#สอนลูกที่บ้าน (ตอนที่ 3 (final))
#ปลุกความเป็น_ครู_ในตัวเรา
หมอมีหนังสือชุดหนึ่ง
ซื้อจากแผงหนังสือมือสอง นานมากแล้ว
หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ โดย สพฐ. ตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
เนื่องจากลูกสาวกำลังจะขึ้นชั้นประถม เลยได้ฤกษ์อ่านเสียที
แล้วพบว่า...หนังสือชุดนี้ดีมากกก
(อยากจะถามแฟนเพจที่เป็นคุณครูว่า เคยอ่านกันมั้ยคะ
กลัวว่าหนังสือดี แต่การกระจายไม่ดี ก็ไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย)
เขียนโดย "อ.พรพิไล เลิศวิชา"
Brain base learning (BBL) คือ
#การจัดการเรียนรู้ (ความเข้าใจพัฒนาการ กระบวนการสอน สื่อการสอน) ให้เข้ากับ การเรียนรู้ของสมองเด็กแต่ละวัย
(มิได้หมายถึงการจัดบอร์ด ทำสื่อการสอน แต่เป็นความเข้าใจในสมองของเด็กแต่อย่างเดียว)
ท่านเขียน ในมุมมองของครูที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง
ใช้คำเข้าใจง่าย และรู้ว่าความรู้ในแง่มุมนี้
ควรนำมาใช้ในห้องเรียนได้อย่างไร
หมอคิดว่า ไม่ใช่แค่อาชีพครู แต่พ่อแม่ ก็ต้องรู้
หนังสือมี 7 เล่ม หมอเลือกเล่มที่ชอบ มาสรุปให้ฟัง 4 เล่ม
.
หมอคาดการณ์ว่า ระบบการศึกษา หลังจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก
แต่คงไม่มีใครรู้ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่ว่า เป็นอย่างไรบ้าง
ที่แน่ๆ พ่อแม่ จะต้องเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกวัยอนุบาลและประถมมากขึ้น
(วัยมัธยม ถึง มหาวิทยาลัย สิ่งที่เข้ามามีอิทธิพลมากกว่าพ่อแม่คือ เทคโนโลยี)
เพราะฉะนั้น ความรู้เรื่อง “สมองเด็กเรียนรู้อย่างไร” จะเป็นประโยชน์กับพ่อแม่ทุกคน
.
ถ้าใคร อยากดาวน์โหลดหนังสือทั้ง 7 เล่มไปอ่าน หมอก็พบ link ที่จะดาวน์โหลดได้
แปะ link ให้ข้างล่างนี้นะคะ
(ขอบคุณ www.kroobannok.com ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)
https://www.kroobannok.com/75130
.
ขอให้มีความสุขกับการอ่านหนังสือชุดนี้
และมีความสุขกับการสอนเด็กที่บ้านนะคะ
.
หมอแพม
ปล. ไม่ได้เขียน content บ่อยๆ
เพราะเวลาว่างของลูก แปลผกผัน กับเวลาว่างของแม่😅😅
สอนลูกที่บ้าน 在 Facebook 的最佳解答
#สอนลูกที่บ้าน (ตอนที่ 3 (final))
#ปลุกความเป็น_ครู_ในตัวเรา
หมอมีหนังสือชุดหนึ่ง
ซื้อจากแผงหนังสือมือสอง นานมากแล้ว
หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ โดย สพฐ. ตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
เนื่องจากลูกสาวกำลังจะขึ้นชั้นประถม เลยได้ฤกษ์อ่านเสียที
แล้วพบว่า...หนังสือชุดนี้ดีมากกก
(อยากจะถามแฟนเพจที่เป็นคุณครูว่า เคยอ่านกันมั้ยคะ
กลัวว่าหนังสือดี แต่การกระจายไม่ดี ก็ไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย)
เขียนโดย "อ.พรพิไล เลิศวิชา"
Brain base learning (BBL) คือ
#การจัดการเรียนรู้ (ความเข้าใจพัฒนาการ กระบวนการสอน สื่อการสอน) ให้เข้ากับ การเรียนรู้ของสมองเด็กแต่ละวัย
(มิได้หมายถึงการจัดบอร์ด ทำสื่อการสอน แต่เป็นความเข้าใจในสมองของเด็กแต่อย่างเดียว)
ท่านเขียน ในมุมมองของครูที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง
ใช้คำเข้าใจง่าย และรู้ว่าความรู้ในแง่มุมนี้
ควรนำมาใช้ในห้องเรียนได้อย่างไร
หมอคิดว่า ไม่ใช่แค่อาชีพครู แต่พ่อแม่ ก็ต้องรู้
หนังสือมี 7 เล่ม หมอเลือกเล่มที่ชอบ มาสรุปให้ฟัง 4 เล่ม
.
