ข้อสังเกตสถานะทางกฎหมายของกฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังมีประเด็นข้อคำถามว่ากฎหมายในหมวดนี้ถือเป็นกฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญหรือเป็นกฎหมายที่ออกตามความรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงกฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญหรือเป็นกฎหมายที่ออกตามความรัฐธรรมนูญ ว่าคือกฎหมายอะไร
“กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ” หมายถึง “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ” (Organic Law) เป็นกฎหมายที่ผูกอิงอยู่กับรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ แตกต่างจากกฎหมายชนิดอื่น ๆ เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น เป็นกฎหมายที่สำคัญรองจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญจะกล่าวถึงเฉพาะหลักการสำคัญ ส่วนรายละเอียดก็กำหนดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อขยายเนื้อหาในรัฐธรรมนูญโดย “อาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ” ในการหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ “ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ” กำหนดให้มี “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ” เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” (Organic Act) ซึ่งเป็น “กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ” เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็น “กฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ” และได้กำหนดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีสถานะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญเทียบเท่ากับกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ โดยให้เหตุผลว่าถึงแม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายพิเศษ แต่มีลำดับชั้นทางกฎหมายลำดับชั้นเดียวกับพระราชบัญญัติ เพียงแต่มีเงื่อนไขในการตราที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติ คือ มีกรอบเนื้อหาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วโดยรัฐธรรมนูญมีไว้เพื่อขยายความรัฐธรรมนูญ และเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญนั้นเองจะเป็นผู้กำหนดว่าให้มีกฎหมายใดบ้างที่ถือเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกำหนดกรอบว่ากฎหมายนั้นจะมีเนื้อหาอย่างไร โดยจะมีกระบวนการตรา คือ การออกกฎหมายที่พิเศษเฉพาะกว่ากฎหมายทั่วไป แต่ลำดับศักดิ์ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่น่าจะสูงกว่าพระราชบัญญัติ ด้วยเหตุผล 2 ประการที่สำคัญดังนี้
ประการที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคดีที่ 1-2/2550 และ คดีที่ 3-5/2550 ได้วินิจฉัย “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีสถานะทางเท่าเทียมกับพระราชบัญญัติ” ถือว่าเป็น “กฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ” เช่นเดียวกัน
ประการที่ 2 คือ ไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดให้อำนาจตรา “กฎหมาย” (ในความหมายของพระราชบัญญัติ) ขึ้นมาเพื่อขยายความพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งการ “ออก (กฎหมาย) ลูก” ได้นี้ คือ ข้อบ่งชี้ประการหนึ่งของความเป็นกฎหมายที่ลำดับศักดิ์สูงกว่า ตามทฤษฎีห่วงโซ่แห่งความบริสุทธิ์ของกฎหมายของ ฮันส์ เคลเซ่น (Hans Kelsen) ดังนั้น หากมีกรณีขัดแย้งกันระหว่างพระราชบัญญัติทั่วไป กับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ต้องกลับไปสู่หลักการตีความกฎหมายทั่วไป คือ กฎหมายเฉพาะยกเว้นกฎหมายทั่วไป เช่นนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถือ เป็นกฎหมายเฉพาะ (คือเฉพาะเรื่องที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญ) จึงอาจยกเว้นกฎหมายทั่วไปได้ กฎหมายอื่นจึงขัดกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่ไม่ใช่เพราะมันลำดับศักดิ์สูงกว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ม มาตรา 130 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 “ให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน (6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (7) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน (8) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (10) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
แต่อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นับว่ามีความพิเศษกว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทั้ง 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้มีความเป็นพิเศษและมีความสำคัญกว่าพระราชบัญญัติจะเห็นได้จากจำนวนผู้มีเสนอร่างกฎหมาย การพิจารณาร่างกฎหมายและการควบคุมร่างกฎหมายที่แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติ
“กฎหมายที่ออกตามความของรัฐธรรมนูญ” หมายถึง “พระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ” ที่ออกมาโดย “อาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ” ซึ่ง “พระราชบัญญัติ” มีมากมายหลายฉบับด้วยกัน ตามความต้องการของประชาชนตามสถานการณ์ของบ้านเมือง เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขความสมบูรณ์ของกฎหมายที่จะตราขึ้นใช้บังคับ “ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ” กฎหมายนั้นย่อมเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ในตัวมันเองโดยมิได้ผูกอิงอยู่ติดกับรัฐธรรมนูญ ดังเช่นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ส่วน “กฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญของประเทศไทย” คือ กฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ ได้แก่ พระราชกำหนด ประมวลกฎหมาย กฎมณเทียรบาล กฎอัยการศึก เป็นต้น
“กฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศ” หมายถึง พระราชบัญญัติที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดไว้หมวดปฏิรูปประเทศหมวดที่ 16 ตั้งแต่มาตรา 257 ถึงมาตรา 261 ดังนี้
มาตรา 257 การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(1) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ
(2) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ
(3) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้
ก. ด้านการเมือง
(1) ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองรวมตลอดทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รู้จักยอมรับในความเห็นทางการเมืองโดยสุจริตที่แตกต่างกัน และให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งและออกเสียงประชามติโดยอิสระปราศจากการครอบงำไม่ว่าด้วยทางใด
(2) ให้การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองเป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน มีกระบวนการให้สมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และการคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรม เข้ามาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
(3) มีกลไกที่กำหนดความรับผิดชอบของพรรคการเมืองในการประกาศโฆษณานโยบายที่มิได้วิเคราะห์ผลกระทบ ความคุ้มค่า และความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
(4) มีกลไกที่กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
(5) มีกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
(1) ให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
(2) ให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน
(3) ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบการบริหารงานของรัฐและแผนกำลังคนภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ โดยต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงานของรัฐแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน
(4) ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐเพื่อจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาทำงานในหน่วยงานของรัฐ และสามารถเจริญก้าวหน้าได้ตามความสามารถและผลสัมฤทธิ์ของงานของแต่ละบุคคล มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีความคิดสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้การปฏิบัติราชการและการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองป้องกันบุคลากรภาครัฐจากการใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา
(5) ให้มีการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความคล่องตัว เปิดเผย ตรวจสอบได้และมีกลไกในการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
ค. ด้านกฎหมาย
(1) มีกลไกให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา ๗๗ และพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตและระบบการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัว โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(2) ปฏิรูประบบการเรียนการสอนและการศึกษาอบรมวิชากฎหมายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายให้เป็นผู้มีความรอบรู้ มีนิติทัศนะ และยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย
(3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมายของรัฐโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกฎหมายได้สะดวก และสามารถเข้าใจเนื้อหาสาระของกฎหมายได้ง่าย
(4) จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย
ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม
(1) ให้มีการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และมีกลไกช่วยเหลือประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ รวมตลอดทั้งการสร้างกลไกเพื่อให้มีการบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม
(2) ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ชัดเจนเพื่อมิให้คดีขาดอายุความ และสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา รวมทั้งกำหนดให้การสอบสวนต้องใช้ประโยชน์จากนิติวิทยาศาสตร์ และจัดให้มีบริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งหน่วยงานที่มีอิสระจากกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีทางเลือก
(3) เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้มุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว
(4) ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้เหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เกิดประสิทธิภาพ มีหลักประกันว่าข้าราชการตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้ง และโยกย้าย และการพิจารณาบำเหน็จความชอบตามระบบคุณธรรมที่ชัดเจน ซึ่งในการพิจารณาแต่งตั้งและโยกย้ายต้องคำนึงถึงอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกัน เพื่อให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด มีประสิทธิภาพและภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
จ. ด้านการศึกษา
(1) ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา 54 วรรค 2 เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(2) ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา ๕๔ วรรคหก ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(3) ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู
(4) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่
ฉ. ด้านเศรษฐกิจ
(1) ขจัดอุปสรรคและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี
(2) สร้างกลไกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(3) ปรับปรุงระบบภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มพูนรายได้ของรัฐด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงระบบการจัดทำและการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล
(4) สร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสหกรณ์และผู้ประกอบการแต่ละขนาดให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและวิสาหกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างกลไกเพิ่มโอกาสในการทำงานและการประกอบอาชีพของประชาชน
ช. ด้านอื่น ๆ
(1) ให้มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำในทุกมิติ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ประกอบกัน
(2) จัดให้มีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการตรวจสอบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดินทั้งประเทศเพื่อแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินอย่างเป็นระบบ
(3) จัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้
(4) ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน
(5) ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม
มาตรา 259 ภายใต้บังคับมาตรา 260 และมาตรา 261 การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศซึ่งอย่างน้อยต้องมีวิธีการจัดทำแผน การมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ การวัดผลการดำเนินการ และระยะเวลาดำเนินการปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งต้องกำหนดให้เริ่มดำเนินการปฏิรูปในแต่ละด้านภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้รวมตลอดทั้งผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังว่าจะบรรลุในระยะเวลาห้าปี
ให้ดำเนินการตรากฎหมายตามวรรค 1 และประกาศใช้บังคับภายใน 120 วันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ในระหว่างที่กฎหมายตามวรรค 1 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิรูปโดยอาศัยหน้าที่และอำนาจที่มีอยู่แล้วไปพลางก่อน
มาตรา 260 ในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายตามมาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม (4) ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ประกอบด้วย
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมเป็นที่ประจักษ์และไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน เป็นประธาน
(2) ผู้เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งอย่างน้อยต้องมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรวมอยู่ด้วย มีจำนวนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เป็นกรรมการ
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมเป็นที่ประจักษ์และไม่เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน มีจำนวนเท่ากับกรรมการตาม (2) เป็นกรรมการ
