ข้อพิจารณาถึงความคล้ายคลึงระหว่างหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรมที่นำมาใช้ร่วมกัน
ข้อพิจารณาถึงความคล้ายคลึงระหว่างหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรมที่นำมาใช้ร่วมกัน จะพิจารณาอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน คือ ในเรื่องของการกระทำของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของรัฐต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนี้
1.การกระทำของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ปกครองรัฐยอมอยู่ใต้กฎหมาย ยอมเคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แห่งกฎหมาย ทั้งในด้านการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ นักนิติศาสตร์จึงถือว่า นิติรัฐ (Legal State) และนิติธรรม (The Rule of Law) เป็นรัฐที่มุ่งจำกัดและตีกรอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองรัฐโดยกฎหมาย เพื่อให้ผู้ปกครองรัฐปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเท่านั้น และมิให้ใช้อำนาจนั้นไปโดยอำเภอใจโดยไม่มีขอบเขตหรือไร้กฎเกณฑ์จนทำลายสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน
แต่ถ้าเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจจากรัฐจะกลายเป็น “รัฐตำรวจ” (Police State) ทันที ซึ่ง “รัฐตำรวจ” เป็นรัฐที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจอย่างมหาศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถกำหนดมาตรการทางกฎหมายใดๆ ขึ้นใช้บังคับแก่ประชาชนได้ตามที่เห็นสมควรโดยอิสระและด้วยความริเริ่มของตนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์หนึ่งๆ และเพื่อให้บรรลุวัตถุที่ประสงค์ของรัฐ โดยสรุปแล้ว รัฐตำรวจตั้งอยู่บนแนวคิดที่เชื่อว่า “เป้าหมาย” (Ends) สำคัญกว่า “วิธีการ” (Means) เสมอ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจะใช้วิธีการอย่างไรนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ดังนั้นในรัฐตำรวจประชาชนจึงเสี่ยงภัยกับ “การกระทำตามอำเภอใจ” (Arbitrary) ของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยไม่อาจคาดหมายผลของการกระทำของตนได้
แต่สำหรับหลักนิติรัฐและนิติธรรมฝ่ายปกครองมีภารกิจหลัก คือ การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาเป็นผู้ตราขึ้น อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง ไม่ว่าเป็นการตรากฎหรือการออกคำสั่งทางปกครองใดๆ ล้วนมีแหล่งที่มาจากพระราชบัญญัติ มิได้มีอำนาจเป็นของตนเอง ดังนั้น การตรากฎหรือทำคำสั่งทางปกครองใดๆ ที่เป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพหรือหน้าที่ของผู้ใต้การปกครอง ต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งเสมอ ตามหลักกฎหมายมหาชน (Public Law) ที่กล่าวว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” โดยเหตุนี้ เมื่อใดที่ฝ่ายปกครองจะดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ หน้าที่หรือประโยชน์ของเอกชน จะต้องตรวจสอบดูก่อนเสมอว่ามีกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับใดให้อำนาจกระทำการเช่นนั้นหรือไม่ หากไม่มีกฎหมายหรือกฎหมายที่ให้อำนาจกำหนดเงื่อนไขข้อจำกัดการใช้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
2. การกระทำของรัฐต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย
การกระทำของรัฐต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ (Legal State) และนิติธรรม (The Rule of Law) ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐย่อมกำหนดไว้แน่นอน มีการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of powers) ในการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นการเอาอำนาจอธิปไตยมาแบ่งออกเป็นส่วนๆ แต่เป็นการแบ่งหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ โดยหน้าที่อย่างหนึ่งมอบให้องค์กรหนึ่งเป็นผู้ใช้หัวใจสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ลึกลงไปทางทฤษฎีการวิเคราะห์โครงสร้างทางหน้าที่ (Structural-Functional Analysis) แล้ว เกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และเจมส์ โคลแมน (James Coleman) เห็นว่า ลักษณะการใช้อำนาจของรัฐที่ปรากฏออกมา (output) ควรแยกเป็น การจัดทำกฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตัดสินตามกฎหมาย ซึ่งก็ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่กล่าวกันมาแต่เดิมนั้นเอง แต่พิจารณาโดยดูเนื้อหาเป็นสำคัญ ซึ่งจะปรากฏอำนาจเหล่านี้มิใช่ลักษณะเฉพาะขององค์กรใด เช่น รัฐสภามิใช่องค์กรเดียวที่มีอำนาจจัดทำกฎหมายแต่รัฐบาลก็จัดทำกฎและศาลก็จัดทำกฎหมายด้วยหรือฝ่ายปกครองก็มีการตัดสินตามกฎหมายด้วย เป็นต้น
