สินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไ? มีกี่ประเภทภายใต้กฎหมายไทย สรุปครบที่สุด และเข้าใจง่าย
https://youtu.be/zwThNO1aLOE
#blockchain #tokenization #ICO #AssetBackedICO #DigitalAsset #โทเคนเพื่อการลงทุน #สินทรัพย์ดิจิทัล #กลต #ICOถูกกฎหมาย
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過25萬的網紅iT24Hrs,也在其Youtube影片中提到,สรุปการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท ลงทุนอะไรดี 2021 Digital Asset ปี 2021 / 2564 และ 3 ข้อควรระวัง Chapters 00:00 Intro 01:31 Blockchain คืออะไร...
สินทรัพย์ดิจิทัล กลต 在 IT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง by ปานระพี Facebook 的精選貼文
สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset คืออะไร?
แล้วการระดมทุนออกเหรียญ (ICO) ที่ถูกกฎหมายในไทยจะเป็นอย่างไร?
.
มาทำความรู้จัก สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset และการระดมทุนยุคใหม่อย่าง ICO ภายใต้กฎหมายไทย ในคลิปรายการย้อนหลังนี้กันเลยค่ะ
.
ขอขอบคุณ ดร. นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต. ที่มาร่วมให้ความรู้กับเราในรายการตอนนี้ค่ะ 🙏
#ICO #DigitalAsset #สินทรัพย์ดิจิตอล #สินทรัพย์ดิจิทัล #กลต #พระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล
สินทรัพย์ดิจิทัล กลต 在 iT24Hrs Youtube 的最讚貼文
สรุปการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท ลงทุนอะไรดี 2021 Digital Asset ปี 2021 / 2564 และ 3 ข้อควรระวัง
Chapters
00:00 Intro
01:31 Blockchain คืออะไร
05:40 PoW vs PoS อะไรดี
07:41 Smart Contracts คืออะไร
09:08 ICO คืออะไร
09:47 พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล
11:01 ICO Portal คือ
11:46 Markets & Exchange
13:02 ประเภทของ ICO
16:15 Tokenization คืออะไร
17:38 ข้อควรระวัง
Blockchain เทคโนโลยีสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง currency อย่าง Bitcoin กำลังจะพลิกโฉมธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทยด้วยการทำ Tokenization
Middle Man
Blockchain เข้ามาแทนที่ตัวกลางแบบเดิมๆ ต่างๆ ได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามากๆ และเร็วสุดๆ ด้วย
Blockchain คืออะไร
โดยพื้นฐานแล้ว Blockchain คือระบบฐานข้อมูลแบบง่ายๆ ในลักษณะรายการเดินบัญชี แต่มีคุณสมบัติพิเศษ 2 อย่าง
1. เก็บแบบถาวร - มีการเขียนข้อมูลเพิ่มอย่างเดียว ไม่มีการลบ และข้อมูลที่ได้รับการบันทึกไว้ภายใน blockchain แล้ว จะถูกแก้ไขได้ยากมากๆ จนแทบเป็นไปไม่ได้
2. Decentralized - ไม่มีศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล ไม่มีใครเป็นเจ้าของข้อมูล แต่ข้อมูลจะถูกสำเนากระจายเก็บ เพื่อยืนยันกันเอง
Proof of Work
Blockchain มีกลไกที่ทำให้การสร้าง block ใหม่ยากขึ้น และใช้เวลานานขึ้น จะสร้าง block ได้ Block นึง ทุกครั้งต้องทำงานคำนวณอะไรบางอย่างก่อนที่ยากมากๆ เรียกว่า Proof of work ในกรณีของ Bitcoins ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 10 นาที (คือการหา nonce ที่ทำให้ได้ค่า hash ต่ำกว่า target ที่จะปรับตามค่า difficulty)
แต่ 10 นาทีนี้ คือ เกิดจากกำลังประมวลผลของทั้ง network
Proof of Stake
วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ Proof of Stake ที่จะดูเป็นทุนนิยมหน่อยๆ แต่ก็ใช้ปกป้องข้อมูลให้คงความถูกต้อง โปร่งใส และเชื่อถือได้เช่นกัน แต่ใช้พลังงานน้อยกว่า และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Blockchain for Business
เนื่องจากข้อมูลที่ถูกบันทึกบน Blockchain ที่มีความสเถียร แก้ไขไม่ได้ และ มีความโปร่งใส เพราะกระจายสำเนาให้ทุก node ถือ และใครๆก็สามารถดูและตรวจสอบได้ จึงมีความน่าเชื่อถือ ทำให้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆ มากมายธนาคารบางธนาคาร ก็ใช้ Blockchain เชื่อมโยงเอกสารหนังสือค้ำประกันของคู่ค้า
