Ep. 65 - ปล่อยวาง หรือละเลย?
.
อันนี้ต้องถาม คู่กับคำว่าปล่อยวาง
อย่างไหนที่เรียกว่าปล่อยวาง
อย่างไหนที่เรียกว่ารับผิดชอบ
ถ้าอะไร ที่เรา
ยังพอรับผิดชอบได้ แต่เราปล่อยวาง
ชิงปล่อยวางซะก่อน
อันนี้คือสิ่งที่เรียกว่า เราไม่รับผิดชอบ
.
การปล่อยวาง
พระพุทธเจ้า วางหลักไว้เลยชัดเจนว่า
ทำอะไรก็แล้วแต่ คุณต้องประกอบด้วย
เมตตากรุณาก่อน ‘เมตตา’ คือความรัก
.
‘กรุณา’ คือความสงสาร
ถ้าเราทำด้วยเมตตากรุณาแล้ว
มันสามารถเกิดความเปลี่ยนแปลง กับเขาได้
นี่คือ คุณต้อง ‘มุทิตา’
ก็คือดีใจกับเขา
.
แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงแล้ว ช่วยแล้ว
จนสุดความสามารถ ของเราแล้ว
จนสุดแล้วจริง ๆ แล้วเขาไม่สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ คุณต้องอุเบกขา
การ ‘อุเบกขา’ คือการเมตตา
อย่างนึงเหมือนกัน
.
เมตตาใคร?
เมตตาตัวเอง!
ถูกปะ?
.
จะไปสู้ ไป fight กับความเลวคนอื่น
โอ้โห.. เอาความเลวตัวเอง
ให้มันรอดก่อนเถอะ
.
แต่ถ้าหากว่า เราพอที่จะช่วยได้
ยังมีบางสิ่งบางอย่าง ที่เราสามารถ รับผิดชอบได้
แต่เราไม่รับผิดชอบ นี่เรา ใช้อุเบกขาไม่ถูกที่
เราคือคนที่ ไม่ใช่ปล่อยวาง อันนี้ไม่รับผิดชอบ
.
พระพุทธเจ้าท่านพูดเรื่องนี้
หลายคนจริง ๆ แล้ว ชอบพูดภาษิตอันนี้
โดยที่ไม่รู้ตัว รู้มั้ยอะไร
“อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา”
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้ามึงไม่พึ่งตน
แล้วคุณจะพึ่งใคร ไม่มีใครให้คุณพึ่งได้แน่นอน
.
นี่คืออะไร นี่คือรับผิดชอบไง
คุณต้องรับผิดชอบตัวเอง!
พระพุทธเจ้าก็บอกไว้ชัดเจน
‘รับผิดชอบตัวเองนะจ๊ะ’
ท่องกันได้ไม่ใช่เหรอ?
.
นี่พระพุทธเจ้า สอนให้รับผิดชอบ
มีความสามารถแค่ไหน
ถึงจะเรียกว่าสุดความสามารถ
ถ้า ณ เวลานั้น ณ ขณะจิตนั้น
เรารู้ว่า เอ้า...ความสามารถเรา
มันระดับ 8 แต่ปัญหานี้ มันระดับ 9
บางทีต้องปล่อยวาง
.
แต่ถ้าถามว่า
เราหาคนระดับ 9 มา
แก้ปัญหานี้ได้มั้ย?
ถ้าหาได้ เราต้องรับผิดชอบ
แต่ถ้าหาไม่ได้
มันต้องปล่อยวางจริง ๆ
ใช่ปะ?
.
ท้ายที่สุดเลย จะพบว่า
บางครั้งบางทีเนี่ย การที่เรา ตั้งใจจะไปแก้ปัญหา
ให้คนอื่นเขาเนี่ย นั่นเป็นเพราะว่า
คนอื่นเขาไม่รับผิดชอบนะ
ถูกปะ?
.
ถ้าคนทุกคน
มันรับผิดชอบชีวิตตัวเอง มันจะ ไม่มีใครมานั่งแก้ปัญหา
ให้กันและกัน เพราะว่าเรา เ-ือกจะไปรับผิดชอบ
ชีวิตคนอื่นเขาไง ถ้าเราไม่เ-ือกจะไป
รับผิดชอบชีวิตคนอื่นเขา
เราก็ไม่เหนื่อยอะไรมากนักหรอก
.
