📣 #อัพเดทข่าววัคซีนโควิดในฮ่องกง
💉 ผู้มีอาการรุนแรงหลังฉีดวัคซีนโควิด มีเพียง 0.076%
.
เมื่อวานนี้ (12 มีค) สธ มีรายงานสำรวจความปลอดภัยของผู้ได้รับวัคซีนโควิดในฮ่องกง สรุปดังนี้ค่ะ
(ข้อมูล ณ วันที่ 7 มีค หรือ 10 วันหลังเริ่มโครงการฉีดวัคซีน)
.
(1) ผู้รับวัคซีนทั้งหมด 93,025 ราย; แบ่งเป็น
- Sinovac 91,818 ราย
- BioNTech 1,207 ราย
.
(2) พบอาการรุนแรงหลังจากได้รับวัคซีนทั้งหมด 71 คน (หรือ 0.076%); แบ่งเป็น
- Sinovac 69 คน (0.075%)
- BioNTech 2 คน (0.166%)
.
(3) จากอาการรุนแรง 71 คน
- ต้องนำส่ง รพ 47 คน
- เสียชีวิต 2 คน
(หมายเหตุ: ณ วันที่ 12 มีค เสียชีวิตเพิ่มเป็น 4 คน)
.
(4) เคสที่ต้องนำส่ง รพ (47 คน)
- ชาย 30 คน, หญิง 17 คน
- อายุ 30-90 ปี
- อาการส่วนใหญ่: รู้สึกไม่สบายบริเวณหน้าอก เจ็บหน้าอก ท้องเสีย วิงเวียน มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นเหียน ชาตามร่างกาย ใจสั่น ผื่นขึ้น หายใจติดขัด หัวใจเต้นแรง อาเจียน อ่อนเพลีย
(หมายเหตุ: อาการเหล่านี้ อาจไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับวัคซีน)
- อาการที่พบมากที่สุด จากผู้ได้รับวัคซีน Sinovac คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน ผื่นขึ้น
- อาการที่พบมากที่สุด จากผู้ได้รับวัคซีน BioNTech คือ ปวดท้อง ท้องเสีย ชาตามร่างกาย
.
(5) เคสที่ต้องเข้า ICU (2 คน)
#1
- ชายวัย 80 ปี
- โรคประจำตัว: เบาหวาน, หลอดเลือดแข็ง (carotid atherosclerosis), ความดันโลหิตสูง, หลอดเลือดในสมอง
- วัคซีนที่ได้รับ: Sinovac
- เริ่มอาการหลังจากรับวัคซีน: 5 วัน
- อาการ: เจ็บหน้าอก
- ผลการวินิจฉัย: หัวใจขาดเลือดฉับพลัน
- หมายเหตุ: พิจารณาเบื้องต้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการฉีดวัคซีน
.
#2
- หญิงวัย 72 ปี
- โรคประจำตัว: เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, ไทรอยด์ (hypothyroidism)
- วัคซีนที่ได้รับ: Sinovac
- เริ่มอาการหลังจากได้รับวัคซีน: 1 วัน
- อาการ: วิงเวียน จึงงดฉีดอินซูลินสำหรับโรคเบาหวานตามกำหนด
- ผลการวินิจฉัย: เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป (hyperosmolar hyperglycemic state) อันเนื่องมาจากการงดฉีดอินซูลินตามกำหนด
- หมายเหตุ: พิจารณาเบื้องต้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการฉีดวัคซีน
.
(6) เคสอาการรุนแรงอื่นๆ
#1
- ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก จากความผิดปกติของเส้นประสาทในสมอง (Bell’s Palsy)
- ชาย วัย 69 ปี
- โรคประจำตัว: ความดันโลหิตสูง
- วัคซีนที่ได้รับ: Sinovac
- เริ่มอาการหลังจากได้รับวัคซีน: 2 ชม
- อาการ: ไม่สบายตาข้างซ้าย ปิดตาข้างซ้ายไม่สนิท
- ผลการวินิจฉัย: Bell’s Palsy
- หมายเหตุ: แอดมิท 1 วัน ออกจาก รพ แล้ว
.