Smart Contract
Blockchain ไม่ได้บันทึก ได้แค่ transaction Blockchain network ยุคใหม่ อย่าง Ethereum หรือ Tezos ยังถูกพัฒนาดีขึ้นอีกขั้น ให้สามารถ เขียน และ รัน Smart contract ได้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง อย่าง โบรกเกอร์ นักกฏหมาย และ ธนาคาร ก็เป็นสิ่งที่ทำได้แล้ว
Investment ลงทุนอะไรดี 2021 / 2564
กระแสการลงทุนใน currency อย่าง Bitcoin ก็เคยทำให้ Bitcoin มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตระหนกถึง 20 เท่าภายในปีเดียว จากเหรียญละ 3 หมื่นบาท พุ่งไปถึง 6 แสนกว่าบาท ซึ่งก็ทำให้นักลงทุนทั่วโลกตื่นตัวกันสุดๆ กับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี blockchain
ตามมาด้วยกระแสการระดมทุนของ startup ด้วยการทำ ICO หรือที่เราเรียกว่าการออกเหรียญ เพราะมีนักลงทุนจำนวนมากคิดว่าการลงทุนในเหรียญเหล่านี้ เป็นช่องทางที่จะได้รับผลตอบแทนมหาศาล
เป็นเหตุที่ทำให้ในประเทศไทย เกิดการบังคับใช้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 และการเข้ามาควบคุมการซื้อขายแลกเปลี่ยน เคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลของ กลต หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
Digital Asset & Regulation ลงทุนอะไรดี 2021
โดยนิยามตามกฏหมายไทย สินทรัพย์ดิจิทัลมี 2 ประเภท คือ
1. Currency ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ แบบเดียวกับเงิน เช่น Bitcoin
2. โทเคนดิจิทัล ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
• Investment token หรือ โทเคนเพื่อการลงทุน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการร่วมลงทุน และ
• Utility token ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง คล้ายกับ point หรือ คูปอง
ส่วน ICO ก็คือการระดมทุนด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งนะคะ โดยบริษัทจะเสนอขายโทเคนที่กำหนดสิทธิหรือผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้ลงทุน เช่น ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือ บริการที่เฉพาะเจาะจงและกำหนดให้ผู้ลงทุนที่ต้องการจะร่วมลงทุนสามารถเข้าร่วมได้โดยการนำเงิน มาแลกโทเคนที่บริษัทออก โดยมีการกำหนดและบังคับสิทธิที่จะได้รับด้วย smart contract
การทำ ICO ในประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาตจาก กลต เท่านั้นนะคะ และ ต้องทำผ่าน ICO Portal ก็คือผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบ จาก กลต เช่นกัน
ซึ่งกิจกรรมการลงทุนอะไรในสินทรัพย์ดิจิทัล จะมี 2 ส่วนหลักๆ คือกิจกรรมในตลาดแรก และกิจกรรมในตลาดรอง คล้ายๆกับตลาดหุ้นเช่นกัน
ICO & Investment Token ลงทุนอะไรดี 2021 / 2564
แม้ ICO จะไม่มีการแบ่งประเภทตามกฎหมาย แต่เราอาจจะแบ่งตามลักษณะของการมีสินทรัพย์เป็นหลักประกันได้ 2 ประเภท เราจะลงทุนอะไรดี
1) Project Based ICO คือ การทำ ICO ที่นิยมทำมากในหมู่ startup
เป็นการเขียนข้อเสนอโครงการขึ้นมาเป็น white paper ระบุว่าจะนำเงินไปสร้างธุรกิจนวัตกรรมอะไร แล้วก็ระดมทุนด้วยการออกเหรียญ ซึ่ง ICO แบบนี้มูลค่าของเหรียญจะขึ้นอยู่กับอนาคตของโครงการเป็นสำคัญ
2) Asset backed ICO
ถือเป็นพัฒนาการของ ICO อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการออกเหรียญที่มีสินทรัพย์หนุน หรือค้ำมูลค่าอยู่ ด้วยการทำ Tokenization
Tokenization คือการแปลงสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งที่มีตัวตนอย่าง อาคาร ที่ดิน และไม่มีตัวตน อย่าง ลิขสิทธิ์ ให้เป็น Investment Token หรือ โทเคนเพื่อการลงทุน
เว็บไซต์ของ ก.ล.ต https://www.sec.or.th/digitalasset หรือโทรสายด่วน กลต 1207
สินทรัพย์ดิจิทัล กลต 在 iT24Hrs Youtube 的最佳貼文
Digital Asset คืออะไร? สินทรัพย์ดิจิทัล และ ICO ที่ถูกกฎหมายไทยเป็นอย่างไร?
พระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ พรก. สินทรัพย์ดิจิทัล คืออะไร?
