ลายกนก ยกสยาม คืนนี้ชม "ห้องพระ" บ้านของ "คุณป็อป" อัศวิน ทองประเสริฐ ทายาทหมอเทวดา "หมอสมหมาย" สิงห์บุรี ที่ไม่มีห้องพระที่ใดเหมือน
ห้องพระที่นี่ มีพระพุทธเจ้า และ "พระอรหันต์ ทั้ง ๕" แห่งยุครัตนโกสินทร์
.
"สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)"
วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
พระมหาเถระรูปสำคัญ ที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย จากสามัญชนจนถึงเจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์
มีจริยาวัตรความสมถะ ทรงคุณทางด้านวิชาคาถาอาคม มี "พระสมเด็จ" วัตถุมงคล ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา จัดเป็นสุดยอดของพระเครื่อง ๑ ใน ๕ ของไทย
ท่านเกิดหลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๖ ปี เชื่อกันว่า ท่านเป็นลูกนอกเศวตฉัตรของรัชกาลที่ ๑ ครั้งทรงเป็นเจ้าพระยาจักรี ท่านจึงเป็นนาคหลวง ได้อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามได้ ๒๐ ปี มรณภาพบนศาลาเก่าวัดอินทรวิหาร สมัยนั้นเรียกวัดบางขุนพรหม วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ขณะเป็นประธานก่อสร้าง พระพุทธรูปหลวงพ่อโต องค์ยืน
.
"หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ"
วัดบางคลาน จ.พิจิตร
3 ขวบ มาอยู่กับลุง ที่กรุงเทพฯ เรียนและบวชที่วัดชนะสงคราม เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของสมเด็จโต
ต่อมา กลับไปจำพรรษาที่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) อ.บางคลาน จ.พิจิตร บ้านเดิมของท่าน ก่อนย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปในทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า
ท่านหักกิ่งโพธิ์ไปด้วย 3 กิ่ง และปักลงตรงบริเวณป่าตะโก อธิษฐานจิตว่า ถ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง 3 กิ่ง เจริญงอกงาม
ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานทุกประการ ท่านจึงสร้างวัดวังตะโก หรือวัดบางคลาน หรือ วัดหิรัญญาราม ในปัจจุบัน
เป็นพระเกจิ ผู้เลื่องชื่อด้านวิทยาคมแห่งเมืองพิจิตร พวกชาวเรือที่ขึ้นล่องไปมา จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ เพื่อขอพรและขออาบน้ำมนต์
เป็นศิษย์รุ่นเดียวกันกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ซึ่งได้แนะนำให้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มาเรียนวิชาทางวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน
ท่านมรณภาพ ด้วยโรคชรา วันศุกร์ที่ ๒๐ ก.ย. ๒๔๖๒ อายุ ๑๐๙ ปี
.
"หลวงปู่ศุข เกสโร"
วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
ท่านเกิดปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ มาบวชที่วัดโพธิ์ทองล่าง จ.นนทบุรี ต่อมาย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม บางลำพู ได้พบกับหลวงพ่อเงิน ที่นี่
ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ท่านได้ธุดงธ์เข้าเขตชัยนาทมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดปากคลองมะขามเฒ่า บ้านเกิด ท่านมีศิษย์เอก คือ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีตำนานว่า กรมหลวงชุมพรฯ ได้นำผ้าเจียดจากหลวงปู่ศุขไปแจกให้แก่ทหารเรือด้วย
ท่านมรณภาพ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ อายุ ๗๖ ปี
.
"หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ"
วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
ท่านเกิดที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ตอนเด็กเคยเป็นไข้หนักถึงสลบ พ่อแม่เข้าใจว่าตายแล้ว ขณะเตรียมจะเอาไปฝัง กลับฟื้นตื่นขึ้นมา จึงขนานนามท่านว่า บุญ
เป็นพระที่มีความเมตตาสูง ตั้งแต่เด็ก ก็มีลักษณะแปลกกว่าเด็กทั้งหลายคือ ไม่ยอมฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และไม่ชอบการจับเอาสัตว์มาเล่น ทรมานเหมือนเด็กอื่นๆ
พ่อแม่มีอาชีพทำนา ขณะว่างจากงานก็จะเที่ยวหาปลาตามหนองน้ำต่างๆ เพื่อมาทำอาหาร และก็มักจะเอาท่านไปด้วย เพราะท่านเป็นบุตรคนหัวปี โดยมอบหมายให้ท่าน สะพายข้องใส่ปลาที่จับได้
ตอนแรกๆ ท่านไม่ยอมไปด้วย ก็ถูกพ่อแม่ดุว่า ท่านจึงจนใจ ต้องสะพานข้องติดตามไปด้วย ในวันหนึ่งพ่อแม่จับปลาได้มาก ก็ดีใจ เอาปลาใส่ข้องไว้หลายตัว ครั้นกลับมาถึงบ้าน เตรียมนำเอาปลามาทำอาหาร พอเปิดข้องออกดู ปรากฏว่า ไม่มีปลาเลยสักตัว ...
