สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงอย่างเรามี คุณค่า คือ ...
อาชีพ ศักดิ์ศรี ทัศนคติ ความรู้ ผู้ชายคนไหนทิ้งก็ไม่ตาย
ของอะไรที่เราหาเงินซื้อเองเราจะภูมิใจ
พูดได้อย่างเต็มปากว่าเราทำงานหาเงินซื้อเอง เราเป็นผู้หญิงมีศักดิ์ศรีจ๊ะ
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過1,550萬的網紅Grammy Gold Official,也在其Youtube影片中提到,สนามโชว์ของ คือ การจับมือร่วมกันระหว่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กับศิลปินอิสระ และ ค่ายเพลงทั่วประเทศ เพื่อทำการเผยแพร่ชิ้นงานเพลง มิวสิควีดีโอ ให้รู้จักมา...
ศักดิ์ศรี คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
บทสัมภาษณ์ กล้า สมุทวณิช ในงานวิจัยเรื่อง “ปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : กรณีศึกษาพระราชกฤษฎีกา”
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมถาษณ์เชิงเจาะลึกนักวิชาการที่มีผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องงานวิจัย คือ กล้า สมุทวณิช นักวิชาการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ผมชื่นชมทางคามคิดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญอันแหลมคน นอกจาก อาจารย์ ศาสตราจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในงานวิจัยเรื่อง “ปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : กรณีศึกษาพระราชกฤษฎีกา” นี้ ผมได้ตั้งประเด็นคำถามอยู่ 5 ประเด็นดังนี้
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 1
ผู้วิจัย : ท่านมีความเห็นอย่างไรกับการให้คำนิยามความหมายของพระราชกฤษฎีกามีฐานะเป็น “กฎ” ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
กล้า สมุทวณิช : ผมคิดว่า ปัญหาในการบัญญัตินิยามของคำว่า “กฎ” ตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ ที่บัญญัติไว้ตรงกันนั้นออกจะมีปัญหาที่วิธีการเขียน ความเห็นนี้ตรงกับที่ ศ.ดร. บรรเจิด สิงคะเนติ ได้กล่าวไว้เช่นกัน
บทบัญญัติดังกล่าวมีข้อความว่า “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
ปัญหาอยู่ที่ ส่วนของประโยคที่ว่า “...ที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ” นั้น ขยายความคำว่าอะไรบ้าง ซึ่งจะส่งผลทางกฎหมายที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าประโยคดังกล่าว ขยายความถึงตั้งแต่คำว่า “พระราชกฤษฎีกา...” มาถึงคำว่า “บทบัญญัติอื่น...” นั้น ก็จะแปลว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ นั้น ไม่ได้มีสถานะเป็นกฎได้เพียงเพราะมันมีชื่อเรียกเช่นนั้น แต่จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของการที่เป็น บทบัญญัติซึ่งมีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ ด้วย จึงจะถือว่ามีสถานะเป็นกฎ
แต่ถ้าประโยคข้างต้นนั้น ขยายความเฉพาะคำว่า “บทบัญญัติอื่น” เท่านั้น ก็หมายความว่า บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงทั้งหลายนั้น ถือเป็น “กฎ” โดยผลของกฎหมาย ไม่ว่าจะมีเนื้อหาอย่างไรก็ตาม ซึ่งกรณีหลังผมคิดว่าเป็นปัญหา จริงอยู่ว่า ไม่มีใครอุตริออกคำสั่งทางปกครองหรือเขียนอะไรก็ไม่ทราบตามอำเภอใจแล้วเรียกว่ากฎกระทรวง แต่ในกรณีของพระราชกฤษฎีกานั้น มีหลายกรณีที่พระราชกฤษฎีกาเป็นเพียง “แบบพิธี” ตามกฎหมาย เพื่อดำเนินการเตรียมการดำเนินกระบวนการทางปกครอง หรือเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่ไม่ได้มีผลมุ่งหมายจะใช้บังคับเป็นการทั่วไป เช่น กรณีของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเวนคืนก่อนออกพระราชบัญญัติเวนคืน ซึ่งผมมองว่านี่ไม่ใช่กฎ เพราะเป็นการตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นมาใช้เฉพาะกิจในบางกรณีเท่านั้น
