“วางแผนล่วงหน้า 10 ปี ทำให้สำเร็จใน 1 ปี”
นักวางกลยุทธ์ -Ming Zeng-
“ A journey of a thousand miles must begin with a single step.”
"การเดินทางไกลนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นที่ก้าวแรก”
บางคนอาจแปลต่างจากนี้ แต่ความหมายก็คงไม่ต่างกัน ว่ากันว่า ปรมาจารย์ เล่าจื๊อ เป็นผู้กล่าวไว้ จนกลายเป็นสุภาษิตจีน สอนผู้คนชนรุ่นหลังให้ฮึกเหิม รู้สึกถึงความสำคัญของความขยัน และการลงมือทำ...... คลาสสิค และอาจจะยังใช้ได้อยู่เสมอแม้ในโลกยุคปัจจุบัน แต่...บางที แค่เริ่มต้นลงมือทำอะไรบางอย่าง อาจไม่พอ
.
- ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับคนคนหนึง
.
- เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อราวๆ 2 เดือนก่อน ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับ CEO หนุ่มท่านหนึ่ง ที่อายุน้อยกว่าผมเกือบ 10 ปี แต่พออนุมานได้ว่า เริ่มต้นประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจขนส่งสินค้าผ่านระบบออนไลน์ หรือ อี-โลจิสติกส์ ตั้งแต่ยังหนุ่ม บริษัทของเค้ามีพนักงานราวๆ 80 คน ซึ่งตอนนี้ทุกคน WFH ทำงานกันที่บ้าน ทั้งๆที่ออฟฟิศสวยมาก อยู่ชั้นสูง บนตึกหรู ที่ True Digital Park
.
- ผมไม่มีโอกาสได้ใช้เวลามากนักในการสัมภาษณ์ เพราะวันนั้นเป็นวันหยุด และสถานการณ์โควิด-19 ก็ยังน่าเป็นห่วง ตึกก็กว่าจะเปิดแอร์เล่นเอาเหงื่อแตก แต่ท่ามกลางบทสนทนาสั้นๆ ที่สะดุดหู และสะกิดหัว (สมอง) ของผมก็คือ ปรัชญาในการทำธุรกิจของผู้ชายคนนี้ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า เค้าโชคดีที่ได้มีโอกาสไปดูงาน และอบรมการทำธุรกิจกับ Alibaba group เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งผู้ชายคนหนึ่งที่เค้าประทับใจ และจดจำคำสอนได้มากกว่า แจ๊ค หม่า ซะอีกก็คือ......... เค้า จำชื่อ ไม่ได้ รู้แต่เป็น CSO (Chief Strategy Officer)
.
- เอาเป็นว่า เขาคนนี้บอกว่า ใครคนนั้น
บอกเอาไว้ว่า
ถ้าจะทำธุรกิจให้แข่งขันได้ประสบความสำเร็จในยุคนี้ ต้อง “วางแผนล่วงหน้า 10 ปี แล้วทำให้สำเร็จใน 1 ปี”
....................ล้ำลึกมาก (แต่ปฏิบัติจริง คงยากกว่ามาก) วันนั้นกลับมา ผมบอกให้เพื่อนซึ่งเก่งภาษาจีน และเคยอาศัยอยู่ที่จีนช่วยหาว่าท่าน CFO ผู้นั้นคือใคร คำตอบที่ได้ภายใน 2-3 ชั่วโมงก็คือ เขาคนนั้นชื่อว่า “หมิง เจิ้ง” (Ming Zeng) เป็นผู้ที่ “คุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” เจ้าของคอลัมน์ ธุรกิจพอดีคำ และเพจ 8 บรรทัดครึ่ง เคยนิยามไว้ว่าเป็นมือขวาระดับ ขงเบ้ง/สุมาอี้ ของท่านประธาน แจ๊ค หม่า!
.
“หมิง เจิ้ง”
.
