สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ครึ่งแรกปี 2563
.
นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้ความต้องการของตลาดลดลงอย่างฉับพลัน ทั้งตลาดรถยนต์ในประเทศและตลาดการส่งออก ทำให้สภาวะการดำเนินธุรกิจของประเทศไทยโดยรวม มีความแตกต่างจากแผนที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งจากเดิมที่มีการคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน จึงได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2563 เป็น 660,000 คัน คิดเป็น 65% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
.
มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เปิดเผยสถิติสรุปสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในครึ่งแรกปี 2563 มีปริมาณการขายรถยนต์รวมอยู่ที่ 328,604 คัน โดย 10 อันดับค่ายรถยนต์แรกที่สามารถขายได้มากที่สุด มีดังนี้
.
อันดับที่ 1 โตโยต้า 94,222 คัน
อันดับที่ 2 อีซูซุ 76,054 คัน
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 41,326 คัน
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 25,762 คัน
อันดับที่ 5 นิสสัน 21,502 คัน
อันดับที่ 6 มาสด้า 15,408 คัน
อันดับที่ 7 ฟอร์ด 11,534 คัน
อันดับที่ 8 ซูซูกิ 11,089 คัน
อันดับที่ 9 เอ็มจี 10,902 คัน
อันดับที่ 10 เชฟโลเลต 5,035 คัน
.
ซึ่งหากแยกตามประเภทตลาดรถยนต์ จะสามารถแยกได้ตามนี้
#ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 119,716 คัน ลดลง 42%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 34,518 คัน
อันดับที่ 2 โตโยต้า 29,926 คัน
อันดับที่ 3 ซูซูกิ 12,641 คัน
.
#ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 208,888 คัน ลดลง 34.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 76,054 คัน
อันดับที่ 2 โตโยต้า 64,296 คัน
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 15,416 คัน
.
#ตลาดรถกระบะขนาด1ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 166,409 คัน ลดลง 35.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 70,573 คัน
อันดับที่ 2 โตโยต้า 56,265 คัน
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 15,416 คัน
.
#ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,432 คัน ลดลง 33.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 67,625 คัน
อันดับที่ 2 โตโยต้า 49,622 คัน
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 11,598 คัน
.
อย่างไรก็ตาม นี่อาจเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ของบรรดาค่ายรถยนต์ในไทย ซึ่งเราคงต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไปว่าในปี 2563 ผลประกอบการของค่ายรถยนต์จะเป็นไปตามการคาดการณ์ที่ได้มีการปรับลดลงหรือไม่ และค่ายรถยนต์จะมีการวางแผน หรือนโยบายอะไรบ้างที่จะทำให้ธุรกิจสามารถก้าวข้ามวิกฤตนี้ และกลับมามีผลกำไรขึ้นอีกครั้ง
.
ที่มา : https://www.toyota.co.th/news/oj9YZDjb
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#ตลาดรถยนต์ในไทย #ยอดขายรถยนต์ #toyotathailand
同時也有5部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅CarDebuts,也在其Youtube影片中提到,บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด รายงานผลการดำเนินงาน ในระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ด้วยยอดจำหน่ายสะสม ระหว่างเดือนมกราคม...
ตลาดรถยนต์นั่ง 在 CarDebuts Facebook 的精選貼文
(คลิป) Honda อันดับ 1 ตลาดรถยนต์นั่ง ยอดขายครึ่งปีแรก 2563 (2020) รุ่นไหน ขายได้กี่คัน ไปชมกันเลย
ตลาดรถยนต์นั่ง 在 CarDebuts Youtube 的最讚貼文
บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด รายงานผลการดำเนินงาน ในระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ด้วยยอดจำหน่ายสะสม ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2563 จำนวนทั้งสิ้น 41,326 คัน หรือคิดเป็น 29.2% สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์นั่ง จากยอดขายรวมรถยนต์นั่ง 141,366 คัน โดย ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ ฮอนด้า ซีวิค ฮอนด้า เอชอาร์-วี และ ฮอนด้า ซีอาร์-วี ใหม่ ยังคงเป็นรถยนต์ยอดนิยม และครองตำแหน่งผู้นำในกลุ่ม และจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ที่เริ่มคลี่คลาย ไปในทิศทางที่ดีขึ้น ฮอนด้าคาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์โดยรวมในปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 680,000 คัน
พร้อมกันนี้ ฮอนด้าได้ประกาศทิศทางการดำเนินธุรกิจ ปี 2563 ที่พร้อมตอบรับ ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยจะเน้นกลยุทธ์ด้านดิจิทัล พร้อมยกระดับงานบริการหลังการขาย เพื่อเพิ่มความสะดวกและมั่นใจให้กับลูกค้า รองรับไลฟ์สไตล์แบบ New Normal
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชน ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต และการทำงาน ผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย และชะลอการตัดสินใจซื้อสินค้า ภาคธุรกิจทั้งประเทศหยุดชะงัก รวมทั้งธุรกิจยานยนต์ด้วย ส่งผลต่อยอดขายในครึ่งปีแรก 2563 (มกราคม – มิถุนายน 2563) ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยยอดขายรถยนต์รวม 325,773 คัน หรือลดลง 38.7% เช่นเดียวกับตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรวม ที่มียอดขาย 141,366 คัน หรือลดลง 41.8%