ซึ่งเรื่องนี้ แนวของศาลปกครองสูงสุดเท่าที่ศึกษามีว่า แม้บทบัญญัติเหล่านั้นจะถือว่าเป็น “กฎ” แต่ก็ไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครอง จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (ในกรณีของ พรฏ. ยุบสภา)
ท่านอาจารย์บรรเจิด เคยบอกว่า เพื่อไม่ให้กำกวม เนื่องจากภาษาไทยไม่มีการผันเพศและพจน์ของคำขายตามประธานเหมือนภาษายุโรป นิยามคำว่า “กฎ” จึงควรเขียนแบบนี้
“กฎ” หมายความว่า บทบัญญัติที่กำหนดหรือประกาศขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้น
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 2
ผู้วิจัย : ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ให้พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีฐานะเป็น “กฎหมาย”
กล้า สมุทวณิช : คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึงได้แก่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2557 โดยศาลให้เหตุผลว่า “...ถึงแม้พระราชกฤษฎีกาจะเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ แต่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มิใช่พระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติซึ่งอยู่ในอำนาจตรวจสอบของศาลปกครอง หากแต่เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญและด้วยเหตุที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เป็นกฎหมายเฉพาะที่มีลักษณะพิเศษซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง อันเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติในหมวด 6 ว่าด้วยรัฐสภา และเป็นส่วนที่สำคัญของบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ที่ผู้ร้องอาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้..”
ผมจะวิพากษ์วิจารณ์การให้เหตุผลในคำวินิจฉัยนี้โดยสุจริตและมิได้ใช้ถ้อยคำหรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ดังต่อไปนี้
เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ไว้ในคำวินิจฉัยนี้ เป็นไปเพื่อพยายามอธิบายว่า กรณีนี้แตกต่างจากแนวทางก่อนหน้านี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยวางหลักไว้ในคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ว่า “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” นั้น จะต้องเป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจอื่นอันเทียบเท่าหรือสูงกว่าอำนาจนิติบัญญัตินั้น แต่เนื่องจากกรณีนี้เป็นการออก “พระราชกฤษฎีกา” ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่อาจเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามแนวบรรทัดฐานก่อนหน้าได้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงให้เหตุผลว่า เนื่องจากพระราชกฤษฎีกานี้ ไม่ได้เป็นพระกฤษฎีกาที่ออกโดยฝ่ายปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจของฝ่ายปกครอง และเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงต้องอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
การให้เหตุผลนี้อาจจะฟังดูสอดคล้องในทางตรรกะ แต่ก็ขัดต่อหลักวิชาการในเรื่องของการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อหลักการอันเป็นเจตนารมณ์ของกระบวนการที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องจากผู้ตรวจการแผ่นดินได้ ดังนี้
