ตามนี้นะอ่านกันๆ .. เห็นหลายๆคนโวยวายกันมาซักพัก
กูไม่โทษคนอ่านนะ เวปข่าวแม่งปั่นกันสัสๆ
ใจเย็นกันนะ เรื่อง #เสือดำ ที่นายเปรมชัยหลุดข้อกล่าวหาเรื่องทารุณกรรมสัตว์
พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 นิยามคำว่าสัตว์ ในมาตรา 3 หมายถึงสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน ใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร และใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่น
(มีคนบอกว่า รวมถึงสัตว์ไม่ได้เลี้ยงและอยู่ในธรรมชาติทั่วไปด้วย ลองอ่านให้จบนะครับ อย่าเพิ่งใจร้อน อ่านแล้วคิดตามไปด้วยนะครับ)
หากผิดข้อนี้ แสดงว่า เสือดำตัวนั้นไม่ใช่สัตว์ป่า แต่เป็นสัตว์เลี้ยง แล้วข้อหาเกี่ยวกับสัตว์ป่าทั้งหมดจะตกไป
ดังนั้น เอาข้อหานี้ออกไปน่ะ ดีแล้ว ว่าแต่ ใครตั้งข้อหานี้ตอนแรกวะ!!!
#ทีมเสือดำ #ทีมหัวหน้าวิเชียร #ทีมสัตว์ป่า
เพิ่มเติม // มีคนไม่เข้าใจนึกว่าหลุดหมดทุกข้อหาเลย คือมันมีข้อหาที่เกี่ยวกับสัตว์ป่าคุ้มครองคือ เสือดาว และ ไก่ฟ้าอยู่ตั้งแต่ข้อ 1-7 เลย ไม่ต้องห่วงครับ เรื่องสัตว์นี่โดนแน่ๆ
1. ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในเขตพื้นที่สัตว์ป่าคุ้มครอง
2. ร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง
3. ร่วมกันมีไว้ซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง
4. ร่วมกันพยายามล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า
5. ร่วมกันช่วยซ่อนเร้นซากสัตว์ป่า อันได้มาโดยการกระทำผิด
6. ร่วมกันนำเครื่องมือล่าสัตว์ป่าเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
7. ร่วมกันเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
8. ร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
9. ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
[มีผู้แจ้งเพิ่มเติมข้อกฎหมายดังนี้]
“สัตว์” หมายความว่า สัตว์ที่โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม
>>>>>และให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด<<<<<<
ตรงที่เน้นด้านล่าง มีผู้เข้าใจผิดพอสมควร คือ เสือดำ รวมถึงสัตว์อื่นๆ อีกหลายอย่าง ยังไม่ได้มีการประกาศกำหนดไว้นะครับ ดังนั้นเพื่อเลี่ยงรูโหว่ยิบย่อย ก็คงต้องตัดข้อนี้ออกไปก่อน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นว่า อย่างไรเสีย ข้อหาที่ 1-5 นี่เกี่ยวข้องกับเสือดำและไก่ฟ้าโดยตรง และข้อที่เหลือ ยังไงก็ผิดเต็มๆ โดยไม่ต้องพิสูจน์ด้วยซ้ำไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการชัดเจน ยังไงเสือดำที่เป็น "สัตว์ป่าคุ้มครอง" ก็อยู่ในข้อหาอยู่แล้วครับ 5 ข้ออีกต่างหาก
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過38萬的網紅Living Room,也在其Youtube影片中提到,ฝากเข้าไปถูกใจเเฟนเพจด้วยนะครับ - https://www.facebook.com/pramlivingroom/ --------สามารถสนับสนุนผมได้ที่-------- TrueMoney Wallet : 0639360606 ติดต...
「สัตว์ป่าคุ้มครอง」的推薦目錄:
- 關於สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 Georgie Kasemsarn Facebook 的最佳貼文
- 關於สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 Living Room Youtube 的最佳解答
- 關於สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 ความแตกต่างระหว่างสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง - Facebook 的評價
- 關於สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า : รู้เท่ารู้ทัน (18 มี.ค. 62) - YouTube 的評價
สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกับการจัดการป่าไม้"
(ข้อมูลบางส่วนในวิทยานิพนพนธ์ ของผมในระดับ ป.โท ปี 2543)
เนื่องจากป่าไม้ ดิน น้ำ แร่ธาตุ มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ เพราะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เนื่องจากการใช้ทรัพยากรดังกล่าวได้ใช้อย่างฟุ่มเฟือยจนทำให้ทรัพยากรป่าไม้ลดลงอย่างมาก และก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบนิเวศน์ ดังนั้น เพื่อเป็นการชะลอการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว กฎหมายจึงกำหนดให้มีการควบคุมการตัดไม้ และคุ้มครองพื้นที่ป่าซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้เพื่อรักษาป่าไม้และคุ้มครองสภาพแวดล้อมให้มีสภาพที่ดี และคงอยู่ถึงรุ่นลูกหลานต่อไป ดังนี้
๑. การคุ้มครองป่าไม้
๑.๑ กฎหมายควบคุมการทำไม้
เนื่องจากไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และคนนำไม้มาใช้ทั้งการอุปโภคและบริโภค เช่น ทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นบ้านที่อยู่อาศัย หรือสำนักงาน เป็นต้น กฎหมายจึงควบคุมการตัดไม้ และขนส่งไม้บางชนิดที่สำคัญๆ ไว้ โดยบัญญัติไว้ในกฎหมายป่าไม้ เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้น
สาระสำคัญของการควบคุมการทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ คือ การห้ามมิให้ผู้ใดตัดไม้ที่กำหนดไว้ว่าเป็นไม้หวงห้าม ทั้งนี้เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญและกำลังจะหมดไป แต่เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สำหรับการนำไม้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่ตัดไม้ที่ถูกควบคุมดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ หรือบางกรณีจะต้องได้รับสัมปทานการทำไม้จากรัฐ ส่วนไม้ที่ไม่ได้จัด ให้เป็นไม้หวงห้าม ราษฎรก็มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ไม้หวงห้าม ตามกฎหมายป่าไม้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
ประเภท ก. ได้แก่ ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามกฎหมาย
ประเภท ข. ได้แก่ ไม้หวงห้ามพิเศษ ซึ่งเป็นไม้หายาก หรือไม้ที่รัฐต้องการสงวนรักษาไว้เป็นพิเศษ การทำไม้ในประเภทนี้โดยหลักทำไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นผู้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ(พ.ร.บ.ป่าไม้มาตรา ๖)
สำหรับไม้สัก และไม้ยาง ซึ่งขึ้นอยู่ในราชอาณาจักร พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๗ กำหนดว่าเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะอยู่ในเขตป่าไม้ หรือในที่ดินของเอกชนการจะทราบว่าไม้อะไรเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ หรือเป็นไม้หวงห้ามในประเภทใด ต้องออกกฎหมายที่เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา กำหนดไว้ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบส่วนไม้ที่ไม่ได้เป็นไม้หวงห้าม ประชาชนสามารถตัดไม้และแปรรูป ไม้ได้ แต่กฎหมายก็ยังควบคุมการนำไม้ดังกล่าวเข้าเขตด่านป่าไม้ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย เว้นแต่ว่าจะเป็นการนำไปใช้เพื่อการส่วนตัว (มิใช่เพื่อการค้า) ภายในเขตจังหวัดท้องที่นั้น เช่น ไม้ยางพารา ไม้มะม่วง ไม้สน ไม้ทุเรียน ต้นหมาก ต้นมะพร้าว เป็นต้นการทำไม้ ซึ่งเป็นการกระทำต้องห้าม และมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ มีลักษณะดังนี้ ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่า ด้วยประการใดๆ และรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สัก ไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่ไม่ใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วยนอกจากการทำไม้แล้ว กฎหมายยังห้ามการเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือการทำอันตรายแก่ไม้หวงห้ามอีกด้วย ทั้งนี้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ต้องมีโทษทางอาญา
กฎหมายยังห้ามการเก็บหาของป่า อีกด้วย
"ของป่า" หมายถึง บรรดาของที่เกิดขึ้นหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ คือ
ก. ไม้ รวมทั้งส่วนต่างๆ ของไม้ ถ่านไม้ น้ำมันไม้ ยางไม้ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกิดจากไม้
ข. พืชต่างๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกิดจากพืชนั้น
ค. รังนก ครั่ง รวงผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว
ง. หินที่ไม่ใช่แร่ ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และหมายความรวมถึงถ่านไม้ที่บุคคลทำขึ้นด้วย (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๔)ของป่าข้างต้น จะต้องห้ามไม่ให้เก็บตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องมี การประกาศว่าเป็นของป่าหวงห้าม ซึ่งจะกระทำโดยพระราชกฤษฎีกาในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
ในกรณีที่เป็นของป่าหวงห้าม การเก็บหาของป่า จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งการขออนุญาตจะต้องยื่นแบบฟอร์มตามที่กฎหมายกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตนั้น และเมื่อได้รับอนุญาตก็สามารถเก็บหาของป่าได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายบัญญัติ
กฎหมายยังห้ามการค้าหรือมีของป่าไว้ในครอบครองเกินกำหนด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นผู้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา ๒๙ ทวิ)
