ทรูมันนี่ วอลเล็ท เปิดมินิแอปฯ ระบบสมาชิก ช่วยให้ร้านค้า เพิ่มลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่า
ทรูมันนี่ วอลเล็ท x ลงทุนแมน
หากเราอยากเป็นคนที่ ดูแลลูกค้าให้ได้ดีที่สุด อยากเป็นคนส่งมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ได้อย่างตรงจุด
แต่เราไม่รู้จักและไม่มีข้อมูลของลูกค้าเลย แล้วเราจะทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร..
ดังนั้นหนึ่งในสิ่งที่หลายแบรนด์ทำ คือ “การทำระบบสมาชิก”
หรือที่เรียกกันว่า CRM (Customer Relationship Management)
เพื่อให้แบรนด์สามารถออกแคมเปนการตลาดที่น่าสนใจ ออกคูปองส่วนลดที่เหมาะสม
รวมไปถึงการให้ลูกค้าที่ใช้จ่ายกับแบรนด์เป็นประจำ ได้สะสมแต้ม แลกรีวอร์ด
เพื่อเป็นการรักษากลุ่มลูกค้าเก่า และเป็นการดึงดูดลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย
แต่การจะต้องจ้างคน มาช่วยสร้างระบบสมาชิกผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของตัวเอง
คงไม่ใช่เรื่องง่ายและแน่นอนว่าต้องใช้ต้นทุนที่เยอะ
ทรูมันนี่ วอลเล็ท จึงเปิดมินิแอปฯ ระบบสมาชิกครบวงจร “Membership Mini Program”
บนแอปพลิเคชันทรูมันนี่ วอลเล็ท ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 17 ล้านคน
เพื่อให้ร้านค้าต่าง ๆ ได้ขยายการเติบโต ในช่วงวิกฤติโควิด 19
แล้ว Membership Mini Program บนทรูมันนี่ วอลเล็ท น่าสนใจอย่างไร
ทำไมถึงเข้ามาช่วยร้านค้าและแบรนด์ต่าง ๆ ได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
Membership Mini Program เป็นมินิแอปพลิเคชันบนทรูมันนี่ วอลเล็ท
ที่มาพร้อมกับแพลตฟอร์มบริหารจัดการระบบสมาชิกลูกค้าแบบครบวงจร สำหรับร้านค้า
เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้ใช้งานทรูมันนี่กว่า 17 ล้านราย
ซึ่งโปรแกรมนี้ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดสำคัญ ที่ทำให้ร้านค้าได้รับข้อมูลลูกค้า
รวมถึงเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่าย และทำให้ร้านค้าสามารถสร้างสรรค์แคมเปนการตลาด
ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แล้วใน Membership Mini Program มีฟีเจอร์หลัก ๆ อะไรบ้าง ?
1. แสดงปุ่มโลโก้เแบรนด์ของร้านค้าบนแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มการรับรู้ให้กับแบรนด์ และภายในแอปพลิเคชันนี้มีผู้ใช้งานกว่า 17 ล้านคน
2. ลูกค้าของแต่ละแบรนด์ สามารถกดสมัครสมาชิกได้ในคลิกเดียว (One-click Subscription)
ลูกค้าที่สมัครไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ เนื่องจากหลังจากกดอนุญาต ก็สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ใช้ (เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ ข้อมูลติดต่อ ฯลฯ) กับบัญชีทรูมันนี่ได้เลย นอกจากนี้ ข้อมูลยังมีความแม่นยำและปลอดภัย เนื่องจากผ่านขั้นตอนการยืนยันตัวตนของแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet มาแล้ว
3. มอบคูปองส่วนลดหรือข้อเสนอกิจกรรมการตลาดแก่ลูกค้า
ภายในระบบของ Membership Mini Program จะมีการมอบคูปองส่วนลดหรือข้อเสนอกิจกรรมการตลาดแก่ลูกค้าผ่าน e-coupon ในแอปพลิเคชัน เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งสามารถรองรับคูปองออนไลน์สำหรับใช้บนเว็บไซต์ร้านค้าได้ด้วย
4. มีระบบเก็บสะสมและแลกคะแนนสำหรับลูกค้า
มีการเก็บคะแนนสะสมและแลกคะแนนสำหรับลูกค้าสมาชิกที่ใช้จ่ายผ่าน TrueMoney Wallet ที่ร้านค้า พร้อม Rewards e-Catalogue ที่ชื่อ Point Mall แสดงรายการของรางวัล/คูปองที่ลูกค้าสามารถแลกได้
5. การสะสมคะแนนอัตโนมัติ (Auto Point Collection) ผ่านการใช้จ่ายด้วย TrueMoney Wallet โดยไม่ต้องโชว์บัตร หรือบอกเบอร์
ซึ่งสะดวกทั้งลูกค้า และลดภาระงานให้กับทางร้านค้า
6. ร้านค้าสามารถแสดงรายการสินค้า พร้อมรูปและราคา ในรูปแบบ Product e-Catalogue/Online Menu ซึ่งสามารถแยกประเภทและหมวดหมู่ หรือตามสาขาได้