หมอคาดการณ์ว่า ระบบการศึกษา หลังจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก
แต่คงไม่มีใครรู้ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่ว่า เป็นอย่างไรบ้าง
ที่แน่ๆ พ่อแม่ จะต้องเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกวัยอนุบาลและประถมมากขึ้น
(วัยมัธยม ถึง มหาวิทยาลัย สิ่งที่เข้ามามีอิทธิพลมากกว่าพ่อแม่คือ เทคโนโลยี)
เพราะฉะนั้น ความรู้เรื่อง “สมองเด็กเรียนรู้อย่างไร” จะเป็นประโยชน์กับพ่อแม่ทุกคน
.
ถ้าใคร อยากดาวน์โหลดหนังสือทั้ง 7 เล่มไปอ่าน หมอก็พบ link ที่จะดาวน์โหลดได้
แปะ link ให้ข้างล่างนี้นะคะ
(ขอบคุณ www.kroobannok.com ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)
https://www.kroobannok.com/75130
.
ขอให้มีความสุขกับการอ่านหนังสือชุดนี้
และมีความสุขกับการสอนเด็กที่บ้านนะคะ
.
หมอแพม
ปล. ไม่ได้เขียน content บ่อยๆ
เพราะเวลาว่างของลูก แปลผกผัน กับเวลาว่างของแม่😅😅
สอนลูกที่บ้าน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的精選貼文
#สอนลูกที่บ้าน (ตอนที่ 2 )
#4พฤติกรรมแย่แย่_ที่แม่มักทำเมื่อสอนลูก
👉1.ลืมธรรมชาติของเด็ก
●ลืมไปแล้ว ว่าสมาธิจดจ่อของลูกไม่ได้นาน
เท่าที่เราต้องการ (กลับไปอ่านตอนที่ 1)
●ลืมไปแล้วว่า เด็กเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่น ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
●ลืมไปแล้วว่า #ครูแบบไหนที่เราตอนเป็นเด็กไม่อยากเรียนด้วย
แล้วเราก็กลายร่างเป็นครูคนนั้นที่เราไม่ชอบตอนเด็ก
.
อยากให้ลูกเป็น
#เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ #มีความคิดเชิงวิพากษ์
แต่หงุดหงิดเวลาลูกเถียง หรือ หงุดหงิดเวลาลูกพูดฟุ้งออกนอกกรอบที่เราเตรียมไว้
ทั้งๆที่ การกล้าแสดงความคิดเห็น คือจุดตั้งต้นของความคิดสร้างสรรค์
และความคิดวิพากษ์
อยากให้ลูกเป็นเด็กที่เรียนรู้ได้ดีในอนาคต
แต่พ่อแม่ยึดติดกับการสอนแบบศตวรรษที่ 18
ย้อนแย้งมาก (แต่ก็เข้าใจนะคะ🤣🤣)
.
เอาเป็นว่า นี่เป็นโอกาสดี
(เผื่อเปิดเทอมเลื่อนไปเรื่อยๆ)
ที่เราจะได้จัดการการเรียนรู้ของลูกเอง
และรู้ style การเรียนของลูกอย่างลึกซึ้ง
ที่สำคัญที่สุด คือการได้ปลูกฝังเรื่องการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์กับลูกด้วยค่ะ
=========
👉2.เปรียบเทียบ
👉เปรียบเทียบกับตัวเองตอนวัยเด็ก “ตอนแม่อายุเท่าหนูนะ แม่...”