ส่วนของป่าที่ไม่ได้หวงห้ามราษฎรสามารถเก็บหาของป่าได้โดยไม่ต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใดอย่างไรก็ดี การกระทำบางอย่าง เจ้าหน้าที่หรือราษฎรสามารถกระทำได้เพราะกฎหมายยกเว้นไว้ คือ การกระทำของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพื่อการบำรุงป่า หรือการค้นคว้า ทดลองทางวิชาการ หรือเป็นการที่ราษฎรเก็บหาเศษไม้ ปลายไม้ตายแห้ง ที่ล้มขอนนอนไพร อันมีลักษณะเป็นไม้ฟืน และไม่ใช่ไม้สักหรือไม้หวงห้ามประเภท ข. โดยนำเศษไม้ดังกล่าว ไปใช้สอยในบ้านของตนหรือประกอบกิจการของตน (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๑๗)
การนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
กฎหมายควบคุมการนำเคลื่อนที่ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้โดยการที่ราษฎรต้องขออนุญาตนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน การนำไม้เคลื่อนที่ที่ต้องขออนุญาต มีดังนี้
ก. นำไม้หรือของป่าที่ได้รับอนุญาตให้ทำหรือเก็บออกจากสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ไปถึงสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตแล้ว
ข. นำไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาต ออกไปจากด่านป่าไม้ด่านแรกแล้ว
ค. นำไม้หรือของป่าเข้ามาในประเทศ ไปถึงด่านศุลกากรหรือ ด่านตรวจศุลกากรที่นำเข้ามาแล้ว
ง. นำไม้หรือของป่าที่ซื้อมาจากทางราชการไปจากที่ไม้หรือของป่านั้นอยู่ (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๓๘)
ผู้นำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ จะต้องมีใบเบิกทางของพนักงาน เจ้าหน้าที่กำกับไปด้วย (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๓๙) การขอใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ให้ขอที่ป่าไม้จังหวัด พร้อมด้วยบันทึกแสดงชนิด จำนวน ขนาด ปริมาตร และใบเสร็จที่แสดงว่าไม้หรือของป่านี้ ได้เสีย ค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว
ในการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่นั้นกฎหมายได้กำหนดห้ามมิให้เคลื่อนที่ ผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลากลางคืน (ตั้งแต่พระอาทิตย์ตก จนถึงพระอาทิตย์ขึ้น) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเป็นหนังสือ (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๔๑)
การแผ้วถางป่า
เพื่อเป็นการสงวนรักษาป่าไม้ไว้อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและแก่ลูกหลาน กฎหมายจึงได้ห้ามผู้ใดเข้าครอบครองป่าไว้เป็นของตนเองหรือผู้อื่น และห้ามมิให้แผ้วถางหรือทำลายป่า มิฉะนั้นจะมีความผิดทาง อาญา
อย่างไรก็ดี ทางราชการได้ตระหนักถึงความจำเป็นของราษฎรที่ ยากจนไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงได้จำแนกป่าไม้ไว้ ถ้าป่าใดเป็นป่าประเภทเกษตรกรรม ราษฎรสามารถเข้าครอบครอง และแผ้วถางเพื่อเพาะปลูกพืชได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ป่าใดที่ทางราชการมิได้ประกาศเป็นป่าเกษตรกรรม ราษฎรคนใดประสงค์ที่จะครอบครองแผ้วถางป่า จะต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในเขตที่ป่านั้นอยู่ก่อน (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๕๔)
๑.๒ การคุ้มครองป่าอนุรักษ์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าอนุรักษ์มีหลายฉบับ แต่ที่เป็นกฎหมายหลักในปัจจุบันมี ๔ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งในกฎหมายทั้งสี่ฉบับนี้ได้มีมาตรการที่จะจำกัดการทำลายป่าไม้และสงวนพื้นที่ป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในทางระบบนิเวศน์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ โดยการกำหนดให้มีการประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์ไว้ และกำหนดห้ามการกระทำบางอย่างที่จะนำไปสู่การทำลายป่าไม้ สัตว์ป่า และของป่าในเขตดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษทางอาญา และต้องรับผิดในทางแพ่งอีกด้วย นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังมีแนวโน้มที่จะให้อำนาจหน้าที่แก่เจ้าพนักงานป่าไม้ และเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องที่จะป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในเขตอนุรักษ์ดังกล่าว โดยการออกใบอนุญาต หรือการสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนทำให้สภาพแวดล้อมกลับคืนดีดังเดิม หรือเข้าไปดำเนินการแก้ไขสภาพแวดล้อมเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้กระทำการละเมิด
ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายปัจจุบัน แบ่งออกได้ ๔ ประเภท
ก. ป่าสงวนแห่งชาติ ข. อุทยานแห่งชาติ
ค. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ง. เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
๑.๒.๑ ป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าสงวนแห่งชาติ คือป่าที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองป่า พ.ศ. ๒๔๘๑ ประกาศว่าเป็นป่าสงวนและป่าคุ้มครอง ส่วนป่าสงวน อีกกรณีหนึ่งเป็นป่าซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาจากความจำเป็นเพื่อการรักษาสภาพป่าไม้ ของป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น และในกฎ กระทรวงดังกล่าวจะต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตของป่าสงวนไว้ด้วย อีกทั้งเมื่อประกาศแล้ว ต้องปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และในหมู่บ้านในเขตที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนทราบ
การประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้น มีข้อห้ามว่าต้องไม่เป็น ที่ดินของเอกชนที่มีสิทธิครอบครองอยู่แล้วก่อนที่จะมีการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือเป็นที่ที่อยู่ในความครอบครองของรัฐหรือทบวงการเมือง
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันชาวบ้านบางหมู่บ้านทำกินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและมีปัญหาพิพาทว่า ตนเคยอาศัยอยู่ในบริเวณ ดังกล่าวโดยชอบก่อนที่จะประกาศว่าเขตนั้นเป็นเขตป่าสงวน ซึ่งในกรณีนี้ เป็นปัญหาที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าเป็นความจริงเช่นไร ซึ่งถ้าเป็นความจริงอาจเป็นเพราะข้อบกพร่องในช่วงการสำรวจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถสำรวจได้ครบทุกพื้นที่ได้ จึงประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติทับที่ของราษฎร ซึ่งทางแก้ก็จะต้องเพิกถอนเขตดังกล่าวออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ถ้าไม่เป็นความจริง ราษฎรหมู่บ้านนั้นจะต้องอพยพออกจากพื้นที่ป่าสงวนดังกล่าวเว้นแต่จะเข้าเงื่อนไข ที่จะได้รับสิทธิทำกินตามพระราช-บัญญัตินี้
แนวคิดในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ คือการสงวนและรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรป่าไม้ เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นป่าสงวนไว้ เพื่อใช้ประโยชน์จากป่าในเชิงเศรษฐกิจ และนำผลประโยชน์จากป่าไม้มาเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการใช้ประโยชน์นานที่สุดจนถึงลูกหลาน ดังนั้น กฎหมายจึงมีทั้งการห้ามมิให้บุกรุก หรือหาของป่า หรือเข้าไปก่อสร้างในเขตป่าสงวน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ป่าดังกล่าวในเขตที่เรียกว่า ป่าเสื่อมโทรม ทางกรมป่าไม้ก็อาจอนุญาตให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้าทำกินได้โดยไม่สามารถถือเอากรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองได้ หรืออาจจะให้เอกชน เข้ามาปลูกป่าทดแทนได้เพื่อพัฒนา ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ การศึกษาทางวิชาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาทางระบบนิเวศน์ หรือการพัฒนาพันธุ์พืช เจ้าพนักงานป่าไม้มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลเข้าไปในป่าเพื่อศึกษาได้
กรณีที่ถือว่าเป็นการบุกรุก หรือทำลายสภาพป่าสงวนแห่งชาติ มีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๑๔-๒๐ มีหลักสำคัญดังนี้
๑) กระทำต่อต้นไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่และน้ำมัน พืช สัตว์ต่างๆ หรือซากสัตว์ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนนั้น
๒) ทำไม้ ซึ่งรวมถึง การตัด ขุด หรือชักลากไม้ที่มีอยู่ในป่า
หรือนำไม้ที่อยู่ในป่าออกมาจากป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ว่าไม้นั้นจะเป็นไม้ หวงห้ามตามกฎหมายป่าไม้หรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงาน
๓) เก็บหาของป่า ได้แก่ การเก็บไม้ฟืน เปลือกไม้ หิน ซากสัตว์ น้ำผึ้ง มูลค้างคาว เป็นต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
