“ทศพิศราชธรรมของกษัตริย์ในปรัชญากฎหมายไทย”
ทศพิศราชธรรม เป็นเสมือนหลักธรรมที่สำคัญในการใช้อำนาจการปกครองของกษัตริย์โดยชนชั้นปกครองทั้งหลายโดยที่ผู้ใช้อำนาจปกครองนี้ มิได้หมายเฉพาะกษัตริย์เท่านั้นแต่หมายถึงบุคคลทั้งหลายที่ใช้อำนาจในการปกครองด้วย ซึ่งจะเป็นการตีความในลักษณะของการขยายความให้เข้าสังคมปัจจุบัน ในยุคปัจจุบันเราจะนำมาใช้กับคนที่เป็น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดและแม้กระทั่งในระดับครอบครัว
ทศพิศราชธรรม ในฐานะความคิดทางศีลธรรมการเมืองมีรากฐานที่มาจากคัมภีร์ชาดกในพุทธศาสนา นับเนื่องมาจากที่พุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเมืองการปกครองสมัยพระยาลิไทย คติความคิดนี้ก็ย่อมได้รับการเผยแพร่โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานเขียนหรือศิลาจารึก หลักธรรมอันสำคัญยิ่งสำหรับกษัตริย์หรือผู้ปกครองประกอบด้วยเนื้อหา10 ประการ ดังนี้คือ
1. ทาน หมายถึง การแจกวัตถุสิ่งของ การให้วิชาความรู้เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นและการให้ประการอื่น ๆ เช่น กำลังกาย กำลังความคิดตลอดจนคำแนะนำ
2. ศีล หมายถึงการควบคุมพฤติทางกาย วาจา และใจ ให้เป็นปกติ
3. ปริจจาจะ หมายถึง การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อระโยชน์สุขส่วนรวม
4. อาธชวะ หมายถึง ความซื่อตรง
5. มัทธวะ หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน
6. ตยะ หมายถึง ความเพียรพยายาม ในหน้าที่การงานจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่ลดละ
7. อักโกธะ หมายถึง ความไม่แสดงการเกรี้ยวกราดโกรธแค้นต่อใคร ๆ
8. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่เกิดทุกข์เดือดร้อน
9. ขันติ หมายถึงความอดทนต่อความยากลำบาก
10. อวิโรธะนะ หมายถึง ความไม่ประพฤติผิดไปจากทำนองคลองธรรม
หลักทั้ง 10 ประการ อาจสรุปให้เป็น 5 ประการ ได้ดังนี้คือ
1. การให้เสียสละ (ทาน และปริจจาจะ)
2. ความซื่อสัตย์สุจริต (ศีล และอาธชนะ)
3. ความมีไมตรีจิต (มัทธวะ และอักโกธะ)
4. ความอดทน ความเพียร (ตยะ และขันติ)
5. ความถูกต้องและยุติธรรม (อวิโรธนะ)
การตีความทศพิศราชธรรมให้เป็นดั่งหลักอุดมคติทางกฎหมายดังกล่าวอาจเทียบเคียงได้กับความในเชิงปรัชญากฎหมายธรรมในชาติของตะวันตก ในแง่ทศพิศราชธรรมอาจจัดให้มีค่าเสมือนรูปธรรมหนึ่งแห่งกฎหมายธรรมชาติตามแบบเสรีวิธีคิดของตะวันตก จริงอยู่ที่ในปรัชญากฎหมายของไทยเราไม่ถ้อยคำที่เรียกว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Notural Law) แบบตะวันตกในความของกฎหมาย ซึ่งกำหนดแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิดและเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจหรือความสมบูรณ์จากธรรมชาติมิได้เกิดจากอำนาจสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักธรรมสำคัญทางพุทธศาสนาที่กำกับการใช้อำนาจรัฐทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมายของไทยก็จัดได้เป็นหลักธรรมที่มาจากธรรมชาติได้เช่นกัน เมื่อตีความผ่านการวิเคราะห์ รากศัพท์ คำว่า ธรรมะ ที่หมายรวมถึงธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ในเมื่อธรรมะคือธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ทศพิศราชธรรมในฐานะหลักธรรมทางการเมืองหรือกฎหมายก็ย่อมจักเข้าเป็นกฎธรรมชาติเช่นกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นธรรมะที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ มิได้เกิดจากการประดิษฐ์สร้างของมนุษย์ มนุษย์ (ผู้เป็นศาสดา) เป็นเพียงผู้ค้นพบธรรมนี้เท่านั้น แล้วประกาศธรรมนี้ให้แพร่หลายไปโดยเฉพาะหมู่ผู้ปกครองหรือราชาที่ต้องการ “ ทรง “ ทั้งอำนาจตนและสังคมที่ตนปกครองให้เป็นไปปกติสุข