หลักวิชาการเรื่องการแบ่งแยกอำนาจนั้น ยอมรับว่ามี “อำนาจทางการเมือง” บางประการ ที่อยู่เหนือการตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ แต่เป็นอำนาจของฝ่ายรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีจะต้องตรวจสอบถ่วงดุลยซึ่งกันและกันเอง ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ ก็จะต้องเป็นประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประเทศที่จะต้องเป็นผู้ตัดสิน ผ่านกระบวนการเลือกตั้งหรือประชามติ การใช้อำนาจทางการเมืองในลักษณะนี้ ก็เช่นการกำหนดนโยบายในการบริการประเทศ ที่จะต้องมีการแถลงต่อรัฐสภา การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีหรือรัฐบาลทั้งคณะ และการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
พระราชกฤษฎีกายุบสภาเป็นเพียง “แบบพิธี” ของการใช้อำนาจดังกล่าว จึงไม่ใช่กฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยได้ เพราะหาไม่แล้วเท่ากับว่า องค์กรตุลาการจะเข้าไปแทรกแซงการใช้อำนาจตรวจสอบทางการเมืองระหว่างรัฐสภาและรัฐบาล
หลักการอันเป็นเจตนารมณ์ของกระบวนการที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องจากผู้ตรวจการแผ่นดิน นั้น จะต้องย้อนไปทำความเข้าใจถึงเจตนารมณ์เบื้องต้นของการมีผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ Ombudsman เป็นกลไกการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย เพื่อพิจารณาตรวจสอบหรือการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของฝ่ายที่เป็นกลางจากรัฐบาลคือสภานิติบัญญัติซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน และก่อตั้งเป็นองค์กรของฝ่ายรัฐสภาที่เดิมในภาษาไทยเราเคยเรียกว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” และต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อจาก “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” เป็น “ผู้ตรวจการแผ่นดิน”
ดังนั้น การทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงต้องเป็นไปเฉพาะในกรณีการตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ มิใช่กลไกทางการเมือง ที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินในการฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ ก็เนื่องมาจากการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพในหลายกรณีนั้น เป็นเพราะมีกฎหมายหรือกฎระเบียบให้อำนาจไว้ เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงใช้อำนาจไปตามนั้น และเป็นการใช้อำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ดังนั้นผู้ตรวจการแผ่นดินจึงควรมีอำนาจโต้แย้งได้ว่า ตัวแม่บทที่ให้อำนาจเช่นนั้นมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ที่จะอยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น นอกจากจะมีชื่อเรียกแบบกฎหมาย (พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ฯลฯ) แล้ว ยังจะต้องมีลักษณะเป็น “กฎหมายโดยแท้” ด้วย
กฎหมายโดยแท้คืออะไร ขอให้พิจารณาจากนิยามของรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 “การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย” และวรรคสอง “กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง”
“กฎหมาย” ที่จะถือเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับพิจารณาจากกรณีของผู้ตรวจการแผ่นดินได้ จึงต้องมีลักษณะเป็นบทบัญญัติที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ผมจึงไม่อาจเห็นด้วยกับแนวทางการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 3
