กรณีศึกษา BBIK กับการเป็น IPO คอนซัลต์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตัวแรกของไทย
Bluebik x ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตยุคนี้คืออะไร
หนึ่งคำตอบของใครหลายคนก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล
ปัจจุบันคนไทย 70% ของประเทศกำลังใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเกือบ 9 ชั่วโมงต่อวัน
สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ผลที่ตามมาคือ ฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data
รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายอุตสาหกรรมต่างต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อตามทันโลกดิจิทัล
เรื่องนี้กำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล
หนึ่งในนั้นคือ Bluebik องค์กรเล็ก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันได้ และผลักดันให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้
โดยล่าสุด Bluebik กำลังจะ IPO ในชื่อ BBIK (อ่านว่า บี-บิก) ในตลาดหลักทรัพย์ MAI
ซึ่งจะกลายเป็น บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกด้วย
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูในช่วงเวลานี้
ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบพลิกโฉมด้วยเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัล
หลายองค์กรมักจะจ้างที่ปรึกษาหรือ Consulting Firm เข้ามาช่วยดูแล
ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- ที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ในระดับผู้บริหารหรือ C-Level
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ปรึกษามีชื่อเสียงระดับโลก เช่น McKinsey, BCG
มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง เน้นบริการด้านกลยุทธ์ แต่อาจจะขาดการให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ
- ที่ปรึกษาด้านการดำเนินการ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจสัญชาติไทย
ที่มีความเชี่ยวชาญในงานระบบเฉพาะด้านตามความต้องการของลูกค้า
แต่ปัญหาก็คือ มักจะขาดความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
สังเกตไหมว่าตลาด Consulting Firm กำลังมีช่องว่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น
และนั่นจึงเป็นที่มาของ Bluebik หรือก็คือ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ครบวงจร ที่มีบริการ 5 ด้าน ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำเรียกว่า End-to-End Consulting Firm เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
แล้วบริการ 5 ด้านแบบ End-to-End Consulting Firm ของ Bluebik น่าสนใจอย่างไร ?
1. ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ หรือ Management Consulting
เช่น กำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ, ค้นหาปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจ, กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม
2. ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic PMO
เช่น บริหารโครงการขนาดใหญ่, วางโครงสร้างระบบไอทีภายในองค์กร
3. ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี หรือ Digital Excellence and Delivery
เช่น การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานและส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ (UX/UI) บนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
4. ที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ Big Data & Advanced Analytics เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย AI
5. ให้บริการทรัพยากรบุคคลชั่วคราวด้านไอที หรือ IT Staff Augmentation เช่น พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอย่างโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
พูดง่าย ๆ ว่า Bluebik มีบริการครบถ้วนที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ
สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพตัวจริงในวงการที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation นั่นเอง
ที่สำคัญไม่เพียงจะมี “รูปแบบบริการ” ครบถ้วนทุกขั้นตอนตอบโจทย์ยุค Digital Economy
แต่ Bluebik ยังมี “บุคลากรทำงาน” ที่เป็นตัวจริงในวงการธุรกิจ อีกด้วย
เราจึงเห็น “บอร์ดบริหาร” ล้วนเป็นแนวหน้าหลากหลายธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น
- คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือ SCB 10X
- คุณครรชิต บุนะจินดา ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เซ็นทรัล, โรบินสัน
- คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจสายงานดิจิทัลทีวีชั้นนำ เวิร์คพอยท์
- คุณวศิษฐ์ กาญจนหัตถกิจ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ศรีสวัสดิ์
- คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสื่อมากกว่า 20 ปี
รวมทั้ง “ทีมผู้บริหารและพนักงาน” ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง อายุน้อย แต่มากประสบการณ์
จากธุรกิจที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกกว่า 100 คนมารวมกัน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้กับลูกค้าได้
จึงไม่แปลกใจที่กลุ่มลูกค้า Bluebik ล้วนเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
โดยล่าสุด Bluebik ยังได้ร่วมทุนกับ OR ในเครือธุรกิจ ปตท.
