โลกของเป็ด (ผู้รอบรู้+ใจกว้าง)
The Rise of Generalists
.
เก่งอะไรให้สุด แค่อย่างเดียวก็อยู่รอด ก็รวยได้ ความเชื่อนี้อาจเก่าเกินไป และใช้ได้ไม่ถึง 50% ในโลกยุคปัจจุบัน
.
.
เรามักได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆว่า “คนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง รู้ลึก รู้จริง ในด้านใดด้านหนึ่ง จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มากกว่าคนที่มีความรอบรู้แต่ไม่ได้ลงลึกในด้านใดด้านหนึ่ง”(เหมือนเป็ดที่บินก็ไม่ได้ ดำน้ำก็ไม่ดี ขันก็ไม่ดัง ก๊าบๆแคว๊กๆ)
แต่สำหรับในอนาคต ไม่สิ ณ ขณะนี้ เราอาจต้องเปลี่ยนความคิดซะใหม่ เพราะคนที่มีความรู้หลากหลายสาขา (Generalist) มีความสำคัญไม่แพ้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Specialist)เลยนะจะบอกให้
.
อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Harvard ท่านหนึง ได้เขียนบทความในเรื่องนี้ไว้ว่า
...ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไม่หยุด มีอะไรมาให้เราเรียนรู้ใหม่จนเราตามไม่ทัน บวกกับความไม่แน่นอน และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุด ตลอดเวลา ทำให้การที่เราเป็นคนเชี่ยวชาญทางด้านใดด้านหนึ่งนั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วล่ะ เพราะเราอาจจะตกขบวนหรือตกยุคได้เร็วมากๆ
.
บทความของอาจารย์ท่านนี้บอกไว้ว่า อนาคตจะเป็นโลกของ Generalist โดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า
.
“คนที่มีค้อน ก็มองทุกอย่างเป็นตะปู” แต่ถ้าคนนั้นมีทั้งค้อน ไขควง และประแจล่ะ เค้าจะสามารถใช้เครื่องมือให้ถูกกับประเภทของตะปู หรือน็อต โดยดูว่าหัวของสิ่งที่จะตอกหรือขันเป็นแฉก เป็นวงกลม หรือเป็นหกเหลี่ยม งานก็จะออกมาเนี้ยบและแน่น ถ้ามองลึกลงไปอีกก็เหมือนกับการที่เราเข้าใจแต่ละปัญหา
.
การเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือ specialist ไม่ได้ไร้ประโยชน์ เพียงแต่คนที่มีทักษะที่หลากหลายจะสามารถรับมือกับความไม่แน่นอน หรือความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า
.
...ในยุคปัจจุบัน “ความคล่องแคล่ว ว่องไว (agile) ” และ “ความยืดหยุ่น (flexible)” เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น
การที่จะเป็น Generalist คือการมองภาพใหญ่เพื่อการตัดสินใจ คิดให้ใหญ่ มองให้กว้าง
เช่น อ่านและศึกษาข่าวทั้งหมด ไม่เพียงอ่านเฉพาะภาคอุตสาหกรรมส่วนที่เกี่ยวข้องกับของธุรกิจของคุณ หรือถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน ถ้ามีความรู้เรื่องการตลาด (Marketing) ด้วยก็จะยิ่งดี จริงมั้ย?
.
หรือ...
อาจลองคิด วิเคราะห์ดูซิว่าถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อส่วนไหนบ้าง หรืออุตสาหกรรมใดบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ
Generalist เปรียบเหมือนคนที่พกเครื่องมือครบครันที่พร้อมจะดึงมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์
เหมือน Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon ก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Retail (ขายปลีก)เค้าค่อนข้างใหม่ในตลาดนี้ด้วยซ้ำ แต่เค้าเป็นคนที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วจนสามารถคว้าโอกาสที่ยิ่งใหญ่ไว้ได้
.
ในปัจจุบันหลายองค์กร โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ มักมองหาคนที่มีประสบการณ์หลากหลาย เช่น ที่ Google พนักงานที่ทำงานที่นี่จะต้องสามารถทำงานสลับทีมไปมา หรือเปลี่ยนความรับผิดชอบไปเรื่อยๆ ภายในองค์กร เพราะ Google เป็นองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงให้ความสำคัญกับคนที่มีทักษะพื้นฐาน แต่สามารถแก้ปัญหาได้ แก้ปัญหาเป็น มากกว่าคนที่มีความรู้ หรือความเชี่ยวชาญ
ยิ่งเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มีความก้าวหน้า หรือพัฒนารวดเร็วเท่าไหร่ เราก็ต้องรีบเติม รีบปรับตัวให้เร็วขึ้นมากเท่านั้น
.
Deep Skills + Life Skills + Hyper-Relevant Skills
.
พอเหมาะพอเจาะ ผมเพิ่งได้มีโอกาสไปทำงาน แถลงข่าวการลงนามข้อตกลงความร่วมมืองานหนึง ระหว่าง KMUTT (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) กับ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งอาเซียน
.
ซึ่งในงานนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในยุคใหม่ ที่ไร้ขอบเขต ไร้ข้อจำกัด และไม่หยุดนิ่งอยู่แค่ที่ใดที่หนึ่ง
.
ผู้บริหารของทั้งสององค์กร
รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตียว (มจธ.) และ คุณอริญญา เถลิงศรี (SEAC)
เห็นตรงกันว่า Hard Skills หรือทักษะความรู้เฉพาะทาง อย่าง หมอ วิศวกร นักการตลาด ทนาย ทุกอย่าง ยังจำเป็นอยู่และทุกคนต้องมีอย่างน้อย 1 อย่าง
แต่..