๔) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออาศัยอยู่ แผ้วถาง เผาป่า หรือทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของป่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
๕) กรณีที่ราษฎรอาจได้รับการอนุญาตให้เข้าไปทำกินได้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ การให้สิทธิทำกิน การอนุญาตให้ปลูกป่า หรือทำสวนป่า ในเขตป่าเสื่อมโทรม หรือการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่หลังจากที่สัมปทานตามกฎหมายแร่ เป็นต้น
ผู้ฝ่าฝืน หลักการข้างต้น ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท แต่ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษจำคุกหนักขึ้น โดยต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถ้าได้กระทำการบุกรุก มีเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ สนเขา หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ตามกฎหมายป่าไม้ หรือกระทำต่อไม้อื่นๆ ซึ่งมีจำนวนต้นหรือท่อน รวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือมีปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือกระทำต่อต้นน้ำลำธาร (พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา ๓๑)
กรณีที่จะถือว่าเป็นต้นหรือท่อนนั้น ต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร ถ้าเป็นเพียงเศษไม้เล็กไม้น้อยที่มีลักษณะเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ไม่ถือว่าเป็น ต้นหรือท่อน (ฎีกาที่ ๓๑๐๓/๒๕๓๒)
นอกจากนี้ ผู้นั้นจะต้องถูกสั่งให้ออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (รวมถึงครอบครัวและบริวารด้วย) ถ้าศาลพิพากษาว่ามีความผิด อีก ทั้งยังถูกริบเครื่องมือ ยานพาหนะ เครื่องจักร เครื่องกล เช่น เลื่อย รถแมคโคร ขวาน มีด เป็นต้น เว้นแต่ทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของผู้อื่นที่ไม่รู้เห็นเป็นใจ เช่น เป็นรถที่เช่าซื้อมาจากบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และบริษัทดังกล่าวไม่รู้เห็นถึงการที่จะนำรถไปกระทำความผิด บริษัทมีสิทธิขอรถที่ถูกริบไว้คืนได้ ภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ให้ริบ
๑.๒.๒ อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติ คือ ที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยเห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าจะรักษาให้คงสภาพไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และเพื่อการรื่นรมย์ของประชาชนหลักการในการอนุรักษ์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติคือ การสงวน รักษาสภาพของป่าไว้ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ และรักษาสภาพความกลมกลืนของธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ ดิน น้ำ สัตว์ป่า นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปศึกษาและนันทนาการถึงความสวยงามของธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้น หลักในการจัดการอุทยานแห่งชาติ ก็คือการรักษาและฟื้นฟูสภาพป่า และสิ่งมีชีวิตในป่าไว้ตามธรรมชาติ และเปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อให้ประชาชนเข้าไปชมความงามของธรรมชาตินั้น ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปในเขตดังกล่าวได้ แต่ต้องปฏิบัติตนมิให้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือกระทบต่อความ เป็นอยู่ของสัตว์ป่า
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้แก่
๑. ยึดถือ ครอบครอง แผ้วถาง เผาป่า ก่อสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ
๒. เก็บหาของป่า หรือนำของป่าออกไป หรือทำให้เสื่อมสภาพซึ่งยางไม้ ไม้ น้ำมันยาง น้ำมันสน แร่ และทรัพยากรธรรมชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
๓. นำสัตว์ป่าออกไป หรือทำอันตรายแก่สัตว์ หรือดิน หิน กรวดหรือทราย
๔. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทางน้ำ หรือทำให้ทางน้ำเหือด แห้งหรือท่วม
๕. เก็บหรือทำอันตรายต่อดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้
๖. นำสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์พาหนะเข้ามา นำยานพาหนะหรืออากาศยานเข้ามา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือปล่อยปศุสัตว์เข้ามา
๗. ทิ้งขยะมูลฝอย
๘. ยิงปืน ทำให้เกิดระเบิด นำเชื้อเพลิงที่อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ ส่งเสียงอื้อฉาว
๙. นำเครื่องมือล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใดๆ เข้ามา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
โทษทางอาญา ที่กำหนดไว้จะมีโทษจำคุกสูงสุดคือ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในการกระทำที่ ฝ่าฝืนใน ๑, ๒, ๓, ๔ ส่วนในกรณีอื่นก็มีโทษต่ำกว่า แต่เฉพาะการเก็บหาของป่า ซึ่งเป็นสัตว์และทรัพย์สินที่มีราคาเล็กน้อย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะเป็นการเก็บหาของป่าตามวิถีชีวิตของชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในเขตใกล้เคียงกับเขตอุทยานแห่งชาติ โทษที่ฝ่าฝืนจะลดลงเหลือเพียงโทษปรับ
ไม่เกินห้าร้อยบาท
อย่างไรก็ดี กฎหมายยังให้อำนาจศาลที่จะริบเครื่องมือ ยานพาหนะ ที่ใช้ในการกระทำความผิดอีกด้วย เว้นแต่จะเป็นของผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย
๑.๒.๓ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเขตที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบว่าที่ดิน ในเขตใดที่ควรรักษาไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ โดยการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (แต่ที่ดินนั้นจะต้องไม่เป็นที่ดินของเอกชน)
หลักการคุ้มครองพื้นที่ป่าและสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านี้ จะมีการห้ามกิจกรรมของคนที่จะเข้าไปในเขตนี้อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สัมปทาน หรือประทานบัตร เพื่อทำแร่หรือปิโตรเลียม ทั้งนี้ เพราะกฎหมายประสงค์จะให้มีพื้นที่เพื่อการขยายพันธุ์ของสัตว์ป่า จึงพยายามจะอนุรักษ์พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ไว้
ข้อห้ามที่กำหนดไว้มีดังนี้
๑) ห้ามล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่ และห้ามเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ยกเว้นการกระทำเพื่อการศึกษาทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมป่าไม้ โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ (พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา ๓๖) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๕๓)
๒) ห้ามเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นเจ้าพนักงานซึ่งต้องทำหน้าที่ในเขตนั้น (พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา ๓๗)
๓) ห้ามยึดถือ ครอบครองที่ดิน หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา หรือทำลายต้นไม้ หรือพฤกษาชาติอื่นๆ ห้ามขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์หรือสัตว์ป่าหรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำแห้ง น้ำท่วม หรือน้ำเป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า แต่มีข้อยกเว้นให้ทำได้โดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้หรือกรมประมงเพื่อประโยชน์ในการบำรุงพันธุ์ การศึกษาทางวิชาการ หรือการอำนวยความปลอดภัย หรือการให้ความรู้แก่ประชาชน (พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา ๓๘) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๕๔) และศาลมีอำนาจพิพากษาขับไล่ผู้นั้นและบริวารออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและมีอำนาจริบทรัพย์ บรรดาเครื่องมือ ยานพาหนะหรือสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทำความผิดนั้น (มาตรา ๕๗, ๕๘)
๑.๒.๔ เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
โดยที่บางพื้นที่ซึ่งทางราชการไม่ได้ประกาศเป็นเขตป่าสงวน แห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การให้ ความคุ้มครองแหล่งต้นน้ำลำธาร หรือระบบนิเวศน์จะไม่อาจทำได้ และ อาจจะสายเกินไปที่จะรอให้มีการประกาศเขตอนุรักษ์ดังกล่าว ดังนั้น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๓ ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อประกาศให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยประกาศเป็นกฎกระทรวง แต่พื้นที่ดังกล่าวจะต้องเป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธาร หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติแตกต่างจากที่อื่นๆ หรือระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติของพื้นที่นั้นอาจจะถูกทำลาย หรือถูกกระทบกระเทือนจากการกระทำของคนที่เข้าไปอยู่ในบริเวณนั้นโดยง่าย หรือเป็นพื้นที่อันมีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ แต่ยังไม่มีการประกาศเป็นเขตอนุรักษ์