ดังนั้นความมุ่งหมายแท้จริงของ “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) จึงควรเป็น “การกระจายหน้าที่หรือการแบ่งหน้าที่” (Function of Powers) ตามความสามารถเฉพาะด้านและดูแลให้เกิดการคานและดุลกัน (Check and Balance) เพื่อมิให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบ และในความเป็นจริงของการจัดกลไกการปกครองกับปรากฏให้เห็นถึงการร่วมมือและการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน อยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน ดังนี้
2.1 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับหลักสมควรแก่เหตุของหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมที่เป็นกรอบการจำกัดการใช้อำนาจรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ การใช้อำนาจรัฐฝ่ายบริหารและการใช้อำนาจรัฐฝ่ายตุลาการ
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการต้องกระทำอยู่ภายใต้ “หลักสมควรแก่เหตุ” หรือ “หลักความได้สัดส่วน” ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปของกฎหมายมหาชนโดยไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ได้ยอมรับว่าเป็น “กฎหมายระหว่างประเทศ” นำมาใช้ในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งหลักสมควรแก่เหตุที่เป็นที่ใช้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐจะประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
2.1.1 หลักความเหมาะสม (Principle of Suitability)
หลักความเหมาะสมนี้นักวิชาการได้เรียกหลักนี้อย่างหนึ่งว่า “หลักสัมฤทธิ์ผล” ) เมื่อพาจรณาถึงความเหมาะสมจะหมายถึง สภาพการณืซึ่งรัฐได้ทำการแทรกแซงและภายในสภาพนั้นรัฐจะต้องคำนึงถึงการทำให้บรรลุวัตุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมาตรการนั้นวางอยู่บนสมมติฐานที่ได้รับการยอมรับหรือเป็นมาตรการที่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุวัตุประสงค์ ดังนั้นหลักความเหมาะสมนี้นี้จะเป็นการจำกัดกรอบการใช้อำนาจรัฐว่าต้องกระทำด้วยการคำนึงถึงการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นหลักความเมาะสมถือเป็นหลักที่บังคับให้ผู้ใช้อำนาจรัฐในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตัดสินตามกฎหมาย ต้องกระทำโดยมีความเหมาะสมให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย
2.1.2 หลักความจำเป็น (Principle of Necessity)
หลักความจำเป็นถือเป็นหลักที่พิจารณาถึงมาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้น้อยที่สุดเท่านั้น หรือถ้ากระทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแต่อาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้นั้นต้องกระทำด้วยความจำเป็นและให้มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนขั้นพื้นฐานให้น้อยที่สุด
2.1.3 หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (Principle of Proportionality stricto sensu)
หลักนี้เป็นเรื่องของการวางหลักความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์และวิธีการ กล่าวคือ มาตราการใดหรือวิธีการใดที่รัฐจะกระทำจะต้องอยู่ภายในขอบเขตความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างวิธีการกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เป้นการชั่งน้ำหลักของมาตรการหรือวิธีการใดวิธีการหนึ่งให้ได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคมภายใต้กรอบของกฎหมาย
2.2 การใช้อำนาจนิติบัญญัติ
การใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยหลักการที่สำคัญ คือ การใช้อำนาจอธิปไตยในการจัดทำกฎหมาย ซึ่งอำนาจอธิปไตยในการจัดทำกฎหมาย นั้นถ้าประเทศที่ใช้ระบบรัฐบาลแบบระบบแบบรัฐสภา เช่น กรณีของประเทศไทย ร่างกฎหมายส่วนใหญ่จะเสนอโดยรัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) และรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) จะเป็นผู้พิจารณาต่อไปว่าจะรับหรือไม่ เป็นต้น ถ้าเป็นระบบรับบาลแบบประธานาธิบดี เช่น กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาการจัดทำกฎหมายเป็นการริเริ่มโดยรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) แต่การประกาศให้บังคับกฎหมายต้องให้ประธานาธิบดีลงนาม ซึ่งประธานาธิบดีอาจใช้สิทธิอาจใช้สิทธิยับยั้ง ไม่ยอมลงนามให้ใช้เป็นกฎหมาย เว้นแต่รัฐสภาจะยืนยันโดยมติพิเศษจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสภา เป็นต้น และที่สำคัญการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรากฎหมายต้องตรากฎหมายอยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน หลักความเสมอภาคและการตรากฎหมายต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญด้วย
