ที่มาของ scrum
Scrum in Research?
ทำรีเสิร์ชว่องไว โดยใช้ Scrum Framework (ได้รึเปล่า?)
ตอนที่ 1 Scrum มันคืออิหยังวะ?
หากคุณเป็นคนคร่ำหวอดในวงการซอฟต์แวร์ ธุรกิจ หรือ Startup ก็คนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า Scrum ซึ่งเป็น framework ในการบริหารทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างสูงสุด มาบ้างแล้ว แต่หากคุณเป็นนักวิชาการก้นแล็บอย่างแอด ก็อาจจะได้แค่เกาเหม่งอย่างงงๆ
แอดสารภาพเลยว่า เคยได้ยินคำว่า Scrum มานานแล้ว แต่คิดมาตลอดว่ามันเป็นหนึ่งใน buzzword ที่พวก Startup เค้าใช้กัน และมันคงใช้อะไรไม่ได้กับวงการวิจัยที่ธรรมชาติของงานนั้นคาดการณ์ได้ยาก
แต่เมื่อไม่นานมานี้ วารสาร Nature เขียนบทความเรื่องการใช้ Scrum ในการบริหารกลุ่มวิจัยในมหาลัย [1] จึงจุดประกายให้แอดเกิดความสนใจที่จะหาความรู้ขึ้นมาอย่างจริงๆจังๆเสียที ว่าไอเจ้า Framework นี้มันคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมใครๆก็บอกว่ามันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีมหลายเท่าทวิคูณ
การทำงานโดยใช้ Scrum นี้มีท่ีมาจากงานวิจัยของศาตราจารย์ชาวญี่ปุ่น Hirotaka Takeuchi และ Ikujiro Nonaka ตั้งแต่ปี 1986 ซึ่งศึกษาเบื้องหลังความสำเร็จของอุตสาหกรรมหนักในญี่ปุ่น โดยเฉพาะ Toyota ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสามารถประกอบรถได้รวดเร็วและปัญหาน้อยกว่าบริษัทตะวันตกหลายเท่าตัว อาจารย์ทั้งสองเสนอว่า การทำงานของ Toyota นั้นมีลักษณะคล้ายๆกับทีมรักบี้ ที่พนักงานทุกคนรับผิดชอบในผลงานร่วมกันไม่เกี่ยงว่าใครต้องทำหน้าที่เฉพาะอะไร หรือใครเป็นนายเป็นลูกน้อง ไม่สักแต่ว่าทำของตัวเองเสร็จแล้ววางมือ แต่ต่างช่วยกันสอดส่องดูแลงาน ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว อาจารย์จึงเรียกวิธีการทำงานแบบนี้ว่า Scrum ซึ่งเป็นศัพท์ของกีฬารักบี้ [2]
ไอเดียนี้ถูกนำมาต่อยอดให้เกิดเป็นระบบการทำงานที่ชัดเจนขึ้นโดย Jeff Sutherland และ Ken Schwaber และนำไปใช้พัฒนาวงการ software developer จนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ใหม่ๆอย่างก้าวกระโดด กลายเป็น framework ที่สำคัญของวงการ IT และยังลามไปถึงวงการอื่นๆ จนถูกนำไปประยุกต์ใช้ในบริษัทใหญ่ๆหลายบริษัท เช่น Adobe, AMD, American Express, BBC, CNN, Google, IBM, Microsoft, Nokia, ฯลฯ [3]
Scrum นั้น ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อฉีกกฎการวางแผนงานแบบ “Waterfall” ซึ่งก็คือการวางแผนงานแบบเป็นสายพาน มีหัวหน้างานที่สั่งงาน ทีมแต่ละทีมรับผิดชอบเฉพาะงานของตัวเองให้เสร็จ แล้วก็โยนให้ทีมถัดไปจัดการต่อกันไปเป็นทอดๆ เช่น ถ้าบริษัทต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ ทีม developer ทำหน้าที่พัฒนาโค้ดจนเสร็จ ส่งต่อให้ทีมต่อไปทดสอบโปรดักส์ ทดสอบเสร็จแล้วก็หมดหน้าที่ จึงส่งต่อให้ทีมขายนำไปขายลูกค้า ปรากฎว่าผลลัพธ์ส่วนใหญ่ของการวางแผนแบบนี้คือ ขายไม่ได้ เพราะว่างานมักจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือไม่ก็ใช้เวลาพัฒนาสินค้านานเกินไป กว่าจะทำเสร็จ ลูกค้าก็ไม่อยากได้แล้ว ทำให้เวลาของทีม กว่า 80% สูญไปกับการทำงานที่ไม่ได้ผลลัพธ์