เมื่อได้ประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแล้ว กฎหมายกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในกฎกระทรวงที่ประกาศด้วย เช่น การกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ หรือมิให้กระเทือนต่อระบบนิเวศน์ หรือห้ามการกระทำอันมีลักษณะเป็นการทำลายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งมาตรการที่กำหนดนี้ ทั้งราษฎรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องถือปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ ในการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๔๔)
การฝ่าฝืนข้อกำหนดในกฎกระทรวงข้างต้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๐)
แต่ถ้ามีผู้ใดบุกรุก หรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าไปทำอันตรายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ หรือศิลปกรรม หรือก่อให้เกิดมลพิษในเขตดังกล่าว จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๙๙)
๑.๓ การปลูกป่าทดแทน
ความสำคัญของป่าไม้ หรือผลิตภัณฑ์ของป่าไม้ นอกจากจะเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ยังมีผลต่อการอนุรักษ์พื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่เกิดของแหล่งน้ำด้วย ดังนั้น ความต้องการที่จะนำไม้ หรือของป่าไปใช้จึงมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ป่าธรรมชาติไม่อาจโตทันความต้องการได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อลดปริมาณการทำลายป่าไม้ธรรมชาติลง และยังรักษาการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ของคนไว้ กฎหมายจึงมีมาตรการให้ เอกชนเพาะพันธุ์และปลูกป่า เพื่อเพิ่มปริมาณป่าไม้ และอนุญาตให้ทำไม้ที่ได้จากการปลูกป่านี้ด้วย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีหลักการโดยสรุปดังนี้
๑. ผู้ใดต้องการทำสวนป่าเพื่อการค้า สามารถยื่นขอต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด
๒. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้นั้นสามารถปลูกต้นไม้เพื่อการค้าได้ เช่น สวนป่าสักทอง เป็นต้น
๓. เจ้าของสวนป่ามีสิทธิทำไม้ ที่ได้จากการทำสวนป่า โดยอาจจะตัดโค่น แปรรูปไม้ ค้าไม้ หรือมีไม้ไว้ในความครอบครอง หรือนำไม้เคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ได้
๔. ก่อนที่จะตัดหรือโค่นไม้ จะต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ เป็นหนังสือ เพื่อเจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองการแจ้งก่อนตัด
๕. เมื่อตัดไม้แล้ว ต้องมีตราประทับแสดงการเป็นเจ้าของ การจะนำไม้เคลื่อนที่ก็จะต้องมีหนังสือรับรองการแจ้ง และบัญชีรายการไม้กำกับไปด้วย
๖. ไม้ที่ได้จากสวนป่า ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวง
๗. ที่ดินที่จะขออนุญาตปลูกสวนป่า อาจเป็นที่ดินที่มีโฉนด หรือ น.ส.๓ ที่ดินที่ทางราชการรับรองว่าอาจขอออกโฉนดหรือ น.ส.๓ ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือกฎหมายการจัด ที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือเป็นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือเป็นเขตป่าเสื่อมโทรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่ดินที่ได้ดำเนินการปลูกป่าโดยหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือทบวงการเมือง
มาตรการการทำสวนป่านี้ เป็นมาตรการที่ดีในการเพิ่มปริมาณ ป่าไม้ให้มากขึ้น เพื่อลดความต้องการที่จะนำไม้จากป่าถาวรมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ และขณะเดียวกันเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่าทดแทน หรือเพาะพันธุ์พืชอันจะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการปลูกป่า
อย่างไรก็ดี การทำสวนป่านี้มักจะเป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจ และปลูกต้นไม้ประเภทเดียวกัน ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่ป่าเหล่านี้ เป็นแต่เพียงการสนองความต้องการใช้ไม้ในชีวิตประจำวันของคน แต่ยังไม่สามารถทดแทนความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นที่รวมของพันธุ์ไม้นานาชนิดดังที่มีอยู่ในป่าดงดิบหรือป่าในเขตอนุรักษ์
๒. การคุ้มครองสัตว์ป่า
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้จำแนกสัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครองไว้ ๒ ประเภท คือ สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครอง
ก. สัตว์ป่าสงวน มีอยู่ ๑๕ ชนิด ดังนี้ นกเจ้าฟ้าสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูนหรือหมูน้ำ สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ป่าที่หายากแล้ว และกำลังจะสูญ พันธุ์
ข. สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน
หลักการคุ้มครองสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น กฎหมายมุ่งที่จะห้ามการล่าสัตว์ดังกล่าว และการครอบครองสัตว์ป่านั้นไว้เกินประมาณที่กำหนด และห้ามการค้าสัตว์ป่า ไม่ว่าสัตว์นั้นจะอยู่ในป่าอนุรักษ์หรือไม่ ทั้งนี้เพราะสัตว์ดังกล่าวควรจะสงวนไว้ เพื่อการรักษาความสมดุลแห่งระบบนิเวศน์ หากให้ล่าได้ก็อาจกลายมาเป็นอาหารหรือถูกฆ่าเพราะกีฬาล่าสัตว์ จนสูญพันธุ์ไป
การกระทำที่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย ได้แก่
๑. ห้ามล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (รวมถึงไข่ของสัตว์ป่าด้วย) เช่น การยิงเสือ การเก็บไข่นกกระเรียน เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการล่า ณ ที่ใด (มาตรา ๑๖) ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔๗)
อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นการยิงสัตว์เพราะความจำเป็น เนื่องจากเสือจะเข้ามากัด หรือกระทิงจะวิ่งพุ่งเข้าชนบ้าน และได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ ดังนี้ ผู้ยิงนั้นไม่ต้องรับโทษ
๒. ห้ามการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามที่กฎหมายอนุญาต และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นการเพาะพันธุ์ของสวนสัตว์สาธารณะของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้ (มาตรา ๑๘)
๓. ห้ามการครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ดังกล่าว นอกจากจะเป็นสัตว์ป่าที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ ตาม ๒. (มาตรา ๑๙)
๔. ห้ามการค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากหรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นสัตว์ได้รับอนุญาตตาม ๒. (มาตรา ๒๐)
๕. ห้ามเก็บ หรือทำอันตรายหรือมีไว้ซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง
แต่ไม่รวมถึงการเก็บรังนกอีแอ่นที่ผู้นั้นได้รับอนุญาตตามกฎหมายอากรรังนกอีแอ่น (มาตรา ๒๑)
๖. ห้ามนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่รัฐมนตรีประกาศ ซากของสัตว์ดังกล่าว เว้นแต่เป็นสัตว์ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ตาม ๒. (มาตรา ๒๓)
๗. การนำสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่ เพื่อการค้า ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้ หรืออธิบดีกรมประมง (มาตรา ๒๕)
๘. ผู้ที่ต้องการประกอบกิจการสวนสัตว์สาธารณะ สามารถยื่นขออนุญาตต่ออธิบดีกรมป่าไม้ หรืออธิบดีกรมประมงแล้วแต่กรณีว่าเป็นสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้รับอนุญาตสามารถเพาะพันธุ์ ครอบครอง สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองได้ เพื่อประโยชน์ในกิจการ สวนสัตว์สาธารณะของตน
๙. ข้อห้ามในการล่าสัตว์นั้น นอกเหนือจากสัตว์ป่าสงวนหรือ สัตว์ป่าคุ้มครองแล้ว กฎหมายยังกำหนดห้ามล่าสัตว์ในบางพื้นที่อีกด้วย ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเป็นสัตว์ชนิดใด เขตดังกล่าวคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตอุทยานแห่งชาติ บริเวณวัดหรือบริเวณที่จัดไว้เพื่อประชาชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (เขตอภัยทาน) เป็นต้น
ข้อสังเกต การที่จะรู้ว่าสัตว์ป่าประเภทใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่นั้น ต้องดูจากกฎกระทรวง ดังนั้น ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอาจกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองก็ได้ เพราะประเภทของสัตว์คุ้มครองนั้น มีอยู่หลายร้อยชนิด และมีชื่อเรียกต่างกัน กรณีนี้แนวทางป้องกันควรประกาศชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
กรณีที่สอง การอนุญาตให้มีสัตว์ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ไว้ในความครอบครองได้ ถ้าเป็นลูกที่เกิดจากสัตว์ป่าที่ได้รับอนุญาตนั้น การควบคุมและบังคับใช้กฎหมายต้องเข้มงวด เพราะเคยมีคนนำสัตว์ออกจากป่าและอ้างว่าเป็นสัตว์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ไม่ตรวจตราให้เข้มงวดก็จะเป็นช่องทางของผู้ไม่สุจริตที่จะอาศัยประโยชน์จาก ช่องว่างกฎหมายอันนี้
