เมื่อวานนี้มีโอกาสได้นั่งสนทนารับความรู้จากพี่เตา-บรรยง พงษ์พานิชยาวนาน ระหว่างพูดคุยกัน ผมรู้สึกทึ่งเวลาที่วาณิชธนากรอาวุโสท่านนี้หยิบยกเอาเกร็ด ประวัติ ชื่อบุคคล รวมถึงเนื้อหาสำคัญจากหนังสือเล่มต่างๆ ออกมาเล่าให้ฟังได้ราวกับกางหนังสืออ่าน
"ทำไมพี่เตาความจำดีขนาดนี้ครับ" ผมเอ่ยถามด้วยความทึ่ง คำตอบของพี่เตาเรียบง่ายแต่กระตุกให้หยุดคิด "ผมอ่านหนังสือช้า" ก่อนจะอธิบายว่า ถ้าอ่านอะไรจะอ่านจนกว่าจะเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็จะอ่านอีก นอกจากนั้นยังใช้หลักโยนิโสมนสิการ หรือสิ่งที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) เรียกว่าวิธีการแห่งปัญญามาใช้ในการอ่านด้วย
คืออ่านแล้วขบคิด ตั้งคำถาม เพื่อทำความเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้ว 'ข้อมูล' จะแปล่งร่างเป็น 'ความรู้' อยู่ในสมองของเรา เพราะเราผ่านกระบวนการ 'รู้' สิ่งนั้นแล้ว - ย่อหน้านี้ผมเสริมจากความเข้าใจของตัวเอง
คำตอบของพี่เตาชวนให้ผมทบทวนตัวเองที่บางครั้งก็อ่านหนังสือเร็ว (ไปถึงเร็วมาก) เพราะมีหนังสือที่อยากอ่านรออยู่อีกหลายเล่ม เดือนหนึ่งผมอ่านหนังสือจบหลายเล่ม แต่ที่น่าตั้งคำถามคือผมได้รับประโยชน์จากหนังสือเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน
"เลือกเล่มที่จะอ่าน แล้วอ่านจนกว่าจะเข้าใจ" ดูเป็นคำแนะนำที่น่านำมาปรับใช้อยู่เหมือนกัน
...
อ่านแล้วคิดตามไปด้วยโดยใช้โยนิโสมนสิการนั้นทำอย่างไร
'โยนิ' แปลว่าเหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง 'มนสิการ' แปลว่าการทำในใจ การคิด คำนึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อรวมแล้วจึงแปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) อธิบายวิธีคิดเช่นนี้ว่ามีหลักการ 2 แบบ คือ 1) มุ่งสกัดหรือกำจัดอวิชชาโดยตรง 2) มุ่งสกัดหรือบรรเทาตัณหา ซึ่งสามารถประมวลวิธีคิดเช่นนี้ได้เป็น 10 แบบ คือ
1. คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย:
คือคิดจากผลไปหาเหตุ เมื่อเกิดผลอย่างหนึ่งแล้วก็ลองค้นหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลสืบทอดกันมาว่าอะไรทำให้เกิดสิ่งนี้ เพราะทุกสิ่งล้วนเป็นเหตุปัจจัยกัน วิธีคิดแบบนี้ทำให้ไม่หมกมุ่นอยู่กับผลตรงหน้า พอทราบเหตุที่มาแล้วก็จะเข้าใจว่าเพราะอะไรจึงเกิดผลเช่นนี้ ทำให้เห็นสิ่งต่างๆ ชัดเจนขึ้น
2. คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ:
พูดทางธรรมอาจเป็นการพิจารณาการประชุมกันของขันธ์ 5 เพื่อให้เห็นว่าตัวตนหรือสิ่งต่างๆ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ล้วนแล้วแต่ไร้แก่นสาร แต่ถ้าพูดทางโลกย์ก็อาจใกล้เคียงกับการคิดวิเคราะห์ คือแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ออกมาให้เห็นชัดๆ ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แบ่งหมวดหมู่ได้อย่างไรบ้าง แบ่งส่วนแบ่งกลุ่มได้อย่างไรบ้าง การคิดแบบนี้ช่วยสะสางความมะรุมมะตุ้มของโจทย์ที่คิดอยู่ได้ดี
3. คิดแบบรู้เท่าทันความธรรมดา:
คือมองอย่างรู้เท่าทันความเป็นไปซึ่งต้องเป็นเช่นนั้นเองของสิ่งต่างๆ ในทางธรรมคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หากปรับใช้กับชีวิตประจำวันอาจแบ่งเป็นสองขั้นคือ รู้เท่าทันและยอมรับความจริง เมื่อมีสิ่งไม่ถูกใจก็มองเห็นตามจริง ไม่ผลักไสปฏิเสธ ยอมรับว่ามันเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ปลงตก ขั้นที่สองก็คือ แก้ไขไปตามเหตุปัจจัย เมื่อยอมรับความจริงแล้วและแก้ปัญหาไปตามจริงเช่นกัน เป็นอิสระจากอัตตา ความอยากที่ฝืนความจริงที่เกิดขึ้น การแก้ปัญหาด้วยหัวโล่งๆ กับการแก้ด้วยความทุกข์นั้นต่างกันมาก
