รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.27ตอน "วางขวดน้ำในรถ จะทำให้ไฟไหม้ แถมเกิดสารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?
มีการแชร์โพสต์เตือนภัยกันว่า "การวางขวดน้ำไว้ในรถ จะมีอันตรายอย่างมาก เพราะเมื่อแสงตกกระทบกับน้ำ จะหักเห เปลี่ยนสภาพเป็นพลังงานความร้อน ก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ จากแหล่งเชื้อเพลิงในรถ เช่น ผ้า/หนังสังเคราะห์/พลาสติก/ยาง" เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องมั่ว ครับ ?
อันนี้เป็นเรื่องจริง ! ครับ
เคยมีรายงานแล้วทั้งในต่างประเทศและในไทย แต่มักจะเป็นความบังเอิญมากที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักก็คือ ขวดน้ำทำตัวเหมือนเป็น "เลนส์" ที่โฟกัสรวมแสงดวงอาทิตย์ จะเกิดจุดความร้อนที่สูงพอจะทำให้วัสดุในรถติดไฟได้
หลักการนั้น ก็คล้ายๆ กับที่เราเอา "แว่นขยาย" ซึ่งเป็นเลนส์นูน มารวมแสงโฟกัสลงไปบนพื้น เกิดจุดแสงที่มีพลังงานความร้อนสูง เผาใบไม้ เผากระดาษเล่น ตอนเด็กๆ ซึ่งขวดใสใส่น้ำเปล่า ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติกหรือขวดแก้ว ก็สามารถที่จะทำให้เกิดการโฟกัสแสงที่เข้ามาในรถได้เหมือนกัน
แต่ผู้เชี่ยวชาญก็บอกด้วยว่า แม้ขวดน้ำจะรวมแสงโฟกัสจนทำให้วัสดุในรถร้อนจัด เกิดควันของการเผาไหม้ขึ้นได้นั้น แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะถึงขนาดติดไฟลุกไหม้อุปกรณ์ในรถ จนไฟไหม้รถทั้งคัน อย่างที่กลัวกัน เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะต้องใช้วัสดุภายในรถที่ทนไฟ ตามมาตรฐานการประกอบรถยนต์ (อ่านเพิ่มเติมใน https://www.livescience.com/62899-water-bottle-fire.html)
ตัวที่จะเป็นปัญหาจริงๆ คือ จะเป็นข้าวของอย่างอื่นๆ ที่เราทิ้งไว้ในรถเองมากกว่า เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า เศษขยะ ถ้าบังเอิ้นบังเอิญ จุดโฟกัสรวมแสงจากขวดน้ำนั้นไปโดนพวกมันเข้าพอดี และเป็นระยะเวลานานเพียงพอที่จะเกิดการลุกไหม้ติดไฟได้
มีคลิปวิดีโอตัวอย่างที่บริษัท Idaho Power ของสหรัฐอเมริกา ลองทดลองเอาขวดน้ำมาทำเป็นเลนส์ ให้เกิดจุดความร้อนขึ้นในรถ (ดู https://youtu.be/EUdbdalZnEQ) พบว่า ขวดน้ำสามารถทำให้เบาะหนังในรถร้อนขึ้นถึง 99 องศาเซลเซียส และทำให้เกิดรูไหม้ขึ้น 2 รูบนเบาะนั้น
แต่ๆๆ ก็ต้องอย่าลืมว่า ทั้งขวดน้ำ-แนวแสงแดด-วัสดุเชื้อเพลิง ต้องบังเอิญมาเรียงตัวในระนาบที่เหมาะสมพอดีเป๊ะ ถึงจะเกิดเช่นนี้ได้ / ขวดน้ำเอง ก็ต้องเป็นขวดที่ผิวเรียบ ไม่เป็นร่อง และทรงโค้งกำลังดี ถึงจะเป็นเลนส์ที่เหมาะสม / น้ำที่อยู่ด้านใน ก็ต้องใสมากพอที่จะทำให้แสงผ่านไปได้