และร้านอาหารสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ เป็นเมนูออนไลน์ของร้านได้
7. ส่งข้อความอัตโนมัติ (Auto Push Notification) หาลูกค้า ตามพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า
เช่น ส่งหาลูกค้าที่ไปใช้จ่ายที่ร้านประจำแต่ยังไม่เป็นสมาชิกให้มาสมัครสมาชิก เป็นการหาสมาชิกให้ทางร้านค้าอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ส่งหาสมาชิกที่สมัครมาแล้วแต่ยังไม่มาเก็บคูปองให้ไปใช้คูปองก่อนหมดอายุ
หรือคอยแจ้งเตือนคะแนนสะสมของลูกค้าให้นำคะแนนไปใช้ เพื่อสร้างการกลับมาใช้จ่ายที่ร้านค้าอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้สำหรับร้านค้าที่มีระบบสมาชิกเดิมอยู่แล้ว และไม่อยากให้ซ้ำซ้อนกับระบบสะสมคะแนนเดิมที่มี ทางทรูมันนี่ก็มีโชลูชั่นทางเลือก “Coupon Mini Program” ที่อนุญาติให้ร้านค้าสามารถตัดฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับการสะสมหรือแลกคะแนนออกไปได้ โดยยังคงได้ฟีเจอร์ล้ำ ๆ อย่างอื่นอยู่ เช่น E-Coupon สมัครสมาชิกคลิกเดียว การส่งข้อความอัตโนมัติตามพฤติกรรม (Auto Push Notification) ฯลฯ เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าของทางร้าน
โดยไม่ว่าจะเป็นโซลูชันรูปแบบใด สิ่งที่เป็นจุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือ “การได้ข้อมูลของลูกค้า” ที่สามารถนำไปวิเคราะห์ทางการตลาดต่อไปได้
หากเรามาลองนึกดู ทรูมันนี่ วอลเล็ทเองก็ค่อนข้างมีจุดแข็งในเรื่องของ “ข้อมูล” เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ เนื่องจากเป็นแอปบริการทางการเงิน ที่ผู้ใช้บริการต้องมีการยืนยันตัวตน (e-KYC) ทุกคน แตกต่างจากช่องทาง social ต่าง ๆ ที่ลูกค้าอาจปลอมบัญชี หรือจะมีกี่บัญชีก็ได้ ทำให้แบรนด์ที่มาร่วม Mini Program ได้รับข้อมูลที่แม่นยำและสามารถดูแลลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างตรงจุด รวมไปถึงมี “ข้อมูลการใช้จ่าย” ที่เชื่อมโยงกับการรับชำระเงินด้วยทรูมันนี่ วอลเล็ท ที่ช่วยให้ร้านค้าวิเคราะห์เชื่อมโยงพฤติกรรมของลูกค้าได้ไปในอีกระดับ
และที่น่าสนใจก็คือ แพลตฟอร์มทั้งหมดนี้ ได้มีการออกแบบให้ทั้งร้านค้าและลูกค้าใช้งานได้ง่าย
โดยร้านค้าสามารถปรับแต่งหน้าตาของ Mini Program สำเร็จรูปได้ด้วยตนเอง
รวมทั้งสามารถติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายและการใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หรือหากต้องการความช่วยเหลือ ทางทรูมันนี่ก็มี Technical Support พร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับผู้ประกอบการหรือร้านค้าที่สนใจบริการ “Membership Mini Program” ในแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet สามารถคลิกดูรายละเอียดต่าง ๆ และลงทะเบียนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้ที่ https://tmn.app.link/LTMMINIPROLP หรือติดต่อทาง LINE: @tmnminiprogram
ช่องทางดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทรูมันนี่ วอลเล็ท https://tmn.app.link/LTMMINIPRODL
อย่าลืมว่าช่วงเวลานี้คือช่วงที่ลูกค้า มีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป
หลายคนต่างเข้ามาทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น ซึ่ง “e-Wallet” คือหนึ่งในนั้น
หากร้านค้าและธุรกิจต่าง ๆ เข้าไปอยู่ในที่ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นเราได้บ่อย ๆ
และร้านค้าสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนี้ ในการเก็บข้อมูล เพื่อให้เราได้เข้าใจลูกค้า
แน่นอนว่าการมีแอปพลิเคชันรูปแบบนี้เกิดขึ้น ก็คงจะช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับร้านค้าได้ไม่น้อย..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ..