4. คิดแบบแก้ปัญหา:
เป็นวิธีคิดที่ครอบคลุมวิธีแบบอื่นๆ ด้วย เช่น คิดจากผลไปหาเหตุ เมื่อรู้เหตุแล้วก็แก้ที่เหตุ คิดเพื่อแก้ปัญหาต้องคิดแบบตรงไปตรงมา ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องที่ไม่เกี่ยวทำให้เสียอารมณ์ หรือสนองความสะใจของตัวเอง สิ่งที่ควรทำคือ กำหนดวิธีการ แผนการ รายการสิ่งที่จะทำซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย
5. คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย:
มั่นคงในเส้นทาง รู้ชัดว่าเรากำลังจะทำสิ่งนี้เพื่ออะไร จะได้ไม่ไขว้เขวออกนอกเส้นทางหรือหลงทาง เป็นสิ่งที่ต้องย้ำเตือนตัวเองบ่อยๆ มิฉะนั้นทำไปเรื่อยๆ ก็อาจผิดเพี้ยนไปจากความตั้งใจแรก
6. คิดแบบรู้ทันคุณโทษและทางออก:
มองสิ่งต่างๆ รอบด้าน เห็นทั้งด้านดีและร้าย ข้อดี-ข้อเสีย การแก้ปัญหาต้องเข้าใจทุกมุมก่อน ซึ่งการเห็นรอบด้านก็คือการมองตามจริง ไม่อคติ ระหว่างแก้ปัญหาก็จะมองเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นดี-ไม่ดีอย่างไร มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร รู้ทันการการกระทำของตัวเองด้วย
7. คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม:
เป็นวิธีคิดเพื่อขัดเกลากิเลสตัณหา เวลาจะซื้อ บริโภค หรือเลือกอะไรก็ตาม ถ้าถามตัวเองว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าแท้ (จำเป็นต่อชีวิต สร้างความดีงามต่อจิตใจ ใช้แก้ปัญหา เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น) หรือคุณค่าเทียม (เพื่อพอกอัตตา เสริมความหยิ่งผยอง ให้ดูหรูหรา โดดเด่น) เป็นแบบไหนกันแน่ อีกแง่หนึ่งคุณค่าแท้คือสิ่งที่เป็นกุศล พอเหมาะพอดี มีสติ ส่วนคุณค่าเทียมก็คือเพิ่มความโลภ ริษยา ยกตนข่มท่าน แก่งแย่งจากคนอื่น
8. คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม:
คิดเพื่อส่งเสริมความงอกงามในตัวเอง ประสบการณ์อย่างเดียวกัน จิตของมนุษย์ที่แตกต่างจะปรุงไปคนละแบบ การทำใจตั้งต้นเพื่อชักนำความคิดไปในแง่ดีและเป็นประโยชน์คือวิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็จะมองประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเจอได้ แม้ในเรื่องร้ายๆ ก็ตาม
9. คิดแบบอยู่กับปัจจุบัน:
กลับมารู้สึกตัว ตอนนี้มือของคุณกำลังจับโทรศัพท์มือถืออยู่หรือเปล่า ตาของคุณกำลังจ้องมองที่ตัวอักษร ร.เรือตัวนี้ ก้นของคุณกำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้หรือโซฟา เพื่อเรียกสติกลับมา ไม่หลุดลอยไปกับอดีตหรืออนาคต ต้องทำสิ่งนี้เพื่อไปหลุดลอยไปกับความคิดฟุ้งจนเกินไป
10. คิดแบบวิภัชชวาท:
คำนี้คือการรวมระบบวิธีคิดทั้งหมดเข้าด้วยกัน คือ เห็นตามจริง เห็นครบทุกด้าน จำแนกส่วนประกอบ จำแนกเหตุที่มา ฯลฯ ความสับสน 3 อย่างที่มักเกิดขึ้นกับคนเราก็คือ 1) เอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันมาเกี่ยวกัน 2) คิดว่าผลที่คล้ายกันเกิดมาจากเหตุปัจจัยแบบเดียวกัน ซึ่งอาจไม่จริงเลย 3) มองข้ามเหตุปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น คนสองคนทำงานได้ดีเท่ากัน แต่มีคนหนึ่งได้รับเลือก อาจมีเหตุปัจจัยอื่น คนนั้นอาจพูดจาอ่อนน้อมกว่า เป็นต้น
...