และที่สำคัญที่สุด คือ แสงแดดจะต้องส่องลงมาที่ขวดน้ำ เป็นเวลานานมากเพียงพอ ในมุมที่เหมาะสม กว่าที่จะทำให้จุดรวมแสงนั้นร้อนจัดจนเกิดการลุกไหม้ได้ ... ถ้าแสงส่องผ่านกระจกรถ หรือฟิล์มกรองแสง หรือเป็นวันที่มีเมฆ ก็จะลดปริมาณแสงที่จะผ่านขวดน้ำลงได้
ดังนั้น การทิ้งขวดน้ำไว้ในรถในวันที่แดดจัด แล้วทำให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นในรถได้นั้น เป็นไปได้แต่ก็ไม่ได้จะเกิดขึ้นง่ายๆ ต้องบังเอิญมากๆ จริงๆ จึงจะเกิดสภาวะที่เหมาะสมขนาดนั้นได้ ... ถ้ากังวล ก็อย่าทิ้งขวดน้ำเปล่าไว้ในรถในตำแหน่งที่จะโดนแสงแดดได้โดยตรง แค่นั้นก็ปลอดภัยแล้วครับ
-------------------
นอกจากนี้ ยังมีการแชร์ข้อความเตือนกันอยู่เรื่อยๆ ว่า "ขวดน้ำวางไว้ในรถ จะเกิดสารก่อมะเร็ง" โดยอ้างว่า "80% ของคนที่ดื่มน้ำที่วางไว้ในรถ จะเป็นมะเร็ง เพราะขวดน้ำแบบ PET นั้น เมื่อโดนความร้อนจะปล่อยสาร BPA ออกมา ส่งผลต่อความผิดปรกติของพันธุกรรม เป็นโรคมะเร็งได้"
ซึ่งเรื่องนี้ ไม่จริง! นะครับ
สาร BPA หรือ Bisphenal A นั้น ไม่ได้ใช้เป็นองค์ประกอบของขวดน้ำดื่มใส หรือ ขวด PET ที่เราใช้ดื่มกันเลย สารนี้ ส่วนมากใช้เป็นสารที่เอาไว้ยารอยต่อของโลหะของกระป๋องอาหาร และก็เอาไว้ผลิตพลาสติกพวก PC หรือ Polycarbonate ที่เป็นพลาสติกหนาๆ ทนๆ ใสๆ ) สาร BPA นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเพศ เลยมีความกังวลกันว่า ถ้าเอาไปทำขวดนมให้เด็กทารก ซึ่งต้องต้มบ่อยๆ จะทำให้สารมันหลุดออกมาและเป็นอันตรายต่อเด็กทารกในระยะยาวได้หรือไม่ เลยมีการรณรงค์ให้เลิกใช้ในขวดนม (แต่ไม่ใช่ในภาชนะของผู้ใหญ่หรืออาหารกระป๋องนะ)
ส่วนขวดใสใส่น้ำ หรือขวด PET (โพลีเอธิลีน เทเรพธาเลต) นั้น ก็สามารถเก็บน้ำ และวางไว้ในรถได้ แม้จะตากแดดร้อน โดยมีงานวิจัยพบว่า ถ้าจะให้เกิดสารอันตรายอื่นๆ เช่น phthalate และ พลวง ที่ละลายออกมาจากขวดลงไปในน้ำมากเกินมาตรฐาน ก็จะต้องใส่ตั้งขวดไว้ในที่ร้อน อุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียส นานเป็นเวลาเกิน 11 เดือน (ดูรายละเอียด https://en.wikipedia.org/wiki/Polyethylene_terephthalate#Safety)
ส่วนในไทยเองนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้เคยสุ่มตรวจขวดน้ำ PET กว่า 10 บริษัท พบว่าค่าสารที่ละลายออกมานั้นอยู่ในมาตรฐาน (http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/recycle_plastic.htm) และการนำขวดมาใช้ซ้ำนั้น ทาง ก.สาธารณสุข บอกว่าไม่น่ามีปัญหาเรื่องสารเคมีปนออกมา แต่อาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่มากกว่า ถ้าล้างไม่ดีพอก่อนที่จะบรรจุซ้ำใหม่
