อยากเริ่มเขียนเว็บด้วย React แบบคนอื่นบ้าง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี ? 😖
.
ไม่ต้องกังวลไป...เพราะวันนี้แอดสรุปมาให้แล้วจ้า กับสิ่งที่ต้องรู้ก่อนจะเริ่มต้นใช้ Library ที่ช่วยในการเขียนเว็บแอปพลิเคชันอย่าง React
.
มีอะไรต้องรู้บ้าง ? หากพร้อมแล้วไปดูกันเลย ~
.
🌟 พื้นฐาน HTML CSS JavaScript
.
ก่อนอื่นเราต้องมาสำรวจตัวเองก่อนว่าเราเข้าใจพื้นฐานพวกนี้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่เข้าใจ ควรจะไปศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนนะ ส่วนพื้นฐานที่แอดพูดถึงก็มีดังนี้
.
🔸 HTML เช่น HTML Element, Form, Table, และ Div เป็นต้น
🔸 CSS เช่น Styling, CSS Selectors และ Box Model
🔸 JavaScript เช่น variables, Conditional Statements, Loops, Data Types, และ DOM เป็นต้น
.
✨ NPM
.
รู้จักการใช้งาน NPM ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตั้ง อัปเดต กำหนดค่าต่าง ๆ และรันคำสั่งบางอย่างผ่าน Terminal เพื่อใช้งานคำสั่ง และ Library บนโปรเจกต์ React ของเรานั่นเอง
.
อ่านวิธีการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇
Link : https://www.npmjs.com/
.
✨ React Concept
.
เมื่อเราเรียนรู้พื้นฐานและฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราก็จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจโครงสร้างและการทำงานของ React เช่น
.
🔹 Create React App - เป็นการตั้งค่าสภาพแวดล้อมและเครื่องมือต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการพัฒนาโปรเจกต์บน React เพื่อให้เราสามารถใช้คุณสมบัติของ JavaScript ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง !
.
อ่านวิธีการติดตั้งแบบเต็ม ๆ ได้ที่นี่ 👇
📑 https://reactjs.org/docs/create-a-new-react-app.html
.
🔹 JSX - เป็นส่วนเสริมของ JavaScript ที่ทำให้เราสามารถจัดการกับ UI ใน React ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะมี Syntax คล้าย ๆ กับ HTML
.
สามารถอ่านเรื่อง JSX แบบเต็ม ๆ ได้ที่นี่ 👇
📑 https://reactjs.org/docs/introducing-jsx.html
.
🔹 Virtual DOM - เป็นตัวที่ช่วยจัดการ Object และ Element ต่าง ๆ บน React เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของ DOM ถ้าหากมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง Object บน React มันก็จะไม่กระทบกับ DOM ทั้งหมด เพราะมันจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะ Object ที่มีการอัปเดตเท่านั้น ทำให้การแสดงผลมีความรวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง
.
สามารถอ่านเรื่อง Virtual DOM แบบเต็ม ๆ ได้ที่นี่ 👇
📑 https://reactjs.org/docs/faq-internals.html
.
🔹 Props & State - Props (Properties) เปรียบเสมือนแท็กใน HTML เช่น src, href, หรือ class แต่ความพิเศษของมันก็คือทำให้ React Component สามารถส่งค่าต่าง ๆ ระหว่างกันได้ ส่วน State จะแตกต่างกับ Props เพราะมันจะเป็นการเก็บค่าเพื่อใช้ใน Component นั้น ๆ เท่านั้น
.
สามารถอ่านเรื่อง Props & State แบบเต็ม ๆ ได้ที่นี่ 👇
📑 https://reactjs.org/docs/faq-state.html
.
🔹 Conditional Rendering - เป็นการแสดงผล Element ต่าง ๆ บน UI แบบมีเงื่อนไขนั่นเอง โดยใช้ตัวดำเนินการใน JavaScript เช่น if...else เป็นต้น
.
สามารถอ่านเรื่อง Conditional Rendering แบบเต็ม ๆ ได้ที่นี่ 👇
📑 https://reactjs.org/docs/conditional-rendering.html
.
