รู้จัก Auckland เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลก และสำคัญมาก กับเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ /โดย ลงทุนแมน
ฟินแลนด์ คือประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกในปี 2021
แต่ถ้าถามว่าเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกอยู่ไหนล่ะ ?
ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นิตยสารชื่อดังระดับโลกอย่าง The Economist
ได้เผยผลสำรวจครึ่งปีแรกออกมาว่า
ออกแลนด์ (Auckland) เมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศนิวซีแลนด์
ถูกเลือกให้เป็น “เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก”
ทำไมออกแลนด์ ถึงถูกเลือกให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก
และเมืองแห่งนี้ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
นิวซีแลนด์ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีชื่อเรียกว่า โอเชียเนีย
ซึ่งใช้เรียก กลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
โดยนิวซีแลนด์ถูกพบครั้งแรกในปี 1642 โดยนักเดินเรือชาวดัตช์ ก่อนที่ต่อมาในปี 1769 เจมส์ คุก ซึ่งเป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษได้เดินทางเข้ามาที่นี่
การเข้ามาของเจมส์ คุก ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้หลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ได้เดินทางมายังดินแดนที่อยู่ใกล้ขั้วโลกใต้แห่งนี้ในเวลาต่อมา
แต่ก่อนที่ชาวต่างชาติจะเดินทางมาพบนิวซีแลนด์นั้น
ที่นี่มีชนเผ่าพื้นเมืองที่ชื่อว่า ชาวเมารี
ซึ่งได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ก่อนหน้า ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 13-14
ต่อมาในปี 1840 อังกฤษเจรจาขอซื้อที่ดินในเมืองออกแลนด์จากชาวเมารี
ภายใต้สนธิสัญญาที่ชื่อว่า “Treaty of Waitangi”
และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นิวซีแลนด์ กลายมาเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ปัจจุบัน นิวซีแลนด์ยังเป็นหนึ่งในเครือจักรภพของอังกฤษ
และปกครองโดย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นพระราชินีพระองค์เดียวกับที่ปกครองประเทศอื่นในเครือจักรภพ
หลังจากที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้
อังกฤษได้แต่งตั้งผู้ว่าการของนิวซีแลนด์คนแรกคือ William Hobson ซึ่งเป็นทหารเรือชาวอังกฤษ
และเขาได้ตัดสินใจเลือกออกแลนด์ เป็นเมืองหลวงของนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการในปี 1841
หลังจากที่อังกฤษเข้าครอบครองนิวซีแลนด์
ในช่วงปี 1847-1852 ทหารอังกฤษที่เกษียณอายุแล้ว ได้พาครอบครัวเดินทางมาอาศัยและทำงานกันที่ออกแลนด์ที่เป็นเมืองหลวง กันเป็นจำนวนไม่น้อย
ต่อมาในปี 1865 เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ถูกเปลี่ยนไปอยู่ที่เมืองเวลลิงตัน
แต่เศรษฐกิจของออกแลนด์ในฐานะที่เคยเป็นเมืองหลวงเก่า ก็ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากการเป็นเมืองท่า แหล่งทำเหมืองแร่ และเหมืองทองคำที่สำคัญของประเทศ
ทำให้ออกแลนด์ในปัจจุบัน ถือเป็นเมืองสำคัญทางด้านธุรกิจและด้านการศึกษา มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศนิวซีแลนด์
ความสำคัญของเมืองแห่งนี้เห็นได้จาก
- การเป็นเมืองท่าการค้าที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ โดยที่ออกแลนด์ มีเรือสินค้าเข้ามาเทียบท่าในแต่ละปี กว่า 1,600 ลำ สร้างมูลค่าการค้า 444,000 ล้านบาทต่อปี
- เป็นที่ตั้งของ Auckland Airport ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และมีเครื่องบินขึ้น-ลง มากที่สุดของนิวซีแลนด์
ในปี 2019 มีผู้มาใช้บริการสนามบินแห่งนี้มากกว่า 21 ล้านคน
- เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยออกแลนด์ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1883 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดในประเทศ
ปี 2020 ออกแลนด์ยังเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยมากที่สุดของนิวซีแลนด์
โดยมีจำนวนประชากรกว่า 1.7 ล้านคน หรือประมาณ 35% ของจำนวนประชากรทั้งหมดของนิวซีแลนด์
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ออกแลนด์ ยังเป็นเมืองที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงที่สุดของประเทศ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 38% ของมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ
โดยเมืองที่มีมูลค่า GDP สูงสุด 3 อันดับแรกคือ
1. ออกแลนด์ 2,700,000 ล้านบาท
2. เวลลิงตัน 892,000 ล้านบาท
3. แคนเทอร์เบอรี 886,000 ล้านบาท
ซึ่งเราจะเห็นว่า ถึงแม้ออกแลนด์ จะไม่ได้เป็นเมืองหลวงของนิวซีแลนด์แล้ว
แต่ก็มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็น 3 เท่าของเมืองหลวงของประเทศในปัจจุบันอย่างเวลลิงตัน
โดยอาชีพและธุรกิจบริการที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เมืองแห่งนี้
เช่น งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงงานที่ใช้ความชำนาญเฉพาะด้านในวิชาชีพ
ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 30% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจของเมือง
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ Economist Intelligence Unit (EIU)
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่วิเคราะห์เศรษฐกิจของ “The Economist” นิตยสารชื่อดังระดับโลก
ได้ทำการสำรวจเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก ในช่วงตั้งแต่ต้นปี 2021 จนถึงปัจจุบัน
การจัดอันดับนี้ มี 140 เมืองจากทั่วโลก ถูกเลือกเข้ามาพิจารณา
โดยการพิจารณานั้นไม่เพียงแต่ดูปัจจัยสำคัญ ๆ เช่น ความยั่งยืน การดูแลสุขภาพ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึง การจัดการการแพร่ระบาดของโควิด 19 เข้าไปด้วย
ซึ่งนิวซีแลนด์ ก็ถือเป็นประเทศหนึ่งในโลก ที่มีการรับมือกับวิกฤติโควิด 19 ได้ดี
และผลการจัดอันดับก็ออกมาว่า
เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกตอนนี้ ก็คือ ออกแลนด์..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bbc.com/news/world-57412997
-https://www.economist.com/graphic-detail/2021/06/08/auckland-has-become-the-worlds-most-liveable-city
-https://en.wikipedia.org/wiki/New_Zealand
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_Auckland
-https://en.wikipedia.org/wiki/Auckland
-https://www.tourism.net.nz/new-zealand/about-new-zealand/regions/auckland/history.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Air_New_Zealand
-https://en.wikipedia.org/wiki/University_of_Auckland
-https://www.stats.govt.nz/information-releases/regional-gross-domestic-product-year-ended-march-2020
-https://ecoprofile.infometrics.co.nz/auckland/PDFProfile
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
waitangi 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ? /โดย ลงทุนแมน
ซีรีส์บทความ “Branding the Nation”
หากพูดถึงนิวซีแลนด์ สัตว์เลี้ยงที่คนทั่วโลกนึกถึง ก็คงจะเป็น “แกะ”
เพราะประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีประชากรแกะมากถึง 27.3 ล้านตัว
คิดเป็นเกือบ 6 เท่า ของประชากรคนที่มีอยู่ 5 ล้านคน
แต่นิวซีแลนด์ไม่ได้มีแค่แกะเท่านั้นที่มีจำนวนมากกว่าคน
เพราะปศุสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีมากกว่าคนก็คือ “โคนม”
นิวซีแลนด์มีวัวอยู่ราว 6.1 ล้านตัว ผลิตนมส่งออกปีละ 1.5 ล้านตัน
จนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกนมมากที่สุดในโลก มูลค่าปีละ 200,000 ล้านบาท
และคิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของการส่งออกนมทั่วทั้งโลก
ไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ยังขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ
และมีการสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม ให้สามารถตอบโจทย์กับลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นนม Anlene ที่เน้นในเรื่องของการบำรุงกระดูก
หรือนม Anmum ที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมลูกน้อย
อะไรที่ทำให้ประเทศหมู่เกาะโดดเดี่ยว ที่อยู่ห่างไกลจากประเทศอื่นมากที่สุด
ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำด้านผลิตภัณฑ์นมระดับโลก ?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1649
Abel Tasman นักสำรวจชาวดัตช์ได้ล่องเรือจากเกาะชวามาค้นพบเกาะแห่งหนึ่งโดยบังเอิญ
แต่ในตอนนั้นเขาถูกต่อต้าน และคุกคามโดยชาวพื้นเมืองบนเกาะ
ทำให้เขาต้องรีบถอยกองเรือออกมา โดยแทบไม่ได้สำรวจอะไรบนเกาะแห่งนี้เลย
Tasman ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “New Zealand”