ตัวอย่างการ ใช้อำนาจรัฐของฝ่ายนิติบัญญัติในกรณีของประเทศไทยที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม เช่น กรณีของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
“มาตรา 7 ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
การเพิ่มเติมหรือเพิกถอนชนิดไม้ หรือเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้แล้วก็ดี หรือจะกำหนดไม้ชนิดใดเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดขึ้นในท้องที่ใด นอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดตามความในมาตราก่อนแล้วนั้นก็ดี ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 7 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่ได้กำหนดให้การทำไม้หวงห้ามประเภท ก. เช่น ไม่สัก ไม้ยางทั่วไป ไม่ว่าขึ้นในท้องที่ใดถือเป็นการทำไม้หวงห้ามต้องขออนุญาต ซึ่งในกรณีไม้สัก ไม้ยาง ขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เป็นทรัพย์สินของเอกชน เวลาทำไม้ต้องขออนุญาตนั้นเห็นว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพที่ขัดต่อหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักได้ความสัดสวน ฝ่ายนิติบัญญัติได้มองเห็นความสำคัญของถึงหลักสมควรแก่เหตุนี้จึงได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 7 (แก้ไข ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2562) ดังนี้
“มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม”
2.3 การใช้อำนาจบริหาร
การใช้อำนาจบริหาร เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งอำนาจบริหารเข้าใจในเบื้องต้นว่า เป็นอำนาจของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร จะพบว่าการใช้อำนาจตามกฎหมาย 2 ลักษณะ ดังนี้
2.3.1 การใช้อำนาจบริหารกระทำในฐานะทางการเมืองโดยอาศัยอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
การใช้หลักสมควรแก่เหตุของฝ่ายบริหารในฐานะทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้ เช่น เรื่องจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องภัยพิบัติสาธารณะหรือกรณีที่มีความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายที่เกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนหรือลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินก็ให้ฝ่ายบริหารในฐานทางการเมืองออกกฎหมายได้ เช่น ในกรณีของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้อำนาจฝ่ายบริหารการออกพระราชกำหนด มาตรา 172-174 เป็นต้น
2.3.2 กระทำในฐานะฝ่ายปกครองโดยอาศัยอำนาจกฎหมายปกครองเป็นหลัก
การใช้หลักสมควรแก่เหตุของฝ่ายบริหาร เช่น ในกรณีของประเทศไทยที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม เราสามารถพบได้จากการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุก็คือการบังคับบัญชาและการกำกับดูแล ดังนี้
2.3.2.1 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่นิติบุคคล
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่นิติบุคคล กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชา เป็นความสัมพันธ์ภายในนิติบุคคลมหาชนเดียวกัน เช่น ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น ส่วนอำนาจกำกับดูแล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลมหาชน เช่น จังหวัดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