「นายกรัฐมนตรี หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 iLaw - เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ทุกคนเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 8 ปี ... 的評價
- 關於นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 3 หมุดหมาย นับวาระตำแหน่งนายกรัฐมนตรี | มุมการเมือง | 4 ส.ค. 65 的評價
นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง บุคลากรทุกประเภทที่ทำงานให้กับฝ่ายปกครอง ซึ่งมีหลายประเภทโดยส่วนใหญ่ของบุคลากร ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ดังนี้
1. ข้าราชการ
โดยทั่วไปข้าราชการจะแยกพิจารณาออกได้ ประเภท คือ ข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำ ดังนี้
1.1 ข้าราชการการเมือง
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง ข้าราชการการเมือง หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นข้าราชการการเมือง ซึ่งอาจเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหาร เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฯลฯ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 หรือ อาจเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการประธานวุฒิสภา เลขาธิการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 หรืออาจเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในราชการส่วนท้องถิ่น เช่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ฯลฯ ตามที่กำหนดในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ก็ได้ เป็นต้น
1.2 ข้าราชการประจำ
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง ข้าราชการประจำ คือ บุคคลซึ่งสมัครใจเข้าทำงานกับฝ่ายปกครองอย่างถาวร และมีหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคำจำกัดความแล้วจะเห็นได้ว่าการที่จะเป็นข้าราชการจะต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. การเข้าเป็นข้าราชการ
2. การทำงานกับองค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะ เช่น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น
3. ความถาวรมั่นคงและในการทำงาน
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงข้าราชการประจำแบ่งออก เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ข้าราชการทหารและข้าราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1. ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งข้าราชการพลเรือนแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
1) ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
(2) ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
(3) ข้าราชการครู
(4) ข้าราชการตำรวจ
(5) ข้าราชการตุลาการ
(6) ข้าราชการอัยการ
(7) ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(8) ข้าราชการองค์กรอิสระบางองค์กร คือ ข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(9) ข้าราชการทหาร
(10) ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่
(ก) พนักงานเทศบาล
(ข) พนักงานส่วนตำบล
(ค) พนักงานเมืองพัทยา
(ง) ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล
(จ) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
3) ข้าราชการประจำต่างประเทศ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศในกรณีพิเศษ โดยเหตุผลทางการเมือง
2. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการ
เจ้าหน้าที่ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นข้าราชการ แต่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่
2.1 พนักงานอื่นของรัฐ