สำหรับยอดขายรถยนต์ฮอนด้า ช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2563 (มกราคม – มิถุนายน 2563) แบ่งตามเซกเมนต์ ประกอบด้วย
กลุ่มรถยนต์ซับคอมแพคท์ซีดาน
• ฮอนด้า ซิตี้ ยังได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มนี้ ด้วยยอดขาย 16,950 คัน หรือคิดเป็น 39.3%
กลุ่มรถยนต์คอมแพคท์
• ฮอนด้า ซีวิค และฮอนด้า ซีวิค แฮทช์แบ็ก ยังครองความเป็นผู้นำ ด้วยยอดขาย 8,656 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 56.7%
กลุ่มรถยนต์สปอร์ตเอนกประสงค์
• ในกลุ่มรถยนต์สปอร์ตเอนกประสงค์ ขนาดกลาง ฮอนด้า เอชอาร์-วี ครองอันดับ 1 มียอดขายสะสม 3,667 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33%
• กลุ่มรถยนต์สปอร์ตเอนกประสงค์ ขนาดใหญ่ ฮอนด้า ซีอาร์-วี ครองอันดับ 1 มียอดขายสะสม 1,978 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 43%
กลุ่มรถยนต์ครอบครัว
• ฮอนด้า แอคคอร์ด มียอดขายสะสม 2,270 คัน ครองส่วนแบ่งการตลาด 45.3%
ฮอนด้าคาดว่า ตลาดรถยนต์รวม ในปี 2563 จะมียอดขายรวม 680,000 คัน ลดลงจากปีก่อน 32% โดยเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 304,000 คัน ลดลงจากปีก่อน 35%
ตลาดรถยนต์นั่ง 在 CarDebuts Youtube 的最讚貼文
ยอดขายรถยนต์ Toyota vs Isuzu ประจำเดือนมิถุนายน 2563 (2020) และ 6 เดือนแรกของปี
สืบเนื่องจากคลิปก่อนหน้านี้ ที่พูดถึงยอดขายรถกระบะปิกอัพ ในเดือนมิถุนายน และ 6 เดือนแรก ของปี 2563 ซึ่ง Isuzu D-MAX นำมาเป็นอันดับ 1 ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยยอดขายเกือบ 15,000 คัน มากกว่า Toyota Hilux Revo ถึง 2.4 เท่าตัว ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายรถกระบะ ที่ทิ้งห่างอันดับ 2 มากที่สุดในปีนี้ ส่วนหนึ่ง อาจจะเพราะกลุ่มเป้าหมาย ชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อรอพิจารณา Hilux Revo โฉมใหม่ ที่เปิดตัวไปแล้ว เมื่อต้นเดือนมิถุนายน
และที่ผ่านมา Isuzu D-MAX สามารถทำยอดขายเฉลี่ยในแต่ละเดือน สูงกว่า Toyota Hilux Revo มาโดยตลอดในปีนี้ แต่ยังมีอีกหนึ่งประเด็น ที่น่าสนใจกว่า ก็คือปริมาณการขายรถยนต์รวมทุกประเภท ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Isuzu สามารถแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในเมืองไทย เหนือกว่า Toyota ที่เป็นเจ้าตลาดมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ยอดขายสะสมใน 6 เดือนแรก Toyota ก็ยังมีจำนวนที่สูงกว่า Isuzu อยู่ แต่การที่มียอดขายที่น้อยกว่าคู่แข่ง ที่มีรุ่นรถยนต์ที่จำหน่าย น้อยกว่ามาก ก็เป็นสัญญาณที่ไม่ดีนักสำหรับ Toyota เรามาดูกันว่า ในตลาดรถยนต์แต่ละประเภท Toyota ทำได้ดีแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
ก่อนอื่น เรามาดูภาพรวมในตลาดรถยนต์ ปี 2563 กันก่อน ซึ่งปริมาณการขายรวม ใน 6 เดือนแรก อยู่ที่ 328,604 คัน ลดลง 37.8% ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจของไทย ที่ไม่สู้ดีนัก ในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา จากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง แต่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คงหนีไม่พ้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจทั่วโลก ประสบปัญหาหนัก อย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน จนถึงขนาดที่บริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกหลายแห่ง เข้าขั้นล้มละลาย แต่ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ก็เป็นปัญหาที่ค่ายรถยนต์ต่างๆในเมืองไทย ประสบอยู่ด้วยเช่นกัน
และเมื่อเราพิจารณาตัวเลข ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ ในเดือนมิถุนายนปีนี้ ทั้ง 2 ตลาดหลัก คือ ตลาดรถยนต์นั่ง และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงรถกระบะขนาด 1 ตัน เราจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
ตลาดรถยนต์นั่ง 在 CarDebuts Youtube 的最佳貼文
? คลิปรถใหม่ 2019-2020 มาแล้วครับ คลิกที่นี่ https://www.youtube.com/channel/UCSebcviE-UeYMxVRNozwqtw/videos
สรุปยอดขายรถยนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ และ 2 เดือนแรก ปี 2561 (2018)
โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทยรายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 75,466 คัน เพิ่มขึ้น 10.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,617 คัน เพิ่มขึ้น 10.9% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 45,849คัน เพิ่มขึ้น 9.9% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตันในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 37,198 คัน เพิ่มขึ้น 7.9%
ประเด็นสำคัญ
1) ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณการขาย 75,466 คัน เพิ่มขึ้น 10.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10.9% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 9.9% การเติบโตของตลาดรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 นี้ เป็นผลมาจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่สู่ตลาดในช่วงเดือนที่ผ่านมา
2) ตลาดรถยนต์สะสม 2 เดือน มีปริมาณการขาย 142,011 คัน เพิ่มขึ้น 13.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 18.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10.0% แสดงให้เห็นว่า การเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศรวมถึงการขยายตัวของภาคการส่งออก ประกอบกับความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ที่แนะนำเข้าสู่ตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆที่เริ่มตั้งแต่ต้นปี ส่งผลในเชิงบวกต่อตลาดรถยนต์
