ลักษณะของกฎหมายข้อที่ 1
กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์
ข้อพิจารณาถึงลักษณะความสมบูรณ์ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ ในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน กฎหมายเป็นข้อความที่กำหนดบังคับให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามบุคคลกระทำการบางอย่างกับกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำบางอย่าง ดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างก็ดีหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่างก็ดี เรียกว่า “กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ” ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ คือ
1) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมบังคับให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่กระทำการ” (Duty of Act)
2) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่งดเว้นกระทำการ” (Duty to Refrain from Acting)
ดังนั้นการที่กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำบางอย่างหรือห้ามกระทำบางอย่างถือเป็น “ความผูกพัน” (Relationship) ทำให้บุคคลตกอยู่ในสถานะที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำกิจการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการซึ่งเป็นหน้าที่ เช่น การกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่รับราชการทหาร มีหน้าที่เสียภาษี เป็นต้น
2. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง เรียกว่า “กฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่บุคคล” แยกพิจารณา ดังนี้
1) สิทธิ (Rights) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองคุ้มครองประโยชน์ให้ทั้งในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและสิทธิพล ดังนี้
(1) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หรือ สิทธิของทุกคน สิทธิประเภทนี้ คือ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนโดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นชาติใด เชื้อชาติใดหรือศาสนาใด หากแต่บุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้นแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นด้วย สิทธิมนุษยชนเป็นคุณลักษณะประจำตัวของมนุษย์ทุกคนเพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลอย่างเดียวว่า “เพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์” มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะมี “รัฐ” (State) เกิดขึ้น โดยมีลักษณะติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด ไม่อาจถูกพรากหรือถ่ายโอนจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิได้และเป็นสิทธิที่มีลักษณะสากล คือ เป็น สิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกันอย่างเสมอภาค สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เป็นต้น
(2) สิทธิพลเมือง (Civil Rights) เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น เป็นสิทธิที่เกิดมาภายหลังที่ได้มีกาจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้ว เช่น สิทธิในทางการเมือง สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิพลเมือง จะพบว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของ “สิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิด” โดยคุ้มครองทั่วไปไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดในโลก แต่สิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่ได้มาภายหลัง เมื่อทำสัญญาประชาคมจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้วจะคุ้มครองกับพลเมืองของรัฐนั้น
2) ส่วนเสรีภาพ (Liberty) หมายถึง สิ่งที่ปราศจากการกักขังหน่วงเหนี่ยวทั้งทางร่างกายและทางความคิด
