จุดความร้อนไทยลดลงต่อเนื่อง
GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 572 จุด ซึ่งถือว่าลดลงมากกว่าครึ่งจากเมื่อวาน โดยภาคเหนือยังมีจุดความร้อนมากที่สุดอยู่ที่ 277 จุด โดยจังหวัด 3 จังหวัดภาคเหนือที่สูงสุดคือ #แม่ฮ่องสอน 102 จุด รองลงมาคือ #ตาก 36 จุด และ #เชียงใหม่ 25 จุด ตามลำดับ ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 189 จุด พื้นที่เกษตร 141 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 114 จุด พื้นที่เขต สปก. 77 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 48 และริมทางหลวง 3 จุด
สำหรับจุดความร้อนประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีให้เราเห็นอย่างต่อเนื่อง อันดับ 1 ยังคงเป็นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ที่มีจุดความร้อนมากที่สุดถึง 4,753 จุด อันดับ 2 คือราชอาณาจักรกัมพูชา 2,529 จุด อันดับ 3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 1,811 จุด ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 4 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์จากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้พื้นที่จังหวัดใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองและหมอกควัน ที่ลอยข้ามแดนเข้ามาได้
ทั้งนี้ GISTDA ยังติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://fire.gistda.or.th
#จิสด้า #gistda #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #ไฟป่า #หมอกควัน #คุณภาพอากาศ #คุณภาพชีวิต #วิเคราะห์ข้อมูล #มลพิษทางอากาศ #จุดความร้อน #คุณภาพอากาศ #ค่าฝุ่นละออง #ฝุ่นพิษวิกฤติชาติ #รู้สู้ภัยพิบัติ
「จิสด้า」的推薦目錄:
- 關於จิสด้า 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
- 關於จิสด้า 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於จิสด้า 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
- 關於จิสด้า 在 GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ ... - Facebook 的評價
- 關於จิสด้า 在 จิสด้าเผยภาพดาวเทียม น้ำท่วม 9 จังหวัดเหนือ-กลาง แล้วเกือบ 6 แสน ... 的評價
จิสด้า 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
"เมื่อ รมต. อุดมศึกษาฯ ประกาศจะส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ ในอีก 7 ปีข้างหน้า .. มันจะเป็นไปได้แค่ไหน?"
ตามคำเรียกร้องของหลายๆท่าน ที่อยากจะให้ช่วยวิเคราะห์ข่าวเรื่องนี้ ว่ามันเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ... ก็จะขอเรียบเรียงข้อมูลให้ฟังตามนี้นะครับ ยาวหน่อยนะ
1. เมื่อ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมต. ก. การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวปาฐกถาว่า "เร็วๆ นี้ไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย ที่จะสามารถผลิตยานอวกาศและส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 7 ปี และอาจมีการขอความร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชนในการระดมทุน เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเปลี่ยนวิธีคิดของคนไทย ว่าไทยไม่ใช่ประเทศที่ด้อยพัฒนาอีกแล้ว เราเป็นประเทศที่มีอนาคต มีโอกาส และมีความหวัง"(จาก https://www.sanook.com/news/8316210/)
2. หลังจากนั้น ก็เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่างๆ ตามมาอย่างหนัก ส่วนผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปที่ GISTDA (จิสด้า) หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้รับการยืนยันว่า มีโครงการนี้จริง แต่ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ โดยทางรัฐมนตรีฯ จะเป็นผู้แถลงข่าวเรื่องนี้อีกครั้ง (จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/138400)
