หลักการใช้อำนาจทางปกครองในการกระทำทางปกครองระบบบริการสาธารณะ
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
การปกครองแบบนิติรัฐในระบอบประชาธิปไตย ถือกันว่ากฎหมายเป็น “ทั้งที่มาของอำนาจ”และเป็น “ข้อจำกัดอำนาจ”ของการใช้อำนาจทางปกครองในการกระทางปกครองระบบบริการสาธารณะของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่ายบริหารกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร จะมีวิธีการที่กฎหมายมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองใช้อำนาจทางปกครอง มีอยู่ 2 แบบ คือ อำนาจผูกพันกับอำนาจดุลพินิจ
1.การใช้อำนาจผูกพันกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะ
“การใช้อำนาจผูกพัน” (Mandatory powers) อำนาจผูกพัน หมายถึง การใช้อำนาจกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หากว่าเข้าเงื่อนไขต่างๆที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ฝ่ายปกครองจะต้องสั่งการไปในทางหนึ่งเท่านั้น กฎหมายมิให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการตัดสินใจเลือก กล่าวคือ อำนาจผูกพัน เป็นอำนาจที่กฎหมายมอบลงมาแล้วเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองถูกผูกพันจะต้องปฏิบัติตามนั้นโดยเคร่งครัดเด็ดขาด ไม่สามารถตัดสินใจต่อการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะเป็นอย่างอื่นได้ กฎหมายมักจะใช้คำว่า “ต้อง” หรือ “ให้” หรือ “มีหน้าที่”เช่น กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรับจดทะเบียนตั้งบริษัท โดยกำหนดเงื่อนไขไว้หลายประการ ถ้าเอกชนรายใดยื่นขอจดทะเบียนโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ครบถ้วนฝ่ายปกครองต้องรับจดทะเบียน จะอ้างเหตุที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติติไว้เพื่อไม่รับจดทะเบียนไม่ได้ เป็นต้น
2.การใช้อำนาจดุลพินิจกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะ
“การใช้อำนาจดุลพินิจ” (Discretionary powers) หมายถึง การใช้อำนาจกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะ เช่น การออกคำสั่ง เมื่อผู้ออกคำสั่งได้ข้อเท็จจริงที่กฎหมายประสงค์แล้ว ผู้ออกคำสั่งมีอำนาจเลือกว่าจะตัดสินใจแบบที่ตนเห็นว่าเหมาะสม ซึ่งกฎหมายจะกำหนดทางเลือกไว้ 2 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 อาจกำหนดทางเลือกไว้ไม่มากนัก เช่น 3-4 ทางเลือก ลักษณะที่ 2 อาจกำหนดเปิดกว้างให้ใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม แม้จะเป็นอำนาจดุลพินิจ แต่หากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นและเป็นไปโดยสุจริตทั้งต้องไม่เลือกปฏิบัติ กล่าวคือ เป็นเรื่องตรงข้ามกับอำนาจผูกพัน คือ กฎหมายมอบอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่จะเลือกดำเนินการหรือเลือกไม่ดำเนินการหรือเลือกดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในหลายๆอย่างก็ได้ การใช้อำนาจดุลพินิจกฎหมายมักใช้คำว่า “มีอำนาจ”หรือ “มีสิทธิ” หรือ “อาจจะ”หรือ “ควรจะ”หรือ “สามารถ” ดังนั้นอำนาจดุลพินิจจึงเป็นเสรีภาพของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ที่กฎหมายจัดวางไว้เพื่อให้ตัดสินใจเลือกระทำการหรือละเว้นกระทำการ หรือเลือกผลในทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งในหลายอย่าง เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรม ซึ่งประกอบด้วย หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนและหลักความเสมอภาค เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจตัดสินใจอย่างอิสระที่กระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่กระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาทางที่เลือกล้วนต้องชอบด้วยกฎหมาย หากมีทางเลือกบางประการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรงนั้นก็ไม่ใช่เป็นดุลพินิจศาลก็มีอำนาจเข้าตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะได้
2.1กระบวนการใช้อำนาจปกครองที่เป็นอำนาจดุลพินิจ
กระบวนการใช้อำนาจปกครองที่กฎหมายมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองใช้อำนาจดุลพินิจ คือ ดุลพินิจวินิจฉัยกับดุลพินิจตัดสินใจ ดังนี้