ผู้วิจัย : ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำพิพากษาของศาลปกครองให้พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษมีฐานะเป็น “กฎ”
กล้า สมุทวณิช : ข้อนี้ใคร่ขออนุญาตตอบสั้น ๆ ว่า ตามที่ผมมีความเห็นว่า “กฎ” ที่ถือเป็นผลิตผลของการใช้อำนาจทางปกครองรูปแบบหนึ่ง และอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองนั้น จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) บทบัญญัติที่กำหนดหรือประกาศขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
(2) มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษนั้น ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเข้าเงื่อนไขข้อที่ (1) และเนื้อหาของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก็มีลักษณะเป็นการกำหนดเงื่อนไขของบุคคลที่เข้าข่ายว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ได้ปล่อยตัว ได้ลดโทษ หรือได้พักโทษ โดยไม่ได้กำหนดว่าเป็นบุคคลใดหรือคดีใดเป็นการเฉพาะ (การกำหนดเงื่อนไขบางฐานความผิดว่าจะได้รับผลของการลดโทษนี้แตกต่างกันนั้น เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่กว้างพอที่จะไม่จำเพาะเจาะจง) และใช้บังคับกับผู้ต้องขังหรือผู้ได้รับโทษทางอาญาทุกคนที่เข้ากรณีในวันที่ประกาศพระราชกฤษฎีกา เช่นนี้ผมจึงถือว่า เป็นลักษณะของกฎที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป ตามเงื่อนไขข้อที่ (2) ผมจึงเห็นด้วยกับแนวคำพิพากษาของศาลปกครองดังกล่าว
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 4
ผู้วิจัย : ท่านมีความเห็นอย่างไรกับพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ตามมาตรา 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
กล้า สมุทวณิช : เรื่องของ “ราชการในพระองค์” นี้คงจะถือเป็นลักษณะพิเศษของประเทศไทย ซึ่งคงจะไม่มีกรณีไหนที่เทียบเคียงได้ ตามหลักการปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้อำนาจในทางใดด้วยพระองค์เอง แม้แต่กิจการภายในของหน่วยราชการที่รับใช้สนองพระเดชพระคุณ ก็จะถือเป็นหน่วยราชการ และเป็นหน่วยงานทางปกครองรูปแบบหนึ่ง การใช้อำนาจบริหารงานบุคคลภายในสำนักพระราชวัง (ของประเทศอื่น) ก็จะถือเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือในกรณีของประเทศที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจปกครองหรืออำนาจอื่น ๆ ในการบริหารประเทศด้วย การออกคำสั่งของพระมหากษัตริย์ในกรณีดังกล่าวก็จะเป็นคำสั่งทางปกครอง ในฐานะที่พระองค์เป็นฝ่ายปกครอง
แต่เนื่องจากความพิเศษเฉพาะตัวของไทย และกฎหมายอื่น ๆ ทำให้พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจในการจัดการ บริหาร “ราชการในพระองค์” ได้ด้วยพระองค์เอง พระราชกฤษฎีกานี้จึงไม่อาจที่จะอธิบายสถานะได้ในทางวิชาการในกรอบคิดสากล นั่นเพราะการออกพระราชกฤษฎีกานี้ มิใช่การออกคำสั่งทางปกครองหรือออกกฎ เพราะพระมหากษัตริย์ในระบบกฎหมายไทยนั้นมิใช่ฝ่ายปกครอง แต่คำสั่งนี้ก็มีผลในทางกฎหมาย ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
ก็เป็นประเด็นที่เราจะต้องหาคำอธิบายกันในทางวิชาการต่อไป
ประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 5
ผู้วิจัย : ท่านมีความเห็นและแนวทางแก้ไขอย่างไรในประเด็นปัญหาสถานะ
และลำดับชั้นทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญอยู่ในลำดับชั้นทางกฎหมายใดระหว่าง “ระดับกฎหมายกฎหมาย” กับ “กฎหมายลำดับรอง” หรือ “กฎ”
กล้า สมุทวณิช : ผมเห็นว่า คำว่า “พระราชกฤษฎีกา” ในระบบกฎหมายไทยนั้นมีความเลื่อนไหลมากจนเกินไป คำว่า “พระราชกฤษฎีกา” นั้นเป็นไปได้ตั้งแต่
