“หลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ในที่นี้ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คือ วิ.ปกครอง
ในการพิจารณาทางปกครองที่จะออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกพหนด (มีวิธีพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนด)
คำสั่งทางปกครองบางกรณีจะมีขั้นตอนสั้น เพราะต้องการความฉับไว แต่คำสั่งทางปกครองบางกรณีจะมีขั้นตอนในรายละเอียดมากโดยขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีพิจารณาที่กำหนดขึ้นเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิของเอกชนให้ได้รับการพิจารณาโดยถี่ถ้วนและ รักษาประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการควบคู่กันไปด้วย คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำหรือออกโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น (competance) หากผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่กระทำก็จะเกิดความไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย (มาตรา 12 วิ.ปกครอง)
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ หมายถึง ผู้มีหน้าที่ (authority) คือ
(1) บุคคลธรรมดา เช่น ข้าราชการ พนักงานของรัฐ
(2)คณะบุคคล คือ คณะกรรมการต่างๆ เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัย
(3) นิติบุคคล คือ หน่วยงานทางปกครอง
โดยทั่วไป เจ้าหน้าที่จะเป็นหน่วยงานปกครอง แต่ในบางกรณีที่รัฐมอบอำนาจให้เอกชนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐ ในกรณีนั้น เอกชนก็จะเป็น “เจ้าหน้าที่” ในการนั้น เช่น รัฐมอบหมายให้เอกชนใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น องค์กรวิชาชีพต่างๆ อาทิเช่น สภาทนาย แพทยสภา สภาการบัญชี เป็นต้น
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้อง มีความเป็นกลาง (impartiality) ต่อทุกฝ่าย เพื่อเป็นหลักในการประกันความเป็นธรรมในกระบวนการ พิจารณาทางปกครอง โดยความไม่เป็นกลางแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1.ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก กรณีตามมาตรา 13 วิ. ปกครอง ประกอบด้วย
1) เจ้าหน้าที่เป็นคู่กรณีเอง คือเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน ซึ่งถือเป็นการร้ายแรงที่สุด เช่น การที่เจ้าหน้าที่ขอทุนวิจัย แต่ในขณะเดียวกันเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาทุนวิจัยนั้นๆ เป็นต้น
2) เจ้าหน้าที่เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี เพราะการร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันหรือจะ ร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน อาจทำให้เกิดความลำเอียงได้ง่าย
3) เจ้าหน้าที่เป็นญาติของคู่กรณี ความเป็นญาติกันก็มักจะทำให้เกิดความลาเอียง โดยให้ จากัดแค่ขอบเขตของ “ญาติสนิท” แต่เพื่อความชัดเจนกฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นประเภทไว้ ดังนี้
(1)บุพการี คือผู้สืบสายโลหิตสายตรงขึ้นไปไม่ว่าจะกี่ชั้น นับตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทวด ซึ่งการนับตามหลักบุพการีนี้ไม่คำถึงการสมรสว่าจะชอบหรือไม่
(2) ผู้สืบสันดาน คือผู้สืบสายโลหิตสายตรงลงมาไม่ว่าจะกี่ชั้น นับแต่ลูกหลาน เหลน ลื่อ ซึ่งการนับตามหลักผู้สืบสันดานจะนับทั้งหมดไม่ว่าจะกาเนิดโดยการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(3)ญาติพี่น้อง นับได้ภายใน 3 ชั้น พี่น้อง คือ ผู้เกิดในครอบครัวจากพ่อแม่เดียวกัน ไม่ว่า พ่อแม่จะสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(4)ลูกพี่ลูกน้องนับได้ภายใน 3 ชั้น คือ ลูกของผู้เป็นพี่หรือเป็นน้องของพ่อหรือแม่ ได้แก่ ลูกของ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งนับตามข้อเท็จจริง
(5)ญาติเกี่ยวพันกันทางแต่งงาน นับได้ภายใน 2 ชั้น
4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้แทน หรือตัวแทนของคู่กรณี ทั้งนี้ เพราะเคยทำงานรักษาผลประโยชน์ให้กันมาก่อน ซึ่งย่อมมีความใกล้ชิดและอาจลำเอียง
5) เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือนายจ้างของคู่กรณี เพราะมีประโยชน์ที่จะเรียกร้องหรือจะต้อง ให้แก่กันอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางใจ อาจไม่ประสงค์จะกระทำการใดเพื่อให้อีกฝ่ายขุ่นเคือง หรือ เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์จากมูลหนี้ หรือเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งพอใจเพื่อที่ตนจะได้รับการผ่อนปรนการชำระหนี้
6) กรณีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อมีกรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก (มาตรา 14 วิ.ปกครอง)
(1)กรณีเจ้าหน้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ว่าโดยฐานะของตนเอง หรือในฐานะที่ตนเอง เป็นผู้กระทำการแทนหน่วยงานทางปกครองก็ตาม ทันทีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นตระหนักเองว่าตนมีลักษณะต้องห้าม ดังกล่าวหรือมีผู้คัดค้านว่าตนเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามเช่นว่านั้น เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องหยุดการพิจารณาในทันที และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีคำสั่งว่ากรณีดังกล่าว เป็นจริงหรือไม่ และสมควรดำเนินการอย่างไร
ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวให้รวมถึงผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มี อำนาจกำกับดูแลสาหรับกรณีของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาโดยตรง และนายกรัฐมนตรีสำหรับ กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นรัฐมนตรี ผู้ใดไม่พอใจผลการพิจารณาคาคัดค้านของผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปมีสิทธิ ที่จะอุทธรณ์ตามมาตรา 44 วิ.ปกครอง ได้อีกชั้นหนึ่ง
ส่วนกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ก็ต้องโต้แย้งต่อองค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง กล่าว ในอดีตก่อนมีศาลปกครอง องค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง คือ กฤษฎีกา แต่ปัจจุบันมีศาลปกครอง ให้โต้แย้งต่อศาลปกครอง
(2) กรณีเจ้าหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ในกรณีที่กรรมการคนใดตระหนักว่าตนมี กรณีตามมาตรา 13 วิ.ปกครอง หรือมีผู้กล่าวหาตนเช่นนั้น กรรมการท่านนั้นควรแจ้งเรื่องให้ประธานกรรมการทราบ โดย ประธานกรรมการจะต้องเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคำคัดค้านนั้น ในการประชุมนี้กรรมการ ผู้ถูกคัดค้านจะอยู่ร่วมพิจารณาไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตนโดยแท้ แต่อาจอยู่ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือตอบ ข้อซักถามได้ หลังจากนั้นต้องออกจากห้องประชุมไป (มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วิ.ปกครอง) ในการพิจารณา ออกเสียงกรรมการผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากที่ประชุม และให้ถือว่าคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย กรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้านเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่ององค์ประชุม แต่ในกรณีที่ถูกคัดค้านหลายคนโดยเหตุ แยกจากกัน ก็ให้ออกจากห้องประชุมเฉพาะในขณะพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นของตนเท่านั้น
(3)หลายคนโดยมูลกรณีเดียวกัน สมควรต้องพิจารณารวมกัน โดยผู้ถูกคัดค้านร่วมกัน ดังกล่าวทุกคนต้องออกจากห้องประชุม เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย อันอาจทำให้ผลการพิจารณาไม่เป็นกลาง การลงมติให้ทำเป็นการลับ แต่ให้ใช้มติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน มติของคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นที่สุด เพราะไม่มีขั้นตอนตามสายการบังคับบัญชาที่จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น
ผู้ใดไม่พอใจมติดังกล่าวก็อาจยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น
2 ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน (มาตรา 16 วิ. ปกครอง)
โดยสภาพ คือ ความไม่เป็นกลางตามความเป็นจริงนั่นเอง ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้ การพิจารณาทางปกครองไม่เป็น กลาง เช่น เคยโกรธแค้นอาฆาตกันมาก่อน หรือเป็นผู้มีทัศนะคติที่เป็นปฏิปักษ์ อย่างแข็งกร้าวกับเรื่องที่จะต้องพิจารณา หรือการมีผลประโยชน์ขัดกัน เป็นต้น
ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีกรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน จะเป็นทำนองเดียวกับ “ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก” คือ ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาหรือประธานกรรมการแล้วแต่กรณี
ผลการฝ่าฝืนหลักเรื่องความเป็นกลาง
ในกรณีที่การพิจารณาจัดทำคำสั่งทางปกครองยังไม่เสร็จสิ้น ผลความเป็นกลาง (ถ้าจะมีอยู่ จริง) จึงยังไม่มีผลกระทบต่อผู้ใด และถ้าได้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาออกไปแล้ว และเจ้าหน้าที่คน ใหม่หรือที่เหลืออยู่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นกลางแล้ว ก็สามารถดาเนินการเพื่อให้มีคาสั่งทางปกครองต่อไป ได้โดยไม่ต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาใหม่ แต่ถ้าในกรณีที่ความไม่เป็นกลางรุนแรงเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ จะดำเนินการกระบวนพิจารณาบางส่วนใหม่ก็ได้
อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางโดยไม่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ และ การพิจารณาได้ดำเนินการไปจนจบ และมีคำสั่งทางปกครองขึ้นแล้ว ผลการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางสามารถ แยกได้เป็น 2 กรณี คือ
1.กรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก (มาตรา 13 วิ.ปกครอง) ต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น
2.กรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากมีความไม่เป็นกลาง จริง และความไม่เป็นกลางนั้นมีผลโดยตรงให้เกิดคำสั่งทางปกครองในลักษณะที่เป็นการกล่าวหาหรือทางลบ คู่กรณีก็สามารถขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น ข้อยกเว้นบทบังคับเรื่องหลักความไม่เป็นกลาง (มาตรา 18 วิ.ปกครอง) มี 2 กรณีคือ
1) ในกรณีเร่งด่วน จะผัดผ่อนไปไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องมีคพสั่งทางปกครองเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของเอกชน ซึ่งหากปล่อยล่าช้าจะเกิดความเสียหายที่ไม่มีทางแก้ไขได้
2)ไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน
「วิ หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於วิ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於วิ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於วิ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於วิ หมายถึง 在 งานไม่ใหญ่แน่นะวิ คืออะไร มีที่มาจากไหน? วลีฮิตโซเชียลวันนี้ l ... 的評價
- 關於วิ หมายถึง 在 เทพ อัปสร หมาย ถึง-วิลเลียมฮิลล์ใกล้ฉัน 的評價
- 關於วิ หมายถึง 在 คำศัพท์วันนี้ขอเสน... - Kru Whan : English On Air - ครูพี่หวาน 的評價
วิ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
“หลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ในที่นี้ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คือ วิ.ปกครอง
ในการพิจารณาทางปกครองที่จะออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกพหนด (มีวิธีพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนด)
คำสั่งทางปกครองบางกรณีจะมีขั้นตอนสั้น เพราะต้องการความฉับไว แต่คำสั่งทางปกครองบางกรณีจะมีขั้นตอนในรายละเอียดมากโดยขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีพิจารณาที่กำหนดขึ้นเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิของเอกชนให้ได้รับการพิจารณาโดยถี่ถ้วนและ รักษาประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการควบคู่กันไปด้วย คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำหรือออกโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น (competance) หากผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่กระทำก็จะเกิดความไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 12 วิ.ปกครอง)
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ หมายถึง ผู้มีหน้าที่ (authority) คือ
(1) บุคคลธรรมดา เช่น ข้าราชการ พนักงานของรัฐ