(4) ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการตามวรรค 1 ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรค 2 แล้ว ถ้าการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ให้การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจดำเนินการตามหลักอาวุโสตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 261 ในการปฏิรูปตามมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา ให้มีคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระคณะหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และให้คณะกรรมการดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
ดังนั้น จึงมีประเด็นคำถามว่า “กฎหมายในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” มีสถานะทางกฎหมายที่เป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐ หรือ เป็นเพียง พระราชบัญญัติที่เป็นกฎหมายที่ออกตามความรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกฎหมายจากกฎหมายในหมวดนี้ได้กำหนดไว้เฉพาะเจาะจงเป็นกฎหมายที่กำหนดในหมวดปฏิรูปประเทศที่กำหนดกรอบการตรากฎหมายไว้ชัดเจนมีลักษณะและที่สำคัญได้กำหนดวิธีการตราเช่นเดียวกันกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับพระราชบัญญัติในเรื่องชื่อ เป็น “พระราชบัญญัติ” และได้กำหนดการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันกับพระราชบัญญัติ ทำให้พระราชบัญญัติในหมวดปฏิรูปประเทศภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีลักษณะที่เป็นลูกผสมระหว่าง “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” กับ “พระราชบัญญัติ” เกิดคำถามที่ทำให้งวยงงว่า กฎหมายเหล่านี้เป็นกฎหมายประใดกันแน่
「อารมณ์ หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於อารมณ์ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於อารมณ์ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於อารมณ์ หมายถึง 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的最佳解答
- 關於อารมณ์ หมายถึง 在 12 สัญญาณที่บอกว่าผู้ใดมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ - YouTube 的評價
- 關於อารมณ์ หมายถึง 在 Emotional intelligence… ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความ ... 的評價
อารมณ์ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ปัจจัยที่นำไปสู่การกำเนิดกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “กฎ” และ “กติกา” (Rule) ที่มนุษย์พัฒนามาเป็นกฎหมายได้นั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ ที่เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การกำเนิดกฎหมาย คือ มนุษย์ สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางสังคม ดังนี้
1. มนุษย์ที่รวมตัวกันเป็นสังคม
มนุษย์ (Human) กำเนิดขึ้นในธรรมชาติ มนุษย์ไม่อาจอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวในธรรมชาติ จึงต้องรวมตัวกันเพื่อแบ่งหน้าที่และช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อมในปัจจัย 4 ที่จำเป็นแห่งการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหารเพื่อดำรงชีวิต เครื่องนุ่งห่มเพื่อปกป้องร่างกาย ที่อยู่อาศัยเพื่อความปลอดภัยและยารักษาโรคเพื่อรักษาสุขภาพ จากความต้องการปัจจัย 4 นี้เองมนุษย์จึงต้องรวมตัวกัน เพื่อต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิติและต้องการอยู่ดีกินดีมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันในสังคมมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวของคนแต่ละคนเกิดจากตัณหาภายในและความเสื่อมถอยแห่งคุณธรรมของคน ก็จะทำให้มนุษย์บางกคนกระทำความผิด เช่น การละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การหยิบฉวยสิ่งของอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมหรือเจ้าของไม่ยินยอม การพรากลูกผิดเมียเขา การทำร้ายร่างกายและชีวิตของผู้อื่น ฯลฯ ความผิดเหล่านี้เมื่อมีมากขึ้นย่อมจะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยส่วนรวมในสังคมวุ่นวายไม่สงบ มนุษย์ส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องอาศัยข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับอันเป็นเงื่อนไขข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน ดังนั้นมนุษย์เป็นบุคคลที่มีชีวิตตามธรรมชาติที่รวมตัวกันอยู่ในสังคมแบบชุมชนและรวมตัวแบบสมาคม ดังนี้
1.1 สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบชุมชน
สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบชุมชน (Community) เป็นสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของมนุษย์ไม่ได้จงใจก่อตั้งขึ้นมา แต่ชุมชนได้ค่อยๆเกิดขึ้นและวิวัฒนาการผันเปลี่ยนแปลงไปในตัวเอง ดังนี้
1.1.1 ครอบครัว