หลักการของ Scrum คือการสร้างทีมขนาดเล็ก (ไม่เกิน 10 คน) ที่มีความคล่องตัวสูง และต้องมีลักษณะสำคัญ 4 อย่าง คือ “มุ่งเป้า” “เชี่ยวชาญ” “อิสระ” และ “โปร่งใส”
“มุ่งเป้า” คือ การที่ทั้งทีมทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่ได้รังแต่จะสร้างความก้าวหน้าให้ตัวเอง แต่คำนึงถึงเป้าหมายร่วมของทีมเป็นสูงสุด ผลงานที่ดีนั้นไม่ได้เกิดจากสมาชิกคนใดคนหนึ่ง แต่มาจากความร่วมมือกันของทุกคน
“เชี่ยวชาญ” สมาชิกในทีมจะต้องสามารถทำหน้าที่ได้ครบถ้วนและครอบคลุมถึงตั้งแต่ต้นจนจบงาน และสามารถทำงานแทนกันได้ถ้าจำเป็น ซึ่งแปลว่าทุกคนจะต้องรู้และเข้าใจหน้าที่ของทั้งตนเองและสมาชิกในทีม
“อิสระ” นั้นหมายถึงทุกคนทำงานได้โดยไม่ต้องรอรับคำสั่ง ไม่ต้องรออนุมัติ เพราะทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี การลด middle management ลง นำไปสู่การทำงานเอกสารไร้สาระที่น้อยลง จึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นอย่างชัดเจน
“โปร่งใส” ทุกคนรู้ว่าสมาชิกต้องทำอะไร ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว และได้ผลอย่างไร การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสเป็นการลดคอรัปชั่น ลดการเล่นพรรคเล่นพวกในระบบ เมื่อระบบสามารถตอบแทนคนได้อย่างเป็นธรรม ทำให้คนมีกำลังใจในการทำงานขึ้น จึงพลอยไปเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วย
เพื่อสร้างทีมให้มีลักษณะเชิงนามธรรม 4 ข้อข้างต้น Scrum จึงออกแบบ framework ภาคปฎิบัติไว้ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ ทุกคนรวมตัวกันในที่ประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของงานให้ตรงกัน หลักสำคัญที่สุดของ Scrum คือทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันวางแผนการทำงาน เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จของทีม จากนั้นเลือกสมาชิกในทีม 1 คน เป็น Product owner ผู้ทำหน้าที่คอยดูแลให้ผลงานออกไปในทิศทางที่ตกลงกัน และ อีก 1 คนเป็น Scrum Master ผู้ดูแลติดตามให้งานดำเนินไปตามแผน และลูกทีมทุกคนที่เหลือเป็นผู้ดำเนินงานทั่วไป
2. สร้าง Product Backlog หรือลิสต์ของงานที่ต้องทำเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ และเรียงลำดับตามความสำคัญจาก “มากไปน้อย” ข้อนี้สำคัญมาก ทีมที่ไม่รู้จัก prioritize งาน มักจะเสียเวลาไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่ได้สลักสำคัญ ทีมต้องแสดงความเป็นไปได้ของ feature หลักของงานก่อน แล้วค่อยแก้ feature รองที่ตามมา
3. ประเมิน Load งาน ซึงคือเวลาที่ต้องใช้ในการทำงานแต่ละข้อ การประเมิน load เป็นค่าสัมบูรณ์นั้นยาก แต่ประเมินเป็นค่า relative นั้นง่าย ดังนั้น เราอาจจะให้งานแต่ละข้อเป็นเลขใน Fibonacci series เช่น 1, 2, 3, 5, 8, 13, … งานไหนที่ว่ายาก ก็เอาค่าสูงๆไป หรือง่ายทำได้แป๊บเดียว ก็เอาค่าต่ำๆไป งานที่สำคัญที่สุด อาจจะไม่ใช่งานที่ยากที่สุดเสมอไป
