุณซื้อแป้งแพนเค้กกล่องมาใช้ นั่นเป็น processed food แน่ๆ ซื้อแป้งสาลีมาผสมเอง เป็น processed food รองลงมา เพราะแป้งสาลีขัดขาวเป็น processed food มากอยู่แล้ว ทว่า หากคุณซื้อข้าวสาลีมาบดเป็นแป้งเอง จะนับเป็น whole food หรือ real food ก็ย่อมได้
อาหารผ่านกระบวนการอาจดูกันง่ายๆว่าหมายถึง บรรดาอาหารว่าง ของขบเคี้ยว และขนมฝรั่งทั้งหลาย (คุกกี้ บิสกิต เค้ก ฯลฯ) ที่บรรจุในกล่อง ขวด กระป๋อง ตลอดจนเครื่องดื่มน้ำหวานทั้งหลาย ที่วางขายกันเกลื่อนบนชั้นแถวกลางๆในซูเปอร์มาร์เก็ต ล้วนเป็นอาหารผ่านกระบวนการที่นักโภชนาการเรียกว่า “empty food” เพราะให้แต่แคลอรีล้วนๆ แทบไม่มีสารอาหารอื่นใดเลย
ทุกวันนี้ อาหารอุตสาหกรรมแทรกซึมอยู่ในวิถีอาหารการกินของเรามากอย่างคาดไม่ถึง เพราะนอกจากอาหารกล่อง อาหารกระป๋องแล้ว เครื่องปรุงอาหารพื้นฐานที่ใช้ในการประกอบอาหารของเรา ก็เป็น processed food ไปแล้ว
แป้งสาลี คนรู้จักโม่ข้าวทำแป้งทำขนมปังมาช้านานแล้ว แต่แป้งขนมปังกลายมาเป็น processed food เมื่อเกือบสองร้อยปีมานี้เอง แม้การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้มีเครื่องกลช่วยบดแป้งได้ปริมาณมาก แต่แป้งสาลีเต็มรูปมักเหม็นหืนเร็ว ทำให้ไม่สามารถผลิตขายมากๆอย่างที่บริษัทแป้งต้องการ ต่อเมื่อมีเครื่อง middling purifier ที่สามารถเป่าแยกรำและจมูกข้าวออกไป ในปี 1865 จึงเริ่มเปิดศักราชของแป้งขัดขาว ตามมาด้วยเครื่องบดโม่แบบเหล็ก roller miller ที่มีประสิทธิภาพสูง ในอีก13 ปีต่อมา ทำให้อุตสาหกรรมแป้งสาลีขยายตัวอย่างมาก ทว่า เท่านี้ยังไม่พอ แป้งยังต้องฟอกขาวด้วยสารเคมีอีกหลายชนิด เพื่อช่วยยืด shelf-life เสริมกลูเตนในแป้งให้แข็งแรงขึ้นฟูได้มาก
เมื่อรำและจมูกข้าวถูกแยกออก วิตามินเกลือแร่จึงหายไปจากแป้งสาลีขัดขาว ซ้ำกระบวนการฟอกขาวด้วยสารเคมียังขจัดสารอาหารต่างๆที่เรียกว่า trace elements ออกไปด้วย แป้งขนมปังแบบขัดขาวจึงเหลือแต่ refined carbohydrate โดยแทบไม่เหลือวิตามินเกลือแร่และสารอาหารอื่นๆ แม้ภายหลังผู้ผลิตจะใส่วิตามินบี1 บี6 และเหล็ก เข้ามาตามข้อบังคับของรัฐบาล แต่ก็ไม่อาจฟื้นองค์ประกอบของสารอาหารที่ดำรงอยู่ในข้าวเต็มรูป ดังที่กล่าวมาแล้ว
ทุกวันนี้เราใช้แป้งสาลีขัดขาวทำอาหารและขนมต่างๆ เรากำลังกินอาหารที่ปราศจากแร่ธาตุวิตามินที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบร่างกาย นี่ยังไม่นับโทษของ refined carbohydrate ที่ทำให้ระบบเมตาบอลิซึมเสื่อมลงอีกต่างหาก
แป้งและข้าวสาลีขัดขาวไม่ดีกับเราอย่างไร ข้าวสารขัดขาวก็อุปมาได้ทำนองเดียวกัน
น้ำมันพืช ฟันธงได้เลยครับว่าน้ำมันพืชสีเหลืองใสปิ๊งที่เราใช้ทำอาหาร ทั้งน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นน้ำมัน highly processed ทั้งนั้น ภายใต้ชื่อแบบอำพรางความจริงว่า “น้ำมันผ่านกรรมวิธี” (refined oil) ตั้งแต่ขั้นตอนการใช้สารเคมีละลายน้ำมันออกมาจากเนื้อผลหรือเมล็ดพืช ใส่สารเคมีกำจัดสารอื่นๆออกให้เหลือเพียงน้ำมันบริสุทธิ์ ซึ่งยังต้องใส่สารเคมีเพื่อช่วยฟอกสีและฟอกกลิ่น ผลลัพธ์สุดท้ายคือน้ำมันที่เหลืองใสปิ๊ง แต่ปราศจากสารอาหารใดๆ นอกจากกรดไขมัน แถมด้วยสารเคมีอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการที่อาจหลงปนเข้ามา ถ้าใครยังไม่เชื่อว่าน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี คือ น้ำมันที่ highly processed ขนาดหนัก ต้องดูกระบวนการกลั่นน้ำมันคาโนลา ตามลิงค์นี้ครับ (https://www.youtube.com/watch?v=omjWmLG0EAs)
ปัญหาอีกอย่างของน้ำมันพืชที่สร้างความหนักใจให้ผู้บริโภค คือ หลายตัวมีกรดไขมันเชิงซ้อนสูง ซึ่งไม่ดีกับสุขภาพ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจและสโตรก ยิ่งกว่านั้น ยังมีอันตรายจากไขมันทรานส์ ถ้ามีการทำ partial hydrogenation ให้น้ำมันมีจุดเดือดสูงขึ้น ไม่เหม็นหืนง่าย (ดูเรื่อง “การเมืองเรื่องน้ำมันพืช นิตยสารครัวเดือนมกราคม 2560 หน้า 16-18)