จัดตั้งธุรกิจ ORBIT Digital ที่มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนหุ้น Bluebik : OR เท่ากับ 60:40
เป้าหมายก็เพื่อก้าวทันโลก ต่อยอดธุรกิจที่จะสร้างรายได้เติบโตในยุค Digital Economy อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า Bluebik เป็นอีกหนึ่งดวงดาวจรัสแสง
ที่ครบถ้วนด้วยบริการเต็มรูปแบบ พร้อมด้วยบุคลากรทำงานคุณภาพ
และกำลังเดินเคียงข้างองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยสู่ Digital Transformation
แล้วผลประกอบการ Bluebik เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้รวม 133 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 185 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 201 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 126.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 30.06 ล้านบาท คิดเป็นอัตราทำกำไรสุทธิที่ 23.67%
จะเห็นได้ว่า Bluebik มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีงานในมือ (Backlog) 161 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้ภายใน 1-2 ปีนี้
ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมรายได้ที่จะมาจาก ORBIT Digital จากการร่วมมือกับ OR อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังเดินทางเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ
รู้หรือไม่ว่า ตลาด Digital Transformation ในประเทศไทยปี 2564
ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 280,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเป็น 442,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
ภายใต้เทรนด์ Digital Transformation ที่กำลังเปลี่ยนโลกนี้เอง
เราจะได้เห็น Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกของประเทศไทย จะนำพาธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยจุดเด่นด้านบริการ End-to-End Consulting Firm และทีมบุคลากรคุณภาพระดับผู้บริหาร และระดับบุคลากรทำงาน
ซึ่งโอกาสเติบโตของ Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่กำลังจะ IPO ในครั้งนี้ อาจจะกลายมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ ในตลาด Consulting Firm ระดับโลก ด้าน Digital Transformation ก็เป็นได้..
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้แต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
Reference
- บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
「เทคโนโลยีดิจิทัล」的推薦目錄:
- 關於เทคโนโลยีดิจิทัล 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於เทคโนโลยีดิจิทัล 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於เทคโนโลยีดิจิทัล 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於เทคโนโลยีดิจิทัล 在 สำนักเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น - Facebook 的評價
- 關於เทคโนโลยีดิจิทัล 在 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (Digital Adoption) และการปรับเปลี่ยน ... 的評價
เทคโนโลยีดิจิทัล 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ทางออกของโลกธุรกิจ เมื่อต้องเจอความท้าทายในยุคดิจิทัล
จำได้ไหมว่า สมัยก่อนเราต่างรู้สึกดี เมื่อได้หยิบจับเงินในกระเป๋าสตางค์
ต่างไปจากตอนนี้… หากมีโอกาส เราก็มักจะเลือกใช้บริการชำระเงินออนไลน์
เพื่อที่จะได้ไม่ต้องหยิบจับเงินออกจากกระเป๋าสตางค์อย่างเคย
พฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญ “ตัวเงิน” ผ่าน “โลกออนไลน์” เหล่านี้
กำลังจะเปลี่ยนโลกการเงินครั้งใหญ่
แล้ว “เทคโนโลยีดิจิทัล” เข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลง “วงการธนาคารสำหรับโลกธุรกิจ” อย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ไม่กี่ปีมานี้ ธนาคารพาณิชย์ต่างพากัน Disrupt ตัวเองเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ
การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เกิดรูปแบบบริการทางการเงินบนโลกออนไลน์ใหม่ ๆ
เริ่มต้นด้วย Internet Banking เสมือนเป็นธนาคารที่เปิดบริการตลอด 24 ชม.
ให้เราสามารถทำธุรกรรมการเงินได้ตลอดเวลาบนโลกออนไลน์
จากนั้นเริ่มมีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เรียกว่า Mobile Banking
ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตคนเราในการทำธุรกรรมการเงินได้ด้วยสมาร์ตโฟนเพียงเครื่องเดียว
และในตอนนี้… โลกการเงินกำลังจะเปลี่ยนไปอีกครั้ง
ด้วยรูปแบบบริการทางการเงินออนไลน์ที่เรียกว่า Business ONE ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจที่ TMB ออกแบบและพัฒนาเพื่อลูกค้าธุรกิจไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเอสเอ็มอีให้เป็นมากกว่า Internet Banking แบบเดิม ๆ
แล้ว Business ONE ช่วยเหลือโลกธุรกิจได้อย่างไร?