Boston Consulting Group (BCG) บริษัทที่ปรึกษาข้อมูลทางธุรกิจ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เงินสด ในปี 2020
พบว่า การใช้ e-Wallet ของคนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 84% ภายในปี 2568 เพราะ e-Wallet ช่วยให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยได้อย่างคล่องตัว ลดความกังวลเรื่องความสะอาด
#TrueMoneyWallet #ทรูมันนี่วอลเล็ท #TrueMoneyMiniProgram
References:
- เอกสารประชาสัมพันธ์ของทรูมันนี่ วอลเล็ท
- https://theaseanpost.com/article/e-wallet-adoption-rise-asean
ระบบสมาชิก line 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา ธุรกิจจัดอันดับเครดิต ที่ครองตลาดโดย 3 ราย /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงตลาดที่มีผู้แข่งขันน้อยรายในวงการการเงินโลก
หลายคนคงนึกถึง Big 4 แห่งวงการตรวจสอบบัญชี
ที่มี Deloitte, PwC, EY และ KPMG เป็นรายใหญ่ในตลาด
แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกตลาดที่ถูกครองโดยบริษัทเพียง 3 ราย
นั่นก็คือ ตลาด “จัดอันดับเครดิต”
3 บริษัท ที่ว่านี้คือบริษัทอะไรบ้าง
แล้วอะไรที่ทำให้ 3 บริษัทนี้ ยึดพื้นที่ในตลาดจัดอันดับเครดิตได้เกือบทั้งหมด?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
บริษัทจัดอันดับเครดิต หรือ Credit Rating Agencies (CRAs)
บริษัทเหล่านี้ทำหน้าที่จัดอันดับความสามารถในการชำระหนี้คืน ของตราสาร หรือผู้ออกตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น หุ้นกู้, พันธบัตรรัฐบาล
การจัดอันดับ จะออกมาในรูปแบบของ “เรตติ้ง” ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ ของผู้ออกตราสารทางการเงินนั้นๆ
โดยเรตติ้งจะเริ่มตั้งแต่ระดับสูงสุดที่ AAA คือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระน้อยที่สุด
ไปจนถึง D คือ มีโอกาสสูงในการผิดนัดชำระ
(แต่ละบริษัท อาจมีการแบ่งระดับเรตติ้งแตกต่างกัน)
นอกจากการให้เรตติ้งกับตราสารทางการเงิน
บริษัทเหล่านี้ ยังสามารถให้เรตติ้งกับรัฐบาลประเทศต่างๆ
เพื่อสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้คืนของประเทศนั้นๆ ด้วย
คำถามต่อมาคือ แล้วบริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ ทำรายได้อย่างไร?
รายได้หลักๆ ของธุรกิจนี้มาจาก
1. รายได้จากการ “เก็บค่าธรรมเนียมในการประเมินเครดิต” จากผู้ออกตราสารทางการเงิน
2. รายได้จากการ “ขายข้อมูลเครดิต” ที่ได้จากการรับประเมิน และข่าวสารต่างๆ ให้กับนักลงทุนหรือผู้ที่ต้องการข้อมูล ผ่านบริการอย่างเช่น ระบบสมาชิก (Subscription)
ที่น่าสนใจคือ ส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 95% ของตลาดจัดอันดับเครดิต ถูกครอบครองโดยบริษัทเพียง 3 ราย เท่านั้น
บริษัท 3 รายที่ว่า นั่นก็คือ
1. S&P Global Ratings
2. Moody’s Investors Service
3. Fitch Ratings
โดย S&P Global Ratings และ Moody’s Investors Service ครองส่วนแบ่งในตลาดนี้รวมกันประมาณ 80% และ Fitch Ratings ครองสัดส่วนอีก 15% ส่วนที่เหลืออีก 5% เป็นบริษัทอื่นๆ
ตลาดที่มีบริษัทใหญ่ๆ เพียงไม่กี่รายครองส่วนแบ่งเกือบทั้งตลาดแบบนี้ เราเรียกว่า “ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)”
ซึ่งจุดเด่นอย่างหนึ่งของตลาดผู้ขายน้อยราย
คือบริษัทไม่กี่รายที่เป็นผู้ครองตลาด
สามารถสร้างสิ่งที่ทำให้บริษัทรายอื่นเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้ยาก
สิ่งนี้เรียกว่า “Barrier to Entry”
และ Barrier to Entry ของตลาดประเมินเครดิตนี้ ก็คือ “ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ”
แล้วบริษัทเหล่านี้สร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขึ้นมาอย่างไร?