เนี่ยเ-ือก….เ-ือกไปรับผิดชอบ
ชีวิตคนอื่นเขาไง เหนื่อย-ิบหายเลยเนี่ย
แล้วแต่คุณ มุมมองคุณดิ
คุณช่วยคน คุณให้คนเนี่ย
มันก็เป็นทานอยู่แล้ว
ใช่ปะ?
.
มันก็เป็นการสร้างบารมี
ของคุณ ถามว่า ทำไมถึงต้องมีบารมี
บารมี แปลว่า เต็ม
เต็มอะไร? เต็มคนไง ถ้าคุณเกิดขึ้นมาแล้ว
คุณสามารถทำนั่น ทำนู่นทำนี่ทำนั่นได้
แต่คุณไม่ทำ คุณไม่ได้สร้างบารมี คุณไม่เต็มนะเว่ย
เนี่ยถึงว่าคนไม่เต็มบาทเนี่ย
คุณไม่เต็มคนนะเว่ย
.
คนส่วนใหญ่ มันเป็นแบบนั้นแหละ
พอขอให้คนอื่นช่วยปุ๊บ
การขอให้คนอื่นช่วย
การขอความช่วยเหลือ
มันคือ ลืมไปว่า เขาช่วยในส่วนที่เรา
ไม่สามารถที่จะรับผิดชอบได้
เค้าควรที่จะช่วย เฉพาะในส่วนนั้น
.
แต่คนส่วนใหญ่เนี่ย ชอบแบบ… อย่างเงี้ย
คือ โยนความรับผิดชอบให้เลย “ช่วยเท่าที่ช่วยได้”
คำนี้ลึกซึ้งนะ ‘ช่วยเท่าที่ช่วยได้’
มันเป็นหลายเรื่อง ไม่ใช่แค่ความสามารถ
แต่เป็นเรื่องเวลา เป็นเรื่องพลังงาน เป็นเรื่องสมาธิเราด้วย
ถ้าเราช่วยไม่ได้
ก็ให้คนอื่นช่วย
.
เราไม่ได้แบก โลกทั้งใบไว้
เรามันฝุ่นผงในจักรวาล
จักรวาลมันกว้างใหญ่
เกินกว่าที่คุณจะมา ทุกข์มาเครียด
ด้วยเรื่องปัญหาของคนอื่น
จักรวาลกว้างใหญ่ขนาดไหน
มันไม่ยิ่งใหญ่
เท่าจิตใจคุณ
.
จิตใจคุณ ถ้าคุณจะขยายอะไร
ให้มันใหญ่กว่าจักรวาล
คุณก็เอามาขยายได้หมด
ทำอะไร ให้มันเล็กกว่าจักรวาล
คุณ ก็ทำเล็กได้หมด
มันอยู่ที่คุณ
.
ให้มุมมอง ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยังไง
มันก็สะท้อนมาสิ่งนั้นแหละ
………
ภาษาไทย “รับ ผิด ชอบ”
รับทั้งผิดและชอบ ผิดไม่ได้แปลว่าความผิด
แต่ ‘รับ’ ผลกระทบของมัน ทั้งทางดี
และทางไม่ดี คนเวลาตัดสินใจ
.
ตัดสินใจปุ๊บ จะเกิด 2 อย่างทันที
“ตัดสิน”
ตัดสินว่า
“เฮ้ย...กูเองแ-่งสิ่งนี้”
“เอาแ-่ง เอาชัวร์”
.
กับ “ตัดใจ”
คุณต้องขาดอะไรไปอย่างนึง
คุณต้องพร่องอะไรไปอย่างนึง
ทันทีที่เราตัดสินใจ
.
รับผิดชอบก็คือ รับทั้งผิดและก็ชอบ
“ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฉันรับเอง”
นี่คือรับผิดชอบ
ภาษาอังกฤษก็ ความหมายลึกซึ้ง
“Responsibility”
เป็นสองคำ
Response ก็คือ
การตอบสนอง
Ability ก็คือ
Level คุณขนาดไหน
คุณก็สามารถตอบสนอง ต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว
ได้มากเท่านั้น ได้ดีขนาดนั้น
ถูกปะ?