4. รวบงานที่ลิสต์ไว้แล้วแบ่งเป็นกลุ่ม ทีมจะไม่พยายามทำงานทั้งหมดพร้อมๆกัน แต่จะเลือกทำงานที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในระยะเวลาจำกัดก่อน เช่น ตั้งเป้าที่จะทำงานข้อที่ 1-3 ใน 1 เดือน ช่วงงานแบบนี้เรียกว่า Sprint โดยเป้าหมายแต่ละ Sprint คือทีมจะต้องมีผลงานที่จับต้องได้ วัดผลได้ ผลงานที่ได้ไม่ต้องเลิศเลอเหมือนเตรียมส่งลูกค้า แต่ต้องเป็นผลงานที่ใช้งานได้ในระดับต้น เพื่อให้ทั้งทีมและลูกค้าสามารถให้ feedback กับทิศทางของงานได้ ผลงานแบบนี้เรียกว่า Minimal Viable Product (MVP)
5. ระหว่างการทำงาน ทีมจะต้องมีการตอกบัตรรายงานให้ทุกคนในทีมทราบว่าตัวเองทำอะไรไปแล้ว กำลังจะทำอะไร และมีปัญหาอะไรไหม โดยต้นแบบของ Scrum ในวงการซอฟต์แวร์นั้น การตอกบัตรหรือ Daily Scrum นี้ควรเกิดขึ้นทุกวัน แต่ประชุมแค่สั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที การประชุมนี้ทำให้ทีมรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รายวัน และสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ไม่ปล่อยให้คาราคาซัง ทำให้งานเดินต่อไปได้อย่างรวดเร็ว
6. พอครบ Sprint แล้วก็มานั่งรีวิวกัน เพื่อหาข้อสรุปว่างานที่ทำไปเป็นไปตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่ MVP มี feedback อย่างไร ระบบการทำงานมีข้อขาดตกบกพร่องอะไรไหม และต้องมีการแก้แผนงานใหม่หรือไม่ แล้ว load งานที่สามารถทำได้ในแต่ละ Sprint คือเท่าไร ค่า load ที่ทำได้ต่อ Sprint นั้นทำให้เราสามารถคะเนความเร็วในการทำงานของทีมของเราได้ และสามารถประมาณการณ์ได้ว่างานเราจะเสร็จจริงๆเมื่อไร
7. นำข้อสรุปที่ได้จาก Sprint ก่อน ไปเป็นข้อมูลในการพัฒนา Sprint ใหม่ แล้ววนลูป ข้อ 4 ใหม่ต่อไปจนกว่างานจะเสร็จ ยิ่ง Sprint มากเท่าไร load งานก็จะเหลือน้อยลง และสามารถคำนวณเวลาที่จะทำงานเสร็จได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น จนสุดท้าย ทีมมักจะพบว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าการทำงานแบบเดิมๆ หลายเท่าตัว
อ่านดูแล้วก็จะพบว่า ไอเดียของ Scrum นั้นไม่ได้ซับซ้อนมาก และมีลักษณะ Iterative จึงดูน่าจะเหมาะกับงานวิจัยต่างจากการวางแผนแบบ Waterfall (ผ่าน Gantt chart) แต่หากจะนำ framework แบบนี้มาใช้กับวงการวิจัยบ้าง จะต้องมีการแก้ไขอย่างไรบ้าง แอดจะเขียนต่อในตอนต่อไปละกัน
มีใครลองใช้ Scrum ในรีเสิร์ชแล้วบ้าง มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะ
ตอน 2: https://www.facebook.com/…/a.164033331039…/424270941682445/…
#นักวิจัยไส้แห้ง
[1] Pirro, L. How agile project management can work for your research, Nature Career Column, 2019 https://www.nature.com/articles/d41586-019-01184-9
[2] Sutherland, J. Scrum: The Art of Doing Twice the Work in Half the Time (Random House Business, 2015).