สังเกตไหมว่า.. ในแต่ละวัน โลกธุรกิจมีธุรกรรมการเงินเกิดขึ้นมากมาย
จนบางครั้งผู้ประกอบการก็ไม่แน่ใจว่า เงินก้อนนี้รับมาจากลูกค้ารายใด
และกว่าจะได้คำตอบนั้น ก็ต้องมาไล่ดู Statement เสียเอง ทำให้เสียเวลา
และไม่สามารถเห็นข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
Business ONE จึงมีฟังก์ชัน Financial Dashboard
ที่จะแสดงข้อมูลสำคัญทั้งหมดของธุรกิจไว้ในหน้าเดียว
รวมถึงการเพิ่มลดผู้ใช้งานระบบได้เอง ไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร
ทำให้รองรับ “การทำธุรกรรมการเงิน” ครบจบได้ในแพลตฟอร์มเดียว
แต่ภายใต้ความสะดวกของโลกเทคโนโลยี..
ก็ยังมีเรื่องชวนปวดหัวสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่คุ้นชิน
เช่น การทำธุรกรรมออนไลน์ของโลกธุรกิจ จำเป็นต้องเข้าเมนูหลายขั้นตอน
ทำให้ผู้ประกอบการที่ไม่คุ้นชิน ต่างมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากในการทำธุรกรรมการเงิน
Business ONE จึงออกแบบฟังก์ชันเด่นอีกหลายตัว
ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถ “ควบคุมการเงินธุรกิจ” บนโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น เช่น
-ฟังก์ชัน Payment Assistant ระบบแนะนำการโอนหรือการจ่ายเงิน และหาข้อมูลทางบัญชีที่รวดเร็ว
-ฟังก์ชัน Personalization เลือกออกแบบหน้าจอการใช้งานได้แบบเฉพาะตัวตามกลุ่มผู้ใช้งาน
-ฟังก์ชัน Live Search ก็เหมือนมี Google Search Engine ที่ให้เราค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง search ปุ๊บเจอปั๊บ ไม่ต้องเสียเวลานั่งหาทีละรายการอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม โลกการเงินของธุรกิจ คงไม่ได้มีแต่เรื่องของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์
แล้ว “เทคโนโลยีดิจิทัล” จะช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อย่างไรอีกบ้าง?
ต้องยอมรับว่า... หนึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยีดิจิทัล
คือการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อสร้างขบวนการทำงานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่งหากโลกการเงินธุรกิจสามารถเชื่อมต่อเข้ากับฐานข้อมูลภายในองค์กรได้หรือเชื่อมโยงไปยังระบบอื่น ๆ ที่จำเป็นได้ ย่อมช่วยให้การบริหารธุรกิจนั้น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
หาก “โลกการเงินธุรกิจ” เชื่อมต่อเข้ากับ “ระบบ HR Management” ได้ มันจะว้าวแค่ไหน ผู้ประกอบการก็จะสามารถ “บริหารพนักงาน” และ “บริหารระบบจ่ายเงินเดือน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าทุกวันนี้มาก
ซึ่งการเชื่อมต่อที่ว่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบริการ Business ONE
ที่จะเชื่อมต่อ Financial และ Non-Financial ได้ด้วยระบบ API Technology
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ Business ONE กำลังเข้ามาทำหน้าที่เป็น “ผู้ช่วยทางการเงิน” และ “ผู้ช่วยบริหารธุรกิจ” ได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วย 3 คอนเซ็ปสำคัญ นั่นก็คือ
-ONE Platform ที่สามารถทำธุรกรรมการเงิน ครบจบได้ ในแพลตฟอร์มเดียว
-ONE to Control ที่จะช่วยให้การควบคุมการเงินธุรกิจบนโลกออนไลน์ ง่ายขึ้นได้
-ONE to Command ตอบโจทย์การเชื่อมต่อ Financial และ Non-Financial เข้าด้วยกัน
ซึ่งนอกจาก Business ONE ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังถือเป็น ตัวอย่างแพลตฟอร์ม ที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเต็มรูปแบบของวงการธนาคารพาณิชย์ อีกด้วย
ก็น่าคิดนะว่า.. ในขณะที่หลายคนกังวลว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่มนุษย์
แต่ความจริงแล้ว เทคโนโลยีเหล่านั้น มนุษย์เป็นผู้คิดค้นและควบคุมให้มีประสิทธิภาพได้ ถ้าเรารู้จักใช้เครื่องมือนั้น เหมือนอย่าง Business ONE ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในครั้งนี้… เพราะสุดท้ายแล้วผู้ที่จะตัดสินใจควมคุมธุรกิจให้ไปทางไหนก็คือคนหรือเจ้าของธุรกิจนั่นเอง