(1) พระราชกฤษฎีกาที่เป็นการใช้อำนาจในราชการส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ตามมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญ
(2) พระราชกฤษฎีกาที่เป็นการใช้อำนาจทางรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภา เปิดประชุมสภา ปิดประชุมสภา
(3) พระราชกฤษฎีกาที่เป็นคำสั่งทางปกครองหรือการเตรียมคำสั่งหรือการดำเนินการทางปกครอง เช่นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เวนคืน ตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ฯ มาตรา 5 วรรคสี่ และมาตรา 6
(4) พระราชกฤษฎีกาที่เป็นกฎหมายลำดับรอง ที่ตราขึ้นมาเพื่อขยายความกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ เช่นพระราชกฤษฎีกาออกตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ
ถ้าผมจะให้คำแนะนำใด ๆ ได้นั้น ผมขอแนะนำให้ “สงวน” คำว่า “พระราชกฤษฎีกา” ไว้ใช้เฉพาะในกรณีตามข้อ (1) และ (2) เท่านั้น เพื่อความชัดเจนว่า พระราชกฤษฎีกานั้นเป็นการใช้อำนาจระดับสูงกว่าอำนาจทางปกครอง (หรือไม่ใช่อำนาจทางปกครอง) ที่ศาลปกครองจะตรวจสอบได้ ส่วนกรณีพระราชกฤษฎีกาตามข้อ (3) และ (4) นั้น ผมเห็นว่า ควรหาชื่อเรียกอย่างอื่นแทน ซึ่งอันนี้ผมก็เข้าใจได้ว่า เป็นเพราะ “กฎ” ในทางปกครองก็มี “ระดับ” ของมัน ที่อาจจะไม่ใช่ลำดับศักดิ์ในทางกฎหมาย แต่อาจจะเรียกว่า “ระดับศักดิ์ศรีของกฎหมาย” ก็ได้ นั่นคือ คนออกกฎพวกนี้ได้ มีตั้งแต่ระดับอธิบดี ปลัดกระทรวง ไปจนถึงรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
เช่นนี้ ในทางจารีตประเพณีทางกฎหมายไทย เราจึงมักจะกำหนดให้ “กฎ” ที่ขยายความให้รายละเอียดกฎหมายโดยตรง หรือ “กฎ” ที่มี “ศักดิ์ศรี” สูง จะเรียกว่า “พระราชกฤษฎีกา”
แต่เช่นนี้ ก็เป็นสาเหตุให้สถานะและความหมายของคำว่า “พระราชกฤษฎีกา” เลื่อนไหลตามไปด้วย
ผมจึงขอเสนอแบบนอกกรอบแหวกแนวว่า เรา (หมายถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบกฎหมาย) อาจหาพิจารณาหาชื่อใหม่ให้ กฎหมายลำดับรองระดับเดียวกับพระราชกฤษฎีกาตามความหมายที่ (3) และ (4) ใหม่ อาจจะกำหนดให้เป็น “พระราชญัตติ” “พระอนุราชบัญญัติ” อะไรแบบนี้ก็ได้
ศักดิ์ศรี คือ 在 Danai Chanchaochai Facebook 的最佳貼文
🔅ข้าวปลาอาหาร หล่อเลี้ยง เพียงแค่กาย
สิ่งที่หล่อเลี้ยง จิตใจ คือ ธรรม 🔅
▪ชีวิตเราทุกคนล้วนต้องการความสุข
ดิ้นรนตะเกียกตะกาย คาดหมายว่าจะมีความสุข
นั่นเป็นการแสวงหา เพื่อ "ร่างกาย"
โดยลืมจิตใจไปเสียสิ้น
พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า
' ภารา หะเว ปัญจักขันธา
ขันธ์ทั้งห้า คือ กองทุกข์
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล ภาราทานัง ทุกขัง โลเก
ร่างกายนั้นแหละ เป็นการแบกของหนัก
ที่เป็นทุกข์ ที่สุดในโลก '
เราได้ร่างกายนี้มาตั้งแต่เกิด ก็ล้วนเป็นการได้มาซึ่งกองทุกข์อยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้
แล้วเราจะหาสุข มาให้กองทุกข์ได้อย่างไร
แต่เราสามารถนำกองทุกข์นี้ มาสร้างสุขได้
ด้วยการนำร่างกาย มาเป็นเครื่องมือในการประพฤติปฏิบัติธรรม ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะนำความสุขมาให้เรา ได้อย่างแท้จริง
พระพุทธเจ้า ไม่ได้แสวงหาธรรมจากที่ไหน พระองค์..นำลมหายใจ เข้า-ออก ที่มีอยู่แล้วในร่างกาย (อานาปานสติ) มาพัฒนาจิตใจ
▪ในเบื้องต้น คือ การมีขอบเขต อดทนต่ออำนาจของกิเลสตัณหา ที่เราเรียกกันว่า ' ศี ล '
ความโลภ โกรธ หลง ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
คือ กิเลส ที่พร้อมแสดงตนอยู่ตลอดเวลา