#2
- โรคหลอดเลือดในสมอง (stroke)
- หญิง อายุ 72 ปี
- โรคประจำตัว: เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์
- วัคซีนที่ได้รับ: Sinovac
- เริ่มอาการหลังจากฉีดวัคซีน: 6 วัน
- อาการ: ร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรง ลิ้นแข็ง
- ผลการวินิจฉัย: stroke
- หมายเหตุ: ยังแอดมิทใน รพ แต่อาการทรงตัว
.
(7) เสียชีวิต (จำนวน 2 คน ณ รายงานวันที่ 7 มีค)
#1
- ชาย วัย 63 ปี
- โรคประจำตัว: เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน (สันนิษฐานว่า)กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สูบบุหรี่จัด
- วัคซีนที่ได้รับ: Sinovac
- เริ่มอาการหลังฉีดวัคซีน: 2 วัน
- อาการ: หายใจติดขัดฉับพลัน ไอ
- ผลการวินิจฉัย: หลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างรุนแรง
- หมายเหตุ: เสียชีวิตในวันเดียวกับที่เริ่มเกิดอาการ พิจารณาเบื้องต้น ไม่พบความสัมพันธ์โดยตรงจากการฉีดวัคซีน
.
#2
- หญิงวัย 55 ปี
- โรคประจำตัว: ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
- วัคซีนที่ได้รับ: Sinovac
- เริ่มอาการหลังฉีดวัคซีน: 3 วัน
- อาการ: เส้นเลือดสมองอักเสบฉับพลัน (acute stroke)
- ผลการวินิจฉัย: (เบื้องต้น) หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด (aortic dissection)
- หมายเหตุ: เสียชีวิตหลังจากเริ่มมีอาการ 1 วัน พิจารณาเบื้องต้น ไม่พบความสัมพันธ์โดยตรงจากการฉีดวัคซีน
.
===================
อื่นๆ (นอกเหนือจากรายงาน)
- เป็นทึ่สังเกตว่า ผู้เสียชีวิตและมีอาการวิกฤตในฮ่องกง ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว
- สธ ฮ่องกงให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนของ Sinovac ได้ ซึ่งต่างจากไทย
- ส่วนผู้มีโรคประจำตัว สธ ฮ่องกงและไทย มีความเห็นดังนี้
(ฮ่องกง) หากมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ควรชะลอการฉีด จนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และ #ไม่ควรฉีด หากมีโรคประจำตัวเรื้อรังและควบคุมไม่ได้
(ไทย) คำแนะนำสำหรับวัคซีน Sinovac: ผู้มีโอกาสเกิดโรครุนแรง เช่น ทางเดินหายใจเรื้อรัง หอบหืดที่ควบคุมไม่ดี ฯลฯ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง หลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน #ควรได้รับการฉีด
.
เครดิตภาพ: South China Morning Post
.
Source:
https://www.covidvaccine.gov.hk/pdf/Summary_Report_on_Safety_Monitoring_COVID19_vaccines_in_Hong_Kong_ENG.pdf
.
https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106455480972785/280178816933783/?type=3
.
#eatlike852 #covid19hongkong
「กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการ」的推薦目錄:
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการ 在 โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา Synphaet Ramintra Hospital 的美食出口停車場
-ในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะเดียวกับโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ แต่จะเจ็บรุนแรงและต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันๆ ... ... <看更多>
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการ 在 อาการแบบไหน ที่เสี่ยงเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด - YouTube 的美食出口停車場
มี อาการ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด จุก แน่น หน้าอก อาการ เหล่านี้กำลังส่งสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพใช่หรือไม่ !!มาฟังคำตอบไปพร้อมกัน กับ นพ. ... <看更多>