ครอบครัว (Family) เป็นสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากสัญชาติญาณของมนุษย์ได้แก่สัญชาติญาณ 2 สัญชาติญาณ สัญชาติญาณที่ 1 ของความเป็นแม่ซึ่งมีอยู่ในผู้หญิงทุกคนทำให้มารดาเลี้ยงดูบุตรผูกพันให้ผู้หญิงอยู่ร่วมกับบุตร สัญชาติญาณที่ 2 คือสัญชาติญาณที่จะสืบทอดเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นสัญชาติญาณทางเพศ ที่จะผลักดันให้ชายกับหญิงมาอยู่ร่วมกันอย่างถาวร อันทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาและบิดามารดา
1.1.2 โคตรตระกูล
โคตรตระกูล (Clan) เกิดจากการขยายตัวของครอบครัวอันเป็นความสัมพันธ์ทางสายโลหิต มีบรรพบุรุษเดียวกัน มีผู้สืบสันดานเดียวกัน ผูกพันเป็นโคตรตระกูลกลายเป็นเผ่าพันธุ์
1.1.3 เผ่าพันธุ์
เผ่าพันธุ์ (Trib) เป็นกลุ่มคนที่เรียกว่า “เผ่าพันธุ์” อยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนและมีวัฒนธรรมที่แตกต่าง เผ่าพันธุ์จึงมีความหมายเชิงการเมือง เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาเดียวกัน และบ่งบอกถึงพื้นที่ตั้ง จากการศึกษาทางชาติพันธุ์บ่งชี้ ดังนั้นเผ่าพันธุ์ หมายถึงกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ มีชีวิตง่าย ๆ ยังชีพด้วยตัวเอง และเป็นกลุ่มเป็นก้อน เกิดจากการขยายของโคตรตระกูลเพราะนับสืบต่อๆไปจึงกลายเป็นเผ่าพันธุ์
1.1.4 ชาติ
ชาติ (Nation) ไม่ได้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของมนุษย์ แต่เกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติหลายๆประการ เช่น ชาติไทย ชาติลาว ชาติจีน ชาติเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้เกิดสังคมมนุษย์ที่เรียกว่า “ชาติ” คือ ปัจจัยทางชาติพันธุ์ ได้แก่ การมีผิวพรรณ ศาสนา ภาษาพูด วัฒนธรรมอย่างเดียว จึงก่อให้เกิดความผูกพันเป็นชาติขึ้น ปัจจัยที่อยู่เหนือดินแดนใดดินแดนหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกว่ามีประโยชน์ร่วมกันขึ้นแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจปัจจัยการมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างเดียวกัน ในลักษณะที่คล้ายกันก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันปัจจัยอื่น ได้แก่ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น สงครามหรือภัยพิบัติที่ทำให้คนจำนวนมากมาตกอยู่ในภาวะเดียวกัน ก่อให้เกิดความทรงจำร่วมกันว่าเคยผ่านพ้นภัยวิบัติมาด้วยกัน ทำให้เกิดความผูกพันรักใคร่แม้ไม่ใช่สายเลือดเดียวกันปัจจัยดังกล่าวข้างต้นทำให้มนุษย์แต่ละคนรวมตัวกันขึ้นเป็นชาติ ทำให้รู้สึกตนว่าอยู่ภายในกลุ่มๆหนึ่งเป็นเอกภาพในชาติขึ้น เช่น รู้สึกว่าเราเป็นคนไทย เป็นพวกเดียวกันเป็นชาติเดียวกันผูกพันกัน เป็นต้น
1.2 สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบสมาคม
สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบสมาคม (Association) นั้นมีที่มา และลักษณะของประเภทของมนุษย์แบบสมาคม ดังนี้
1.2.1 ที่มาของสังคมมนุษย์แบบสมาคม
ที่มาของสังคมมนุษย์แบบสมาคม จะพบว่าเป็นสังคมมนุษย์ที่มีการจัดตั้งองค์กรอย่างเป็นกิจจะลักษณะเพื่อดำเนินการให้บรรลุความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่สมาชิกอยู่ร่วมกัน และเป็นสังคมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่เป็นสังคมที่สมาชิกรวมตัวกันขึ้นด้วยความตั้งใจ รู้สึกถึงการรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ เช่น พรรคการเมือง เป็นต้น
1.2.2 ลักษณะของสังคมมนุษย์แบบสมาคม
ลักษณะของสังคมมนุษย์แบบสมาคม จะมีลักษณะ คือ บรรดาปัจเจกชนที่เป็นสมาชิกของสมาคมจะมีความมุ่งหมายอันร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างและบรรดาสมาชิกทั้งหลายจะถูกจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การ เพื่อดำเนินการให้บรรลุความมุ่งหมายที่ทุกคนมีอยู่ร่วมกัน
ดังนั้นการรวมตัวของมนุษย์จะเป็นสังคมที่ก่อให้เกิดรัฐหรือประเทศได้นั้นจะต้องเป็นการรวมตัวของมนุษย์แบบชุมชนและแบบสมาคมเข้าด้วยกัน การรวมตัวแบบชุมชนอย่างเดียวหรือการรวมตัวแบบสมาคมเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถที่ทำให้รัฐที่เป็นสังคมมนุษย์ที่รวมตัวเป็นสังคมก่อให้เกิดรัฐที่สมบูรณ์ได้
2.สภาพแวดล้อมทางสังคม
สภาพแวดล้อมทางสังคม (Social Surrounding) หมายถึง องค์ประกอบตามสภาพแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ภายนอกตัวมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อมนุษย์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีข้อพิจารณาดังนี้
2.1 พฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) หมายถึง กิริยาอาการ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดงในการอยู่ร่วมกัน หรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อได้เผชิญกับสิ่งเร้า พฤติกรรมต่าง ๆ เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา และ “อารมณ์” (Emotion) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ สติปัญญาหรือารมณ์ จะเป็นตัวตัดสินว่า ควรจะปล่อยกิริยาใดออกไปในการอยู่ร่วมกันในสังคม ดังนั้นพฤติกรรมมนุษย์จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้น