เราจึงต้องมี ศีล เป็นขอบเขตกั้นกิเลส เหล่านั้น
° ศีลข้อ 1 : คือการไม่ปล่อยให้ 'ความโกรธ'
ล้นขอบเขตออกมาทางกาย ด้วยการฆ่า
ทางวาจา - ใจ ด้วยการเบียดเบียนกัน
เป็นหลักประกันความสงบ
° ศีลข้อ 2 : ไม่ปล่อยให้ 'ความโลภ'
ล้นขอบเขตออกมาทางกาย ด้วยการลักขโมย
ทางใจ ด้วยการคิดคดโกง
เพียงแค่เราเริ่มคิด จิตก็เศร้าหมองแล้ว
ถ้าเราอดกลั้นได้ จะมีแต่ความสบายกาย สบายใจ กาย - ใจ จะเป็นมงคล
° ศีลข้อ 3 : การมีครอบครัว เราย่อมปรารถนาความสุข ความอบอุ่น
สามี-ภรรยา ต้องมีขอบเขตของ 'ราคะ' อยู่เพียงแค่คู่ครองของตนเท่านั้น ก็จะเกิดความสมัครสมานสามัคคี ครอบครัวมีความอบอุ่น
หากเราปล่อยให้ราคะล้นขอบเขต
ครอบครัวย่อมหวาดระแวงแตกแยกพังทลาย
เปรียบเสมือนต้นไม้ที่มีกาฝากมาเกาะ ต่อให้เรารดน้ำดูแลดีเพียงใด ก็ไม่เจริญงอกงาม
เหี่ยวเฉาไปในที่สุด
ศีลข้อ 3 จึงเป็นหลักประกันของครอบครัว
° ศีลข้อ 4 : ต้องควบคุมให้คำพูด อยู่ในขอบเขตของความสัตย์ความจริง มีเหตุมีผล เป็นปิยะวาจา เมื่อเราทำได้ คำพูดของเราจะหนักแน่น มั่นคง น่าเชื่อถือ ศีลข้อ 4 จึงเป็นหลักประกันในเกียรติยศ ศักดิ์ศรี
° ศีลข้อ 5 : การขาดสติ เปรียบเสมือนบ้านไร้หลังคา ฝนตกแดดออกลงมา ภายในบ้านย่อมสกปรกเลอะเทอะ คนก็เช่นกัน ถ้าขาดสติแล้ว ย่อมหาคุณค่ามิได้
▪โดยสรุปแล้ว ' ศี ล ' จึงเป็นหลักประกันความเป็นอยู่ของปุถุชน ให้มีความสุขตามอัตภาพ
เสมือน ' ไฟในเตา ' ที่มีขอบเขต คือ เตา
เราสามารถนำมาใช้หุงต้ม หาประโยชน์ได้
กิเลส ที่มีขอบเขต..สร้างประโยชน์ให้ปุถุชนได้ กิเลส ที่ไม่มีขอบเขต..คงไม่ต่างอะไรกับ
' ไฟนอกเตา ' ที่รังแต่จะแผดเผา
ทั้งตัวเราและผู้อื่น
ศีล เปรียบเสมือน ' ดอกไม้ในแจกัน '
มีแจกันเป็นขอบเขต ไม่ว่าดอกไม้นั้น
จะมาจากที่ไหน ก็สวยสดงดงามเสมอกัน
มนุษย์ ไม่ว่าชนชั้นวรรณะใด ชาติใด
เมื่อมีศีลแล้ว ย่อมอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
▪ร่างกาย ล้วนเป็นสมบัติของโลก เรามาเกี่ยวข้องเพียงชั่วคราว วันหนึ่งย่อมจากไปเป็นธรรมดา
จงอย่าประมาท จงอาศัยร่างกายที่เป็นสมบัติของโลก มาเป็นเครื่องมือในการประพฤติปฏิบัติธรรม
พระพุทธองค์ ทรงเมตตาเตือนพวกเราไว้
'อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระนัง สุเว
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา'
เพราะความตาย..ไม่มีเครื่องหมายบอกเหตุ
ความเพียร..จึงเป็นกิจที่ต้องทำในปัจจุบันวันนี้
ในวันที่ พญามัจจุราช ยังไม่มาเยือน
▪ชีวิตทุกวันนี้ เราเพิ่มพูนแต่ความสุขทางโลก ความสุขในกามคุณ ที่ล้วนแปรเปลี่ยนไป
เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
แต่เมื่อเรามาภาวนา เราจะพบกับความสุขทางจิตใจ ที่ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหา
นัตถิ สันติ ปรมัง สุขขัง
ความสุขอื่น เสมอด้วย ความสงบ ..ไม่มี
▪ร่างกายนี้ ไม่มีส่วนใด ที่เป็นของเรา
เราเป็นแค่ผู้อาศัย เพียงชั่วคราว
ร่างกาย ก็เปรียบเสมือน บ้าน
เ ร า - ไ ม่ ใ ช่ - บ้ า น
แต่เราอาศัยร่างกายนี้ สร้างอริยทรัพย์ได้
ไม่มีสิ่งใด เป็นภาชนะรองรับ ทรัพย์อันประเสริฐได้ นอกจากจิตใจของเรา ดวงนี้ เท่านั้น
เงินทอง ทรัพย์นอกกาย มิอาจคงอยู่กับเราได้
แต่อริยทรัพย์ภายใน จะอยู่คู่กับดวงจิตดวงใจของเราตลอดไป
" บุ ญ " คือ อริยทรัพย์ภายใน ที่แท้จริง
บุญ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราเอาร่างกายที่อาศัยอยู่ชั่วคราวนี้ มาสร้างคุณงามความดี
ให้บังเกิดขึ้น กับตัวเรา และผู้อื่น
ทั้งขณะปัจจุบัน และอนาคต
คิดดี พูดดี ทำดี นี้แหละคือ " บุ ญ "
เป็น ปุพเพ กตปุญญตา
จงสั่งสมบุญไว้ ให้อยู่ในจิตใจของเรา
ท่านทั้งหลาย ..
ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่มาหล่อเลี้ยงร่างกายแล้ว
อย่าลืมแสวงหา สิ่งที่มาหล่อเลี้ยงจิตใจ
ด้วยการรักษาศีล สมาธิ อบรมภาวนา
ให้เกิดปัญญา แล้วชีวิตของเรา จะประสบแต่ความสุข ความเจริญ อย่างแท้จริง 🙏
========================
ส่วนหนึ่งจากการเมตตาแสดงธรรมโดย
พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
เจ้าอาวาส วัดป่าหนองไผ่ จ.สกลนคร
========================
งานตักบาตร เติมบุญ ครั้งที่ 27
ณ สถาบันสอนเต้นวิถีพุทธ The MIND
ศูนย์การค้าเดอะซีน ทาวน์อินทาวน์
วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม 2561
จัดโดย มูลนิธิธรรมดี
(โดยคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย)
@Danai
และสถาบันสอนเต้น วิถีพุทธ The MIND @supermove
หากมีสิ่งหนึ่งประการใด ที่ลูกประมาทพลาดพลั้งในการสรุปสาระธรรมในครั้งนี้
ลูกกราบขอขมา กราบขออโหสิกรรม
ต่อองค์หลวงปู่ มา ณ ที่นี้ 🙏
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
🙏🙏🙏
ศักดิ์ศรี คือ 在 Grammy Gold Official Youtube 的最讚貼文
สนามโชว์ของ คือ การจับมือร่วมกันระหว่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กับศิลปินอิสระ และ ค่ายเพลงทั่วประเทศ เพื่อทำการเผยแพร่ชิ้นงานเพลง มิวสิควีดีโอ ให้รู้จักมากยิ่งขึ้น
เพลง : หมอนใบเก่า
ศิลปิน : อี๊ด ศุภกร
อัลบั้ม : หมอนใบเก่า - Single
Digital : *123 1042888 3
KKBOX : http://kkbox.fm/Kc9cCC
iTunes : https://itun.es/th/gxysab
คุณจะไม่พลาดการติดตาม Music Video ใหม่ๆ และกิจกรรมความเคลื่อนไหวจาก แกรมมี่ โกลด์ ได้ก่อนใคร ที่ YouTube Channel ของ GMM GRAMMY GOLD กดเลย!!!
ติดต่องานแสดงศิลปิน แกรมมี่ โกลด์ โทร.0-2669-9966
ติดตามอัพเดทผลงานศิลปินค่ายแกรมมี่ โกลด์ ได้ที่
https://www.facebook.com/prgrammy.gold
https://www.facebook.com/GrammyGoldFAN
-----------------------------------------------------------------------------------
คำร้อง ศักดิ์ศรี พวงยอด
ทำนอง โอ๋ โก๋ดง
เรียบเรียง อัศวิน ประสาร
ที่ตรงนี้เคยมีสองเฮา
เคยเป็นเงาอยู่เคียงข้างกัน
เล่าความฝันให้กันฟัง
สร้างความหวังด้วยแรงใจ
สิก้าวไปด้วยกันเน๊าะสองเฮา
ในวันนี้ที่เดิมที่เก่า
บ่มีเจ้าคือจังวันนั้น
เหลือเพียงรูปถ่ายคู่เฮา
ที่เคยยืนเคียงข้างกัน
กับหมอนใบนั้น
ยังคงวางที่เดิมที่เก่า
หมอนใบเดิมใบเก่าใบนี้
อ้ายต้องขอโทษที
ที่มันมีฮอยน้ำตา
เพราะคำสั่งสวรรค์
หรือจังใด๋น้องจึงต้องจากลา
บ่กลับมานอนเล่า
ความฝันคือจังวันก่อน
หมอนใบเก่าที่เฮา