.
Level สูง ก็ตอบสนองสิ่งรอบตัวได้ดี
Level ต่ำ ก็ตอบสนองสิ่งรอบตัวได้ไม่ดี
คนที่ ไม่ยอมคิดที่จะรับผิดชอบอะไรเลย
คุณไม่ตั้งใจ ที่จะตอบสนองสิ่งต่าง ๆ
ด้วยตัวคุณเอง
.
เนี่ยคุณ level ไหนล่ะ?
เออ...เหมือนกัน ฉันใดฉันนั้น
ความรับผิดชอบ มันเป็นเครื่องสะท้อน
ว่าเราอยู่ ณ จุด ๆ ไหน
#ผู้กองเบนซ์
ปล. Level คุณขนาดไหน คุณก็สามารถตอบสนอง ต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว ได้มากเท่านั้น ได้ดีขนาดนั้น
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
*ติดต่องานวิทยากร,อบรมสัมมนา,สนับสนุนช่อง โทร 094-449-9464 (คุณจี้)
ช่องยูทูป : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
blockdit : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
IG : capt.benz
Line OA : @ captbenz
twitter : @ captbenz
พระพุทธเจ้า บารมี 在 Capt.Benz Facebook 的最佳解答
Ep.61 - "ความอยาก บาป/ ไม่บาป ?"
.
คำถาม แต่ละคำถามเนี่ย
‘อภิธรรม’ เลย
คือ…
“โหย…”
“ต้องอธิบายอย่างลึกซึ้งเลย”
………………………..
ถามว่า ’ความอยาก’ บาปมั้ย?
คุณอยากเรื่องอะไร?
ความอยากเนี่ย
.
จริง ๆ เนี่ย
มันประกอบด้วยบารมี
ก่อนจะอยากได้เนี่ย
คุณจะต้องมีความตั้งมั่นก่อน
ตั้งสัจจะก่อน
เป็นสัจจะบารมีก่อน
.
ว่า “เราจะเอาสิ่งนี้”
“เราอยากได้สิ่งนี้”
มันต้องตั้งสัจจะ
.
พระพุทธเจ้า
‘อยาก’ ตรัสรู้มั้ย?
‘อยาก’ พ้นทุกข์มั้ย?
เป็นความอยากมั้ย?
.
อ้าว…
แล้วความอยากพ้นทุกข์
งี้ความเลวมั้ย?
ไม่เลว!
.
ความอยากของพระพุทธเจ้าเนี่ย
ทำให้เราทุกคนเนี่ย
ได้รู้
ได้เห็นธรรมะ
ถูกจัดแบ่งออกเป็นหมวดหมู่
เป็นภาค ๆ ส่วน ๆ
แล้วเราก็เข้าใจมันมากขึ้น
ง่ายขึ้น
ถูกปะ?
.
เพราะฉะนั้น
ความอยากมันไม่เกี่ยว
ว่าเลว ไม่เลว
ดี ไม่ดี
ความอยากเป็นกิเลสมั้ย?
มันไม่เกี่ยว
.
สิ่งที่มันเกี่ยวคือ
‘คุณอยากอะไร?’
ไอ้ปลายทางตรงนั้น
มันคืออะไร
ความอยากอย่างแรก
ที่คุณมีเกิดขึ้นแน่นอนเลย
“สัจจะบารมี”
.
อย่างที่สองคือ
“อธิษฐานบารมี”
แล้วระหว่างขั้นตอน
จากจุดที่อยาก
ไปจนสู่จุดที่แบบ
ได้ในความอยากนั้น
ถึงเป้าหมายตรงนั้น
นี่ “วิริยะบารมี” นะครับ
‘ความเพียร’ นะครับ
คนล่วงทุกข์ได้
เพราะความเพียร
.
งั้นเพราะฉะนั้น
ถามว่า “ความอยาก บาปมั้ย?”
อยากอะไรล่ะครับ?
ถ้าคุณอยากฆ่าคนเนี่ย
xxx ก็ตอบได้
บุญหรือบาปล่ะ?