FACT: จากงานวิจัยของสมองพบว่า
มนุษย์สามารถสร้างความทรงจำใหม่ได้
เรื่องที่เราจำ โดยเฉพาะเรื่องในวัยเด็ก
อาจจะไม่ใช่ความจริง
แต่เป็นมุมมองที่เรามีต่อตัวเอง
(โดยส่วนใหญ่จะเข้าข้างตัวเอง)
ดังนั้นที่เราคิดว่าในวัยเด็ก เราทำงานบ้านได้มากกว่าลูก เราเรียนได้เร็วกว่าลูก
เราอ่านหนังสือคล่องกว่า....นั่นคือ ไม่ใช่ความจริง แต่เป็นมุมมองที่เรามองตัวเองในวัยเด็กเท่านั้น
ถ้าจะเอาความจริง...ถามแม่หรือครูของเรารึยัง
ว่าวัยเด็กของเราเป็นอย่างไร😅😅
👉เปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
ไม่ว่าจะเจาะจง หรือ ไม่เจาะจง
👉FACT: ไม่มีใคร ชอบถูกเปรียบเทียบ
เพราะเค้าจะรู้สึกว่าเค้าด้อยค่า
โดยเฉพาะคำเปรียบเทียบนั้น
มาจากปากของคนที่เค้ารัก
วิธีนี้ ส่งผลต่อจิตใจเด็กหลายอย่าง
เด็กที่พ่อแม่ใช้วิธีนี้ได้ผล เด็กจะถูกปลูกฝังค่านิยม เรื่องการต้องแข่งขัน โดยไม่รู้ตัว
เด็กที่ทำได้ แล้วพ่อแม่กล่าวชื่นชม
เค้าจะรับรู้ว่า...ต้องเท่าหรือเหนือกว่าคนอื่น
จึงจะเป็นที่ยอมรับ
(กลับไปอ่าน"ชมอย่างไรให้ลูกมี growth mindset")
หรือ
เด็กบางคน นอกจากไม่ได้ทำให้การเรียนรู้เร็วมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ ความภาคภูมิใจในตัวเองลดลงอีกด้วย
*** แต่เอาจริงๆ คำพูดเปรียบเทียบ
มันเกิดขึ้นบ่อยจริงๆ ตัวหมอเองก็เคยเป็น
👉วิธีแก้: มีสติมากๆ อะไรที่ทำไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ ครั้งหน้า ให้ระวังมาก อาจจะแก้ไม่หมดในทีเดียว แต่ขอให้น้อยลงทุกครั้ง ที่ต้องทำการบ้าน หรือสอนลูกนะคะ
=====
👉3.หงุดหงิด ชักสีหน้า หรือแสดงพฤติกรรมลบ เมื่อลูกทำสิ่งที่เราเคย(พูด)สอนไปแล้วไม่ได้
👉FACT: “ความเข้าใจ กับ ทักษะ
มันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
การที่ลูกยังทำสิ่งที่เราเคยสอนไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าเค้าไม่ตั้งใจ หรือแปลว่าเค้าไม่เก่ง ไม่ดี
แต่สมองรับข้อมูล แล้วต้องสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงาน
กล้ามเนื้อที่ไม่เคยฝึก ย่อมเงอะงะ ย่อมไม่คล่อง
ต้องผ่านการฝึกซ้ำแล้วซ้ำเล่า
คำสั่ง(สมอง) กับ กล้ามเนื้อ (การลงมือทำ)จึงประสานกันได้ดี
.
เช่น เราสอนลูกเขียน อักษร แล้วม้วนหัวผิด
ลากเส้นผิด กลับหน้ากลับหลัง
ไม่ใช่เค้าไม่เก่ง แต่กล้ามเนื้อยังรับคำสั่งได้ไม่ดีพอ
.
ถ้ายังไม่เข้าใจ ลองนึกถึงตอนที่เรา
#หัดขับรถยนต์ใหม่ๆ
(ไม่อยากให้ย้อนไปตอนเริ่มหัดเขียน
เพราะคงจำไม่ได้แล้ว)
เข้าใจว่าเหยียบเบรค เข้าใจว่าให้หมุนพวงมาลัย
#สมองเข้าใจแต่แขนขามันทำไม่ทัน
ยิ่งคนใกล้ชิดสอน แล้วเค้าคาดหวังกับเรามาก
บ่อยครั้ง จะทะเลาะกัน
ก็เหมือนตอนเราสอนหนังสือลูก
ไม่ใช่ลูกไม่ดี #แต่ลูกพัฒนาไม่ทันกับความคาดหวังของพ่อแม่ต่างหาก
=======
👉4.ใจร้อน แย่งทำ หรือเข้าช่วยเร็วเกินไป
👉FACT: อย่างที่อธิบายไป สมองกับกล้ามเนื้อต้องการเวลาในการทำงานประสานกัน
เด็กๆต้องการเวลาที่จะทำด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดเป็นทักษะ
..
จริงๆคงยังมีสิ่งยิบย่อยมากกว่านี้
แต่นี่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นบ่อย
(รวมตัวเอง😅)
.
ให้มองวิกฤติเป็นโอกาส
อนาคต
ไม่ว่าลูกจะได้กลับไปเรียนในระบบโรงเรียนได้หรือไม่
เราก็ได้ฝึกฝนตัวเอง ให้กลายเป็นครูที่ดีแล้ว
.
หมอแพม
เขียนให้ตัวเองอ่าน และแชร์ความคิดเห็นให้เพื่อนๆด้วย
สอนลูกที่บ้าน 在 สวัสดีค่ะ กำลังศึกษาสนใจทำ homeschool ให้ลูก เนื่องจากสถานก 的美食出口停車場
ครูก็พยายามจะสอนเพิ่ม : No, I am not... เชื่อไหมว่า แค่ No, I am not เนี่ย สัปดาห์ถัดไป ลูกก็ No.. เฉยๆเหมือนเดิม (ทั้งที่อยู่บ้าน ... ... <看更多>