เคยนอนหนุนกัน
ตอนนี้มันกลายเป็น
หมอนไว้รองน้ำตา
ยามคิดฮอดอ้ายกอดหมอน
กอดคือจังกับว่ากอดน้อง
หล่าแล้วหลับฝันด้วยกันสองเฮา
หมอนใบเดิมใบเก่าใบนี้
อ้ายต้องขอโทษที
ที่มันมีฮอยน้ำตา
เพราะคำสั่งสวรรค์
หรือจังใด๋น้องจึงต้องจากลา
บ่กลับมานอนเล่า
ความฝันคือจังวันก่อน
หมอนใบเก่าที่เฮา
เคยนอนหนุนกัน
ตอนนี้มันกลายเป็น
หมอนไว้รองน้ำตา
ยามคิดฮอดอ้ายกอดหมอน
กอดคือจังกับว่ากอดน้อง
หล่าแล้วหลับฝันด้วยกันสองเฮา
โอบกอดความฝัน
ว่าเฮาฮักกันชั่วนิรันดร
ศักดิ์ศรี คือ 在 Grammy Gold Official Youtube 的最佳解答
สนามโชว์ของ คือ การจับมือร่วมกันระหว่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กับศิลปินอิสระ และ ค่ายเพลงทั่วประเทศ เพื่อทำการเผยแพร่ชิ้นงานเพลง มิวสิควีดีโอ ให้รู้จักมากยิ่งขึ้น
เพลง : หมอนใบเก่า
ศิลปิน : อี๊ด ศุภกร
อัลบั้ม : หมอนใบเก่า - Single
Digital : *123 1042888 3
KKBOX : http://kkbox.fm/Kc9cCC
iTunes : https://itun.es/th/gxysab
คุณจะไม่พลาดการติดตาม Music Video ใหม่ๆ และกิจกรรมความเคลื่อนไหวจาก แกรมมี่ โกลด์ ได้ก่อนใคร ที่ YouTube Channel ของ GMM GRAMMY GOLD กดเลย!!!
ติดต่องานแสดงศิลปิน แกรมมี่ โกลด์ โทร.0-2669-9966
ติดตามอัพเดทผลงานศิลปินค่ายแกรมมี่ โกลด์ ได้ที่
https://www.facebook.com/prgrammy.gold
https://www.facebook.com/GrammyGoldFAN
-----------------------------------------------------------------------------------
คำร้อง ศักดิ์ศรี พวงยอด
ทำนอง โอ๋ โก๋ดง
เรียบเรียง อัศวิน ประสาร
ที่ตรงนี้เคยมีสองเฮา
เคยเป็นเงาอยู่เคียงข้างกัน
เล่าความฝันให้กันฟัง
สร้างความหวังด้วยแรงใจ
สิก้าวไปด้วยกันเน๊าะสองเฮา
ในวันนี้ที่เดิมที่เก่า
บ่มีเจ้าคือจังวันนั้น
เหลือเพียงรูปถ่ายคู่เฮา
ที่เคยยืนเคียงข้างกัน
กับหมอนใบนั้น
ยังคงวางที่เดิมที่เก่า
หมอนใบเดิมใบเก่าใบนี้
อ้ายต้องขอโทษที
ที่มันมีฮอยน้ำตา
เพราะคำสั่งสวรรค์
หรือจังใด๋น้องจึงต้องจากลา
บ่กลับมานอนเล่า
ความฝันคือจังวันก่อน
หมอนใบเก่าที่เฮา
เคยนอนหนุนกัน
ตอนนี้มันกลายเป็น
หมอนไว้รองน้ำตา
ยามคิดฮอดอ้ายกอดหมอน
กอดคือจังกับว่ากอดน้อง
หล่าแล้วหลับฝันด้วยกันสองเฮา
หมอนใบเดิมใบเก่าใบนี้
อ้ายต้องขอโทษที
ที่มันมีฮอยน้ำตา
เพราะคำสั่งสวรรค์
หรือจังใด๋น้องจึงต้องจากลา
บ่กลับมานอนเล่า
ความฝันคือจังวันก่อน
หมอนใบเก่าที่เฮา
เคยนอนหนุนกัน
ตอนนี้มันกลายเป็น
หมอนไว้รองน้ำตา
ยามคิดฮอดอ้ายกอดหมอน
กอดคือจังกับว่ากอดน้อง
หล่าแล้วหลับฝันด้วยกันสองเฮา
โอบกอดความฝัน
ว่าเฮาฮักกันชั่วนิรันดร