#คิดเรื่องความคิด
#Metacognition
.
ในหนังสือ ประถม 4.0 ที่อาจารย์ประเสริฐเขียน
มีคำหนึ่งที่หมออ่านแล้ว รู้สึกติดใจในความหมาย
จนต้องไปอ่านหนังสือเพิ่มเติม คือคำว่า
Metacognition
(อ.ประเสริฐใช้คำภาษาไทยว่า เมตตาคอกนิชั่น
คิดเองว่า เมตตา จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราต้องเข้าใจจิตใจตัวเอง
และนึกถึงจิตใจผู้อื่น ซึ่งคล้องกับความหมายของ
metacognition คือ think about thinking)
เมตตาคอกนิชั่น
สำคัญต่อการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งของมนุษย์ เพราะ
#เราต้องรู้ว่าเรายังไม่รู้อะไร
ต้องรู้จักประเมินตนเอง ประเมินสถานการณ์
ประเมินความคิดของผู้อื่น ณ เวลาหรือ เหตุการณ์นั้นๆ
(ใครมีหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เขียนไว้ในตอนที่ 25-26/100 นะคะ)
.
และเมื่อวันก่อน
ได้ไปฟังเรื่อง visual learner ที่ อาจารย์ประภาภัทร กรุณา live ให้ได้ฟังกัน
(ใครยังไม่ได้ฟัง ไปฟังย้อนหลังที่ page สานอักษร ได้นะคะ) ซึ่งมาพ้องกับเรื่องนี้พอดี
.
เมื่อเอาความรู้ที่ได้อ่าน +ได้ฟัง+ การเลี้ยงลูก มารวมกัน เหมือนเป็น จิ๊กซอว์ เพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ในเด็ก
.
ตอนเด็กอายุ 2-3 ขวบ
เด็กมี cognition เด็กเรียนรู้ได้เร็ว
แต่เค้ายังมี metacognition ไม่มากนัก
การประเมินตัวเองไม่แม่นยำ
จึงเกิดปรากฏการณ์
“ไม่นะ....หนูจะทำเอง” อยู่ร่ำไป
สร้างความลำบากใจให้พ่อแม่ ว่าจะปล่อยให้ทำได้เหรอ?
เด็กเล็กรู้แต่สิ่งที่ (คิดว่า) ตัวเองทำได้
แต่ไม่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง
ตัดสินจากตัวเอง เป็นความคิด
ความรู้สึกของที่ไม่ซับซ้อน
ชอบ สนุก ไม่ชอบ กลัว ฯลฯ
แต่เมื่อได้ทำ ได้ประสบความความผิดหวัง
ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้
แท้จริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ก็เกิดความรู้....เกิดทักษะในการประเมินตัวเอง
สั่งสมเป็นประสบการณ์
และ เมื่อโตขึ้น
มีพัฒนาการทางความคิดและความรู้สึกที่มากขึ้นตามอายุ
ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
เอามาประมวลผล คาดคะเนสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
เช่น ผลงานของตัวเองในครั้งก่อนๆ ความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
ผลตอบรับของคนรอบตัว (สีหน้า ท่าทาง คำพูด ของพ่อแม่ ครู เพื่อนๆเป็นอย่างไร )
ได้เป็นผลลัพธ์ล่วงหน้า....
ทำแล้วจะได้อะไร และอยากจะทำหรือไม่
เป็นความคิดขั้นสูงที่ คาดคะเน การกระทำของตัวเองล่วงหน้า
.
จริงๆเหมือนไม่มีอะไรใหม่
แต่ทำให้หมอได้ฉุกใจคิด ว่าทุกย่างก้าวของการเติบโตของเด็ก
เกิดจากประสบการณ์เมื่อวานของลูกทั้งนั้น
และการเกิด metacognition
ไม่ได้มาจากแค่การขยายขนาดหรือเพิ่มจำนวนของเซลล์สมอง
แต่มันขึ้นกับ
👉จำนวนประสบการณ์ ที่ได้ทำเอง
👉กลวิธีที่ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วล้มเหลว
👉ผลของการกระทำของตัวเอง
👉สถานการณ์ที่แตกต่างกัน
👉ความคิดเห็น ความรู้สึกของคนอื่น ต่อการกระทำนั้น
👉แม้แต่ เรื่องของวัฒนธรรม ค่านิยม ก็เป็นข้อมูลที่สำคัญให้คนคนหนึ่งพัฒนาเรื่อง metacognition
.