2.1.1 อำนาจดุลพินิจวินิจฉัย
อำนาจดุลพินิจวินิจฉัย คือ อำนาจปกครองที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองใช้ในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ อันเป็นกรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง “ใช้อำนาจดุลพินิจในลักษณะวินิจฉัยข้อเท็จจริง” ในกรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะบัญญัติถ้อยคำที่มีความหมายไม่เจาะจง สำหรับประเทศไทยได้วางหลักการใช้ดุลพินิจวินิจฉัย เช่น
1.ข้อความในมาตรา 21 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ว่า “การกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี”เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องใช้อาจดุลพินิจวินิจฉัยว่าเป็นกระทำแบบใดที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
2.ข้อความใน มาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 ว่า “ลามกอนาจาร” เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าอะไรที่เป็นลามกอนาจาร
3.ข้อความในมาตรา 26 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ว่า “อาหารที่มีสิ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย” เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าอะไรที่เป็นอาหารที่มีสิ่งน่าเป็นอันตรายแก่สุขภาพ เป็นต้น
2.1.2 อำนาจดุลพินิจตัดสินใจ
อำนาจดุลพินิจตัดสินใจ การใช้อำนาจดุลพินิจตัดสินใจเป็นให้ฝ่ายปกครอง “ใช้อำนาจในส่วนที่เป็นผลทางกฎหมาย” เป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครองที่จะตัดสินใจว่าจะใช้อำนาจสั่งการหรือไม่ และเลือกว่าใช้อำนาจสั่งการไปอย่างไรตามที่กฎหมายเปิดช่องให้ใช้ดุลพินิจ ที่เรียกว่า “อำนาจดุลพินิจเลือกเนื้อความของคำสั่ง” มักจะใช้ถ้อยคำในการบทบัญญัติว่า “มีอำนาจ”“มีสิทธิ”“อาจ...”“ก็ได้”เป็นต้น ตัวอย่างการใช้ดุลพินิจตัดสินใจ เช่น กรณีที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจดุจพินิจที่จะตัดสินใจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หากเลือกที่จะใช้อำนาจ กฎหมายก็ให้ดุลพินิจที่จะเลือกกระทำการหรือเลือกออกคำสั่งได้ leกรณีของประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้อำนาจดุลพินิจตัดสินใจ เช่น พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 21 กำหนดว่า “ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการขาดคุณสมบัติก็ดี ดำเนินกิจการสถานบริการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมก็ดี ดำเนินกิจการสถานบริการโดยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ก็ดี พนักงานเจ้าหน้าที่ “มีอำนาจ” ไม่ต่ออายุใบอนุญาตหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอนในอนุญาตก็ได้” เป็นต้น
2.1.3 ข้อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจดุลพินิจวินิจฉัยกับอำนาจดุลพินิจตัดสินใจ
การใช้อำนาจดุลพินิจในการตัดสินใจกับดุลพินิจในการวินิจฉัย เช่น นายป๊อดซื้อใบขับขี่มาซึ่งถือได้ว่าใบขับขี่ที่ออกมานั้นออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายแต่ยังมีผลบังคับเพราะไม่เป็นโมฆะ ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมาพบว่าใบขับขี่ที่ออกมานั้นเป็นการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แทนที่จะยกเลิกเพิกถอน ถ้ากฎหมายให้อำนาจดุจพินิจเจ้าหน้าที่จะยกเลิกเพิกถอนหรือไม่ก็ได้ ตรงนี้คือ “ดุลพินิจในการตัดสินใจ” ถ้าไม่ยกเลิกเรื่องก็จบ แต่ถ้าใช้ดุลพินิจยกเลิกก็ต้องมาพิจารณาดูกันว่าจะยกเลิกอย่างไร เมื่อไร จะให้มีผลในอนาคต หรือในปัจจุบันหรือย้อนหลัง ซึ่งส่วนนี้เรียกว่า “ดุลพินิจในการวินิจฉัย”
3.ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจผูกพันกับอำนาจดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
กระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะ
การใช้อำนาจอำนาจผูกพันกับอำนาจดุลพินิจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะ ซึ่งการใช้อำนาจปกครองทั้ง 2 จะมีความสัมพันธ์ทั้ง 2 ส่วน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขส่วนประกอบส่วนเหตุ กับความสัมพันธ์ระหว่างผลทางกฎหมายเมื่อมีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบส่วนเหตุ ดังนี้