ดังนั้น เมื่อคุ้มครองสิทธิจะต้องรวมถึงเสรีภาพด้วย เพราะจะมีเสรีภาพได้ต้องได้รับสิทธิมาก่อน จึงเรียกว่า “สิทธิเสรีภาพ” การรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการกระทำการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดอนุญาต คือ สิทธิเสรีภาพในสภาพบุคคลและสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมถือเป็นระเบียบแบบแผนควบคุมความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ กฎหมายเป็นข้อตกลงให้คนในสังคมปฏิบัติโดยอยู่ในรูปแบบของ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งต่างๆนั้นมักจะมาจากวิธีปฏิบัติที่กระทำสืบเนื่องมาจากจารีตประเพณีนิยมที่เป็น “บรรทัดฐานทางปฏิบัติทั้งหลายของสังคม” (Practical Norms of Society) โดยคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับและปฏิบัติตามมาเป็นเวลาช้านานโดยถือเป็น “ปรากฏการณ์ทางสังคม” (Social Phenomenal) ในลักษณะเช่นเดียวกันกับศาสนาและศีลธรรม จนกระทั่งเรียบเรียงขึ้นเป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพื่อกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของคนในสังคมให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ ตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละบริบทของแต่สังคมแต่ละประเทศ
「สิทธิพลเมือง」的推薦目錄:
- 關於สิทธิพลเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於สิทธิพลเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於สิทธิพลเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於สิทธิพลเมือง 在 การคุ้มครองสิทธิพลเมืองในด้านต่างๆที่เชื่อมโยงกับสิทธมนุษยชน 的評價
- 關於สิทธิพลเมือง 在 The Active - #สิทธิที่รุ่นเรา : วิชา สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง 的評價
- 關於สิทธิพลเมือง 在 องค์กรดีเด่นด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประจำปี 2562 的評價
- 關於สิทธิพลเมือง 在 สุขภาพทางเพศ สิทธิพลเมือง เคลื่อนได้ด้วยการเมือง - YouTube 的評價
สิทธิพลเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"สิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย"
สิทธิกร ศักดิ์แสง
สิทธิเสรีภาพของประชาชน (Rights and Liberties of People) จะกล่าวถึง ความหมายของสิทธิเสรีภาพ การรับรองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในกรณีจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพ การละเมิดกฎเกณฑ์ที่คุ้มครองหรือจำกัดเสรีภาพ ดังนี้
1.ความหมายและประเภทของสิทธิเสรีภาพ
1.1.ความหมายของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ก่อนที่จะทราบถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ เราจำเป็นต้องทราบถึงความหมายของสิทธิและความหมายของเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1.1.1ความหมายของสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิ (Right) หมายถึง อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับรองและคุ้มครองให้ กฎหมายในที่นี้เป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุด คือ “รัฐธรรมนูญ” (Constitution) เมื่อกล่าวถึงสิทธิตามรัฐธรรมนูญ จึงหมายถึง สิทธิในทางมหาชน (Public Rights) ซึ่งมีหลักเกณฑ์คลุมถึงสิทธิในทางเอกชน (Private Rights) ด้วย กล่าวคือ สิทธิในทางกฎหมายมหาชนครอบคลุมไปถึงสิทธิต่างๆของกฎหมายเอกชนที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรอง
ดังนั้น “สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” จึงหมายถึง อำนาจตามรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดได้บัญญัติรีบรองแก่ปัจเจกบุคคลในอันที่กระทำหรือไม่กระทำการให้แก่ปัจเจกบุคคลดังกล่าว ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องต่อองค์กรของรัฐมิให้แทรกแซงในขอบเขตสิทธิของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐและสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิที่ผูกพันองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายที่จะต้องให้ความเคารพปกป้องและคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สิทธิสิทธิตามรัฐธรรมนูญในทางปฏิบัติ
1.1.2 เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น อยู่ในภาวะที่ปราศจากการถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวหรือขัดขวาง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เสรีภาพ คือ อำนาจของบุคคลในอันที่จะกำหนดตนเอง (Self-determination) โดยอำนาจนี้บุคคลย่อมเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ด้วยตนเองจึงเป็นอำนาจที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเอง เสรีภาพจึงมีความหมายต่างกับสิทธิ แต่อย่างไรก็ตามถ้าเสรีภาพใดมีรัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครอง เสรีภาพนั้นก็อาจเป็นสิทธิด้วย จึงมีผู้เรียกรวมๆกันไปว่า “สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ”
