ต่อเนื่องจากโพสต์ที่อ้ายจงเล่าประสบการณ์ของตนเองในการทำงานหาเงินควบคู่ไปกับการเรียน เพื่อให้ตนเองมีหนทางเรียนจนจบป.ตรี หลังจากทางบ้านจะให้ลาออกตั้งแต่ปี 1 เทอม 2 วันนี้อ้ายจงขอแชร์อีกสักนิด ว่าอ้ายจงทำอะไรบ้าง ในสมัยเรียนเมื่อสิบกว่าปีก่อน เพื่อหาเงินค่าเทอม ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และช่วยเหลือทางบ้าน
อันนี้ถือเป็นโพสต์ขอบคุณจากใจไปยังผู้ใหญ่ใจดีที่ให้โอกาสเด็กคนหนึ่งที่กล้าไปขอโอกาสทั้งที่เรียนป.ตรีปี 1 เท่านั้น
.
- Dek-D.COM - เด็กดีดอทคอม ทุกคนอาจคงไม่รู้วา ที่นี่ Dek-D เป็นจุดเริ่มต้นจริงๆของการขีดเขียนเล่าเรื่องราว แหล่งฝึกฝนแห่งแรกของอ้ายจง และเป็นนายจ้างแรกสุดในตอนที่อ้ายจงกำลังหางานเพื่อจ่ายค่าเทอมให้เรียนต่อไปได้ ตอนเรียนปี 1
อ้ายจงจำได้แม่นว่า ราวปี 2550 ตอนนั้นอ้ายจงเห็น ประกาศรับสมัครงานและนักศึกษาฝึกงานของ Dek-D ด้วยความที่ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้มีโอกาสหาข้อมูลจากเว็บนี้มาตลอด และอยากลองไปฝึกทักษะใหม่ๆให้กับตนเอง นอกเหนือจากการเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญคือ เผื่อเป็นช่องทางหารายได้เพิ่ม (ตอนนั้นอะไรที่ทำแล้วพอจะได้เงิน ทำหมด แต่ต้องสุจริตนะ )
.
อ้ายจงโทรไปถาม เขียนอีเมล์ไปสมัคร ปรากฎว่าทาง Dek-D รับครับ ดีใจมาก ได้ไปฝึกงานเป็นผู้ช่วยคอลัมน์นิสต์ทางด้านการศึกษา หาข่าวรับสมัครเรียน ทุนการศึกษาต่างๆ พอฝึกเสร็จ กำลังจะเริ่มเรียนเทอม 2 ก็ได้ offer ทำงาน Part-time เขียนบทความในคอลัมน์การศึกษาและไลฟ์สไตล์ต่อ ทำคู่กับพี่ลาเต้ คอลัมน์นิสต์สายการศึกษาที่หลายๆคนคงรู้จักกันดี โดยเฉพาะคนที่ผ่านการสอบแอดมิดชั่น
.
- notebookspec เว็บไซต์ชื่อดังด้านให้ข้อมูล Notebook และผลิตภัณฑ์ไอที ก็เป็นหนึ่งในผู้ใหญ่ใจดีที่ให้อ้ายจงได้ร่วมงานด้วยในฐานะ Web programmer ตอนที่อ้ายจงเรียนปี 1 เทอม 2 และทำงานมาเรื่อยๆจนอ้ายจงกำลังจะเรียนจบป.ตรีและบินลัดฟ้าไปจีน เนื่องจากได้รับทุนเรียนต่อป.โท
.
- TechXcite คนที่ติดตามข่าวสารไอที บทความรีวิวสินค้าไอทีต่างๆ คงรู้จักเว็บไซต์นี้เป็นแน่ มีมาอย่างยาวนาน เป็นสิบปีล่ะ อ้ายจงมีโอกาสได้ร่วมเขียนบทความไอทีให้กับที่นี่ เมื่อขึ้นปี 2 ซึ่งที่นี่เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นทางสายเขียนบทความแปล และทำให้อ้ายจงค้นพบสไตล์ของตนเอง "การแปลที่ไม่ใช่แปล" คือเขียนบทความแบบ "เล่าเรื่อง" อ่าน-แปลให้ตนเองเข้าใจ และเขียนเล่าออกมาให้คนอ่านได้รับทราบแบบสารยังอยู่ครบ แต่เป็นธรรมชาติเสมือนเพื่อนเล่าให้เพื่อนฟัง
.