2.3.2.2 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแล ในแง่ที่มาของการใช้อำนาจ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแล ในแง่ที่มาของการใช้อำนาจ กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดจากการจัดระเบียบภายในของรัฐ ภายในหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่ง ความสัมพันธ์ของบุคลากรจะเป็นความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นในรูปปิรามิด เจ้าหน้าที่แต่ละคนซึ่งอยู่ที่ฐานปิรามิด จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่คนหนึ่งและต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหรือคำบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้นี้โดยเคร่งครัด และเจ้าหน้าที่ผู้นี้เองก็จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามคำสั่ง คำบัญชาของเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป เป็นเช่นนี้ตลอดสาย จนถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นซึ่งอยู่ที่ยอดปิรามิด และจะเป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดของหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้เองการการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับบัญชาจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และผู้บังคับบัญชาจะปฏิเสธไม่ตรวจสอบคำวินิจฉัยสั่งการของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้ อำนาจบังคับบัญชา เป็น “อำนาจตามกฎหมายทั่วไป” ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะ ส่วนอำนาจกำกับดูแล เป็นอำนาจที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย กล่าวคือ รัฐ องค์กรส่วนกลางจะกำกับดูแลหรือมอบให้ส่วนภูมิภาค กำกับดูแล หน่วยงานเหล่านี้ ได้แก่ การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ รัฐวิสาหกิจหรือ องค์การมหาชนหรือ หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองและกำกับดูแลได้ต่อเมื่อ “กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และเพียงเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้” เท่านั้น “ไม่มีการกำกับดูแลโดยปราศจาก
อำนาจตามกฎหมายและไม่มีการกำกับดูแลเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้”
2.3.2.3 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ขอบเขตอำนาจการตรวจสอบการกระทำ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ขอบเขตอำนาจการตรวจสอบการกระทำ กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจที่เปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้อย่างสิ้นเชิง คือ สามารถตรวจสอบการกระทำต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ทั้งในแง่ “ความชอบด้วยกฎหมาย” และ “ความเหมาะสม” ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงไม่มีอิสระโดยปราศจากการควบคุมของผู้บังคับบัญชาได้ ส่วนอำนาจกำกับดูแล โดยปกติกฎหมายจะให้อำนาจรัฐหรือองค์การปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกำกับดูแลตรวจสอบ องค์การปกครองท้องถิ่นหรือ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การมหาชน หรือ หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง ในจัดทำบริการสาธารณะมิให้กระทำนอกวัตถุประสงค์และขัดแย้งกฎหมาย คือ “การตรวจสอบความชอบด้วยฎหมาย” ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นอิสระของหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแล อันเป็นหลักการกระจายอำนาจไว้
2.3.2.4 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ลักษณะผลของออกคำสั่งการในการใช้อำนาจ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ลักษณะผลของออกคำสั่งการในการใช้อำนาจ กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชา โดยหลักการมีคำสั่งใด ๆ ตามอำนาจบังคับบัญชาไม่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ยกเว้นกรณีแต่งตั้งโยกย้าย อำนาจกำกับดูแลของผู้กระทำดูแลที่สั่งการไปยังองค์กรหรือบุคคลที่ถูกกำกับดูแลจะเป็นคำสั่งทางปกครองทุกกรณี
การกระทำของฝ่ายบริหารทั้ง 2 ฐานะดังกล่าวจะกระทำเกินขอบเขตของกฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้ ต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนและหลักความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย แต่อย่าไรก็ตามในระบบการปกครองปัจจุบันจะมีการกระจายอำนาจบริหารออกไปหลายระดับ ทั้งแนวดิ่งและแนวนอนตามความชำนาญเฉพาะด้านและการธำรงประสิทธิภาพในการจัดการ เช่น ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอิสระต่าง ๆ รวมไปถึงหน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจหรือดำเนินกิจการทางปกครองด้วย
2.4 การใช้อำนาจตุลาการ