[3] Firms using Scrum
https://docs.google.com/…/1fm15YSM7yzHl6IKtWZOMJ5vHW9…/edit…
รูป flow diagram จาก devbridge.com
「นักวิจัยไส้แห้ง」的推薦目錄:
- 關於นักวิจัยไส้แห้ง 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的精選貼文
- 關於นักวิจัยไส้แห้ง 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最佳貼文
- 關於นักวิจัยไส้แห้ง 在 นักวิจัยไส้แห้ง | Facebook 的評價
- 關於นักวิจัยไส้แห้ง 在 Tharapong Soonrach (noominc) - Profile | Pinterest 的評價
- 關於นักวิจัยไส้แห้ง 在 สัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาชีพนี้มีจริงไหม? เรียนที่ไหน ... 的評價
นักวิจัยไส้แห้ง 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最佳貼文
บทความนี้พูดเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอสโตเนียครับ
ยาวมาก แต่ควรอ่าน
ขอสรุปให้ย่อๆก่อนว่า
พัฒนาจากประเทศจนๆที่พึ่งเป็นอิสระจากโซเวียต
กลายมาเป็นหนึ่งในชาติที่มีความเป็นผู้นำระดับโลก
ทั้งด้านประชาธิปไตยและเทคโนโลยี IT ครับ
ฟ้าใหม่ที่เอสโตเนีย
บริหารยังไงให้ประเทศไปต่อ
เมื่อไม่กี่อาทิตย์ก่อนได้มีโอกาสอ่านบทความจากวารสาร Nature ที่กล่าวถึงการปฏิวัติวงการวิจัยในประเทศเอสโตเนีย ที่สามารถแปลงงานวิจัยที่เหมือนรถไฟชั้นสามเป็นชิงกันเซนได้ในเวลาไม่กี่ปี ยิ่งอ่านดูยิ่งพบว่าการปฏิวัตินั้นไม่ได้เกิดเฉพาะวงการวิจัย แต่เป็นระดับประเทศเลย จึงอยากจะแชร์ให้อ่านกัน
เอสโตเนีย เป็นประเทศเล็กๆที่มีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของไทย ตั้งอยู่ระหว่างรัสเซียกับทะเลบอลติก เอสโตเนียเคยเป็นที่ตั้งฐานทัพของสหภาพโซเวียตเป็นเวลาเกือบ 50 ปี และได้รับเอกราชในปี 1991 สงครามและการถูกยืดครองเป็นเวลานานภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ได้พรากประชากรเกือบ 1 ใน 4 และคุณภาพชีวิตอันเคยสดใสไปจากเอสโตเนีย เหลือไว้เพียงความยากจนข้นแค้น กับสภาวะเงินเฟ้อถึง 1000% เทียบกับเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ซ้ำร้ายอุตสาหกรรมหนักของโซเวียตยังทิ้งไว้ซึ่งมลพิษทั้งในน้ำและอากาศ สาธารณูปโภคที่เสื่อมโทรม และระบบรัฐวิสาหกิจที่ชอนไชไปด้วยหนอนแห่งคอรัปชั่น
ในปลายปี 1992 เอสโตเนียได้เลือกตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยคณะแรก นำโดย Dr. Mart Laar อาจารย์วิชาประวัติศาสตร์ที่ผันตัวมาเล่นการเมือง ด้วยวัยแค่ 32 ปี นายก Laar นำคณะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีหัวคิดแบบตะวันตกเข้ามาในสภา โดยมีเป้าหมายคือการปฏิรูปประเทศให้หลุดพ้นจากระบบโซเวียตที่ไร้ประสิทธิภาพ และคืนความสุขให้กับผองประชาชาวเอสโตเนีย
วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นในเอสโตเนียนั้น ใครๆอาจจะมองว่าเป็นจุดตกต่ำ แต่สำหรับนายก Laar มันคือนาทีทองของการปฏิวัติ เป็นโอกาสที่จะจูงใจให้คนยอมรับความเปลี่ยนแปลงแบบ 180 องศาได้มากที่สุด แต่นาทีทองนี้มีระยะเวลาไม่นาน หากการปฏิรูปไม่ก่อให้เกิดผลอันเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันสั้น รัฐบาลจะสูญเสียความเชื่อมั่นจากประชาชนไป จึงเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะต้องมีความเข้มแข็ง คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเด็ดขาดมากที่สุด
