รวยกว่า สุขกว่า จริงหรือ
GDP ถอยไป SPI มาแล้ว
อ่านบทความเต็ม
https://bit.ly/35HcrJh
ฟังคลิป #Human_Talk #ThinkingRadio
https://youtu.be/7TyTzstKXQo
กว่า 80 ปีที่โลกทั้งใบ ถูกชี้ชะตาด้วยตัวเลขมหัศจรรย์ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในแต่ละปี โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด GDP ถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย เพื่อเป็นตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้
โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยในปี 2020 ที่ผ่านมาถดถอยอย่างแรง -6.1% ต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี ในขณะที่ปี 2021 นี้ สภาพัฒน์ประเมินว่าจีดีพีจะโตสูงสุดแค่ 3.5% แต่ผ่านไปไม่กี่เดือน หลายองค์กรก็มีการปรับลดลงมาเรียบร้อยจากผลกระทบของโควิดละลอกสาม ทำให้มีกระแสความไม่พอใจพอสมควร แต่สิ่งสำคัญที่คนไม่เข้าใจก็คือ จีดีพีต้องนำมาเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของคนในประเทศนั้นจึงจะทำให้เห็นภาพของอำนาจการซื้ออย่างแท้จริง อย่างเช่นประเทศไทย แม้จีดีพีจะติดลบหรือเติบโตน้อยมาก แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ก็ถือว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่มากที่สุดประเทศหนึ่งอันดับต้นๆ ของโลกทีเดียว
เพื่อแก้ไขปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ละเลยมิติอื่นของสังคม เช่น การสูญเสียและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพิษ คุณภาพชีวิตของประชาชน องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าทางสังคมแบบใหม่ออกมา ตั้งแต่ปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 โดยได้ขอมติจากประเทศสมาชิกทั่วโลกร่วมมือกัน มีระยะเวลาเหลืออีกแค่ 10 ปี จนถึงปี 2030
ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index – SPI) เป็นมาตรวัดที่สะท้อนความก้าวหน้าทางสังคมที่แยกเด็ดขาดจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ผลคะแนนมาจากตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม ซึ่งครอบคลุมความก้าวหน้าทางสังคมครบทั้ง 3 มิติ ได้แก่ 1) ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) 2) พื้นฐานของการอยู่ดีมีสุข (Foundations of Wellbeing) และ 3) โอกาส (Opportunity) ดำเนินการโดย Social Progress Imperative ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนจากดีลอยท์ มูลนิธิ Skoll และได้รับความร่วมมือจาก ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ แห่งโรงเรียนธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
ดัชนีดังกล่าวนี้เป็นการสำรวจทุกประเทศทั่วโลกใน 3 มิติ
1. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Foundations of Well-Beings) เช่น การเข้าถึงการศึกษา ข้อมูลข่าวสาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. โอกาสทางสังคม(Opportunities) สิทธิทางการเมืองและการแสดงออก สิทธิในการนับถือศาสนาและเลือกทางเดินชีวิต การยอมรับความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ระบบความคุ้มครองทางสังคม และความก้าวหน้าทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป
UN SDG Goal 2030 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ได้แก่
1: ขจัดความยากจน
2: ขจัดความหิวโหย
3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4: การศึกษาที่เท่าเทียม
5: ความเท่าเทียมทางเพศ
6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
10: ลดความเหลื่อมล้ำ
11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ SPI (Social Progress Index) ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 79 ของโลกจากที่สำรวจทั้งหมด 163 ประเทศ ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.72 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 67.47 ในปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน เราตามหลังสิงคโปร์ (ลำดับที่ 29) และมาเลเซีย (ลำดับที่ 48) แต่นำหน้าอินโดนีเซีย (ลำดับที่ 84) เวียดนาม (ลำดับที่ 88) ฟิลิปปินส์ (ลำดับที่ 98) กัมพูชา (ลำดับที่ 118) เมียนมาร์ (ลำดับที่ 120) และ ลาว (ลำดับที่ 133) ส่วนประเทศที่มีความก้าวหน้าทางสังคมในระดับสูงสุดของโลก 5 ประเทศแรกเรียงตามลำดับ ได้แก่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสวีเดน
เมื่อวิคราะห์องค์ประกอบด้านต่างๆ ที่ประเทศไทยทำคะแนนได้ดี 5 ลำดับแรกตามลำดับ ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (Shelter) โภชนาการและการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Nutrition and Basic Medical Care) น้ำและสุขาภิบาล (Water and Sanitation) การเข้าถึงความรู้ขั้นพื้นฐาน (Access to Basic Knowledge) และคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality) อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบที่ได้คะแนนน้อยและอาจจะต้องพิจารณาปรับปรุงต่อไป ได้แก่ ความครอบคลุมและการมีส่วนร่วม (Inclusiveness) สิทธิส่วนบุคคล (Personal Rights) ความปลอดภัยของบุคคล (Personal Safety) ทางเลือกและเสรีภาพส่วนบุคคล (Personal Freedom and Choice) และ การเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง (Access to Advanced Education)
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ประเทศไทยเรามีความได้เปรียบในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เพราะเราได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานตั้งแต่พ.ศ.2542 โดยนำหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม มาประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกด้วย
รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยจะมอบแก่ National Human Development Report ที่มีผลงานดีเด่นทุก 2 ปี ซึ่งแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท โดยรางวัลเกียรติยศที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นความคิดริเริ่มของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่มอบแก่บุคคลอันเป็นรางวัลประเภท Life-long achievement ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว[1][2]
ตัวรางวัลเป็นรูปพานทรงกลมทำด้วยเงินบริสุทธิ์ ด้านในของพานขัดมันผิวเรียบ ส่วนด้านนอกผิวมีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายสายน้ำ ตั้งอยู่บนฐานที่ทำจากไม้สัก มีแผ่นป้ายคำจารึกที่ฐานไม้มีข้อความว่า 'To His Majesty King Bhumibol Adulyadej in Recognition of Lifetime Achievement in Human Development May 2006' เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยผู้คัดเลือกรูปแบบของรางวัลตั้งใจให้รางวัลเป็นรูปพานทรงกลม เพื่อสื่อความหมายถึงภาชนะที่สามารถใช้รองรับน้ำได้ เช่นเดียวกับผิวนอกของพาน ทำให้มองคล้ายสายน้ำ เนื่องจากเล็งเห็นว่าพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนมากเกี่ยวข้องกับน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นประเด็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในการพัฒนา จึงสมควรแก่การยกย่องเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถในด้านนี้เป็นกรณีพิเศษ
ดังนั้น แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือที่มาและกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ SEP = SDG (Sufficiency Economy Philosophy = Sustainable Development Goal)
หวังว่า ทุกท่านคงเห็นด้วยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP อย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมองความสมดุลในภาพรวมอย่างที่ในหลวงรัชกาล ที่ 9 ได้ทรงมองครอบคลุมทุกมิติเสมอมา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม
รวยกว่า จึงไม่ได้หมายความว่า สุขกว่าเสมอไป
「ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน」的推薦目錄:
- 關於ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
- 關於ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 在 บรรยายหัวข้อ "การบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน" 的評價
- 關於ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 在 ร่วมใจส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ... 的評價
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
#นิทานชุดในป่าใหญ่
โดย ฟุคุซาวะ ยูมิโกะ
สำนักพิมพ์ Sandclock Books
.
นิทานชุดนี้ ขึ้นแท่น
เป็นหนึ่งในนิทานที่หมอชอบที่สุด
สำนักพิมพ์แซนด์คล็อค จัดพิมพ์ 3 เล่ม
❤ห้องสมุดในป่าใหญ่
❤โรงแรมในป่าใหญ่
❤ร้านกระเป๋าในป่าใหญ่
ไม่สามารถเลือกรีวิวเล่มใดเล่มหนึ่งได้จริงๆ
เพราะชอบมากๆทั้ง 3 เล่ม
แต่แอบให้คะแนน ห้องสมุดมากที่สุด เพราะเข้าใจลุงนกฮูก หนอนหนังสือ...รักหนังสือ แต่ก็มีความสุขที่คนอื่นได้อ่านหนังสือที่เราชอบ
.
เรื่องราวเกิดขึ้นในป่าใหญ่