ตามชื่อแคว้น Zeeland ทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์
ความลึกลับของนิวซีแลนด์คงอยู่ต่อมาจนถึงปี 1769 เมื่อกัปตันชาวอังกฤษ James Cook
ได้ล่องเรือมาสำรวจดินแดนแห่งนี้อย่างละเอียด พบว่าดินแดนนิวซีแลนด์มีเกาะใหญ่หลัก ๆ
อยู่ 2 เกาะคือ เกาะเหนือและเกาะใต้
ด้วยภูมิอากาศอบอุ่น และมีฝนตกตลอดทั้งปีคล้ายกับเกาะอังกฤษ จึงเริ่มมีชาวอังกฤษ
และชาวยุโรปอื่น ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่วนใหญ่เป็นนักเดินเรือ เป็นพ่อค้า และเป็นเกษตรกร
แต่ดินแดนแห่งนี้มีชาวพื้นเมืองอยู่แล้ว คือ “ชาวเมารี”
เมื่อชาวยุโรปอพยพมาอยู่มากเข้า ก็เริ่มมีปัญหาจนนำมาสู่ความขัดแย้งหลายครั้ง
ทั้งระหว่างชาวเมารีกับชาวยุโรป และระหว่างชาวเมารีด้วยกันเองที่ต้องการซื้อปืนจากชาวยุโรปเพื่อมาทำสงครามระหว่างเผ่า จนนำมาสู่การเสียชีวิตของชาวเมารีหลายหมื่นคน
จนในปี 1840 อังกฤษก็ได้เชิญหัวหน้าเผ่าชาวเมารีกว่า 500 เผ่า มาทำข้อตกลงร่วมกัน
ด้วยการยอมรับให้ดินแดนนิวซีแลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยชาวเมารีจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินของตนเอง และได้รับสิทธิ์อื่น ๆ เช่นเดียวกับชาวอังกฤษทุกประการ
ข้อตกลงนี้เรียกว่า สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi)
ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของนิวซีแลนด์ ในการเป็นอาณานิคมอังกฤษอย่างเป็นทางการ..
เจ้าอาณานิคมได้เข้ามาวางรากฐานระบบต่าง ๆ ให้กับนิวซีแลนด์
ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การปกครอง และศาสนา
คณะมิชชันนารีชาวอังกฤษได้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เข้ามาเผยแผ่ให้กับชาวเมารี
และก็เป็นคณะมิชชันนารีนี่เอง ที่นำแกะและวัวพันธุ์ชอร์ตฮอร์น เข้ามาสู่นิวซีแลนด์ และเริ่มส่งเสริมให้มีการทำฟาร์มเลี้ยงวัวอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษ 1840s
นิวซีแลนด์มีฝนตกตลอดทั้งปี และมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยเฉพาะที่ราบไวกาโตบนเกาะเหนือ และที่ราบแคนเทอร์เบอรี, ที่ราบโอตาโกบนเกาะใต้
บริเวณเหล่านี้ ค่อย ๆ เติบโตกลายเป็นเขตเลี้ยงวัวที่สำคัญ ที่มีการผลิตทั้งนม เนย ชีส ซึ่งในช่วงแรกก็มีไว้สำหรับบริโภคภายในประเทศ
แต่เมื่อมีการพัฒนาระบบตู้เย็นในช่วงทศวรรษ 1880s นิวซีแลนด์ก็เริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์นม
ไปยังดินแดนอื่น ๆ และมีการตั้งโรงงานเนยแห่งแรก คือ “Anchor” ในปี 1886
ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในแบรนด์นม และเนยคุณภาพสูงที่คนทั้งโลกรู้จัก
ความอุดมสมบูรณ์ของนิวซีแลนด์ ดึงดูดชาวยุโรปให้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น
ผู้คนเหล่านี้ก็นำองค์ความรู้และเครื่องจักรในยุคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเครื่องรีดนมวัว
ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มจำนวนวัวที่เลี้ยงได้มากขึ้น ปริมาณผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อได้เปรียบของการทำฟาร์มโคนมในนิวซีแลนด์ คือการมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ทำให้มีอาหารเพียงพอจนสามารถเลี้ยงวัวในระบบฟาร์มเปิด ที่ให้วัวเดินหาอาหารได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วยให้วัวมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมสร้างน้ำนมคุณภาพเยี่ยม
แต่ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์สามารถโดดเด่นขึ้นมาในระดับโลก เพราะยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
ประการที่ 1 ระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง
ระบบสหกรณ์ (Cooperative) เป็นอีกหนึ่งมรดกตกทอดจากอังกฤษ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อผู้ประกอบการรายย่อย และเกษตรกรได้รวมตัวกันก่อตั้งสหกรณ์ เพื่อต่อสู้กับเหล่านายทุนเจ้าของโรงงาน
สหกรณ์จะมีการระดมทุนจากสมาชิกที่มีอาชีพเดียวกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกที่ขาดแคลนเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยถูก และให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกที่เป็นผู้ฝากเงิน
สหกรณ์ยังให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ จัดหาวัตถุดิบ จัดหาตลาด กำหนดราคาสินค้า
ไปจนถึงการนำเงินทุนมาลงทุนตั้งโรงงานผลิต และผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยทรัพย์สินของสหกรณ์จะถือเป็นของส่วนรวม และสมาชิกทุกคนจะถือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน
สหกรณ์แห่งแรกของนิวซีแลนด์ คือ Otago Cooperative Cheese Co. ก่อตั้งในปี 1871
เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมในแถบที่ราบโอตาโกในเกาะใต้
เพื่อตั้งโรงงานผลิตชีส เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกจะถือหุ้นส่วนตามสัดส่วนผลผลิตนมที่ส่งให้กับสหกรณ์ และสมาชิกก็จะได้เงินปันผล หากสหกรณ์มีกำไร
ด้วยความที่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นิวซีแลนด์เป็นประเทศใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมากนัก ทำให้ไม่มีเจ้าของโรงงาน หรือชนชั้นนายทุนมาขัดขวาง
ระบบสหกรณ์จึงเติบโต และเจริญก้าวหน้าในนิวซีแลนด์ได้ดีกว่าหลายประเทศในยุโรป
สมาชิกทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจของสหกรณ์ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ใช้หลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ สมาชิก 1 คน มีสิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกัน ระบบสหกรณ์จึงค่อย ๆ หยั่งรากประชาธิปไตยให้ฝังลึกลงในสังคมนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ยุคนั้น
และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีดัชนีประชาธิปไตย (Democracy Index)
อันดับ Top 5 ของโลกในปัจจุบัน..
การรวมกลุ่มในลักษณะสหกรณ์ ช่วยทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับนายทุน มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาสินค้า ทิศทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
และเกษตรกรยังได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม ทั้งผลตอบแทนจากการขายนมให้แก่สหกรณ์ และผลตอบแทนในรูปปันผลจากกำไรของสหกรณ์
ซึ่งในปัจจุบัน สหกรณ์ถือเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 30 แห่ง สร้างรายได้ต่อปีคิดเป็นสัดส่วนถึง 17.5% ของ GDP ประเทศ
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ Fonterra Co-operative Group Limited
ซึ่งเกิดจากการควบรวมสหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งทั่วประเทศในปี 2001
Fonterra Co-operative Group Limited ยังจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวซีแลนด์อีกด้วย และมีมูลค่าบริษัทสูงกว่า 140,000 ล้านบาท
ประการที่ 2 ความร่วมมือจากภาครัฐในการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง
หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1907 รัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ได้ออกกฎหมายอุตสาหกรรมโคนมในอีก 1 ปีต่อมา เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์นม ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเลี้ยงวัว
มีการควบคุมโรงเลี้ยงวัวให้มีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย สายพันธุ์วัวจะต้องมีการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมอย่างเป็นระบบ ผ่านสมาคมเพาะพันธุ์วัว หรือ Breed Association ที่จัดตั้งขึ้นในปี 1914 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีที่สุด ให้น้ำนมมากที่สุด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นมมีคุณภาพ
กลุ่มสหกรณ์โคนมยังได้รวมกันตั้ง Livestock Improvement Corporation (LIC) ในปี 1909 เพื่อเป็นบริษัทที่ให้บริการข้อมูลด้านพันธุศาสตร์มาช่วยปรับปรุงสายพันธุ์วัว เก็บรักษาน้ำเชื้อพ่อวัวพันธุ์ดี และให้บริการผสมเทียมแก่แม่วัวที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950s
ในเรื่องของการควบคุมคุณภาพ มีการตั้งคณะกรรมการโคนมแห่งนิวซีแลนด์ หรือ
New Zealand Dairy Board เป็นคณะกรรมการด้านกฎหมายที่ควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ทั้งหมด คอยควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมส่งออกมาตั้งแต่ปี 1923
ประการที่ 3 การสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
ข้อนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ หลังจากที่นิวซีแลนด์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลกในช่วงทศวรรษ 1970s
แต่ด้วยความที่นิวซีแลนด์เป็นประเทศรายได้สูง ซึ่งส่งผลมาสู่ค่าแรงที่สูง และดันให้ราคาของผลผลิตนมสูงตามไปด้วย การที่จะต่อสู้กับผลิตภัณฑ์นมจากประเทศอื่น ๆ ที่มีค่าแรงถูกกว่าได้