.
แต่ถ้าอยากทำความดี
บุญหรือบาปล่ะ?
แต่ถ้าความอยาก
มันเกินเลยไป
จนถึงว่าทำบุญ
เพื่อที่จะได้ขึ้นสวรรค์
พระพุทธเจ้า ไม่ได้บอกว่า
ทำบุญทำทาน เพื่อขึ้นสวรรค์
.
ท่านบอกว่าทำทาน
เพื่อละกิเลสตัวโลภ
แต่มาเท่าไหร่
เก็บไว้ใช้พอสมควร
เก็บไว้สำรองพอสมควร
แล้วก็แบ่งปัน
เอาหลัก “โภควิภาค” อะ
แบ่งเป็น 4 ส่วน
.
รายได้ที่ได้มา
1. ใช้จ่าย 2. เก็บสำรองไว้ 3 กับ 4
อันนี้เอาไปลงทุน ลงทุนในไหน
ลงทุนในชีวิต กับลงทุนในทางธรรม
เข้าใจปะ?
.
การลงทุนในทางธรรมก็คือ
ลงทุนเพื่อละกิเลส
คุณก็ต้องให้ทาน
คุณก็ต้องบริจาค
ให้ผู้ที่ด้อยกว่า
คุณอยู่ที่ว่าคุณอยากอะไร
.
ถ้าอยากชั่ว คุณก็บาปสิ
ไม่น่าถามเลย อยากได้ผัวเขา
นี่เ-ี้ยแน่นอน
ไม่ต้องไปถามใครเลย
คุณถามตัวเอง
ถามแม่คุณก็ได้
ถามรอบ ๆ ตัว
“แม่จ๋า”
“หนูอยากได้ผัวเขา”
“บาปมั้ย?”
ถ้าแม่คุณ
“อุ๊ย..! สุดยอดลูก”
แม่คุณบ้าแล้ว
.
มันผิดด้วยศีลด้วยธรรม
มันไม่ได้
ผิดศีลก็ผิด
กฎหมายก็ผิด
เชิดหน้าชูตาได้เหรอ?
“ฉันอยากได้ผัวเขา”
.
มันดูพื้นฐานว่า
สิ่งนั้นน่ะ ทำให้ใครเดือดร้อนรึเปล่า
“สจิตฺตปริ โยทปนํ”
ทำใจใส ๆ ประพฤติเช่นนั้น
ทำให้ใจใสรึเปล่าล่ะ?
“สัพฺพปาปสฺส อกรณํ”
‘บาปทั้งหลายอย่าทำ’
“กุสลสฺสูปสมฺปทา”
‘ขึ้นชื่อว่ากุศล ทำซะ’
“เอตํ พุทธานสาสนํ”
ไม่ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ก็บอกแบบนี้เหมือนกันหมด
.
เอาสามข้อนี้ไปใช้
แค่นั้นพอ
เส้นกั้นของความอยากดี
กับความอิจฉาริษยา
มันอยู่ที่ว่าจิตคุณเนี่ย
มันคิดดีกับเขามั้ย
.
ถ้าเอาเห็นเขาเป็นไอดอล
“ปูชาจ ปูชนียานํ”
เห็นไอดอลแล้วทำตาม
นี่ไม่ใช่ความอิจฉา นี่เป็นมงคลด้วยซ้ำ
แต่ถ้าคุณ เห็นไอดอลปุ๊บแล้วคุณ
“เ-ี้ย”
“กูจะต้องเอามึงลงมาให้ได้”
“มึงมีตังค์ 10 ล้านใช่มั้ย”
“100 ล้าน ใช่มั้ย”
“กูจะทำให้มึง-ิบหายให้ได้”
“มึงมีผู้ติดตาม 2 ล้านใช่มั้ย”
“กูจะทำให้มึง-ิบหายให้ได้”
.
อย่างนี้มัน
ไม่ใช่ความอยากที่ดีไง
มันเป็นความบ่อนทำลาย
มันเป็นความอิจฉาริษยา
แล้ววิธีแก้อิจฉา
ง่ายนิดเดียว
.
