“นิรโทษกรรมโดยศาลได้หรือไม่”
มีอาจารย์ได้โทรมาปรึกษาผมว่า ศาลนั้นออกนิโทษกรรมได้หรือไม่ ผมได้ตอบในความเห็นผมไปว่าการนิโทษกรรมที่ผ่านมามีได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาแต่ที่เห็นมา เป็นการนิรโทษกรรมด้วยการตราพระราชบัญญัติ การตราพระราชกำหนด และการตรารัฐธรรมนูญออกมานิรโทษกรรม ไม่เคยเห็นศาลนิรโทษกรรม จากนั้นผมจึงได้สืบค้นว่าการนิโทษกรรม เป้นอย่าอย่างเพื่อตอบความเห้นของเพื่อนอาจารย์อยางเร่งด่วน (อนึ่งถ้ามีโอกาสจะเขียนวิเคราะห์ในฉบับเต็ม)
“นิรโทษกรรม” หมายถึง การทำให้ไม่มีโทษ หรือการอันไม่มีโทษ โดยในทางกฎหมายจะแบ่งเป็นการนิรโทษกรรมทางแพ่ง และทางอาญา
“นิรโทษกรรมทางแพ่ง” คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แต่กฎหมายบอกว่าไม่ต้องใช้ค่าเสียหาย เช่น เราจะถูกทำร้ายและเราก็ป้องกันตัวทำให้คนที่ทำร้ายเราบาดเจ็บ แม้เขาจะบาดเจ็บเกิดความเสียหายขึ้น แต่เราไม่ต้องใช้ค่าเสียหาย เพราะกฎหมายยกเว้นให้
“นิรโทษกรรมทางอาญา” คือ การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงข้อดี “การนิรโทษกรรม” หรือ การยกเลิกความผิดทั้งหลายที่ได้กระทำผ่านมา ไม่เพ่งเล็งจะจับตัวบุคคลมาลงโทษให้เข็ดหลาบ เสมือนหนึ่งว่าเป็นการให้อภัยซึ่งกันและกัน เรื่องที่แล้วมาแล้วก็ให้แล้วต่อกันไป อาจสร้างบรรยากาศการความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม เอื้อต่อการหันหน้ามาพูดคุยกัน แล้วเริ่มต้นกันใหม่อย่างสร้างสรรค์
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะทำให้การกระทำที่ผ่านมาไม่เป็นความผิดโดยสมบูรณ์ ไม่สามารถกลับมาลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นได้อีกเลย ไม่สามารถจะรื้อฟื้นกระบวนการหาตัวผู้กระทำความผิดและกระบวนการตามหาความจริงกลับขึ้นมาได้อีก ไม่ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม หากว่ากันในระยะยาวเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และผู้มีอำนาจในบ้านเมืองสามารถออกกฎหมายยกเลิกความผิดที่กระทำไปแล้วได้ ย่อมสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีขึ้นในสังคม หากการกระทำเช่นนี้ได้รับการยอมรับ ก็เท่ากับว่าผู้มีอำนาจไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวต่อการทำผิดกฎหมาย เพราะสามารถออกกฎหมายยกเลิกความผิดของตัวเองได้
ในอดีตนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเคยออกกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมมาแล้ว 24 ครั้ง เรียบเรียงได้ดังนี้ คือ
1.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2475 ประกาศโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ โดยให้การกระทำทั้งหลายของคณะราษฎรที่เป็นการละเมิดกฎหมาย ไม่ให้เป็นการละเมิดบทกฎหมายเลย
2. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 ออกโดย พระยาพหลพลลพยุหเสนา โดยคณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนาหลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
3. พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488 ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ มีการปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมดเป็นอิสระ โดยผู้กระทำผิดจะได้ถูกฟ้องรับโทษตามคำพิพากษาแล้วหรือไม่และไม่ว่าผู้กระทำผิดนั้นจะได้หลบหนีจากที่ใดไปยังที่ใดหรือไม่ ให้เป็นอันพ้นจากความผิดนั้น ๆ ทั้งสิ้น
4. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พ.ศ.2489 ออกโดยนายปรีดี พนมยงค์ เป็นการยกโทษให้แก่ผู้ที่ต่อต้านญี่ปุ่นในครั้งที่ญี่ปุ่นเข้ามาไทย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
5. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ ในครั้งที่มีกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหาร พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แล้วให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนิรโทษแก่ผู้ที่ทำการรัฐประหารในคราวนั้นทั้งหมด
6. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 กลับมาใช้ พ.ศ.2494 ออกโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นการรัฐประหารของจอมพลป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารตัวเอง (ยึดอำนาจตัวเอง)
7. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ออกโดยจอมพลป. พิบูลสงครามเนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมาครบ ๒๕ ศตวรรษ จึงมีการอภัยทานความผิดฐานกบฏจลาจลนั้นเพื่อไม่มุ่งหมายจองเวรแก่กัน จึงได้นิรโทษกรรมทั้งหมด
8. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ออกโดยนายพจน์ สารสิน เป็นการรัฐประหาร จอมพลป.พิบูลสงคราม นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อันเนื่องมาจากประชาชนไม่พอใจการเลือกตั้งที่ทุจริต และสมาชิกพรรคมนังคศิลาของจอมพลป. เสนอให้จัดการเด็ดขาดกับจอมพลสฤษดิ์ ที่แถลงให้จอมพลป.ลาออกจากตำแหน่ง จอมพลสฤษดิ์จึงทำการรัฐประหารตัดหน้าเสียก่อน แล้วให้นายพจน์ สารสินขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง
9. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2502 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร สืบเนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม ในการรัฐประหารในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น การรัฐประหารเงียบ หรือ ยึดอำนาจตัวเอง ออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างเต็มที่ เบ็ดเสร็จ และเด็ดขาด ด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 17
10.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 พ.ศ.2515 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย ยึดอำนาจตัวเอง เหมือนรัฐประหาร พ.ศ. 2494 ของจอมพลป. พิบูลสงคราม โดยได้มีการนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการปฏิวัติหรือร่วมทำการปฏิวัติพ้นจากความผิดทั้งสิ้น
11.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พ.ศ.2616 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ โดยเหตุที่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนเดินขบวนเรียกร้อง ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทย 14 ตุลาคม 2516 ภายหลังจากเหตุการณ์จึงมีการนิรโทษกรรมทั้งหมด
12.พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 พ.ศ. 2517 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นการนิรโทษกรรมบุคคล โดยให้ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ที่ให้ควบคุมตัวนายอุทัย พิมพ์ใจชน นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ
13.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พ.ศ.2519 ออกโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมาจากเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐบาลในขณะนั้นคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คุมสถานการณ์ไม่อยู่ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ และให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการนิรโทษกรรมสำหรับผู้ทำการรัฐประหารในคราวนั้น
14.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ.2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จากเหตุการณ์กบฏในวันที่ 25 มีนาคม 2520 ซึ่งเป็นความพยายามก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เมื่อคราวผ่านพ้นไปจึงได้มีการนิรโทษกรรมทั้งหมด
15.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ.2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เนื่องมาจากการรัฐประหารนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหารนายธานินท์ กรัยวิเชียร ซึ่งเป็นการกระชับอำนาจตนเอง ถือเป็นการรัฐประหารตัวเอง และได้นิรโทษกรรมทั้งหมด
16.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยเห็นว่าหากมีการดำเนินคดีแก่ผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จะทำให้ผู้ที่ถูกดำเนินคดีต้องเสียอนาคตในทางการศึกษาและการประกอบอาชีพยิ่งขึ้น จึงมีการนิรโทษกรรม
17.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 พ.ศ.2524 ออกโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเหตุการณ์ที่มีความพยายามจะรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม โดยเรียกชื่อกลุ่มว่ายังเติร์ก แต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้น พลเอกเปรม จึงได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมกลุ่มเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อความสามัคคีของคนในชาติ
18.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จากเหตุความพยายามรัฐประหารของนายทหารนอกราชการ เรียกเหตุการณ์นี้ว่า กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการนิรโทษกรรมเพื่อความสามัคคีของชนในชาติ
19.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2532 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้กระทำความผิดตามกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์
20.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ออกโดยนายอานันท์ ปันยารชุน จากการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ทำการรัฐประหารพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้นิรโทษผู้ที่ร่วมในการรัฐประหารทั้งหมด
21.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ.2535 ออกโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้นพ้นผิดทั้งหมด ไม่ว่าจะประชาชนที่เข้าชุมนุม และทหารที่ทำการปราบปรามประชาชน
22. การนิรโทษกรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 มาตรา 36 บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ ในระหว่างสันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่ง ให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อน หรือหลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
23.การนิรโทษกรรม บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในมาตรา 309 ที่ว่า “บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
24.การนิรโทษกรรมตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตราที่ 48 “บรรดาการกระทำ ทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
25.การนิรโทษกรรมตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 279 ที่ว่า “บรรดาประกาศ คําสั่ง และการกระทําของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือที่จะ ออกใช้บังคับต่อไปตามมาตรา ๒๖๕ วรรคสอง ไม่ว่าเป็นประกาศ คําสั่ง หรือการกระทําที่มีผลใช้บังคับ ในทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการ ให้ประกาศ คําสั่ง การกระทํา ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ คําสั่ง หรือการกระทํานั้น เป็นประกาศ คําสั่ง การกระทํา หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป การยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคําสั่งดังกล่าว ให้กระทําเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศหรือคําสั่ง ที่มีลักษณะเป็นการใช้อํานาจทางบริหาร การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทําโดยคําสั่งนายกรัฐมนตรี หรือมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 ว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้ง การกระทําที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ให้ถือว่าการนั้นและการกระทํานั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย”
วิเคราะห์การนิโทษกรรม
การนิรโทษกรรม นั้นมีข้อวิเคราะห์ ดังนี้
ประเด็น ศาลมีอำนาจนิรโทษกรรม ได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาการนิรโทษกรรม จะพบว่า ผู้ริเริ่มจะเป็นอำนาจฝ่ายบริหารหรือผู้มีอำนาจในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ เช่น ในฐานะผู้ก่อการรัฐประหาร ใช้อำนาจออกกฎหมายนิโทษกรรมตนเอง ไม่พบว่า ไม่มีการนิโทษกรรมโดยศาล หรือ ริเริ่มจากตุลาการเลยสักครั้ง ศาลเพียงแต่ตรวจสอบว่ากฎหมายดังกล่าวชอบหรือไม่ หรือขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น
ประเด็น กฎหมายออกนิโทษกรรมในลักษณะรูปแบบใดได้บ้าง จะเห็นได้ว่าการออกนิรโทษกรรมของประเทศไทย มีจำนวน 25 ฉบับ และออกมาอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1) การออกนิโทษกรรมโดยการตราเป็นพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จำนวน 17 ฉบับ
2) การออกนิรโทษกรรมโดย การตราเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรม จำนวน 4 ฉบับ
3) การออกนิรโทษกรรมโดยการตรารัฐธรรมนูญนิรโทษกรรม จำนวน 4 ฉบับ
ประเด็นการออกนิโทษกรรมศาลตรวจได้หรือไม่ ประเด็นนี้มีข้อพิจารณาว่าออกนิโทษกรรมในรูปแบบใดบ้างที่ถูกศาลตรวจสอบได้ รูปแบบใดบ้างที่ศาลตรวจสอบได้ ดังนี้
1) การออกนิโทษกรรมที่ศาลตรวจสอบได้ว่าชอบด้วยกฎหมายชอบด้วยรัฐธรรมหรือไม่ คือ การออกนิรโทษกรรมในรูปแบบพระราชบัญญัติ กับรูปแบบพระราชกำหนด กฎหมายเหล่านี้ สามารถนำคดีฟ้องหรือแย้งต่อศาลได้ เช่น ออกมาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมไม่ได้
2) นิรโทษกรรมที่รัฐธรรมนูญรับรองการกระทำก่อนหน้าและหลังชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นอำนาจสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ ทำให้องค์กรที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจเข้าตรวจสอบได้
สุจินดา คราประยูร 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“นิรโทษกรรมโดยศาลได้หรือไม่”
มีอาจารย์ได้โทรมาปรึกษาผมว่า ศาลนั้นออกนิโทษกรรมได้หรือไม่ ผมได้ตอบในความเห็นผมไปว่าการนิโทษกรรมที่ผ่านมามีได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาแต่ที่เห็นมา เป็นการนิรโทษกรรมด้วยการตราพระราชบัญญัติ การตราพระราชกำหนด และการตรารัฐธรรมนูญออกมานิรโทษกรรม ไม่เคยเห็นศาลนิรโทษกรรม จากนั้นผมจึงได้สืบค้นว่าการนิโทษกรรม เป็นอย่างไรเพื่อตอบความเห็นของเพื่อนอาจารย์อย่างเร่งด่วน
“นิรโทษกรรม” หมายถึง การทำให้ไม่มีโทษ หรือการอันไม่มีโทษ โดยในทางกฎหมายจะแบ่งเป็นการนิรโทษกรรมทางแพ่ง และทางอาญา
“นิรโทษกรรมทางแพ่ง” คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น แต่กฎหมายบอกว่าไม่ต้องใช้ค่าเสียหาย เช่น เราจะถูกทำร้ายและเราก็ป้องกันตัวทำให้คนที่ทำร้ายเราบาดเจ็บ แม้เขาจะบาดเจ็บเกิดความเสียหายขึ้น แต่เราไม่ต้องใช้ค่าเสียหาย เพราะกฎหมายยกเว้นให้