พนักงานอื่นของรัฐ ได้แก่ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานกระทรวงสาธารณสุข พนักงานในองค์การมหาชนและองค์กรของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ เช่น พนักงาน กสทช. พนักงานในองค์กรอิสระ เช่น พนักงานในสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง เป็นต้น
2.2 ลูกจ้าง
ลูกจ้าง ได้แก่ บุคคลซึ่งทำงานอยู่กับองค์กรของฝ่ายปกครองต่าง ๆ ในตำแหน่งลูกจ้างที่ไม่ถาวร ซึ่งลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ใช่ราชการนี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันและมีการจ้างที่แตกต่างกันออกไป แยกออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ลูกจ้างประจำ คือ ลูกจ้างที่ส่วนราชการจ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจำโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา รับอัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนและเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
2. ลูกจ้างชั่วคราว คือ ลูกจ้างรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง ที่จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราวหรือมีกำหนดเวลา แต่ทั้งนี้ระยะเวลาจ้างต้องไม่เกินปีงบประมาณ สามารถจ้างเงินงบประมาณรายจ่ายหรือเงินนอกงบประมาณของส่วนราชการ
2.3 ผู้เข้าร่วมงานอาสาสมัคร
ผู้เข้าร่วมงานอาสาสมัคร ได้แก่ บุคคลซึ่งเสนอตัวต่อฝ่ายปกครองโดยสมัครใจที่จะร่วมมือหรือให้ความช่วยเหลือในการทำงานของฝ่ายปกครองทีเกี่ยวข้องกับการจัดทำการบริการสาธารณะ หรือประโยชน์สาธารณะ เช่น อาสาสมัครดับเพลิง เป็นต้น
2.4 ผู้เข้าร่วมงานที่ถูกเกณฑ์
ผู้เข้าร่วมงานที่ถูกเกณฑ์ ได้แก่ บุคคลซึ่งเข้ามาร่วมงานกับฝ่ายปกครองโดยไม่สมัครใจ กล่าวคือ มีการสั่งการหรือเรียกเข้ามาร่วมงาน เช่น ในยามสงครามบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดจะถูกเกณฑ์มาเป็นทหาร หรือในกรณีอื่นฝ่ายปกครองอาจเรียกบุคคลอื่นมาร่วมในการดำเนินการของฝ่ายปกครอง เช่น มาเป็นพยานในศาล เป็นต้น
นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"ว่าด้วยเรื่อง "อรัญวาสี"-"คามวาสี" : กรณีศึกษาสมณศักดิ์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พระพรมคุณากรณ์)"
หมายเหตุ คัดลอกมาจากบทความของ เปลว สีเงิน ในไทยโพสต์ (ออนไลน์) วันที่ ๖ ธันวามคม ๒๕๕๙ (ข้อความในวงเล็บความเห็นผู้เขียน)
เป็นมหามงคล "รัชกาลที่ ๑๐" และเป็นบุญประเทศยิ่ง ๕ ธ.ค. ๒๕๕๙�"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" รัชกาลที่ ๑๐ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน �เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" รัชกาลที่ ๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม�และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาเลื่อน-แต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ๑๕๙ รูป �ในจำนวน ๑๕๙ รูปนั้น ที่ยังความปลาบปลื้มยินดีให้บังเกิดแก่พุทธศาสนิกชนเป็นพิเศษ ดังความที่ "ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ๕ ธันวามหาราช ๒๕๕๙ ดังนี้�
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ว่า ทรงเป็นพุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก ทรงใส่พระราชหฤทัยในการทะนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่พระสังฆาธิการ ซึ่งดำรงในสมณคุณ มีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาเป็นประจำทุกปี�บัดนี้ เพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร �จึงสมควรจะสถาปนาอิสริยยศและเลื่อนอิสริยฐานันดรพระสงฆ์ที่ดำรงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาดังกล่าวสูงขึ้นเพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป�จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา (สำหรับพระไม่ใช้คำว่า "โปรดเกล้าฯ" ใช้กับบุคคล)