การใช้อำนาจตุลาการ เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในการตัดสินตามกฎหมาย อำนาจตุลาการเป็นอำนาจที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องใช้โดยบุคคลที่มีความเป็นกลางและต้องมีความเป็นอิสระเพื่อค้ำประกันความเป็นกลางนั้นด้วย อำนาจวินิจฉัยคดี มอบหมายให้ศาล (ฝ่ายตุลาการ) เป็นผู้ใช้อำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีข้อพิพาทในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้อำนาจทางนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ฝ่ายตุลาการมีภาระหน้าที่ในการควบคุมการตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักการของหลักนิติรัฐ (Legal State) และหลักนิติธรรม (The Rule of Law) ขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการจึงตองเป็นอิสระและเที่ยงธรรมบนพื้นฐานของหลักสมควรควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนและหลักความเสมอภาคในทางกฎหมาย
ตัวอย่าง การใช้อำนาจรัฐตุลาในกรณีของประเทศไทยที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม การในการนำหลักสมควรแก่ตุหรือหลักความได้สัดส่วนมาวินิจฉัยคดี ได้แก่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 54/2548 กรณีศาลจังหวัดลำพูนส่งคำร้องของจำเลย ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 264 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) กรณีมาตรา 5 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ในกรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติสรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5 เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราหรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี ซึ่งการที่กฎหมายกำหนดให้การทำสุราหรือมีภาชนะหรือเครื่องต้มกลั่นสุราไว้ในครอบครองโดยจะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิตนั้น เป็นเรื่องการควบคุมการผลิตสุราเพื่อประโยชน์ในทางภาษีและสุขภาพอนามัยของประชาชน ถึงแม้อาจเป็นการกระทำที่จำกัดสิทธิบ้าง แต่เป้นการกระทำที่จำเป็นและไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพในการผลิตสุรา เนื่องจากการผลิตสุราสามารถกระทำได้ภายใต้การควบคุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบกับพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5 ไม่ได้ทำให้เสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่อย่างใด ดังนั้นพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 จึงไม่มีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 และ มาตรา 29 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) เป็นต้น
ดังนั้นการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ในนามรัฐนี้ ต้องมีตัวแทนเข้าไปใช้อำนาจดังกล่าว เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์หรือการสรรหาของบุคคลเข้าไปใช้อำนาจในการออกกฎหมาย (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา) การกำหนดบุคคลใช้อำนาจทางบริหาร (คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจทางการเมือง ที่เรียกว่า “ฝ่ายการเมือง” กับเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจในทางปกครองหรือที่เรียกว่า “ฝ่ายปกครอง” ) การกำหนดบุคคลเข้าไปใช้อำนาจทางตุลาการ (ผู้พิพากษาของศาลต่างๆ) และบุคคลที่เข้าไปใช้อำนาจในนามรัฐต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้นเป็นการยากที่จะแยกอำนาจอธิปไตยออกจากกันอย่างเด็ดขาด การจะพิจารณาว่าการกระทำขององค์กร 1 ใน 3 นี้ องค์กรใดขัดหรือฝ่าฝืนต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) หรือการแบ่งหน้าที่ (Function of Powers) หรือไม่เพียงใด การกระทำนั้นจะต้องไม่กระทบแก่นของหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1) ดูจากเจตนาว่าการกระทำนั้นๆว่าจะต้องไม่มีเจตนาร้ายที่จะขัดขวางการใช้อำนาจขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
2) ดูจากผลของการกระทำนั้นๆว่าจะต้องไม่ส่งผลรุนแรงถึงขนาดที่ทำให้อำนาจอื่นไม่สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้หรือเกิดปัญหาในการใช้อำนาจ
3) ดูจากปริมาณของกรณีที่ถูกกระทบว่าจะต้องไม่ก้าวก่ายเข้าไปในอำนาจอื่นหลายครั้ง หากเป็นกรณีครั้ง 2 ครั้งและไม่เข้าข่าย ข้อ 1) และ 2) ก็อาจพออนุโลม
3. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการแบ่งอำนาจหน้าที่ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ซึ่งรวมถึงฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นเสมือนกลไกเสมือนเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็มักจะเกิดปัญหาขึ้นว่า เรื่องใดจะต้องให้สภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) เป็นตรากฎเกณฑ์ เรื่องใดสามารถปล่อยให้ฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายการเมือง (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) กับฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นเองได้ สำหรับเรื่องนี้หากนำหลักการแนวคิดว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตยเข้ามาประกอบการพิจารณา จะพบว่า ถ้าการกระทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญซึ่งกระทบ กระเทือนสถานภาพหรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ว่าเป็นประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม จะต้องให้รัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนเป็นผู้บัญญัติกฎหมายออกมา โดยฝ่ายบริหารทำหน้าที่ในการนำกฎหมายมาใช้บังคับและกำหนดรายระเอียดในทางปฏิบัติ ดังนั้นหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐจะกระทำโดยอำเภอใจและมิชอบด้วยกฎหมายต่อประชาชนมิได้ เพราะรัฐได้ยอมตนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายและยอมผูกพันการกระทำใดๆของตนกับกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่รัฐได้ตราขึ้นจึงมีหลักการที่สำคัญคือ หลักการควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ หลักการควบคุมไม่ให้การกระทำขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมาย โดยมีองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ เป็นผู้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและรวมไปถึงองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน องค์กรอัยการ คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น ที่มีอำนาจในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นด้วย
หนังสือเอกสารวารสารอ่านประกอบ
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม” นิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
http://www.enlightened-jurists.com/ เข้าถึงข้อมูลวันพุธ ที่ 4 ธันวาคม 2554
......................... “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม”
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1431 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2554
สิทธิกร ศักดิ์แสง “ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายได้หรือไม่ในระบบกฎหมายไทย” วารสารกฎหมาย
ใหม่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 83 พฤษภาคม 2550
「ราชการส่วนกลาง คือ」的推薦目錄:
- 關於ราชการส่วนกลาง คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ราชการส่วนกลาง คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ราชการส่วนกลาง คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ราชการส่วนกลาง คือ 在 เจาะลึก!! พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตีความกฎหมายอย่าง ... 的評價
- 關於ราชการส่วนกลาง คือ 在 การบริหารราชการแผ่นดิน ตอน บริหารราชการส่วนกลาง - YouTube 的評價
ราชการส่วนกลาง คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
“สาระสำคัญของกฎหมายปกครองท้องถิ่น”
โดย สิทธิกร ศักดิ์แสง
บทสนทนาระหว่างผมกับนักศึกษา วิชา กฎหมายปกครองท้องถิ่น
นักศึกษา “อาจารย์ครับการจัดระเบียบบริหารราชแผ่นดินของประเทศเป็นอย่างไรครับ”
ผมตอบว่า “ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตืระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนท้องถิ่น”
นักศึกษา “อาจารย์ครับราชการส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย เป็นอย่างบ้าง”
ผมตอบว่า “การจัดราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ภายใต้หลักการกระจายอำนาจทางอาณาเขต ให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบทั่วไป ประกอบด้วย เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล
รูปแบบพิเศษ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร กับเมืองพัทยา”
นักศึกษา “อาจารย์ครับหลักการสำคัญของการปกครองท้องถิ่นเป็นอย่างไรครับ”