1.2 ประเภทของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาถึงประเภทของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มีข้อพิจารณาอยู่หลายประการ ในหัวข้อนี้ผู้เขียนขอแบ่งโดยการพิจารณาผู้ทรงสิทธิ ซึ่งเป็นการพิจารณาผู้ซึ่งได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญมุ่งที่จะคุ้มครอง อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1.2.1 สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนหรือสิทธิของทุกคน สิทธิประเภทนี้ คือ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนโดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นชาติใด เชื้อชาติใดหรือศาสนาใด หากแต่บุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้นแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นด้วย สิทธิมนุษยชนเป็นคุณลักษณะประจำตัวของมนุษย์ทุกคนเพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลอย่างเดียวว่า “เพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์” มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะมี “รัฐ” เกิดขึ้น สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เป็นต้น
1.2.2 สิทธิพลเมือง
สิทธิประเภทนี้เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น เช่น สิทธิในทางการเมือง สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา เป็นต้น
2.การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
รัฐเสรีประชาธิปไตย ถือว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกคนในสังคมเป็นหัวใจของการเมืองการปกครอง จึงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งรัฐเสรีประชาธิปไตยเกือบทุกรัฐจะบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนออกได้ 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกาย
ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกาย คือ เสรีภาพที่มนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธได้ เป็นเสรีภาพที่ทุกคนต้องการ เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องการและจัดเป็นเหตุสำคัญที่สุดที่นักปรัชญากฎหมายเห็นกันว่าเป็นเหตุให้มนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคม ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าวถือว่าเป็นความสำคัญมากกว่าสิทธิเสรีภาพอื่นๆ เพราะถือว่าสิทธิเสรีภาพดังกล่าวเป็นพื้นฐานของเสรีภาพอื่นๆ
2.2 เสรีภาพในชีวิตส่วนตัว
รัฐตระหนักถึงว่ามีเสรีภาพของบุคคลบางอันมีขอบเขตที่มีความเป็นอิสระและปฏิเสธการที่บุคคลอื่นเข้ามารุกรานเสรีภาพ เสรีภาพดังกล่าวก็คือ เสรีภาพในชีวิตส่วนตัวซึ่งได้แก่ เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในความลับส่วนบุคคล เสรีภาพในข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
2.3 เสรีภาพในตัวบุคคล
เสรีภาพในตัวบุคคล เป็นเสรีภาพที่บุคคลสามารถกระทำอะไรกับร่างกายของตนก็ได้ บุคคลอื่นจะก้าวล่วงเข้ามาขัดขวางการเคลื่อนไหวทางกายภาพของเขาไม่ได้ เช่น เสรีภาพในการเดินทาง บุคคลอื่นจะเข้ามาก้าวล่วงในร่างกายของเขาโดยปราศจากการยินยอมไม่ได้ เช่น การผ่าตัดคนไข้ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้ เป็นต้น
สิทธิเสรีภาพในตัวบุคคล เป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะเคารพในเนื้อตัวร่างกายของตนที่จะสามารถกระทำอะไรกับเนื้อตัวของตนเองภายใต้กรอบของกฎหมายกำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิเสรีภาพในตัวบุคคลก็ตาม แต่เมือการใช้สิทธิเสรีภาพนั้นเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ไม่ เช่น การเร่ขายบริการทางเพศ จะเห็นได้ว่าบุคคลที่กระทำดังกล่าวใช้เสรีภาพในตัวบุคคลและอ้างว่าสามารถทำได้ แต่ในกรณีนี้จะอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิทธิเสรีภาพในตัวบุคคลไม่ได้ เนื่องจากเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายการค้าประเวณี เป็นต้น
2.4 เสรีภาพทางปัญญาและศีลธรรม
สมองของมนุษย์เป็นผลผลิตทางธรรมชาติที่เป็นอวัยวะที่สำคัญเหนือการคาดเดาได้ว่า มนุษย์จะใช้สมองคิดไปในทางใด คิดอย่างไร มนุษย์สามารถแสดงออกสิ่งที่ตนเองคิด สิ่งที่ตนเองเชื่อและแสดงออกซึ่งสิ่งที่ตนเองคิดได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางความเชื่อ เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในทางวิชาการ เสรีภาพในการรวมตัวเป็นกลุ่มบุคคลเป็นต้น
