เป็นอีกข่าวดีหนึ่ง ที่ควรจะเป็นอย่างนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้วนะ ที่ไทยเราจะแก้ปัญหาการที่ไม่มีวัคซีน astrazeneca เพียงพอจะฉีด 2 เข็มได้ (ตามแผนที่ควรวางไว้ตั้งแต่ต้นปี) ด้วยการฉีดแอสตร้าเป็นเข็ม 1 แล้วใช้วัคซีน mRNA อย่างของ บ. ไฟเซอร์มาเป็นเข็ม 2
ซึ่งสูตรการฉีด heterologous prime-boost แบบนี้ เป็นแบบที่นิยมทำในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศนะครับ (สาเหตุจริงๆ มักจะเป็นจากการที่เขาพยายามหยุดใช้วัคซีน astrazeneca) โดยผ่านการศึกษา วิจัย ตีพิมพ์ และทดลองในอาสาสมัครจำนวนมากแล้ว ก่อนจะนำมาใช้เป็นนโยบายของชาติ
รวมทั้ง สูตรวัคซีนไขว้ ไวรัลเวกเตอร์+mRNA นี้ ก็ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ว่าให้สามารถทำได้ เมื่อเกิดสภาวะวัคซีนขาดแคลน
ซึ่งคนละอย่างกับสูตรวัคซีนไขว้แบบไทยๆ ที่ทดลองทำกันเอง โดยไม่มีชาติอื่นเขาทำด้วย
-------
(รายงานข่าว)
#ทำไมต้องไขว้AstraZeneca_Pfizer
วัคซีนไขว้ (Heterologous prime-boost vaccination) หรือวัคซีน Mix & Match คือการฉีดวัคซีนต่างชนิดกันระหว่างวัคซีนเข็มที่ 1 (Primimg) และวัคซีนเข็มที่ 2 (Boosting) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยก่อนหน้านี้มีการวิจัยในโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค มาลาเรีย ถึงแม้ว่าจะวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง ต่อมาในระยะหลังเริ่มมีการวิจัยวัคในโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี และอีโบลาในระดับมนุษย์
สำหรับโควิด ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลด้านไวรัสหรือภูมิคุ้มกัน แต่มาจาก 2 สาเหตุคือ หลายประเทศในยุโรปมีความกังวลต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำและหลอดเลือดอุดตันภายหลังได้รับวัคซีน (VITT) ซึ่งผลข้างเคียงรุนแรงของวัคซีน AstraZeneca ถึงแม้จะพบยากก็ตาม และอีกสาเหตุคือ บางประเทศประสบปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบวัคซีน จึงอนุมัติการฉีดวัคซีนไขว้และการวิจัยไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ วัคซีนโควิดแบ่งตามเทคโนโลยีการผลิตเป็น 4 ชนิดหลัก ได้แก่ ชนิดสารพันธุกรรม (messenger RNA: mRNA) ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) ชนิดที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) และชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ดังนั้น วัคซีนไขว้สูตรใหม่นี้เป็นการฉีดวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ + ชนิดสารพันธุกรรม
#ผลการวิจัยสูตรไขว้ในต่างประเทศ
งานวิจัยหลักของวัคซีนไขว้ชื่อว่า Com-Cov (Comparing COVID-19 Vaccine Schedule Combination) ในสหราชอาณาจักร เป็นการศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน 4 สูตร ระหว่างการฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer 2 เข็มตามปกติ และการฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยฉีด AstraZeneca หรือ Pfizer ก่อน ในอาสาสมัครอายุ 50 ปีขึ้นไป เริ่มมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564
ผลการวิจัยเบื้องต้นที่เผยแพร่ออกมาในขณะนี้เป็นการศึกษาด้านภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย โดยการศึกษาด้านภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนาม (Anti-spike IgG) หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครบ 28 วัน ซึ่งคล้ายกับที่หลายคนไปเจาะเลือดตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ 2. การตอบสนองของเม็ดเลือกขาวชนิด T (T cell response)
ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามของสูตร AstraZeneca + Pfizer เท่ากับ 12,906 ELU/mL เทียบกับสูตร AstraZeneca ปกติ 1,392 ELU/mL หรือคิดเป็น 9.2 เท่า ในขณะที่สูตร Pfizer + AstraZeneca กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าสูตร Pfizer ปกติ (ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันเท่ากับ 7,133 เทียบกับ 14,080 ELU/mL หรือคิดเป็น 0.51 เท่า)
ส่วนการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิด T ซึ่งมีบทบาทสำคัญในภูมิคุ้มกันระยะยาว สูตร AstraZeneca + Pfizer มีการตอบสนองสูงที่สุดเท่ากับ 185 SFC/106 PBMCs เปรีบเทียบกับ 50, 80 และ 99 SFC/106 PBMCs ของสูตร AstraZeneca ปกติ, Pfizer ปกติ และ Pfizer + AstraZeneca ตามลำดับ ผลการศึกษาทั้ง 2 ส่วนจึงแสดงให้เห็นว่าสูตร AstraZeneca + Pfizer สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
การศึกษาด้านความปลอดภัย หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ในสูตรไขว้ พบว่ามีผลข้างเคียงมากกว่า เมื่อเทียบกับสูตรปกติของแต่ละชนิด ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดเมื่อย และปวดกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีอาการรุนแรงจนต้องรักษาในโรงพยาบาล และส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน และเมื่อติดตามผลข้างเคียงต่อจนถึง 1 เดือน ไม่พบความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
นอกจากนี้ยังมีอีกงานวิจัยชื่อ CombiVacS ในสเปน เป็นการศึกษาเชิงทดลอง แบ่งผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็มเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับวัคซีน Pfizer เป็นเข็มที่ 2 ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้รับวัคซีน เมื่อเดือนเมษายน 2564 พบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามเพิ่มขึ้นจาก 71.5 เป็น 7,756.7 BAU/mL หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลา 14 วัน แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไม่มีสูตรปกติเปรียบเทียบ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนสูตรไขว้นี้ยังมีน้อย ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยในเดนมาร์ก เป็นการศึกษาเชิงสังเกตในประชากร 5,542,079 คน (97.6% ของประชากรในเดนมาร์ก) มีผู้ที่ได้รับวัคซีนสูตรไขว้ 136,551 คน พบว่าวัคซีนสูตรไขว้มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ 88% และไม่พบอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจากโควิด แต่ในขณะนั้นสายพันธุ์อัลฟายังเป็นสายพันธุ์หลัก
ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยอมรับวัคซีนไขว้สูตรนี้ เช่น เวียดนาม เกาหลีใต้ แคนาดา และอย่างน้อย 15 ประเทศในสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมถึงสหราชอาณาจักร
โดยสรุปวัคซีนไขว้สูตร AstraZeneca + Pfizer ที่จะเริ่มใช้ในประเทศไทยในเดือนตุลาคมนี้มีผลการวิจัยในต่างประเทศรองรับ และต่างประเทศให้การยอมรับ แต่ยังต้องมีการติดตามประสิทธิผลของวัคซีนต่อในอนาคต
「ทำไมต้องไขว้astrazeneca_pfizer」的推薦目錄:
ทำไมต้องไขว้astrazeneca_pfizer 在 ไขข้อสงสัยฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 的美食出口停車場
เพื่อไขข้อสงสัยเรื่องการฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 3 ฉีดที่ไหน สูตรไหนดี และถึงเวลาเข็ม 4 หรือยัง ... ... <看更多>
ทำไมต้องไขว้astrazeneca_pfizer 在 ไทยรู้สู้โควิด - ทำไมต้องฉีดวัคซีนไขว้ ฉีดแบบไหนถึงช่วยได้... 的美食出口停車場
ทำไมต้อง ฉีดไขว้? 1) วัคซีน Sinovac ดีไม่พอ 2) วัคซีน AstraZeneca ส่งได้ไม่ตามแผนที่รัฐบาลเคยโม้ไว้ ตรงไปตรง ... ... <看更多>