ธุรกิจ New S-Curve ของ ปตท. คืออะไร ?
ปตท. x ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเริ่มเห็นการดิสรัปชันในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงปีที่แล้วที่โรคระบาด ได้ทำให้หลายบริษัทเร่งปรับตัว
หากเรามาดูสถานการณ์ในประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน
ด้วยผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ได้เร่งให้หลายบริษัทจำเป็นต้องมองหาธุรกิจใหม่
เพื่อโอกาสการเติบโตในอนาคตรวมถึงเพื่อกระจายความเสี่ยงในธุรกิจเดิม
ไม่เว้นแม้แต่ ปตท. บริษัทที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย ก็มีสัญญาณการเข้าไปลงทุนทั้งในอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงธุรกิจใหม่
สะท้อนให้เห็นจากในปีที่ผ่านมา ปตท. ได้มีการลงทุนในธุรกิจเดิมอย่างการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ ต่อยอดไปเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติระดับภูมิภาค หรือ LNG Hub
รวมไปถึงการกระจายการลงทุนไปพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับ Life Science หรือวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสุขภาพ เช่น ยา ฟิวเจอร์ฟู้ด และอุปกรณ์ทางการแพทย์และได้เข้าไปลงทุนใน Lotus Pharmaceutical บริษัทวิจัย และพัฒนายารักษามะเร็งที่ใหญ่สุดในไต้หวัน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
แล้ว ปตท. ยังมีกลยุทธ์หาช่องทางการเติบโตกับธุรกิจอะไรอีกบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปัจจุบัน ปตท. ยังมีโครงการที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันธุรกิจใหม่และธุรกิจที่มีแนวโน้มจะสร้างการเติบโตในระยะยาวโดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่าธุรกิจ New S-Curve แบ่งออกเป็น
1. Express Solutions Project หรือ ExpresSo
2. Booster Project
แล้วแต่ละโครงการ มีแนวทางการค้นหาธุรกิจ New S-Curve กันอย่างไร ?
เริ่มกันที่โครงการ “ExpresSo” ที่ก่อตั้งและเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หรือราว 4 ปีก่อน
เป็นการรวมตัวกลุ่มคนรุ่นใหม่ของ ปตท. ที่จะเข้าไปค้นหาโอกาสในธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีแนวโน้มจะเติบโตเป็นธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต
โดยมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก แบ่งออกเป็น
กลุ่มแรก Corporate Venture Capital หรือ CVC เป็นธุรกิจที่จะค้นหาและเข้าไปลงทุนในกองทุน
หรือสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันของ ปตท. ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
ปัจจุบัน ExpresSo กระจายการลงทุนในกองทุนพลังงานและความยั่งยืน 7 กองทุน
และสตาร์ทอัพจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3 บริษัท ได้แก่
- HG Robotics สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติหลากหลายรูปแบบ รวมถึงโดรนเพื่อการสำรวจ และ โดรนเพื่อการเกษตร
- Baania สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- Sunfolding สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา ผู้คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ติดตามแสงอาทิตย์ในลักษณะแกนเดียว ใช้ระบบหัวขับลมมีตัวควบคุมความดันที่คำนวณและปรับแกนการเอนตัวแผ่นโซลาร์ตามทิศทางของดวงอาทิตย์
โดย ExpresSo มีธีมการลงทุนหลักให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. โดยมองหาสตาร์ทอัพผู้คิดค้น
และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานใหม่และการจัดการพลังงานเพื่อความยั่งยืน
นอกเหนือจากมุมการเป็นผู้ลงทุนแล้ว ExpresSo ก็ยังมีกลุ่มธุรกิจ Venture Builder หรือ VB
เป็นการจัดตั้งโครงการหรือบริษัทเพื่อทดสอบแนวคิดทางธุรกิจ และพัฒนาต้นแบบที่มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นธุรกิจใหม่ให้กับ ปตท. ตัวอย่างเช่น
- Renewable Energy Acceleration Platform หรือ ReAcc ทำธุรกิจแพลตฟอร์มระบบบล็อกเชนเพื่อรองรับธุรกรรมเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนอย่างครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ที่ช่วยให้บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้เข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียน
- Swap & Go ธุรกิจให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ
- Mekha Tech ธุรกิจให้บริการคลาวด์กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ปตท.