3. จากที่ผมได้รับข้อมูลมาจากแหล่งข่าววงในทางด้านดาราศาสตร์ ทำให้ทราบว่า จริงๆแล้วไม่ใช่เป็นยานอวกาศใหญ่โตอะไร แต่เป็นยานขนาดเล็กระดับ "ดาวเทียม" ภายใต้โครงการ Thai Space Consortium หรือ TSC ซึ่งร่วมมือกับประเทศจีนอยู่แล้ว และจะพัฒนาให้มีศักยภาพสูงขึ้น ด้วยการใส่ระบบขับเคลื่อนแบบใหม่ที่เรียกว่า ion drive (ไออ้อน ไดรฟ์) มาใช้ในการบังคับให้ดาวเทียมนี้ ไปโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อการสำรวจถ่ายภาพพื้นผิวดวงจันทร์ ด้วยงบประมาณที่ต่ำมาก ในแบบเดียวกับที่ประเทศอินเดียใช้สำหรับโครงการสํารวจดวงจันทร์
4. โครงการ TSC นั้น กำลังดำเนินการพัฒนาดาวเทียม TSC-1 ที่เป็นฝีมือคนไทยออกแบบและสร้างเอง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศของไทย ซึ่งโครงการนี้ดูแลโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ , จิสด้า และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เป็นดาวเทียมวิจัยขนาดเล็ก ประมาณ 100 กิโลกรัม ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท จุดเด่นคือ จะมีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ซม. และมีอุปกรณ์ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงสภาพอวกาศที่ใกล้กับชั้นบรรยากาศด้านบนสุดของโลก คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์กลางปี 2564 และจะมีการติดต่อและจองเครื่องปล่อยดาวเทียม และถูกส่งขึ้นสู่อวกาศปี 2567 ภายใต้ความร่วมมือกับ สถาบันทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ขั้นสูงและฟิสิกส์แห่งฉางชุน สาธารณรัฐประชาชนจีน (จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1487588)
5. ดังนั้นถ้ามีการพัฒนาให้ดาวเทียมดวงต่อไปของโครงการ TSC คือ TSC-2 มีศักยภาพสูงขึ้น ให้สามารถจะไปโคจรที่ดวงจันทร์ได้ ก็น่าจะทำคล้ายกับที่โครงการ SMART-1 ขององค์การอวกาศยุโรป ESA เคยทำมาก่อน ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบไอออนไดรฟ์เหมือนกัน (อันนี้ผมคาดเดาเอง)
6. เทคโนโลยี Ion Drive (เครื่องขับดันไอออน) เป็นแนวคิดค่อนข้างใหม่ ของการสร้างระบบขับเคลื่อนในอวกาศ ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงกำลังอัดสูง ปริมาณมหาศาล อย่างในอดีต แต่ใช้พวกก๊าซเฉื่อย (อย่างก๊าซ ซีนอน xenon) มาทำให้แตกตัวเป็นไอออน (อนุภาคที่มีประจุขนาดเล็กจิ๋ว) จากนั้น เร่งความเร็วของไอออนเหล่านั้น ให้ผลักดันออกไปยังด้านหลังของยาน ด้วยความเร็วสูงถึง 20-50 กิโลเมตรต่อวินาที ทำให้ได้แรงผลักดันที่มาก ต่อมวลเชื้อเพลิงขับดันอันน้อยนิด ดังเช่นที่เคยใช้ในยานสำรวจอวกาศดอว์น Dawn, ยานดีพสเปซวัน Deep Space 1, ยานฮายาบูซะ Hayabusa ฯลฯ ซึ่งเครื่องยนต์ Ion Drive มีแรงขับดันที่ค่อนข้างต่ำ อัตราเร่งต่ำ เหมาะกับยานขนาดเล็ก และต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางเป็นเวลานาน (จาก https://m.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/982060195190928/?type=3)
7. ตัวอย่างของการทำยานสำรวจดวงจันทร์ ที่ใช้ระบบ ion drive ก็ได้แก่ ยานสมาร์ต-1 (SMART-1 , Small Mission for Advanced Research and Technology) เป็นยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของยุโรป มีน้ำหนักเพียง 366 กิโลกรัม ออกเดินทางจากโลกเมื่อปี 2546 และเดินทางถึงดวงจันทร์ปี 2547 ด้วยเส้นทางที่ยาวนาน ใช้วิธีวนรอบโลกหลายรอบ พร้อมกับขยายวงโคจรออกไปเรื่อย ๆ ก่อนจะบ่ายหน้าสู่ดวงจันทร์ ด้วยการใช้เครื่องยนต์ไอออนในการเดินทางในอวกาศจริงเป็นครั้งแรก และการใช้เครื่องยนต์ไอออนร่วมกับแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ ในการปรับเส้นทางยานเข้าโคจรรอบดวงจันทร์ โดยใช้เวลาโคจรอีกราว 16 เดือน ทำการศึกษาดวงจันทร์ทั้งด้านสัญฐานวิทยา องค์ประกอบของแร่บนพื้นผิว ทั้งย่านความถี่แสงขาว อินฟราเรด และรังสีเอกซ์ ซึ่งภารกิจของสมาร์ต-1 นี้ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น (จาก http://thaiastro.nectec.or.th/news/2548/)