น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีไม่ได้ใช้ทำอาหารที่บ้านเท่านั้น หากยังใช้อย่างแพร่หลายในอาหารอุตสาหกรรมมากมาย เพราะช่วยรสชาติและราคาถูก ที่เห็นชัดๆ คือ มาร์การีนและฟู้ดชอร์ตเทนนิง (ซึ่งมี trans fat) อันใช้ในอาหารอุตสาหกรรมมากมาย ตลอดจนฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ทั้งนี้ต้องตอกย้ำว่า มาร์การีนและฟู้ดชอร์ตเทนนิ่งเป็นอีกสุดยอดหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารผ่านกระบวนการ
น้ำมันพืชที่มีสารอาหารใกล้เคียงกับธรรมชาติมากสุด คือ น้ำมันหีบเย็น (cold press) แต่สนนราคาก็แพงเอาการ ดูเหมือนว่าการหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องปรุงด้วยน้ำมันเป็นทางออกที่ดีสุด ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องกลัวขาดกรดไขมันด้วย เพราะไขมันมีอยู่มากมายใน whole foods จำพวกถั่ว นัท และธัญพืชต่างๆอยู่แล้ว
น้ำตาล น้ำตาลทราย ตลอดจนไฮฟรักโทสคอร์นไซรัปและแบะแซ (tapioca syrup) ถือเป็นอาหารผ่านกระบวนการเหมือนกัน แม้จะใช้สารเคมีไม่มากเท่าการกลั่นน้ำมันพืช แต่ส่วนประกอบสารอาหารในน้ำอ้อยก็ถูกลดทอนลงจนเหลือน้ำตาลซูโครสอย่างเดียว ซูโครสให้พลังงาน หากเป็น empty calories สารอาหารอื่นๆอันมีตามธรรมชาติในอ้อยถูกขจัดไปสิ้นในการโปรเซสน้ำตาลทราย
น้ำตาลทรายในฐานะ empty calories ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้คน เพราะอุตสาหกรรมอาหารเห็นประโยชน์นำมาใช้ผลิตอาหารให้ผู้คนกินอย่างกว้างขวาง เริ่มด้วยการผลิตเครื่องดื่มน้ำหวานให้คนดื่มกินจนเกิดปัญหาอ้วนเกิน เบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ จนองค์การสาธารณสุขทั่วโลกต้องออกมาเสนอให้จัดเก็บภาษีเพื่อแก้ไขปัญหาทางหนึ่ง ทว่า เรื่องไม่จบง่ายๆแค่นั้น เพราะน้ำตาลแทรกอยู่ในอาหารผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมนับจำนวนสินค้าหมื่นๆแสนๆรายการที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต
ลองคิดดูครับว่า ในหมู่ผู้ที่นิยมดื่มน้ำหวานและกินอาหารผ่านกระบวนการเป็นหลัก ร่างกายกำลังอดอยากวิตามินเกลือแร่และสารอาหารอื่นๆมากแค่ไหน ที่สุดจะไม่ป่วยเป็นโรคอย่างไรได้
ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคนรักสุขภาพ คือ เลือกกินอาหารธรรมชาติเป็นหลัก ดังฝรั่งเรียก whole food หรือ real food ด้านกลับ คือ กิน processed food น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารอุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตหรือแปรรูป ในทางปฏิบัติอาจจำแนกอาหารเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ 1. unprocessed อาหารธรรมชาติแท้ๆ เช่น ผัก ผลไม้สด ถั่วต่างๆ เป็นต้น 2. processed นิดหน่อย เช่น น้ำตาลอ้อย ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น บางคนว่าอาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารแช่แข็ง อยู่ในประเภทนี้ด้วยเพราะไม่ได้ทำให้อาหารลดคุณค่าโภชนาการลง หากบางตัวทวีขึ้นเสียอีก และ 3. highly processed อาทิ แป้งขนมปัง น้ำมันพืช นมพร้อมดื่ม ชิปมันฝรั่ง ฯลฯ ที่สารอาหารเดิมถูกขจัดเกือบหมด โดยที่ประเภทหลังควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด ในตะวันตก ฝรั่งมักแนะนำให้ดูฉลากแสดงเครื่องประกอบอาหาร อาหารใดมีรายการเครื่องประกอบอาหารมากมาย แสดงว่าผ่านกระบวนการมาก ไม่ควรซื้อใช้ บางคนแนะให้ดูง่ายๆว่า อาหารนั้นอาจปรุงเองที่บ้านได้หรือไม่ หากปรุงไม่ได้ ใช่เลย highly processed
กินอยู่อย่างไม่ข้องแวะกับอาหารผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม แม้ไม่ง่าย ก็ควรพยายามจนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน จนเป็นนิสัย ในสังคมสมัยใหม่ที่การผลิตอาหารเป็นไปเพื่อการค้าและผลกำไรเป็นที่ตั้ง มากกว่าคุณค่าโภชนาการของอาหาร พวกเราไม่มีทางเลือก นอกจากลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้เป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด เลือกกินอาหารธรรมชาติที่เมนูสารอาหารต่างๆถูกจัดอย่างลงตัวมาแล้ว - ทวีทอง