“นิรโทษกรรมทางอาญา” คือ การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงข้อดี “การนิรโทษกรรม” หรือ การยกเลิกความผิดทั้งหลายที่ได้กระทำผ่านมา ไม่เพ่งเล็งจะจับตัวบุคคลมาลงโทษให้เข็ดหลาบ เสมือนหนึ่งว่าเป็นการให้อภัยซึ่งกันและกัน เรื่องที่แล้วมาแล้วก็ให้แล้วต่อกันไป อาจสร้างบรรยากาศการความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม เอื้อต่อการหันหน้ามาพูดคุยกัน แล้วเริ่มต้นกันใหม่อย่างสร้างสรรค์
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะทำให้การกระทำที่ผ่านมาไม่เป็นความผิดโดยสมบูรณ์ ไม่สามารถกลับมาลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นได้อีกเลย ไม่สามารถจะรื้อฟื้นกระบวนการหาตัวผู้กระทำความผิดและกระบวนการตามหาความจริงกลับขึ้นมาได้อีก ไม่ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม หากว่ากันในระยะยาวเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และผู้มีอำนาจในบ้านเมืองสามารถออกกฎหมายยกเลิกความผิดที่กระทำไปแล้วได้ ย่อมสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีขึ้นในสังคม หากการกระทำเช่นนี้ได้รับการยอมรับ ก็เท่ากับว่าผู้มีอำนาจไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวต่อการทำผิดกฎหมาย เพราะสามารถออกกฎหมายยกเลิกความผิดของตัวเองได้
ในอดีตนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเคยออกกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมมาแล้ว 24 ครั้ง เรียบเรียงได้ดังนี้ คือ
1.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2475 ประกาศโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ โดยให้การกระทำทั้งหลายของคณะราษฎรที่เป็นการละเมิดกฎหมาย ไม่ให้เป็นการละเมิดบทกฎหมายเลย
2. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 ออกโดย พระยาพหลพลลพยุหเสนา โดยคณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนาหลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
3. พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488 ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ มีการปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมดเป็นอิสระ โดยผู้กระทำผิดจะได้ถูกฟ้องรับโทษตามคำพิพากษาแล้วหรือไม่และไม่ว่าผู้กระทำผิดนั้นจะได้หลบหนีจากที่ใดไปยังที่ใดหรือไม่ ให้เป็นอันพ้นจากความผิดนั้น ๆ ทั้งสิ้น
4. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พ.ศ.2489 ออกโดยนายปรีดี พนมยงค์ เป็นการยกโทษให้แก่ผู้ที่ต่อต้านญี่ปุ่นในครั้งที่ญี่ปุ่นเข้ามาไทย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
5. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ ในครั้งที่มีกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหาร พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แล้วให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนิรโทษแก่ผู้ที่ทำการรัฐประหารในคราวนั้นทั้งหมด
6. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 กลับมาใช้ พ.ศ.2494 ออกโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นการรัฐประหารของจอมพลป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารตัวเอง (ยึดอำนาจตัวเอง)
7. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ออกโดยจอมพลป. พิบูลสงครามเนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมาครบ ๒๕ ศตวรรษ จึงมีการอภัยทานความผิดฐานกบฏจลาจลนั้นเพื่อไม่มุ่งหมายจองเวรแก่กัน จึงได้นิรโทษกรรมทั้งหมด
8. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2500 ออกโดยนายพจน์ สารสิน เป็นการรัฐประหาร จอมพลป.พิบูลสงคราม นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อันเนื่องมาจากประชาชนไม่พอใจการเลือกตั้งที่ทุจริต และสมาชิกพรรคมนังคศิลาของจอมพลป. เสนอให้จัดการเด็ดขาดกับจอมพลสฤษดิ์ ที่แถลงให้จอมพลป.ลาออกจากตำแหน่ง จอมพลสฤษดิ์จึงทำการรัฐประหารตัดหน้าเสียก่อน แล้วให้นายพจน์ สารสินขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง
9. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2502 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร สืบเนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม ในการรัฐประหารในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น การรัฐประหารเงียบ หรือ ยึดอำนาจตัวเอง ออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างเต็มที่ เบ็ดเสร็จ และเด็ดขาด ด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 17
10.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 พ.ศ.2515 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย ยึดอำนาจตัวเอง เหมือนรัฐประหาร พ.ศ. 2494 ของจอมพลป. พิบูลสงคราม โดยได้มีการนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการปฏิวัติหรือร่วมทำการปฏิวัติพ้นจากความผิดทั้งสิ้น