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ควรจะต้องกระทำควบคู่ไปกับการจัด การและควบคุมการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของป่าไม้และสัตว์ป่าข้างต้น ควรต้องรณรงค์เพื่อต่อต้านการใช้ไม้ หรือการบริโภคสัตว์ป่าอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งนี้เพราะกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น ไม่อาจต่อต้านกระแสของความต้องการที่จะนำไม้หรือสัตว์ป่ามาใช้เพื่อประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจได้ จึงปรากฏอยู่เสมอว่ามีการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า และล่าสัตว์ป่าเป็นประจำ ซึ่งเป็นการยากที่รัฐจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำลายทรัพยากรป่าไม้ดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง และอีกแนวทางหนึ่งคือการส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้คอยป้องกันมิให้มีคนมาทำลายป่าไม้และสัตว์ป่าแล้ว ประชาชนทุกคนควรจะร่วมกันรณรงค์ในการลดการใช้ทรัพยากรดังกล่าวโดยใช้เท่าที่จำเป็น หรือหาสิ่งอื่นทดแทนอีกด้วย
สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกับการจัดการป่าไม้
สิทธิกร ศักดิ์แสง
หมายเหตุ ข้อมูลส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต ปี 2543 เรื่อง “องค์การบริหารส่วนตำบลกับการกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรป่าไม้” ของผู้เขียนเอง
เนื่องจากป่าไม้ ดิน น้ำ แร่ธาตุ มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ เพราะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เนื่องจากการใช้ทรัพยากรดังกล่าวได้ใช้อย่างฟุ่มเฟือยจนทำให้ทรัพยากรป่าไม้ลดลงอย่างมาก และก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบนิเวศน์ ดังนั้น เพื่อเป็นการชะลอการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว กฎหมายจึงกำหนดให้มีการควบคุมการตัดไม้ และคุ้มครองพื้นที่ป่าซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้เพื่อรักษาป่าไม้และคุ้มครองสภาพแวดล้อมให้มีสภาพที่ดี และคงอยู่ถึงรุ่นลูกหลานต่อไป ดังนี้
๑. การคุ้มครองป่าไม้
๑.๑ กฎหมายควบคุมการทำไม้
เนื่องจากไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และคนนำไม้มาใช้ทั้งการอุปโภคและบริโภค เช่น ทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นบ้านที่อยู่อาศัย หรือสำนักงาน เป็นต้น กฎหมายจึงควบคุมการตัดไม้ และขนส่งไม้บางชนิดที่สำคัญๆ ไว้ โดยบัญญัติไว้ในกฎหมายป่าไม้ เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้น
สาระสำคัญของการควบคุมการทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ คือ การห้ามมิให้ผู้ใดตัดไม้ที่กำหนดไว้ว่าเป็นไม้หวงห้าม ทั้งนี้เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญและกำลังจะหมดไป แต่เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สำหรับการนำไม้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่ตัดไม้ที่ถูกควบคุมดังกล่าวจะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ หรือบางกรณีจะต้องได้รับสัมปทานการทำไม้จากรัฐ ส่วนไม้ที่ไม่ได้จัด ให้เป็นไม้หวงห้าม ราษฎรก็มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ไม้หวงห้าม ตามกฎหมายป่าไม้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
ประเภท ก. ได้แก่ ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามกฎหมาย
ประเภท ข. ได้แก่ ไม้หวงห้ามพิเศษ ซึ่งเป็นไม้หายาก หรือไม้ที่รัฐต้องการสงวนรักษาไว้เป็นพิเศษ การทำไม้ในประเภทนี้โดยหลักทำไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นผู้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ(พ.ร.บ.ป่าไม้มาตรา ๖)
สำหรับไม้สัก และไม้ยาง ซึ่งขึ้นอยู่ในราชอาณาจักร พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๗ กำหนดว่าเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะอยู่ในเขตป่าไม้ หรือในที่ดินของเอกชนการจะทราบว่าไม้อะไรเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ หรือเป็นไม้หวงห้ามในประเภทใด ต้องออกกฎหมายที่เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา กำหนดไว้ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบส่วนไม้ที่ไม่ได้เป็นไม้หวงห้าม ประชาชนสามารถตัดไม้และแปรรูป ไม้ได้ แต่กฎหมายก็ยังควบคุมการนำไม้ดังกล่าวเข้าเขตด่านป่าไม้ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย เว้นแต่ว่าจะเป็นการนำไปใช้เพื่อการส่วนตัว (มิใช่เพื่อการค้า) ภายในเขตจังหวัดท้องที่นั้น เช่น ไม้ยางพารา ไม้มะม่วง ไม้สน ไม้ทุเรียน ต้นหมาก ต้นมะพร้าว เป็นต้นการทำไม้ ซึ่งเป็นการกระทำต้องห้าม และมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ มีลักษณะดังนี้ ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่า ด้วยประการใดๆ และรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สัก ไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่ไม่ใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วยนอกจากการทำไม้แล้ว กฎหมายยังห้ามการเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือการทำอันตรายแก่ไม้หวงห้ามอีกด้วย ทั้งนี้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ต้องมีโทษทางอาญา
กฎหมายยังห้ามการเก็บหาของป่า อีกด้วย
ของป่า หมายถึง บรรดาของที่เกิดขึ้นหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ คือ
ก. ไม้ รวมทั้งส่วนต่างๆ ของไม้ ถ่านไม้ น้ำมันไม้ ยางไม้ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกิดจากไม้
ข. พืชต่างๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกิดจากพืชนั้น
ค. รังนก ครั่ง รวงผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว
ง. หินที่ไม่ใช่แร่ ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และหมายความรวมถึงถ่านไม้ที่บุคคลทำขึ้นด้วย (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๔)ของป่าข้างต้น จะต้องห้ามไม่ให้เก็บตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องมี การประกาศว่าเป็นของป่าหวงห้าม ซึ่งจะกระทำโดยพระราชกฤษฎีกาในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
ในกรณีที่เป็นของป่าหวงห้าม การเก็บหาของป่า จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งการขออนุญาตจะต้องยื่นแบบฟอร์มตามที่กฎหมายกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตนั้น และเมื่อได้รับอนุญาตก็สามารถเก็บหาของป่าได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายบัญญัติ
กฎหมายยังห้ามการค้าหรือมีของป่าไว้ในครอบครองเกินกำหนด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นผู้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา ๒๙ ทวิ)
ส่วนของป่าที่ไม่ได้หวงห้ามราษฎรสามารถเก็บหาของป่าได้โดยไม่ต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใดอย่างไรก็ดี การกระทำบางอย่าง เจ้าหน้าที่หรือราษฎรสามารถกระทำได้เพราะกฎหมายยกเว้นไว้ คือ การกระทำของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพื่อการบำรุงป่า หรือการค้นคว้า ทดลองทางวิชาการ หรือเป็นการที่ราษฎรเก็บหาเศษไม้ ปลายไม้ตายแห้ง ที่ล้มขอนนอนไพร อันมีลักษณะเป็นไม้ฟืน และไม่ใช่ไม้สักหรือไม้หวงห้ามประเภท ข. โดยนำเศษไม้ดังกล่าว ไปใช้สอยในบ้านของตนหรือประกอบกิจการของตน (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๑๗)
การนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
กฎหมายควบคุมการนำเคลื่อนที่ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้โดยการที่ราษฎรต้องขออนุญาตนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน การนำไม้เคลื่อนที่ที่ต้องขออนุญาต มีดังนี้
ก. นำไม้หรือของป่าที่ได้รับอนุญาตให้ทำหรือเก็บออกจากสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ไปถึงสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตแล้ว
ข. นำไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาต ออกไปจากด่านป่าไม้ด่านแรกแล้ว
ค. นำไม้หรือของป่าเข้ามาในประเทศ ไปถึงด่านศุลกากรหรือ ด่านตรวจศุลกากรที่นำเข้ามาแล้ว
ง. นำไม้หรือของป่าที่ซื้อมาจากทางราชการไปจากที่ไม้หรือของป่านั้นอยู่ (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๓๘)
ผู้นำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ จะต้องมีใบเบิกทางของพนักงาน เจ้าหน้าที่กำกับไปด้วย (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๓๙) การขอใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ให้ขอที่ป่าไม้จังหวัด พร้อมด้วยบันทึกแสดงชนิด จำนวน ขนาด ปริมาตร และใบเสร็จที่แสดงว่าไม้หรือของป่านี้ ได้เสีย ค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว
ในการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่นั้นกฎหมายได้กำหนดห้ามมิให้เคลื่อนที่ ผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลากลางคืน (ตั้งแต่พระอาทิตย์ตก จนถึงพระอาทิตย์ขึ้น) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเป็นหนังสือ (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๔๑)
การแผ้วถางป่า
เพื่อเป็นการสงวนรักษาป่าไม้ไว้อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและแก่ลูกหลาน กฎหมายจึงได้ห้ามผู้ใดเข้าครอบครองป่าไว้เป็นของตนเองหรือผู้อื่น และห้ามมิให้แผ้วถางหรือทำลายป่า มิฉะนั้นจะมีความผิดทาง อาญา
อย่างไรก็ดี ทางราชการได้ตระหนักถึงความจำเป็นของราษฎรที่ ยากจนไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงได้จำแนกป่าไม้ไว้ ถ้าป่าใดเป็นป่าประเภทเกษตรกรรม ราษฎรสามารถเข้าครอบครอง และแผ้วถางเพื่อเพาะปลูกพืชได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ป่าใดที่ทางราชการมิได้ประกาศเป็นป่าเกษตรกรรม ราษฎรคนใดประสงค์ที่จะครอบครองแผ้วถางป่า จะต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในเขตที่ป่านั้นอยู่ก่อน (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๕๔)
๑.๒ การคุ้มครองป่าอนุรักษ์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าอนุรักษ์มีหลายฉบับ แต่ที่เป็นกฎหมายหลักในปัจจุบันมี ๔ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งในกฎหมายทั้งสี่ฉบับนี้ได้มีมาตรการที่จะจำกัดการทำลายป่าไม้และสงวนพื้นที่ป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในทางระบบนิเวศน์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ โดยการกำหนดให้มีการประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์ไว้ และกำหนดห้ามการกระทำบางอย่างที่จะนำไปสู่การทำลายป่าไม้ สัตว์ป่า และของป่าในเขตดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษทางอาญา และต้องรับผิดในทางแพ่งอีกด้วย นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังมีแนวโน้มที่จะให้อำนาจหน้าที่แก่เจ้าพนักงานป่าไม้ และเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องที่จะป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในเขตอนุรักษ์ดังกล่าว โดยการออกใบอนุญาต หรือการสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนทำให้สภาพแวดล้อมกลับคืนดีดังเดิม หรือเข้าไปดำเนินการแก้ไขสภาพแวดล้อมเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้กระทำการละเมิด
ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายปัจจุบัน แบ่งออกได้ ๔ ประเภท
ก. ป่าสงวนแห่งชาติ ข. อุทยานแห่งชาติ
ค. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ง. เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
๑.๒.๑ ป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าสงวนแห่งชาติ คือป่าที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองป่า พ.ศ. ๒๔๘๑ ประกาศว่าเป็นป่าสงวนและป่าคุ้มครอง ส่วนป่าสงวน อีกกรณีหนึ่งเป็นป่าซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาจากความจำเป็นเพื่อการรักษาสภาพป่าไม้ ของป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น และในกฎ กระทรวงดังกล่าวจะต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตของป่าสงวนไว้ด้วย อีกทั้งเมื่อประกาศแล้ว ต้องปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และในหมู่บ้านในเขตที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนทราบ
การประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้น มีข้อห้ามว่าต้องไม่เป็น ที่ดินของเอกชนที่มีสิทธิครอบครองอยู่แล้วก่อนที่จะมีการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือเป็นที่ที่อยู่ในความครอบครองของรัฐหรือทบวงการเมือง
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันชาวบ้านบางหมู่บ้านทำกินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและมีปัญหาพิพาทว่า ตนเคยอาศัยอยู่ในบริเวณ ดังกล่าวโดยชอบก่อนที่จะประกาศว่าเขตนั้นเป็นเขตป่าสงวน ซึ่งในกรณีนี้ เป็นปัญหาที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าเป็นความจริงเช่นไร ซึ่งถ้าเป็นความจริงอาจเป็นเพราะข้อบกพร่องในช่วงการสำรวจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถสำรวจได้ครบทุกพื้นที่ได้ จึงประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติทับที่ของราษฎร ซึ่งทางแก้ก็จะต้องเพิกถอนเขตดังกล่าวออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ถ้าไม่เป็นความจริง ราษฎรหมู่บ้านนั้นจะต้องอพยพออกจากพื้นที่ป่าสงวนดังกล่าวเว้นแต่จะเข้าเงื่อนไข ที่จะได้รับสิทธิทำกินตามพระราช-บัญญัตินี้
แนวคิดในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ คือการสงวนและรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรป่าไม้ เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นป่าสงวนไว้ เพื่อใช้ประโยชน์จากป่าในเชิงเศรษฐกิจ และนำผลประโยชน์จากป่าไม้มาเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการใช้ประโยชน์นานที่สุดจนถึงลูกหลาน ดังนั้น กฎหมายจึงมีทั้งการห้ามมิให้บุกรุก หรือหาของป่า หรือเข้าไปก่อสร้างในเขตป่าสงวน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ป่าดังกล่าวในเขตที่เรียกว่า ป่าเสื่อมโทรม ทางกรมป่าไม้ก็อาจอนุญาตให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้าทำกินได้โดยไม่สามารถถือเอากรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองได้ หรืออาจจะให้เอกชน เข้ามาปลูกป่าทดแทนได้เพื่อพัฒนา ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ การศึกษาทางวิชาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาทางระบบนิเวศน์ หรือการพัฒนาพันธุ์พืช เจ้าพนักงานป่าไม้มีสิทธิอนุญาตให้บุคคลเข้าไปในป่าเพื่อศึกษาได้
กรณีที่ถือว่าเป็นการบุกรุก หรือทำลายสภาพป่าสงวนแห่งชาติ มีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๑๔-๒๐ มีหลักสำคัญดังนี้
๑) กระทำต่อต้นไม้ ดิน หิน กรวด ทราย แร่และน้ำมัน พืช สัตว์ต่างๆ หรือซากสัตว์ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนนั้น
๒) ทำไม้ ซึ่งรวมถึง การตัด ขุด หรือชักลากไม้ที่มีอยู่ในป่า
หรือนำไม้ที่อยู่ในป่าออกมาจากป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ว่าไม้นั้นจะเป็นไม้ หวงห้ามตามกฎหมายป่าไม้หรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงาน
๓) เก็บหาของป่า ได้แก่ การเก็บไม้ฟืน เปลือกไม้ หิน ซากสัตว์ น้ำผึ้ง มูลค้างคาว เป็นต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
๔) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออาศัยอยู่ แผ้วถาง เผาป่า หรือทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของป่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
๕) กรณีที่ราษฎรอาจได้รับการอนุญาตให้เข้าไปทำกินได้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ การให้สิทธิทำกิน การอนุญาตให้ปลูกป่า หรือทำสวนป่า ในเขตป่าเสื่อมโทรม หรือการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่หลังจากที่สัมปทานตามกฎหมายแร่ เป็นต้น
ผู้ฝ่าฝืน หลักการข้างต้น ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท แต่ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษจำคุกหนักขึ้น โดยต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถ้าได้กระทำการบุกรุก มีเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ สนเขา หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ตามกฎหมายป่าไม้ หรือกระทำต่อไม้อื่นๆ ซึ่งมีจำนวนต้นหรือท่อน รวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือมีปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือกระทำต่อต้นน้ำลำธาร (พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา ๓๑)
กรณีที่จะถือว่าเป็นต้นหรือท่อนนั้น ต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร ถ้าเป็นเพียงเศษไม้เล็กไม้น้อยที่มีลักษณะเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ไม่ถือว่าเป็น ต้นหรือท่อน (ฎีกาที่ ๓๑๐๓/๒๕๓๒)
นอกจากนี้ ผู้นั้นจะต้องถูกสั่งให้ออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (รวมถึงครอบครัวและบริวารด้วย) ถ้าศาลพิพากษาว่ามีความผิด อีก ทั้งยังถูกริบเครื่องมือ ยานพาหนะ เครื่องจักร เครื่องกล เช่น เลื่อย รถแมคโคร ขวาน มีด เป็นต้น เว้นแต่ทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของผู้อื่นที่ไม่รู้เห็นเป็นใจ เช่น เป็นรถที่เช่าซื้อมาจากบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และบริษัทดังกล่าวไม่รู้เห็นถึงการที่จะนำรถไปกระทำความผิด บริษัทมีสิทธิขอรถที่ถูกริบไว้คืนได้ ภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ให้ริบ