ในประเด็นนี้เสรีภาพทางปัญญาและศีลธรรมอาจจะแสดงออกมาในทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าสื่อทางด้านละคร เสรีภาพของวิทยุโทรทัศน์ เป็นการแสดงออกถึงการกกระจายทางความคิด รวมถึงผู้สอนหนังสือซึ่งเป็นเสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการประชุม เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการประท้วง เสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น ซึ่งสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนานั้นกฎหมายรับรองโดยที่ไม่มีอะไรเข้ามาแทรกแซงได้เลย มีอิสระ มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา ลัทธิ นิกายใดก็ได้ กฎหมายไม่สามารถก้าวล่วงได้ในด้านทางความคิด
2.5 เสรีภาพทางเศรษฐกิจ
เสรีภาพทางเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่จะมีลักษณะพิเศษเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในทางเศรษฐกิจ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพดั้งเดิม คือ เสรีภาพตามแนวคิดปัจเจกชนนิยม เสรีภาพประเภทนี้ เช่น เสรีภาพในกรรมสิทธิ์ เสรีภาพในการทำงาน เสรีภาพในอุตสาหกรรมและพาณิชกรรม เสรีภาพในการเป็นสหภาพ เสรีภาพในการนัดหยุดงาน เป็นต้น
3.กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในกรณีจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพ
รัฐธรรมนูญรัฐเสรีประชาธิปไตยทุกรัฐให้การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเท่าที่จำเป็นและจะกระทบสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ การที่ทุกคนที่มีสิทธิเสรีภาพนั้นถ้าไม่มีขอบเขตจำกัด ทุกคนจะใช้สิทธิเสรีภาพนั้นเกินเลยทำให้เกิดปัญหาในทางสังคมได้ รัฐจึงจำเป็นต้องมาแทรกแซงเข้ามาจัดการคุ้มครองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิเสรีภาพของเรา ซึ่งการจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นจำเป็นต้องกระทำอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
3.1 การจำกัดเสรีภาพเพื่อคุ้มครองเสรีภาพผู้อื่นและคุ้มครองสังคม
การจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล รัฐต้องตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพและกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นมาจากองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชนด้วยตามครรลองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งก็ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) แต่อย่างไรก็ตามการจำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อคุ้มครองสังคมและคุ้มครองเสรีภาพผู้อื่นนั้น คงเป็นไปไม่ได้เลยที่รัฐจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยไม่คงเหลือสิทธิเสรีภาพอะไรเลยให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐยังคงต้องรับรอบและไม่สามารถจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานได้
3.2การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยรัฐจะตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้นั้น รัฐเองก็ต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองประชาชนด้วย การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ มีอยู่ 3 ระดับด้วยกันดังนี้
1)สิทธิเสรีภาพบางประเภทนั้นรัฐไม่สามารถตรากฎหมายออกมาจำกัดได้เลย เสรีภาพประเภทนี้เป็นเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างสมบูรณ์ เช่น สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น
2)การจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นต้องตราเป็นกฎหมายที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ซึ่งแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งถือว่าเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนเท่านั้นที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ดังนั้นหากรัฐต้องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องใด รัฐต้องตรากฎหมายออกมาในรูปของพระราชบัญญัติ มิเช่นนั้นรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่สามารถกระทำการได้ เว้นแต่ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ความมั่นคงของรัฐหรือ ในกรณีที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ถ้ามีความจำเป็นรีบด่วนและลับ ฝ่ายบริหารนั้นสามารถตราพระราชกำหนดมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นได้ แต่เมื่อเข้าสู่สมัยประชุมสภานิติบัญญัติต้องนำพระราชกำหนดนั้นให้สภาอนุมัติ