- คนคนนี้ น่าสนใจ น่าค้นลึกลงไป ในประวัติชีวิตการทำงาน เค้ามีหลายๆอย่าง คล้ายๆ แจ๊ค หม่า คือเป็นคนสายอคาเดมิค ที่เปลี่ยนมาเป็น นักธุรกิจระดับท็อป ที่ถูกสัมภาษณ์ลงนิตยสาร Forbes เอเชีย
“เจิ้ง”เป็นสกุลเก่าแก่ ของ กวางตุ้ง (Cantonese) เค้าเกิดและเติบโต รวมถึงเรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์ที่เมืองจีน ก่อนจะเดินทางไปสำเร็จปริญญาเอก ด้าน International Business Strategy ที่ อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เค้ารู้จักกับ แจ๊ค หม่าตั้งแต่ปี 2000 แต่กว่าจะได้มาทำงานร่วมกันจริงๆจังๆก็ปี 2006 (ว่ากันว่า แจ๊ค หม่า ต้องรอ พี่หมิง เจิ้ง ของเราอยู่หลายปี เพราะเค้ากำลังเขียนหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ เลยเป็นให้ได้แค่ที่ปรึกษา คล้ายๆเล่าปี้ ต้องรอ ขงเบ้ง)
.
ซึ่งคำถามก็คือ เจิ้ง มีอะไรดีที่ หม่า ต้องการ?
.
- ว่ากันว่า หนังสือ เล่มที่ เจิ้ง เขียน ตอนที่ยังเป็นอาจารย์สอนปริญญาโทด้านธุรกิจ อยู่ที่มหาวิทยาลัย เฉิง กง (เขียนร่วมกับ Peter J. Williamson อาจารย์อีกท่าน) มีชื่อว่า “Dragon at your Doors: How Chinese Cost Innovation is Disrupting Global Competition” แปลเป็นไทยโดยสรุปของหนังสือเล่มนี้ (อ่านจาก รีวิวสรุป) ประมาณว่า “มังกรมาเยือนหน้าธรณีประตูบ้านแล้ว ถ้าไม่ทำอะไรซักอย่าง ก็เตรียมตัวกันได้เลยพวกเรา”
เนื้อหาใจความ อธิบายถึงจุดดี จุดด้อย จุดเด่น จุดได้เปรียบเสียเปรียบของบริษัทยักษ์ใหญ่จากจีน ที่กำลังทำให้บริษัททั่วโลกโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรปต้องปรับตัว
.
- ในตอนที่หนังสือออกมาใหม่ๆ นอกจากจีนแล้ว ในต่างประเทศอาจดูไม่ว้าวเท่าไหร่ (แต่ตอนนี้ถ้าลองไปอ่านดูดีๆอีกที อาจเข้าใจการกระทำของ โดนัล ทรัมป์ มากขึ้นเลยทีเดียว) แต่สำหรับ แจ๊ค หม่า... เค้าคิดว่า เจิ้ง คือคนที่คิดเหมือนกัน หรืออย่างน้อยก็คล้ายกับเค้าที่สุด
เจิ้ง ขยับเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสายกลยุทย์ของ อาลีบาบา ในยุคที่ แจ๊ค หม่า ยังกุมบังเหียนหัวเรือใหญ่ (ไม่ใช่ จาง อย่างในปัจจุบัน) และเป็นผู้วางรากฐาน Ecosystem ของระบบการค้าออนไลน์ ให้ความสำคัญกับลูกค้า ผู้ค้า และพนักงานมากกว่าหัวหน้า ทำให้ทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วม มีบทบาท รู้สึกสนุก และอยากจะทำบางสิ่งบางอย่างใหม่ๆ ที่เครือข่าย โครงสร้างพื้นฐานออนไลน์ที่ อาลีบาบา สร้างให้ และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ อาลีบาบา แตกต่างจากธุรกิจประเภทเดียวกันเจ้าอื่นๆ ในระบบ
พันธมิตรของ อาลีบาบา มีทุกชนชั้น ตั้งแต่ คนเล็ก คนใหญ่ คนซื้อ คนขาย คนผลิต คนส่งของ คนเป็นนายหน้า คนมีหัวสมองแต่ยังไม่มีของมาขาย คนรับจ้างทำโฆษณา และคนอื่นๆ
หรือพูดง่ายๆว่าทุกคน ทุกคนอยากไปมีบ้านหรือห้องเช่าเล็กๆ ใน ที่ดิน ที่มีที่ว่างไร้ขีดจำกัด ที่ชื่อว่า “อาลีบาบา”
.