เผลอแป๊บเดียว ตอนนี้ลูกสาววัย 7 ปีของหมอ
ก็มีเมตตาคอกนิชั่น
ที่เราไม่รู้ว่ามันพัฒนามาเมื่อไหร่ อย่างไร
แต่มันน่าทึ่งมาก
ยกตัวอย่างเหตุการณ์เล็กๆที่ เค้าเล่าให้หมอฟังว่า
มีอยู่วันหนึ่งที่เค้าถูกทำโทษหลังเลิกเรียน
แต่คุณครูอนุญาตให้ไปเข้าห้องน้ำก่อนได้
ขณะที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
เค้ามองเห็นว่าแม่มารับแล้ว
เค้าคิดว่า เค้าจะหนีกลับบ้านกับแม่เลยก็ได้
เพราะกระเป๋านักเรียนก็อยู่นอกห้อง
แม่ก็มารับแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไปแก้ตัวกับคุณครูว่าแม่มีเรื่องด่วนต้องพากลับบ้านก่อน
แต่ถ้าครูรู้ว่าเค้าโกหก
คุณครูก็อาจจะผิดหวังในตัวเค้าที่ไม่ซื่อสัตย์
และตัวเองก็อาจจะไม่สบายใจ
ที่สำคัญหนีกลับวันนี้
ก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ในวันพรุ่งนี้อยู่ดี
เค้าจึงตัดสินใจกลับเข้าห้องเรียน
ไปรับโทษเลยดีกว่า
ทั้งหมดนี้ อยู่ในสมองของเค้าในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เค้าเดินกลับจากห้องน้ำ
ภาพที่หมอเห็นคือ ลูกเดินมาจากห้องน้ำ เค้ายิ้มทักทาย และเรียกว่า “แม่”
และเดินกลับเข้าห้องไป ทำงานที่ครูให้ทำเป็นการไถ่โทษที่ทำผิด
.
ประเด็นคือ
1.เค้าคาดการล่วงหน้าได้อย่างไร ?
ครูคงผิดหวัง และตัวเองคงไม่สบายใจที่โกหก พรุ่งนี้ก็ต้องแก้ปัญหาใหม่ที่เกิดจากวันนี้
2. ความรู้สึกของคนอื่นที่ว่า “ผิดหวังในตัวเค้า” เค้าจะรู้ได้อย่างไร
3. สิ่งที่เค้าคาดคะเน อาจจะเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงก็ได้
แต่เค้ารู้จัก สมมติเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
เอามาเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และเค้าเลือกทางที่คิดว่าได้ผลลัพธ์ดีกว่าสำหรับตัวเอง
.
ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ใ น เ ม ตต า ค อ ก นิชั่น (Metacognitive Experiences)
เป็นประสบการณ์ทาง
ความคิดหรือความรู้สึกที่มีต่อการใช้ “ปัญญา “ในการแก้ปัญหา และทำให้เกิดการกำกับตนเอง (Self-Regulation) นำไปสู่การกระทำที่ทำให้เกิดเป้าหมายที่เราต้องการ
.
เมตตาคอกนิชั่น.....
ไม่ได้โตเหมือนกับ น้ำหนักและส่วนสูง
และไม่สามารถ เปิดคอร์สสำเร็จรูป สอนให้เด็กมีเมตตาคอกนิชั่นได้ชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในทุกๆวันของการเติบโต
เช่นกัน #ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อะไร
นอกจากจะสร้างปัญหาให้กับตัวเอง
อาจจะสร้างปัญหาให้ผู้อื่นและสังคมอีกด้วย
สิ่งที่เราช่วยลูกได้
❤เติมประสบการณ์ดีๆให้แก่สมองลูก
❤อ่านหนังสือด้วยกัน หนังสือเป็นเครื่องมือที่ดีมาก ที่ทำให้เค้าเข้าใจผู้อื่น ผ่านเหตุการณ์ณ์ของตัวละคร
❤พาไปท่องเที่ยวเห็นสิ่งใหม่ๆ ไม่ต้องหรูแต่ให้เห็นชีวิต เห็นสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
❤ประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำเอง และผลลัพธ์ที่ได้ เป็นข้อมูลที่แม่นยำที่สุดที่คนๆหนึ่งจะใช้ในการประเมินตัวเอง ดังนั้น ปล่อยให้ลูกได้ทำด้วยตัวเองให้มาก
❤รับฟังสิ่งที่ลูกคิด อย่างให้เกียรติว่าเค้าก็เป็นปัจเจก และปลูกฝังสิ่งดีๆจากการพูดคุยที่ให้เกียรติกัน ถ้าเราฟังลูก ลูกก็จะฟังเราอย่างเปิดใจ
ขอจบที่คำพูดของอาจารย์ประภาภัทร นิยม
“ทฤษฎี ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก ที่ได้อ่าน ได้รับรู้กันมากมาย ไม่ใช่เพื่อเอาไปคิด เอาไปเครียดว่าจะสอนลูกอย่างไรให้ได้ตามทฤษฎี แต่ให้รู้เพื่อให้วางใจได้ว่า เด็กเค้าเรียนรู้เองได้เองจริงๆ”
.
ทำยาก แต่จะพยายามค่ะ
.
หมอแพม
「ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อะไร」的推薦目錄:
ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อะไร 在 บางครั้งครอบครัวคือที่มาของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ ... 的美食出口停車場
ความรู้สึกไร้ค่า เป็นอารมณ์ ที่ เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน เมื่อกำลังเผชิญสถานการณ์ ที่ รู้สึก ว่าตัวเอง สามารถเป็นประโยชน์หรือแสดงศักยภาพได้ ... ... <看更多>
ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อะไร 在 มีหลายครั้งในชีวิต... - บันทึกนึกขึ้นได้ - Facebook 的美食出口停車場
ที่ ผมค้นพบว่าตัวเองไม่รู้จักโต แต่นั่นไม่ใช่เรื่องดีใช่ไหม ที่เรายังรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเรายังเด็ก ผมไม่รู้หรอกว่าผู้ใหญ่คืออะไร ... <看更多>