น้ำที่เก็บในรถ จึงไม่ได้อันตรายหรือก่อมะเร็ง ขวด PET ก็สามารถเก็บน้ำได้นาน (แต่ไม่ใช่ตากแดดไว้เป็นแรมปี) และถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ควรเอามาใช้ซ้ำ หรือถ้าจะใช้ซ้ำ ก็ต้องล้างให้มั่นใจว่าสะอาดปราศจากเชื้อโรคปนเปื้อนจริง
---------------
ดังนั้น ที่แชร์กันอยู่ว่า "วางขวดน้ำในรถจอดตากแดดไว้ อาจจะทำให้เกิดไฟไหม้ได้" อันนี้เป็นเรื่อง "จริง" นะครับ แต่ก็เกิดได้ยากมากครับ ... ส่วนที่บอกว่า "ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง" นั้น เป็นเรื่อง "มั่ว" ครับ
「ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว」的推薦目錄:
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ 的評價
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.79 ตอน "โควิดสายพันธุ์ใหม่ ... 的評價
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.42 ตอน "วิญญานเข้าสิง บันได ... 的評價
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.47 ตอน "ตรวจโควิด แบบสวอป ... 的評價
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.81 ตอน "เป็นมะเร็ง ให้ทานแต่ ... 的評價
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.65 ตอน "สกว. เตือนห้ามนำน้ำแช่ ... 的評價
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP. 24 "โรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ ... 的評價
- 關於ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.81 ตอน "เป็นมะเร็ง ให้ทานแต่ ... 的評價
ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.26 ตอน "เติมน้ำมันเต็มถัง รถจะระเบิด จริงหรือ ?
มีการแชร์ข้อความเตือนกันอยู่เรื่อยๆ ว่า เวลาไปเติมน้ำมันรถยนต์นั้น ให้เติมแค่ครึ่งถึง อย่าเติมน้ำมันจนเต็มถัง เพราะจะเกิดการขาดทุนเนื่องจากมีน้ำมันค้างอยู่ที่ในสายเติมน้ำมันเป็นจำนวนมาก แถมการเติมเต็มถังยังเสี่ยงจะเกิดอันตรายจากการขยายตัวของไอน้ำมันเมื่ออากาศร้อน จนเกิดการระเบิดขึ้นได้ ... เรื่องนี้ เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องมั่ว ?!
เรื่องนี้เป็นเรื่อง "มั่ว" ครับ !! การเติมน้ำมันรถยนต์จนเต็มถังนั้น ไม่ได้ทำให้เราขาดทุน และก็ไม่ได้จะทำให้รถระเบิดได้ อย่างที่แชร์กันครับ
ประเด็นแรก เรื่อง "การเติมน้ำมันเต็มถัง ทำให้เราขาดทุน" นั้น ที่ไม่เป็นความจริงก็เพราะว่า เวลาที่เราเติมน้ำมัน เราจะได้ปริมาณน้ำมันตามที่ผ่านหัวจ่ายไป โดยไม่ได้คิดรวมถึงน้ำมันที่ค้างในสายเติมน้ำมันครับ