3.1 อำนาจผูกพันทั้งในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจและผลทางกฎหมาย
กรณีนี้กฎหมายไม่เปิดทางให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีดุลพินิจทั้งในข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจและผลทางกฎหมายหากแต่จะกำหนดให้เป็นอำนาจผูกพัน เช่น กฎหมายกำหนดว่า “ผู้ใดยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่ต้องรับจดทะเบียน”ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความในกฎหมาย “ผู้ใดยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วน”ถือว่าเป็นการให้อำนาจพิจารณาในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขการใช้อำนาจ ส่วนข้อความ “เจ้าหน้าที่ต้องรับจดทะเบียน”ถือเป็นอำนาจผูกพันตามกฎหมายที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องทำปฏิเสธไม่ทำไม่ได้ เป็นต้น
3.2 อำนาจผูกพันในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจ แต่มีอำนาจดุลพินิจในส่วนผลของกฎหมาย
กรณีนี้กฎหมายไม่เปิดทางให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีดุลพินิจในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจ เช่น กฎหมายกำหนดว่า “โรงงานใดปล่อยน้ำเสีย เจ้าหน้าที่มีอำนาจพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 10 วัน หรือเพิกถอนใบอนุญาต” ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความตามกฎหมาย “โรงงานใดปล่อยน้ำเสีย”ถือว่าเป็นอำนาจผูกพันในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจ ส่วนข้อความในกฎหมาย“เจ้าหน้าที่มีอำนาจพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 10 วัน หรือเพิกถอนใบอนุญาต”ถือเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจในส่วนผลของกฎหมายว่าจะเลือกกระทำแบบใดตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น
3.3 อำนาจดุลพินิจในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจ แต่มีอำนาจผูกพันในส่วนของกฎหมาย
ในกรณีนี้กฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีดุลพินิจในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจ แต่กำหนดเป็นอำนาจผูกพันในส่วนผลของกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดว่า “อาคารใดตกอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมน่ารังเกียจ เจ้าหน้าที่ต้องสั่งรื้อถอนอาคารนั้น”เมื่อพิจารณาข้อความในกฎหมายที่ว่า “อาคารใดตกอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมน่ารังเกียจ”ถือว่าเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจ ส่วนข้อความที่ว่า “เจ้าหน้าที่ต้องสั่งรื้อถอนอาคารนั้น”ว่าเป็นการใช้อำนาจผูกพันในส่วนของกฎหมายที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องทำหรือใช้อำนาจกระทำการ เป็นต้น
3.4 อำนาจดุลพินิจทั้งในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจและผลทางกฎหมาย
กรณีนี้กฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีดุลพินิจทั้งในส่วนเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขของการใช้อำนาจและผลทางกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดว่า “อาคารหรือโรงเรือนใดอยู่ในสภาพน่าจะเป็นอันตราย เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือรื้อถอนอาคาร” เมื่อพิจารณาข้อความในกฎหมายที่ว่า “อาคารหรือโรงเรือนใดอยู่ในสภาพน่าจะเป็นอันตราย”ถือว่าเป็นอำนาจในส่วนข้อเท็จจริง (ดุลพินิจวินิจฉัย) อันเป็นเงื่อนของการใช้อำนาจ ว่าอันตรายหรือไม่ ถ้า “อันตราย”ให้ใช้ดุลพินิจว่า “เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือรื้อถอนอาคาร”คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเลือกที่จะออกคำสั่งให้รื้อแก้หรือรื้อถอน อาคารโรงเรือนนั้น เป็นต้น
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過43萬的網紅SamLaunching,也在其Youtube影片中提到,เกมLOLที่เป็นเกมโปรดของใครหลายๆคน(ผมด้วย) จริงๆทุกคนรู้ไหมครับ มันคือเกมขององค์กรลับ illuminati พวกเราควรรณรงค์เล่นเกมนี้วันละ 24ชั่วโมงครับ เพื่อให้ ...