จำเป็นจะต้องสร้างความแตกต่าง และความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์
เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รัฐบาลได้จัดตั้ง New Zealand Food Innovation Network (NZFIN) หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และการจ้างงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทั้งการวิจัยผลิตภัณฑ์ การทดสอบกับกลุ่มลูกค้า การผลิตในขนาดเล็ก ไปจนถึงวางแผนการผลิตจริง
ในปี 2008 เพื่อความสะดวกในการวางแผนการตลาด และการแข่งขันกับตลาดโลก
สหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งของนิวซีแลนด์ จึงได้รวมตัวกันให้กลายเป็นสหกรณ์โคนมขนาด
ใหญ่เพียง 3 แห่ง ประกอบไปด้วย
1. สหกรณ์ Fonterra เป็นสหกรณ์โคนมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ครองส่วนแบ่งการตลาด
มากกว่า 80% มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมในเครือหลายสิบแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้งนม Anlene ที่มีปริมาณแคลเซียมสูง มีหลายสูตรเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
นม Anmum ที่มีแคลเซียมและโฟเลตสูง เป็นสูตรเฉพาะสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก
และเนย Anchor เป็นเนยที่ผลิตจากครีมแท้ 100% จากน้ำนมที่ได้มาตรฐานสูงสุด
2. สหกรณ์ Tatua เป็นสหกรณ์ที่เน้นผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงเกี่ยวกับนม เช่น สารสกัดโปรตีนจากนม สารสกัดไขมันจากนม และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
3. สหกรณ์ Westland เน้นผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทนมผง เวย์โปรตีน เคซีน และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก
จะเห็นได้ว่า สหกรณ์ทั้ง 3 แห่ง ล้วนมี “จุดเด่น” ของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ที่ต่อยอดมาจากน้ำนมธรรมดา
นิวซีแลนด์เป็นประเทศร่ำรวยไม่กี่ประเทศ ที่สินค้าส่งออกถึง 70% มาจากภาคเกษตรกรรม
โดยผลิตภัณฑ์นม ทั้งนม เนย ชีส นมผง และเวย์ คิดเป็นสัดส่วน 18% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ภาคการเกษตรใช้แรงงาน 5.5% ของแรงงานชาวนิวซีแลนด์
แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 7% ของ GDP
ซึ่งขัดกับประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศที่ใช้แรงงานในภาคการเกษตรมาก แต่ไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก
ความโชคดีของประเทศนี้ คือการที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีภูมิอากาศเหมาะสม มีหญ้ามากเพียงพอที่จะทำให้วัวมีสุขภาพดี และให้นมคุณภาพสูง
แต่สิ่งเหล่านี้จะยั่งยืนไม่ได้เลย หากขาดระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ความช่วยเหลืออย่างจริงจังจากภาครัฐ และความร่วมมือกันในการวางแผนพัฒนาจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
จนต่อไปสู่ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ สร้างความ “พรีเมียม” ให้กับแบรนด์สินค้า
และสร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำนมธรรมดาอย่างมหาศาล
นับตั้งแต่ปี 1970 นิวซีแลนด์ยังคงรักษาตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลก
ในแง่ของมูลค่า มาได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่มีใครรู้ว่าตำแหน่งจะถูกเปลี่ยนมือไปเมื่อไร แต่จากบทความทั้งหมดที่กล่าวมา
ก็พอจะคาดเดาได้ว่า “นิวซีแลนด์” น่าจะยังอยู่ในตำแหน่งนี้ ต่อไปอีกยาวนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.statista.com/statistics/974482/new-zealand-dairy-cattle-numbers/
-https://teara.govt.nz/en/dairying-and-dairy-products
-https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/182277/153930/
-https://www.ica.coop/en/newsroom/news/new-report-co-operative-economy-new-zealand
-https://theeconreview.com/2017/02/22/new-zealand-the-model-for-farms-of-the-future/
-https://www.gtreview.com/magazine/volume-15issue-5/milk-new-zealands-dairy-exports-conquered-world/
-https://www.stats.govt.nz/experimental/which-industries-contributed-to-new-zealands-gdp
waitangi 在 Sss in NZ 紐西蘭 Facebook 的精選貼文
Good day everyone ❤️
昨天2月6號Waitangi Day是紐西蘭的國慶日
連帶星期一補假假期,又是一個小長假
紐西蘭本地人很享受每個假期的時間
天氣好的時候 就會到附近公園市集坐著享受陽光
一家老小帶著狗狗🐶🐩,坐在草地上吃喝說笑
#WaitangiDay #longweekend #clevedonmarket #紐西蘭日記 #最愛這家的肉派 #pies #星期日市集