🔹 React Hook - เป็น Functions เจ๋ง ๆ ใน React ซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่มีใน React v16.7.0-alpha -ข้อดีของมันก็คือทำให้เราสามารถเรียกใช้ State ต่าง ๆ ใน React แบบไม่ต้องเขียน Class ให้เมื่อยมือ! เป็นการเพิ่มคุณสมบัติของ Component ไม่ว่าจะ Test หรือ Refactor ก็ทำได้ง่าย ๆ
.
สามารถอ่านเรื่อง React Hook แบบเต็ม ๆ ได้ที่นี่ 👇
📑 https://reactjs.org/docs/hooks-intro.html
.
✨ API
.
เรียนรู้โครงสร้าง และวิธีการดึงข้อมูลจาก API โดยต้องเข้าใจการใช้งานฟังก์ชันใน JavaScript เพื่อช่วยในการดึงข้อมูลและนำมาใช้ภายในโปรเจกต์ หรืออาจจะใช้เครื่องมืออย่าง Axios ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Library ยอดนิยมที่ช่วยให้เราดึงข้อมูลจาก API ได้อย่างง่ายดาย !
.
เพื่อน ๆ สามารถอ่านวิธีการใช้งาน Axios ได้ที่นี่ 👇
Link : https://www.npmjs.com/package/axios
.
✨ Server-side Rendering
.
รู้จักการใช้งานเครื่องมือที่ช่วยในการแสดงผลฝั่ง Server เช่น Next.js, After.js, Rogue ซึ่งเหล่า React Dev ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เจ้า Next.js เพราะใช้งานง่าย ไม่ต้อง Config อะไรเพิ่มเติมและช่วยให้เราสามารถเขียนเว็บได้สะดวก รวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง !
.
✨ Styling UI
.
ใช้แนวคิด CSS มาช่วยให้เราออกแบบ วาง Layout และจัดองค์ประกอบบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เราเขียน CSS ได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Material UI และ TailwindCSS นั่นเอง
.
และเมื่อเราได้เรียนรู้ทุกหัวข้อที่แอดกล่าวมาแล้ว เราก็เริ่มต้นทำโปรเจกต์ React กันได้เลย !! ซึ่งทางทีมแอดเคยทำสรุปการใช้งาน React ไว้ให้แล้ว หากสนใจสามารถกดเข้าไปอ่านกันได้เลย ~
📑 Link : https://www.borntodev.com/2020/07/15/react-101/
.
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังเริ่มต้นเขียน React นะ หากชอบเนื้อหานี้ อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยล่ะ 😁
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
#React #javascript #ฺBorntoDev
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「server-side javascript」的推薦目錄:
- 關於server-side javascript 在 BorntoDev Facebook 的最佳貼文
- 關於server-side javascript 在 BorntoDev Facebook 的最佳解答
- 關於server-side javascript 在 BorntoDev Facebook 的最佳解答
- 關於server-side javascript 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於server-side javascript 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於server-side javascript 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於server-side javascript 在 Client-side vs Server-side, Front-end vs Back-end? Beginner ... 的評價
server-side javascript 在 BorntoDev Facebook 的最佳解答
🔥 หากใครกำลังสงสัยว่า Client-Side Rendering และ Server-Side Rendering มันแตกต่างกันยังไง? เหมาะกับการใช้งานแบบไหน วันนี้แอดสรุปมาให้เพื่อนๆ แล้วจ้า ไปอ่านไปเลย!!
.
✨ Client-Side Rendering (CSR) - การแสดงผลฝั่ง Client
การทำงานของมันคือเมื่อเราสร้างเว็บด้วย React, Angular, หรือ Vue จะมีการทำงานแบบ SPA (Single Page Application) คือในช่วงแรกที่ผู้ใช้เปิดเว็บมา มันจะมีแค่คำสั่ง HTML พื้นฐาน หรือแสดงแค่ Template การแสดงผลเนื้อหาเบราว์เซอร์จะทำการส่ง Request ให้ Server ก่อน จากนั้นจะดึง Code JavaScript ออกมา และแสดงผลเนื้อหาต่างๆ ให้กับผู้ใช้ได้เห็นนั่นเอง
.
