จริงๆ เรื่อง "พืชกระท่อม" นี่ผมโพสเชียร์มานานหลายปีแล้วนะครับ ว่าถ้าจะปลดล็อคพืชสารเสพติด น่าจะทำกระท่อมนี้ ก่อนกัญชาด้วยซ้ำ
เพราะมีการวิจัยออกมาจำนวนมากเลยว่า มีความเป็นสารเสพติดน้อย และมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ทางยาอยู่เยอะ โดยเฉพาะผลการวิจัยจากฝีมือของรุ่นพี่ผม อาจารย์เอกสิทธิ์ Ekkasit Kumarnsit (รศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
โดยงานวิจัย ได้พบว่า กระท่อมมีผลในการรักษาโรคอ้วน โรคไขมันเกิน น้ำตาลในเลือดสูง โรคอาการสมองเสื่อมพาร์กินสัน ฯลฯ และสามารถพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน และสร้างมูลค่าให้กับประเทศในอนาคตได้
ลองฟังอาจารย์เขาให้สัมภาษณ์ (ในคลิปข่าว) นะครับ ว่าเมื่อปลดล็อกจาก พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 ยกเลิก "พืชกระท่อม" ออกจากยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 จนทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 นี้แล้ว จะเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
--------
(เพิ่มเติมข้อมูลข่าวเกี่ยวกับ "สรรพคุณของพืชกระท่อม" นะครับ)
#กระท่อม (ชื่อวิทยาศาสตร์:Mitragyna speciosa) เป็นพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อมคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า
ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น และทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อม สามารถทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น
กระท่อมออกฤทธิ์ประเภทกระตุ้นประสาท การเสพใบกระท่อมมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น
และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้
สมัยโบราณ กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม และบางพื้นที่ก็กล่าวต่อ ๆ กันมาว่า สามารถรักษา บรรเทา โรคเบาหวานได้
กระท่อมเคยจัดเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามความใน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งสิ่งเสพติดในประเภท 5 ได้แก่ กัญชา และพืชกระท่อม
ต่อมาในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2564 ในการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่ห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564
#ประโยชน์กระท่อมต่อสุขภาพ
จากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- ช่วยรักษาอาการไอ
- ช่วยลดการหลั่งกรด
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
- ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
- แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด
- แก้ปวดฟัน
- ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
- แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
- ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย
- ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
- เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
- นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย ประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้
- ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
#ผลข้างเคียงจากการเสพกระท่อมมากเกินไป
- ความอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักลด
- ท้องผูก
- ปัสสาวะบ่อย
- ปากแห้ง
- วิตกกังวล และกระวนกระวายใจ
- เหงื่อออก และคัน
- แพ้แดด หรือผิวหนังมีสีเข้มกว่าเม็ดสีปกติ
- อาการคลื่นไส้ และอาเจียน
- นอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- รู้สึกกระวนกระวาย สับสน
- เห็นภาพหลอน
#ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม
- สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา
- ผู้มีความผิดปกติทางจิต
- ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
- กินกระท่อมร่วมกับชุมเห็ดช่วยแก้ท้องผูก หากมีอาการมึนเมา วิงเวียน ซึม จากการกินกระท่อมมากเกิน ให้ดื่มน้ำหรือกินของเปรี้ยว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
ข้อมูลข่าว จาก https://www.tnnthailand.com/news/social/89083/
「ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม」的推薦目錄:
- 關於ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
- 關於ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม 在 มูมมาม Facebook 的最佳貼文
- 關於ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม 在 Feed - “นักวิจัย มธ.” หนุนใช้พืชกระท่อมเป็นยา ชี้สรรพคุณแก้ปวด ... 的評價
- 關於ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม 在 ใช้กระท่อมอย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ทำลายสุขภาพ : รู้เท่ารู้ทัน 的評價
ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม 在 มูมมาม Facebook 的最佳貼文
ลองทำเมนูสายดีด "ใบกระท่อมทอดกรอบ"
ในเมื่อใบกระท่อมถูกกฎหมายแบบนี้
แอดเอามาทำเมนูของกินเล่นสะเลย
บอกเลยทำโคตรง่ายกินเพลินเอาเรื่องอยู่นะเมนูนี้
.
☘️วัตถุดิบ☘️
ใบกระท่อม 10-12 ใบ , แป้งทอดกรอบ 50 กรัม
, น้ำเปล่า ครึ่งแก้ว , น้ำมันพืช 1 ถ้วย
.
🍳ขั้นตอนการทำ🍳
-ผสมแป้งกับน้ำ เอาใบกระท่อมชุบทั้ง 2 ด้าน
-ทอดในน้ำมันไฟกลางให้เหลืองกรอบใส่จาน กินกับซอสมะเขือเทศ
.
เอามาทำแบบนี้แล้วแทบไม่ได้รสขมของใบกระท่อมเลย มันกรอบๆเหมือนผักทอด แอดเห็นประโยชน์ของกระท่อมก็มีเยอะเหมือนกันนะ แต่ทุกอย่างก็มีข้อดีข้อเสีย ก่อนกินก็ลองศึกษาหาข้อมูลกันก่อนนะฮ่ะ
.
❌ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม❌
- สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา
- ผู้มีความผิดปกติทางจิต
- ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
*ปล.ไม่ควรกินก้านของใบกระท่อม
#มูมมาม #มูมมามทำครัว #ใบกระท่อม
ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม 在 ใช้กระท่อมอย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ทำลายสุขภาพ : รู้เท่ารู้ทัน 的美食出口停車場
หลังจากที่พืช กระท่อม ได้รับ การ ปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะมี การ ค้าขายในหลากหลายรูปแบบ ... ... <看更多>
ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม 在 Feed - “นักวิจัย มธ.” หนุนใช้พืชกระท่อมเป็นยา ชี้สรรพคุณแก้ปวด ... 的美食出口停車場
“สำหรับการต้มเพื่อทำน้ำกระท่อม ก็ไม่ควรใช้เกิน 5 ใบต่อวัน เช่นกัน และเมื่อต้มแล้วก็ควรกรอง เอากากออก แต่การต้มควรบีบมะนาวลงไปก่อนกรองกาก เพราะอัลคาลอยด์ใน ... ... <看更多>