ผมตอบว่า “การปกครองส่วนท้องถิ่น คือหน่วยงานปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง โดยปกติการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปิดโอกาสให้ประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ เลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเพื่อเลือกผู้บริหารท้องถิ่นอีกทีหนึ่ง (เรียกว่าการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมตามลำดับ) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอำนาจอิสระ (autonomy) ในการบริหารจากรัฐได้ในระดับหนึ่งตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ สามารถเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตท้องถิ่นของตนได้โดยตรง ส่วนการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยอ้อม สภาท้องถิ่นจะทำหน้าที่เลือกผู้บริหารท้องถิ่นแทนประชาชนในท้องถิ่น กล่าวคือ ประชาชนในท้องถิ่นจะทำหน้าที่เพียงแค่เลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่านั้น แล้วสมาชิกสภาท้องถิ่นจะทำหน้าที่ในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นอีกชั้นหนึ่ง”
นักศึกษา “แนวคิดพื้นฐานการปกครองท้องถิ่นเป็นอย่างไรครับ”
ผมตอบว่า “แนวคิดพื้นฐานปกครองท้องถิ่น คือ
อยู่ภายใต้หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ เป็นการกระอำนาจทางอาณาเขตหรือทางเขตแดนหรือทางพื้นที่
และอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐ และหลักประโยชน์สาธารณะ โดยองค์กรปกครองท้องถิ่นใข้อำนาจปกครองคือ ผูกพันกับการใช้อำนาจดุลพินิจ”
นักศึกษา “อาจารย์ครับ หลักการกระจายอำนาจเป็นอย่างไรครับ”
ผมตอบว่า “การกระจายอำนาจ (Decentralization ) เป็นวิธีการที่รัฐ / ราชการส่วนกลาง โอนอำนาจการปกครอง หรือ บริหารบางส่วนบางเรื่อง ที่เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะให้องค์กรหรือนิติบุคคลอื่นรับไปดำเนินการแทน ภายใน อาณาเขตของแต่ละท้องถิ่น ด้วยงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น โดยมีอิสระพอสมควร ราชการส่วนกลางเพียงกำกับดูแล (มิใช่บังคับบัญชา) เป็นหลักที่ถือเอาเสรีภาพของประชาชนที่จะปกครองตนเองเป็นที่ตั้ง”
นักศึกษา “เครื่องมือขององค์ปกครองท้องถิ่นในการกระทำทางปกครองประกอบด้วยอะไรบ้างครับ”
ผมตอบว่า “เครื่องมือขององค์กรปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนแรก มาตรการทางกฎหมาย คือมาตรการทางแพ่งกับมาตรการทางปกครอง คือ การกระทำทางปกครอง ซึ่งประกอบด้วย
1) นิติกรรมทางปกครองที่เป็น “กฎ” กับ นิติกรรมทางปกครองที่เป็น “ คำสั่งทางปกครอง”
2) คำสั่งทั่วไปในทางปกครอง
3)ปฏิบัติการทางปกครอง
4) สัญญาทางปกครอง
ส่วนที่ 2 บุคลากรของท้องถิ่น
ส่วนที่ 3 ทรัพย์สินของท้องถิ่น”
นักศึกษา “อาจารย์ครับหลักการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองท้องถิ่นประกอบด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง”
ผมตอบว่า “ หลักการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ ดังนี้
1. หลักความเสมอภาค
2. หลักความต่อเนื่อง
3. หลักการแก้ไขเปลี่ยนแปลง”
นักศึกษา “อาจารย์ครับหลักการควบคุมการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีหลักการควบคุมอย่างไรบ้าง”
ผมตอบว่า “หลักการควบคุมการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีหลักการควบคุม มีดังนี้
1.หลักควบคมก่อนดำเนินการ แยกการควบคุมเป็น 2 ลักษณะ คือ การควบคุมโดยการปรึกษาหารือจากหน่วยงานของรัฐ กับการควบคุมแบบการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
2.หลักควบคมหลังดำเนินการ แยกการควบคุมเป็น 2 ลักษณะ คือ การควบคุมโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง คือการควบคุมแบบบังคับบัญชา กำกับดูแล การอุทธรณ์ และควบคุม กับการควบคุมโดยองค์กรภายนอก โดยสภาควบคุมองค์กรอิสระ และการควบคุมโดยศาล”
นักศึกษา “อาจารย์ครับ ตำบล หมู่บ้าน เป็นราชการส่วนภูมิภาคตามกฎหมายอะไร”
ผมตอบว่า “ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” ครับ
นักศึกษา (งง) “ไม่มีครับ ใน พระราชบัญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เขาไม่พูดถึงตำบล หมู่บ้านเลยนะครับ เขาพูดถึงการจัดระเบียบส่วนกลาง กระทรวง กรม ส่วนภูมิภาค พูดถึง จังหวัด อำเภอ เท่านั้น”
ผมตอบว่า “อ่านดีๆครับ ใน พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 การจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค มาตรา 68 เขาเขียนไว้ว่า “นอกจากการจัดระเบียบอำเภอแล้ว ในอำเภอให้เป็นไปตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่” ก็คือ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ครับ”
นักศึกษาบอกว่า “ออแบบนี้เองผมงง อยู่ตลอดว่าเป็นราชการส่วนภูมิภาคได้ไง”