หลักโยนิโสมนสิการทั้งสิบข้อนี้เป็นหลักในการคิดที่พี่เตาใช้เป็นประจำเพื่อมองปัญหาหรือโจทย์ต่างๆ ให้ชัดเจน นำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อลองไล่เรียงไปทั้งสิบข้อจะพบว่าสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งของวิธีคิดเช่นนี้คือ 'สติ' หากไม่มีสติเราก็พร้อมจะตกร่องลงไปในความคิดที่มีอคติ ความคิดที่ไหลไปตามอารมณ์ ความคิดเข้าข้างตัวเอง ตีโจทย์มั่ว หาเหตุผลข้างๆ คูๆ เป็นไปได้มากมาย
วิธีคิดเช่นนี้เป็นวิธีคิดที่ตรวจสอบสิ่งที่ตัวเองคิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อนำมาใช้กับการอ่านจึงเป็นการตรวจสอบสิ่งที่ตัวเองอ่าน รวมถึงความคิดที่ผุดขึ้นมาระหว่างอ่านตลอดเวลาเช่นกัน
อ่านด้วยโยนิโสมนสิการก็อาจคิดไปด้วยว่า ทำไมผู้เขียนจึงเขียนสิ่งนี้ขึ้นมา มองเห็นด้านบวก-ด้านลบของสิ่งที่อ่านอยู่ เห็นเหตุปัจจัยของสิ่งที่เราอ่านว่ามีที่มาจากอะไร เตือนตัวเองว่าเราอ่านสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร รู้ทันคุณค่าที่ได้จากการอ่านว่าเป็นคุณค่าแท้หรือเทียม มองหาประโยชน์จากสิ่งที่อ่านได้อย่างไรบ้าง
หากอ่านเช่นนี้แล้ว การอ่านอาจไม่จำเป็นต้องเร็ว จำนวนเล่มที่มากอาจไม่สำคัญเท่าเราได้อะไรจากการอ่านหนึ่งเล่ม ซึ่งแน่นอนว่าถ้าอ่านได้มากและได้ประโยชน์มากด้วยก็ยิ่งวิเศษ แต่สำหรับตัวเองแล้ว ผมคิดว่าจะต้องฝึกฝนอีกสักระยะ พอประทับใจกับ 'ความเข้าใจ' จากวิธีการอ่านของพี่เตาทำให้อยากอ่านหนังสือให้ช้าลง ทำความเข้าใจกับเนื้อหาจนกระทั่งแปลงมาเป็นความเข้าใจที่เกิดขึ้นในตัวเองให้มากกว่าที่เคย
ซึ่งจะว่าไป การอ่านเช่นนี้ไม่ได้หมายถึงแค่อ่านหนังสือ แต่ยังนำหลักคิดนี้มาใช้ 'อ่าน' สิ่งต่างๆ ในชีวิตและสังคมได้ด้วย
ผมอาจเคยหลงไปกับคุณค่าเทียมที่เพียรบอกตัวเองว่าเดือนนี้อ่านหนังสือได้สิบเล่ม ทว่า-คุณค่าแท้จากการอ่านน่าจะอยู่ที่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการใส่ใจพิจารณาเนื้อหาในแต่ละเล่มอย่างแยบคายเสียมากกว่า
แต่ก่อนเวลามีคนชมว่า "เอ๋อ่านหนังสือเร็ว" ผมจะดีใจ ต่อไปคิดว่าตอบแบบพี่เตาอาจจะเท่กว่า "ผมอ่านหนังสือช้า"
ช้าๆ ได้ปัญญาเล่มงาม (ฮ่าฮ่า)
#นิ้วกลม
#Roundfinger
「นิ้วกลม ประวัติ」的推薦目錄:
- 關於นิ้วกลม ประวัติ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
- 關於นิ้วกลม ประวัติ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