♡♡ ห้องสมุดในป่าใหญ่ เป็นบ้านของลุงนกฮูก ปกติ ลุงนกฮูก อยู่บ้านอ่านหนังสือ อย่างสงบตัวเดียว แต่แล้ววันหนึ่ง กระต่ายน้อย กับกระรอกน้อย มาขออ่านหนังสือ ลุงนกฮูกได้สัมผัสกับความสุข ที่ได้แบ่งปันในสิ่งที่ตัวเองชอบ...จากการบอกเล่าของเด็กๆสู่คนอื่น
สมาชิกในป่าพากันมาอ่านหนังสือที่บ้านลุงนกฮูก...แล้วก็พบปัญหาที่ต้องแก้
หาหนังสือที่อยากอ่านไม่พบ...ทำป้ายบอกชั้นหนังสือ
บางคนชอบนอนอ่าน..มีเปลนอกระเบียง
บางคนชอบอ่านออกเสียง...อ่านในสวน
พฤติกรรมการอ่านต่างกัน
แต่ทุกคนก็รักการอ่าน
และลุงนกฮูกก็มีความสุขที่สัตว์อื่นๆมีความสุขจากการอ่าน
♡♡โรงแรมในป่าใหญ่ ของครอบครัวแร็กคูน
คุณปู่เป็นผู้จัดการ มีหลานเป็นผู้ช่วย
พ่อเป็นพ่อครัว แม่ทำสวน ดูแลความสวยงามของโรงแรม
คุณงู ต้องได้นอนเตียงยาวๆ จะได้เหยียดตัวตามสบาย
คุณหมี มีเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ ห้องใหญ่ๆไม่อึดอัด
นกฮูก ห้องกระจกที่ปิดม่านเวลากลางวัน แต่เปิดม่านในเวลากลางคืน
คุณปู่แร็กคูน ช่างใส่ใจลูกค้า
คุณพ่อแร็กคูนก็ทำอาหารอร่อยแถมสวยงาม
ลูกค้าที่เข้าพักทุกคนมีความสุข
ครอบครัวแร็กคูนก็มีความสุขที่ได้ทำให้ลูกค้ามีความสุข
♡♡ร้านกระเป๋าในป่าใหญ่ ของแม่น ฮาริฮาริ
ฮาริฮาริ ทำกระเป๋าที่เหมาะกับลูกค้าทุกตัว
จะใหญ่ เล็ก ที่สำคัญกระเป๋าของฮาริฮาริ ช่วยให้ลูกค้าทุกตัวใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น
คุณแม่หมูมีลูก 10 ตัว มีของต้องขนเยอะแยะ
ฮาริฮาริ เย็บกระเป๋าใหญ่ ช่องเยอะ บุนวมป้องกันของใช้เด็ก
คุณงู นักวาดภาพ ต้องลากกระเป๋า ก้นกระเป๋าขาด ฮาริฮาริ ซ่อมให้ และใส่ล้อให้ด้วย
คุณแกะอยากได้กระเป๋าปิคนิคที่ทำด้วยไหมพรมสวยๆ
ฮาริ ฮาริ ทำกระเป๋าด้วยความตั้งใจอยากให้ลูกค้ามีความสุข จนเป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าแมงมุมที่ชักใยอยู่ใกล้ๆร้าน ท้ายที่สุด แมงมุมกลายมาเป็น buddy กับฮาริฮาริ
.
อ่านแล้วอิ่มใจ
สิ่งที่หนังสือ สอนแบบไม่ต้องสอน
#คิดถึงคนอื่นเสมอ
สัตว์ทุกตัวในเรื่อง ลุงนกฮูก เจ้าของห้องสมุด
ครอบครัวแร็กคูน เจ้าของโรงแรม
เจ้าแม่น ฮาริ ฮาริ
สิ่งที่พวกเค้าทำคือ #แก้ปัญหาของสัตว์ตัวอื่น
และมีความสุขที่ได้เห็นคนอื่นมีความสุข
ภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำ
.
นี่คือ หัวใจ ของการใช้ชีวิตร่วมกัน
.
ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ โดยมาสโลว์
กล่าวไว้ว่า ความสุขและความต้องการของมนุษย์เหมือนขั้นบันได
1.ความต้องการพื้นฐานทางร่างกาย ปัจจัย 4
2. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3.มิตรภาพและความรัก
4.การเห็นคุณค่าของตัวเอง
5.การเติบโตเต็มศักยภาพ และเข้าถึงความหมายของชีวิต
ถ้าเราไม่ผ่านขั้นที่ 3 คือ
มีมิตรภาพ และรู้จักรัก เราจะไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง
เด็กๆที่รู้จักคิดถึงผู้อื่น จะเป็นคนละเอียดอ่อน
เข้าใจจิตใจของคนอื่น มองเห็นปัญหาของคนอื่น
ปรารถนาอยากช่วยเหลือ
หากเค้ามีคุณสมบัตินี้ เค้าจะมีมิตรภาพที่แท้จริง
ความละเอียดอ่อนในการมองเห็นปัญหาของผู้อื่น
หากมองในแง่อาชีพ ไม่ว่าเค้าจะทำอาชีพใดๆ
ก็ประสบความสำเร็จง่ายกว่า เพราะจริงๆแล้วธุรกิจต่างๆบนโลกใบนี้
เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาบางอย่างของผู้คน
.
หนังสือ set นี้ ปลูกฝังสิ่งเหล่านี้อย่างละเมียดละไม
ภาพสวยจัด สีอ่อนโยน สีหน้า แววตาของเหล่าสัตว์
ราวกับมีชีวิต สายตาสื่ออารมณ์ได้ดีมาก
ภาษางดงาม (ทีมแปล ใช้ภาษาได้ดี แปลไม่เสียความหมาย และความสนุก)
ภาพที่งดงาม ทำงานร่วมกับบทบรรยาย กลายเป็น
ภาพที่เคลื่อนไหวในใจเด็กๆ
ไม่ว่าเด็กคนไหน ก็คงอยากไปพักที่โรงแรม ไปนอนอ่านหนังสือที่ห้องสมุด
และลุ้นว่า ฮาริ ฮาริ จะเย็บกระเป๋าแบบไหนให้กับตัวเอง
.
หนังสือชุดนี้จะเป็นสมบัติที่ส่งต่อให้อีกหลายรุ่นแน่ๆค่ะ
อ่าน และ จัดเก็บใน collection
.
หมอแพม
สวัสดีปีใหม่ ขอให้เป็นอีกปีที่ดีสำหรับทุกคนนะคะ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 在 ร่วมใจส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ... 的美食出口停車場
ร่วมใจส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของพี่น้องประชาชน. ... <看更多>
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 在 บรรยายหัวข้อ "การบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน" 的美食出口停車場
... ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน " โดย พล.ต.ต. วิชัย สังข์ประไพ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 ณ ห้องกรุงธน ... ... <看更多>