- Smart Energy Platform: P2P โครงการทดลองการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างบุคคล โดยร่วมมือกับ Sertis GPSC และ VISTEC
ExpresSo ยังมีกลยุทธ์การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่น ๆ ผ่านกลุ่มธุรกิจ Venture Partner หนึ่งในนั้นคือการร่วมมือกับ Elemental Excelerator องค์กร Nonprofit ด้าน Climate tech เพื่อสร้างความยั่งยืนในกับโลก ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยขับเคลื่อนเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 แบบยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ระดับสากล
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้โครงการ ExpresSo
ที่แบ่งกลยุทธ์การหาโอกาสการเติบโตใหม่ทั้งในรูปแบบการลงทุน
การจัดตั้งบริษัทขึ้นเอง และการเข้าไปเป็นพันธมิตรกับผู้อื่น
นอกจากโครงการ ExpresSo แล้ว ยังมีอีกโครงการที่เน้นการค้นหาโอกาสการเติบโตใหม่เหมือนกัน
แต่มุ่งเน้นไปที่ กลุ่ม Food Value Chain เป็นหลัก รวมถึงเป็นศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพให้กับโครงการนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วใน ปตท. และมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่ได้ โดยโครงการนี้ชื่อว่า “Booster Project” ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา
การดำเนินงานของ Booster จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจของโครงการในด้านต่าง ๆ เช่น Strategic fit, market, business model และ financial model ตลอดจนค้นหาโอกาสการเติบโตของธุรกิจนั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Fishery Technology & Innovation
ที่เป็นการพัฒนาให้ประมงไทยกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง
โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและระบบการจัดการใหม่ มาพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงแบบครบวงจร
รวมทั้งการแปรรูป จำหน่าย และบริหารโลจิสติกส์ เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรไทย และสร้างโอกาสใหม่เพื่อการเติบโตทางธุรกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยได้คัดเลือกปลาเศรษฐกิจ 2 ชนิดมาเป็นโมเดลต้นแบบ ได้แก่
Sugi Model หรือ โมเดลปลาช่อนทะเล เป็นโครงการเพื่อพัฒนาปลาเศรษฐกิจในอนาคต
ซึ่งจะนำเทคโนโลยีและการจัดการแบบใหม่มาพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงในกระชังต้นแบบ
ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการเพาะเลี้ยง และการทดสอบเรื่องอาหาร
เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อและสารอาหารในปลาให้ดีขึ้น
ตลอดจนวิจัยผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อให้สามารถใช้ผลผลิตทั้งหมดอย่างคุ้มค่าไม่มีของเหลือทิ้ง
และหาช่องทางจัดจำหน่ายแบบ online offline และ modern trade
โดยที่ผ่านมา ได้มีการจัดการแข่งขัน Sugi Hackathon
ที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาเข้ามาประกวดแผนธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อนำแนวคิดของคนรุ่นใหม่ มาช่วยขับเคลื่อนแผนพัฒนาปลาเศรษฐกิจดังกล่าว
อีกหนึ่งปลาเศรษฐกิจที่ Booster มีส่วนร่วมพัฒนา คือ Gourami Model หรือ โมเดลปลาสลิด
ตั้งแต่การเพาะพันธุ์ เพาะเลี้ยงไปจนถึงการแปรรูป สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ว่าแต่ละกระบวนการเป็นไปตามมาตรฐานและตรวจสอบได้
ปัจจุบันก่อสร้างโรงงานแปรรูปแล้วเสร็จ 95% อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการแปรรูป และเริ่มมีการติดตั้งระบบ IoT และระบบอัตโนมัติหรือ Automation สำหรับการผลิตภายในโรงงานแปรรูปเพื่อตรวจสอบและวัดผลตลอดกระบวนการแปรรูป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นโรงงานผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค
โครงการ Fishery Technology & Innovation ยังมุ่งมั่นพัฒนาประมงไทย โดยใช้ระบบ IoT (internet of Things) ร่วมกับการจัดทำ mobile application เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรบันทึกข้อมูลการเพาะเลี้ยง ที่จะช่วยให้การเพาะเลี้ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของผลิดภัณฑ์ และ คุณภาพ
รวมทั้งยังมีการพัฒนา Platform ให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Blockchain ให้สามารถตรวจสอบได้ตลอด Supply Chain
ในอนาคตอันใกล้ จะมีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้งานร่วมกับ AI (Artificial Intelligence) สำหรับกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานในการออกแบบการผลิตให้เป็นไปความต้องการของตลาดได้ในอนาคต
นอกเหนือจากการสนับสนุนการพัฒนาประมงไทย โครงการ Booster ยังนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยยกระดับภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้น สมุนไพรไทย ครอบคลุมทั้งกระบวนการ
ตั้งแต่การปลูก การสกัด การแปรรูป ไปจนถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
ด้วยความตั้งใจที่จะส่งต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสู่มือผู้บริโภค
จะเห็นได้ว่าแม้ ExpresSo และ Booster จะเป็นโครงการที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาได้เพียงไม่กี่ปี
แต่ทั้ง 2 โครงการมีลักษณะการดำเนินธุรกิจเฉพาะที่ชัดเจนและมีเป้าหมายร่วมกันคือ การมองหาโอกาสการเติบโตทั้งในรูปแบบของการเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพ หรือการวิเคราะห์ตลาดและหาแนวโน้มในการเติบโตในอนาคตเพื่อนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมให้ธุรกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่าในระยะยาว ทั้ง 2 โครงการของ ปตท. จะสร้าง New S-Curve อะไรให้กับบริษัทได้บ้าง
แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนตอนนี้ คือ ปตท. พร้อมแล้วที่จะรุกเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่เพียงคำว่าธุรกิจพลังงาน อีกต่อไป
supply chain traceability 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最佳貼文
"Food Traceability" กินอะไรก็ได้...ไม่ได้!