ถ้าไม่อยากพลาดโอกาสในการสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่จะทำให้การบริหารธุรกิจของคุณเปลี่ยนไปได้ดียิ่งขึ้น เข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ tmbbank.com/lungtunman/fb หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Corporate Call Center โทร. 02-643-7000
#BusinessONE #ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ
#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น
#TMB #MakeREALChange
#ลงทุนแมน
เทคโนโลยีดิจิทัล 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
SCG X ลงทุนแมน
SCG ชวนผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถอาคาร ฝ่าวิกฤตโควิด
ผ่านการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้สะอาด
ซึ่งสามารถต่อยอดเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียวและอาคารเพื่อสุขภาวะดี
ตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ ได้อีกด้วย เพื่อความคุ้มค่ายาวนานกว่า
ด้วย 2 ธุรกิจใหม่จาก SCG เพื่อช่วยผู้ประกอบการงานอาคารหลังโควิด 19 อัปเกรดอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ให้สอดรับกับยุค Next Normal Living ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยในอาคาร ทั้งในด้านความปลอดภัย ความสะอาด และความสะดวกสบาย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
1) SCG Building & Living Care Consulting ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งปลูกสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ ในการทำอาคารเขียว อาคารประหยัดพลังงาน อาคารเพื่อสุขภาวะที่ดี และโครงการเพื่อผู้สูงอายุและคนทุกวัย
โดย SCG Building & Living Care Consulting มีทีมที่ปรึกษาที่ได้รับการรับรอง (Certify) จาก LEED / DGNB / TGBI / WELL รวมถึงมี ASHRAE certified professional และ fitwel Ambassador แห่งเดียวในประเทศไทย และยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ (Gerontology) และเพื่อคนทุกวัย (Universal Design) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแสงสว่างให้เหมาะสมกับวัยและช่วงเวลาของการใช้ชีวิต (Circadian Design) ที่จะช่วยให้คำปรึกษาในการออกแบบและปรับปรุงอาคารให้ได้การรับรองตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ และทำโครงการตามวัตถุประสงค์ของผู้ประกอบการให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง และสามารถช่วยคำนวณงบประมาณทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลาย
ซึ่งสามารถให้คำแนะนำตั้งแต่แนวทางการออกแบบ การจัดเรียงและโครงสร้างอาคาร การเลือกใช้วัสดุในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในด้านการประหยัดพลังงาน การระบายอากาศ และการมีสุขภาวะที่ดี
การพัฒนาอาคารเป็นอาคารเขียว (Green Building) ตามมาตรฐาน LEED หรือ TREES มักได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าอาคารทั่วไป ตั้งแต่การได้รับพื้นที่ก่อสร้างที่มากขึ้นประมาณ 15% ทั้งยังได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เช่า และส่งผลต่ออัตราค่าเช่าพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอาคารทั่วไปในบริเวณเดียวกันได้ถึงประมาณ 25% ในขณะที่ระยะเวลาคืนทุนก็มีแนวโน้มเร็วกว่าอาคารทั่วไปถึงประมาณ 10% เลยทีเดียว
นอกจากนี้ การทำอาคารเขียวยังสามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้ 10 - 50% ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 30 - 40% และลดการใช้น้ำได้มากถึง 10 - 50% ซึ่งจะขึ้นกับประเภทการรับรอง ระดับของการ Certify และพื้นที่ของโครงการด้วย
ปัจจุบันยังมีมาตรฐานด้านสุขภาวะที่ดี ได้แก่ WELL และ fitwel ในการวัดค่าความเป็นมิตรต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคาร ทั้งในด้านสภาวะแวดล้อม อากาศที่บริสุทธิ์ ที่เอื้อต่อการทำงานและทำให้คนมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่ม Productivity ในการทำงานได้มากขึ้น ในกรณีที่เป็นอาคารให้เช่า ส่วนมากมักทำให้มีอัตราค่าเช่าอาคารที่สูงขึ้นด้วย