3)ถ้ามีการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของ. ประชาชน รัฐต้องจัดให้มีองค์กรทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนที่ถูกละเมิด เช่น ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น นอกจากนี้ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพและขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐต้องมีองค์กรชี้ขาดในเรื่องดังกล่าว เช่น องค์กรทางการเมือง ศาลยุติธรรมหรือศาลพิเศษคือ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
3.3 การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของบุคคลอื่น
การกระทำหน้าที่ดังกล่าวของรัฐเป็นไปเพื่อการปกป้องคุ้มครองคนทุกคนในสังคม ให้มีความสงบสุขและต้องการมีการกำหนดโทษไว้ ถ้ามีการละเมิดสิทธิเสรีภาพเกิดขึ้นทั้งทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครองและทางรัฐธรรมนูญ การละเมิดกฎเกณฑ์ที่คุ้มครองหรือจำกัดเสรีภาพจะต้องมีองค์กรชี้ขาดที่เป็นอิสระและทำให้การละเมิดนั้นหมดไป ในประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่า การที่จะทำให้เสรีภาพได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ จะต้องมีปัจจัย อีก 2 ประการ คือ
3.3.1 มีองค์กรอิสระในการตัดสินชี้ขาดการละเมิด
ในประเทศที่ใช้หลักการปกครองแบบนิติรัฐ (Legal State) ที่ยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) นั้นถือว่าต้องให้ศาลซึ่งเป็นศาลยุติธรรมหรือศาลพิเศษ (เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ) ในระบบกฎหมายมหาชนเป็นผู้ชี้ขาดในการคุ้มครองเสรีภาพของปัจเจกบุคคล รวมไปถึงการใช้อำนาจเฉพาะขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจในการตัดสินชี้ขาดการละเมิดนั้นเป็นเรื่องเฉพาะ
3.3.2 มีมาตรการให้การละเมิดนั้นหมดไป
การมีมาตรการให้การละเมิดนั้นหมดไปอาจมีการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหาย ศาลจึงมีความเป็นอิสระมีอำนาจในการทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพนั้นยุติลง และต้องจ่ายค่าเสียหายให้ปัจเจกชนที่เสียหายด้วย ซึ่งเป็นการเยียวยาให้กับผู้เสียหายที่ถูกละเมิด
แต่สำหรับประเทศในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 ฉบับชั่วคราว ไม่ได้รับรองสิทธิเสรีภาพ นะครับ จึงใช้สิทธิเสรีภาพในการวิพากษณ์วิจารณ์บริหารงานของรัฐบาล(ในอนาคตที่เกิดขึ้น) สนช. คสช. ไม่ได้ "เสรีภาพทางวิชาการยังอยู่ในลูกกรง"
“ วิธีการที่ทำกันอยู่คงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องนักสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนะครับ” !!!
สิทธิพลเมือง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ผมรู้สึกว่าเวลานี้ อ้างสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญกันตลอด ผมเลยอยากให้ความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพ ดังที่นักศึกษาด่า ว่า "อย่าเก่งในโลกโชเชียล เก่งแต่ในห้องเรียน เราต้องมาชุมนุมต่อปฏิรูปประเทศไทยกัน" ผมเลยต้องเอาความรู้เกี่ยวกับสิทธิเสรภาพตามรัฐธรรมที่เป็นกฎกติกาและเป็นหลักทั่วไทยเขายอมรับกันมาอธิบายครับ
สิทธิเสรีภาพของประชาชน (Rights and Liberties of People) จะกล่าวถึง ความหมายของสิทธิเสรีภาพ การรับรองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในกรณีจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพ การละเมิดกฎเกณฑ์ที่คุ้มครองหรือจำกัดเสรีภาพ ดังนี้
1.1 ความหมายและประเภทของสิทธิเสรีภาพ
1.1.1 ความหมายของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ก่อนที่จะทราบถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ เราจำเป็นต้องทราบถึงความหมายของสิทธิและความหมายของเสรีภาพ ดังนี้
1.1.1.1 ความหมายของสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิ (Right) หมายถึง อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับรองและคุ้มครองให้ กฎหมายในที่นี้เป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุด คือ “รัฐธรรมนูญ” (Constitution) เมื่อกล่าวถึงสิทธิตามรัฐธรรมนูญ จึงหมายถึง สิทธิในทางมหาชน (Public Rights) ซึ่งมีหลักเกณฑ์คลุมถึงสิทธิในทางเอกชน (Private Rights)ด้วย กล่าวคือ สิทธิในทางกฎหมายมหาชนครอบคลุมไปถึงสิทธิต่างๆของกฎหมายเอกชนที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรอง ดังนั้น “สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” จึงหมายถึง อำนาจตามรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมานสูงสุดได้บัญญัติรีบรองแก่ปัจเจกบุคคลในอันที่กระทำหรือไม่กระทำการให้แก่ปัจเจกบุคคลดังกล่าว ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องต่อองค์กรของรัฐมิให้แทรกแซงในขอบเขตสิทธิของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐและสิทธิเสรภาพตามรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิที่ผูกพันองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายที่จะต้องให้ความเคารพปกป้องและคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สิทธิสิทธิตามรัฐธรรมนูญในทางปฏิบัติ