อาหารเรามาจากไหน สำคัญมากนะ
จะรู้ได้ยังไงว่า ปลา≠แรงงานทาส / ไก่≠ไฟป่า / ผัก≠ปะการังตาย ?
-------------------------------------
ยุคนี้เรามี Option ด้านของกินเยอะมาก เปิดAPPอะไรก็มีมาให้เลือกเต็มไปหมด แต่นอกจากอร่อยและถูกแล้ว เราก็ไม่ค่อยจะตัดสินใจด้วยตัวแปรอื่นๆมากนัก แต่จริงๆที่มาของอาหาร [Food Traceability] ควรเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่ผู้บริโภคควรจะเข้าถึงได้อย่างเสรี รวมถึงผู้ผลิตก็ควรจะมีหน้าที่รับผิดชอบให้ข้อมูลเหล่านี้
ทุกคนควรมีโอกาสตัดสินใจโดยคำนึงถึงทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เรากิน ทั้งเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไปจนถึงเรื่องสิทธิและสวัสดิการของแรงงานที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งในยุคที่ข้อมูลทุกอย่างเข้าถึงได้ง่ายขนาดนี้ เรื่องนี้ไม่น่าเป็นเรื่องเกินเอื้อม
และแน่นอนว่าถ้าเราในฐานะผู้บริโภคแคร์เรื่องนี้ พลังของพวกเราก็สามารถถูกส่งต่อผ่าน Supply Chain จากร้านอาหาร ไปสู่ผู้ขายส่ง ไปสู่ผู้ผลิตได้
-------------------------------------
ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ?
แน่นอนว่าเรื่องFood Traceability นี้ ชัดเจนสุดเลยก็คือเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม ก็สำคัญไม่แพ้กันนะ
จริงๆแล้ว การผลิตอาหาร อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนกับโลกเราเยอะที่สุดก็ว่าได้ [ https://ourworldindata.org/emissions-by-sector ] คือเป็นอันดับสองเรื่องการปล่อยคาร์บอน (อันดับหนึ่งคือการผลิตพลังงาน และยานพาหนะ) อันดับหนึ่งเรื่อง Land Use หรือการเปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เพาะปลูก อันดับหนึ่งเรื่องการปล่อยสารเคมีลงท้องทะเล โดยเฉพาะพวกปุ๋ย
การที่ทั้งป่าหายและทะเลตาย ก็ส่งผลต่อไปอีกทำให้เกิดความสูญเสียทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) นำไปสู่การเสื่อมถอยของระบบนิเวศโลก แล้วสุดท้ายก็วนกลับมากระทบความสามารถในการผลิตอาหารของมนุษย์ในที่สุด
เราจะรู้ได้ยังไงว่าปลาที่เรากิน ไม่ได้มาจากเรือประมงผิดกฏหมายที่จับปลาเกินกำหนดหรือว่ามีการใช้แรงงานทาส? เราจะรู้ได้ยังไงว่าไก่ที่เรากิน ไม่ได้กินข้าวโพดจากไร่ที่เผาซากพืชอย่างไม่มีการจัดการจนทำให้เกิดวิกฤติไฟป่า? เราจะรู้ได้ยังไง ว่าผักที่เรากิน ไม่ได้มาจากไร่ที่ปล่อยสารเคมีลงน้ำลงดินอย่างไม่มีการจัดการใดๆ จนสร้างความเสียหายให้แนวปะการังในทะเล?
