การเปลี่ยนแปลงของ Bond Yield ส่งผลต่อตลาดหุ้น อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
“Bond Yield” หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร
เป็นคำศัพท์ในโลกการลงทุน ที่เรามักได้ยินกันเป็นประจำ
ช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็น Bond Yield ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
สวนทางกับ ราคาหุ้นในหลายตลาด ที่ปรับตัวลดลง
แล้วเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
พันธบัตร คือ ตราสารหนี้ชนิดหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งจะมีอายุของตราสารมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
โดยผู้ซื้อหรือนักลงทุน จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ของหน่วยงานของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้ออกตราสาร โดยที่เจ้าหนี้ จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” หรือ “Bond Yield”
ข้อดีของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็คือ
มีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีรัฐบาลเป็นลูกหนี้
ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่รัฐบาลจะผิดชำระหนี้เรา
ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้รับนั้น ก็มักจะสูงกว่าการฝากเงินกับธนาคาร
โดยตราสาร ที่นักลงทุนติดตามกันมากที่สุดตัวหนึ่ง
คือ “พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี”
เพื่อให้เข้าใจคำว่า Bond Yield กันชัด ๆ ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน
ถ้ารัฐบาลออกพันธบัตรอายุ 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้เท่ากับ 2% และมีราคาที่ตราไว้ (Par Value) เท่ากับ 1,000 บาท
ถ้าเราลงทุนในพันธบัตรนี้และถือจนครบกำหนด 10 ปี
สิ่งที่เราจะได้คือ ดอกเบี้ยปีละ 2% คิดเป็นปีละ 20 บาท ถ้ารวมดอกเบี้ยตลอด 10 ปี ก็จะรวมได้เป็น 200 บาท
ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ปีละ 2% ก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
หรือที่เรียกว่า “Bond Yield” นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม พันธบัตรรัฐบาล สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ราคาพันธบัตรจึงสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงได้
ทำให้นักลงทุน สามารถมาซื้อขายทำกำไรกันตามการขึ้นลงของราคาพันธบัตรได้
โดยถ้ามี Demand ต้องการพันธบัตรในช่วงนั้น ราคาของพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นจากราคาที่ตราไว้ได้ ซึ่งเมื่อราคาสูงขึ้น Yield หรือผลตอบแทนของพันธบัตร เมื่อเทียบกับราคา ก็จะลดลงสวนทางกัน
เช่น ราคาพันธบัตรสูงขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท พันธบัตรให้ดอกเบี้ยปีละ 20 บาทเท่าเดิม ดังนั้น Yield ก็จะลดลงจาก 2% เหลือ 1%
ถ้าเราย้อนกลับไปตอนที่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างหนักในช่วงต้นปีที่แล้ว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงถึงต่ำสุดที่ 0.54% ช่วงเดือนมีนาคม 2020
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น สะท้อนความกลัวของนักลงทุนในเวลานั้นว่า โควิด 19 จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ เพราะนักลงทุนเกิดการเทขายหุ้น เพื่อย้ายเงินเข้าไปซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งก็รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งนั่นก็คือ สาเหตุที่ Bond Yield ในตอนนั้นลดต่ำลงมาก
หลังจากนั้น ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก ก็ได้ทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการทำ Quantitative Easing (QE) จนมีปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้นในตลาดการเงิน
ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำ บวกกับเงินที่ไหลเข้ามาในระบบจำนวนมาก
สุดท้ายนักลงทุนก็ต้องมองหาสินทรัพย์ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ราคาหุ้นในหลายตลาด ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั่วโลก เริ่มดูจะควบคุมได้มากขึ้นเพราะการมาของวัคซีน และเศรษฐกิจในหลายประเทศก็เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว
Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ก่อนหน้านี้ลดต่ำลง
ก็กำลังกลับมาปรับตัวสูงขึ้น จนมาอยู่ที่ประมาณ 1.45%
จากเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ประมาณ 0.94%
Bond Yield ที่กลับมาเพิ่มขึ้นนี้ ก็เนื่องจาก นักลงทุนเริ่มมีความกังวลว่า
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการอัดเงินเข้ามา กำลังจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ
แล้วเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ก็จะกดดันให้ผลตอบแทนที่แท้จริง จากการถือครองพันธบัตรนั้นลดลงไป
(ผลตอบแทนที่แท้จริง คำนวณได้จาก อัตราดอกเบี้ย ลบด้วย อัตราเงินเฟ้อ)
ทำให้พันธบัตรรัฐบาลที่ถือกันอยู่ตอนนี้ มีความน่าดึงดูดลดน้อยลง และเริ่มถูกเทขายออกมากันมากขึ้น เมื่อถูกเทขายมาก Bond Yield ก็กลับมาเพิ่มสูงขึ้นตามกลไกที่ได้อธิบายไปข้างบนนั่นเอง
มาถึงคำถามสำคัญ คือ ทำไม Bond Yield ที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงกดดันราคาหุ้นในหลายตลาดให้ลดลง ?