ปริมาณน้ำมันที่ได้นั้น จะเท่ากับตัวเลขที่แสดงบนหน้าปัดตู้จ่ายเสมอ เพราะน้ำมันไม่สามารถไหลย้อนกลับไปทางสายเติมน้ำมันได้ เนื่องจากตู้จ่ายน้ำมัน (รวมถึงสาย และหัวจ่าย) ในสถานีบริการทุกแห่ง เป็นแบบเดินทางเดียว (ONE WAY) คือ มีแต่จะจ่ายออกอย่างเดียว ภายในของสายเติมน้ำมันจะมีน้ำมันอยู่เต็มตลอดเวลา เนื่องจากเป็นระบบสุญญากาศ อากาศจากภายนอกไม่สามารถเข้าไปได้ .... ส่วนตู้จ่าย จะคิดเงินตามปริมาณของน้ำมันที่จ่ายออกจากหัวจ่าย น้ำมันที่ค้างอยู่ในสายเติมน้ำมัน (ซึ่งมีอยู่เต็มตลอดเวลา) จะไม่ถูกนำมาคิดเงินด้วย
ในการเติมเต็มถังนั้น กลไกการเติมน้ำมัน จะไม่ได้แตกต่างอะไร กับการเติมไม่เต็มถัง เพียงแต่ระบบการจ่ายน้ำมัน จะอาศัยเซนเซอร์ที่เห็นเป็นรูเล็กๆ ตรงล่างสุดของปลายหัวจ่ายน้ำมัน ซึ่งเมื่อน้ำมันถูกเติมลงไป จนสูงขึ้นมาถึงเซนเซอร์นี้แล้ว ก็จะสั่งให้ตู้จ่าย ตัดการจ่ายน้ำมัน
จริงๆ แล้ว สิ่งสำคัญที่เราผู้บริโภคควรต้องระวัง กลับเป็นเรื่องของการสังเกตว่า ปั๊มน้ำมันที่ใช้บริการนั้น มีเครื่องหมายการตรวจสอบจาก "กรมการค้าภายใน" หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณน้ำมันที่เติมรถมีจำนวนเท่ากับตัวเลขบนหน้าปัดของตู้จ่ายน้ำมัน
สำหรับประเด็นที่สอง คือ "การเติมน้ำมันเต็มถัง อาจทำให้รถระเบิดได้" นั้น ที่ไม่ใช่เรื่องจริงก็เพราะว่า เวลาที่เราสั่งให้เติมน้ำมันเต็มถัง ความจริงๆ แล้วน้ำมันจะไม่ได้ถูกเต็มเข้าไปจนเต็มความจุของถังจริงๆ เนื่องจากหัวจ่ายจะตัดตามแรงดันของไอน้ำมัน อีกทั้งถังน้ำมันรถ ก็มักจะมีช่องระบายอยู่ ถ้าพยายามเติมจนเต็มจริงๆ ก็จะล้นออกมาได้
ในส่วนของน้ำมันเอง ก็ไม่ใช่ว่าถ้าอากาศร้อนจัดแล้ว น้ำมันในถังจะติดไฟลุกไหม้ขึ้นเองได้ แต่ต้องอาศัยตัวที่สร้างความร้อนขึ้นในห้องเครื่อง (อย่างเช่น หัวเทียน) มาช่วยการสันดาปเผาไหม้อีกที เนื่องจากการที่น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล ถ้าจะลุกติดไฟเองได้ ต้องมีอุณหภูมิสูงถึงกว่า 250 องศาเซลเซียส การที่จอดรถไว้ในบริเวณที่อุณหภูมิสูง 40-50 องศาเซลเซียส ก็ยังคงปลอดภัยแน่นอน ที่สำคัญคือ ทาง ปตท.ได้เคยชี้แจงว่า รถยนต์ทุกคัน ตามปรกติแล้ว จะได้รับการออกแบบมาให้ถังน้ำมันมีความแข็งแรงสามารถรองรับแรงดันจากไอน้ำมันในถังได้
ดังนั้น ที่แชร์กันอยู่ว่า "เวลาเติมน้ำมันรถยนต์ ห้ามเติมเต็มถัง เพราะจะขาดทุน และรถอาจระเบิดได้" จึงเป็นเรื่อง "มั่ว" ครับ
ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.25 ตอน "จริงหรือไม่ ห้ามกินน้ำตาลทรายขาว เพราะมีสารฟอกขาว ?”
มีการแชร์คำเตือนกันบนโลกออนไลน์มานานแล้วว่า "อย่ากินน้ำตาลทรายขาว เพราะเป็นน้ำตาลที่ผ่านการใช้สารฟอกขาว" เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องมั่ว ?!