------------------
ปี 2020 เรากำลังจะเห็นการเกิดใหม่ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล การกลับมาของ ICO ในประเทศไทย สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset คืออะไร?
เมื่อปี 2017 Bitcoin มีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตระหนกถึง 20 เท่าภายในปีเดียว จากเหรียญละ 3 หมื่นบาท พุ่งไปถึง 6 แสนกว่าบาท และนั่นทำให้นักลงทุนทั่วโลกตื่นตัวกันสุดๆ กับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี blockchain
ประกอบกับการมาของเทคโนโลยี blockchain platform ยุคที่ 2 อย่าง Ethereum ที่ทำให้ใครๆก็สร้างเหรียญของตัวเองได้แถมยังสามารถใช้ smart contract สัญญาอัจฉริยะ ประยุกต์ทำธุรกิจได้หลากหลาย จึงตามมาด้วยกระแสการระดมทุนของ startup ด้วยการทำ ICO คือ Initial Coin Offering หรือที่เราเรียกว่าการออกเหรียญ
ปัจจุบันนี้ประเทศไทย มีบังคับใช้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset) กันแล้ว และได้มีการเข้ามาควบคุมการซื้อขายแลกเปลี่ยน คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และโทเคนดิจิทัล (Digital Token) โดย กลต หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในตอนนี้ก็ยังไม่มีการทำ ICO (Initial Coin Offering) ในประเทศไทยอีกเลย
รายการ Digital Thailand ตอนนี้มาฟังบทสัมภาษณ์ ดร.นพนวลพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset และ ทิศทางการทำ ICO ตามแนวทาง ก.ล.ต. เป็นอย่างไร
เรื่องของ Smart Contract และ Whitepaper มีความสำคัญอย่างไรกับการทำ Initial Coin Offering (ICO) และเกี่ยวข้องกับ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset อย่างไรบ้าง
มาดูกันว่า วิวัฒนาการของ ICO หรือ initial coin offering ซึ่งเป็นการระดมทุนแบบหนึ่ง ในโลกและในประเทศไทยเป็นอย่างไร นอกจากรูปแบบของ Project Based ในการทำ ICO (initial coin offering) ที่ใช้เทคโนโลยีบล๊อคเชน (Blockchain) ในการออก Token ของบริษัทต่างๆ หรือ กลุ่ม Startup ที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันก็มีการทำในรูปแบบของ Asset Back อีกด้วยซึ่งจะต้องมาดูกันว่า Asset Back นั้นทำกันอย่างไร
นิยามตามกฏหมายไทย สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset มี 2 ประเภท คือ
1. Cryptocurrency ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ แบบเดียวกับเงินสด เช่น Bitcoin
2. โทเคนดิจิทัล (Digital Token) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
Investment token หรือ โทเคนเพื่อการลงทุน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการร่วมลงทุน และ
Utility token ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง คล้ายกับ point หรือ คูปอง
โดยนักลงทุนที่ซื้อและถือโทเคน ก็จะมีสิทธิตามที่ระบุในเอกสารประกอบการเสนอขายโทเคน หรือที่เรียกว่า White Paper อาจจะเป็นสิทธิในส่วนแบ่งรายได้ ผลกำไร หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งใน White paper ก็จะต้องบอกรายละเอืยดต่างๆของโครงการไว้ด้วย เช่นว่าโครงการนี้ระดมทุนไปทำอะไร อย่างไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
เนื้อหาในคลิบนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวของในขั้นตอนการทำ ICO ซึ่งมีดังนี้
Issuer ผู้ออกโทเคน หรือผู้ระดมทุน
ICO Portal ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล
Broker นายหน้าขายโทเคนดิจิทัล
Exchange ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล
ผู้ที่ต้องการตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตเป็น ICO Portal คลิก http://www.sec.or.th/TH/Pages/SHORTCUT/DIGITALASSET.aspx
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.sec.or.th
แจ้งร้องเรียน ก.ล.ต. โทร 1207
และหากใครสงสัยว่า Tokenization คืออะไร? ICO มีกี่แบบ? จะแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคนดิจิทัลได้อย่างไร ICO Portal คือใคร? ICO Portal ทำอะไรบ้าง? ติดตามเพิ่มเติมได้ที่คลิปนี้
https://youtu.be/h3L5HGcKIWI
รายการ Digital Thailand ออกอากาศ 21 มีนาคม 2563 ทางช่อง 3 กด 33
ติดตามได้ทุกเช้าวันเสาร์ ทางช่อง 3 กด 33 เวลา 4.40 น.
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
ติดต่อโฆษณา it24hrs@it24hrs.com
#stayhome #withme #whitepaper #smartcontract #cryptocurrency #bitcoin #DigitalAsset #สินทรัพย์ดิจิทัล #