「อาจจะ หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於อาจจะ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於อาจจะ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於อาจจะ หมายถึง 在 Layzaracing Channel Facebook 的最佳解答
- 關於อาจจะ หมายถึง 在 SamLaunching Youtube 的最佳貼文
- 關於อาจจะ หมายถึง 在 อาจจะ ไม่ได้มีแค่ Maybe! - YouTube 的評價
- 關於อาจจะ หมายถึง 在 แจกศัพท์ฉบับเด็กนอก เพราะเธอคือ "Lover" ของฉัน . ไม่ว่านักร้องสาว ... 的評價
อาจจะ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
เทคนิคการเขียน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับภายหลักการใช้อำนาจทางปกครอง
การใช้อำนาจผูกพันในออกประกาศ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับภายใต้หลักการใช้อำนาจทางปกครอง
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “การใช้อำนาจผูกพัน” (Mandatory powers) อำนาจผูกพัน หมายถึง การใช้อำนาจกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะขององค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองหากว่าเข้าเงื่อนไขต่างๆที่ กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ฝ่ายปกครองจะต้องสั่งการไปในทางหนึ่งเท่านั้น กฎหมายมิให้อำนาจองค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองในการตัดสินใจเลือก ภายใต้หลักสมควรแก่เหตุ กล่าวคือ อำนาจผูกพัน เป็นอำนาจที่ กฎหมายมอบลงมาแล้วองค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองถูกผูกพันจะต้องปฏิบัติตามนั้นโดยเคร่งครัดเด็ดขาด ไม่สามารถตัดสินใจต่อการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะเป็นอย่างอื่นได้
ดังนั้น กฎหมายจะกำหนดให้องค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองออก ประกาศ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายมักจะกำหนดให้ใช้คำว่า “ต้อง” หรือ “ให้” หรือ “มีหน้าที่” เป็นต้น
การใช้อำนาจดุลพินิจในการออกประกาศ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับภายใต้หลักการใช้อำนาจทางปกครอง
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “การใช้อำนาจดุลพินิจ” (Discretionary powers) หมายถึง การใช้อำนาจกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะขององค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองภายใต้หลักสมควรแก่เหตุ เช่น การออกคำสั่งทางปกครอง เมื่อองค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองผู้ออกคำสั่งทางปกครองได้ข้อเท็จจริงที่ กฎหมายประสงค์แล้ว องค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองผู้ออกคำสั่งทางปกครองมีอำนาจเลือกว่าจะตัดสินใจแบบที่ตนเห็นว่าเหมาะสม
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “ความหมายของการใช้อำนาจดุลพินิจ” (Discretionary powers) มีคำอธิบายทางตำราของหลาย ๆ ประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมัน ประเทศฝรั่งเศส ดังนี้