- 關於นิ้วกลม ประวัติ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
- 關於นิ้วกลม ประวัติ 在 Bookpacker - คนแรกคือ “นิ้วกลม” หรือ พี่เอ๋ สราวุธ เฮ้ง ... - Facebook 的評價
- 關於นิ้วกลม ประวัติ 在 เปิดแนวคิดเบื้องหลังชีวิตนักเขียน 'นิ้วกลม' สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ - YouTube 的評價
- 關於นิ้วกลม ประวัติ 在 ชวนคุยกับ 'Roundfinger' นิ้วกลม-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ เรื่องแม่และความตาย 的評價
- 關於นิ้วกลม ประวัติ 在 คำคมแห่งชีวิต... ข้อคิดดี ๆ ให้ชีวิตนี้ก้าวต่อไป - Pinterest 的評價
นิ้วกลม ประวัติ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
ใครกำลังมองหาที่ฝึกงาน
มาฝึกด้วยกันที่ 101% มะ?
---
รับหลายตำแหน่งเชียว
มีญาติบอกญาติ
มีเพื่อนชวนเพื่อน
มีลูกสะกิดลูกนะครับ
บริษัทนี้ฝึกงานสนุก ลุกนั่งสบาย ;)
---
แชร์ได้แชร์ อย่าได้แคร์ใคร 555
ยอดมนุษย์นักศึกษาที่อยากฝึกงานทั้งหลาย มองทางนี้!!!
---
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีพลังวิเศษที่แตกต่าง และอยากหาพื้นที่ปลดปล่อยวิชาการต่อสู้โชว์แอ็คชั่นในหลากหลายรูปแบบที่ต่างกัน อย่าได้พลาดที่จะมาสมัครเข้าร่วมขบวนการกับเรา มารวมพลังเพื่อต่อสู้กับความท้าทายใหม่ๆ กับ ขบวนการ ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์!!!
รับสมัครสมาชิกร่วมขบวนการที่มีความสามารถพิเศษ 4 สี 4 ตำแหน่ง :
1. ตำแหน่ง : เขียนบท / ทำข้อมูล
2. ตำแหน่ง : ครีเอทีฟ
3. ตำแหน่ง : ถ่ายทำ / ตัดต่อ
4. ตำแหน่ง : กราฟิก
---
ร่วมขบวนการกับโตมร ศุขปรีชา นิ้วกลม ปกป้อง จันวิทย์ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล และทีมสร้างสรรค์รายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอด - is coming - สารคดีป๋วย อึ๊งภากรณ์ / รายการทีวี / สารคดี / งานวิจัย / คลิปความรู้สนุกๆ / ออกแบบพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย / จัดงานอีเวนท์เก๋ๆ / ทำอินโฟกราฟิกเจ๋งๆ / เว็บไซต์มันส์ๆ ถ้าชอบอะไรแบบนี้ พลาดไม่ได้เด็ดขาด!!!
---
ถ้าคุณมีท่าไม้ตายทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
รักการสื่อสารให้สนุกเป็นอาวุธลับ
อย่ารอช้า!!! ส่ง portfolio ประวัติ จดหมายแนะนำตัว และภาพถ่าย
มาได้ที่ฐานบัญชาการ : the101percent@gmail.com
หรือโทร : 02-618-6394 , 0832288553
หมดเขตรับสมัคร : 29 ก.พ. 59
ระยะเวลารวมตัว : พ.ค. - ส.ค.