เรารู้กันไปแล้วว่า Bond Yield ที่เพิ่มขึ้นมานั้น
สะท้อนความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่กำลังจะเพิ่มขึ้นในไม่ช้า
เมื่อเงินเริ่มเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ก็จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอีกไม่ช้า เพื่อคุมความร้อนแรงของเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว
และการที่ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนี้เอง
เป็นปัจจัยส่งผลในด้านลบ กับบริษัทในตลาดหุ้น
เพราะหลายบริษัทที่กู้ยืมมาก่อนหน้านี้มาก ๆ ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จะต้องแบกรับภาระหนี้ที่หนักขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับขึ้นในอนาคต
รวมถึงบริษัทไหนที่มีแผนจะกู้ยืมผ่านการออกหุ้นกู้ (Bond) ก็จะมีภาระมากขึ้น เพราะต้องเสนออัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ที่สูงขึ้น
แล้วพันธบัตรรัฐบาลก็ถูกเทขาย หุ้นก็ถูกเทขาย แล้วเงินจะไปไหน ?
ประเด็นก็คือ พันธบัตรรัฐบาลจะมีการออกรุ่นใหม่มาเรื่อย ๆ
ซึ่งถ้า FED ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
พันธบัตรรุ่นใหม่ที่ออกมา ก็จะมี Yield ที่สูงขึ้น เพื่อดึงดูดให้คนมาซื้อ
หมายความว่า พันธบัตรรัฐบาลที่จะออกมาในอนาคต
จะให้อัตราดอกเบี้ยที่มากกว่า รุ่นที่ซื้อขายกันอยู่ปัจจุบัน
ซึ่งก็อาจบอกได้ว่า นักลงทุนจะเทขายพันธบัตรรุ่นเก่าในตลาด เพื่อเก็บเงินสดหรือตราสารหนี้ระยะสั้น เอาไว้รอซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่
สรุปเรื่องนี้ทั้งหมดก็คือ การที่ Bond Yield เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ เพราะนักลงทุนเริ่มเห็นถึงสัญญาณของเงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้น
และความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ก็ส่งผลไปถึง ตลาดหุ้นที่เคยร้อนแรงก็จะดูน่าสนใจลดลงไป
เพราะต้นทุนทางการเงินของบริษัทกำลังจะสูงขึ้น
รวมไปถึงการประเมินมูลค่าบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบใช้คือ DCF (Discounted Cash Flow) จะใช้อัตราคิดลด (Discount Rate) ของเงินในอนาคตให้กลับมาที่ปัจจุบัน โดยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย
ซึ่งพออัตราคิดลดสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย ก็จะทำให้ได้มูลค่าที่เหมาะสมลดลงเช่นกัน และนั่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนขายหุ้น เพราะราคาหุ้นที่เหมาะสมของบางบริษัท อาจต่ำกว่าราคาหุ้นปัจจุบันไปแล้ว
และทั้งหมดนี้ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของ Bond Yield
กับราคาหุ้นในหลาย ๆ ตลาด ที่ลงทุนแมนคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องนี้นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=4952&type=article
-http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/25052017.aspx
-https://www.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield
-https://kasikornbank.com/th/k-expert/knowledge/articles/savings/Pages/Invest_A125.aspx
-https://www.treasury.gov/resource-center/data-chart-center/interest-rates/pages/textview.aspx?data=yield
「เจ้าหนี้ คือ」的推薦目錄:
- 關於เจ้าหนี้ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於เจ้าหนี้ คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於เจ้าหนี้ คือ 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
- 關於เจ้าหนี้ คือ 在 เจ้าหนี้การค้าคืออะไร มีแล้วดียังไง... - หมอยุ่งอยากมีเวลา | Facebook 的評價
- 關於เจ้าหนี้ คือ 在 ทวงหนี้ 2018! ลูกหนี้ต้องดู เจ้าหนี้ต้องรู้ | สติข่าว - YouTube 的評價
- 關於เจ้าหนี้ คือ 在 กปว. แจงคืบหน้าจ่ายเงินเจ้าหนี้ของบริษัทประกันภัยที่เลิกกิจการ 的評價
เจ้าหนี้ คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
SME ควรอ่านเอาไว้! ธุรกิจมีปัญหาหนี้สินรัดตัว ยื่นฟื้นฟูกิจการช่วยได้ รีบวางแผนให้เร็ว รัดกุม ก็จะสามารถผ่านวิกฤตไปได้ …ในสถานการณ์ที่โควิด-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่นี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการหลายท่าน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง SME ที่มีจำนวนมากอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย ซึ่งการสั่งปิดสถานที่ประกอบการหลายแห่งส่งผลให้ธุรกิจนั้นเกิดปัญหา ขาดสภาพคล่อง เกิดภาระหนี้สิ้นเพิ่มมากขึ้น หากปล่อยไว้อาจทำให้ไม่สามารถดูแลกิจการต่อได้และเสี่ยงถูกฟ้องล้มละลายได้ในที่สุด แต่อย่าพึ่งกังวลไป เพราะ “การฟื้นฟูกิจการ” สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้
.