รัฐบาลของ Laar ใช้วิธีปฏิรูปสองทาง ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน การปฏิรูปจากบนลงล่างนั้นได้แก่การสร้างเสถียรภาพทางการคลัง โดยการตัดงบทุกอย่างของรัฐที่ไม่จำเป็น และหยุดการให้เงินสมทบรัฐวิสาหกิจที่ไร้ประสิทธิภาพ เอสโตเนียปฏิเสธเงินกู้จาก IMF แต่เปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็น free-trade ต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อการสร้างงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศมหาอำนาจ นอกจากนี้ยังลดกำแพงภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเอกชน ภายในปีแรกที่ครม.เริ่มทำงาน อัตราเงินเฟ้อของเอสโตเนียลดลงจาก 1000% เหลือ 89.9% และลดลงอย่างต่อเนื่องเป็น 29% ใน 2 ปีต่อมา และเอสโตเนียได้กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนจากต่างประเทศมากมาย
นอกจากเสถียรภาพทางการคลังแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเสถียรภาพในระบบนิติบัญญัติ กฎหมายที่ศักดิ์สิทธิคือศัตรูที่แข็งแกร่งที่สุดของคอรัปชันอันเป็นอุปสรรคหลักของประเทศกำลังพัฒนา รัฐบาลเอสโตเนียแสดงให้เห็นว่าการลดบทบาทของรัฐ และกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับเอกชนนั้นนำมาสู่การแข่งขันอย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังลดคอรัปชั่นที่เกิดจากพนักงานของรัฐลงอย่างมีนัยสำคัญ
การปฏิรูปจากบนลงล่างต้องอาศัยความแข็งแกร่ง แต่การปฏิรูปจากล่างขึ้นบนนั้นขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ รัฐบาลของ Laar เล็งเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนนั้นจะเกิดขึ้นได้โดยการสร้างสังคมแห่งความหวังและความโปร่งใส จากประเทศที่ถูกปกครองด้วยระบบรวมอำนาจแบบโซเวียตมาเป็นเวลาช้านาน ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความจำยอมไร้หนทางสู้ หน้าที่ของรัฐบาลคือสร้างความหวังให้กับประชาชน ให้พวกเขาลุกขึ้นยืนหยัด ต่อสู้ และสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยตัวของพวกเขาเอง การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยการเปิดประเทศ การแปรรูปองค์กรรัฐให้กลายเป็นเอกชน รวมถึงการกำจัดขั้วอำนาจเก่าและระบบไดโนเสาร์ด้วยการบังคับเกษียณอายุที่ 65 นั้นนำไปสู่การแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้นในภาคธุรกิจ
วัฒนธรรมแห่งความโปร่งใส่ที่ไม่เคยมีมาก่อนใต้การปกครองแบบโซเวียตถูกริเริ่มขึ้นด้วยการให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชนและสื่อมวลชน รัฐบาลยังมองเห็นถึงความสำคัญของโครงสร้าง IT ของประเทศ ติดตั้งระบบอินเตอร์เนตให้กับทุกโรงเรียนและมหาวิทยาลัยภายในปี 2001 สร้าง e-government ขึ้นมาเป็นตัวอย่างให้แก่ประเทศสารขัณฑ์ ประชาชนสามารถทำธุรกรรมกับรัฐออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภาษี หรือแม้แต่การเลือกตั้ง ขนาดในที่ประชุม ครม.เองก็ไม่มีกระดาษให้เห็นสักแผ่น ระบบ e-government นี้นำมาซึ่งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และลดคอรัปชันลงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการล่าแม่มด
การปฏิรูปโครงสร้างของรัฐ ทำให้เกิดการปฎิรูปวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ระบบ IT ที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเก็บข้อมูลมหาศาล ทำให้เอสโตเนียกลายเป็นสวรรค์ของบริษัท IT หนึ่งใน Startup สัญชาติเอสโตเนียที่เรารู้จักกันดีก็คือ Skype และเนื่องจากรัฐบาลเอสโตเนียมีบริการตรวจเช็ค DNA ฟรี ทำให้สามารถเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนกว่า 150,000 คน (คิดเป็น 20% ของประชากรผู้ใหญ่) สร้างเป็น Biobank ระดับประเทศ