อ้อลืมบอกขบวนการของเราจะไม่เรียกหุ่นยนต์มาตอนจบนะจ๊ะ
...เพราะเรารอพวกคุณอยู่!!!
นิ้วกลม ประวัติ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
แถวนี้มีกราฟิกเก่งๆ ไอเดียเริ่ดๆ บ้างไหม
เรากำลังหามาแจมกัน
รับรองว่ามีงานหนุกๆ แปลกใหม่รออยู่ตรึมมมมมม
มีญาติบอกญาติ มีเพื่อนบอกเพื่อน
ช่วยกันควานหาเพชรในเฟซบุ๊กหน่อยครับ
อยากได้กราฟิกดีไซเนอร์มือฉมังมาแจมกันครับ!
ฝากแชร์หน่อยนะครับพี่ๆ น้องๆ ^ ^
อาจารย์ท่านใดมีลูกศิษย์แนะนำแท็กมาโลดคร้าบ
"Graphic Designer" ฟังทางนี้!!!
---
หากคุณกำลังมองหางานสนุกๆ ท้าทาย ได้ลับคมฝีมือและฝีสมองสม่ำเสมอ อย่าได้พลาดที่จะส่งงานมาคุยกับเรา เรากำลังต้องการนักออกแบบมือฉมังมาร่วมงานกับพวกเรา ทีมงานอันแสนหฤหรรษ์ บริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์!!!
มาร่วมผสมสมองกับโตมร ศุขปรีชา นิ้วกลม ปกป้อง จันวิทย์ ทีปกร วุฒิพิทยามงคล และทีมสร้างสรรค์รายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอด - is coming - สารคดีป๋วย อึ๊งภากรณ์ / รายการทีวี / สารคดี / งานวิจัย / คลิปความรู้สนุกๆ / ออกแบบพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย / จัดงานอีเวนท์เก๋ๆ / ทำอินโฟกราฟิกเจ๋งๆ / เว็บไซต์มันส์ๆ ถ้าชอบอะไรแบบนี้ พลาดไม่ได้เด็ดขาด!!!
---
คุณสมบัติ:
- ใช้โปรแกรม Photoshop, Illustrator, After Effect อย่างเซียน
- ทำ Info graphic ได้
- ชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
- เรียนจบอะไรก็ได้ เพศไหนก็ได้ อายุเท่าไหร่ก็ได้
- รักการสื่อสารให้สนุก
อย่าช้า!!! ส่ง portfolio ประวัติ และจดหมายแนะนำตัว
มาได้ที่ the101percent@gmail.com
สงสัยโทร: 02-618-6394
หมดเขตรับสมัคร : 7 ก.พ. 59
ใครชอบสร้างภาพ มาสมัครกันนะจ๊ะ
(งานประจำเต็มเวลานะครับ)
นิ้วกลม ประวัติ 在 เปิดแนวคิดเบื้องหลังชีวิตนักเขียน 'นิ้วกลม' สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ - YouTube 的美食出口停車場
คุยสดๆ เปิดแนวคิดเบื้องหลังชีวิตนักคิดและนักเขียนแห่งแรงบันดาลใจ ' นิ้วกลม ' สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ พร้อมประเด็นข่าวน่าจับตา ... ... <看更多>
นิ้วกลม ประวัติ 在 ชวนคุยกับ 'Roundfinger' นิ้วกลม-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ เรื่องแม่และความตาย 的美食出口停車場
มนุษย์ต่างวัย Talk กับ ประสาน อิงคนันท์ คุยกับ ' นิ้วกลม ' สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ เรื่อง "แม่" และ "ความตาย" ในวันที่โลกไม่ได้หมุนรอบตัวเอง ... ... <看更多>
นิ้วกลม ประวัติ 在 Bookpacker - คนแรกคือ “นิ้วกลม” หรือ พี่เอ๋ สราวุธ เฮ้ง ... - Facebook 的美食出口停車場
คนแรกคือ “นิ้วกลม” หรือ พี่เอ๋ สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ หนุ่มสถาปัตย์ จุฬา ผู้มีประสบการณ์ทั้งด้านครีเอทีฟโฆษณา ผู้กำกับโฆษณา และพิธีกร ... ... <看更多>