๑.๒.๒ อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติ คือ ที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยเห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าจะรักษาให้คงสภาพไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และเพื่อการรื่นรมย์ของประชาชนหลักการในการอนุรักษ์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติคือ การสงวน รักษาสภาพของป่าไว้ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ และรักษาสภาพความกลมกลืนของธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ ดิน น้ำ สัตว์ป่า นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปศึกษาและนันทนาการถึงความสวยงามของธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้น หลักในการจัดการอุทยานแห่งชาติ ก็คือการรักษาและฟื้นฟูสภาพป่า และสิ่งมีชีวิตในป่าไว้ตามธรรมชาติ และเปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อให้ประชาชนเข้าไปชมความงามของธรรมชาตินั้น ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปในเขตดังกล่าวได้ แต่ต้องปฏิบัติตนมิให้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือกระทบต่อความ เป็นอยู่ของสัตว์ป่า
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้แก่
๑. ยึดถือ ครอบครอง แผ้วถาง เผาป่า ก่อสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ
๒. เก็บหาของป่า หรือนำของป่าออกไป หรือทำให้เสื่อมสภาพซึ่งยางไม้ ไม้ น้ำมันยาง น้ำมันสน แร่ และทรัพยากรธรรมชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
๓. นำสัตว์ป่าออกไป หรือทำอันตรายแก่สัตว์ หรือดิน หิน กรวดหรือทราย
๔. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทางน้ำ หรือทำให้ทางน้ำเหือด แห้งหรือท่วม
๕. เก็บหรือทำอันตรายต่อดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้
๖. นำสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์พาหนะเข้ามา นำยานพาหนะหรืออากาศยานเข้ามา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือปล่อยปศุสัตว์เข้ามา
๗. ทิ้งขยะมูลฝอย
๘. ยิงปืน ทำให้เกิดระเบิด นำเชื้อเพลิงที่อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ ส่งเสียงอื้อฉาว
๙. นำเครื่องมือล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใดๆ เข้ามา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
โทษทางอาญา ที่กำหนดไว้จะมีโทษจำคุกสูงสุดคือ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในการกระทำที่ ฝ่าฝืนใน ๑, ๒, ๓, ๔ ส่วนในกรณีอื่นก็มีโทษต่ำกว่า แต่เฉพาะการเก็บหาของป่า ซึ่งเป็นสัตว์และทรัพย์สินที่มีราคาเล็กน้อย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะเป็นการเก็บหาของป่าตามวิถีชีวิตของชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในเขตใกล้เคียงกับเขตอุทยานแห่งชาติ โทษที่ฝ่าฝืนจะลดลงเหลือเพียงโทษปรับ
ไม่เกินห้าร้อยบาท
อย่างไรก็ดี กฎหมายยังให้อำนาจศาลที่จะริบเครื่องมือ ยานพาหนะ ที่ใช้ในการกระทำความผิดอีกด้วย เว้นแต่จะเป็นของผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย
๑.๒.๓ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเขตที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบว่าที่ดิน ในเขตใดที่ควรรักษาไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ โดยการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (แต่ที่ดินนั้นจะต้องไม่เป็นที่ดินของเอกชน)
หลักการคุ้มครองพื้นที่ป่าและสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านี้ จะมีการห้ามกิจกรรมของคนที่จะเข้าไปในเขตนี้อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สัมปทาน หรือประทานบัตร เพื่อทำแร่หรือปิโตรเลียม ทั้งนี้ เพราะกฎหมายประสงค์จะให้มีพื้นที่เพื่อการขยายพันธุ์ของสัตว์ป่า จึงพยายามจะอนุรักษ์พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ไว้
ข้อห้ามที่กำหนดไว้มีดังนี้
๑) ห้ามล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่ และห้ามเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ยกเว้นการกระทำเพื่อการศึกษาทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมป่าไม้ โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ (พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา ๓๖) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๕๓)
๒) ห้ามเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นเจ้าพนักงานซึ่งต้องทำหน้าที่ในเขตนั้น (พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา ๓๗)
๓) ห้ามยึดถือ ครอบครองที่ดิน หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา หรือทำลายต้นไม้ หรือพฤกษาชาติอื่นๆ ห้ามขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์หรือสัตว์ป่าหรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำแห้ง น้ำท่วม หรือน้ำเป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า แต่มีข้อยกเว้นให้ทำได้โดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้หรือกรมประมงเพื่อประโยชน์ในการบำรุงพันธุ์ การศึกษาทางวิชาการ หรือการอำนวยความปลอดภัย หรือการให้ความรู้แก่ประชาชน (พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา ๓๘) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๕๔) และศาลมีอำนาจพิพากษาขับไล่ผู้นั้นและบริวารออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและมีอำนาจริบทรัพย์ บรรดาเครื่องมือ ยานพาหนะหรือสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทำความผิดนั้น (มาตรา ๕๗, ๕๘)
๑.๒.๔ เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
โดยที่บางพื้นที่ซึ่งทางราชการไม่ได้ประกาศเป็นเขตป่าสงวน แห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การให้ ความคุ้มครองแหล่งต้นน้ำลำธาร หรือระบบนิเวศน์จะไม่อาจทำได้ และ อาจจะสายเกินไปที่จะรอให้มีการประกาศเขตอนุรักษ์ดังกล่าว ดังนั้น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๓ ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อประกาศให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยประกาศเป็นกฎกระทรวง แต่พื้นที่ดังกล่าวจะต้องเป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธาร หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติแตกต่างจากที่อื่นๆ หรือระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติของพื้นที่นั้นอาจจะถูกทำลาย หรือถูกกระทบกระเทือนจากการกระทำของคนที่เข้าไปอยู่ในบริเวณนั้นโดยง่าย หรือเป็นพื้นที่อันมีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ แต่ยังไม่มีการประกาศเป็นเขตอนุรักษ์
เมื่อได้ประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแล้ว กฎหมายกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในกฎกระทรวงที่ประกาศด้วย เช่น การกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ หรือมิให้กระเทือนต่อระบบนิเวศน์ หรือห้ามการกระทำอันมีลักษณะเป็นการทำลายหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งมาตรการที่กำหนดนี้ ทั้งราษฎรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องถือปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ ในการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๔๔)
การฝ่าฝืนข้อกำหนดในกฎกระทรวงข้างต้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๑๐๐)
แต่ถ้ามีผู้ใดบุกรุก หรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าไปทำอันตรายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ หรือศิลปกรรม หรือก่อให้เกิดมลพิษในเขตดังกล่าว จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๙๙)
๑.๓ การปลูกป่าทดแทน
ความสำคัญของป่าไม้ หรือผลิตภัณฑ์ของป่าไม้ นอกจากจะเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ยังมีผลต่อการอนุรักษ์พื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่เกิดของแหล่งน้ำด้วย ดังนั้น ความต้องการที่จะนำไม้ หรือของป่าไปใช้จึงมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ป่าธรรมชาติไม่อาจโตทันความต้องการได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อลดปริมาณการทำลายป่าไม้ธรรมชาติลง และยังรักษาการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ของคนไว้ กฎหมายจึงมีมาตรการให้ เอกชนเพาะพันธุ์และปลูกป่า เพื่อเพิ่มปริมาณป่าไม้ และอนุญาตให้ทำไม้ที่ได้จากการปลูกป่านี้ด้วย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีหลักการโดยสรุปดังนี้
๑. ผู้ใดต้องการทำสวนป่าเพื่อการค้า สามารถยื่นขอต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด
๒. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้นั้นสามารถปลูกต้นไม้เพื่อการค้าได้ เช่น สวนป่าสักทอง เป็นต้น
๓. เจ้าของสวนป่ามีสิทธิทำไม้ ที่ได้จากการทำสวนป่า โดยอาจจะตัดโค่น แปรรูปไม้ ค้าไม้ หรือมีไม้ไว้ในความครอบครอง หรือนำไม้เคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ได้