คุณทำดีของคุณต่อไป
ไม่ใช่หน้าที่คุณเลย
ที่คุณจะต้องแบบว่า
ลดความเก่งลง
ลดสิ่งที่มึงสร้าง
ลงไป
.
ไม่ใช่..
ไม่ใช่หน้าที่คุณ
มันเป็นหน้าที่ของเขาด้วยซ้ำ
คนที่อิจฉาริษยา
ต้องพัฒนาตัวเองตามมา
‘เมตตา’ ไป
.
เราต้องการความเจริญฉันใด
มนุษย์ทั่วไป
ก็ต้องการความเจริญฉันนั้น
เรามีหน้าที่เดียว
แนะแนวทาง
.
เชื่อก็ดี
เชื่อก็มา
ไม่เชื่อก็เรื่องของคุณ
นี่คือ ‘เมตตา’ นะ
มันต้องเริ่มต้นจาก ‘เมตตา’
แล้วไป ‘กรุณา’
‘กรุณา’ คือความสงสาร
เมตตากรุณาต้องไปด้วยกัน
เข้าใจเขา
เข้าใจว่า
อ๋อ…
โอเค
มันเป็นอย่างนี้
เขาเปลี่ยนแปลงได้
‘มุทิตา’
ยินดีด้วย
แต่ถ้าเขาเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ยังคงคิดชั่วเหมือนเดิม
ก็…
‘อุเบกขา’ แล้วกัน
ตัวใครตัวมัน
ไอ้-่า
จิตเราเป็นยังไง
ต่อเขาล่ะ?
จิตเราคิดดีหรือคิดร้าย?
ถ้าเอาเขาเป็นตัวอย่าง
เอาเป็นต้นแบบ
นั่นจิตดี
แต่ถ้าเอาเขา
มาเป็นแบบ
คู่แข่งคู่อาฆาต
จองล้างจองผลาญ
ทำลาย แขวะ
นี่ไม่ใช่
ความเพียรที่ถูกต้อง
นี่มิจฉาทิฐิ
จริง ๆ พระพุทธเจ้าบอก
ถ้าจะพูดให้ลึกซึ้ง
บารมี 10 เนี่ย
ทำไปเถอะ
ทำทุกอย่างได้
แต่ต้องทำ
อยู่ใน ‘สัมมาทิฐิ’
สัมมาทิฐิ ก็คือ
ความคิดเห็นที่
ถูกต้อง
ถูกควร
ทาน - การให้
เป็นสัมมาทิฐิ
เป็นมิจฉาทิฐิได้มั้ย?
ให้เพื่อเป็นหน้าเป็นตา
เนี่ยมิจฉาทิฐิ
ตั้งใจ
ตั้งใจจะฆ่ามัน
เนี่ย
มิจฉาทิฐิ
บารมีมันเกิดหมดนะ
เพียงแต่ว่า
บารมีของเรา
เป็นสัมมาหรือมิจฉา
เท่านั้นเอง
…………………………….
ทุกข์มันคือผลลัพธ์
สุขมันคือผลลัพธ์
ทุกสิ่งทุกอย่าง
มันคือผลลัพธ์หมด
เราต้องการอยู่อย่างเดียวเท่านั้น
ต้องการสุข
นั่งตรงนี้ไม่สบาย
ไปนั่งตรงนั้น
เพราะคิดว่า
ตรงนั้นจะสบาย
สบายปุ๊บ
นั่งตรงนั้นจะเป็นสุข
ไม่สุขกายก็สุขใจ
มีอยู่แค่นั้น
เปิดร้านกาแฟตรงอื่นไม่ได้
มาเปิดตรงนี้
เพราะคิดว่ามันจะสุข
นอนคอนโดนั้นไม่ได้
ต้องมานอนที่บ้าน
คิดว่าบ้านนี้
มันจะสุขกว่า
ท้ายที่สุด
คนเราต้องการความสุข
เพราะฉะนั้นแล้วถ้าเกิดว่า
ทะเยอทะยานโดยที่
มันแบบ
ต้องแข่ง
ต้องอาฆาต
ต้อง…
ฆ่าฟันคู่แข่ง
ต้องอะไร ๆ ๆ
ทุกข์หรือสุข?