(2)คณะบุคคล คือ คณะกรรมการต่างๆ เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัย
(3) นิติบุคคล คือ หน่วยงานทางปกครอง
โดยทั่วไป เจ้าหน้าที่จะเป็นหน่วยงานปกครอง แต่ในบางกรณีที่รัฐมอบอำนาจให้เอกชนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐ ในกรณีนั้น เอกชนก็จะเป็น “เจ้าหน้าที่” ในการนั้น เช่น รัฐมอบหมายให้เอกชนใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง เช่น องค์กรวิชาชีพต่างๆ อาทิเช่น สภาทนาย แพทยสภา สภาการบัญชี เป็นต้น
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้อง มีความเป็นกลาง (impartiality) ต่อทุกฝ่าย เพื่อเป็นหลักในการประกันความเป็นธรรมในกระบวนการ พิจารณาทางปกครอง โดยความไม่เป็นกลางแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1.ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก กรณีตามมาตรา 13 วิ. ปกครอง ประกอบด้วย
1) เจ้าหน้าที่เป็นคู่กรณีเอง คือเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน ซึ่งถือเป็นการร้ายแรงที่สุด เช่น การที่เจ้าหน้าที่ขอทุนวิจัย แต่ในขณะเดียวกันเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาทุนวิจัยนั้นๆ เป็นต้น
2) เจ้าหน้าที่เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี เพราะการร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันหรือจะ ร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน อาจทำให้เกิดความลำเอียงได้ง่าย
3) เจ้าหน้าที่เป็นญาติของคู่กรณี ความเป็นญาติกันก็มักจะทำให้เกิดความลาเอียง โดยให้ จากัดแค่ขอบเขตของ “ญาติสนิท” แต่เพื่อความชัดเจนกฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นประเภทไว้ ดังนี้
(1)บุพการี คือ ผู้สืบสายโลหิตสายตรงขึ้นไปไม่ว่าจะกี่ชั้น นับตั้งแต่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทวด ซึ่งการนับตามหลักบุพการีนี้ไม่คำถึงการสมรสว่าจะชอบหรือไม่
(2) ผู้สืบสันดาน คือ ผู้สืบสายโลหิตสายตรงลงมาไม่ว่าจะกี่ชั้น นับแต่ลูกหลาน เหลน ลื่อ ซึ่งการนับตามหลักผู้สืบสันดานจะนับทั้งหมดไม่ว่าจะกาเนิดโดยการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(3)ญาติพี่น้อง นับได้ภายใน 3 ชั้น พี่น้อง คือ ผู้เกิดในครอบครัวจากพ่อแม่เดียวกัน ไม่ว่า พ่อแม่จะสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(4)ลูกพี่ลูกน้องนับได้ภายใน 3 ชั้น คือ ลูกของผู้เป็นพี่หรือเป็นน้องของพ่อหรือแม่ ได้แก่ ลูกของ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งนับตามข้อเท็จจริง
(5)ญาติเกี่ยวพันกันทางแต่งงาน นับได้ภายใน 2 ชั้น
4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้แทน หรือตัวแทนของคู่กรณี ทั้งนี้ เพราะเคยทำงานรักษาผลประโยชน์ให้กันมาก่อน ซึ่งย่อมมีความใกล้ชิดและอาจลำเอียง
5) เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือนายจ้างของคู่กรณี เพราะมีประโยชน์ที่จะเรียกร้องหรือจะต้อง ให้แก่กันอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางใจ อาจไม่ประสงค์จะกระทำการใดเพื่อให้อีกฝ่ายขุ่นเคือง หรือ เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์จากมูลหนี้ หรือเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งพอใจเพื่อที่ตนจะได้รับการผ่อนปรนการชำระหนี้
6) กรณีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อมีกรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก (มาตรา 14 วิ.ปกครอง)
(1)กรณีเจ้าหน้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ว่าโดยฐานะของตนเอง หรือในฐานะที่ตนเอง เป็นผู้กระทำการแทนหน่วยงานทางปกครองก็ตาม ทันทีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นตระหนักเองว่าตนมีลักษณะต้องห้าม ดังกล่าวหรือมีผู้คัดค้านว่าตนเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามเช่นว่านั้น เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องหยุดการพิจารณาในทันที และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีคำสั่งว่ากรณีดังกล่าว เป็นจริงหรือไม่ และสมควรดำเนินการอย่างไร
ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวให้รวมถึงผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มี อำนาจกำกับดูแลสำหรับกรณีของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาโดยตรง และนายกรัฐมนตรีสำหรับ กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นรัฐมนตรี ผู้ใดไม่พอใจผลการพิจารณาคำคัดค้านของผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปมีสิทธิ ที่จะอุทธรณ์ตามมาตรา 44 วิ.ปกครอง ได้อีกชั้นหนึ่ง
ส่วนกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ก็ต้องโต้แย้งต่อองค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง กล่าว ในอดีตก่อนมีศาลปกครอง องค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง คือ กฤษฎีกา แต่ปัจจุบันมีศาลปกครอง ให้โต้แย้งต่อศาลปกครอง
(2) กรณีเจ้าหน้าที่เป็นคณะกรรมการ ในกรณีที่กรรมการคนใดตระหนักว่าตนมี กรณีตามมาตรา 13 วิ.ปกครอง หรือมีผู้กล่าวหาตนเช่นนั้น กรรมการท่านนั้นควรแจ้งเรื่องให้ประธานกรรมการทราบ โดย ประธานกรรมการจะต้องเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคำคัดค้านนั้น ในการประชุมนี้กรรมการ ผู้ถูกคัดค้านจะอยู่ร่วมพิจารณาไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตนโดยแท้ แต่อาจอยู่ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือตอบ ข้อซักถามได้ หลังจากนั้นต้องออกจากห้องประชุมไป (มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วิ.ปกครอง) ในการพิจารณา ออกเสียงกรรมการผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากที่ประชุม และให้ถือว่าคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย กรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้านเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่ององค์ประชุม แต่ในกรณีที่ถูกคัดค้านหลายคนโดยเหตุ แยกจากกัน ก็ให้ออกจากห้องประชุมเฉพาะในขณะพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นของตนเท่านั้น
(3)หลายคนโดยมูลกรณีเดียวกัน สมควรต้องพิจารณารวมกัน โดยผู้ถูกคัดค้านร่วมกัน ดังกล่าวทุกคนต้องออกจากห้องประชุม เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย อันอาจทำให้ผลการพิจารณาไม่เป็นกลาง การลงมติให้ทำเป็นการลับ แต่ให้ใช้มติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน มติของคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นที่สุด เพราะไม่มีขั้นตอนตามสายการบังคับบัญชาที่จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น
ผู้ใดไม่พอใจมติดังกล่าวก็อาจยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น
2 ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน (มาตรา 16 วิ. ปกครอง)
โดยสภาพ คือ ความไม่เป็นกลางตามความเป็นจริงนั่นเอง ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้ การพิจารณาทางปกครองไม่เป็น กลาง เช่น เคยโกรธแค้นอาฆาตกันมาก่อน หรือเป็นผู้มีทัศนะคติที่เป็นปฏิปักษ์ อย่างแข็งกร้าวกับเรื่องที่จะต้องพิจารณา หรือการมีผลประโยชน์ขัดกัน เป็นต้น
ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีกรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน จะเป็นทำนองเดียวกับ “ความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก” คือ ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาหรือประธานกรรมการแล้วแต่กรณี
ผลการฝ่าฝืนหลักเรื่องความเป็นกลาง ในกรณีที่การพิจารณาจัดทำคำสั่งทางปกครองยังไม่เสร็จสิ้น ผลความเป็นกลาง (ถ้าจะมีอยู่ จริง) จึงยังไม่มีผลกระทบต่อผู้ใด และถ้าได้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาออกไปแล้ว และเจ้าหน้าที่คน ใหม่หรือที่เหลืออยู่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นกลางแล้ว ก็สามารถดาเนินการเพื่อให้มีคาสั่งทางปกครองต่อไป ได้โดยไม่ต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาใหม่ แต่ถ้าในกรณีที่ความไม่เป็นกลางรุนแรงเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ จะดำเนินการกระบวนพิจารณาบางส่วนใหม่ก็ได้
อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางโดยไม่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ และ การพิจารณาได้ดำเนินการไปจนจบ และมีคำสั่งทางปกครองขึ้นแล้ว ผลการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลางสามารถ แยกได้เป็น 2 กรณี คือ