การผลิตอาหาร เป็นโจทย์สำคัญมากๆในการนำประเทศ (หรือทั้งโลก) สู่การมุ่งสู่พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเราต้องการทั้งนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิต ต้องการกฎหมายที่เข้มงวด และเครือข่ายข้อมูลที่เปิดเผยทุกอย่างและเข้าถึงได้ง่ายมากกว่านี้
-------------------------------------
การเข้าถึงข้อมูลได้ จะนำไปสู่การสร้างทางเลือกที่ดีขึ้น
ลองคิดภาพจินตนาการอนาคต ที่เราสามารถอยู่ในตึกกำแพงทุกด้านมีผักขึ้นสามารถซื้อกินได้ตรงนั้นเลย และสารเคมีทุกอย่างผ่านระบบบำบัดของตึกก่อนถูกปล่อยลงน้ำ หรือเนื้อที่มาจากการเพาะยีนของสัตว์ เนื้อที่ได้มาโดยไม่ต้องทำลายป่า ปลูกพืชไร่ หรือทรมานสัตว์เลย
ในแง่หนึ่ง เทคโนโลยีเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย เราสามารถโหวตผ่านกระเป๋าตังค์เราได้ เลือกซื้ออาหารโดยพิจารณาทุกที่มาของวัตถุดิบก่อนซื้อ นี่จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวตามไปด้วย
การที่เราแค่แสกน QR code ของอาหารทุกชนิด แล้วสามารถรู้ได้หมดเลยว่าผลิตจากทรัพยากรจากที่ไหนบ้าง ใช้วิธีการอะไรผลิตบ้าง สร้างผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมบ้าง จะนำไปสู่ความต้องการอาหารที่ผลิตอย่างยั่งยืนกว่าที่ทำอยู่นี้ และในที่สุด ตลาดก็จะตอบสนองกับความต้องการใหม่ๆของผู้บริโภค
-------------------------------------
ตัวอย่าง Food Traceability ในต่างประเทศ
ตั้งแต่ปี 2005 ใน EU เป็นกฏหมายเลยว่าผู้บริโภคต้องได้รู้ว่าอาหารมาจากไหน ทุกขั้นตอนของ supply chain ถูกบันทึกไว้หมด
Food traceability = ability to trace and follow food, feed, and ingredients through all stages of production, processing and distribution.
= ความสามารถในการตามอาหาร อาหารสัตว์ และส่วนประกอบของอาหาร ในทุกกระบวนการผลิต การะบวนการทำ และกระบวนการกระจายขนส่งอาหาร
[ https://ec.europa.eu/food/horizontal-topics/general-food-law/food-law-general-requirements_en ]
ซึ่งกฏนี้รวมไปถึงอาหารนำเข้า และกำหนดให้ธุรกิจต้องรู้ one step back-one step forward ว่าอาหารก่อนมาถึงเรามาจากไหน และจากของเราไปไหนต่อเสมอ และกรณีพบว่าอาหารไม่ปลอดภัย ผู้ผลิตต้องเรียกกลับโรงงานได้
-------------------------------------
แล้วเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ยังไง
1. ผู้บริโภคเรียกร้องต้องการข้อมูลเหล่านี้ + เครือข่ายตัวแทนผู้บริโภคที่แข็งแรง
2. มีผู้นำธุรกิจเบอร์ใหญ่ๆ อาสาเป็นคนนำก่อน เปิดเผยทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง+ทำให้วิธีเข้าถึงข้อมูลเป็นเรื่องง่าย เป็นแรงจูงใจให้คนอื่นๆทำตาม
3. มีกฎหมายบังคับให้เปิดเผย มีองค์กรตรวจสอบที่ได้มาตรฐานในทุกขั้นตอนของการผลิต และมี platform ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย เข้าใจง่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภค ซึ่งประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของกระบวนการนี้ คือประเทศแถบยุโรป เช่น ออสเตรีย เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน ฯลฯ ที่มีกฎหมายบังคับใช้เรื่องนี้อย่างชัดเจน
-------------------------------------
#กินอะไรก็ได้ไม่ได้
#ตรวจสอบย้อนกลับ
#รู้ความจริงในสิ่งที่กิน
supply chain traceability 在 Oon Shu An Facebook 的精選貼文
Feeling freshhh and sparklyy 🍊
.
.
New artisanal haircare range from #dianebonheur 🧡🧡🧡 these are made with single origin, certified organic, craft oils that are cold-pressed so you really get the best of what Mother Nature has to offer. The oils are also fair trade and produced sustainably with supply chain traceability, which is so important these days to protect the livelihood and the environment of those who make our products.
The fragrances are exquiiisiiteee. This fresh Neroli scent, is extracted from the Bitter Orange plant harvested from Grasse, France. And they capture that changing quality of the Neroli scent so welll! Floral one second, citrusy the next. Great for destressing. And it revitalises dull hair so quickly!!
Feeeling this! .
#dianebonheur #MoistDianeSG #adv