3) ตลาดรถยนต์ในเดือนมีนาคม คาดว่ายังคงเติบโต โดยมีปัจจัยบวกจากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ รวมถึงข้อเสนอพิเศษ และเงื่อนไขการเช่าซื้อที่หลากหลายจากค่ายรถยนต์ต่างๆ ตลอดจนการจัดงานมอเตอร์โชว์ในช่วงปลายเดือน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง และราคาพืชผลทางการเกษตร ที่ส่วนใหญ่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่บ้าง แต่ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์มากนัก
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2561
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 75,466 คัน เพิ่มขึ้น 10.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,379 คัน ลดลง 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 27.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,272 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 17.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,129 คัน ลดลง 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,617 คัน เพิ่มขึ้น 10.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,027 คัน ลดลง 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 27.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,982 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.6%
อันดับที่ 3 มาสด้า 3,839 คัน เพิ่มขึ้น 61.6% ส่วนแบ่งตลาด 13.0%
3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 37,198 คัน เพิ่มขึ้น 7.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 12,007 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,657 คัน ลดลง 7.1% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 5,348 คัน เพิ่มขึ้น 40.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.4%
โดยมีปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,698 คัน
โตโยต้า 2,043 คัน - อีซูซุ 920 คัน - มิตซูบิชิ 851 คัน - ฟอร์ด 808 คัน - เชฟโรเลต 76 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 32,500 คัน เพิ่มขึ้น 7.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,087 คัน เพิ่มขึ้น 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,614 คัน ลดลง 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,540 คัน เพิ่มขึ้น 40.4% ส่วนแบ่งตลาด 14.0%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 45,849 คัน เพิ่มขึ้น 9.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,272 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 28.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,352 คัน ลดลง 6.8% ส่วนแบ่งตลาด 26.9% อันดับที่ 3 ฟอร์ด 5,481 คัน เพิ่มขึ้น 39.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2561
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 142,011 คัน เพิ่มขึ้น 13.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 37,517 คัน เพิ่มขึ้น 2.3% ส่วนแบ่งตลาด 26.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 25,505 คัน ลดลง 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 18.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 18,238 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 12.8%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 55,366 คัน เพิ่มขึ้น 18.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,381คัน เพิ่มขึ้น 8.7% ส่วนแบ่งตลาด 27.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 13,919 คัน เพิ่มขึ้น 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 มาสด้า 6,663 คัน เพิ่มขึ้น 46.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 69,994 คัน เพิ่มขึ้น 7.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 23,256 คัน ลดลง 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 20,874 คัน ลดลง 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 29.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 10,089 คัน เพิ่มขึ้น 41.9% ส่วนแบ่งตลาด 14.4%
โดยมีปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 9,179 คัน
โดยเป็น โตโยต้า 3,839 คัน - อีซูซุ 1,830 คัน - มิตซูบิชิ 1,753 คัน - ฟอร์ด 1,613 คัน - เชฟโรเลต 144 คัน
4. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 60,815 คัน เพิ่มขึ้น 7.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 21,426 คัน ลดลง 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 17,035 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 8,476 คัน เพิ่มขึ้น 41.6% ส่วนแบ่งตลาด 13.9%
5. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 86,645 คัน เพิ่มขึ้น 10.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 25,505 คัน ลดลง 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 29.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 22,136 คัน ลดลง 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 25.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 10,430คัน เพิ่มขึ้น 41.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%