"เมื่อคิดถึงเศรษฐกิจและสังคม จนเปิดเมือง เปิดประเทศ ... ก็อย่าทิ้งเรื่องศึกษา ควรต้องคิดเรื่องเปิดโรงเรียน เปิดมหาวิทยาลัย ให้เด็กกลับไปเรียนหนังสือด้วยนะครับ"
เหมือนที่ผมพูดตั้งแต่ปีที่แล้ว แล้วว่า ทั้งยูนิเซฟและประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว ก็จะพยายามต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพื่อให้การศึกษาของเด็กและเยาวชน เดินหน้าต่อไปให้มากที่สุดและปลอดภัยที่สุด
การศึกษาจึงมักจะเป็นกิจกรรมอย่างท้ายๆ ที่จะถูกปิด และเป็นอย่างแรกๆ ที่จะถูกเปิด เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น
ในขณะที่ ของบ้านเรา มักจะเป็นตรงกันข้าม ด้วยความหวาดกลัวต่อโรค และไม่พยายามหาทางรับมือกับเชื้อโรค จึงมักจะปิดโรงเรียนก่อนเป็นอย่างแรก และเปิดเป็นอย่างสุดท้าย
ซ้ำร้ายคือ มีนักการศึกษาและผู้บริหารกระทรวงหลายคน กลับมั่นใจว่า การเรียนออนไลน์นั้นดีกว่าการเรียนในห้องเรียนจริง ทั้งๆ ที่ก็เริ่มเห็นภาพชัดแล้วหลังจากเวลาผ่านมา ว่าการเรียนออนไลน์นั้นสร้างบาดแผลให้กับเด็กเยาวชน ไปถึงผู้ปกครองและครูบาอาจารย์ ไม่ใช่น้อย
ในโอกาสที่ ศบค. ก็กลับลำ เลิกยึดนโยบาย "เอาชนะโรคโควิต" และหันมา "พยายามหาทางอยู่ร่วมกับมัน" แล้ว ... ก็หวังว่าทางกระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวง อว. จะหันมาใช้แนวนโยบายนี้ด้วยเหมือนกันนะครับ
ไม่งั้น จากที่เราต้องเรียนออนไลน์กันมา กว่า 3 เทอมเลยแล้วนี้ ก็คงต้องเรียนออนไลน์กันไปอีกเป็นปีๆ แน่เลย เพราะยังไงโรคโควิต มันก็จะระบาดซ้ำๆ อีกหลายครั้ง อีกหลายปีครับ
ขอเอาบทความด้านล่าง ที่มาจากโพสต์ของคุณ Eakarat Takiannuch นักข่าวชื่อดังซึ่งเอาประโยคของผม ไปเผยแพร่ในรายงานข่าวด้วย มาให้ดูกันนะครับ
----------
“เมื่อเรียนออนไลน์สร้างบาดแผล...
ถึงเวลาปลดล็อค เรียนเต็มรูปแบบ??”
เมื่อวานนี้ ผมไปทำข่าว ปัญหา #เรียนออนไลน์
หลังกระแสเรียกร้อง #ไม่เรียนออนไลน์แล้วอิสัส
ดังขึ้นใน Twitter สะท้อนถึงความสาหัสมากอย่างแท้จริง!
ต่อไปนี้ นี่ เสียงสะท้อนจากน้องๆ ครู อาจารย์
และคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ในภาพรวม ที่ผม
ให้เห็นภาพครับ
1.#ปัญหาด้านความพร้อม/#อุปกรณ์
-เน็ตไม่มี
-เน็ตทีแต่ไม่แรงหลุดตลอด
-แท็บเล็ตไม่มีต้องใช้โทรศัพท์
(ผมเพ่งพิมพ์ข่าวนานๆยังจะอ้วก)
-ไม่ใช่เด็กจะมีโทรศัพท์100%
-มีเครื่องเดียวลูก2คน
-ค่าเทอม/ค่าไฟ/ค่าเน็ต
2.#ด้านการเรียน(ของเด็กๆ)
-กดดัน
-นั่งจอคอมตลอดเวลา เหนื่อยล้า
-เล็คเชอร์ไม่ทัน
-พะว้าพะวัง เพราะไม่มีคำปรึกษาจากเพื่อนๆ
ข้างกาย
-บางวิชาเรียนออนไลน์ไม่ได้ หรือได้
แต่ลำบาก (พละ ฯลฯ)
-ทำงานกลุ่มไม่ได้ ลำบากมาก
3.#ปัญหาด้านสังคม
-สูญเสียการเรียนรู้ในวัยกำลังเติบโต
ที่จะไม่ย้อนกลับมาอีก!