ราชการส่วนกลาง คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
สรุปเนื้อหาหลักกฎหมายมหาชน
"รัฐในสถาบันกฎหมายมหาชน : ความเป็นนิติบุคคลของรัฐ"
รัฐเป็นสังคมมนุษย์รูปแบบหนึ่งที่รวมตัวแบบชุมชนและสมาคม (การมีประชากร) ผูกพันอยู่ติดกับดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก (การมีดินแดน) มีการปกครอง แยกระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง (การมีรัฐบาล) โดยผู้ปกครองมีอำนาจปกครอง เรียกว่า "อำนาจอธิปไตย" (การมีอำนาจอธิปไตย) ดังนั้น รัฐจึงเป็น “นิติบุคคลมหาชน” ที่มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย มีอำนาจพิเศษหรือมีอำนาจบังคับฝ่ายเดียว โดยผ่านทางกฎหมาย
ดังนั้นตามหลักทฤษฎีว่า ด้วยรัฐในสถาบันกฎหมายมหาชน ถือว่า “รัฐเป็นนิติบุคคลมหาชน” ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ (ระหว่างประเทศ)
แต่อย่างไรเมื่อพิจารณาความเป็นนิติบุคคลมหาชนของรัฐไทย พบว่า
“รัฐไทยเป็นนิติบุคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ” แต่ไม่ได้ให้ “รัฐไทยเป็นนิติบุคคลมหาขนตามกฎหมายในประเทศ”
สาเหตุ รัฐไม่เป็นนิติบุคคล พบว่า มีอยู่ 2 สาเหตุ ดังนี้
สาเหตุที่ 1 สืบเนื่องจากรัฐไทยใช้หลักการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ปกครองแบบสมุติเทพ "กษัตรย์ คือ รัฐ" คือ ประเทศ การฟ้องร้องกษัตริย์ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นเจ้าเหนือชีวิต จึงต้องฟ้องผู้คนดำเนินการแทนกษัตริย์ คือ เสนาบดีเจ้ากระทรวงที่ทำการแทนในนามกษัตริย์ เลยให้กระทรวงเป็นนิติบุคคล
2 เกิดจากคำพิพากษาของศาลฎีกา 725/2490 คดีอาชญากรสงครามที่ฟ้อง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่เข้าข้างฝ่ายอักษะ ทำให้พันธมิตรทิ้งระเบิดไปถูกบ้านเจ้าพระยาและได้ฟ้องศาลฎีกาได้พิพากว่า รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้ละเมิด และศาลฎีกาได้พิพากษาว่า “รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม” ไม่ได้เป็นนิติบุคคลของรัฐ จึงไม่มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายให้ฟ้องได้
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้รัฐไทยไม่เป็นนิติบุคคลมหาชนตามกฎหมายภายในประเทศ แต่กลับให้หน่วยงานทางปกครองเป็นนิติบุคคลมหาชน ดังนี้
1.ส่วนราชการ ซึ่งประกอบด้วย
1)ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม
2)ราชการส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด
3)ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ กับรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกา
3.องค์การมหาชน
4.หน่วยงานอื่นของรัฐ ประกอบด้วย
1)หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลฝ่ายบริหาร ได้แก่ องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
2) หน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับหรือกำกับดูแลฝ่ายบริหาร ได้แก่หน่วยงานสังกัดศาล เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หน่วยงานสังกัดองค์กรอิสระ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น หน่วยงานสังกัดฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นต้น
จากการที่รัฐไม่เป็นนิติบุคคลมหาชนภายในประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาความเป็นนิติบุคคล เข่น กรมมีฐานะเป็นนิติบุคคลมหาชน ในแต่ละกระทรวงมีหลายกรมมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรง แต่จะพบว่าในเรื่องหนึ่งอาจมีหลายกรมที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้มีความซ้ำซ้อนของหน่วยงานและมีปัญหาการประสานงานอาจทำให้ประชาชนไม่ได้การดูแลได้อย่างประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะ
ราชการส่วนกลาง คือ 在 การบริหารราชการแผ่นดิน ตอน บริหารราชการส่วนกลาง - YouTube 的美食出口停車場
การบริหารราชการแผ่นดิน ตอน บริหาร ราชการส่วนกลาง. 3K views · 3 years ago ...more. สนุกเรียนรู้. 546K. Subscribe. 546K subscribers. 48. Share. Save. ... <看更多>
ราชการส่วนกลาง คือ 在 เจาะลึก!! พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตีความกฎหมายอย่าง ... 的美食出口停車場
และเนื้อหาคลิปนี้จะติวเรื่อง ราชการส่วนกลาง คือ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง และกรม ติวเตอร์จะเจาะลึกทุกประเด็นในกฎหมายฉบับนี้อย่างละเอียด ให้นักศึกษาเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะเรื่อง ... ... <看更多>