การฟื้นฟูกิจการ คือ ทางเลือกหนึ่งของลูกหนี้ที่จะยื่นขอฟื้นฟูกิจการเพื่อช่วยให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ ให้สามารถดำเนินการธุรกิจต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น การบินไทย วุฒิศักดิ์คลินิก ที่ยื่นศาลล้มละลายกลาง ขอฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย สำหรับในต่างประเทศก็มีกรณีเช่นนี้เหมือนกันนั่นก็คือ บริษัท MUJI เป็นต้น โดยที่การยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ สามารถยื่นได้ทั้งในกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายแล้ว หรือก่อนที่จะมีการฟ้องให้ล้มละลายก็ได้
.
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การฟื้นฟูกิจการ ไม่ใช่การล้มละลาย เพราะ “การล้มละลาย” คือ การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้จะไม่มีสิทธิกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนเองได้เลย แต่จะเป็นการนำเอาทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งให้กับเจ้าหนี้ตามกระบวนการทางกฎหมาย สำหรับ “การฟื้นฟูกิจการ” คือ เมื่อศาลรับและอนุมัติคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะได้รับสภาวะพักการชำระหนี้ และสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ แต่ต้องทำแผนฟื้นฟูกิจการและต้องดำเนินตามแผนระยะเวลาตามแผน 5 ปี และขอขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยจะได้รับความคุ้มครองกิจการและทรัพย์สิน เช่น เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องคดีแพ่งหรือบังคับคดี เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ และห้ามตัดน้ำตัดไฟ เป็นต้น
.
• สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ประกอบไปด้วย เจ้าหนี้, ลูกหนี้, ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.), กรมการประกันภัย และ หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้
• หลักการเบื้องต้นในการขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กฎหมายการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้/ลูกหนี้ ปี 2541 มีเงื่อนไขดังนี้
1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้
2. มีหนี้สินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
3. มีเหตุอันควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
4. ศาลยังไม่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
5. ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคล หรือ นิติบุคคลเลิกกันด้วยเหตุอื่น หรือศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล (ยังไม่ปิดกิจการ)
6. ยื่นคำขอโดยสุจริต
.
ถึงอย่างนั้นด้วยเพดานหนี้ทีต้องมีสูงถึง 10 ล้าน ทำให้โอกาสในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ SME นั้นมีน้อยมาก ทำให้มีการเพิ่มบทบัญญัติเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด และบริษัทจํากัด ก็สามารถขอฟื้นฟูกิจการได้เช่นกัน โดยจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้มีสามารถเป็นเป็นกรณีได้ดังนี้
- กิจการ SME (ขนาดกลางและขนาดย่อม) บุคคลธรรมดา : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
- บริษัทจํากัด : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
.
สำหรับ SME ในการขอฟื้นฟูกิจการจะมีขั้นตอนที่รวบรัดกว่าปกติ เพราะจากที่ปกติศาลต้องมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก่อน แต่สำหรับ SME สามารถแนบแผนฟื้นฟูกิจการพร้อมกับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้เลย แล้วหากศาลเห็นชอบกับแผนที่เสนอ ก็จะมีคำสั่ง "ให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน" จากนั้นก็สามารถดำเนินการบริหารธุรกิจตามแผนต่อไปได้เลย
.
ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการ SME ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาทางธุรกิจอยู่นั้น กระบวนการขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ SME ก็เป็นอีกตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ นอกจากจะอำนวยความสะดวกต่อลูกหนี้ในการปรับตัวและแก้ไขการดำเนินธุรกิจแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อเจ้าหนี้ที่จะได้รับการชำระหนี้อย่าครบถ้วนมากกว่ารับการแบ่งทรัพย์สินจากการล้มลายของธุรกิจ นอกจากนี้รัฐบาลอาจจะต้องมีการเพิ่มและปรับมาตรการในการรองรับการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการจากผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและบ้านเมืองที่กำลังเผชิญอยู่มากขึ้น ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกท่านผ่านพ้นวิกฤตและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นตลอดทั้งปี
.