2) Smart Building Solution ธุรกิจผู้ให้บริการโซลูชันงานระบบวิศวกรรมอาคารแบบครบวงจรจาก เอสซีจี ให้บริการออกแบบติดตั้งเทคโนโลยีในหมวดพลังงานในอาคาร ปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่ออาคารอัจฉริยะ โดยส่งมอบโซลูชันด้วยเทคโนโลยีเชื่อมต่อการทำงานกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้อาคารประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น ปรับคุณภาพอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพอาคาร ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีโซลูชันที่ให้บริการเพื่อผู้ประกอบการ ดังนี้
- Energy WELL Series ระบบที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร ด้วยระบบดูดซับสารพิษของอากาศภายในอาคาร ให้อากาศภายในอาคารสะอาดอย่างเสมอ และช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศในเวลาเดียวกัน
- Energy CARE Series เทคโนโลยีดิจิทัล และ IoT มาช่วยควบคุมเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ทั้งการเปิด-ปิด หรือ ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม
- INTELL Series ใช้เทคโนโลยี IoT เซนเซอร์ไร้สายกำลังส่งสูง รับส่งสัญญาณระหว่างตัวอุปกรณ์ด้วยกันเองในลักษณะ M2M (Machine to Machine) แบบ Real-time เพื่อให้เจ้าหน้าที่บริหารอาคารนำข้อมูลไปวิเคราะห์ และบริหารอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- HYGIENE Series ปรับปรุงและยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคารให้สะอาด ด้วยการลดเชื้อโรคในอากาศ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย ตลอดจนฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5-10 โดยการใช้เทคโนโลยี Bi-polar Ionization System
โดยในโครงการล่าสุดทีม Smart Building Solution ได้ให้บริการติดตั้งระบบ Energy CARE series ให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการเชื่อมต่อระบบเปิด-ปิดแอร์อัจฉริยะ เข้ากับระบบการจองห้องเรียน ช่วยให้ห้องเรียนถูกปรับอากาศให้พร้อมก่อนจะมีคนเข้าไปใช้งาน และปิดขณะไม่มีคนเข้าไปใช้งาน รวมถึงสามารถตรวจสอบพลังงานที่ใช้ สำหรับการปรับอากาศในอาคารได้ เพื่อลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
ซึ่งโดยปกติแล้ว การติดตั้งระบบเปิด-ปิดแอร์อัจฉริยะเข้ากับระบบจองห้องเรียนนั้น จะสามารถช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าของอาคารได้ 20 - 45% และสำหรับอาคารเก่า ก็จะมีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) สำหรับการลงทุนในโซลูชันเพียงประมาณ 3 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับระบบของอาคารนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น อาคารแห่งหนึ่ง มีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าอยู่ 40 ล้านบาท/เดือน หรือ 480 ล้านบาท/ปี
โซลูชันของ Smart Building Solution ก็จะช่วยให้เจ้าของอาคาร
ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 96 - 216 ล้านบาท/ปี
และสามารถนำเงินส่วนที่ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ไปใช้บริหารหรือลงทุนในส่วนงานอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ซึ่งตัวอาคารทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่
ก็สามารถนำโซลูชันเหล่านี้ มาช่วยแก้ปัญหา และพัฒนาอาคารได้เช่นกัน
ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับคุณภาพอาคาร คุณภาพชีวิต และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจได้ที่
>SCG Building & Living Care Consulting
scgbuildingmaterials.com/th/b2b/scg-building-and-living-care-consulting
>Smart Building Solution
scgbuildingmaterials.com/en/b2b/smart-building-solution
เทคโนโลยีดิจิทัล 在 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (Digital Adoption) และการปรับเปลี่ยน ... 的美食出口停車場
การอบรมเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจครั้งที่ 1 หัวข้อ “การนำ เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ (Digital Adoption) ... ... <看更多>
เทคโนโลยีดิจิทัล 在 สำนักเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น - Facebook 的美食出口停車場
สำนักเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. ถูกใจ 10358 คน · 2 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. The University's ICT Infrastructure. ... <看更多>