11.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พ.ศ.2616 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ โดยเหตุที่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนเดินขบวนเรียกร้อง ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทย 14 ตุลาคม 2516 ภายหลังจากเหตุการณ์จึงมีการนิรโทษกรรมทั้งหมด
12.พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515 พ.ศ. 2517 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นการนิรโทษกรรมบุคคล โดยให้ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ที่ให้ควบคุมตัวนายอุทัย พิมพ์ใจชน นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ
13.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พ.ศ.2519 ออกโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมาจากเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐบาลในขณะนั้นคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คุมสถานการณ์ไม่อยู่ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ และให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการนิรโทษกรรมสำหรับผู้ทำการรัฐประหารในคราวนั้น
14.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ.2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จากเหตุการณ์กบฏในวันที่ 25 มีนาคม 2520 ซึ่งเป็นความพยายามก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เมื่อคราวผ่านพ้นไปจึงได้มีการนิรโทษกรรมทั้งหมด
15.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ.2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เนื่องมาจากการรัฐประหารนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหารนายธานินท์ กรัยวิเชียร ซึ่งเป็นการกระชับอำนาจตนเอง ถือเป็นการรัฐประหารตัวเอง และได้นิรโทษกรรมทั้งหมด
16.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยเห็นว่าหากมีการดำเนินคดีแก่ผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จะทำให้ผู้ที่ถูกดำเนินคดีต้องเสียอนาคตในทางการศึกษาและการประกอบอาชีพยิ่งขึ้น จึงมีการนิรโทษกรรม
17.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 พ.ศ.2524 ออกโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเหตุการณ์ที่มีความพยายามจะรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม โดยเรียกชื่อกลุ่มว่ายังเติร์ก แต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้น พลเอกเปรม จึงได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมกลุ่มเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อความสามัคคีของคนในชาติ
18.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จากเหตุความพยายามรัฐประหารของนายทหารนอกราชการ เรียกเหตุการณ์นี้ว่า กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการนิรโทษกรรมเพื่อความสามัคคีของชนในชาติ
19.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2532 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้กระทำความผิดตามกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์
20.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ออกโดยนายอานันท์ ปันยารชุน จากการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ทำการรัฐประหารพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้นิรโทษผู้ที่ร่วมในการรัฐประหารทั้งหมด
21.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ.2535 ออกโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้นพ้นผิดทั้งหมด ไม่ว่าจะประชาชนที่เข้าชุมนุม และทหารที่ทำการปราบปรามประชาชน
22.การนิรโทษกรรม บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในมาตรา 309 ที่ว่า “บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
23.การนิรโทษกรรมตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตราที่ 48 “บรรดาการกระทำ ทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
24.การนิรโทษกรรมตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 279 ที่ว่า “บรรดาประกาศ คําสั่ง และการกระทําของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือที่จะ ออกใช้บังคับต่อไปตามมาตรา ๒๖๕ วรรคสอง ไม่ว่าเป็นประกาศ คําสั่ง หรือการกระทําที่มีผลใช้บังคับ ในทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการ ให้ประกาศ คําสั่ง การกระทํา ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ คําสั่ง หรือการกระทํานั้น เป็นประกาศ คําสั่ง การกระทํา หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป การยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคําสั่งดังกล่าว ให้กระทําเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศหรือคําสั่ง ที่มีลักษณะเป็นการใช้อํานาจทางบริหาร การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทําโดยคําสั่งนายกรัฐมนตรี หรือมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 ว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้ง การกระทําที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ให้ถือว่าการนั้นและการกระทํานั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย”