ที่มา : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/sme-rehabilitation.html
https://www.dharmniti.co.th/business-debtor/
https://www.terrabkk.com/articles/198532/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#SME #เอสเอ็มอี #ผู้ประกอบการรายย่อย #ล้มละลาย #ฟื้นฟูกิจการ #วางแผนการเงิน #วางแผนธุรกิจ #ผ่อนชำระหนี้ #พักชำระหนี้ #หนี้ #การเงิน #ธุรกิจ #ปลดหนี้ #เจ้าหนี้ #ลูกหนี้ #ธนาคารแห่งประเทศไทย #สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ #กรมการประกันภัย
เจ้าหนี้ คือ 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
ทำธุรกิจ แยกบัญชียังไงให้รอด?
สรุปประเด็นจาก #เถ้าแก่มีตังค์ ตอนที่ 2
สิ่งที่ธุรกิจต้องทำ มีอยู่ 3 ประเด็น
เพื่อให้เห็นประโยชน์ของตัวเลขอย่างแท้จริง
1. แยกบัญชีรายรับรายจ่าย
2. จัดการเอกสารหลักฐาน
3. วิเคราะห์ข้อมูลกิจการได้
ประเด็นแรก แยกบัญชีรายรับรายจ่าย
แนะนำเป็นขั้นตอนดังนี้
1. เปิดบัญชีใหม่ แยกให้ชัด
2. รับเงินและจ่ายเงินผ่านบัญชีเท่านั้น
3. แยกให้ชัดเจนเป็นแต่ละกิจการ (ถ้ามีหลายกิจการ)
4. ยอดที่ได้ คือ รายได้ยื่นภาษี แต่ต้องระวังเรืองรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะมีภาระเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย
5. เวลาจะเอาเงินออกจากธุรกิจ ควรแยกคิดเป็นเงินเดือนที่ชัดเจน
ประเด็นที่สอง การจัดการเอกสาร
ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรือง แต่เน้นที่จำเป็น
1. ธุรกิจเรามีลักษณะแบบไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
2. จำไว้ว่าบันทึกรายการค่าใช้จ่าย เพื่อจัดการบัญชี ส่วนประเด็นเรื่องภาษี (ค่าใช้จ่ายจริง และ เหมา) เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
3. เลือกโปรแกรมบัญชีรายรับรายจ่ายที่เหมาะกับเรา ตรงกับจริต ใช้งานแล้วถนัด ดีที่สุด
ประเด็นสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลให้เป็น
ดูให้ออกระหว่างกำไร และ เงินสด
1. ธุรกิจต้องมีทั้งกำไรและกระแสเงินสดที่ดี
2. การบริหารจัดการลูกหนี้ เจ้าหนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูแล เพื่อประมาณการกระแสเงินสดของธุรกิจ
3. การมีข้อมูลที่ดี ทำให้รู้ว่าธุรกิจต้องมีเงินสำรองเท่าไร?
สุดท้ายนี้ ย้ำให้ชัดอีกทีว่า การแยกบัญชีรายรับรายจ่าย ไม่ได้ทำเพื่อประเด็นภาษี แต่ทำให้รู้เรื่องกำไรและตัวเลขของธุรกิจที่ชัดเจนขึ้นต่างหาก
ด้วยความปราถนาดีจาก #เถ้าแก่มีตังค์
ปล. ติดตามรับชมรายการได้ทุกวันศุกร์ 2 ทุ่มตรง
ทาง Facebook และ Youtube Money Coach
เจ้าหนี้ คือ 在 ทวงหนี้ 2018! ลูกหนี้ต้องดู เจ้าหนี้ต้องรู้ | สติข่าว - YouTube 的美食出口停車場
การทวงหนี้ หากลูกหนี้ไม่อยู่แล้วไปทวงถามกับบุคคลรอบข้าง นอกจากนี้ยังมีการพ่นสีประจาน การกระทำเช่นนี้ เจ้าหนี้ สามารถทำได้หรือไม่ ... ... <看更多>
เจ้าหนี้ คือ 在 กปว. แจงคืบหน้าจ่ายเงินเจ้าหนี้ของบริษัทประกันภัยที่เลิกกิจการ 的美食出口停車場
กปว. แจงคืบหน้าจ่ายเงิน เจ้าหนี้ ของบริษัทประกันภัยที่เลิกกิจการ กองทุนประกันวินาศภัย หรือ กปว. ปรับรูปแบบเว็บไซต์ ให้ใช้งานสะดวก ... ... <看更多>
เจ้าหนี้ คือ 在 เจ้าหนี้การค้าคืออะไร มีแล้วดียังไง... - หมอยุ่งอยากมีเวลา | Facebook 的美食出口停車場
แต่ก็ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก จะอ่านงบการเงินยังไง ตัวเลขเหล่านั้นมีความหมายอะไรซ่อนอยู๋ ถ้าสงสัย และสนใจการลงทุนหุ้น แนะนำคอร์สออนไลน์ I-INVESTOR ... <看更多>