1.1.1.2 เสรีภาพ
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น อยู่ในภาวะที่ปราศจากการถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวหรือขัดขวาง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เสรีภาพ คือ อำนาจของบุคคลในอันที่จะกำหนดตนเอง (Self-determination) โดยอำนาจนี้บุคคลย่อมเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ด้วยตนเองจึงเป็นอำนาจที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเอง เสรีภาพจึงมีความหมายต่างกับสิทธิ แต่อย่างไรก็ตามถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรับรองและคุ้มครอง เสรีภาพนั้นก็อาจเป็นสิทธิด้วย จึงมีผู้เรียกรวมๆกันไปว่า “สิทธิเสรีภาพ”
1.1.2 ประเภทของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาถึงประเภทของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มีข้อพิจารณาอยู่หลายประการ ในหัวข้อนี้ผู้เขียนขอแบ่งโดยการพิจารณาผู้ทรงสิทธิ ซึ่งเป็นการพิจารณาผู้ซึ่งได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญมุ่งที่จะคุ้มครอง อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1.1.2.1 สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนหรือสิทธิของทุกคน สิทธิประเภทนี้ คือ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนโดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นชาติใด เชื้อชาติใดหรือศาสนาใด หากแต่บุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้นแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นด้วย สิทธิมนุษยชนเป็นคุณลักษณะประจำตัวของมนุษย์ทุกคนเพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลอย่างเดียวว่า “เพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์” มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะมี “รัฐ” เกิดขึ้น สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เป็นต้น
1.1.2.2 สิทธิพลเมือง
สิทธิประเภทนี้เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น เช่น สิทธิในทางการเมือง สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา เป็นต้น
1.2 การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
รัฐเสรีประชาธิปไตย ถือว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกคนในสังคมเป็นหัวใจของการเมืองการปกครอง จึงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งรัฐเสรีประชาธิปไตยเกือบทุกรัฐจะบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนออกได้ 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.2.1 ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกาย
ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกาย คือ เสรีภาพที่มนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธได้ เป็นเสรีภาพที่ทุกคนต้องการ เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องการและจัดเป็นเหตุสำคัญที่สุดที่นักปรัชญากฎหมายเห็นกันว่าเป็นเหตุให้มนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคม ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าวถือว่าเป็นความสำคัญมากกว่าสิทธิเสรีภาพอื่นๆ เพราะถือว่าสิทธิเสรีภาพดังกล่าวเป็นพื้นฐานของเสรีภาพอื่นๆ
1.2.2 เสรีภาพในชีวิตส่วนตัว
รัฐตระหนักถึงว่ามีเสรีภาพของบุคคลบางอันมีขอบเขตที่มีความเป็นอิสระและปฏิเสธการที่บุคคลอื่นเข้ามารุกรานเสรีภาพ เสรีภาพดังกล่าวก็คือ เสรีภาพในชีวิตส่วนตัวซึ่งได้แก่ เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในความลับส่วนบุคคล เสรีภาพในข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
1.2.3 เสรีภาพในตัวบุคคล
เสรีภาพในตัวบุคคล เป็นเสรีภาพที่บุคคลสามารถกระทำอะไรกับร่างกายของตนก็ได้ บุคคลอื่นจะก้าวล่วงเข้ามาขัดขวางการเคลื่อนไหวทางกายภาพของเขาไม่ได้ เช่น เสรีภาพในการเดินทาง บุคคลอื่นจะเข้ามาก้าวล่วงในร่างกายของเขาโดยปราศจากการยินยอมไม่ได้ เช่น การผ่าตัดคนไข้ต้องได้รับความยินยอมจากคนไข้ เป็นต้น