- เจิ้ง บอกว่า “สูตรของการทำธุรกิจที่ชาญฉลาด (Smart Business) นั้นเป็นสมการที่เรียบง่าย.......มันคือ ระบบเครือข่ายการทำงานที่สอดประสานกัน (Network Coordination) บวกกับ การเลือกใช้ข้อมูลที่ชาญฉลาด ระดับอัจฉริยะ (Data Intelligence) (ซึ่งทั้งหมดทำด้วย AI) ”
พูดฟังดูดี แต่ทำยากอีกและ แต่นี่คือสิ่งที่ เจิ้ง และ หม่า ทำได้สำเร็จก่อนคนอื่นๆ
และนั่นคือเหตุผลว่า ทำไมปัจจุบัน จึงไม่มีใครเรียก อาลีบาบา ว่า อเมซอนของจีน มานานแล้ว
คุณต้อง กวีวุฒิ บอกว่าขนาด สตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Ant Financial) ซึ่งมีมูลค่า แสนห้าหมื่นล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (เดคคาคอน สามเขา) ยังเป็นแค่บริษัทลูกของอาลีบาบา คิดเอาเองละกัน!*******
.
- หลังจากอ่านเรื่องราวทั้งหมดเพื่อนำมาเขียนอะไรนี้แล้ว ก็ทำให้ผมตระหนักได้ว่า “ที่ผ่านมา กูทำอะไรอยู่วะ ห*าเอ้ยยย...” มีคนสร้างอีโคซิสเต็มไว้ให้นานแล้ว แบรนด์บุคคลก็พอมี เสือกทำตัวอินดี้ เป็นพวก แอนตี้โซเชียลเท่ๆ ขวางโลกอยู่ได้.....
....แต่เอาเถอะ เพื่อออกจากการฝากชีวิตไว้กับคนอื่น การดูแลแบบทิ้งๆขว้างๆ ตามมีตามเกิด ตามชะตากรรมลูกจ้าง มันคงถึงเวลาแล้วจริงๆ หมื่นพันลี้ของผม ได้เริ่มด้วยก้าวแรกแล้วในวันนี้ เพียงแต่....วางแผน 10 ปี ทำให้สำเร็จใน 1 ปี .... แต่ตอนนี้ 1 เดือน เพิ่งมี 2,000 Likes ทำยังไงต่อดีว้า……. 555
.
*Noted* ปัจจุบัน หมิง เจิ้ง ไม่ได้เป็น CSO ให้กับ อาลีบาบา แล้วแต่เป็น “แมกกี้ วู” หญิงเก่งที่ควบตำแหน่งนี้ พร้อมๆกับ CFO แทน และผู้ชายคนแรกที่ผมพูดถึง (ซีฮีโอหนุ่ม ) ผู้เป็นเจ้าของบริษัท GIZTIX ชื่อคุณ โหน่ง สิทธิศักดิ์ วงศ์สมนึก
#peoplepersona
#เขย่งก้าวกระโดด
#หมิงเจิ้ง #MingZeng
#Alibaba #ต้องกวีวุฒิ
#SmartBusiness
Sources: https://www.alibabagroup.com/en/ir/governance_8 https://www.thegeniusworks.com/2019/03/smart-business-ming-zeng-on-what-alibabas-success-says-about-the-future-of-strategy/
https://hbr.org/2018/09/alibaba-and-the-future-of-business
https://en.everybodywiki.com/Zeng_Ming
https://thinkers50.com/radar-2019/ming-zeng/
https://www.matichonweekly.com/column/article_176578
Search
ต้องกวีวุฒิ 在 คุณต้อง - กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร เจ้าของพอดแคสต์ และเพจ “แปดบรรทัดครึ่ง” 的美食出口停車場
คุณ ต้อง กวีวุฒิ เรียกได้ว่าเป็นอีก 1 แรงบันดาลในของคนยุคใหม่ในด้านแนวคิดการพัฒนาทักษะ การทำงาน ธุรกิจ แถมยังเป็นผู้บริหารในกลุ่มธนาคารไทยพานิ ... ... <看更多>