2.2 สภาพและสถานการณ์ทางสังคม
สภาพและสถานการณ์ทางสังคมหรือเทศกาลบ้านเมืองในขณะนั้น สภาพแวดล้อมจึงมีผลกระทบต่อคนในสังคม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคนนั้นโดยตรงและคนอื่นในสังคมด้วย จึงต้องมีการตรากฎหมายแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสภาพข้อเท็จจริงให้เกิดผลในทางปฏิบัติว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไรและกฎหมายนั้นสอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนรวมที่ยอมรับได้ในสังคมนั้นได้หรือไม่อย่างไร
ดังนั้นเมื่อมนุษย์รวมตัวเป็นสังคมซึ่งในแต่ละสังคมมีสภาพแวดล้อมนั้นจะทำให้พฤติกรรมมนุษย์ที่มีสถานภาพและสถานการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกันกันอันเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่จำเป็นต้องมีการกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
3. เงื่อนไขทางสังคม
เงื่อนไขทางสังคม (Social Conditions) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องขัดขวางหรือสนับสนุนบุคคลให้ไปสู่เป้าหมาย เงื่อนไขทางสังคมอาจมาจากสิ่งต่าง ๆทั้งหลายด้วยกัน เช่น สภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของบุคคล อาจเป็นสถานภาพทางครอบครัวหรืออาจเป็นเพราะบุคลิกภาพเฉพาะตัว ความสามารถส่วนตัว เป็นต้น สถานภาพเหล่านี้มีเงื่อนไขทางสังคมแตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีข้อกำหนดให้อยู่ร่วมกันในสังคม เงื่อนไขทางสังคมเหล่านี้ ได้แก่ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของสังคม ตลอดจน “ขนบธรรมเนียม” (Convention) หรือ “จารีตประเพณี” (Custom) หรือ “ประเพณี” เป็นวิธีปฏิบัติทางสังคมส่วนใหญ่ย่อมมีความแตกต่างไปจาก “วิถีประชา” (Folkway) ที่จำกัดเฉพาะชุมชนใดชุมชนหนึ่งและไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคม เงื่อนไขทางสังคมจึงต้องอาศัย “วิถีปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม” (Due process) ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขไปตามสภาพเหตุการณ์ของสังคมในขณะนั้น เพื่อความเหมาะสมหรือตามเทศกาลบ้านเมืองอันสอดคล้องด้วยหลักใหญ่ตามเสียงส่วนใหญ่ของคนในสังคม
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงส่วนสำคัญที่ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดกฎหมายจะเริ่มต้นด้วยมนุษย์รวมตัวเป็นสังคมแบบชุมชนและแบบสมาคมที่มีความสัมพันธ์สภาพแวดล้อมทางสังคมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมอันเกิด กติกากันในสังคมโดยการปรุงแต่งข้อตกลงดังกล่าวเกิดกฎหมายขึ้นอันสอดคล้องด้วยหลักเสียงส่วนใหญ่ของสังคมยอมรับร่วมกันเกิด “กติกา” (Rule) ข้อตกลงกันในสังคมโดยการปรุงแต่งข้อตกลงดังกล่าวพัฒนาเป็น “กฎหมาย” (Law) ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมคนในสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย
อารมณ์ หมายถึง 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的最佳解答
จากคลิปเสียงนี้ คนที่ "ขาดสติ" ไม่ใช่นักเรียน !
.
"สติ” แปลว่า “ความระลึกได้”… ความไม่เผลอ... การฉุกคิดขึ้นได้
.
“การคุมจิตไว้ในกิจ” หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำ… สิ่งที่จะพูดได้… ระงับยับยั้งใจได้ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอเป็นกับ “อารมณ์” ซึ่งปรุงแต่งมาจาก “กิเลส” (รัก โลภ โกรธ หลง)…
.
ดังนั้นการมีสติจึงสามารถ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้น… เพื่อยับยั้งชั่งใจไม่ให้คิดบุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความไม่ประมาท”
.
การมีสติ ไม่เกี่ยวกับเรื่องความฉลาด… ไม่เกี่ยวกับปริญญา… ไม่เกี่ยวกับสถานะทางสังคม… ดังนั้นคนดีคนฉลาดหลายต่อหลายคนเวลา “ขาดสติ” หรือ “สติแตก”… จึงมักจะทำสิ่งผิดพลาดได้เสมอ…
.
ต้นเหตุที่แท้จริง แห่งโศกนาฏกรรม 30 ศพ…
.
คอลัมน์ แสงเทียนกลางพายุ
ฉาย บุนนาค
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/649435
กนก รัตน์วงศ์สกุล 2020
อารมณ์ หมายถึง 在 Emotional intelligence… ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความ ... 的美食出口停車場
ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้ และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก ทั้งของตนเองและผู้อื่น รวมถึงการจัดการและการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมใน ... ... <看更多>
อารมณ์ หมายถึง 在 12 สัญญาณที่บอกว่าผู้ใดมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ - YouTube 的美食出口停車場
เมื่อพูดถึงคนที่ “มีวุฒิภาวะทาง อารมณ์ ”ทุกคนนึกถึงใครกันบ้างเชื่อว่าหลายคนนั้นเคยพบเจอกับบุคคล ... ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจก็ คือ ผู้คนเหล่านี้นั้น ... ... <看更多>