1.กรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายนอก (มาตรา 13 วิ.ปกครอง) ต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น
2.กรณีความไม่เป็นกลางโดยสภาพภายใน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หากมีความไม่เป็นกลาง จริง และความไม่เป็นกลางนั้นมีผลโดยตรงให้เกิดคำสั่งทางปกครองในลักษณะที่เป็นการกล่าวหาหรือทางลบ คู่กรณีก็สามารถขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น ข้อยกเว้นบทบังคับเรื่องหลักความไม่เป็นกลาง (มาตรา 18 วิ.ปกครอง) มี 2 กรณีคือ
1) ในกรณีเร่งด่วน จะผัดผ่อนไปไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องมีคพสั่งทางปกครองเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของเอกชน ซึ่งหากปล่อยล่าช้าจะเกิดความเสียหายที่ไม่มีทางแก้ไขได้
2)ไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน
(เนื้อหาในส่วนนี้ผู้เขียนได้รวบรวมมาจากงานวิจัยของผู้เขียน สิทธิกร ศักดิ์แสง “ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง : กรณีศึกษากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ” รายงานวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2559 หน้า 66 - 106 )
วิ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
“การตรวจหรือการเรียกดูใบขับขี่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจทำได้ตลอดเวลาหรือไม่?”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จากปัญหาที่ผ่านมา กับการเรียกดูใบขับขี่หรือการตรวจใบขับขี่ ผมได้ค้นคว้าศึกษา ตัวบทกฎหมาย การพูดคุยสนทนา รวมไปถึงดูคำพิพากษา พบว่า ผู้ทำหน้าที่ตรวจดูใบอนุญาต ตามคำนิยาม คือ ผู้ตรวจ ซึ่งอยู่ในคำนิยามของกฎหมาย 3 ฉบับ คือ พรบ.จราจรทางบก 2522 พรบ.รถยนต์ 2522 พรบ.การขนส่งทางบก 2522
คำนิยาม มาตรา 4 พรบ. จราจรทางบก 2522
“ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์”
คำนิยาม มาตรา 4 พรบ. รถยนต์ 2522
“ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการตามพระราชบัญญัตินี้”
คำนิยาม มาตรา 4 พรบ. ขนส่งทางบก 2522
“ผู้ตรวจการ” หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการตามพระราชบัญญัตินี้
คำนิยามนี้แสดงให้เห็นว่าผู้มีอำนาจตรวจใบอนุญาตใบขับขี่ คือ ผู้ตรวจการ ดังนั้น ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องแสดงใบอนุญาตใบขับขี่ตลอดเวลา ตามพระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522
“ มาตรา 42 ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับหรือควบคุมผู้ฝึกหัดขับรถเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถยนต์ตามมาตรา 57
ในกรณีที่ผู้ขับรถเป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ผู้ขับรถซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นจะใช้ใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 42 ทวิ ขับรถในราชอาณาจักรก็ได้ และในกรณีนี้จะต้องมีใบอนุญาตขับรถดังกล่าวพร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญาและหรือความตกลงที่มีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที”
“มาตรา 66 ผู้ใดขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ และสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท”
ประเด็นปัญหาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเรียกตรวจใบขับขี่ได้หรือไม่
เมื่อศึกษาเทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2555
พนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองโจทก์
นายพงษ์พันธุ์ พรรณผิวจำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 93 ประมวลกฎหมายอาญา ม. 136, 138 วรรคสอง, 367
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 136, 138 วรรคสอง, 367