จะเห็นได้ว่าการออกนิรโทษกรรมของประเทศไทย จำนวน 24 ครั้ง จะเป็นการออกนิโทษกรรมโดยการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จำนวน 17 ฉบับ การตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรม จำนวน 4 ฉบับ และการตรารัฐธรรมนูญนิรโทษกรรม จำนวน 3 ฉบับ ไม่เคยมีหรือกล่าวถึงการที่ศาลใช้อำนาจนิรโทษกรรมใดๆเลย เพียงแต่พิพากษารับรองกฎหมาย เช่นประกาศคณะปฏิวัติว่าชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
สุจินดา คราประยูร 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"การมีนายกรัฐมนตรีคนนอกเพื่ออะไรกัน : ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชามติ 2559"
ประวัติศาสตร์การเมืองที่เจ็บปวดมากจนยากข้ามผ่าน คือเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ซึ่งสืบสาวย้อนกลับไปได้ตั้งแต่สมัยก่อนหน้านั้น คือช่วงทศวรรษปี พ.ศ. 2520 -2530 ที่ประเทศไทยเราอยู่ในบรรยากาศการปกครองแบบ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ”
นั่นคือ มีการเลือกตั้ง แต่เมื่อเลือกได้แล้วก็เกิดรัฐบาลผสม และไม่มีหัวหน้าพรรคใดที่มีบารมีเพียงพอที่จะได้รับฉันทามติที่สภาฯ จะเห็นชอบให้เป็นนายกฯ ได้
จึงต้องมีการเชิญคนกลางจากกองทัพมาเป็นนายกฯ ตลอดช่วงเวลานั้น จึงเรียกว่ายุค “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” คือมีสภาฯ ที่มีที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มีหัวหน้ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
และผู้ที่ครองตำแหน่งนายกฯ ตลอดกาลในสมัยนั้น ก็คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยรูปแบบดังกล่าวนานถึง 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531
หากใครเกิดทันและโตพอที่จะได้สัมผัสบรรยากาศทางการเมืองสมัยนั้น ก็น่าจะจำได้ถึงบรรยากาศการเรียกร้องและโหยหา “นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง” ของประชาชน
หากจะสืบค้นก็ยังปรากฏร่องรอยอยู่ในเพลงของ “คาราบาว” หลายเพลงที่แต่งขึ้นมาในช่วงนั้น เช่นเพลง “ประชาธิปไตย” ก็มีท่อนหนึ่งที่ร้องว่า “รูรั่วเราต้องอุดรูรั่วไหลถ้าอยากเห็นเมืองไทยพัฒนาขึ้นอย่างผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้งใครอยากเป็นบ้าง ยกมือขึ้นให้ประชาชนมีสิทธิออกเสียงผู้มากุมบังเหียนชีวิตประชาชน”
ดังนั้น เมื่อหลังจากยุคป๋าเปรม มีนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง เป็น ส.ส.ของพรรคที่ชนะการเลือกตั้งได้รับที่นั่ง ส.ส.มากที่สุด คือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ถือว่าเป็นยุค “ประชาธิปไตยเต็มใบ”
จนกระทั่งถูกรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ไป เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 และหลังจากนั้นก็มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็ยังไม่ได้กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็น ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งในสภาฯ
จึงเกิดกรณีที่สภาฯ หาฉันทามติแต่งตั้งนายกฯ ไม่ได้อีกครั้ง และต้องไปเชิญ “คนนอก” จากกองทัพมาอีก คือ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะ รสช.
แต่ประชาชนในสมัยนั้นไม่เอาแล้วกับ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” นายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬขึ้น
หลังจากนั้นรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ จึงต้อง “ล็อกตาย” เอาไว้เลยว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องมาจาก ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเท่านั้น
ที่ต้องเล่าถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงนี้ ก็เพื่อให้ระลึกย้อนกลับไปทบทวนให้ถึงรากเหง้าว่า “เราต้องการนายกฯ จาก ส.ส.กันเพื่ออะไร”
คืออันที่จริงแล้ว สาระสำคัญที่แท้จริงของวาทกรรม “นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.” นี้ มันมาจากการที่ว่า ประชาชนต้องการนายกฯ ที่มาจากความเห็นชอบของประชาชน หรือประชาชนเลือกมาโดยทางอ้อม จากการเลือกตั้ง ส.ส.ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใหญ่ที่สุด ที่เป็นการถามหรือซาวเสียงจากประชาชนนั่นเอง