�๑.พระพรหมคุณาภรณ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลก วรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม "คามวาสีอรัญวาสี" สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม �มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๑๐ รูป
�๒.พระธรรมวราจารย์ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่าพระสุธรรมาธิบดี ปูชนียฐานประยุต มงคลวุฒคณาทร บวรศีลาจาร ศาสนภารธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสรบวรสังฆาราม "คามวาสี" สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป
�๓.พระธรรมสุธี ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่าพระธรรมปัญญาบดี ศรีสังฆวรนายก มหาจุฬาลงกรณดิลกสุพพิธาน นายกสภาบริหารบัณฑิตปริยัติกิจวรธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม "คามวาสี" สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร �มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป
�๔.พระธรรมมังคลาจารย์ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคล ภาวนาโกศลสุพพิธาน วิปัสสนาบริหารพิสุทธิ์ ปาวจนุตตมานุศาสน์คัมภีรญาณพิลาสธำรง มหาคณิสสร บวรสังฆาราม "คามวาสี" สถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ �มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป�
ขออาราธนาพระคุณผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณฐานันดร เพิ่มอิสริยยศ ในครั้งนี้ จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะและในพระอาราม ตามสมควรแก่กำลัง และอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้ และจงเจริญอายุ วรรณ สุข พลปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ�ประกาศ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลปัจจุบัน�ผู้รับสนองพระราชโองการ�พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา�นายกรัฐมนตรี" �
ซึ่ง เปลว สีเงินได้ สรุป สมณศักดิ์ของสงฆ์ไทย ทั้งหมดมี ๙ ชั้น ๒๑ อันดับ ที่ควรสนใจระดับปกครองคณะสงฆ์ ก็คือ
ชั้น ๑ สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสังฆราช
ชั้น ๒ มหาสังฆนายก เจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฏ�คือสมเด็จพระราชาคณะ มี ๔ ตำแหน่ง คือ พระพุทธโฆษาจารย์, พระวันรัต, พระพุทธาจารย์, มหาวีรวงศ์
ชั้น ๓ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มี ๒ อันดับ คือพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ�
เปลว สีเงิน อธิบาย ต่อว่า "สมเด็จพระราชาคณะ" ชั้นสุพรรณบัฏที่ "พระพรหมคุณาภรณ์" หรือท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต ได้รับสถาปนาราชทินนามตามที่จารึกว่า "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" นั้น รองลงมาจากสมเด็จพระสังฆราช สูงกว่าพระราชาคณะเจ้าคณะรองในชั้น "หิรัญบัฏ"
เปลว สีเงิน ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ�ราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลก วรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม" นั้นระบุทั้ง "คามวาสีและอรัญวาสี" "อรัญวาสี-คามวาสี" คืออะไร หลายท่านอาจอยากทราบ?�ทั้ง ๒ อย่างนั้น ใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ สำหรับระดับพระราชาคณะขึ้นไปเท่านั้น เพื่อบ่งบอกว่า
�"อรัญวาสี" หมายถึงพระราชาคณะรูปนั้น เป็น "พระป่า" วัตรปฏิบัติจะมุ่งเน้น ๒ อย่าง คือการเจริญจิตภาวนาด้วยวิปัสสนากรรมฐาน และสอนคนให้เดินอยู่ในเส้นทางศีล-สมาธิ-ปัญญา ไม่เน้นงานด้านบริหารปกครองคณะสงฆ์�
"คามวาสี" หมายถึงพระราชาคณะรูปนั้น เป็น "พระบ้าน" คือ "พระในเมือง" มุ่งงานด้านบริหารปกครอง ก่อสร้าง พัฒนา ด้านวัตถุ ด้านปริยัติ งานสวด งานเผา งานแต่ง ก็ต้องพระคามวาสีเป็นหลัก�สรุป พระอรัญวาสี มุ่งพัฒนาจิต พระคามวาสี มุ่งพัฒนาวัตถุ นี่เป็นหลักกว้างๆ �
เมื่อทราบหลักเช่นนี้แล้ว ก็ลองย้อนขึ้นไปดูราชทินนาม "สมเด็จพระราชาคณะ" คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อีก ๓ รูปดู ก็จะทราบว่า รูปไหนเป็นพระป่า-พระบ้าน�
แต่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" มีทั้งคำว่า "อรัญวาสี" และ "คามวาสี"�หมายถึง นับต่อจากนี้ เมื่อได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชาคณะ" รูปแรกและรูปเดียว เป็นปฐมแห่งแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐ แล้ว�จากที่มุ่งทางอรัญวาสีแต่เดิม ก็จะต้องรับธุระด้าน "คามวาสี" คือ งานปกครองคณะสงฆ์ควบคู่ไปด้วย �ตามคำประกาศ ดังปรากฏในราชกิจจา ว่าด้วยการสถาปนาสมณศักดิ์ความเบื้องต้นว่า�"เพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป"�และความเบื้องปลาย ว่า "จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะและในพระอารามตามสมควรแก่กำลัง และอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้" �
ส่วนพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ในชั้นหิรัญบัฏ อีก ๓ รูป�๑.พระสุธรรมาธิบดี วัดบวรฯ กทม.�๒.พระธรรมปัญญาบดี วัดมหาธาตุ กทม.�๓.พระพรหมมงคล วัดศรีจอมทอง เชียงใหม่�เห็นชัด ว่าทั้ง ๓ รูป เป็น"พระบ้าน" คือ พระทำหน้าที่ด้านคันถธุระ หมายถึงงานทางบริหาร-ปกครอง เพราะจารึกในหิรัญบัฏระบุ "คามวาสี" อย่างเดียว.
มีบางคนเข้าใจว่า คามวาสี ใช้กับพระมหานิกาย และอรัญวาสี ใช้กับพระฝ่ายธรรมยุต ไม่น่าถูกต้อง ดูตัวอย่าง เช่น
"สมเด็จพระญาณสังวร" สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ฝ่ายธรรมยุต จารึกในสุพรรณบัฏ มีคำว่า "คามวาสี อรัญวาสี"�เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติทั้งวิปัสสนาธุระ ทั้งทรงทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ อันเป็นฝ่ายคันถธุระ�
"สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" วัดปากน้ำ ซึ่งเป็นฝ่ายมหานิกายก็เช่นกัน นามตามจารึกในสุพรรณบัฏ ก็มี "คามวาสี อรัญวาสี"�
ซึ่งในตำแหน่ง "สมเด็จพระราชาคณะ" ซึ่งต้องปกครองคณะสงฆ์ ก็ต้องทำหน้าที่ทั้งด้าน "พระป่า" และ "พระบ้าน"
สำหรับเปลว สีเงิน ยังงงกับเรื่องนี้เพราะนี่เป็นครั้งแรกในวงการสงฆ์ ที่พระจากวัดราษฎร์ คือ "วัดญาณเวศกวัน" ทั้งเป็น "พระป่า" คือ ท่านเจ้าคุณประยุทธ์�ได้รับสถาปนาขึ้นระดับสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" มาทำหน้าที่ "พระบ้าน" อีกด้านหนึ่ง
อนึ่งเปลว สีเงิน บอกว่า ในการสถาปนาเลื่อน-แต่งตั้งสมณศักดิ์ ปี ๕๙ นี้ ในจำนวน "พระราชาคณะชั้นสามัญ" ๘๗ รูป �อันดับที่ ๖๘ "พระมหาโชว์" วัดศรีสุดาราม ที่คุ้นๆ หน้าจากเวทีเสื้อแดง ได้เป็นเจ้าคุณด้วยที่ "พระสุธีวีรบัณฑิต" �ขอท่านเจ้าคุณโชว์จงงอกงามในกรรม.
นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 3 หมุดหมาย นับวาระตำแหน่งนายกรัฐมนตรี | มุมการเมือง | 4 ส.ค. 65 的美食出口停車場
มีความคิดเห็นหลากหลาย กรณี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปี ในสิ้นเดือนนี้หรือไม่ คำถามสำคัญ คือ ... ... <看更多>
นายกรัฐมนตรี หมายถึง 在 iLaw - เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ทุกคนเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 8 ปี ... 的美食出口停車場
กล่าวว่า "หากนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ... ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หมายถึงการดำรงตำแหน่งนายกฯ ไม่เกิน ... ... <看更多>