#ผู้กองเบนซ์
ปล. บาป ไม่ บาป ขึ้นกับ ‘คุณอยากอะไร?’
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
*ติดต่องานวิทยากร,อบรมสัมมนา,สนับสนุนช่อง โทร 094-449-9464 (คุณจี้)
ช่องยูทูป : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
blockdit : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
IG : capt.benz
Line OA : @ captbenz
twitter : @ captbenz
พระพุทธเจ้า บารมี 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
ศรัทธา/บุญกิริยา แห่งสาธุชน
สาธุชน ที่ยังมีกิเลส ย่อมปรารถนาความสุข หนทางในพระพุทธศาสนาก็มี หลักธรรมของฆราวาส ผู้ครองเรือน ย่อมมีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีศรัทธา "บุญกิริยาวัตถุ ๑๐" คือ แนวทางการสร้างบุญ บารมี ของมนุษย์ ฆราวาส ในเบื้องต้น โดยได้รับการอนุเคราะห์ สงเคราะห์ ได้รับเมตตาจากพระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็น เนื้อนาบุญของโลก
ความสุขของฆราวาส ของสาธุชน แต่ละคนไม่เหมือนกัน ตามอธิวาสนา ที่อบรมสั่งสมมาหลายชาติภพ ดังเช่นตัวผม ลักษณ์ เรขานิเทศ ผมมีความสุขกับ"บุญกิริยา"ในทุกๆอย่าง
ผมมีความสุขกับการสร้างพระ พระพุทธเจ้า พระกริ่ง พระชัย ผมสร้างถวายพระ ถวายวัด โดยไม่มีการคิดต้นทุน ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆผมสร้างแล้วถวายพระถวายวัด ทั้งหมด บางส่วน สร้างเพื่อให้วัด มอบให้เป็นที่ระลึก สำหรับสาธุชนที่มาถวายปัจจัยร่วมบุญ กับวัด หรืองานบุญกฐินบุญใหญ่ของชาวพุทธ หรือตามวาระที่หลวงพ่อท่านจะให้ใครไว้เป็นมงคล ก็ตามแต่ท่านเห็นสมควร
พระพุทธรูป เทพเทวา ที่ผมสร้าง ล้วนมีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ผมจะสร้างถวาย ประดิษฐาน ไว้ที่วัด แล้วให้ความรู้ความเข้าใจ ที่มา ประวัติ ด้วยผมสร้างด้วยความรู้ ความเข้าใจ ความผูกพัน อธิวาสนา ไม่ใช่วัดสร้างเอง ไม่ใช่พระสร้างเอง แล้วผมก็พาศรัทธาสาธุชน เข้าวัดนั้นๆ ร่วมบุญสร้างถาวรวัตถุที่จำเป็น ที่สำคัญ ให้เสร็จด้วยศรัทธา เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลา ซื้อที่ดินถวายวัด ฯลฯ จัดให้มีการทำบุญตามพุทธพิธี ถูกต้อง และ นิมนต์พระแสดงพระธรรมเทศนา ให้ธรรมะแก่สาธุชนที่ผมพาเข้าวัด (แต่ปัจจุบัน จะหาพระสงฆ์ที่เทศนาสั่งสอนอบรมคนสาธุชน ให้เข้าถึงพระธรรม แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็หายากเหลือเกิน นั่นคือความบกพร่องทางสงฆ์)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราช พระองค์เคยมีเมตตา ต่อศรัทธาของผม ลักษณ์ เรขานิเทศ ที่กราบเรียนท่านเมื่อครั้งท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดฯ ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสมเด็จ ที่เจ้าคุณสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ครั้งนั้น ผมขอสร้างพระกริ่ง/พระชัยวัฒน์ ถวายเป็นมงคลบุญ โดยสร้างแล้วถวายทั้งหมด ไม่มีการ แบ่งมาขายมาจำหน่าย ท่านก็เมตตา ไปเททองให้ถึงโรงงานลุงสมร ที่เพชรเกษม
หน้าที่สร้าง ในพระ เทพ พรหม ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ ไม่ควรยึดมาเป็นหลัก เพราะพระสงฆ์ต้องยึด พระธรรม พระวินัย และการเคร่งครัด ปฏิบัติใน ศีล ในภาวนา และการปฏิบัติธรรม ส่วนการ สร้างรูปเคารพต่างๆในวัด ถ้าสาธุชน จะมาสร้าง มาประดิษฐานในวัด ทางวัด เจ้าอาวาส พระคุณเจ้า ต้องพิจารณาว่า เหมาะสม หรือไม่ "สร้างยิ่งใหญ่ สร้างข่ม พระพุทธ หรือไม่ ???" เดิมทีเดียววัดมีสาธุชนหนาแน่นอยู่แล้ว คนสร้างจะมาหากินหาประโยชน์หรือไม่???