เพราะท่านแอบปล่อยปลาจนหมดข้อง เป็นอันว่าวันนั้น .. ไม่มีกับข้าวกินกันทั้งบ้าน พ่อแม่โกรธมาก ลงโทษเฆี่ยนตีท่านอย่างรุนแรง หลังจากนั้นมา พ่อแม่ ก็ไม่เอาท่านไปหาปลาอีกเลย
ตั้งแต่เล็กแล้ว ท่านคิดว่า "ชีวิตทางโลกเป็นหนทางที่มีแต่ความเบียดเบียน อยากเข้าวัดบวชเรียนเร็วๆ.."
ท่านมรณภาพ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุได้ 86 ปี
.
"หลวงพ่อแพ เขมังกโร"
วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
พระผู้สร้างคุณูปการสูงส่งแก่ชาวสิงห์บุรี จนได้รับการยกย่องให้เป็น “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย”
ท่านเป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๘ โยมแม่เสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน บิดาจึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของอา ศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม ที่วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
อุปสมบทที่วัดพิกุลทอง ศึกษาด้านสมถกัมมัฎฐานและวิปัสสนากัมมัฎฐานที่ วัดเชตุพนฯ ต่อมาทราบว่าที่ อ.บางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคม ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ เป็นที่โปรดปรานของพระอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขาบท ชาวบ้านจึงร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อแพ ให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน ขณะนั้น ท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปีเท่านั้น
นอกจากวัดแล้ว ท่านยังสร้างความเจริญให้ท้องถิ่นอีกมากมาย ทั้ง โรงพยาบาล, ที่ว่าการอำเภอ, สถานีตำรวจ, สถานีอนามัย, โรงเรียนประชาบาล, สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ท่านมรณภาพ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ อายุ ๙๔ ปี
.
อย่าพลาด ลายกนก ยกสยาม ตอนสำคัญนี้ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กันยายน เวลา ๒๐.๑๐ น. ทางท็อปนิวส์
「วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล」的推薦目錄:
- 關於วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 Facebook 的最佳解答
- 關於วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
- 關於วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร - หน้าหลัก - Facebook 的評價
- 關於วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 พาเช่าวัตถุมงคล สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ... 的評價
- 關於วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 เช็คราคา วัตถุมงคล ที่วัดระฆัง โฆสิตาราม พาเที่ยวชมวัด ... - YouTube 的評價
- 關於วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 เปิดสั่งจองวันนี้วัตถุมงคลรุ่นใหม่ วัดระฆังโฆสิตาราม รุ่นอนุสรณ์ครบรอบ ... 的評價
วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี2513
หรือ“พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” สร้างขึ้นเพื่อถวายพระนามเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ซึ่งเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงมีพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพิฆเนศวร์สุรสังกาศฯ” โดยจำลองมาจาก “พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ศิลปะสมัยคุปตะ” ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระพุทธรูปที่มีความงดงามที่สุด” ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ใน มหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศอินเดีย และรอดพ้นจากการถูกทำลายของกองทัพอิสลามเช่นกัน
จัดสร้าง “เนื้อทองคำ” จำนวนเพียง “๑,๐๐๐ องค์” และ “นวโลหะ” จำนวน “๕,๐๐๐ องค์” เท่านั้น และที่ฐานด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ใต้ฐานมีการ “บรรจุเม็ดกริ่ง” แล้วปิดด้วยแผ่นวงกลมปั๊มตราวัดราชบพิธฯ ที่มีความคมชัดละเอียดงดงามคือ “รูปตราพระเกี้ยว” ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าล้อมด้วยฉัตร ๕ ชั้น ๒ ด้าน
ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ
“พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์” สร้างรูปแบบเดียวกับ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” ทุกประการแต่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่งแต่มีโค้ดรูป “อุณาโลม” ตอกไว้ที่ใต้ฐานมีขนาดเล็กกว่าพระกริ่งจัดสร้างจำนวน “๕,๐๐๐องค์” ด้วยเนื้อ “นวโลหะ” เพียงอย่างเดียว
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จ
จากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี กับ 2 วัน อนึ่งนับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ
“วันที่ 29 มกราคม 2514” อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.
และในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน” นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้ว
ดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก
พระกริ่งรุ่นนี้ออกแบบโดยนายช่าง เกษม มงคลเจริญ สร้างในปี 2513 ในวาะครบ 100 ปี วัดราชบพิธฯ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถึง 3 ครั้ง พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งล้วนเเต่เป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้งสิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกบริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวันดังนี้
๑. วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. คือ
๑.) พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
๒.) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นคร ปฐม
๓.) หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๔.) หลวงพ่อกี่ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
๕.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
๗.) พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
๘.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี
๙.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
๑๐.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
๑๑.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ
๑๒.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา
๒.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
๓.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
๔.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
๕.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ
๗.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี
๘.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
๙.) หลวงพ่อใหญ่ อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๑๐.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี
๑๑.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
๑๒.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ,
เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑.) พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ
๒.) พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๓.) พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ
๔.) พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๕.) พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ
๖.) พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๗.) พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ
๘.) พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
๙.) พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ
๑๐.) พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ
๑๑.) พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
๑๒.) พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุงเทพฯ
พระสวดพุทธาภิเษก
ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๑.๐๐น. จำนวน ๔ รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม, ระหว่าง เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. จำนวน ๔ รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร
๒. วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.
๑.) พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ,
๒.) พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ,
๓.) พระครูสีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี
๔.) พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๕.) พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี
๖.) พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาฬาสงคราม จ.สมุทรปราการ
๗.) พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ
๘.) พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ
๙.) พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๑๐.) พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี
๑๑.) พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี,
๑๒.) พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑.) พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๒.) พระครูโสภณกัลป์นาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๓.) พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี
๔.) พระครูปสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
๕.) พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๖.) พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร
๗.) พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร
๘.) พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร
๙.) พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร
๑๐.) พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี
๑๑.) พระอาจารย์ดวน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช
๑๒.) พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เเละเวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑.)พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
๒.) พระราชวรญาณมุนี นุภพศิริมาตราม กรุงเทพฯ
๓.) พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
๔.) พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ
๕.) พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ
๗.) พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี
๘.) พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ
๙.) พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ
๑๐.) พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ
๑๑.) พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่
๑๒.) พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
โดยมีพระสวดพุทธาภิเษก เวลา ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเเละจากวัดราชประดิษฐ์ เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น.
๓. ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคซึ่งส่วนใหญ่ได้ “มรณภาพ” แล้ว
รวม ๓ วัน “ครบถ้วน ๑๐๘ รูป”
ขอบคุณข้อมูลจากคุณเจี๊ยบ ร้านต.สุวรรณรัตน์
พระกริ่งจปร วัดราชบพิธ เนื้อทองคำ องค์นี้ ผมลักษณ์ ราชสีห์ ได้ขอเเบ่งบูชามาจาก คุณเจี๊ยบ ร้าน ต.สุวรรณรัตน์ บางลำภู เมื่อหลายปีที่ผ่านมา
วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 พาเช่าวัตถุมงคล สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ... 的美食出口停車場
พาเช่า วัตถุมงคล สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม พระสมเด็จพิมพ์นิยม. ... <看更多>
วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 เช็คราคา วัตถุมงคล ที่วัดระฆัง โฆสิตาราม พาเที่ยวชมวัด ... - YouTube 的美食出口停車場
เช็คราคาสมเด็จ วัดระฆัง ที่วัดระฆัง พาเที่. ... เช็คราคา วัตถุมงคล ที่ วัดระฆัง โฆสิตาราม พาเที่ยวชมวัดระฆัง สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสี. ... <看更多>
วัดระฆังโฆสิตาราม วัตถุมงคล 在 วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร - หน้าหลัก - Facebook 的美食出口停車場
เปิดให้สั่งจองวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 151 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 น. บริเวณพระวิหาร ด้านข้างพระอุโบสถเพียงแห่ง ... ... <看更多>