เรื่องนี้เป็นเรื่อง "มั่ว" นะครับ !! ..... ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่ยังอยู่กับความเข้าใจผิด หรือสิ่งที่ได้ยินต่อๆ กันมาว่าน้ำตาลทรายขาว มีสีขาวบริสุทธิ์ได้เพราะใช้สารฟอกขาว หรือ สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์
น้ำตาลทรายที่มีสีขาวได้นั้น มาจากขั้นตอนการผลิตที่เริ่มจากการคัดอ้อยคุณภาพ นำมาหีบสกัดน้ำอ้อย และใช้วิธีทางธรรมชาติเพื่อให้น้ำอ้อยตกตะกอน แล้วนำน้ำอ้อยใส ไปสู่กระบวนการต้ม กรอง ปั่น โดยบางขั้นตอนมีการทำซ้ำๆ เพื่อให้ได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ สะอาด จากน้ำอ้อยธรรมชาติ 100% ปราศจากสารฟอกขาวนั่นเอง
เราสามารถทดสอบได้ว่า ในน้ำตาลทรายขาวที่จำหน่ายกันอยู่นั้นมีสารฟอกขาวปนเปื้อนอยู่หรือไม่ ด้วยชุดทดสอบสารฟอกขาวในอาหาร ขององค์การเภสัชกรรม (ดังในคลิปนี้)
ซึ่งผลที่ได้นั้น จะเห็นได้ชัดว่าทั้งถ้วยน้ำสะอาดและถ้วยน้ำตาลทรายขาวนั้นให้ผลเป็นสีน้ำเงิน-ม่วง หมายความว่าน้ำตาลทรายขาวไม่มีสารฟอกขาวปนเปื้อนอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ก็ยังได้ระบุอย่างชัดเจนว่า โรงงานน้ำตาลทรายในประเทศไทยได้ยกเลิกการใช้สารฟอกขาวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แล้ว ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการผลิตและเพื่อให้ได้น้ำตาลทรายที่ขาวบริสุทธิ์และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
นอกจากเรื่องสารฟอกขาวแล้ว ทุกวันนี้คนมักจะพูดกันว่าให้งดการกินน้ำตาล เพราะไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งจริงๆ แล้ว น้ำตาลไม่ใช่สิ่งเลวร้าย หากเราบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการยืดและหดตัว ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยในการไหลเวียนของระบบเลือด ระบบประสาท ระบบเนื้อเยื่อทำงานได้ดีขึ้น
เราจึงไม่ควรงดการกินน้ำตาลอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกัน เพียงแต่เราควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่พอดีและเหมาะสมกับวัย ไม่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ ได้
สำหรับปริมาณของน้ำตาลที่เหมาะสมต่อการบริโภคในแต่ละช่วงวัย ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย. แนะนำ คือ
- เด็กและผู้สูงอายุ ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน
- วัยรุ่น ชายและหญิง ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
- ผู้ใหญ่ ชายและหญิง ที่ใช้พลังงานมาก ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 8 ช้อนชาต่อวัน
สรุปว่า น้ำตาลทรายขาวที่เราใช้บริโภคกันนั้น ไม่ได้มีการใส่สารฟอกขาวแต่อย่างใด สามารถทานได้อย่างปลอดภัย แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี และที่แชร์กันว่า "ห้ามกินน้ำตาลทรายขาว เพราะมีสารฟอกขาว" เป็นเรื่อง "มั่ว !!" นะครับ
ข้อมูลจาก https://workpointtoday.com/sugar-3/?fbclid=IwAR2VOqxN2WOwB1xQyU9jif9W9uwelWHt4ZXs35oWaUub2qZAARjOQXC-x0o https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/กินหวานแต่พอดีชีวีเป็นสุข
https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/กินหวานแต่พอดีชีวีเป็นสุข
ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.79 ตอน "โควิดสายพันธุ์ใหม่ ... 的美食出口停車場
รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.79 ตอน "โควิดสายพันธุ์ใหม่ Deltacron XBC แพร่ระบาด จริงหรือ? " ช่วงนี้ ข่าวปลอมโควิด-19 อันเก่า ... <看更多>
ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.42 ตอน "วิญญานเข้าสิง บันได ... 的美食出口停車場
รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.42 ตอน "วิญญานเข้าสิง บันไดเดินเองได้ เป็นเรื่องจริงหรือ ?" มีรายงานข่าวจากจังหวัดขอนแก่น พร้อมคลิปวิดีโอของ "บันไดเหล็ก... ... <看更多>
ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ 的美食出口停車場
รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.91 ตอน "ตึกถล่มที่ตุรกี เพราะโครงการ HAARP จริงหรือ? ... <看更多>