สิทธิเสรีภาพในตัวบุคคล เป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะเคารพในเนื้อตัวร่างกายของตนที่จะสามารถกระทำอะไรกับเนื้อตัวของตนเองภายใต้กรอบของกฎหมายกำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิเสรีภาพในตัวบุคคลก็ตาม แต่เมือการใช้สิทธิเสรีภาพนั้นเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ไม่ เช่น การเร่ขายบริการทางเพศ จะเห็นได้ว่าบุคคลที่กระทำดังกล่าวใช้เสรีภาพในตัวบุคคลและอ้างว่าสามารถทำได้ แต่ในกรณีนี้จะอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิทธิเสรีภาพในตัวบุคคลไม่ได้ เนื่องจากเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายการค้าประเวณี เป็นต้น
1.2.4 เสรีภาพทางปัญญาและศีลธรรม
สมองของมนุษย์เป็นผลผลิตทางธรรมชาติที่เป็นอวัยวะที่สำคัญเหนือการคาดเดาได้ว่า มนุษย์จะใช้สมองคิดไปในทางใด คิดอย่างไร มนุษย์สามารถแสดงออกสิ่งที่ตนเองคิด สิ่งที่ตนเองเชื่อและแสดงออกซึ่งสิ่งที่ตนเองคิดได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางความเชื่อ เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในทางวิชาการ เสรีภาพในการรวมตัวเป็นกลุ่มบุคคลเป็นต้น
ปัจจุบันเสรีภาพทางปัญญาและศีลธรรมอาจจะแสดงออกมาในทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าสื่อทางด้านละคร เสรีภาพของวิทยุโทรทัศน์ เป็นการแสดงออกถึงการกกระจายทางความคิด รวมถึงผู้สอนหนังสือซึ่งเป็นเสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการประชุม เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการประท้วง เสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น ซึ่งสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนานั้นกฎหมายรับรองโดยที่ไม่มีอะไรเข้ามาแทรกแซงได้เลย มีอิสระ มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา ลัทธิ นิกายใดก็ได้ กฎหมายไม่สามารถก้าวล่วงได้ในด้านทางความคิด
1.2.5 เสรีภาพทางเศรษฐกิจ
เสรีภาพทางเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่จะมีลักษณะพิเศษเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในทางเศรษฐกิจ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพดั้งเดิม คือ เสรีภาพตามแนวคิดปัจเจกชนนิยม เสรีภาพประเภทนี้ เช่น เสรีภาพในกรรมสิทธิ์ เสรีภาพในการทำงาน เสรีภาพในอุตสาหกรรมและพาณิชกรรม เสรีภาพในการเป็นสหภาพ เสรีภาพในการนัดหยุดงาน เป็นต้น
1.3 กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในกรณีจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพ
รัฐธรรมนูญรัฐเสรีประชาธิปไตยทุกรัฐให้การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเท่าที่จำเป็นและจะกระทบสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ การที่ทุกคนที่มีสิทธิเสรีภาพนั้นถ้าไม่มีขอบเขตจำกัด ทุกคนจะใช้สิทธิเสรีภาพนั้นเกินเลยทำให้เกิดปัญหาในทางสังคมได้ รัฐจึงจำเป็นต้องมาแทรกแซงเข้ามาจัดการคุ้มครองไม่ให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิเสรีภาพของเรา ซึ่งการจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นจำเป็นต้องกระทำอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1.3.1 การจำกัดเสรีภาพเพื่อคุ้มครองเสรีภาพผู้อื่นและคุ้มครองสังคม
การจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล รัฐต้องตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพและกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นมาจากองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชนด้วยตามครรลองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งก็ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) แต่อย่างไรก็ตามการจำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อคุ้มครองสังคมและคุ้มครองเสรีภาพผู้อื่นนั้น คงเป็นไปไม่ได้เลยที่รัฐจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยไม่คงเหลือสิทธิเสรีภาพอะไรเลยให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐยังคงต้องรับรอบและไม่สามารถจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานได้
1.3.2 การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยรัฐจะตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้นั้น รัฐเองก็ต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองประชาชนด้วย การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ มีอยู่ 3 ระดับด้วยกันดังนี้