8. ส่วนที่มีการอ้างอิงว่า โครงการสำรวจดวงจันทร์ของประเทศไทย จะพยายามใช้โมเดลเรื่องงบประมาณคล้ายๆ ของประเทศอินเดียนั้น ล่าสุด อินเดียได้ส่งยานลงจอดและสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ชื่อ "วิกรม” (Vikram) และยานโคจรรอบดวงจันทร์ ชื่อ "จันทรายาน 2" (Chandrayaan-2) ไปเมื่อปี 2562 ซึ่งเกือบทั้งหมดพัฒนาขึ้นเองในอินเดีย และใช้งบประมาณเพียง 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์ของนาซาที่ใช้เงินถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 30 ล้านล้านบาท ในโครงการอะพอลโล (Apollo) (จาก https://mgronline.com/science/detail/9620000086182)
สรุป : แม้จะถูกเก็บเป็นความลับ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะลับไปทำไม) แต่ประเมินศักยภาพและงบประมาณตามที่ผมคาดการณ์ว่าจะเป็นนั้น ก็ฟังขึ้นว่า "เป็นไปได้" ที่คนไทยเราจะพัฒนายานสำรวจขนาดเล็ก หรือดาวเทียม ไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้จริงๆ และถ้าทำได้สำเร็จ ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่ และจะเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับการศึกษาวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้านอวกาศของไทย ให้ก้าวหน้ามากขึ้น
ปล. แต่ผมว่าจริงๆ น่าจะผลักดันโครงการ "ส่งนักบินอวกาศไทยคนแรก" ขึ้นไปอวกาศให้ได้นะครับ ใช้งบประมาณก็ไม่มากเกินไป ความร่วมมือกับนานาชาติก็มีอยู่แล้ว และจะได้ผลเรื่องการสร้างไอดอลด้านอวกาศ ให้เป็นแรงบันดาลใจกับเยาวชนของไทยเราต่อไปนะครับ
จิสด้า 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
วิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 พบพื้นที่น้ำท่วมขัง (สีฟ้า) ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรีกว่า 5,500 ไร่ แบ่งเป็น ในเขตอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอเขาฉกรรจ์ และอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว 4,945 ไร่และในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 611 ไร่
GISTDA วิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2 พบพื้นที่น้ำท่วมขัง (สีฟ้า) ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรีกว่า 5,500 ไร่ แบ่งเป็น ในเขตอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอเขาฉกรรจ์ และอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว 4,945 ไร่และในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 611 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริเวณพื้นที่ราบต่ำและพื้นที่ลุ่มการเกษตร บริเวณริมแม่น้ำสายหลักและลำน้ำย่อย ส่วนหนึ่งเกิดจากร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยในบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องและตกหนักบางแห่ง
GISTDA ยังใช้ดาวเทียมติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องพื่อส่งต่อข้อมูลไปให้กับหน่วยปฏิบัติเพื่อได้ใช้วางแนวทางในการดำเนินงาน
ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถ ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวจากแผนที่น้ำท่วมจากข้อมูลจากดาวเทียมที่เว็บไซต์ http://flood.gistda.or.th
#จิสด้า #gistda #จิสด้าก้าวสู่ปีที่20 #น้ำท่วม #หลิ่นฟา #สระแก้ว #ปราจีนบุรี #mhesi #อว
จิสด้า 在 จิสด้าเผยภาพดาวเทียม น้ำท่วม 9 จังหวัดเหนือ-กลาง แล้วเกือบ 6 แสน ... 的美食出口停車場
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (GISTDA) ใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4 ของวันที่ 28 กันยายน ... ... <看更多>
จิสด้า 在 GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ ... - Facebook 的美食出口停車場
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิด “โครงการจัดตั้งห้อง ... ... <看更多>