ประเทศอังกฤษ ในทางตำราของประเทศอังกฤษได้ให้ความหมายของการใช้อำนาจดุลพินิจ หมายถึง อำนาจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีที่มีทางเลือกหลายทาง ถ้ามีทางเลือกที่ชอบด้วย กฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ดุลพินิจ แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่
ประเทศสหรัฐอเมริกา ในตำราของกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาได้อธิบายการใช้อำนาจดุลพินิจว่า เจ้าพนักงานของรัฐมีดุลพินิจได้ในกรณีที่ กฎหมายให้อำนาจเลือกโดยอิสระในระหว่างทางเลือกกระทำการที่เป็นไปได้หลายทางหรือเลือกที่ไม่กระทำการ
ประเทศเยอรมัน ในตำรา กฎหมายของประเทศเยอรมันได้อธิบายการใช้ดุลพินิจ ว่า การที่ฝ่ายปกครองสามารถกะทำการด้วยการตัดสินใจตามความเห็นของตนในคดีเฉพาะราย ดุลพินิจนี้ผูกพันกับแนวปฏิบัติหรือหลักการในการวินิจฉัยการใช้ดุลพินิจอันเป็น กฎ เกณฑ์ภายในฝ่ายปกครองกำหนดขึ้นเองภาในขอบวัตถุประสงค์ของ กฎหมาย แสดงว่าตำรา กฎหมายของประเทศเยอรมันนอกจากรับรองเรื่องขอบวัตถุประสงค์ของ กฎหมาย เจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ กฎหมาย ยังมีหลักหนึ่งว่า การใช้ดุลพินิจนั้นต้องผูกพันอยู่กับบรรทัดฐานที่องค์กรนั้นได้วางด้วย
ประเทศฝรั่งเศส ในทางตำรา กฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ได้อธิบายถึงการใช้อำนาจดุลพินิจ หมายถึง ความสามารถในอันที่จะตัดสินใจออกคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคำสั่งทั้งหลายๆอย่าง ซึ่ง กฎหมายเปิดช่องให้ออกได้เพื่อดำเนินการให้บรรลุเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายแห่ง กฎหมาย แสดงให้เห็นว่าประเทศฝรั่งเศสได้กำหนดกรอบการใช้อำนาจดุลพินิจ โดยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดขึ้นตามหลัก กฎหมายฝรั่งเศส สิ่งที่กำกับว่าชอบหรือไม่ชอบด้วย กฎหมายมีอยู่ ไม่ใช่ว่าในบรรดาทางเลือกจะเลือกทางไหนถูกหมด สิ่งที่กำกับหรือเป็นทางเลือกให้ใช้อำนาจดุลพินิจ คือ เจตนามรณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมาย
โดยหลักการอำนาจดุลพินิจ กฎหมายจะกำหนดทางเลือกไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ 1 อาจกำหนดทางเลือกไว้ไม่มากนัก เช่น 3-4 ทางเลือก
ลักษณะที่ 2 อาจกำหนดเปิดกว้างให้ใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม แม้จะเป็นอำนาจดุลพินิจ แต่หากองค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองก็ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นและเป็นไปโดยสุจริตทั้งนี้ต้องไม่เลือกปฏิบัติ