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136, 138 วรรคสอง, 367 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำคุก 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย จำคุก 2 เดือน และปรับ 3,000 บาท ฐานไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่แก่เจ้าพนักงานซึ่งถามเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมาย ปรับ 100 บาท รวมจำคุก 4 เดือน และปรับ 5,100 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในเบื้องต้นก่อนว่า สิบตำรวจโทกรุงและสิบตำรวจตรีไพรัตน์ค้นตัวจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสิบตำรวจโทกรุงและสิบตำรวจตรีไพรัตน์ค้นตัวจำเลยในที่สาธารณสถาน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด" แสดงว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถานไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าว คดีนี้ได้ความจากคำเบิกความของสิบตำรวจโทกรุงและสิบตำรวจตรีไพรัตน์ว่า บริเวณหลังซอยโรงถ่านมีเหตุอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พระราชบัญญัติอาวุธปืน และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นประจำ มีตู้แดงของสถานีตำรวจภูธรเมืองอ่างทองติดตั้งไว้ภายในซอยดังกล่าว วันเกิดเหตุเข้าไปตรวจหลังซอยโรงถ่านแล้วไม่พบความผิดปกติ เมื่อลงลายมือชื่อที่ตู้แดงแล้วได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากซอยดังกล่าวทางด้านท้ายซอย เมื่อมาถึงถนนซึ่งมีสนามเด็กเล่นและห้องน้ำเก่าตั้งอยู่ พบจำเลยนั่งโทรศัพท์อยู่ริมถนน จึงเข้าทำการตรวจค้น เมื่อพิจารณาภาพถ่ายและแผนที่บริเวณสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าจุดที่จำเลยนั่งโทรศัพท์อยู่ริมถนนเป็นบริเวณหน้าสนามเด็กเล่นอยู่บนถนนสุทธาวาส ส่วนซอยโรงถ่านแยกจากถนนสุทธาวาสไปทางคลองวัดโล่ห์หรือคลองชลประทาน ถนนหลังซอยโรงถ่านอยู่ริมคลองวัดโล่ห์หรือคลองชลประทาน แสดงว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาส ไม่ได้อยู่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโทกรุงและสิบตำรวจตรีไพรัตน์อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีท่าทางพิรุธ นอกจากจำเลยนั่งโทรศัพท์อยู่ริมถนนสุทธาวาสเท่านั้น ประกอบกับศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้โดยให้เหตุผลและรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ชอบแล้ว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่าน และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโทกรุงและสิบตำรวจตรีไพรัตน์อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตามกฎหมายดังกล่าวที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
(ประยูร ณ ระนอง-พิศาล อัยยะวรากูล-อดิศักดิ์ ปัตรวลี)
ศาลจังหวัดอ่างทอง - นางสาวนพรัตน์ กะลัมพะเหติ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 - นายเมธา ธรรมพนิชวัฒน์
แหล่งที่มากองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
วิเคราะห์ในกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจขอดูใบขับขี่
เมื่อดูจากคำพิพากษาดังกล่าว การขอดูหรือการตรวจค้นได้ทุกเวลาหรือไม่ นั้นพบว่า ในคำพิพากษาพิพากษาว่าการตรวจค้นนั้นไม่ใช่ตรวจค้นได้ทุกเวลา การตรวจค้นได้ต้องเข้า ป.วิอาญา มาตรา 93 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด"
ดังนั้น การตรวจค้น คือ การขอดูใบอนุญาตใบขับขี่ได้ตลอดเวลา คือ ผู้ตรวจที่เป็นข้าราชการขนส่ง ส่วนการขอใบขับขี่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดูได้ต้องมีกรณีที่มีเหตุอันสงสัยว่าจะมีกระทำผิด
แต่อย่างไรก็ตามผมยังเข้าใจกฎหมายว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเป็นผู้ดูแลกฎหมายหรือบังคับใช้กฎหมาย พรบ.จราจรทางบก 2522 ก็ต้องมีอำนาจตามกฎหมายที่ ต้องตรวจดูใบขับขี่ เพราะมีการตั้งด่านเพื่อดูความปลอดภัยต่างๆและในคำพิพากษานั้นมันเป็นกรณีที่เข้าไปตรวจค้นโดยที่ไม่มีการตั้งด่าน จุดตรวจ จุดสกัดตามกฎหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่อง มาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ที่มีคำนิยามแตกต่างกันไป โดยแบ่งความหมายของด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ไว้อย่างชัดเจน