จากประเทศที่ไม่มีเงินลงทุนด้านวิทยาศาสตร์เลย เอสโตเนียใช้เวลา 6 ปีในการเพิ่มงบวิจัยเกือบสองเท่าจาก 80 ล้านยูโร เป็น 150 ล้านยูโร ในปี 2013 คิดเป็นมูลค่า 1.72% ของ GDP ประเทศ การสร้างระบบทุนวิจัยที่มีความแข่งขันสูง ทำให้นักวิจัยที่ไร้ประสิทธิภาพและงานวิจัยไร้คุณภาพหมดไปจากระบบ เหลือไว้เพียงนักวิจัยคุณภาพ ที่แม้จะมีปริมาณอันน้อยนิดแค่ 3000 คน (จากประชากร 1.3 ล้านคน) แต่เอสโตเนียกลับมีผลงานตีพิมพ์ที่ลงในวารสารวิชาการใน Nature Index ประมาณ 150 ฉบับในปี 2017 คิดเป็น 10% ของจำนวนเปเปอร์ทั้งหมดที่ตีพิมพ์ต่อปี (เทียบกับวงการวิจัยไทยที่ตีพิมพ์เปเปอร์เกือบหมื่นฉบับเมื่อปีที่แล้ว แต่มีแค่ 2% ที่อยู่ใน Nature Index) ทั้งนี้ก็เพราะนักวิจัยชาวเอสโตเนียมีความร่วมมือกับประเทศต่างๆในยุโรปอย่างต่อเนื่อง และสามารถเขียนขอทุนใหญ่ๆจากสหภาพ EU ได้อยู่เป็นนิจเพราะมีฝ่ายสนับสนุนการเขียนขอทุนที่เก่งฉกาจ ทำให้นักวิจัยจากเอสโตเนียมักจะได้รับทุนวิจัยโดยเฉลี่ยมากกว่านักวิจัยจากที่อื่น
ภายในเวลา 15 ปี เอสโตเนียสามารถเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่ยากจนไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างน่าอัศจรรย์ นำหน้าประเทศเพื่อนบ้านอย่างลัตเวียที่ประสบชะตากรรมเดียวกันในยุคสงครามเย็นอย่างไม่เห็นฝุ่น
นายก Mart Laar ได้กล่าวถึงการปฏิรูปประเทศเอสโตเนียไว้ว่า “ในระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง นายกไม่สามารถหวงอำนาจไว้ได้ตลอดไป แต่หากคุณเป็นนายกที่มีคุณภาพ ประชาชนจะเป็นผู้ยื่นอำนาจกลับมาให้คุณเอง”
นายก Mart Laar ได้รับเลือกตั้งถึงสองสมัย เป็นรัฐบาลครั้งแรกเมื่อ 1992 แต่ต้องออกจากตำแหน่งด้วยข่าวฉาวทางการเมืองเมื่อปี 1994 แต่ก็ถูกเชิญกลับมาใหม่เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1999-2002 และรับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีอีกหลายครั้งต่อจากนั้น เขาเป็นนายกที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในเอสโตเนีย
หวังว่าจะมีชีวิตยืนยาวพอได้เห็นประเทศไทยก้าวไกลแบบนี้บ้าง
#นักวิจัยไส้แห้ง
อ้างอิง
The Estonia Economic Miracle by Mart Laar
https://www.heritage.org/repo…/the-estonian-economic-miracle
How Estonia blazed a trail in science จาก Nature
https://www.nature.com/articles/d41586-019-00209-7
สถิติการตีพิมพ์ใน Nature Index ของไทย
https://www.natureindex.com/country-outputs/thailand
จำนวนบทความทางวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ต่อปี ข้อมูลจาก World Bank
https://data.worldbank.org/indicator/IP.JRN.ARTC.SC…
รูปจาก https://euobserver.com/eu-presidency/138366
นักวิจัยไส้แห้ง 在 Tharapong Soonrach (noominc) - Profile | Pinterest 的美食出口停車場
Tharapong Soonrach | อดีต------->เด็กช่าง ปัจจุบัน---->นักวิจัย(ไส้แห้ง) ... <看更多>
นักวิจัยไส้แห้ง 在 สัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาชีพนี้มีจริงไหม? เรียนที่ไหน ... 的美食出口停車場
นัก วิทยาศาสตร์ # นัก วิทยาศาสตร์การแพทย์ #medicalscientist #science #scientist #จุลชีววิทยา #เทคโนโลยีชีวภาพ #พันธุศาสตร์ #Laboratory ... ... <看更多>
นักวิจัยไส้แห้ง 在 นักวิจัยไส้แห้ง | Facebook 的美食出口停車場
นักวิจัยไส้แห้ง. ถูกใจ 46797 คน · 10 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. ถ่ายทอดชีวิตของนักวิจัยมือใหม่ในไทยแลนด์ Reflecting on life as an early-career researcher in... ... <看更多>