๔. ก่อนที่จะตัดหรือโค่นไม้ จะต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ เป็นหนังสือ เพื่อเจ้าหน้าที่จะออกหนังสือรับรองการแจ้งก่อนตัด
๕. เมื่อตัดไม้แล้ว ต้องมีตราประทับแสดงการเป็นเจ้าของ การจะนำไม้เคลื่อนที่ก็จะต้องมีหนังสือรับรองการแจ้ง และบัญชีรายการไม้กำกับไปด้วย
๖. ไม้ที่ได้จากสวนป่า ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวง
๗. ที่ดินที่จะขออนุญาตปลูกสวนป่า อาจเป็นที่ดินที่มีโฉนด หรือ น.ส.๓ ที่ดินที่ทางราชการรับรองว่าอาจขอออกโฉนดหรือ น.ส.๓ ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือกฎหมายการจัด ที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือเป็นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือเป็นเขตป่าเสื่อมโทรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่ดินที่ได้ดำเนินการปลูกป่าโดยหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือทบวงการเมือง
มาตรการการทำสวนป่านี้ เป็นมาตรการที่ดีในการเพิ่มปริมาณ ป่าไม้ให้มากขึ้น เพื่อลดความต้องการที่จะนำไม้จากป่าถาวรมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ และขณะเดียวกันเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่าทดแทน หรือเพาะพันธุ์พืชอันจะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการปลูกป่า
อย่างไรก็ดี การทำสวนป่านี้มักจะเป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจ และปลูกต้นไม้ประเภทเดียวกัน ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่ป่าเหล่านี้ เป็นแต่เพียงการสนองความต้องการใช้ไม้ในชีวิตประจำวันของคน แต่ยังไม่สามารถทดแทนความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นที่รวมของพันธุ์ไม้นานาชนิดดังที่มีอยู่ในป่าดงดิบหรือป่าในเขตอนุรักษ์
๒. การคุ้มครองสัตว์ป่า
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้จำแนกสัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครองไว้ ๒ ประเภท คือ สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครอง
ก. สัตว์ป่าสงวน มีอยู่ ๑๕ ชนิด ดังนี้ นกเจ้าฟ้าสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูนหรือหมูน้ำ สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ป่าที่หายากแล้ว และกำลังจะสูญ พันธุ์
ข. สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน
หลักการคุ้มครองสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น กฎหมายมุ่งที่จะห้ามการล่าสัตว์ดังกล่าว และการครอบครองสัตว์ป่านั้นไว้เกินประมาณที่กำหนด และห้ามการค้าสัตว์ป่า ไม่ว่าสัตว์นั้นจะอยู่ในป่าอนุรักษ์หรือไม่ ทั้งนี้เพราะสัตว์ดังกล่าวควรจะสงวนไว้ เพื่อการรักษาความสมดุลแห่งระบบนิเวศน์ หากให้ล่าได้ก็อาจกลายมาเป็นอาหารหรือถูกฆ่าเพราะกีฬาล่าสัตว์ จนสูญพันธุ์ไป
การกระทำที่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย ได้แก่
๑. ห้ามล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (รวมถึงไข่ของสัตว์ป่าด้วย) เช่น การยิงเสือ การเก็บไข่นกกระเรียน เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการล่า ณ ที่ใด (มาตรา ๑๖) ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔๗)
อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นการยิงสัตว์เพราะความจำเป็น เนื่องจากเสือจะเข้ามากัด หรือกระทิงจะวิ่งพุ่งเข้าชนบ้าน และได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ ดังนี้ ผู้ยิงนั้นไม่ต้องรับโทษ
๒. ห้ามการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามที่กฎหมายอนุญาต และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นการเพาะพันธุ์ของสวนสัตว์สาธารณะของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้ (มาตรา ๑๘)
๓. ห้ามการครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ดังกล่าว นอกจากจะเป็นสัตว์ป่าที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ ตาม ๒. (มาตรา ๑๙)
๔. ห้ามการค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากหรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นสัตว์ได้รับอนุญาตตาม ๒. (มาตรา ๒๐)
๕. ห้ามเก็บ หรือทำอันตรายหรือมีไว้ซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง
แต่ไม่รวมถึงการเก็บรังนกอีแอ่นที่ผู้นั้นได้รับอนุญาตตามกฎหมายอากรรังนกอีแอ่น (มาตรา ๒๑)
๖. ห้ามนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่รัฐมนตรีประกาศ ซากของสัตว์ดังกล่าว เว้นแต่เป็นสัตว์ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ตาม ๒. (มาตรา ๒๓)
๗. การนำสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่ เพื่อการค้า ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้ หรืออธิบดีกรมประมง (มาตรา ๒๕)
๘. ผู้ที่ต้องการประกอบกิจการสวนสัตว์สาธารณะ สามารถยื่นขออนุญาตต่ออธิบดีกรมป่าไม้ หรืออธิบดีกรมประมงแล้วแต่กรณีว่าเป็นสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้รับอนุญาตสามารถเพาะพันธุ์ ครอบครอง สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองได้ เพื่อประโยชน์ในกิจการ สวนสัตว์สาธารณะของตน
๙. ข้อห้ามในการล่าสัตว์นั้น นอกเหนือจากสัตว์ป่าสงวนหรือ สัตว์ป่าคุ้มครองแล้ว กฎหมายยังกำหนดห้ามล่าสัตว์ในบางพื้นที่อีกด้วย ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเป็นสัตว์ชนิดใด เขตดังกล่าวคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตอุทยานแห่งชาติ บริเวณวัดหรือบริเวณที่จัดไว้เพื่อประชาชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (เขตอภัยทาน) เป็นต้น
ข้อสังเกต การที่จะรู้ว่าสัตว์ป่าประเภทใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่นั้น ต้องดูจากกฎกระทรวง ดังนั้น ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอาจกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองก็ได้ เพราะประเภทของสัตว์คุ้มครองนั้น มีอยู่หลายร้อยชนิด และมีชื่อเรียกต่างกัน กรณีนี้แนวทางป้องกันควรประกาศชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
กรณีที่สอง การอนุญาตให้มีสัตว์ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ไว้ในความครอบครองได้ ถ้าเป็นลูกที่เกิดจากสัตว์ป่าที่ได้รับอนุญาตนั้น การควบคุมและบังคับใช้กฎหมายต้องเข้มงวด เพราะเคยมีคนนำสัตว์ออกจากป่าและอ้างว่าเป็นสัตว์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ไม่ตรวจตราให้เข้มงวดก็จะเป็นช่องทางของผู้ไม่สุจริตที่จะอาศัยประโยชน์จาก ช่องว่างกฎหมายอันนี้
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ควรจะต้องกระทำควบคู่ไปกับการจัด การและควบคุมการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของป่าไม้และสัตว์ป่าข้างต้น ควรต้องรณรงค์เพื่อต่อต้านการใช้ไม้ หรือการบริโภคสัตว์ป่าอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งนี้เพราะกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น ไม่อาจต่อต้านกระแสของความต้องการที่จะนำไม้หรือสัตว์ป่ามาใช้เพื่อประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจได้ จึงปรากฏอยู่เสมอว่ามีการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า และล่าสัตว์ป่าเป็นประจำ ซึ่งเป็นการยากที่รัฐจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำลายทรัพยากรป่าไม้ดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง และอีกแนวทางหนึ่งคือการส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้คอยป้องกันมิให้มีคนมาทำลายป่าไม้และสัตว์ป่าแล้ว ประชาชนทุกคนควรจะร่วมกันรณรงค์ในการลดการใช้ทรัพยากรดังกล่าวโดยใช้เท่าที่จำเป็น หรือหาสิ่งอื่นทดแทนอีกด้วย
สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 Living Room Youtube 的最佳解答
ฝากเข้าไปถูกใจเเฟนเพจด้วยนะครับ
- https://www.facebook.com/pramlivingroom/
--------สามารถสนับสนุนผมได้ที่--------
TrueMoney Wallet : 0639360606
ติดต่องานได้ที่
FB:pram attavit (ส่วนตัว)
- https://www.facebook.com/pram.attavit
IG :pram704 (ส่วนตัว)
- https://www.instagram.com/pram704/?hl=th
สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า : รู้เท่ารู้ทัน (18 มี.ค. 62) - YouTube 的美食出口停車場
สืบเนื่องจากวันนี้ (19 มี.ค. 62) จะมีการตัดสินคดีที่นายเปรมชัย กรรณสูต และคณะ แอบเอาปืนที่ใช้ล่า สัตว์ เข้าเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 ... ... <看更多>
สัตว์ป่าคุ้มครอง 在 ความแตกต่างระหว่างสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง - Facebook 的美食出口停車場
สัตว์ป่า ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ ซึ่ง สัตว์ป่า ในประเทศไทยมีความหลากหลายทางสายพันธุ์อย่า งมาก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้เป็นอย่าง ดี โดย สัตว์ป่า บางชนิดมีประชากรลดลง ... <看更多>