1. ด่านตรวจ หมายถึง สถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522) หรือทางหลวง (ความหมายตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นการถาวร การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ครม. หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน. แล้วแต่กรณี
2. จุดตรวจ หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกมาปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว จะต้องยุบเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที
3. จุดสกัด หมายถึง สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว และจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
4. การจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด คือ ห้ามมิให้ตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด ในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง แต่ยกเว้นตามด้านล่าง
5. ด่านตรวจ การจัดตั้งด่านตรวจจะกระทำได้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ครม.หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือ กอ.รมน.แล้วแต่กรณี
6. จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้น ผบก. ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
7. จุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้รักษาการแทนขึ้นไป โดยมีกำหนดระยะเวลาเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยังคงมีอยู่เท่านั้น
8. การปฏิบัติหน้าที่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไปเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
9. การปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด
10. ที่ด่านหรือจุดตรวจ ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุด” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ด่านตรวจหรือจุดตรวจ จะต้องมีในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายจราจร
11. ในเวลากลางคืน จะต้องมีแสงไปส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจและจุดตรวจดังกล่าว นอกจากนั้นให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ โทร…” (ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก.ไว้) ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
12. ให้ หน.สน./สภ. เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิด ที่ใช้สำหรับการตั้งจุดตรวจไว้อย่างครบถ้วน และพร้อมใช้การได้ตลอดเวลา
13. การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยให้ ผบก.น. ภ.จว. ทล. และ จร. เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดแผนการตั้งจุดตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ และ รอง ผบช.น.ภาค 1-9 ศชต. และ ก. ที่รับผิดชอบงานจราจร เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดแผนการตั้งจุดตรวจในภาพรวมของหน่วย เพื่อมิให้เกิดการซ้ำซ้อน ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน
สรุป โดยหลักทั่วไปการดูใบขับขี่รถยนต์ คือ ผู้ตรวจ ตามกฎหมายว่าด้วยขนส่งและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ แต่ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจขอดูได้ อาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
1.กรณีเหตุสงสัยว่ามีการกระทำความผิด ตาม ป.วิอาญา มาตรา 93 ประกอบคำพิพากษาศาลฎีา ที่ ที่ 8722/2555
2.กรณีที่มีการตั้งด่านตรวจ
วิ หมายถึง 在 เทพ อัปสร หมาย ถึง-วิลเลียมฮิลล์ใกล้ฉัน 的美食出口停車場
เทพ อัปสร หมาย ถึง:personal royal,personal trainer for football,personal_life เ,personalise football shirt,personalised american football jersey. ... <看更多>
วิ หมายถึง 在 คำศัพท์วันนี้ขอเสน... - Kru Whan : English On Air - ครูพี่หวาน 的美食出口停車場
คำศัพท์วันนี้ขอเสนอคำว่า 'Willpower' /วิล พาวเออะ/ หมายถึง 'ความสามารถในการควบคุมใจตัวเอง' แปลง่ายๆ ก็คือ... ... <看更多>
วิ หมายถึง 在 งานไม่ใหญ่แน่นะวิ คืออะไร มีที่มาจากไหน? วลีฮิตโซเชียลวันนี้ l ... 的美食出口停車場
งานไม่ใหญ่แน่นะ วิ คือ อะไร มีที่มาจากไหน? ฮิตสุดโลกโซเชียล ทั้งใหม่ ดาวิกา. ปิงปอง ,รวมถึง ยุ้ย จีรนันท์ ต้นเรื่องของตัวละครชื่อวิ ยังขอกลับมาโคฟอีกครั้ง แต่วลีฮิตนี้ มีที่มาจากไหน ... ... <看更多>