ดังนั้น อำนาจดุลพินิจจึงเป็นเรื่องตรงข้ามกับอำนาจผูกพัน คือ กฎหมายมอบอำนาจให้กับองค์กรเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองที่ ออก ประกาศ กฎ ระเบียบข้อบังคับ ที่จะกำหนดให้มีจะเลือกดำเนินการหรือเลือกไม่ดำเนินการหรือเลือกดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในหลาย ๆ อย่างก็ได้ การใช้อำนาจดุลพินิจ กฎหมายมักใช้คำว่า “มีอำนาจ”หรือ “มีสิทธิ” หรือ “อาจจะ” หรือ “ควรจะ”หรือ “สามารถ”
อาจจะ หมายถึง 在 Layzaracing Channel Facebook 的最佳解答
รีวิว ใหม่อีกรอบ สำหรับ z800 vs z1000
เน็ตเก๊ตค่ายเขียว
สำหรับ ใคร ที่คิดว่า จะซื้อรถสองรุ้นนี้ วันนี้ กูอาวมา
"เหล้า" ให้มึงฟัง ว่า สิ่งที่พวกมึงจะเจอ ในรถสองรุ้นนี้
มีอะไรมั้ง ฟังแล้ว ก็อย่าเอาไปดราม่าว่า ไช่สิ ของแพง
มันก็ต้องดีกว่า มึงจะเอามาเปรียบเทียบกันได้ไง ไอ่ฟาย
#กูแค่เหล้า ให้มึงฟัง
สิ่งที่ แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเลย สำหรับ เจน ปี14 กะ16
ก็คือ สีเครื่อง ตัวเก่าจะเป็นสี ชาเทา ไทเท ส่วนตัวใหม่
มันจะเป็น สีดำ แน่นอนล่ะ เครื่อง มีพื้นฐานเดียวกัน
ต่างกันแค่ ซีซี (ไม่งั้น กูจะเอาเครื่องz1000 มาลงในบอดี้z800
ได้เหรอ) คงไม่ต้องอธิบายมาก z1000 แรงกว่าแน่นอน
อาการของเครื่องที่แรงกว่าคือ ต้นหนักกว่า กลางปลาย เดินกว่า เสียงโหดและ หนักแน่นกว่า
รอบเครื้องทั้งสองตัวนี้ ขึ้นไว ลงไว ตามสไตส์ของ "ค่ายเขียว"
ส่วนตัว z800 ถ้าติดเครื่องตอนเช้า รอบจะสุง ในช่วงที่มึง สตาร์ทใหม่ๆ วาล์วเซนเซอจะเปิด ช่วยรอบ ไม่ต้องแปลกใจว่า
ทำไมรอบสุง พอความร้อนได้ มันจะปิด
ส่วนz1000 ไม่มี
ตัวรถ ใครคิดว่า z1000คันใหญกว่า มึงคิดผิดแระ สิ่งที่z1000ใหญกว่า ก็จะมีแค่ ยางหลัง เบอ200 นอกนั้น
Z1000 เล็กกว่า z800 ทั้งหมด
Z800 หนักกว่า z1000 อยุ่พอสมควร ทั้งการขี่ การเข็น
Z800 จะหนักกว่าด้วย เฟรมมันเป็นเหล็ก ส่วนz1000 มันเป็น
อลูมีเนียมน้ำหนักเบา แผงคอ z800ก็เป็นเหล็ก
ของz1000 เป็นมิเนียมทั้งบนล่าง
Z1000 คันเล็ก และ จะเตี้ยกว่า ขี่ง่ายกว่า z800
แน่นอนล่ะ ความปลอดภัย ดีกว่า z800
เพราะ เบรกดีกว่าเยอะ ปั้มเบรกมันจับดีกว่า อีกทั้งมี ABS
มาให้ด้วย หลายๆคนอาจจะยังไม่รุ้ว่า ABS มันแค่ช่วยไม่ให้
"ล้อมันล๊อก" แค่นั้นนะ ไม่ไช่ว่า รถที่มีABSแล้วจะเบรกดี
เบรกดี ในที่นี้ หมายถึง "มึงใช้แรงในการเบรกน้อย"
คือ มึงใช้แค่ นิ้วชี้นิ้วเดียว เกี่ยวคันเบรก #มันก็อยุ่แล้ว
ผิดกับZ800กูให้มึงกำทั้งห้านิ้วเลย แม่งยังไม่อยากจะอยุ่เลย
แม่งยังจะ ทือๆ ไหลไปอีก
รถมีABS ดีอย่าง คือ มึงกำเบรกได้เต็มร้อยได้เลย โดยที่ ระบบ
จะมาช่วยมึงเอง แต่มึงก็ต้องดูพื้นที่ด้วย ไม่ไช่ ฝนตกๆถนนลื่นๆ มึงเหนี่ยวซะเต็มแรง ระบบก็มาช่วยมึงไม่ทันเหมือนกัน
แต่ ตัวรถสองตัวนี้ ถือว่า การขี่ แน่นกระชับดี ช่วงล่าง หนึบพอกัน ไม่มียวบยาบ การซ้อน จะไม่เหนื่อย ทั้งคนขี่ ทั้งคนซ้อน แฮนกว้าง รถติดZ1000 คล่องตัวกว่า สั่งได้ดั่งใจกว่า
การบำรุง ทั้งสองตัว ถือว่า "ไม่แพง" ราคา อไหล่ สมเหตุสมผล
สั่งอไหล่ จะรอ ประมานไม่เกินสิบวันอย่างช้า อย่างเร้วก็สามวัน (รถบางยี่ห้อ สั่งอไหล่ครึ่งปี สึต5555)