👍 ข้อดี
ง่ายต่อการเขียน Code
แสดงผลอย่างรวดเร็ว (ยกเว้นการ Request ครั้งแรก)
เป็นการทำงานแบบแยกส่วน
.
👎 ข้อจำกัด
ไม่ค่อยรองรับ SEO
มีความซับซ้อน
.
🙋 เหมาะกับ: เว็บไซต์ที่ต้องการโต้ตอบกับผู้ใช้อยู่บ่อยครั้ง และมีการเข้าใช้งานแบบนานๆ
.
✨ Server-Side Rendering (SSR) - การแสดงผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์
การแสดงผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะแสดงผลทุกครั้งที่มีการ Request ซึ่งเซิร์ฟเวอร์จะทำการรวบรวมข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลและส่งข้อมูลที่ได้ไป Render เป็น HTML Template จากนั้นจะถูกส่งไปยังเบราว์เซอร์เพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เห็น
.
👍 ข้อดี
รองรับ SEO
ง่ายต่อการเขียน Code
ทำงานแบบแยกส่วน
.
👎 ข้อจำกัด
มีความซับซ้อน
.
🙋 เหมาะกับ : เว็บไซต์ที่แสดงผลเนื้อหา โดยที่ไม่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
server-side javascript 在 BorntoDev Facebook 的最佳解答
🔥 วันนี้แอดจะพามารู้จักความแตกต่างของ Library และ Framework มาดูกันว่าทั้ง 2 มันคืออะไร ใช้งานยังไง มีอะไรบ้าง..กันในโพสนี้เลยจ้า
.
เริ่มกันที่ Library ก่อนเลย
.
📒 Library คือ ที่รวบรวมชุดคำสั่ง หรือที่รวบรวมโค้ดต่างๆ ที่ Software Developers ได้พัฒนาขึ้นและสามารถเรียกใช้มาในโปรเจกต์ของเราได้ตามต้องการ บางฟังก์ชันก็สามารถเรียกใช้ library ได้เลยโดยไม่ต้องเขียนโค้ดขึ้นเอง ซึ่งมันจะช่วยให้เราประหยัดเวลาในการเขียนโปรแกรมและลดความผิดพลาดของโปรแกรมได้มากยิ่งขึ้น
.
👉 ตัวอย่างของ library ที่นิยมใช้ ได้แก่
.
🔹 React - เป็น library ของ JavaScript สำหรับสร้าง User Interfaces
🔹 Redux - เป็น open-source JavaScript library สำหรับจัดการ
🔹 Application State มักใช้ร่วมกับ React
🔹 Three.js - library ของ JavaScript ใช้สำหรับสร้างและแสดงผลกราฟฟิค 3D
🔹 Lodash - เป็น library ของ JavaScript ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป
🔹 jQuery - ใช้สำหรับจัดการ HTML document
.
มาต่อกันที่ Framework เลยฮะ
.
📦 Framework คือ โครงสร้างหรือชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกต่อ Developer มีข้อดีคือมีความรวดเร็ว และเหมาะกับงานที่ต้องทำเป็นทีม หรือองค์กรใหญ่ๆ มีข้อจำกัดคืออาจจะใช้เวลาในการศึกษามากกว่า มีขนาดใหญ่
.
👉 ตัวอย่างของ Framework ที่นิยม ได้แก่
.
🔸 Angular - เป็น JavaScript Framework ใช้สำหรับพัฒนา Web และ Mobile Application
🔸 Django - เป็น Framework ฝั่ง Server-side ใช้ภาษา Python ในการเขียน
🔸 Express - เป็น Framework จาก Node.js ไว้สำหรับพัฒนา Web และ Mobile Application
🔸 Rails - ใช้พัฒนา Web Application เขียนด้วยภาษา Ruby
🔸 Spring - เป็น Framework แบบ open-source ใช้พัฒนา Web Application เขียนด้วยภาษา Java
.
💥 Source : https://dev.to/rohitrana/what-is-the-difference-between-library-vs-framework-174n
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
server-side javascript 在 Client-side vs Server-side, Front-end vs Back-end? Beginner ... 的美食出口停車場
Client - side vs Server - side, Front-end vs Back-end? Beginner Explanation of JavaScript on the Web. Scott Hanselman. Scott Hanselman. ... <看更多>