ถ้าลองมาดูปีที่บริษัทเหล่านี้เริ่มทำธุรกิจ
- Standard and Poor’s มีจุดเริ่มต้นในปี 1860 หรือเมื่อ 160 ปีที่แล้ว
- Moody’s มีจุดเริ่มต้นในปี 1909 หรือเมื่อ 111 ปีที่แล้ว
- Fitch มีจุดเริ่มต้นในปี 1914 หรือเมื่อ 106 ปีที่แล้ว
จะเห็นว่า ทั้ง 3 บริษัท มีประสบการณ์มากกว่า 100 ปี
ซึ่งเราก็อาจสรุปได้ว่า ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้กับทั้ง 3 บริษัท
ตรงนี้เองที่เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้บริษัทจัดอันดับเครดิตที่เพิ่งก่อตั้งรายอื่นเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งได้ยาก
เพราะบริษัทที่จะมาใช้บริการในการประเมินเครดิต ก็จะเลือกใช้ 3 บริษัทนี้เป็นอันดับแรกๆ
แต่อีกมุมหนึ่ง การที่ 3 บริษัทนี้มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือสูง มันก็มีประเด็นในด้านลบเกิดขึ้นเหมือนกัน
หลายครั้งที่บริษัทเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าให้เรตติ้งสูงเกินควรกับลูกค้าบางรายเพื่อแลกกับผลประโยชน์ เพราะไม่ว่าบริษัทไหน ก็อยากได้เรตติ้งที่ดีจากบริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำกันทั้งนั้น
ถ้าใครที่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Big Short
ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐฯ ในช่วงปี 2008
จะเห็นว่าบางช่วงในภาพยนตร์ พยายามนำเสนอว่าบริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ ให้เรตติ้งกับตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อบ้านหนุนหลังในระดับที่สูงจนเกินไป และนำมาซึ่งปรากฏการณ์ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ แตกในที่สุด
พอเป็นแบบนี้ หลายๆ ประเทศจึงมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาดูแลการดำเนินงานของบริษัทจัดอันดับเครดิต ให้รัดกุมมากขึ้น
อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดวิกฤติซับไพรม์ ก็มีการปฏิรูปกฎหมายสำหรับควบคุม และตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทจัดอันดับเครดิตให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เช่น กำหนดให้บริษัทจัดอันดับเครดิตต้องเปิดเผยขั้นตอนและวิธีการของการประเมินเครดิตอย่างละเอียดให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีประเด็นในแง่ลบหลายครั้ง
แต่บริษัทจัดอันดับเครดิตรายใหญ่ทั้ง 3 เจ้านี้ ก็ยังครองตลาดนี้ได้เกือบ 100% ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว ที่บริษัทจัดอันดับเครดิตทั้ง 3 แห่งสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดนี้ได้
สาเหตุหลักมาจากชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ ที่สร้างขึ้นจากการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน
จนทำให้ไม่ว่าใครๆ ก็อยากได้การจัดอันดับเครดิตจาก 3 บริษัทนี้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตนเอง
และเรื่องที่น่าสนใจของธุรกิจประเภทนี้คือ
ตราบใดที่สินทรัพย์ทางการเงินยังคงต้องการการรับรองความน่าเชื่อถือ
บริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ ก็คงจะทำรายได้ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นเอง..
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.investopedia.com/articles/bonds/09/history-credit-rating-agencies.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Credit_rating_agency
-https://www.fitchratings.com/
-S&P Global 2019 Annual Report.
-Moody’s 2019 Annual Report.
ระบบสมาชิก line 在 รับทำเว็บไซต์ โดย Z.com - 🎯🎯 ระบบสมาชิกบน LINE OA ... 的美食出口停車場
สร้างเครื่องมือทางการตลาดมีระบบสมาชิก สะสมแต้ม คูปองส่วนลด ที่ลูกค้าสามารถเปิดผ่าน Line ได้เลยและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่าน QR code ที่สำคัญเป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทาง ... ... <看更多>