รถทั้งสองรุ้น รับประกันได้เลยว่า มึงไปไหนมาไหน มึงจะไม่ค่อย เจอปัญหา "แดกข้าวลิง" เพราะตัวรถ มันจะไม่ค่อยเสียโน้น เสียนี้ Z1000คันเก่ากู ขี่มา สองปี ไม่เคยทำเหี้ยอะไรกะมันเลย แค่ถ่ายน้ำมันเครื้อง
เออ อีกเรื่อง น้ำมันเครื่อง กูจะใช้ ค่อนข้างหนืด 20W ถึง50 หรือไม่ ก็โน้นเลย 60
หนืดๆ ดีกว่า เชื่อกู กูขี่รถมาเยอะ ไม่เคย "หลับคามือ"
บางคน น้ำมัน ไสเกินไป โอเค ยอมรับว่าแรง แต่ พอร้อนๆ
น้ำมันเครื่อง มันจะ ไสขึ้น "ยิ่งร้อน" แม่งยิ่งไส
แน่นอนล่ะ พอมันไส การหล่อลื่น มันจะหายไป ไม่แต่กันเลย
กะมันเอาน้ำมันดีเชล มาเติม
ถือว่า เป็นอีกหนึ่งทางเลือกนะ
"เหล้า"ให้ฟังแค่นี้
โปรดใช้ จักรยาน ในการรับฟัง เรื่องน้ำมันเครื่อง กูคิดของกูแบบนี้ กูใช้ ของถูแบบนี้
อาจจะ ไม่เหมือนท่านอื่น เราถือว่า เรามาแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน ไม่ไช่เอาไป "มาม่า"
ไปแระ พูดมาก เด่วคนเกลียดปากกู
#crตั้ม จตุรงค์ พงษ์ศิริ กล่าวไว้
อาจจะ หมายถึง 在 SamLaunching Youtube 的最佳貼文
เกมLOLที่เป็นเกมโปรดของใครหลายๆคน(ผมด้วย) จริงๆทุกคนรู้ไหมครับ มันคือเกมขององค์กรลับ illuminati พวกเราควรรณรงค์เล่นเกมนี้วันละ 24ชั่วโมงครับ เพื่อให้ illuminati คิดว่าพลังของสามัญชนก็ยิ่งใหญ่
ปล.อย่าลืมกดไลค์ แชร์ ซับซะไคร้เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
-------------------------------------------------------
เกม LOL เป็นเกมของอิลูมินาติ
-
LOL พอกลับด้านและกลับหัวจะกลายเป็น 101
101 คือเลขไบนารี่ ถ้าแปลงเป็นเลขฐาน 10 จะได้ 5
555 หมายถึง หัวเราะ
LOL ก็แปลว่า หัวเราะ
LOL ที่แปลว่าหัวเราะ จะหมายถึง Laugh Out Loud
ทั้ง 3 คำ มีตัว U ซ่อนอยู่
U เป็นตัวอักษรตัวที่ 21
2 - 1 การให้เหตุผลแบบอุปนัย ตัวต่อไปต้องเป็น 0 -1 -2 -3 ไปจนถึง อินฟินิตี้
อินฟินิตี้.... เรามักจะนึกถึง Infinite Warfare
Trailer ของ Infinite Warfare ลงในวันที่ May 2, 2016
May แปลว่า อาจจะ
May 2 ก็คืออาจจะเป็นเลข 2
เราจึงคิดว่าน่าจะเป็น 1 หรือ 3
สัญลักษณ์อิลูมินาติมี 3 มุมและ 1 ตา
-
LOL เป็นเกมขององค์กรอิลูมินาติ 100% confirmed
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/cNNeyJZamPA/hqdefault.jpg?sqp=-oaymwEZCNACELwBSFXyq4qpAwsIARUAAIhCGAFwAQ==&rs=AOn4CLBFrDvr4YG04OkbEJUDWGlnjIakzQ)
อาจจะ หมายถึง 在 แจกศัพท์ฉบับเด็กนอก เพราะเธอคือ "Lover" ของฉัน . ไม่ว่านักร้องสาว ... 的美食出口停車場
หรืออาจจะหมายถึงคนที่หลงรักและคลั่งไคล้ในบางสิ่งบางอย่ าง เช่น music lover หรือ คนที่หลงรักในเสียงดนตรี แต่สำหรับ lover ในเพลงนี้จะหมายถึง ... <看更多>
อาจจะ หมายถึง 在 อาจจะ ไม่ได้มีแค่ Maybe! - YouTube 的美食出口停車場
Effortless แปลว่าอะไร? อย่าพยายาม? มาดูเฉลยกัน! #ครูพี่แอน #onlineenglish #เรียนอังกฤษ. KruPAnn - ครูพี่แอน• ... ... <看更多>