Hyper-Relevant Skills
หรือทักษะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องจะต้องถูกเพิ่มเข้ามา ทั้งในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย(บางหลักสูตร) และในระบบออนไลน์ที่เข้าไปเรียนรู้ได้ทุกวันสำหรับทุกๆคน ทั้งทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหา การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล(Data analysis) หรือแม้แต่ทักษะความเป็นผู้นำ
.
ดังนั้น ต่อไปเราจำเป็นต้อง Active มากขึ้น ขยันมากขึ้น ไม่หยุดนิ่งหยุดเรียนรู้ และผสมผสานประสบการณ์ชีวิตของเราเข้าไป เรียนรู้จากความผิดพลาดทั้งของตัวเองและคนอื่นๆ
และที่สำคัญ
“ทักษะที่จำเป็นในอนาคต” อาจจะไม่ใช่แค่ทักษะ แต่เป็นวิธีการคิด หรือวิธีการจัดการกับปัญหาหรือเรื่องต่างๆ มากกว่า
.
ดังนั้น ในช่วงเวลาแบบนี้ ถ้าคุณคิดจะพัฒนาตัวเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ไม่อยากถูกมองข้าม เลิกจ้าง หรือปล่อยตัวไป คุณควรจะมีประสบการณ์ที่หลากหลาย และเพิ่มทักษะในการคิดวิเคราะห์ แล้วคุณจะเป็นคนที่หลายๆ องค์กรมองหา
.
แปล: เปี๊ยกพระราม3
แต่งเติม: Me IIP
.
Sources:
https://www.cnbc.com/2020/06/15/harvard-yale-researcher-future-success-is-not-a-specific-skill-its-a-type-of-thinking.html
.
#peoplepersona
#เขย่งก้าวกระโดด
#generalist
#ทักษะแห่งอนาคต
#เป็ด
ทักษะการแก้ปัญหา 在 Cherprang BNK48 Facebook 的精選貼文
STEM ศึกษาคืออะไร? ทำไมเด็กรุ่นใหม่ต้องเรียนวิชานี้กัน?
.
STEM หรือ STEM Education อีกหนึ่งสาขาวิชาที่กำลังมาแรงในยุคนี้ หลายๆ คนอาจยังไม่คุ้นเคย หรือไม่รู้ว่าเป็นการเรียนเกี่ยวกับอะไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ และพาทุกคนไปทำความความรู้จักกับสาขาวิชานี้กัน ต้องบอกว่ากำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานไม่น้อยเลยทีเดียว
.
คำว่า STEM ย่อมาจาก
☑ Science
☑ Technology
☑ Engineering
☑ Mathematics
ถูกใช้ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งการศึกษาสาขาวิชาสะเต็มศึกษา หรือ STEM Education ที่เริ่มมีการเรียนการสอนแพร่หลายในมหาวิทยาลัยนั้น จะเป็นการศึกษาในรูปแบบบูรณาการ โดยเอาทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มาเชื่อมโยงใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และพัฒนากระบวนการใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ เป็นการต่อยอดหลักสูตรที่มีอยู่เดิม ให้สามารถนำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.
การศึกษาในสาขานี้ นักเรียนจะได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น...
🔹 ทักษะการแก้ปัญหา (problem solving)
🔹 ความคิดสร้างสรรค์ (creativity)
🔹 การคิดวิเคราะห์ (critical analysis)
🔹 การทำงานเป็นทีม (teamwork)
🔹 การคิดอย่างอิสระ (independent thinking)
🔹 ความคิดริเริ่ม (initiative)
🔹 ทักษะการสื่อสาร (communication)
🔹 ทักษะด้านดิจิทัล (digital literacy)
.
ซึ่งการสมัครชิงทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทยปี 3 นี้ จะใช้สาขาวิชาสะเต็มศึกษา หรือ STEM Education เป็นหนึ่งในข้อสอบคัดเลือกนักเรียนทุน และเมื่อเข้าสู่หลักสูตรการสำรวจอวกาศเบื้องต้นที่ศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐฯ (USSRC) ก็จะมีโอกาสได้ใช้ความรู้ และทักษะสาขาวิชา STEM ปฏิบัติภารกิจในแคมป์ด้วยเช่นกัน
.
สมัครชิงทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทยปี 3 ไปเรียนหลักสูตรการสำรวจอวกาศเบื้องต้นที่ศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐฯ (USSRC) เมืองฮันต์สวิลล์ รัฐอลาบามา สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 10 วัน ระหว่างวันที่ 27 มี.ค.- 5 เม.ย.63 คลิก bit.ly/SPC-Register
🚀 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 20 ต.ค.62
🚀 ค่าสมัครสอบ 550 บาท
🚀 สมัครและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/SPC-Register
🚀 ติดต่อสอบถาม Line: @spacecampthailand
#SpaceCampEpisode3 #WayToYourDream #ฝันให้ไกลไปให้ถึงดาว #SpaceCampThailand #ScholarshipOpportunity #SCAT #STEM #USSRC
ทักษะการแก้ปัญหา 在 ทักษะ 'แก้ปัญหาเฉพาะหน้า' ที่ทุกคนควรมี l Working Coach 的美食出口停車場
อีกหนึ่ง ทักษะ ที่ทุกคนควรมี และทุกคนสามารถพัฒนาได้ด้วยตัวเอง เข้าใจ เรียนรู้เรื่อง การแก้ปัญหา เฉพาะหน้ากั … Show more. Show more. ... <看更多>
ทักษะการแก้ปัญหา 在 #ฝึกทักษะการแก้ปัญหา... - สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก | Facebook 的美食出口停車場
ฝึกทักษะการแก้ปัญหา #สอนให้ลูกมีความอดทน #แก้ปัญหาด้วยตัวเองเป็น ทักษะในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นส่งสำคัญที่เด็กๆ ควรมีติดตัว... ... <看更多>