-ความเป็น”เพื่อน”ในสังคมขาดหาย
-น้องที่อยู่มหาวิทยาลัย เปิดใจผมว่า
เค้าเหลือเวลาเป็นนิสิตอีกแค่ เทอมเดียว
(เสียช่วงเวลาที่จะใช้ชีวิตไปถึง 3 เทอม)
-เครียด กดดัน ซึมเศร้า
4.#ปัญหาด้านครู/รร.
-ต้องเรียนรู้เทคโนโลยี(ซึ่งดี แต่ความพร้อมไม่เท่ากันในแต่ละคน มีต้นทุนที่ต้องจ่าย)
-สั่งงาน กำกับดูแลยาก
-ดูแลเด็กๆได้ไม่ทั่วถึง
-การสอนอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆ
#เครียดกดดันเหนื่อยล้า ไม่แพ้เด็กๆ
-วางแผนการสอนได้ยาก เปิดเทอมมาล่าช้าอยู่แล้ว ต้องรวบรัด
-จัดการสอบยาก
5. #ส่วนหลายคนตั้งข้อสังเกตจะไปโรงเรียน
ก็เกรงกลัวและกังวลว่าจะติดเชื้อ
แต่สถานการณ์ผ่านมาถึงตอนนี้
ผมขออนุญาตหยิบยกเท่าที่มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ”อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์” อยากให้ดูมุมมองอาจารย์ สำคัญในการแก้ปัญหาจริงๆครับ! เพราะอาจารย์ ก็หนักเช่นกันฐานะคนสอน!
(กราฟิค)
"ครูอาจารย์ ก็จะไม่ไหวแล้วเหมือนกันครับ ฮะๆ
น่าจะเริ่มทบทวนนโยบาย "ปิดสถานศึกษา-หนีเชื้อโรค" มาหาทางอยู่ร่วมกับมันให้ได้นะครับ
ไม่ว่าจะเริ่มบังคับใส่หน้ากากตลอดเวลา ฉีดวัคซีนและตรวจ ATK ครู-เจ้าหน้าที่ทุกคนบ่อยๆ เปิดประตูหน้าต่างระบายอากาศ ฯลฯ , คนไหนติดเชื้อ ก็ให้หยุดได้ไม่เป็นวันลา หายก็กลับมาเรียนใหม่ , คนไหนกังวลไปเรียนไม่ได้ ก็เรียนออนไลน์ไปพร้อมเพื่อนที่เรียนที่โรงเรียน
วิธีการคือสิ่งที่ช่วยกันคิด ช่วยกันทดลองทำได้ .. ปัญหาอยู่ที่ mind set มากกว่า ว่าจะลุกขึ้นมาทำ หรือจะหนีปัญหากันต่อไปอีกเป็นปีๆ"
6. #สุดท้ายผมอยากให้ดู (ในกราฟฟิค)
ในสิ่งที่ “ปลัดกระทรวงศึกษา” ท่านว่าไว้
ว่าความสำคัญของ “วัคซีน ไฟเซอร์” ที่ฉีดในเด็ก
จะเป็นตัวชี้วัด บอกแล้วว่ามันสำคัญ ครับ...
#ไม่เรียนออนไลน์แล้วอิสัส #Covid1
-------
รูป และ ข้อมูลข่าวจาก https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4897931920222353&id=100000167812363
Search
ปัญหาด้านความพร้อม 在 ทิศทางการบริหารคน - ปตท. 的美食出口停車場
พร้อม เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีศักยภาพที่พร้อมรับความท้าทายมาร่วมเป็นกำลังสำคัญในการ ... เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านความคิด วัฒนธรรม มุมมองและประสบการณ์ ... ... <看更多>