1. สิทธิเสรีภาพบางประเภทนั้นรัฐไม่สามารถตรากฎหมายออกมาจำกัดได้เลย เสรีภาพประเภทนี้เป็นเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างสมบูรณ์ เช่น สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น
2. การจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นต้องตราเป็นกฎหมายที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ซึ่งแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งถือว่าเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนเท่านั้นที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ดังนั้นหากรัฐต้องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องใด รัฐต้องตรากฎหมายออกมาในรูปของพระราชบัญญัติ มิเช่นนั้นรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่สามารถกระทำการได้ เว้นแต่ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ความมั่นคงของรัฐหรือ ในกรณีที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ถ้ามีความจำเป็นรีบด่วนและลับ ฝ่ายบริหารนั้นสามารถตราพระราชกำหนดมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นได้ แต่เมื่อเข้าสู่สมัยประชุมสภานิติบัญญัติต้องนำพระราชกำหนดนั้นให้สภาอนุมัติ
3. ถ้ามีการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐต้องจัดให้มีองค์กรทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนที่ถูกละเมิด เช่น ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น นอกจากนี้ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพและขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐต้องมีองค์กรชี้ขาดในเรื่องดังกล่าว เช่น องค์กรทางการเมือง ศาลยุติธรรมหรือศาลพิเศษคือ ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
1.3.3 การคุ้มครองเสรีภาพจากการละเมิดของบุคคลอื่น
การกระทำหน้าที่ดังกล่าวของรัฐเป็นไปเพื่อการปกป้องคุ้มครองคนทุกคนในสังคม ให้มีความสงบสุขและต้องการมีการกำหนดโทษไว้ ถ้ามีการละเมิดสิทธิเสรีภาพเกิดขึ้นทั้งทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครองและทางรัฐธรรมนูญ การละเมิดกฎเกณฑ์ที่คุ้มครองหรือจำกัดเสรีภาพจะต้องมีองค์กรชี้ขาดที่เป็นอิสระและทำให้การละเมิดนั้นหมดไป ในประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่า การที่จะทำให้เสรีภาพได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ จะต้องมีปัจจัย อีก 2 ประการ คือ
1.3.3.1 มีองค์กรอิสระในการตัดสินชี้ขาดการละเมิด
ในประเทศที่ใช้หลักการปกครองแบบนิติรัฐ (Legal State) ที่ยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) นั้นถือว่าต้องให้ศาลซึ่งเป็นศาลยุติธรรมหรือศาลพิเศษ (เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ) ในระบบกฎหมายมหาชนเป็นผู้ชี้ขาดในการคุ้มครองเสรีภาพของปัจเจกบุคคล รวมไปถึงการใช้อำนาจเฉพาะขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจในการตัดสินชี้ขาดการละเมิดนั้นเป็นเรื่องเฉพาะ
1.3.3.2 มีมาตรการให้การละเมิดนั้นหมดไป
การมีมาตรการให้การละเมิดนั้นหมดไปอาจมีการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหาย ศาลจึงมีความเป็นอิสระมีอำนาจในการทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพนั้นยุติลง และต้องจ่ายค่าเสียหายให้ปัจเจกชนที่เสียหายด้วย ซึ่งเป็นการเยียวยาให้กับผู้เสียหายที่ถูกละเมิด
สิทธิพลเมือง 在 The Active - #สิทธิที่รุ่นเรา : วิชา สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง 的美食出口停車場
สิทธิที่รุ่นเรา : วิชา สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง | เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว . 88 ปี กับ “สิทธิพลเมือง” ในประเทศไทย รัฐไทยสมัยใหม่ที่เปลี่ยนความสัมพันธ์แบบ... ... <看更多>
สิทธิพลเมือง 在 องค์กรดีเด่นด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประจำปี 2562 的美食出口停車場
โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดี และการปฏิบัติที่ยุติธรรมในสังคม ให้ทุกคนตระหนักและปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพใน สิทธิ มนุ ษยชน ด้วยเชื่อ ... ... <看更多>
สิทธิพลเมือง 在 การคุ้มครองสิทธิพลเมืองในด้านต่างๆที่เชื่อมโยงกับสิทธมนุษยชน 的美食出口停車場
การคุ้มครอง สิทธิพลเมือง ในด้านต่างๆที่เชื่อมโยงกับสิทธมนุษยชน. ... By กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม | Facebook ... ... <看更多>