- บริษัทไอทีมหาชนแห่งหนึ่งของไทย เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจ เพราะตอนนั้นยังเป็นเด็กป.ตรี ปี 3 กำลังจะขึ้น ปี 4 แต่ด้วยความ "ด้านได้อายอด" ของตนเอง เห็นเขาประกาศรับคนช่วยจัดทำเว็บไซต์ของแผนกหนึ่งในบริษัทนั้น เลยรู้สึกว่า เอาวะ ลองสักตั้ง เราก็ทำเว็บไซต์ เขียนโปรแกรม และกำลังเรียนสายนั้นด้วย อายุคงไม่ใช่ปัญหา (ปลอบตนเองเหมือนจีบสาวรุ่นพี่อะไรแบบนั้น :-P ) และปรากฎว่า "ได้รับงานดูแลเว็บไซต์" ให้กับบริษัทไอทีมหาชนแห่งนั้นอยู่ราวๆ 1 ปี
เคยคุยกับพี่ที่รับผมเข้าไปทำตำแหน่งนั้นถึงเหตุผลในการให้โอกาสเด็กคนนี้ พี่เขาตอบกลับมาว่า "ชอบในตัวผมที่กล้าขอโอกาส เขาเองต้องการให้โอกาสเด็กรุ่นใหม่เช่นกัน และที่สำคัญมองที่ผลการทำงาน ไม่ใช่ที่อายุ"
.
- ร้านหนังสือซีเอ็ด ร้านหนังสือนายอินทร์ ร้านหนังสือ B2S และร้านหนังสือร้านอื่นๆ ทั่วไทย เป็นอีกหนึ่งผู้มีพระคุณ เพราะหนังสือหลายเล่มที่อ้ายจงเคยเขียนส่งไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ได้วางขายในร้านหนังสือเหล่านี้
.
- งานฟรีแลนซ์เกี่ยวกับพัฒนาเว็บไซต์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นอีกหนึ่งงานหลักที่ผมทำมาตลอดช่วงเรียนป.ตรี หารับงานจาก Internet ดูตามเว็บบอร์ดที่มีให้ลงแระกาศหางานรับงาน เช่น ใน pantip.com และจำได้ว่าก่อนจะมี Fastwork เมื่อสิบปีก่อน มีเว็บไซต์ thaifreelancer หรือ thaifreelancejob นี่แหล่ะ จำชื่อโดเมนเนมไม่ได้จริงๆ เป็นแหล่งรับงานฟรีแลนซ์-รับโปรเจคที่ดังมากๆยุคนั้น
.
ทุกงานที่ผมกล่าวมาข้างบน เป็นการทำงานแบบทางไกล นำเทรนด์ WFH-Work From Home ตั้งแต่ตอนนั้นเลย และยอมรับตรงๆว่า หลายงาน เป็นการทำครั้งแรกแบบไม่มีประสบการณ์ใดใด แต่ผมเชื่อในคำว่า "มันต้องมีคำว่า เริ่มต้น และคนเราฝึกฝนกันได้ หากตั้งใจพอ"
อีกหนึ่งความคิดที่ผมยึดถือมาตลอด "ถ้ารอโอกาส โอกาสคงไม่มา เราต้องสร้าง วิ่งเข้าหาเอง" ผมจึงมีโอกาสได้ทำสิ่งต่างๆตามที่เล่ามาข้างต้นครับ
.
เรื่องราวของผมบอกตามตรงมันไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลกอะไร ผมเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆของคนอีกหลายล้านคนในการต่อสู้ เรียนไป ทำงานไป บางคนต้องออกมาทำงานก่อนหลายปี ถึงจะได้กลับไปเรียน หรือบางคนไม่ได้เรียนเลยก็มี
.
ผมขอขอบคุณทุกโอกาสที่เข้ามาในชีวิตผม
และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนในการสู้ชีวิตและก้าวข้ามอุปสรรคทุกอย่างไปได้ เราทำได้แน่นอน "ตั้งใจและเชื่อมั่นในตนเอง"
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
ร้านหนังสือซีเอ็ด 在 น้องออมเล็ต บุกร้านหนังสือ SE-ED BOOKS ดูของเล่นร้านซีเอ็ดบุ๊ค 的美食出口停車場
น้องออมเล็ต #บุกร้านหนังสือSE-EDBOOKS #ดูของเล่นร้านซีเอ็ดบุ๊คน้องออมเล็ต บุกร้านหนังสือ SE-ED BOOKS ดูของเล่นร้านซีเอ็ดบุ๊ค*** ติดต่องาน ... ... <看更多>
ร้านหนังสือซีเอ็ด 在 SE-ED Book Center - หน้าหลัก - Facebook 的美食出口停車場
http://www.se-ed.com/. +66 2 826 8000. ร้านหนังสือ. ... <看更多>