เทพ พรหม ที่สร้าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับพุทธประวัติ เป็นสัมมาทิฐฐิ สร้างเพื่อการระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า และระลึกนึกถึง คุณธรรม ธรรมะ บุญบารมี ของสิ่งที่สร้าง เพื่อการสืบสายบุญศรัทธาสาธุชนที่มาวัด เพื่อสร้างบุญกิริยาด้วยศรัทธา พระสงฆ์มีหน้าที่ ให้ธรรมะ ไม่ใช่ ให้มามอมเมา ไปด้วยเทพ พรหม กุมารทอง สารพัด ฯลฯ
สรุป วัดคือสถานที่แห่ง"ศรัทธา" พระต้องนำสาธุชนเข้าหาธรรมะ หากมีเหตุปัจจัยจาก ศรัทธาอื่นๆ เช่นเทพ พรหม ต้องไม่ใช่พระสงฆ์ เจ้าอาวาส เป็นตัวตั้งตัวตี ในการสร้างเสียเอง หากสาธุชนคนที่มีศรัทธามาขอสร้าง วัดนั้นๆควรพิจารณาให้ดี ให้รอบคอบ ว่าเหมาะสมสมควรหรือไม่ พระสงฆ์เองแล้วต้องหาหนทางดึงศรัทธาสาธุชนมาสู่ธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะปัจจุบัน มีพระเจ้าอาวาส มีวัด คิดเรื่องการสร้างเทพ พรหม เทพวัตถุทั้งในและนอกศาสนาพุทธ แม่แต่สร้างเทพเจ้าของจีน หรือ ตัวตุ๊กตาในหนังการ์ตูน เต็มวัดและใหญ่โตมโหฬาร ไว้มอมเมา ประชาชน เยาวชน กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีครบทุกๆอย่าง ทั้ง ฮินดู ทั้งจีน ทั้งญี่ปุ่น ฝรั่ง มีเทพ ตัวการ์ตูน(ไว้หลอกเด็ก) แบบนี้ต่อไป แย่ครับ
ลักษณ์ เรขานิเทศ
ปล.วัดเจ้าอาม เดิมที่เดียวแทบไม่มีคนรู้จัก ไม่มีเทพ พรหมอะไรทั้งนั้น หลวงพ่อเจ้าอาวาส เป็นพระกรรมฐาน ชอบไปปฏิบัติธรรม วัดทรุดโทรม และปรารถนา ซื้อที่ดิน สร้างศาลาปฏิบัติธรรม ผมจึงขออนุญาตหลวงพ่อเจ้าอาวาส มีการประชุมกรรมการวัด จัดพื้นที่ ห่างจากโบสถ์ วิหาร แล้วนำพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผู้สร้างวัด ประดิษฐาน นำเทพที่เกี่ยวข้องพระพุทธศาสนา ประดิษฐาน แล้วตัวผมเองชักชวนนำพา สาธุชน แฟนคลับ สายบุญ ของผม เข้าวัดเจ้าอาม ได้ปัจจัยมาสร้างบุรณะวัดเจ้าอาม ด้วยผมนำพาศรัทธาทั้งหลาย หลวงพ่อท่านก็ให้ข้อธรรมะ แสดงธรรม นำปฏิบัติธรรม ตามวาระโอกาส นี่คือ ตัวอย่าง ที่ ชัดเจน ที่สุด ในหน้าที่ศรัทธาของสาธุชน และหน้าที่ของพระคุณเจ้า